คลับเฮาส์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 23 Jul 2021 09:37:48 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Clubhouse ปลดล็อก “ไม่ต้องมีคนเชิญ” ก็เล่นได้แล้ว พร้อมติดสปีดการเติบโต https://positioningmag.com/1343842 Fri, 23 Jul 2021 08:24:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1343842 จากแอปฯ โซเชียลมีเดียที่จำกัดการเข้าถึง ต้องได้รับคำเชิญ (invite) จากคนในแอปฯ ถึงจะเข้าไปเล่นได้ วันนี้ Clubhouse เปิดระบบเป็น ‘สาธารณะ’ เต็มตัวแล้ว ทุกคนสมัครแล้วสามารถเข้าใช้ได้เลย ไม่ต้องรอคำเชิญอีก

ที่ผ่านมา Clubhouse สร้างกำแพงให้เป็น ระบบ ‘invite-only’ โดยไม่ได้ตั้งใจเพื่อให้มีความพรีเมียม แต่เป็นเพราะแอปพลิเคชันนี้เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนมีนาคม 2020 และยังอยู่ในช่วงทดลองระบบเบตา ทำให้ต้องจำกัดจำนวนคนใช้งานไว้ก่อน ป้องกันระบบล่ม แต่แอปฯ เกิดฮิตเกินคาดจนทำให้ระบบคำเชิญกลายเป็นเหมือนสิทธิพิเศษ

“พอล เดวิดสัน” และ “โรฮาน เซธ” ผู้ร่วมก่อตั้ง Clubhouse ระบุว่า บัดนี้ระบบขยายตัวพร้อมที่จะป้องกันระบบไม่ให้ล่มแล้ว จึงออกจากระบบเบตา และเปิดเป็นสาธารณะในที่สุด

การเติบโตของ Clubhouse เรียกได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ เริ่มต้นมีผู้ใช้งานเพียง 5,000 คน แต่เกิดฮิตขึ้นมาในซิลิคอน วัลเลย์ เมื่อมีคนดังช่วยบอกต่อ ทำให้ปัจจุบันแอปฯ มียอดดาวน์โหลดทั่วโลกมากกว่า 20 ล้านครั้ง โดยครึ่งหนึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้ใช้ระบบแอนดรอยด์ที่เพิ่งได้ใช้กับเขาบ้างเมื่อ 2 เดือนก่อน (ข้อมูลจาก Sensor Tower)

ปัจจุบันมีการตั้งห้องทั้งแบบสาธารณะและส่วนตัววันละประมาณ 5 แสนห้องทั่วโลก เติบโตขึ้นเกือบ 70% เทียบกับเมื่อเดือนพฤษภาคม 2021 เห็นได้ว่ายอดการเติบโตเกิดจากผู้ใช้แอนดรอยด์

clubhouse

ผู้ใช้ Clubhouse จะอยู่ในแอปฯ เฉลี่ยวันละ 1 ชั่วโมง และมีการส่งข้อความส่วนตัว (direct message) ภายในแอปฯ แล้ว 90 ล้านข้อความ หลังจากที่แอปฯ เพิ่งเปิดฟีเจอร์นี้ไปเมื่อสัปดาห์ก่อน

Clubhouse ยังคงต้องหาที่ทางของตนเองว่าจะเป็นแอปฯ ที่แข็งแรงในแง่มุมไหน โดยขณะนี้แอปฯ ถูกมองว่ามีแนวโน้มจะเป็นแหล่ง ‘จัดรายการวิทยุ/พอดคาสต์แบบสด’ ผสมกับการเป็น ‘เวทีเสวนา’ ทำให้แอปฯ กำลังหาช่องทางสร้างรายได้จากสิ่งเหล่านี้อยู่ เช่น คิดเงินค่าเข้าฟังโดยแบ่งรายได้กับผู้จัดห้องเสียงนั้นๆ

