ขาดเเคลนชิป – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 24 Jan 2022 06:10:51 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ศึกเจ้าแห่งชิป! Intel สร้างโรงงาน “ชิป” 2 หมื่นล้านในสหรัฐฯ ลดพึ่งพิงซัพพลายเชนในเอเชีย https://positioningmag.com/1371288 Mon, 24 Jan 2022 05:08:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1371288 Intel ประกาศลงทุน 2 หมื่นล้านเหรียญสร้างโรงงาน “ชิป” ในโอไฮโอ สหรัฐฯ ดึงสมดุลซัพพลายเชนกลับสู่ฝั่งตะวันตกทั้งในเชิงเศรษฐกิจและการเมือง หลังที่ผ่านมาเกิดเหตุชิปขาดแคลน ขณะที่ดีมานด์ต่อชิปจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะเป็นส่วนประกอบสำคัญในมือถือ คอมพิวเตอร์ รถยนต์ ฯลฯ

Intel ประกาศการลงทุนมูลค่า 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 6.61 แสนล้านบาท) เพื่อสร้างโรงงานผลิต “ชิป” ในรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา เฟสแรกจะสร้างโรงงาน 2 แห่งบนพื้นที่ 2,529 ไร่ สนับสนุนการผลิตทั้งชิปที่ Intel ออกแบบเอง และธุรกิจ “Foundry” คือการรับจ้างผลิตชิปยี่ห้ออื่น ซึ่งปัจจุบันธุรกิจนี้มีผู้นำคือ TSMC ในไต้หวัน

Pat Gelsinger ซีอีโอ Intel ให้สัมภาษณ์กับ TIME ว่า “เราหวังว่าต่อไปที่นี่จะเป็นแหล่งผลิตชิปซิลิคอนที่ใหญ่ที่สุดในโลก” เนื่องจากที่ดินของบริษัทมีถึง 5,058 ไร่ หรือยังเหลือที่ว่างอีกเท่าตัว สามารถขยายโรงงานได้เป็น 8 แห่ง

“เรามีส่วนช่วยในการก่อตั้ง Silicon Valley” Gelsinger กล่าว “ตอนนี้เราจะก่อตั้ง Silicon Heartland ขึ้นมา” ทั้งนี้ การก่อตั้งโรงงานผลิตชิปเฟสแรกคาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องได้ในปี 2025 และจะช่วยสร้างงานในพื้นที่ได้ 3,000 ตำแหน่ง ยังไม่รวมถึงการสร้างงานให้บริษัทซัพพลายเออร์และพาร์ทเนอร์อีกนับหมื่นตำแหน่ง

 

อำนาจในโลกใหม่อยู่ที่ “ชิป”

การตัดสินใจสร้างโรงงานชิปของ Intel มีเหตุผลทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง ดังที่ทราบกันว่า ที่ผ่านมาซัพพลายชิปเซ็ตขาดแคลนอย่างมาก โดยที่บริษัทสหรัฐฯ มีอำนาจควบคุมน้อยลง ข้อมูลจาก สมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (SIA) รายงานว่า สัดส่วนการผลิตชิปในสหรัฐฯ ลดลงจากสัดส่วน 37% เมื่อปี 1990 เหลือเพียง 12% ในปัจจุบัน

เนื่องจากการตั้งโรงงานในเอเชียตะวันออก เช่น จีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ มีต้นทุนต่ำกว่าในสหรัฐฯ ถึง 30% โรงงานจึงย้ายออกหรือเลือกตั้งไลน์ผลิตใหม่ในฝั่งเอเชียแทน

“หนึ่งในบทเรียนที่เห็นชัดที่สุดที่เราได้เรียนรู้ระหว่างเกิดการระบาดคือ เราไม่ควรมองข้ามความสำคัญของการเข้าถึงเทคโนโลยีและการผลิต” Gelsinger กล่าว “คุณก็รู้ว่าเราได้เห็นการดิสรัปต์ต่อซัพพลายเชนทั่วโลก ดีมานด์ที่มีต่อเซมิคอนดักเตอร์วันนี้มีมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน”

