คุณภาพชีวิต – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 16 Dec 2023 12:30:37 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “เวียนนา” คว้าสุดยอดเมืองคุณภาพชีวิตดีสำหรับ “Expat” ขณะที่ “กรุงเทพฯ” อยู่ในอันดับ 124 https://positioningmag.com/1455959 Sat, 16 Dec 2023 12:30:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1455959 “Mercer” บริษัทที่ปรึกษาระดับโลกจัดสำรวจ “สุดยอดเมืองคุณภาพชีวิตดีสำหรับ Expat” โดยเก็บข้อมูลจาก 241 เมืองทั่วโลก ปี 2023 เมืองคว้าแชมป์ ได้แก่ “เวียนนา” ประเทศออสเตรีย ขณะที่ “กรุงเทพฯ” อยู่กลางตารางในอันดับ 124

Mercer จัดทำรายงาน “Quality of Living” สำรวจความเห็นจากพนักงานที่ถูกส่งไปประจำในต่างประเทศทั่วโลก หรือที่เราเรียกกันว่า “Expat” เพื่อจัดลำดับว่าเมืองใดที่ถือว่ามีคุณภาพชีวิตดีที่สุดและแย่ที่สุดสำหรับการส่งพนักงาน (และครอบครัว) ไปทำงานและอยู่อาศัย

ปัจจัยที่ Mercer ใช้ในการสำรวจประกอบด้วยหลายด้าน เช่น โครงสร้างพื้นฐานของเมือง, ระบบสาธารณสุข, ระบบการศึกษา, สภาพแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรม และความมั่นคงทางการเมือง

จาก 241 เมืองที่สำรวจในปี 2023 นี้ ปรากฏว่า “เวียนนา” เมืองหลวงของประเทศออสเตรีย คือสุดยอดเมืองคุณภาพชีวิตดี ด้วยมาตรฐานการอยู่อาศัยสูง พร้อมด้วยสิ่งแวดล้อมที่รุ่มรวยทางวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และประวัติศาสตร์ ทำให้ขึ้นมาอยู่ในอันดับสูงสุด

10 อันดับสุดยอดเมืองคุณภาพชีวิตดีสำหรับ Expat

อันดับ 1 เวียนนา ประเทศออสเตรีย

อันดับ 2 ซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

อันดับ 3 โอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์

อันดับ 4 โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก

อันดับ 5 เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

อันดับ 6 แฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี

อันดับ 7 มิวนิค ประเทศเยอรมนี

อันดับ 8 แวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา

อันดับ 9 ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย

อันดับ 10 ดุสเซลดอร์ฟ ประเทศเยอรมนี

เห็นได้ว่าใน 10 อันดับแรก มีถึง 7 เมืองที่อยู่ในภูมิภาคยุโรป และมี 2 เมืองที่มาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ขณะที่ภูมิภาคอเมริกามีติดมาเพียง 1 เมืองเท่านั้น

โอ๊คแลนด์ เมืองที่มีคุณภาพชีวิตดีที่สุดสำหรับ Expat ในเอเชียแปซิฟิก

ส่วนท้ายตาราง 3 อันดับ ได้แก่ อันดับ 239 บังกี เมืองหลวงของสาธารณรัฐแอฟริกากลาง อันดับ 240 เมืองแบกแดด ประเทศอิรัก และ อันดับ 241 เมืองคาร์ทูม ประเทศซูดาน

ด้านประเทศไทยเรานั้นมี 1 เมืองที่ได้รับการสำรวจคือ “กรุงเทพฯ” คุณภาพชีวิตติดอยู่ในอันดับ 124 ส่วนค่าครองชีพติดอันดับ 113 ของโลก

 

“กัวลาลัมเปอร์” มาแรง คุณภาพชีวิตดี-ค่าครองชีพต่ำ

อย่างไรก็ตาม Mercer เข้าใจดีว่าคุณภาพชีวิตที่ดีในเมืองส่วนใหญ่จะมาพร้อมกับค่าครองชีพที่สูงด้วยเช่นกัน แต่ก็มีข้อยกเว้นในบางเมืองที่ถือว่า “คุณภาพชีวิตดีแต่มาพร้อมกับค่าครองชีพต่ำ”

ที่น่าสนใจ เช่น “โอ๊คแลนด์” ประเทศนิวซีแลนด์ คุณภาพชีวิตอยู่ในอันดับ 3 ของโลก แต่ค่าครองชีพถือเป็นอันดับ 122 ของโลก หรือ “มอนทรีอัล” ประเทศแคนาดา คุณภาพชีวิตอยู่ในอันดับ 20 แต่ค่าครองชีพเป็นอันดับ 124

(Photo : Shutterstock)

ในกลุ่มข้อมูลนี้มีประเทศในกลุ่มอาเซียนที่ติดโผ คือ “กัวลาลัมเปอร์” ประเทศมาเลเซีย เป็นเมืองคุณภาพชีวิตดีอันดับ 86 และค่าครองชีพถูกมองว่าต่ำถึงอันดับ 203 ของโลก

