คลาวด์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 16 Jul 2024 12:03:32 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รู้จัก ‘WIZ’ สตาร์ทด้านอัพไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ที่ ‘Google’ กำลังทุ่ม 2.3 หมื่นล้านเหรียญเพื่อปิดดีล! https://positioningmag.com/1482847 Tue, 16 Jul 2024 09:48:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1482847 Alphabet เจ้าของ Google อยู่ในการเจรจาเพื่อซื้อ Wiz สตาร์ทอัพด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์สําหรับคลาวด์คอมพิวติ้ง ที่เติบโตอย่างรวดเร็วในราคาประมาณ 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์  ซึ่งถ้าดีลดังกล่าวสำเร็จ จะถือเป็นการเข้าซื้อกิจการครั้งใหญ่สุดของ Alphabet

สำหรับ Wiz ถือเป็นบริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติอิสราเอลที่ทำธุรกิจด้านการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยมี Assaf Rappaport เป็นผู้ก่อตั้ง ซึ่งเป็นคนเดียวกับที่ก่อตั้ง Adallom ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านระบบรักษาความปลอดภัย ซึ่งถูกขายให้กับ Microsoft ในราคา 320 ล้านเหรียญ เมื่อประมาณเกือบ 10 ปีก่อน

หลังจากขายธุรกิจไปได้ 3 ปี เขาก็ลาออกจาก Adallom เพื่อรวมตัวกับเพื่อน ๆ เพื่อสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพใหม่ จนมาปี 2020 ได้ก่อตั้ง Wiz ที่ให้บริการด้านระบบรักษาความปลอดภัยบน คลาวด์ โดยตลาดคลาวด์มีมูลค่าสูงถึง 5 แสนล้านเหรียญ และมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 20%

Assaf Rappaport

หลังก่อตั้งได้ 9 เดือน Wiz สามารถระดมทุน Series A มูลค่า 100 ล้านเหรียญ และ 5 เดือนจากนั้น ก็สามารถระดมทุน Series B มูลค่า 120 ล้านเหรียญ ภายในเวลา 18 เดือน บริษัทสามารถทำรายได้ถึง 100 ล้านเหรียญ และเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนปี 2023 สามารถสร้างรายได้ประมาณ 350 ล้านเหรียญ ซึ่งช่วยให้ได้รับการลงทุนเพิ่มเติม 1 พันล้านเหรียญ เดือนพฤษภาคม 2024 ด้วยการประเมินมูลค่า 1.2 หมื่นล้านเหรียญ ส่งผลให้ Wiz เป็น บริษัทซอฟต์แวร์ที่เติบโตเร็วที่สุดเท่าที่เคยมีมา

โดยจุดเด่นของ Wiz คือ ช่วยให้ผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์มองเห็นภาพรวมของระบบคลาวด์ทั้งหมด ขณะที่กลยุทธ์ของ Wiz จะเน้นมุ่งไปที่ บริษัทยักษ์ใหญ่ โดยจะระดมทุนมหาศาลเพื่อเร่งการจ้างงานและเร่งเครื่องการเติบโตของบริษัท ปัจจุบัน 40% ของบริษัทที่ติดอันดับ Fortune 100 เป็นลูกค้าของบริษัท อาทิ Fox, Morgan Stanley และ LVMH 

ล่าสุด Alphabet บริษัทแม่ของ Google ได้เจรจากับ Wiz หลังจากที่บริษัทระดมทุนได้ โดย Alphabet อาจเสนอเงินสูงถึง 2.3 หมื่นล้านเหรียญ เพื่อซื้อบริษัท ซึ่งสูงกว่ามูลค่าที่ประเมินเกือบ 2 เท่า และหากดีลสำเร็จ ดีล ดังกล่าวกลายเป็นดีลที่มีมูลค่าสูงสุดของบริษัท แซงหน้าดีลการซื้อ Motorola ที่มีมูลค่า 1.25 หมื่นล้านเหรียญ เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว  อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขของข้อตกลงยังไม่เสร็จสิ้นและการเจรจาอาจล่มได้

ทั้งนี้ ในเดือนมีนาคม 2022 Alphabet ได้ซื้อบริษัทความปลอดภัยทางไซเบอร์ Mandiant ในราคา 5.4 พันล้านเหรียญ เพื่อช่วยให้บริษัทต่าง ๆ จัดการกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ดีขึ้นและสนับสนุนธุรกิจคลาวด์คอมพิวติ้ง โดย Google พยายามจะดันรายได้ในฝั่ง Google Cloud เพื่อเป็นการกระจายรายได้นอกเหนือจากธุรกิจโฆษณา และแม้ว่ายอดขายบนคลาวด์จะเติบโตขึ้น แต่ก็ประสบปัญหาในการแข่งขันกับบริการที่คล้ายคลึงกันจาก Microsoft และ Amazon

“การซื้อ Wiz แสดงให้เห็นว่า Google กําลังเดิมพันครั้งใหญ่ในพื้นที่ความปลอดภัยทางไซเบอร์เพื่อเสริมธุรกิจ  คลาวด์” Dan Ives กรรมการผู้จัดการและนักวิเคราะห์วิจัยหุ้นอาวุโสที่ Wedbush กล่าว

CNN / Forbes / CCN

]]>
1482847
Alibaba ปรับแผนธุรกิจ และทีมผู้บริหารอีกรอบ หลังยกเลิกแผนนำธุรกิจ Cloud เข้า IPO ในตลาดหุ้น https://positioningmag.com/1453369 Sun, 26 Nov 2023 08:48:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1453369 Alibaba ได้ปรับทีมผู้บริหารใหม่อีกครั้ง หลังยกเลิกแผนนำธุรกิจ Cloud เข้า IPO ในตลาดหุ้น โดยให้สาเหตุว่าเกิดจากมาตรการแบนการส่งออกชิปของสหรัฐอเมริกา ส่งผลทำให้มูลค่าบริษัทลดลงไปถึงหลักหมื่นล้านเหรียญสหรัฐทันที