ช่วงที่ผ่านมา สหรัฐฯ จึงมีความพยายามที่จะดึงดูดโรงงานชิปกลับมาตั้งในประเทศ ทั้ง Intel, AMD, Nvidia, GlobalFoundries เข้าล็อบบี้ประธานาธิบดี Joe Biden เพื่อให้ลงงบสนับสนุนการวิจัยและการผลิตชิปในสหรัฐฯ จนเมื่อเดือนมิถุยายนปีก่อน วุฒิสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านร่างกฎหมายสนับสนุนเทคโนโลยีและการผลิตชิปมูลค่า 5.2 หมื่นล้านเหรียญ (ประมาณ 1.72 ล้านล้านบาท) เป็นที่เรียบร้อย

ไม่เฉพาะบริษัทอเมริกันเท่านั้น การฝากซัพพลายเชนไว้ในทวีปใดทวีปหนึ่งไม่เป็นผลดีกับทุกบริษัท ทำให้ TSMC จากไต้หวันเองก็จะมาตั้งโรงงานชิปมูลค่า 1.2 หมื่นล้านเหรียญ (ประมาณ 3.97 แสนล้านบาท) ในรัฐแอริโซนา ขณะที่ Samsung จากเกาหลีใต้จะมาตั้งโรงงานชิปที่รัฐเท็กซัส มูลค่า 1.7 หมื่นล้านเหรียญ (ประมาณ 5.62 แสนล้านบาท)

Mike DeWine ผู้ว่าการรัฐโอไฮโอ กล่าวถึงการสร้างโรงงานชิปของ Intel ว่า นี่จะเป็นข้อความส่งถึงประเทศจีน “เพราะนี่คือความมั่นคงของประเทศ เป็นเรื่องสำคัญยิ่งชีวิตที่เราจะต้องผลิตชิปที่นี่บนแผ่นดินสหรัฐอเมริกา”

Source: Aljazeera, TIME

]]>
1371288
จับตาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์แพงขึ้น หลัง ‘TSMC’ ประกาศขึ้นราคาชิป 20% https://positioningmag.com/1349199 Mon, 30 Aug 2021 07:43:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1349199 TSMC หรือ Taiwan Semiconductor Manufacturing ผู้ผลิตชิปสัญญารายใหญ่ที่สุดของโลกเตรียมขึ้นชิปเซ็ต 10-20% ซึ่งอาจส่งผลให้ต่อต้นทุนผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และนำไปสู่การขึ้นราคาสินค้าตามมา

เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนที่ลากยาวตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ทำให้บริษัทผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รวมถึงรถยนต์ได้รับผลกระทบ และล่าสุด TSMC วางแผนที่จะขึ้นราคาชิป โดยชิปขนาดต่ำกว่า 16 นาโนเมตรจะขึ้นที่อัตราประมาณ 10% และอาจไปสูงสุดถึง 20% โดยจะมีผลในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า

ทั้งนี้ ทางบริษัท TSMC เคยให้ความเห็นว่า การขยายฐานผลิตเพิ่มในสหรัฐฯ และญี่ปุ่นอาจมีค่าใช้จ่ายสูงมาก โดยขณะนี้พวกเขากำลังก่อสร้างโรงงานเซมิคอนดักเตอร์ใหม่ในรัฐแอริโซนา สหรัฐฯ และกำลังพิจารณาจะเปิดโรงงานชิปแห่งแรกในญี่ปุ่นจังหวัดคุมะโมโตะด้วย

ขณะที่ Apple Inc. เป็นหนึ่งในลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของ TSMC และ iPhone ของบริษัทใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ขั้นสูงที่ผลิตในโรงหล่อ TSMC ไม่สามารถระบุได้ว่า Apple จะจ่ายเพิ่มอีกเท่าใด

การขึ้นราคาเป็นผลมาจากปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกซึ่งส่งผลกระทบต่อ Apple และผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่ รวมถึง General Motors Co. และ Toyota Motor Corp. ในเดือนสิงหาคม GM กล่าวว่า ต้องปิดโรงงานสามแห่งในอเมริกาเหนือที่ผลิตรถกระบะขนาดใหญ่ ผู้ทำเงินรายใหญ่ที่สุดของบริษัท เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Toyota กล่าวว่าจะลดการผลิตลง 40% ในเดือนกันยายน