สำหรับในไทย Clubhouse เคยร้อนแรงสุดขีดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2021 แม้ปัจจุบันจะคลายความร้อนแรงไปแล้ว แต่ก็ยังมีผู้ใช้งานสม่ำเสมอ มีการพูดคุยหลายเรื่องตั้งแต่การเมือง สุขภาพ บิตคอยน์ กีฬา ฯลฯ

source

]]>
1343842
สรุปดราม่า #พิมรี่พาย แบรนด์จะพังหรือไม่? เมื่อสุดท้ายการทำบุญคือการ PR https://positioningmag.com/1333109 Thu, 20 May 2021 07:26:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333109 กลายเป็นดราม่าแค่ชั่วพริบตา เมื่อแม่ค้าออนไลน์ใจบุญ “พิมรี่พาย” ตอบโต้กรณีอดีตนายกทักษิณ ชินวัตรอ้างอิงถึงในคลับเฮาส์ กลายเป็นประเด็นเดือด และตามต่อมาด้วยการทำบุญเพื่อหวัง PR ตัวเอง ด้วยประโยคอย่าง “มึงโกรธกูไปเถอะ เดี๋ยวพอกูปล่อยคลิปทำความดี มึงก็หายโกรธ” ทำเอาคนทั่วไปรู้สึกไม่ดี

จากแม่ค้าออนไลน์ สู่เจ้าแม่บริจาค

แม้ชื่อของ “พิมรี่พาย” จะเป็นที่รู้จักมานานหลายปีแล้ว ในฐานะแม้ค้าออนไลน์ฝีปากกล้า มีลีลาการขายสุดแซบ ทำเอาลูกค้า CF กันถล่มทลาย แต่ต้องบอกว่าตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ชื่อของพิมรี่พายดูเหมือนจะมีสปอตไลท์ฉายดวงใหญ่เป็นพิเศษ เป็นที่จับจ้องทั้งบุคคลทั่วไป และทางฝากฝั่งของรัฐบาลด้วย

พิมรี่พายแจ้งเกิดจากการเป็นแม่ค้าขายของออนไลน์ จุดเด่นคือขายสินค้าทุกอย่างตั้งแต่อาหาร ปลาร้า น้ำพริก พริกทอด ไปจนถึงสินค้าความงามอย่างน้ำหอมและสกินแคร์ โดยมีราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป พิมรี่พายมักใช้ช่องทาง “ไลฟ์สด” ผ่านเฟซบุ๊ก “พิมรี่พายขายทุกอย่าง” มีผู้ติดตามถึง 4.5 ล้านราย การไลฟ์แต่ละครั้งมีผู้เข้าชมแบบเรียลไทม์หลายแสนคน มียอดรวมนับล้านครั้ง

ช่วงพีคๆ ที่พิมรี่พายถูกพูดถึงเยอะๆ ในช่วงเดือนมกราคม ในการไลฟ์ขายของเพียง 1 ชั่วโมง มียอดสั่งซื้อกว่า 16,000 ออเดอร์เลยทีเดียว

แต่นอกจากจะเป็นแม่ค้าออนไลน์แล้ว พิมรี่พายยังพ่วงตำแหน่ง YouTuber อีกขานึงด้วย โดยช่อง “พิมรี่พาย” ใน YouTube มีผู้ติดตามถึง 4.1 ล้านราย รวมถึงในเฟซบุ๊กเพจส่วนตัว Pimrypie – พิมรี่พาย ที่มียอดคนติดตามถึง 9.9 ล้านราย คอนเทนต์มีหลากหลาย ทั้งเรื่องอาหาร รีวิวสินค้าของตัวเอง เพลง และการทำบุญ

สปอตไลท์ดวงใหญ่ที่ฉายมาที่พิมรี่พายเกิดจากกระแส “คอนเทนต์ใจบุญ” ของเธอนี่เอง เริ่มต้นตั้งแต่เดือนมกราคมที่ได้นำเงิน 550,000 บาทไปซื้อทีวี ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ และสร้างแปลงผักให้แก่เด็กๆ ที่หมู่บ้านแม่เกิบ ต.นาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เพื่อเป็นของขวัญในวันเด็กแห่งชาติ

เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวไม่สามารถเข้าถึงกระแสไฟฟ้า และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งพิมรี่พายมองว่าการที่ให้เด็กๆ ได้ดูทีวี ทำให้เด็กๆ มีความฝัน ได้เห็นว่าตัวเองอยากเป็นอะไร ทำให้คลิป “สุขสันต์วันเด็ก พิมรี่พายจัดใหญ่ให้น้องบนดอยสูง” ในยูทิวบ์มียอดเข้ามากกว่า 6.8 ล้านวิว

แน่นอนว่าคอนเทนต์นี้ทำให้ชาวเน็ตต่างยกย่องชมเชย และอวยยศเธออย่างมาก ชื่อของพิมรี่พายกลับมาเป็นกระแสอีกครั้งหนึ่ง เป็นตัวอย่างของคนทำความดี ในวันนั้นทำให้ #พิมรี่พาย ขึ้นเทรนด์อันดับ 1 ในทวิตเตอร์ด้วย

หลังจากนั้นเราก็ได้เห็น “โปรเจกต์ใจบุญ” ของพิมรี่พายมาอีกหลาย EP ไม่ว่าจะเป็น การขุดน้ำบาดาล, พัฒนาสำนักสงฆ์, เหมาก๋วยเตี๋ยวยายตาบอด, ติดไฟชุมชนคลองเตย, เลี้ยงหมาแมว และอื่นๆ อีกมากมาย มาจนถึงโปรเจกต์ล่าสุดคือ “โรงพยาบาลสนาม”

การทำบุญของพิมรี่พายย่อมถูกนำไปเปรียบเทียบกับโครงการ หรือการบริหารของรัฐบาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงบประมาณที่น้อยกว่าหลายเท่าตัว รวมถึงการปฏิบัติการที่รวดเร็ว ช่วยเหลือได้เร็วกว่า แน่นอนว่าแต่ละโปรเจกต์ต้องตามมาด้วยประเด็นดราม่า ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบ หรือการบุกรุกพื้นที่ ซึ่งแล้วแต่กรณีไป

อย่างไรก็ดี พิมรี่พายได้กลาย “ไอคอน” ของการทำบุญ ช่วยเหลือไปโดยปริยาย หากเป็นแต่ก่อน ถ้าชาวเน็ตอยากขอความช่วยเหลือ คงจะนึกถึงเพจ “แหม่มโพธิ์ดำ” หรือเพจอื่นๆ ที่ค่อนข้างมีอิทธิพล แต่ตอนนี้มีแต่คนนึกถึงพิมรี่พาย ถ้าใครได้รับความลำบาก ก็จะนึกถึงให้พิมรี่พายช่วยทั้งนั้น

โทนี่พูดถึง สะเทือนความมั่นคง

ด้วยความเป็นไอคอนของการช่วยเหลือนี่เอง บวกกับกระแสที่คนไทยพูดถึงอย่างมาก แม้แต่รัฐบาลยังจับจ้อง ไม่เว้นแม้แต่ “ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ปัจจุบันจะนิยมเรียกกันว่า “โทนี่” เป็นชื่อที่ใช้ในคลับเฮาส์

ประเด็นร้อนแรงล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อโทนี่ได้พูดคุยในคลับเฮาส์เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ในหัวข้อ “CARE Clubhouse x CARE Talk #เป็นไงวัยรุ่น : ปลดล็อกยูนีคสกิลสู่ยุคใหม่ของวัยเยาวรุ่น กับ Tony Woodsome” โดยในบางช่วงบางตอนทักษิณพูดถึงในประเด็น​ว่า