CNBC รายงานข่าวว่า Alibaba เริ่มปรับโครงสร้างภายในบริษัทอีกครั้ง ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ Alibaba ได้ประกาศยกเลิกนำธุรกิจ Cloud เข้า IPO โดยบริษัทได้ให้เหตุผลถึงมาตรการแบนการส่งออกชิปของสหรัฐอเมริกา ผลที่เกิดขึ้นทำให้ราคาหุ้นของ Alibaba ลดลงทันที รวมถึงทำให้มูลค่าบริษัทหายไปในระดับหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

แหล่งข่าวของ CNBC รายงานว่าสำหรับการปรับโครงสร้างดังกล่าว Alibaba ได้ตั้งทีมผู้บริหารชุดใหม่ที่ดูแลแผนกต่างๆ ของธุรกิจ Cloud ยกชุด ไม่ว่าจะเป็น Weiguang Liu ดูแลแผนกคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) ขณะที่ Jin Li ดูแลแผนกไฮบริดคลาวด์ (Hybrid Cloud)

ผู้บริหารทั้ง 2 รายข้างต้นจะขึ้นตรงกับ Eddie Wu ซึ่งเป็น CEO ของ Alibaba ที่เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา

ขณะที่ Jiangwei Jiang จะดูแลแผนกโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ (Cloud Infrastructure) จะขึ้นตรงกับ Jingren Zhou ซึ่งเป็น CTO ของธุรกิจ Cloud ของ Alibaba

ก่อนหน้านี้แผนการของ Alibaba คือการแยกธุรกิจออกมาเป็น 6 หน่วยธุรกิจ โดยให้เหตุผลสำคัญคือการปลดล็อกมูลค่าบริษัทให้กับผู้ถือหุ้น เพิ่มเรื่องของการกำกับดูแลองค์กรที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังรวมถึงส่งเสริมให้แต่ละธุรกิจสามารถแข่งขันในตลาดได้ ซึ่งธุรกิจ Cloud ถือเป็นส่วนหนึ่งในแผนการเช่นกัน

ในช่วงที่ผ่านมาธุรกิจ Cloud ของ Alibaba เองก็ได้รับแรงกดดันจากทั้งคู่แข่งหลายรายจากบริษัทเทคโนโลยีอย่าง Tencent หรือแม้แต่ Baidu ขณะเดียวกันก็ยังต้องพบกับแรงกดดันจากคู่แข่งรายสำคัญคือ Huawei ยักษ์ใหญ่อีกรายที่กำลังรุกตลาดอย่างหนักเช่นกัน

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา CEO ของ Alibaba ยังได้ประกาศถึงแผนการของธุรกิจ Cloud จะรุกในส่วน Public Cloud ที่เน้นให้บริการกับภาคธุรกิจมากกว่าการเน้นหาลูกค้าในฝั่งของหน่วยงานของรัฐบาลจีน ขณะเดียวกันเขาก็มองถึงการผลักดันเทคโนโลยี AI ซึ่งจะทำให้มีการประมวลผลผ่านระบบ Cloud ของบริษัทเพิ่มขึ้น

]]>
1453369
‘ซีเกท’ เตรียมโละพนักงาน 3,000 คนทั่วโลก หลังยอดขายพีซีลดลง https://positioningmag.com/1405782 Thu, 27 Oct 2022 10:20:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1405782 บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์เบอร์ต้น ๆ ของโลกอย่าง ซีเกท เทคโนโลยี (Seagate Technology) ได้เปิดเผยว่ามีแผนที่จะลดจำนวนพนักงานทั่วโลก 8% หรือประมาณ 3,000 คน โดยอ้างถึงความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและยอดขายพีซีที่ลดลง ส่งผลต่อความต้องการชิ้นส่วนที่ลดลงตามไปด้วย

ยอดขายคอมพิวเตอร์ – โน้ตบุ๊ก ประจำไตรมาส 2/2022 ปิดที่ 70.2 ล้านเครื่อง ถือว่าลดลง 15% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นตัวเลขต่ำสุดนับแต่การระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ ซีเกท เทคโนโลยี บริษัทผู้ผลิตฮาร์ดไดรฟ์และชิ้นส่วนที่ใช้ในพีซีและเซิร์ฟเวอร์คลาวด์ได้รับผลกระทบไปด้วย โดยบริษัทจำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง 3,000 คนทั่วโลกเพื่อปรับโครงสร้างต้นทุน

“นอกเหนือจากการปรับผลผลิตของเรา เพื่อขับเคลื่อนวินัยในการจัดหาและความมั่นคงด้านราคา เรากำลังดำเนินการตามแผนการปรับโครงสร้างใหม่เพื่อลดต้นทุนอย่างยั่งยืน รวมถึงการลดจำนวนพนักงานทั่วโลกของเรา” Dave Mosley ซีอีโอของซีเกท กล่าว

Dave Mosley รับว่า ไม่ใช่แค่ยอดขายพีซีที่ลดลงจนส่งผลกระทบกับการส่งออกชิ้นส่วนของบริษัท แต่ลูกค้าขององค์ซึ่งรวมถึงผู้ให้บริการระบบเซิร์ฟเวอร์คลาวด์ก็ลงทุนน้อยลง ซึ่งการเลิกจ้างงานของบริษัทครั้งนี้ สะท้อนถึงความต้องการคอมพิวเตอร์พีซีที่ลดลงหนักหลังจากการฟื้นตัวของการระบาดใหญ่