Source

]]>
1349199
‘โตโยต้า’ ปรับลดการผลิต ‘รถยนต์’ ทั่วโลกลง 40% ในเดือน ก.ย. เซ่นวิกฤต ‘ขาดเเคลนชิป’ https://positioningmag.com/1347976 Fri, 20 Aug 2021 12:04:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1347976 วิกฤตขาดเเคลนชิปผสมกับวิกฤตโควิดทำให้อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ทั่วโลกสะดุด ล่าสุดยักษ์ใหญ่อย่างโตโยต้า’ ต้องปรับลดการผลิตลงถึง 40% จากเเผนเดิมในเดือนก.นี้

สำนักข่าว Reuters รายงานว่า โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ป (Toyota Motor Corp) ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลกจากญี่ปุ่น จะปรับกำลังการผลิตในช่วงเดือนก..ลดลง 40% จากแผนเดิม เนื่องจากปัญหาการขาดเเคลนเซมิคอนดักเตอร์

อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงประมาณการยอดขายและกำลังผลิตทั้งหมดของปีนี้ ไว้ตามเป้าหมายเดิม โดยโตโยต้า คาดว่าจะสามารถผลิตรถยนต์ทั่วโลกได้ตามเป้าหมายที่ 9.3 ล้านคัน เเละหวังจะทำยอดขายให้ได้ 8.7 ล้านคัน ในปีงบประมาณนี้ (เม.. 2021 – มี.. 2022) 

ในช่วงที่ผ่านมา นับว่าโตโยต้าสามารถจัดการปัญหาขาดเเคลนชิปได้ดีกว่าคู่แข่งรายอื่นๆ เพราะมีการสต็อกของไว้จำนวนมาก เเต่เมื่อสถานการณ์ยังยืดเยื้อ บวกวิกฤตโควิดที่ทวีความรุนเเรงขึ้น ความเสี่ยงในภาคการผลิตก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

โตโยต้า ระบุว่า การลดการผลิตในเดือนก..นี้ จะครอบคลุมโรงงาน 14 แห่งในญี่ปุ่น และโรงงานในต่างประเทศ และบริษัทจะลดการผลิตตามแผนทั่วโลกในเดือนเดียวกันนี้ ลงประมาณ 360,000 คัน

Photo : Shutterstock

บรรดาผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกต่างปรับลดการผลิตลงในช่วงนี้ หลังจากภาวะขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ ประกอบกับยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่สูงขึ้นในประเทศที่เป็นฐานการผลิตอย่าง ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย และมาเลเซีย ซึ่งมีมาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวด

โดย Volkswagen ของเยอรมนี เพิ่งประกาศว่า อาจต้องลดการผลิตเพิ่มเติมและคาดว่าซัพพลายของชิปในไตรมาส 3 จะผันผวนและตึงตัวมากเช่นเดียวกัน Ford Motor Co ที่จะปิดทำการโรงงานประกอบรถยนต์ในเมืองแคนซัสซิตี้ สหรัฐฯ ชั่วคราว เนื่องจากการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์

ก่อนหน้านี้ Nikkei Asia รายงานว่า โตโยต้า ได้ระงับสายการผลิตที่โรงงานในญี่ปุ่นเเล้วเป็นบางแห่ง ในช่วงปลายเดือนก..ถึงต้นเดือนส.. เพราะขาดแคลนชิ้นส่วนจากเวียดนาม

เเหล่งข่าวในวงการรายหนึ่ง บอกกับ Reuters ว่า โตโยต้า ได้ระงับการผลิตในโรงงานแห่งหนึ่งที่เมืองกวางโจวประเทศจีนด้วย

เมื่อปลายเดือนก..ที่ผ่านมาโตโยต้าต้องหยุดการผลิตโรงงานประกอบรถยนต์ 3 แห่งในไทยชั่วคราว เนื่องจากผู้ป้อนอะไหล่ในท้องถิ่นหยุดการผลิตเพราะสถานการณ์โควิด

ทั้งนี้ โรงงาน 3 แห่งในไทย นับเป็นโรงงานหลักของโตโยต้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นฐานการผลิตในต่างประเทศที่ใหญ่รองจากจีน และสหรัฐฯ สามารถผลิตรถยนต์ได้ราว 750,000 คันต่อปี 

 

ที่มา : Reuters , kyodonews

]]>
1347976