“ภายในเรือนจำเขามีสนามฟุตบอล มีโรงอาหาร เราสามารถเปลี่ยนมาเป็นโรงพยาบาลสนามชั่วคราวได้หรือไม่ หรือถ้าตั้ง (รพ.สนาม) มันแพง ก็ไปขอพิมรี่พายตั้งให้ พอตั้งแล้วก็เอาคนออกมาตรงนั้นซะ และไปทยอยฉีดวัคซีน”

ทำให้พิมรี่พายถึงกับต้องตอบโต้เลยทีเดียว ได้พูดผ่านการไลฟ์สดขายสินค้า มีใจความประมาณว่า

“คุณโทนี่ที่ฉันพูดถึงก็คือคุณทักษิณ ชินวัตร พูดถึงดิฉันเมื่อคืน ดิฉันไม่ทราบเพราะดิฉันไม่ได้ไปเล่นโซเชียลอะไร ดิฉันไม่ว่าง ดิฉันทำงาน ดิฉันทำบุญ มีคนส่งคลิปมาให้ดิฉันเยอะมาก ดิฉันขอพูดหน่อยนะคะ ท่านอยู่ข้างนอกประเทศ ท่านจะพูดอะไรก็ได้ แต่คนข้างในประเทศจะซวยเอา ได้โปรดอย่าลากดิฉันไปเกี่ยวข้องนะคะ กราบขอร้อง ทุกๆ คน หรือทุกๆ สื่อ ดิฉันยังอยากทำบุญต่อ อย่าให้ดิฉันซวยเลยค่ะ ท่านพูดทีหนึ่งอีกฝั่งก็ด่าดิฉัน ดิฉันรู้เรื่องไหมคะ ยืนขายปลาร้า ก็โดนด่า มันใช่เรื่องไหม ทำความดีต้องมาโดนด่าไหมเพราะว่ามึ…พูด ดิฉันอยากอยู่ในประเทศนะคะ ดิฉันไม่อยากจะไปตายที่ต่างประเทศ อยากอยู่ต่อ อยากทำความดีต่อ ขอความกรุณาเลิกเอาดิฉันไปเป็นเครื่องมือเหน็บแนม อย่าแปลเจตนาดิฉันผิด ขอบพระคุณค่ะ”

ในประเด็นมีเสียงแตกออกเป็นหลายทาง บ้างก็มองว่าโทนี่ต้องการแค่แซะรัฐบาลที่บริหารจัดการอะไรไม่ได้ ให้ไปขอความช่วยเหลือพิมรี่พายที่เสกสรรค์โปรเจกต์ออกมาได้ว่องไวกว่า หรือบางคนก็มองว่าโทนี่แค่พูดอ้างอิงถึงไม่ได้ไปในทางลบ ทำไมไม่มองที่ต้นเหตุที่ว่าสังคมนี้ แค่คนคนนึงพูดถึง จะต้องอยู่ยากมากขึ้น

แบรนด์พังเพราะประโยคเดียว?

ดราม่านี้ร้อนแรงถึงขั้น #พิมรี่พาย ขึ้นเทรนด์ในทวิตเตอร์อีกครั้ง ตอนนี้ไม่ได้มีแค่ประเด็นเรื่องการอ้างอิงของโทนี่ แต่เป็นเรื่องของทัศนคติของพิมรี่พายที่มีต่อการทำบุญบริจาค

เมื่อพิมรี่พายพูดถึงกรณีนี้ในไลฟ์ขายของอีกครั้ง พูดถึงคนที่โกรธเธอว่า โกรธที่ปกป้องตัวเองหรือ ซึ่งมั่นใจว่าพูดไม่ผิด พร้อมกับประโยคที่ว่า “มึงโกรธกูไปเถอะ เดี๋ยวพอกูปล่อยคลิปทำความดี มึงก็หายโกรธ”

กลายเป็นประโยคที่จุดชนวนให้คนดราม่ามากขึ้น เกิดความไม่พอใจอย่างหนัก เพราะหลายคนมองว่าการทำความดีที่ผ่านมาล้วนมีผลประโยชน์ทั้งสิ้น รวมถึงการเอาคนจน คนด้อยโอกาสเป็นเครื่องมือในการทำ PR ให้ตัวเอง สร้างชื่อเสียง และขายของได้มากขึ้น เพราะถึงแม้ร้านของพิมรี่พายจะมีลูกค้าประจำที่ซื้อของสินค้าราคาถูก มีคุณภาพ แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีจำนวนไม่น้อยที่ตามซื้อเพราะกระแสโปรเจกต์ใจบุญ เพราะรู้สึกว่าได้ร่วมสนับสนุน ได้ร่วมทำบุญไปด้วย

รวมถึงยังมีประเด็นที่ว่า “ไม่อยากไปตายต่างประเทศ” เพราะไม่อยากเป็นปรปักษ์กับรัฐบาล หลายคนมองว่าเป็นการแซะผู้ลี้ภัยทางการเมือง หรือผู้ต่อสู้ทางการเมืองด้วย

แปลเจตนาไม่ออกหรอ?

เมื่อเกิดกระแสการไม่สนับสนุนพิมรี่พายมากขึ้นเรื่อยๆ เธอก็ยังคงพูดถึงในไลฟ์ขายของต่อ โดยยังคงย้ำว่า “แปลเจตนาไม่ออกหรอ” ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญที่ผ่านมา หรือการพูดตอบโต้ต่างๆ เป็นการบอกเป็นนัยๆ ว่า ถึงแม้การกระทำจะเป็นอย่างนี้ แต่ให้ดูที่เจตนาหลักของเธอก็พอ พร้อมกับพูดถึงโทนี่อีกว่า

“ท่านพูดถึงใครได้รับผลกระทบหมด ท่านเป็นคนมีอิทธิพล แค่บอกว่าจะคุยกับปูตินเรื่องวัคซีน อีก 2 วันมีวัคซีนแล้ว แต่รอบนี้พูดถึงพิมรี่พาย เราจะอยู่อย่างไร เป็นคนธรรมดา อยากอยู่แบบปลอดภัย พูดถึงแค่ 5 วินาที ตอนเช้าส่งของไปบริจาค 200,000 บาท เขาส่งกลับ ไม่ยอมรับของ”

การทำบุญ กับโครงสร้างสังคม

ต้องบอกว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันมาแต่ไหนแต่ไร ใครที่ได้รับความเดือดร้อน หรือประสบภัยพิบัติ ก็มีการช่วยเหลือกันเอง บริจาคกันเองมาโดยตลอด เพราะความมีน้ำใจ และมองว่าเป็นการช่วยเหลือพี่น้องด้วยกัน ยิ่งด้วยนิสัยคนไทยที่มีน้ำใจ ชอบช่วยเหลือ ยิ่งยุคปัจจุบันเป็นยุคโอนไว ย่อมได้เห็นคนได้รับบริจาคจำนวนหลายๆ ล้านอยู่บ่อยครั้ง

หลายคนมองว่าการทำบุญ บริจาคในทำนองนี้มันบิดเบี้ยวมาตั้งแต่โครงสร้างทางสังคม ถ้าหน่วยงานราชการ หรือรัฐบาลมีการบริหารจัดการที่ดี จัดสรรงบประมาณช่วยเหลือที่ดี ก็สามารถเข้าถึงคนได้ทั่วประเทศ ลดการเหลื่อมล้ำได้ การบริจาคเป็นแค่ปลายเหตุเท่านั้น ไม่สามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว แต่ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย

ทำให้การทำบุญ การทำความดี การบริจาค เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ CSR ของแบรนด์ต่างๆ ไม่ว่าจะแบรนด์เล็ก แบรนด์ใหญ่ เป็นอีกหนึ่งเครื่องมีในการ PR ภาพลักษณ์ของตนเองให้ดี เมื่อผู้บริโภคเห็นว่าแบรนด์นี้ได้ช่วยเหลือคน ก็จะรู้สึกดีไปด้วย

ล่าสุดวันนี้ เวลา 17.00 น. พิมรี่พาย ได้ไลฟ์สดขายของเช่นเคย และได้ชี้แจง พร้อมกล่าวขอโทษลุงโทนี่

“หลังจากพูดพาดพิงไป โดยชี้แจงแล้วเมื่อวานว่าไม่อยากเป็นเครื่องมือทางการเมืองของใคร ซึ่งสืบเนื่องจากไลฟ์สดเมื่อวานนี้ อยากบอกว่าหากพูดจาพาดพิงถึงคุณทักษิณ หรือลุงโทนี่ ด้วยถ้อยคำที่ขาดสติ ทำให้ประชาชนไม่พอใจ พิมจึงอยากพูดแบบเด็กพูดกับผู้ใหญ่ว่า กราบขอโทษคุณทักษิณและประชาชนที่พิมปากไว และจากนี้จะพูดจาและไตร่ตรองให้มากกว่านี้ โดยจะเป็นเด็กที่น่ารักกว่านี้”

สุดท้ายแล้วแบรนด์ “พิมรี่พาย” จะพังหรือไม่ ไม่สามารถตอบได้ เพราะขึ้นอยู่กับการตีความ และความพอใจของแต่ละคน เมื่อเธอลงคลิปความดี คนอาจจะหายโกรธแล้วลืมเรื่องราวต่างๆ ก็ได้ หรือบางคนอาจจะเลิกติดตามไปเลยก็ได้…
]]>
1333109
รู้จัก “โรฮาน เสท” ผู้ก่อตั้ง Clubhouse อดีตพนักงาน Google เชื้อสายอินเดีย https://positioningmag.com/1320677 Sun, 28 Feb 2021 18:18:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320677 ต้องขอบคุณ อีลอน มัสก์ ที่ทำให้ Clubhouse แอปฯ โซเชียลเน็ตเวิร์กน้องใหม่กลายเป็นที่รู้จักชั่วข้ามคืน จนตอนนี้มีมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แต่แอปฯ บนไอโฟนตัวนี้จะไม่เกิดขึ้นหากไม่มีผู้ก่อตั้งที่เป็นอดีตพนักงานของกูเกิล อย่าง โรฮาน เสท (Rohan Seth)

Clubhouse เป็นโซเชียลเน็ตเวิร์กทางเสียงแอปฯ แรก ที่กำลังฮิตในหมู่เซเลบริตี ผลิตโดยบริษัท อัลฟา เอ็กซ์พลอเรชัน แม้มีการเริ่มต้นเล็กๆ ในแบบระดมทุนคราวด์ฟันดิ้ง ตั้งแต่เมื่อเดือนมีนาคม 2020 ที่ผ่านมา แต่พออีลอน มัสก์ และมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เข้ามาเป็นสมาชิก ก็ดึงดูดผู้ใช้ได้มากกว่า 2 ล้านยูสเซอร์ และเพิ่มมูลค่าเป็นพันล้านอย่างรวดเร็ว

เว็บไซต์เทคครันช์รายงานว่า ผู้อยู่เบื้องหลังแอปฯ มาแรงขณะนี้ คือ โรฮาน เสท ผู้ร่วมก่อตั้งเชื้อสายอินเดีย วิศวกรคอมพิวเตอร์ผู้เป็นอัจฉริยะ เขาจบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สาขาวิทยาการจัดการ และวิศวกรรมศาสตร์ ในปี 2008

ข้อมูลจากหน้าเพจ Linkedin ของเขามีอยู่ว่า เริ่มทำงานเป็นวิศวกรอยู่ที่ Google ตั้งแต่ยังเรียนไม่จบปริญญาโท โดยอยู่ในส่วนการพัฒนาเว็บไซต์ Google สำหรับผู้ที่ใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือ โรฮานยังมีส่วนในการก่อตั้งแพลตฟอร์ม Google Location ที่ทำให้รู้ว่าใครอยู่ที่ไหนในโลกนี้ได้ ผ่านทางสมาร์ทโฟน

(Photo illustration by Jakub Porzycki/NurPhoto via Getty Images)

หลังออกจาก Google เขาได้ไปก่อตั้งบริษัทด้านเทคโนโลยีของตัวเอง ชื่อว่า โอเพน ดอร์ ในปี 2014 ซึ่งได้พัฒนาแอปฯ เมมรี แล็บส์ ที่อาศัยพฤติกรรมของคนในชีวิตประจำวัน เป็นตัวช่วยในการบันทึกความทรงจำ โดยออกแบบให้เหมือนการจดบันทึกไดอารีง่ายๆ แต่ก็ได้การตอบรับอย่างดีพอสมควร เขาระดมทุนได้ถึง 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว

ก่อนจะก่อตั้ง Clubhouse โรฮาน แต่งงานกับ เจนนิเฟอร์ เฟิร์นกิสต์ อดีตเพื่อนร่วมงานที่ Google ในปี 2019 พวกเขาก็มีลูกสาวด้วยกัน 1 คน คือ ลีเดีย นีรู เสท ที่เกิดมาพร้อมโรคร้ายติดมาจากยีนที่ผิดปกติ

“หมอบอกว่าเธอเป็นโรคที่หายาก ไม่มีทางรักษา แต่เราไม่เชื่อหรอกว่าจะเป็นเรื่องจริง” โรฮานโพสต์ลงในทวิตเตอร์ของเขาด้วยว่า ลีเดีย จะเข้ารับการรักษาโรคที่เกิดจากพันธุกรรม และเขาจะไม่ยอมหยุดสู้ไปพร้อมกับเธอ รวมทั้งเด็กๆ คนไหนก็ตามที่ป่วยเป็นโรคเดียวกันนี้ ทุกคนจะต้องหาย และมีอนาคตที่สดใส

Photo : Twitter Rohan Seth

โรฮาน ไม่ได้เอาแต่พูดไปวันๆ แต่เขากับภรรยาช่วยกันก่อตั้งแพลตฟอร์ม ‘ลีเดีย แอ็กเซเลอเรเตอร์’ ขึ้นมาเพื่อที่จะรวบรวมข้อมูลในการช่วยรักษาโรคทางพันธุกรรม

จากข้อมูลงานวิจัยทางการแพทย์จากหมอและนักวิทยาศาสตร์ระดับแนวหน้ามากมาย ทำให้ทั้งคู่ก็พบว่ายาในกลุ่มเอเอสโอ สามารถช่วยรักษาคนที่เป็นโรคทางพันธุกรรมได้ โดยจะสร้างชิ้นส่วนดีเอ็นเอเล็กๆ เข้าไปขัดขวาง เอ็มอาร์เอ็นเอ ไม่ให้เกิดการสังเคราะห์โปรตีนออกมา วิธีนี้จะช่วยรักษาได้ดีในกรณีที่เพิ่งเริ่มเป็นโรค เท่ากับว่าลีเดียก็มีความหวังแล้ว

นอกจากเรื่องของลูกสาวสุดรักอย่างลีเดียแล้ว หากไปส่องในทวิตเตอร์ของโรฮาน ก็จะเห็นแต่ทวีตที่มีเรื่องราวของศิลปินป็อปร็อก บรูซ สปริงทีน โรฮานเป็นแฟนตัวยง ไม่ว่าจะเป็นการทวีตเพลงฮิต หรือปกแมกกาซีนที่มีภาพของนักร้อง/นักแต่งเพลงคนโปรด นอกจากนี้ เขายังแต่งตัวเลียนแบบไอดอลของเขาในเทศกาลฮัลโลวีนอีกด้วย

“ผมอาจจะไม่ได้เกิดในอเมริกา แต่ผมก็เกิดมาเพื่อสู้ตามความฝัน เหมือนบรูซ สปริงทีนแหละ”

Source

]]>
1320677