การจัดข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตกับค่าครองชีพนี้ Mercer ต้องการชี้ให้เห็นว่า บางครั้งบริษัทที่ต้องการขยายฐานธุรกิจไปยังต่างประเทศและส่งพนักงานไปประจำ รวมถึงกลุ่มดิจิทัล โนแมด/อาชีพที่ทำงานจากที่ใดก็ได้ในโลก ก็ต้องชั่งน้ำหนักทั้งคุณภาพชีวิตและค่าครองชีพที่เหมาะสมสอดคล้องกันด้วย

Source

]]>
1455959
เงินของประชากรโลก 60% รวมกัน…ยังรวยไม่เท่ามหาเศรษฐี 2 พันคน https://positioningmag.com/1261281 Mon, 20 Jan 2020 08:15:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261281 เหล่าเศรษฐีพันล้านมีจำนวนมากขึ้นเป็นเท่าตัว ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เเละร่ำรวยกว่าประชากร 60 % ของโลก โดยคนรวยที่สุดในโลก 22 คนมีทรัพย์สินมากกว่าผู้หญิงทั้งหมดในทวีปแอฟริกา

จากรายงานของมูลนิธิอ็อกซ์แฟม (Oxfam) ระบุว่า ผู้หญิงและเด็กหญิงที่ยากจนอยู่ล่างสุดของระบบนี้ พวกเธอทำงานดูแลโดยไม่ได้รับค่าจ้างรวม 1.2 หมื่นล้านชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นมูลค่าอย่างน้อย 10.8 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี

“มหาเศรษฐีพันล้านซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 2,153 คน มีทรัพย์สินรวมกัน มากกว่าทรัพย์สินของคนยากจนที่สุดในโลก 4,600 ล้านคนรวมกัน”

Amitabh Behar หัวหน้าของ Oxfam อินเดีย กล่าวว่า เศรษฐกิจที่ล้มเหลวของเรากำลังหล่อเลี้ยงกระเป๋าเงินของมหาเศรษฐีและธุรกิจใหญ่ ด้วยการทำลายชายและหญิงธรรมดาทั่วไป ไม่เคยมีใครตั้งคำถามว่ามหาเศรษฐีควรมีอยู่หรือไม่

“ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนไม่อาจแก้ไขได้ หากปราศจากนโยบายทำลายความไม่เท่าเทียมอย่างตรงจุด”

อ่านเพิ่มเติม : รวยแล้วรวยอีก! Top 500 เศรษฐีโลกรวยขึ้น 1.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐปี 2019

รายงานดังกล่าวระบุด้วยว่า “คนรวยที่สุดในโลก 22 คนมีทรัพย์สินมากกว่าผู้หญิงทั้งหมดในแอฟริกา” โดยประชากรผู้หญิงและเด็กผู้หญิง คือกลุ่มประชากรที่สร้างรายได้ได้น้อย เพราะต้องทำงานด้านการดูแลเป็นส่วนใหญ่ ทั้งที่งานดูแลเหล่านั้นคือต้นกำเนิดของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ธุรกิจและสังคม

“พวกเธอส่วนใหญ่มักไม่มีเวลาที่จะรับการศึกษา มีชีวิตที่เหมาะสม หรือมีโอกาสพูดว่าสังคมของเราควรไปในทิศทางไหน พวกเธอจึงติดกับดักชั้นล่างสุดของระบบเศรษฐกิจ ” Behar กล่าว

Oxfam เเนะว่าหากกลุ่มคนที่ร่ำรวยรวยที่สุดในโลกจ่ายภาษีเพิ่มเพียงร้อยละ 0.5 เป็นเวลา 10 ปี จะเท่ากับการลงทุนเพื่อสร้างงานใหม่ถึง 117 ล้านตำแหน่งในด้านการดูแลผู้สูงอายุและเด็ก การศึกษาและสาธารณสุข

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขของ Oxfam อ้างอิงข้อมูลจากนิตยสาร Forbes และธนาคารเครดิตสวิสในสวิสเซอร์แลนด์ เเละถูกโต้แย้งโดยนักเศรษฐศาสตร์หลายคน

 

ที่มา : AFP / Billionaires richer than 60 percent of the world’s population: Oxfam

]]>
1261281
โพลชี้ คนไทยความปลอดภัยในชีวิตแย่ลง หวั่นโดนจี้ปล้น รัฐแก้ปัญหาฝุ่นไร้ประสิทธิภาพ https://positioningmag.com/1261198 Sun, 19 Jan 2020 07:41:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261198 ฟังความเห็นประชาชน จากผลสำรวจ ‘สวนดุสิตโพล’ เผยคน 67.69% มองความปลอดภัยในชีวิตเเละทรัพย์สินแย่ลง สะท้อนสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ หวั่นโดนโจรผู้ร้าย จี้ปล้น ชิงทรัพย์ ฝั่ง ‘นิด้าโพล’ เผยคนกรุงเทพฯ มองหน่วยงานรัฐแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ไร้ประสิทธิภาพ จี้มาตรการจริงจังที่เป็นรูปธรรมในการควบคุม

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต รายงานผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศเรื่อง “ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ณ วันนี้” โดยสำรวจประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 1,365 คน ระหว่างวันที่ 15-18 ม.ค. 2563 เพื่อสะท้อนความคิดเห็นประชาชนจากกรณีสังคมไทยหลังมีข่าวอาชญากรรมและปัญหาสังคมต่างๆ เกิดขึ้นทุกวัน เช่น ข่าวฆ่าข่มขืน จี้ชิงทรัพย์ ค้ายาเสพติด หรือเหตุการณ์ปล้นร้านทอง จ.ลพบุรี เป็นต้น ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในปัจจุบันเป็นอย่างมาก สรุปผลได้ ดังนี้

1.เมื่อเปรียบเทียบความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในช่วงนี้ กับเมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา ประชาชนคิดว่าเป็นอย่างไร

  • อันดับ 1 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแย่ลง 67.69% เพราะมีข่าวให้เห็นทุกวัน รุนแรงมากขึ้น มาจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ สังคมเสื่อมโทรม คนขาดคุณธรรมจริยธรรม ฯลฯ
  • อันดับ 2 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเหมือนเดิม 27.47% เพราะสังคมมีปัญหามานาน แก้ไขได้ยาก ชีวิตความเป็นอยู่ลำบาก ทำให้ประชาชนต้องดูแลตัวเอง ระมัดระวัง ฯลฯ
  • อันดับ 3 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินดีขึ้น 4.84% เพราะสังคมตื่นตัว ช่วยกันเป็นหูเป็นตา ภาครัฐมีมาตรการเข้มแข็งมากขึ้น กฎหมายเข้มงวดเอาจริงเอาจัง ฯลฯ

2.ประชาชนคิดว่าปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ณ วันนี้ สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง

อันดับ 1 สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ คนหมดหนทาง ต้องต่อสู้ดิ้นรน ยอมกระทำผิด 53.87%
อันดับ 2 สภาพสังคมเสื่อมโทรม มีความเหลื่อมล้ำสูง คุณภาพชีวิตแย่ 24.46%
อันดับ 3 รัฐบาลยังแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้ ประชาชนต้องพึ่งพาตนเอง 21.36%
อันดับ 4 คนขาดคุณธรรม จริยธรรม เห็นแก่ตัว ไม่มีจิตสำนึก 18.27%
อันดับ 5 การบังคับใช้กฎหมายไม่เข้มงวด เอาผิดไม่ได้ 14.55%

3.ประชาชนวิตกกังวลกับปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ณ วันนี้ มากน้อยเพียงใด

  • อันดับ 1 ค่อนข้างวิตกกังวล 42.20% เพราะกลัวว่าจะเกิดขึ้นกับคนในครอบครัว สังคมมีภัยรอบด้าน สภาพเศรษฐกิจและสังคมที่ย่ำแย่ส่งผลให้คนมีปัญหามากขึ้น ฯลฯ
  • อันดับ 2 วิตกกังวลอย่างมาก 40% เพราะมีข่าวให้เห็นทุกวัน คนจิตใจโหดเหี้ยมมากขึ้น ปืน อาวุธผิดกฎหมายหาซื้อได้ง่าย ตำรวจไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง ฯลฯ
  • อันดับ 3 ไม่ค่อยวิตกกังวล 14.07% เพราะพยายามใช้ชีวิตอยู่บนความไม่ประมาท หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีความเสี่ยง เพิ่มความระมัดระวัง รอบคอบมากขึ้น ฯลฯ
  • อันดับ 4 ไม่วิตกกังวลเลย 3.73% เพราะดูแลตัวเองได้ ไม่ค่อยได้ออกไปไหน อยู่ในสถานที่ที่ปลอดภัย ป้องกันตนเองเสมอ ไม่พกสิ่งของมีค่าติดตัว ฯลฯ

4.กรณีปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เรื่องใดที่ประชาชนวิตกกังวลมากที่สุด พร้อมแนวทางแก้ไข

  • อันดับ 1 โจรผู้ร้าย จี้ปล้น ชิงทรัพย์ 67.59% แนวทางแก้ไข คือ แก้ปัญหาเศรษฐกิจ ส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ เพิ่มระบบรักษาความปลอดภัย บทลงโทษรุนแรง ฯลฯ
  • อันดับ 2 การใช้ความรุนแรง พกอาวุธ ปืน มีด สิ่งผิดกฎหมาย 32.76% แนวทางแก้ไข คือ เจ้าหน้าที่ดูแลกวดขัน เข้มงวด ตรวจตราการใช้อาวุธผิดกฎหมาย ไม่ละเว้นโทษแก่ผู้ใด ