คอมพิวเตอร์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 29 Jan 2024 08:29:22 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ยอดขาย ‘พีซี’ ปี 2023 ลดลงกว่า 14% เหลือ 241.8 ล้านเครื่อง ทำสถิติต่ำสุดในรอบ 17 ปี https://positioningmag.com/1460622 Mon, 29 Jan 2024 05:23:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1460622 ปี 2023 ถือเป็นปีที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของตลาดพีซีทั่วโลก โดยภาพรวมลดลง 14.8% และนับเป็นปีที่สองติดต่อกันที่ลดลงในระดับเลขสองหลัก ซึ่งยอดขายพีซีทั่วโลกมีทั้งหมด 241.8 ล้านเครื่อง และถือเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปีที่ยอดขายมีไม่ถึง 250 ล้านเครื่อง

ตลาดพีซีทำสถิติต่ำสุดในรอบ 17 ปี

การ์ทเนอร์ อิงค์ เผยยอดขายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซีทั่วโลกปี 2023 ซึ่ง หดตัวติดต่อกัน 8 ไตรมาส นับตั้งแต่ปี 2022 โดยปี 2023 มียอดขายเพียง 241.8 ล้านเครื่อง ลดลงจาก 284 ล้านเครื่องในปี 2022 และนับเป็นครั้งแรกที่ยอดขายต่ำกว่า 250 ล้านเครื่อง นับตั้งแต่ปี 2006 ที่ตลาดพีซีมียอดขายเพียง 230 ล้านเครื่อง

อย่างไรก็ตาม ตลาดเริ่มมีสัญญาณบวกในช่วงไตรมาส 4 ปี 2023 ที่มียอดรวม 63.3 ล้านเครื่อง เติบโต 0.3% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2022 นับเป็นครั้งแรกที่ยอดขายพีซีรายไตรมาสกลับมาเติบโต โดย มิคาโกะ คิตากาวะ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ มองว่า ปี 2023 ถือเป็นปีที่ ตลาดพีซีมาถึงจุดลดลงต่ำสุดแล้ว และคาดว่าปี 2024 ตลาดจะกลับมาเติบโต อย่างไรก็ตาม สถานการณ์นี้อาจเปลี่ยนแปลงได้อีกเนื่องจากการขึ้นราคาของชิ้นส่วน รวมถึงความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ

Lenovo ครองเบอร์ 1 ตลาด

ผู้ขายพีซี 6 อันดับแรกในไตรมาส 4 ปี 2023 ยังไม่เปลี่ยนแปลง โดย Lenovo, HP, Apple และ Acer มีการเติบโตขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว มีเพียง Dell และ ASUS มีอัตราการเติบโตลดลง โดยเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว Lenovo มีการเติบโตในการจัดส่งพีซีทั่วโลก นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2021 ส่วน HP มีการเติบโตเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกันเมื่อเทียบรายปี ขณะที่ Dell มีการเติบโตลดลงเป็นไตรมาสที่ 7 ติดต่อกันเมื่อเทียบรายปี

เนื่องจากปัญหาพิษเศรษฐกิจในจีนส่งผลกระทบต่อความต้องการพีซี และยังกระทบรุนแรงต่อ Lenovo เนื่องจากจีนเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด อย่างไรก็ตาม Lenovo สามารถทำตลาดได้ดีในตลาดยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (หรือ EMEA) รวมถึงตลาดอเมริกาที่เติบโตในระดับเลขสองหลัก ซึ่งชดเชยตลาดเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นที่หดตัว

EMEA เติบโตสูงเป็นประวัติการณ์

ตลาดพีซีในยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา และอเมริกาเหนือ (EMEA) มีการเติบโตสูงเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบรายปี โดยถือเป็นผู้นำการเติบโตทั่วโลก โดยตลาดพีซีใน EMEA มีการเติบโตสูงสุดที่ 8.7% ซึ่งถือเป็นการกลับมาเติบโตครั้งแรกตั้งแต่ไตรมาส 4/2021 เมื่อเทียบเป็นรายปี

นอกจากนี้ ปี 2023 ถือเป็นปีแรกที่ตลาดพีซีในสหรัฐฯ เติบโตนับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2021 โดยเพิ่มขึ้น 1.8% ในไตรมาส 4 ปี 2023 ซึ่งการเติบโตของแล็ปท็อปช่วยชดเชยการเติบโตที่ลดลงของเดสก์ท็อป โดย HP ยังครองตำแหน่งผู้นำตลาดพีซีในสหรัฐฯ โดยมีส่วนแบ่งตลาดที่ 27.7% ตามมาด้วย Dell ที่ 24.2%

“การเติบโตของพีซีในสหรัฐฯ สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เนื่องจากตลาดมีเสถียรภาพในระหว่างไตรมาส เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งช่วยให้การใช้จ่ายของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางดีขึ้น ในขณะที่กลุ่มธุรกิจก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทขนาดใหญ่ยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย”

เอเชียแปซิฟิกหดตัวหนักเพราะจีน

ในส่วนของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงหดตัว -8% ในช่วง Q4/2023 โดยได้รับแรงกดดันจากยอดที่ตกต่ำในจีน นับเป็นการลดลงติดต่อกัน 7 ไตรมาส โดยแล็ปท็อปและเดสก์ท็อปเป็นอุปกรณ์ไอทีสองชนิดที่เติบโตลดลงในภูมิภาคนี้ ซึ่งเดสก์ท็อปได้รับผลกระทบมากกว่าโดยลดลงอย่างมีนัยสำคัญในประเทศจีน ส่งผลกระทบต่อตลาดเอเชียแปซิฟิกโดยรวมปรับตัวลดลงระดับเลขสองหลักเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่ตลาดหลักในเอเชียแปซิฟิกมีการลดลงเล็กน้อย ส่วนตลาดเกิดใหม่เติบโตขึ้นเพียงเลขหลักเดียว

]]>
1460622
“Mechanical Keyboard” ของสะสมที่ใช้แล้ว “ฟิน” สินค้านิชมาร์เก็ตที่มีคนยินดีจ่ายชิ้นละหลายหมื่น! https://positioningmag.com/1441576 Fri, 18 Aug 2023 10:44:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1441576 คีย์บอร์ดธรรมดาๆ แค่กำเงิน 200 บาทเข้าร้านไปก็หาซื้อได้ แต่ทำไมคนกลุ่มหนึ่งจึงยอมลงทุนกับ “Mechanical Keyboard” สนนราคาชิ้นละหลายหมื่นบาท Positioning ชวนหาคำตอบกับสินค้าตลาดนิชมาร์เก็ต ของรักของสะสมที่บูมขึ้นมาจากช่วง “Work from Home” ระหว่างล็อกดาวน์

คีย์บอร์ดธรรมดาสามัญประจำบ้านสามารถหาซื้อได้ที่ชิ้นละ 200 บาท ขยับขึ้นมาเป็นคีย์บอร์ดเกมมิ่งราคาอาจจะขึ้นมาที่ 1,500-5,000 บาท แต่ถ้าเป็น “Mechanical Keyboard” โดยเฉพาะกลุ่มที่ถอดประกอบได้ทุกชิ้นส่วนหรือ “Custom Keyboard” ราคาจะวิ่งขึ้นมาเริ่มที่ 5,000 บาท หากเข้าสู่ระดับไฮเอนด์ ราคาจะเริ่มที่ 10,000 บาทขึ้นไป และนี่คือสินค้าประเภทกึ่งใช้งานกึ่งสะสมที่มีคนไทยกลุ่มหนึ่งนิยมกันมาก

Positioning ไปพูดคุยกับ “ภูมิ-นันทโชติ รัตนเมธานนท์” เจ้าของร้านนำเข้าคีย์บอร์ดเพจ “NTCH Keys” เพื่อหาคำตอบว่า ทำไมคนเราถึงลงทุนกับคีย์บอร์ดชิ้นละหลายหมื่น?

Mechanical Keyboard
“ภูมิ-นันทโชติ รัตนเมธานนท์” เจ้าของร้านนำเข้าคีย์บอร์ดเพจ “NTCH Keys”

 

คีย์บอร์ดในฝัน ใช้แล้วฟิน

นันทโชติอธิบายความต่างของ Mechanical Keyboard กับคีย์บอร์ดธรรมดาก่อนว่า คีย์บอร์ดประเภทนี้จะสามารถถอดแยกทุกชิ้นส่วนออกจากกันได้ ตั้งแต่ส่วนโครงฐาน สวิตช์ข้างใต้ปุ่ม และคีย์แคปที่อยู่ข้างบน ซึ่งทำให้คีย์บอร์ดกลายเป็นของที่นักสะสมสามารถ ‘customize’ ได้ทั้งหมด ทั้งสีสัน รูปลักษณ์ และสวิตช์ที่สร้างสัมผัสการพิมพ์ที่แตกต่าง

“Custom Keyboard มันสามารถทำให้เป็นแบบที่เราตั้งใจได้ทั้งหมด รูปร่างภายนอกอาจจะทำเป็น theme-built ให้เข้ากับความชอบของเรา เช่น ธีมอนิเมะ, ธีม Star Wars, ธีม Lord of the Rings เสียงพิมพ์ก็สามารถเปลี่ยนสวิตช์ให้เป็นเสียงสูงต่ำได้ สัมผัสการพิมพ์มีแบบหนึบ แบบแข็ง ทั้งหมดเป็นประสบการณ์ใช้งานที่เชื่อมกับความรู้สึกทางใจครับ” นันทโชติกล่าว

Mechanical Keyboard
โครงสร้างในคีย์บอร์ดแยกชิ้นส่วนได้ทั้งสวิตช์ข้างใต้ ปุ่มคีย์แคปด้านบน พร้อมอุปกรณ์ในการประกอบ

นั่นจึงเป็น “เสน่ห์” ของ Mechanical Keyboard คือ การดีไซน์ที่มีคุณค่าทางใจมากขึ้น เปรียบไปจึงคล้ายกับของสะสมอื่น เช่น รถยนต์ นาฬิกา สินค้าระดับทั่วๆ ไปสามารถใช้ขับขี่หรือดูเวลาได้ทั้งนั้น แต่เหตุที่บางคนเลือกรถสปอร์ตหรือเลือกนาฬิกาหรู เพราะสิ่งเหล่านั้นมีค่าทางใจและเป็นของสะสม

Mechanical Keyboard ก็ไม่แตกต่างกัน เป็นของที่สามารถจินตนาการในการตกแต่ง และ ‘เล่น’ กับมันได้ด้วย เพราะนักสะสมสามารถแกะชิ้นส่วนประกอบเองได้

 

สนนราคา ‘หลายหมื่น’ ในระดับไฮเอนด์

นันทโชติเล่าถึงตลาดสินค้าประเภทนี้ว่า Mechanical Keyboard ทั่วไปราคาเริ่มต้นประมาณ 1,000 บาทก็เข้าถึงได้ แต่ถ้าต้องการ Custom Keyboard ถอดประกอบได้ ระดับเริ่มต้นต้องกำเงินมาอย่างน้อย 3,000 บาท และถ้าไต่ระดับขึ้นไปจนถึงไฮเอนด์จะอยู่ที่ 10,000 บาทขึ้นไป

Custom Keyboard แบรนด์ QwertyKeys รุ่น QK80 ราคาเริ่ม 6,280 บาท

ราคาที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียง การผลิตในจำนวนจำกัด (limited) จนถึงวัสดุ งานดีไซน์ คุณภาพการผลิต เป็นรายละเอียดเชิงลึกที่ต้องสัมผัสกับสินค้าเองจึงจะเห็นความแตกต่าง

แน่นอนว่าตลาดของสะสมลักษณะนี้สามารถรีเซลได้ ไม่ว่าจะรีเซลทั้งตัวคีย์บอร์ด หรือรีเซลแยกชิ้นส่วนก็ได้ เพียงแต่ราคาอาจจะเก็งกำไรยาก ส่วนใหญ่ราคาขายต่อจะไม่ต่างจากราคาซื้อมือหนึ่งเท่าไหร่นัก

ยกเว้นกรณีเป็นคีย์บอร์ดรุ่นดังที่มีดีมานด์สูงมากในช่วงนั้น หรือเป็นคีย์บอร์ดที่มีประวัติ เช่น คีย์บอร์ดแบรนด์ TGR รุ่น Jane ซึ่งขายครั้งแรกในราคาประมาณ 10,000-20,000 บาท แต่ถูกรีเซลจนปัจจุบันขึ้นไปถึง 100,000 บาท เพราะคีย์บอร์ดรุ่นนี้ถือเป็น Mechanical Keyboard ชิ้นแรกๆ ในวงการ จึงมีค่าทางประวัติศาสตร์ซ่อนอยู่ด้วย

คีย์บอร์ดแบรนด์ Sososoya รุ่น Violetta ≥70 ราคาเริ่ม 12,150 บาท

ในฝั่งซัพพลายผู้ผลิต นันทโชติมองว่าเจ้าตลาดใหญ่ 90% มาจากจีน ส่วนที่เหลือเป็นเกาหลีใต้ เพราะทั้งสองประเทศเป็นแหล่งผลิตใหญ่ ส่วนในไทยก็เริ่มมีดีไซเนอร์ที่เข้าสู่วงการนี้แล้วเหมือนกัน

 

คนซื้อไม่ได้มีแต่กลุ่ม ‘เกมเมอร์’ อย่างที่ใครคิด

คำถามสำคัญที่คนนอกวงการมักจะสงสัย คือ ‘คนกลุ่มไหนที่ซื้อคีย์บอร์ดราคาเป็นหมื่น?’

“โอ้โห จริงๆ คนติดภาพเนอะว่าคนที่ใช้ Mechanical Keyboard คงเป็นเกมเมอร์หรือโปรแกรมเมอร์ แต่จริงๆ แล้วคนซื้อใช้ก็คือคนทั่วๆ ไปทุกสายอาชีพเลย มีทั้งนักบัญชี หมอ นักศึกษา คนทำงานออฟฟิศ ใช่หมดเลย” นันทโชติกล่าว

…จริงๆ คนติดภาพเนอะว่าคนที่ใช้ Mechanical Keyboard คงเป็นเกมเมอร์หรือโปรแกรมเมอร์ แต่จริงๆ แล้วคนซื้อใช้ก็คือคนทั่วๆ ไปทุกสายอาชีพเลย มีทั้งนักบัญชี หมอ นักศึกษา คนทำงานออฟฟิศ ใช่หมดเลย

แต่ที่พอจะวัดได้ว่ามีลักษณะเฉพาะคือ นันทโชติพบว่าลูกค้าของเขา 80-90% เป็น “ผู้ชาย” ซึ่งถ้าให้คาดเดาอาจจะเป็นเพราะ Mechanical Keyboard ที่ถอดประกอบเองได้มีลักษณะเป็น ‘งานช่าง’ ซึ่งดึงดูดใจผู้ชายได้มากคล้ายๆ กับการแต่งรถ

เมื่อของสะสมชิ้นนี้ไม่ได้จำกัดวงไว้ที่เกมเมอร์ ทำให้แรงขับเคลื่อนที่ทำให้สินค้านี้ ‘ฮิต’ สุดๆ จึงไม่ใช่เกม แต่เป็นการ ‘ล็อกดาวน์’ ที่ทำให้คนจำนวนมากต้อง Work from Home

“ช่วงโควิด-19 เป็นจุดตัดที่สำคัญมากสำหรับวงการคีย์บอร์ดในประเทศไทย” นันทโชติกล่าว “ผมว่ามันเป็นแพทเทิร์นเดียวกันทั่วโลก ช่วงโควิด-19 เป็นช่วงที่เราต้องโฟกัสกับตัวเอง โฟกัสกับที่บ้านมากขึ้นเพราะเส้นแบ่งของที่บ้านกับที่ทำงานเริ่มไม่ชัดเจน บางคนเรียกว่าเป็นที่เดียวกันเลยก็ได้ คนเลยพร้อมจะลงทุนและให้ความสำคัญกับการจัดโต๊ะทำงานที่บ้าน พิถีพิถันมากขึ้น คีย์บอร์ดก็เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ต้องเลือก

คีย์บอร์ด Sonic 170 ราคาเริ่ม 13,550 บาท

วัดได้ชัดเจนจากคอมมูนิตี้ในกลุ่ม Facebook กลุ่ม “Thailand Mechanical Keyboard Community” ช่วงก่อนเกิดโรคระบาดมีสมาชิกเพียง 3,000 คน แต่ในช่วงต้นปี 2563 ทันทีที่เกิดโรคระบาด สมาชิกพุ่งขึ้นเป็น 30,000 คน และเติบโตต่อเนื่องตลอด 3 ปี จนปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มกว่า 82,000 คน

 

คนกลับไปใช้ชีวิตนอกบ้าน โอกาสเริ่ม ‘อิ่มตัว’

สำหรับร้าน NTCH Keys เพิ่งตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนเมษายน 2565 ในฐานะตัวกลางรับสั่งซื้อและนำเข้าสินค้า ร้านทำธุรกิจมาถึงปี 2566 นันทโชติยอมรับว่า ปีนี้ตลาดเริ่มจะเข้าสู่ภาวะ ‘อิ่มตัว’ เพราะการเปิดเมืองทำให้คนหันไปโฟกัสกับกิจกรรมนอกบ้านมากกว่าการจัดโต๊ะทำงาน

อย่างไรก็ตาม ถ้าเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 ก็ยังถือว่าตลาดโตขึ้นมามากแล้วและยังมีโอกาสการขายอยู่สำหรับคนที่หลง ‘เสน่ห์’ ของคีย์บอร์ดไปแล้วเรียบร้อย

“ผมคิดว่าหลายคนเริ่มมาจากการหาคีย์บอร์ดใช้งานหรือเล่นเกมก่อน แต่สักพักพอเข้ามาแล้วมันจะเป็น ‘โพรงกระต่าย’ ที่มันลงไปต่อได้เรื่อยๆ ไม่จบสิ้น คุณจะเริ่มมีคีย์บอร์ดหลายตัวมากขึ้น” นันทโชติกล่าว

เขาเสริมว่าเป็นเพราะคนในวงการนี้จะตามหาคีย์บอร์ดที่เรียกกันว่า ‘end game’ หรือคีย์บอร์ดตัวที่ใช่ที่สุด ซึ่งสิ่งที่ยากที่สุดคือ “เสียงและสัมผัสการพิมพ์เพราะถึงแม้จะดูรีวิวมากเท่าไหร่ก็ไม่เท่าสั่งมาลองใช้เอง จึงเป็นที่มาของการซื้อใหม่และขายต่อได้เรื่อยๆ เพราะไม่รู้ว่า ‘end game’ ที่ว่านั้นจะหาเจอเข้าสักวันหรือไม่

]]>
1441576
‘AMD’ ก็ไม่รอด! รายได้ลดลง 9% เหตุยอดขายพีซีหดตัวหนัก https://positioningmag.com/1429373 Wed, 03 May 2023 05:39:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1429373 หลังจากที่ อินเทล (Intel) บริษัทผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของโลกได้รายงานผลประกอบการไตรมาสแรกของปี ซึ่งเป็นการขาดทุนครั้งใหญ่เป็นประวัติการณ์ ล่าสุดคู่แข่งอย่าง เอเอ็มดี (AMD) ก็ไม่ต่างกัน

เอเอ็มดี รายงานผลประกอบการไตรมาสแรก โดยมีรายรับ 5.3 พันล้านดอลลาร์ ลดลง 9% โดยผลขาดทุนสุทธิของบริษัทพุ่งไปที่ 139 ล้านดอลลาร์ โดยไม่รวมการขาดทุนบางส่วนจากการลงทุนและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อกิจการ ส่งผลให้หุ้นลดลง 6% ในการซื้อขายระยะยาวในวันอังคาร

รายได้จากกลุ่มพีซีลดลงมากถึง 65% โดยมีรายได้ 739 ล้านดอลลาร์ จากยอดขาย 2.1 พันล้านดอลลาร์ในปีก่อน ขณะที่กลุ่ม Data Center รายได้อยู่ที่ 1,295 ล้านดอลลาร์ ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ส่วนกลุ่ม Gaming รายได้ 1,757 ล้านดอลลาร์ ลดลง 6% ขณะที่กลุ่ม Embedded ยังเติบโตสูงถึง 163% มีรายได้ 1,562 ล้านดอลลาร์

อย่างไรก็ตาม Lisa Su CEO ของ AMD ยังเชื่อว่า การเติบโตของตลาดพีซีและเซิร์ฟเวอร์จะเริ่มดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง จากที่ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา อุตสาหกรรมพีซีกำลังตกต่ำอย่างหนัก โดยยอดจัดส่งลดลง 30%

“เราเชื่อว่าไตรมาสแรกเป็นจุดต่ำสุดสำหรับธุรกิจพีซีของเรา”

Source

]]>
1429373
Apple ก็ไม่รอด! พบยอดจัดส่ง Mac ลดลงกว่า 40% ในช่วง Q1 หลังตลาดพีซีทั่วโลกหดตัวหนัก https://positioningmag.com/1427055 Mon, 10 Apr 2023 11:59:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1427055 อย่างที่รู้กันว่าหลังจากที่ทั่วโลกล็อกดาวน์เพราะโควิดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หนึ่งในสินค้าที่ขายดีก็คือ พีซี, โน้ตบุ๊ก แต่หลังจากสถานการณ์คลี่คลาย ยอดขายก็กลับมาสู่ภาวะปกติ ทำให้ตลาดหดตัวอย่างมาก และในปี 2566 แบรนด์ Apple ที่ถือเป็นแบรนด์เดียวที่ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ในที่สุดก็มาถึงจุดที่การเติบโตชะลอตัวลง

IDC เปิดเผยว่า ยอดการจัดส่งพีซี, โน้ตบุ๊กทั่วโลกของทุกแบรนด์รวมกันในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 ลดลง -29% อยู่ที่ 56.9 ล้านเครื่อง ซึ่งถือว่าลดลงต่ำกว่าระดับของต้นปี 2562 เนื่องจากความต้องการที่ถูกขับเคลื่อนโดยการทำงานระยะไกลในยุคการระบาดของโควิดได้หายไป

ในบรรดาผู้นำตลาด เช่น Lenovo และ Dell Technologies ลดลงมากกว่า -30% ในขณะที่ HP ลดลง -24.2% ส่วน Asus ลดลง -30.3% และแบรนด์พรีเมียมอย่าง Apple ลดลง -40.5% ดังนั้น จะเห็นว่าไม่มีแบรนด์หลักรายไหนรอดพ้นจากการชะลอตัวของตลาด

สืบเนื่องจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ชะลอตัวในช่วงปีที่ผ่านมาส่งผลให้ตลาดสินค้าไอทีลดลงอย่างมาก อาทิ ยอดจัดส่งสมาร์ทโฟนลดลงเป็นตัวเลขสองหลักด้วยความต้องการที่ลดลงอย่างมาก ทำให้บรรดาซัพพลายเออร์ชิปหน่วยความจำระดับแนวหน้าของโลก อาทิ Samsung กำลังลดการผลิตหน่วยความจำหลังจากรายงานผลกำไรที่น้อยที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตการเงินในปี 2552

อย่างไรก็ตาม IDC มองว่าในปี 2567 ความต้องการของตลาดพีซีอาจฟื้นตัวได้ โดยได้รับแรงหนุนจากการความต้องการอัปเกรดฮาร์ดแวร์และเศรษฐกิจโลกกำลังดีขึ้น

Source

]]>
1427055
‘Dell’ ประกาศเลิกจ้างพนักงาน 6,650 ตำแหน่ง หลังยอดขายคอมพิวเตอร์-โน้ตบุ๊กตก 37% https://positioningmag.com/1418148 Tue, 07 Feb 2023 03:19:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1418148 อย่างที่รู้กันว่าการจัดส่งพีซีทั่วโลกในช่วง Q4/2022 ลดลง 28% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2021 เนื่องจากความต้องการพีซีและแล็ปท็อปทั่วโลกชะลอตัวลง ส่งผลให้ยอดจัดส่งของ เดลล์ (Dell) ลงลงถึง 37% ตามรายงานของนักวิเคราะห์อุตสาหกรรมที่ IDC จนนำไปสู่การลดจำนวนพนักงาน

เจฟฟ์ คล้าร์ก ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการร่วมของเดลล์ กล่าวว่า บริษัทจำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง 5% หรือราว 6,650 ตำแหน่ง จากพนักงานทั้งหมด 133,000 คน (ล่าสุด 22 มกราคม 2022) เนื่องการความพยายามในการลดต้นทุนอื่น ๆ เช่น การจำกัดการเดินทาง การหยุดจ้างงานภายนอก และลดการใช้จ่ายด้านบริการจากภายนอก ไม่เพียงพออีกต่อไป

“น่าเสียดายที่มีการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ สมาชิกบางคนในทีมของเราจะลาออกจากบริษัท ไม่มีการตัดสินใจไหนที่ยากไปกว่านี้ แต่เราต้องทำเพื่อความสำเร็จในระยะยาวของเรา”

จากตัวเลขของ IDC ระบุว่า การจัดส่งคอมพิวเตอร์ของ Dell ลดลง 37% ในขณะที่คู่แข่งอย่าง Lenovo, HP และ Apple ลดลง 28% 29% และ 2% ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นว่า Dell เป็นแบรนด์ที่มียอดจัดส่งหดตัวมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม คลาร์ก ย้ำว่า เดลล์ที่ได้เผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยมาก่อนและนั่นทำให้บริษัท แข็งแกร่งขึ้น และจะพร้อมเมื่อ ตลาดฟื้นตัว

ดูเหมือนว่าการปลดพนักงานในบริษัทเทคโนโลยีจะยังไม่หมดลง โดยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาก็มี PayPal ประกาศแผนปลดพนักงาน 2,000 ตำแหน่ง

]]>
1418148
‘ซีเกท’ เตรียมโละพนักงาน 3,000 คนทั่วโลก หลังยอดขายพีซีลดลง https://positioningmag.com/1405782 Thu, 27 Oct 2022 10:20:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1405782 บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์เบอร์ต้น ๆ ของโลกอย่าง ซีเกท เทคโนโลยี (Seagate Technology) ได้เปิดเผยว่ามีแผนที่จะลดจำนวนพนักงานทั่วโลก 8% หรือประมาณ 3,000 คน โดยอ้างถึงความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและยอดขายพีซีที่ลดลง ส่งผลต่อความต้องการชิ้นส่วนที่ลดลงตามไปด้วย

ยอดขายคอมพิวเตอร์ – โน้ตบุ๊ก ประจำไตรมาส 2/2022 ปิดที่ 70.2 ล้านเครื่อง ถือว่าลดลง 15% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นตัวเลขต่ำสุดนับแต่การระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ ซีเกท เทคโนโลยี บริษัทผู้ผลิตฮาร์ดไดรฟ์และชิ้นส่วนที่ใช้ในพีซีและเซิร์ฟเวอร์คลาวด์ได้รับผลกระทบไปด้วย โดยบริษัทจำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง 3,000 คนทั่วโลกเพื่อปรับโครงสร้างต้นทุน

“นอกเหนือจากการปรับผลผลิตของเรา เพื่อขับเคลื่อนวินัยในการจัดหาและความมั่นคงด้านราคา เรากำลังดำเนินการตามแผนการปรับโครงสร้างใหม่เพื่อลดต้นทุนอย่างยั่งยืน รวมถึงการลดจำนวนพนักงานทั่วโลกของเรา” Dave Mosley ซีอีโอของซีเกท กล่าว

Dave Mosley รับว่า ไม่ใช่แค่ยอดขายพีซีที่ลดลงจนส่งผลกระทบกับการส่งออกชิ้นส่วนของบริษัท แต่ลูกค้าขององค์ซึ่งรวมถึงผู้ให้บริการระบบเซิร์ฟเวอร์คลาวด์ก็ลงทุนน้อยลง ซึ่งการเลิกจ้างงานของบริษัทครั้งนี้ สะท้อนถึงความต้องการคอมพิวเตอร์พีซีที่ลดลงหนักหลังจากการฟื้นตัวของการระบาดใหญ่

สำหรับการปรับโครงสร้างและการเลิกจ้างงาน จะช่วยให้บริษัทประหยัดเงินได้ประมาณ 110 ล้านดอลลาร์ต่อปี และจะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 1/2023 พร้อมคาดว่าจะจ่ายค่าใช้จ่ายก่อนหักภาษีประมาณ 65 ล้านดอลลาร์ ส่วนใหญ่เป็นค่าชดเชยและผลประโยชน์การเลิกจ้างอื่น ๆ

ที่ผ่านมา หุ้นของบริษัทร่วงลงมากกว่า 7% ระหว่างการซื้อขายในวันพุธ และลดลงมากกว่า 55% ในปี 2565 โดยซีเกทคาดว่ารายได้ในไตรมาส 3/2022 นี้จะอยู่ที่ 1.85 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งต่ำกว่าที่ FactSet คาดการณ์ไว้ที่ 2.12 พันล้านดอลลาร์

]]>
1405782
เงินเฟ้อทำตลาด ‘ไอที’ ทั่วโลกดิ่งหนัก เหตุผู้บริโภครัดเข็มขัดเบรกซื้อ ‘คอม-มือถือ’ ใหม่ https://positioningmag.com/1391660 Thu, 07 Jul 2022 05:42:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1391660 ช่วงเวลาขาขึ้นผ่านไปไวกว่าที่คิดสำหรับตลาดสินค้า ‘ไอที’ หลังจากที่ 2 ปีก่อนสามารถเติบโตได้เนื่องจากผู้บริโภคอยู่บ้านมากขึ้น จึงมีความต้องการอุปกรณ์ไอทีสำหรับใช้เรียน ทำงาน รวมถึงกิจกรรมคลายเครียดแก้เบื่ออย่างการเล่นเกม บริษัทวิจัยหลายสำนักคาดว่าขาลงของตลาดจะเริ่มเห็นชัดในปีหน้า แต่จากภาวะเศรษฐกิจก็ย่นเวลาให้ตลาดดิ่งหนักในปีนี้

ตัวเลขจาก Gartner ได้ชี้ให้เห็นว่า ตลาดไอที กำลังจะตกต่ำอย่างมากในปีนี้ โดยคาดว่าตัวเลขยอดจัดส่ง พีซี จะลดลง -9.5% แบ่งเป็น ตลาดคอนซูมเมอร์ -13.5% ส่วน ตลาดองค์กรลดลง 7.2% โดยเฉพาะในทวีปยุโรปตะวันออกกลางและแอฟริกาในภูมิภาค จะแย่ที่สุดโดยลดลงถึง -14%

ไม่ใช่แค่ตลาดพีซี แต่ ตลาดแท็บเล็ต คาดว่าจะลดลง -9% และ สมาร์ทโฟน -7.1% จากที่ปี 2021 สามารถเติบโต 5% โดยรวมแล้ว ภาพรวมตลาดไอทีลดลง -7.6% จากที่ปี 2021 แต่ที่หนักสุดก็คือ ตลาดพีซี

ของแพงและเงินเฟ้อทำรัดเข็มขัด

Ranjit Atwal นักวิเคราะห์อาวุโสของ Gartner กล่าวว่า สำหรับตลาดพีซี กลุ่ม Chromebook เป็นหมวดหมู่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากในอเมริกาไม่มีความต้องการซื้อ เพื่อการศึกษา เนื่องจากเด็ก ๆ กลับไปเรียนได้ตามปกติ ส่วนในยุโรปยังพอมีความต้องการระดับหนึ่ง

นอกจากนี้ ยังมีความไม่แน่นอนจากสภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน การปรับขึ้นราคาสินค้าเนื่องจากซัพพลายเชน และปัญหาเงินเฟ้อที่ทำให้ผู้บริโภคชะลอการเปลี่ยนไปใช้ของใหม่ รวมไปถึงการล็อกดาวน์ในจีนยังส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคทั่วโลก

“ตอนแรกเราคาดว่าตลาดจะเริ่มลดลงในปี 2023 แต่มันกลับเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คิด เนื่องจากการซื้อสินค้าของผู้บริโภคลดลงอย่างรวดเร็ว”

5G ไม่ช่วยอย่างที่คิด

หลังจากตลาดเริ่มอิ่มตัว 5G ที่ถือเป็นอีกความหวังใหม่ของตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลก ก็ไม่ได้ช่วยอย่างที่คิด อย่างในจีนช่วงปี 2021 ยอดการจัดส่งสมาร์ทโฟน 5G จะเติบโตขึ้น 65% แต่ในปี 2022 นี้คาดว่าจะเติบโตเพียง 2% เท่านั้น

“ในช่วงต้นปี ตลาดโทรศัพท์ 5G ของจีนในแผ่นดินใหญ่ คาดว่าจะเติบโตเป็นตัวเลขสองหลัก แต่ผลกระทบของนโยบาย Zero COVID-19 ของจีน และผลจากการล็อกดาวน์ได้พลิกกลับแนวโน้มนี้อย่างมาก เพราะผู้บริโภคหยุดซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็น รวมถึงสมาร์ทโฟน 5G”

ส่วนภาพรวมทั่วโลก อยากจัดส่งสมาร์ทโฟน 5G จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ Gartner ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตจาก 47% ในปี 2021 เหลือเพียง 29% เท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขของ IDC ที่คาดการณ์ว่าจะมีการชะลอตัวในทำนองเดียวกัน อย่างไรก็ตาม Gartner คาดว่าความต้องการเปลี่ยนไปใช้สมาร์ทโฟน 5G จะเริ่มกลับมาสูงขึ้นอีกครั้งในปี 2023 หลังจากที่สมาร์ทโฟน 4G เริ่มตกรุ่น

]]>
1391660
จีนเตรียมสั่งโละ “คอมพิวเตอร์ต่างชาติ” ใน 2 ปี เชียร์ประชาชนใช้ Linux แทน Windows https://positioningmag.com/1384313 Sun, 08 May 2022 06:16:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1384313 กลุ่มสื่อต่างชาติรายงาน จีนสั่งหน่วยงานรัฐบาลกลางและบริษัทที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐเปลี่ยนคอมพิวเตอร์แบรนด์ต่างชาติเป็นแบรนด์จีนภายใน 2 ปี

ประกาศดังกล่าวมีแนวโน้มว่าจะส่งผลโดยตรงต่อยอดขายของบริษัท HP Inc. และ Dell Technologies Inc. ซึ่งเป็นแบรนด์พีซีรายใหญ่ที่สุดในจีน ทำให้หุ้นของ HP และ Dell ในตลาดหุ้นนิวยอร์กลดลงประมาณ 2.5% เมื่อเช้าวันศุกร์ที่ 6 พ.ค.

ในขณะที่มูลค่าหุ้นของบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แบรนด์จีน เช่น Lenovo, Inspur Software Co. และ Kingsoft Corp. ต่างมีมูลค่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

คำสั่งของรัฐบาลล่าสุดน่าจะครอบคลุมเฉพาะแบรนด์พีซี และซอฟต์แวร์เท่านั้น ไม่รวมส่วนประกอบที่ยากต่อการเปลี่ยน เช่น ไมโครโปรเซสเซอร์

รัฐบาลจีนยังสนับสนุนประชาชนเปลี่ยนการใช้ระบบปฏิบัติการ Windows ของ Microsoft มาเป็น Linux แทน

รายงานระบุว่า มาตรการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอันยาวนานในการเลิกพึ่งพาเทคโนโลยีของสหรัฐฯ เพื่อปิดช่องโหว่ที่อาจทำให้สหรัฐฯ คว่ำบาตรต่อบริษัทต่างๆ ที่ผ่านมา จีนพยายามอย่างมากที่จะลดการพึ่งพาต่างชาติในทุกสิ่ง ตั้งแต่เซมิคอนดักเตอร์ไปจนถึงเซิร์ฟเวอร์และโทรศัพท์

ก่อนหน้านี้ จีนห้ามจัดซื้อจัดจ้างผลิตภัณฑ์บางรายการอย่างเป็นทางการ เพื่อเป็นการตอบโต้ยักษ์ใหญ่ด้านไอทีของสหรัฐฯ ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น Hewlett Packard Enterprise Co. และ Microsoft ต้องจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับบริษัทภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาลจีน เพื่อรักษาฐานลูกค้าในจีนต่อไป

Source

]]>
1384313
กลับมาจุดเดิม! ยอดขาย ‘พีซี’ โลก -7.3% เคยโตเร็วสุดในรอบ 20 ปี เพราะได้โควิดดัน https://positioningmag.com/1381370 Tue, 12 Apr 2022 03:06:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381370 ในไตรมาสแรกของปี 2564 ยอดขายพีซีทั่วโลกมีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในรอบ 20 ปี เนื่องจากผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจซื้อแล็ปท็อปและเดสก์ท็อปเครื่องใหม่เพื่อ Work และ Learn Form Home และภาพรวมทั้งปี ยอดขายพีซีเติบโตขึ้นประมาณ 15% หลังจากที่ตั้งแต่ปี 2555 ตลาดพีซีทั่วโลกแทบไม่เติบโต

มาไตรมาสแรกของปี 2565 การจัดส่งพีซีทั่วโลกลดลงอย่างมาก ซึ่งบ่งชี้ว่าช่วงที่บูมที่สุดของยอดขายพีซีได้สิ้นสุดลงแล้วโดย Gartner คาดว่า ยอดส่งมอบพีซีปีนี้จะลดลง -7.3% เหลือ 77.5 ล้านเครื่อง ซึ่งส่วนที่ลดลงมากที่สุดมาจากยอดขาย Chromebook ซึ่งเป็นแล็ปท็อปราคาประหยัดที่ได้รับความนิยมในโรงเรียน

เช่นเดียวกับ IDC ที่ประเมินว่าตลาดจะลดลง 5.1% เป็น 80.5 ล้านเครื่อง ส่วน Canalys คาดว่าตลาดจะลดลง -3% ในช่วงไตรมาสแรกของปี 65 อย่างไรก็ตาม Gartner ประเมินว่าแม้ว่าจำนวนเครื่องจะลดลง แต่มูลค่าตลาดทั้งหมดยังคงเติบโตได้ราว +3.3% ต่อปี

นักวิเคราะห์บางคนมองว่า สาเหตุที่เริ่มเห็นสัญญาณการเติบโตของตลาดที่ช้าลงอย่างมาก มาจากผู้บริโภคจำนวนมากซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ไปแล้ว ขณะที่อุตสาหกรรมเผชิญกับความท้าทายเกี่ยวกับการจัดหาชิ้นส่วนที่จำเป็นสำหรับแล็ปท็อปและเดสก์ท็อป อันเนื่องมาจากปัญหาการขาดแคลนชิปทั่วโลกในช่วงที่ยอดขายพีซีเฟื่องฟู อีกทั้งผู้จำหน่ายพีซีหยุดส่งคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ไปยังรัสเซียในระหว่างการรุกรานยูเครน

สำหรับบริษัทที่มียอดขายพีซีสูงสุด 6 อันดับในช่วงไตรมาสแรกของปี ได้แก่

  • Lenovo
  • HP
  • Dell
  • Apple
  • Asus
  • Acer

Source

]]>
1381370
พลัง ‘Work From Home’ ดันยอดขาย ‘พีซี’ ทั่วโลกโต 14.8% สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2555 https://positioningmag.com/1370286 Thu, 13 Jan 2022 07:54:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370286 ตั้งแต่การมาของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ตลาดพีซี-โน้ตบุ๊กก็มีแต่ทรงกับทรุดมาตลอด แต่เพราะการระบาดของ COVID-19 ที่ให้ผู้คนทั่วโลกต้องทำงานที่บ้าน (Work From Home) ทำให้ตลาดพีซีเริ่มกลับมาเห็นการเติบโตอีกครั้ง โดยในปีที่ผ่านมาตลาดก็สามารถเติบโตได้สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2555 เลยทีเดียว

จากข้อมูลของ IDC พบว่า ในปี 2564 ยอดจัดส่งเดสก์ท็อป แล็ปท็อป และเวิร์กสเตชันทั่วโลกเติบโตขึ้น 14.8% โดยมีจำนวนมากที่สุดในปีเดียวนับตั้งแต่ปี 2555 และเมื่อเทียบกับปี 2560 ที่ถือว่าเป็นจุดต่ำสุดของตลาดมีการจัดส่งเพิ่มขึ้นมากกว่า 34% โดยมียอดจัดส่งรวมทั้งสิ้น 349 ล้านหน่วย

การเติบโตดังกล่าวนับเป็นการฟื้นตัวที่น่าสนใจสำหรับภาคส่วนที่นักลงทุนและผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีตัดขาดจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากสมาร์ทโฟนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สำคัญและมีปริมาณสูงสุดในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

ทั้งนี้ การฟื้นตัวดังกล่าวได้รับแรงหนุนจากการล็อกดาวน์ และการเพิ่มขึ้นของการทำงานทางไกล (Work From Home) และการเรียน (Learn From Home) ในช่วงการระบาดใหญ่ของ COVID-19 เนื่องจากแต่ละครอบครัวต้องซื้อแล็ปท็อปและพีซีเครื่องใหม่สำหรับลูก ๆ ที่ต้องเรียนออนไลน์ และธุรกิจต่าง ๆ ซื้ออุปกรณ์ให้พนักงานใช้เพื่อทำงานจากที่บ้าน และแม้ว่าทั่วโลกจะเจอปัญหาการขาดแคลนชิป แต่ตลาดก็ยังสามารถเติบโตได้

อย่างไรก็ตาม มีหลายคนมองว่ายอดขายจะไม่ยั่งยืนหลังจากการระบาดใหญ่ที่ลดลง ตัวอย่างเช่นในเดือนธันวาคม IDC กล่าวว่า ตลาดได้ผ่านความต้องการการระบาดใหญ่และคาดการณ์การชะลอตัวในปี 2565 แต่ผู้เข้าร่วมตลาดบางคนยังคงมองโลกในแง่ดีว่ายอดขายพีซีจะยังคงดำเนินต่อไปตามวิถีปัจจุบัน

Pat Gelsinger CEO ของ Intel เชื่อว่าตลาดพีซีอยู่บนเส้นทางขาขึ้นใหม่ที่มีความยั่งยืน ทั้งนี้ ปัจจุบัน Intel เป็นผู้ผลิตชั้นนำของโปรเซสเซอร์สำหรับเดสก์ท็อปและแล็ปท็อป โดยมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 80% ด้าน Rahul Tikoo ผู้บริหารของ Dell มองว่า การระบาดใหญ่ได้ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรในพฤติกรรมการซื้อในขณะนี้ ซึ่งทุกคนต้องการพีซีของตัวเอง

“เรากำลังเปลี่ยนจากพีซีหนึ่งเครื่องต่อครัวเรือน เป็นพีซีหนึ่งเครื่องต่อคนต่อครัวเรือน ซึ่งเป็นเหมือนกับรุ่นสมาร์ทโฟน โดยตอนนี้ฉันคิดว่าพีซีกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน”

สำหรับบริษัทพีซีรายใหญ่ที่มียอดสัดส่งสินค้ามากที่สุด 6 แบรนด์ ได้แก่

  • Lenovo
  • HP
  • Dell
  • Apple
  • Asus
  • Acer

Source

]]>
1370286