สำหรับการปรับโครงสร้างและการเลิกจ้างงาน จะช่วยให้บริษัทประหยัดเงินได้ประมาณ 110 ล้านดอลลาร์ต่อปี และจะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 1/2023 พร้อมคาดว่าจะจ่ายค่าใช้จ่ายก่อนหักภาษีประมาณ 65 ล้านดอลลาร์ ส่วนใหญ่เป็นค่าชดเชยและผลประโยชน์การเลิกจ้างอื่น ๆ

ที่ผ่านมา หุ้นของบริษัทร่วงลงมากกว่า 7% ระหว่างการซื้อขายในวันพุธ และลดลงมากกว่า 55% ในปี 2565 โดยซีเกทคาดว่ารายได้ในไตรมาส 3/2022 นี้จะอยู่ที่ 1.85 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งต่ำกว่าที่ FactSet คาดการณ์ไว้ที่ 2.12 พันล้านดอลลาร์

]]>
1405782
‘ไมโครซอฟท์’ เชียร์ไทยดันอุตสาหกรรม ‘พลังงานสะอาด’ ก้าวข้ามจาก Made in สู่ ‘Born in Thailand’ https://positioningmag.com/1394955 Thu, 04 Aug 2022 08:11:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1394955 ครบ 5 ปีเต็มที่ ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กุมบังเหียน ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่ ล่าสุด ธนวัฒน์ก็ได้ออกมาเปิดเผยถึงแง่มุมหรือทิศทางที่ประเทศไทยจะสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสร้าง New S-Curve ก้าวจาก Made in Thailand ไปสู่ Born in Thailand

ไทยติดหล่มผู้รับจ้างไม่ใช่เจ้าของ

อ้างอิงจากผลสำรวจ World Digital Competitiveness Ranking 2021 ของสถาบัน IMD จากสวิตเซอร์แลนด์ พบว่า ไทยถูกจัดอยู่ใน ลำดับ 38 จากทั่วโลก และ อันดับ 10 ของเอเชีย โดย

  • ความพร้อมด้านองค์ความรู้ อันดับ 42
  • ความพร้อมด้านเทคโนโลยี อันดับ 22
  • ความพร้อมด้าน Future Readiness อันดับ 44
  • การผลิตบัณฑิตสายวิทยาศาสตร์ อันดับ 17
  • การส่งออกเทคโนโลยีชั้นสูง อันดับ 12
  • ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล อันดับ 42
  • การจ้างงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันดับ 58
  • การจดสิทธิบัตรด้านเทคโนโลยีระดับสูง อันดับ 42

แม้จะมีการส่งออกเทคโนโลยีขั้นสูงจะอยู่อันดับที่สูง แต่ในความเป็นจริงไทยอยู่ในฐานะผู้รับจ้างผลิตไม่ได้เป็นเจ้าของ ดังนั้น จะเห็นว่ามีหลายด้านมากที่ไทยยังต้องพัฒนา โดยเฉพาะการผลิตหรือจดสิทธิบัตรด้านนวัตกรรมของตัวเอง

ธนวัฒน์ กล่าวว่า ไมโครซอฟท์ ได้พยายามเตรียมความพร้อมให้ประเทศไทยก้าวสู่ยุคต่อไป โดยแบ่งเป็น 3 ด้านหลัก ๆ ได้แก่

  • สร้างคน – ทักษะเชิงดิจิทัล และการเรียนรู้ในทุกระดับ
  • สู่อนาคต – เทคโนโลยีที่เสริมศักยภาพในการคิดและสร้างสิ่งใหม่ๆ อย่างมั่นใจและมีประสิทธิภาพ
  • เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่า – ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อนำทั้งทักษะและเทคโนโลยีมาสร้างความเปลี่ยนแปลงที่สัมผัสได้จริง

โดยไมโครซอฟท์วางเป้าเสริมทักษะเชิงดิจิทัลให้กับคนไทยในได้ 10 ล้านคน ภายในปี 2024 โดยปัจจุบันได้รีสกิลและอัพสกิลให้คนไทยแล้วกว่า 3 ล้านคน และจากนี้จะจับมือกับพาร์ตเนอร์ในการสร้าง ไมโครซอฟท์เลิร์นนิ่งเวิร์ส ให้คนเข้ามาเรียนเกี่ยวกับทักษะด้านดิจิทัล

สำหรับเทรนด์เทคโนโลยีโลกทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ Metaverse, AI, Quantum Computing และ Hybrid Work ซึ่งทั้ง 4 เทคโนโลยีทางไมโครซอฟท์ก็พร้อมสนับสนุน โดยให้บริการบนคลาวด์ ดังนั้นต้นทุนจะต่ำ แม้ว่าเศรษฐกิจจะไม่ดี แต่ที่ผ่านมาธนวัฒน์ก็ยังเห็นการลงทุนด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องในทุกอุตสาหกรรม

“ตอนนี้บริการต่าง ๆ เราอยู่บนคลาวด์ จ่ายเท่าที่ใช้ ทำให้ต้นทุนต่ำ ซึ่งปัจจุบันทุกอุตสาหกรรมตื่นตัวลงทุนในดิจิทัลหมด โดยเฉพาะแบงก์ที่เป็นผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยี และตอนนี้แบงก์ไทยไม่ได้มองแค่ไทย แต่เริ่มรุกตลาดภูมิภาคอื่น ๆ”

แนะไทยโฟกัสพลังงานสะอาด

หนึ่งในสิ่งที่ธนวัฒน์เห็นในไทยคือ การลงทุนในเทคโนโลยีนอกจากจะใช้เพื่อลดต้นทุนแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนเพื่อต่อยอดในมุมอื่น ๆ ของธุรกิจ อย่างธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้าจากต่างประเทศ ก็เอาเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้เพื่อช่วยในการ ลดการปล่อยมลพิษ เพราะในต่างประเทศมีค่าปรับที่สูงหากธุรกิจปล่อยมลพิษจำนวนมาก ดังนั้น ธนวัฒน์จึงมองว่าตอนนี้อุตสาหกรรม พลังงานสะอาด น่าจะเป็น New S-Curve ของไทย เช่น การทำอีวี พาไทยไปสู่ผู้นำด้านรถยนต์ไฟฟ้า

“ตอนนี้เป็นโอกาสที่จะเปลี่ยนจาก Made in Thailand เป็น Born in Thailand เพราะตอนนี้เทคโนโลยีล้ำ ๆ ที่ใช้ในอเมริกา ไทยก็มีใช้เหมือนกัน”

ทั้งนี้ ธนวัฒน์ยืนยันว่า แม้บริษัทเทคโนโลยีหลายรายชะลอการจ้างงาน แต่ไมโครซอฟท์ยังคงมีแผนที่จะลงทุนต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ 2023 นี้ ก็มีแผนจะจ้างานเพิ่มอีก 20-30% ในส่วนของแผนโซลูชันซิเคียวริตี้ และพาร์ตเนอร์กับลูกค้าเพื่อช่วยในการพัฒนาโซลูชัน

]]>
1394955
กาง 3 กลยุทธ์บุกตลาดคลาวด์ของ ‘AWS’ ชิงส่วนแบ่ง 4 หมื่นล้าน https://positioningmag.com/1386937 Sun, 29 May 2022 05:22:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1386937 ตั้งแต่ทั่วโลกเจอการระบาดของ COVID-19 องค์กรธุรกิจก็ตื่นตัวเรื่องการทรานส์ฟอร์มมากขึ้น ส่งผลให้เทคโนโลยี ‘คลาวด์’ เติบโตขึ้นไปตาม ๆ กัน โดยข้อมูลจากการ์ทเนอร์ระบุว่า ตลาดคลาวด์ในไทยมีมูลค่าถึง 4 หมื่นล้านบาท เติบโตจากปีที่ผ่านมาถึง 36.6% ด้วยอัตราการเติบโตดังกล่าวทำให้ผู้ให้บริการระดับโลกอย่าง AWS หรือ Amazon Web Services ก็ได้ออกมาเปิดเผยถึงแผนในการรุกตลาดไทยเพื่อชิงความได้เปรียบในตลาด

แม้ว่า AWS จะให้บริการในไทยมานานถึง 6 ปี และมีการลงทุนต่อเนื่อง แต่เพราะการเติบโตของตลาดทำให้ปีนี้ AWS จะลงทุนเปิด AWS Local Zone ภายใน 24 เดือน เพื่อต่อยอดบริการด้านการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ Edge กับคลาวด์ โดยไทยจะถือเป็น 1 ใน 16 เมืองทั่วโลกที่เปิด และภายใต้การนำของ ‘วัตสัน ถิรภัทรพงศ์’ อดีตผู้บริหารซิสโก้ มาเป็นผู้จัดการประจำประเทศไทย ก็ได้เปิดเผยถึง 3 ทิศทางของ AWS ในการรุกตลาดจากนี้

เพิ่มทีมเฉพาะทางรองรับความต้องการ

เนื่องจากการเติบโตของตลาดที่สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการตั้งแต่องค์กรขนาดใหญ่ไปจนถึง SME และสตาร์ทอัพ ดังนั้น AWS จะเพิ่มทีมที่หลากหลายมากขึ้นในไทย โดยบริษัทจะเพิ่มทั้งทีมด้านการขาย ด้านเทคนิค การบริการระดับมืออาชีพ และ solution architect รวมถึงทีม Digital Native Business (DNB) ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับการเติบโตของลูกค้ากลุ่มยูนิคอร์นที่กำลังเติบโตในประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการเพิ่มทีมภาครัฐมาโดยเฉพาะ โดยได้ช่วยดูเรื่องการพัฒนาแพลตฟอร์ม ‘หมอชนะ’

เพิ่มพาร์ตเนอร์ตัวแทนจำหน่าย

ที่ผ่านมา AWS จะเน้นขายบริการต่าง ๆ ผ่านตัวแทนจำหน่ายในไทย ปัจจุบันมีเครือข่ายพาร์ตเนอร์กว่า 7,000 ราย แต่ในปีนี้ AWS จะเน้นขายตรงด้วยตัวเองมากขึ้น ควบคู่กับการเพิ่มพาร์ตเนอร์เครือข่าย ซึ่งจะเน้นไปที่กลุ่ม SME และลูกค้าในต่างจังหวัดมากขึ้น

“ที่ผ่านมา เราเจอว่าองค์กรมีปัญหาเรื่องคนที่มีไม่พอ ทำให้เขาเลือกจะใช้คลาวด์เพื่อช่วยลดภาระ เพราะไม่ต้องจัดหาคนดูแลระบบ ไม่ต้องจ้างฝ่ายไอทีไปเน้นด้านบิสซิเนสมากกว่าไปดูเรื่องเซิร์ฟเวอร์ว่ามีปัญหาหรือไม่ ส่วนที่บางองค์กรยังไม่ย้ายไปคลาวด์เพราะความเข้าใจ เราเลยต้องช่วยลูกค้าเพิ่มทักษะกับความรู้”

เตรียมลูกค้าให้ใช้คลาวด์ได้ดียิ่งขึ้น

เนื่องจากตอนนี้ลูกค้าส่วนใหญ่จะโฟกัสการใช้คลาสด์แค่ แทนที่เซิร์ฟเวอร์ หรือใช้แค่ เก็บข้อมูลเป็นหลัก หรือคิดเป็นถึง 95% เลยทีเดียว ดังนั้น AWS จะช่วยให้ลูกค้าก้าวข้ามการใช้งานแบบพื้นฐานไปสู่ขั้นต่อไปก็คือ Modernization หรือการวางแผนใช้เทคโนโลยีขั้นสูง

เมื่อลูกค้าได้ใช้ระบบคลาวด์ได้ 2-3 ปี AWS จะช่วยวางแผนที่จะใช้เทคโนโลยีขั้นสูงขึ้น เช่น การพัฒนาแอปบนคลาวด์ช่วยลดการใช้อินฟราสตรักเจอร์ เพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น หรือการใส่เอไอ แมชชีนเลิร์นนิ่งเข้าไปขั้นเบื้องต้น และส่วนสุดท้าย ด้าน ความยั่งยืน และ Intelligent Service เช่น การใช้คลาวด์เพื่อลดการใช้พลังงานให้น้อยที่สุด หรือการพัฒนาฟีเจอร์เฉพาะเพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น ด้านการแพทย์ การเงิน อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

เรามองว่าการแข่งขันเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งเราก็มั่นใจว่า AWS เป็นผู้นำตลาดโดยมีเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ได้ครอบคลุมที่สุด มีฐานลูกค้าครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม และมีเครือข่ายพาร์ตเนอร์ครอบคลุมหลายแสนรายทั่วโลก

]]>
1386937
‘หัวเว่ย’ เปิด ‘ธุรกิจพลังงาน’ ครั้งแรกในไทย ย้ำ ลงทุนต่อเนื่องหวังดันไทยเป็น ‘ดิจิทัลฮับอาเซียน’ https://positioningmag.com/1346418 Thu, 12 Aug 2021 08:24:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1346418 แม้ว่าช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ‘หัวเว่ย’ (Huawei) จะสะดุดในกลุ่มของสมาร์ทดีไวซ์ โดยเฉพาะการผลิต ‘สมาร์ทโฟน’ ที่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากโดนสหรัฐฯ แบน แต่บริษัทเองยังคงมีธุรกิจด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีและการสื่อสาร ทั้ง เครือข่ายโทรคมนาคม, ไอที และบริการคลาวด์ ซึ่งบริการทั้ง 3 ส่วนในไทยนี้ หัวเว่ยก็ยืนยันว่าจะยังลงทุนต่อเนื่อง โดยย้ำว่าไทยยังคงเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของบริษัท

ย้ำชัด ลงทุนในไทย ต่อเนื่อง

อาเบล เติ้ง ซีอีโอหัวเว่ย ประเทศไทย กล่าวว่า หัวเว่ยประเทศไทยมีแผนที่จะลงทุนใน 4 ด้าน ได้แก่ 5G, Data Center & Cloud, mPower (ธุรกิจพลังงานดิจิทัล) และ การพัฒนาทักษะดิจิทัล

โดยหัวเว่ยได้ลงทุนจำนวน 475 ล้านบาท ในโครงการ 5G EIC และเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อวางรากฐานให้กับภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการทำ 5G City ในอนาคต นอกจากนี้ได้ร่วมมือกับพาร์ตเนอร์เพื่อจัดงานประชุมสุดยอด 5G Summit ในไทยในปีนี้

“จากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่าคนใช้ 5G ในไทยมีกว่า 2 ล้านคน และใน eec มีแผนว่าจะเปลี่ยนโรงงานกว่า 5 หมื่นแห่งใช้ 5G รวมถึงการปรับใช้ 5G ในชุมชน ซึ่งเราคาดว่าจำนวนการใช้ 5G ในไทยจะเพิ่มเป็น 16% ในไม่ช้าซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยมีความได้เปรียบมากขึ้น”

ส่วนด้าน Data Center & Cloud ที่ให้บริการมาแล้ว 2 ปี ปัจจุบันรั้งอันดับ 3 ในไทย ซึ่งในกลุ่มธุรกิจนี้ หัวเว่ยได้เตรียมลงทุนอีก 700 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างดาต้าเซ็นเตอร์แห่งที่ 3 โดยการลงทุนดังกล่าวจะช่วยสร้างงานในไทยกว่า 200 ตำแหน่ง ด้วยความร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ในไทยกว่า 200 ราย

อาเบล เติ้ง ซีอีโอหัวเว่ย ประเทศไทย

ธุรกิจพลังงานดิจิทัล ครั้งแรกในไทย

ส่วน ธุรกิจพลังงานดิจิทัล ถือเป็นครั้งแรกที่ลงทุนในไทย โดยบริษัทมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางดิจิทัลและเป็นผู้นำด้านคาร์บอนที่เป็นกลางในอาเซียน นอกจากนี้ ยังจะช่วยเพิ่มงานในไทยกว่า 1 พันตำแหน่ง โดยในส่วนของธุรกิจพลังงานดิจิทัลจะประกอบด้วย Prefabricated Modular Data Center, Smart PV และ Site Power Facility

ปัจจุบัน ตลาดประเทศไทยมีลูกค้าระดับองค์กรธุรกิจมากกว่า 1,000 ราย และองค์กรธุรกิจ 35 แห่งจาก 50 แห่ง มีหัวเว่ยเป็นพาร์ตเนอร์ ทั้งนี้ ภายในสิ้นปี หัวเว่ยตั้งเป้าเพิ่มรายได้จากธุรกิจพลังงานดิจิทัลเป็น 2 เท่าเป็น 1 หมื่นล้านดอลลาร์ทั่วโลก

เพิ่มแรงงานดิจิทัล 1 แสนคนใน 5 ปี

ที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ลงทุนกว่า 180 ล้านบาท ทำโครงการ Huawei ASEAN Academy เพื่อพัฒนาคนดิจิทัลซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการผลักดันการพัฒนาด้านดิจิทัล โดยหัวเว่ยมีเป้าหมายพัฒนาคนดิจิทัลให้ได้ 1 แสนคนใน 5 ปี

“การรับมือกับสถานการณ์โรคระบาดทำให้ทุกประเทศหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น หัวเว่ยพบว่าประเทศที่มีความพร้อมทางด้านไอทีมากกว่าประเทศอื่นจะสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่า โดยไทยถือเป็นประเทศที่มีความตื่นตัวในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ และเป็นประเทศผู้นำการลงทุน 5G เราจึงหวังว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถฟื้นตัวกลับมาได้ในอนาคตอันใกล้”

]]>
1346418
เผยผลสำรวจองค์กรไทยมอง ‘ไฮบริดคลาวด์’ ตัวเลือกหลักทรานส์ฟอร์มยุค COVID-19 https://positioningmag.com/1317381 Mon, 01 Feb 2021 09:42:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317381 แม้ว่าเทคโนโลยี ‘คลาวด์’ จะถูกพูดถึงมา 4-5 ปีแล้ว แต่เพราะปี 2020 ที่มีการระบาดของ COVID-19 จึงทำให้เกิดการตื่นตัวของ Digital Transformation เพราะองค์กรต่างต้องการความคล่องตัวมากขึ้นจึงหันมาใช้คลาวด์ แต่จะใช้ ‘แบบไหน’ ให้เข้ากับการใช้งานขององค์กรมากที่สุดน่าจะเป็นโจทย์ที่สำคัญในตอนนี้

‘นูทานิคซ์’ ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์คลาวด์ ได้เปิดเผยผลสำรวจผู้ประกอบธุรกิจพบว่า 86% ทั่วโลกสนใจใช้งาน ‘ไฮบริดคลาวด์’ ที่เป็นการผสมระหว่างพับลิคคลาวด์และไพรเวทคลาวด์ โดยคาดว่าภายใน 4 ปีข้างหน้าการใช้งานไฮบริดคลาวด์จะเติบโตขึ้น 4 เท่า ขณะที่การใช้งานดาต้าเซ็นเตอร์จะลดลงถึง 89%

โดยปัจจัยที่ทำให้องค์กรส่วนใหญ่เลือกจะมาใช้ไฮบริดคลาวด์ ก็คือ

  1. ความเร็วที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของธุรกิจ 79%
  2. ความสามารถในการควบคุมการใช้งานทรัพยากรไอทีได้มากขึ้น 67%
  3. ความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการทางธุรกิจ 66%

“ที่น่าสนใจคือ การใช้เพื่อลดต้นทุนกลายเป็นสิ่งที่องค์กรให้ความสำคัญน้อยลงกว่าในอดีต ซึ่งเหลืออยู่แค่ 46% จากเดิมจะต้องมีกว่า 50%” ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์ กล่าว

ในส่วนของประเทศไทย ค่อนข้างมีทิศทางเดียวกับทั่วโลก โดย

  • 76% การใช้ไฮบริดคลาวด์ถือเป็นทางแนวทางที่เหมาะสมสำหรับองค์กรปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเพิ่มสูงขึ้นกว่าเท่าตัวเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาและสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก
  • 67% มีแผนที่จะใช้ไฮบริดลาวด์ภายใน 5 ปี
  • 63% จากระดับการใช้ไฮบริดในปัจจุบัน
  • 3% เท่านั้นที่วางแผนจะใช้ดาต้าเซ็นเตอร์แบบดั้งเดิมที่ไม่ใช่ระบบคลาวด์ในอีก 5 ปีข้างหน้า

ทั้งนี้ การประหยัดค่าใช้จ่ายไม่ใช่เหตุผลหลักในการเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานไอทีในไทยเช่นกัน แรงจูงใจสามอันดับแรกในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานไอทีให้ทันสมัยของบริษัทในไทยที่ตอบแบบสำรวจ ได้แก่

  • 79% ต้องการเพิ่มความเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ
  • 67% ควบคุมการใช้ทรัพยากรไอทีให้มีประสิทธิภาพขึ้น
  • 67% ให้สามารถให้การสนับสนุนลูกค้าได้ดีขึ้น
  • 13% การประหยัดค่าใช้จ่าย

  •  82% ของผู้ตอบแบบสำรวจในไทยระบุว่า COVID -19 ทำให้องค์กรของตนมองเรื่องไอทีในเชิงกลยุทธ์มากขึ้น
  • 68% มีการเพิ่มการลงทุนในพับลิคคลาวด์ (เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 47%)
  • 56% มีการลงทุนในไพรเวทคลาวด์เพิ่มขึ้น (เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 37%)

“ที่ค่าเฉลี่ยเรามากกว่าประเทศอื่นในเอเชียแปซิฟิกและค่าเฉลี่ยโลก เพราะองค์กรไทยจำนวนมากยังดำเนินงานในรูปแบบที่ไม่พึ่งพาระบบไอทีมากเท่าไร องค์กรเหล่านี้จึงยังไม่ให้ความสำคัญกับไฮบริดคลาวด์ แต่ถ้าเป็นองค์กรใหญ่ก็จะยังลงทุนต่อเนื่องอยู่แล้ว”

อีกสิ่งที่น่าสนใจคือ แม้ผู้ตอบแบบสำรวจทุกคนจะระบุว่า COVID-19 มีผลทำให้ต้องลงทุนในระบบคลาวด์เพิ่มขึ้น แต่ 15% ขององค์กรระบุว่าจะยัง ‘ไม่ลงทุนคลาวด์ในช่วง COVID-19’ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่า 8% ที่เป็นค่าเฉลี่ยของภูมิภาคและ 10% ของค่าเฉลี่ยโลก

ปัจจุบัน กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานไฮบริดคลาวด์เพิ่มสูงมากขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงปีที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมโทรคมนาคมและการเงินการธนาคาร และจากตัวเลขที่พบว่าองค์กรในไทย 45% ได้ลงทุนเพิ่มเรื่องไฮบริดคลาวด์ช่วง COVID-19 ก็ถือเป็นสัญญาณบวกต่อนูทานิคซ์ โดยถือเป็นแนวโน้มที่จะทำให้บริษัทจะเติบโตได้ดีมากกว่าปีที่ผ่านมา

]]>
1317381
Xbox ขายดีจัด! ส่งธุรกิจเกมมิ่ง Microsoft โต 40% ทำยอดขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ https://positioningmag.com/1317388 Mon, 01 Feb 2021 07:51:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317388 Microsoft รายงานผลประกอบการธุรกิจไตรมาสล่าสุด รับอานิสงส์ล็อกดาวน์รอบใหม่ในหลายประเทศ Xbox ซีรีส์ใหม่ขายดี ยอดสมาชิกเพิ่ม ส่งยอดขายหมวดเกมมิ่งขึ้นแตะ 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อไตรมาสเป็นครั้งแรก นอกจากเกมมิ่งแล้ว ธุรกิจคลาวด์ Azure โตแรงเช่นกันโดยโตขึ้นถึง 50% จากปีก่อน

Microsoft รายงานผลประกอบการไตรมาสล่าสุด รอบเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2020 ทำรายได้ 43,100 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 17% จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า และทำกำไรสุทธิ 15,500 ล้านบาท เติบโตถึง 33% จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า

ไฮไลต์หลักหมวดธุรกิจที่เติบโตสูงมาก คือ “ธุรกิจเกมมิ่ง” จากการขาย Xbox และสมาชิกบริการเกม ซึ่งทำรายได้แตะ 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายในไตรมาสเดียว สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และโตขึ้น 40% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

รวมถึง “ธุรกิจคลาวด์” รายได้ของทั้งกลุ่มนี้อยู่ที่ 14,600 ล้านเหรียญ เติบโต 23% แต่ถ้าเจาะลึกจะพบว่ารายได้มาจากการเติบโตของ Azure ที่พุ่งขึ้นถึง 50%

สัตยา นาเดลลา ซีอีโอไมโครซอฟท์

Satya Nadella ซีอีโอ Microsoft กล่าวถึงรายได้ที่เติบโตดีเหล่านี้ว่า “สิ่งที่เราได้เป็นพยานรู้เห็นเมื่อปีก่อนคือช่วงอรุณรุ่งของการปฏิรูปดิจิทัลครั้งที่สอง คลื่นการปฏิรูปนี้ได้ซัดสาดทุกบริษัทและทุกอุตสาหกรรม”

“การสร้างความสามารถทางดิจิทัลของตนเอง เปรียบดั่งสกุลเงินใหม่ในการใช้ขับเคลื่อนการเติบโตและความยืดหยุ่นของทุกองค์กร Microsoft ได้เข้ามาเป็นพลังในการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วยแพลตฟอร์มคลาวด์ที่ใหญ่ที่สุดและครอบคลุมที่สุดในโลก”

โรคระบาด COVID-19 คือปัจจัยที่บีบให้หลายองค์กรต้องเปลี่ยนระบบมาทำงานระยะไกล รวมถึงทำให้กิจกรรมความบันเทิงถูกจำกัดให้อยู่แต่ในบ้าน ดังนั้น ทั้ง Azure และ Xbox จึงเป็นสินค้าและบริการที่ทำยอดขายได้ดีไปโดยปริยาย

รวมถึงบริษัทยังออก Xbox รุ่นใหม่ออกมาอีก 2 รุ่นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2020 ช่วยติดสปีดความสามารถในการสร้างรายได้ขึ้นไปอีกขั้น

Source

]]>
1317388
การเดิมพันครั้งใหญ่ของ ‘IBM’ กับการเจาะ ‘อุตสาหกรรมน้ำมัน’ ด้วย ‘ไฮบริดคลาวด์’ https://positioningmag.com/1296070 Wed, 09 Sep 2020 08:37:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1296070 ในช่วงวิกฤติการระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลให้การเดินทางทั่วโลกชะงักลง ส่งผลให้ อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ ได้รับผลกกระทบในทางอ้อมอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งนำไปสู่การ ‘ประหยัดต้นทุน’ ที่จำเป็นและหาหนทางสู่แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนมากขึ้น และนั่นคือโอกาสที่ ‘IBM’ บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์และให้บริการด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศรายใหญ่ของโลกมองเห็น

ด้วยความร่วมมือกับ Schlumberger ยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการบ่อน้ำมัน IBM จะสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลที่บริษัทน้ำมันและก๊าซสามารถเข้าถึงข้อมูลและซอฟต์แวร์แบบเรียลไทม์ทำให้พวกเขาได้เปรียบในการแข่งขัน โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวจะจัดวางชุดแอปของ Schlumberger ที่เรียกว่า DELFI เข้ากับเทคโนโลยีของ IBM เพื่อจัดหาเครื่องมือดิจิทัลให้กับบริษัทน้ำมันและก๊าซ ซึ่งซอฟต์แวร์ของ IBM สามารถช่วยตรวจสอบว่าดินและภูมิทัศน์ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเหมาะสำหรับการขุดเจาะหรือไม่ รวมถึงหามุมที่ดีที่สุดในการเจาะเพื่อเข้าถึงน้ำมันมากที่สุด

“ดิจิทัลกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมของเรา ทั้งอุตสาหกรรมตระหนักดีว่านี่คือสิ่งที่สามารถปลดล็อกประสิทธิภาพประสิทธิผลและประสิทธิภาพในระดับต่อไป” Olivier Le Peuch ซีอีโอของ Schlumberger กล่าว

ความร่วมมือของ Schlumberger เป็นส่วนหนึ่งของการเดิมพันครั้งใหญ่ของ IBM ใน ‘ไฮบริดคลาวด์’ ซึ่งเป็นการตั้งค่าทางเทคนิคที่ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถจัดการข้อมูลโดยใช้คลาวด์หลายตัวนอกเหนือจากเซิร์ฟเวอร์ในองค์กรของตนเอง และด้วยการย้ายเครื่องมือไปยังแพลตฟอร์มไฮบริดคลาวด์ของ IBM ซอฟต์แวร์ของ Schlumberger จะพร้อมใช้งานสำหรับบริษัทน้ำมันและก๊าซทุกแห่งทั่วโลก ไม่ว่าพวกเขาจะจัดเก็บข้อมูลอย่างไร โดยอาศัยซอฟต์แวร์จาก Red Hat ซึ่ง IBM ได้มาด้วยมูลค่ามหาศาลถึง 34,000 ล้านดอลลาร์ในเดือนกรกฎาคม 2019 ทำให้ง่ายต่อการย้ายข้อมูล

“เราคิดว่าวิธีการแบบผสมผสานจะช่วยปลดล็อกมูลค่าให้กับลูกค้าของเราได้มากกว่าแนวทางปกติบนคลาวด์เพียงอย่างเดียว” Arvind Krishna ซีอีโอของไอบีเอ็มกล่าว

Arvind Krishna ซีอีโอของไอบีเอ็ม

ความสามารถของระบบคลาวด์แบบไฮบริดเป็นกุญแจสำคัญที่เกิดจากความร่วมมือของ Schlumberger ที่สร้างขึ้นจากแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์บนคลาวด์ซึ่งมีความสามารถในตัวในด้าน AI และการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้ การร่วมมือดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์’ ที่ IBM ประกาศเมื่อเดือนที่แล้ว โดย IBM จะลงทุนในผู้ให้บริการซอฟต์แวร์บุคคลที่สามเพื่อขยายระบบนิเวศของบริษัทที่ทำงานบนแพลตฟอร์มคลาวด์แบบไฮบริด

Source

]]>
1296070
“อาลีบาบา” จ้างงานเพิ่ม 5,000 ตำแหน่ง พัฒนาเทคโนโลยี “คลาวด์” บูมช่วง COVID-19 https://positioningmag.com/1282957 Wed, 10 Jun 2020 12:31:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1282957 “อาลีบาบา” บริษัทเทคโนโลยีเเละอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของจีน ประกาศจ้างพนักงานด้านไอทีเพิ่มอีก 5,000 ตำเเหน่งในเเผนก “คลาวด์คอมพิวติ้ง” ให้ได้ภายในสิ้นปีนี้ หลังการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ความต้องการใช้งานสตรีมมิ่ง วิดีโอคอลเเละระบบจัดเก็บข้อมูล เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง

โดยตำเเหน่งงานใหม่ที่จะเพิ่มขึ้นนี้จะดูแลในด้านเครือข่าย ฐานข้อมูล เซิร์ฟเวอร์ ชิป และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งอาลีบาบา (Alibaba) นับเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียและใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก
ตามรายงานของ Gartner

Jeff Zhang ประธานของ Alibaba Cloud Intelligence ระบุในแถลงการณ์ว่า การจ้างงานนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนเเปลงครั้งสำคัญด้านดิจิทัลในภาคธุรกิจของจีน ซึ่งเคยคาดว่าจะใช้เวลาราว 3-5 ปี เเต่ตอนนี้จะถูกเร่งให้เสร็จสมบูรณ์ให้ได้ภายใน 1 ปีข้างหน้า

“เพื่อการเดินหน้าอย่างเต็มกำลัง เราไม่ได้จะสร้างเเค่ระบบคลาวด์ เทคโนโลยี และบริการที่น่าเชื่อถือเท่านั้น แต่เรายังจะลงทุนเฟ้นหาคนเก่งที่มีศักยภาพด้านไอทีทั่วโลกให้มาร่วมงานกับเรา”

ความเคลื่อนไหวดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากอาลีบาบาประกาศว่าจะใช้เงินลงทุน 2 แสนล้านหยวน (ราว 28,000 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในช่วง 3 ปีข้างหน้าเพื่อสร้างศูนย์ข้อมูลเพิ่ม เนื่องจากรายได้ในส่วนเทคโนโลยีคลาวด์ของบริษัทเติบโตขึ้นเป็น 40,000 ล้านหยวน (ราว 5,700 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในปีงบประมาณ 2020 นับว่าเพิ่มขึ้นกว่า 62% จากปี 2019

จากการเติบโตที่รวดเร็วนี้ ทำให้เหล่าบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ที่เป็นคู่เเข่งสำคัญ ก็มีการจ้างงานเพิ่มเช่นกัน โดย Microsoft ได้ประกาศจ้างงานเพิ่มอีกหลายร้อยตำแหน่งในส่วนของ Azure cloud service
ด้าน Amazon ไม่น้อยหน้าเพิ่มตำแหน่งงานกว่า 1,000 ตำแหน่ง ในส่วนเทคโนโลยีคลาวด์ และ Google จ้างเพิ่มงานหลายร้อยตำแหน่งในส่วนนี้เช่นกัน

เเม้ว่าช่วงนี้หลายบริษัททั่วโลกมีความจำเป็นต้อง “ปลดพนักงาน” จากผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤต COVID-19
โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจสายการบิน โรงเเรมเเละการท่องเที่ยว

เเต่ก็ยังมีหลายบริษัทที่ได้รับอานิสงส์จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงนี้ เเละมีความต้องการ “จ้างงานเพิ่ม”
อย่างกลุ่มเชนร้านค้าปลีก Walmart, Kroger, Dollar General และ Aldi รวมถึง Raytheon บริษัทผู้ผลิตอาวุธและเทคโนโลยี และบริษัทในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี อย่าง PayPal, Epic Games และ Riot Games ก็มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

 

ที่มา : CNN , Reuters , scmp

]]>
1282957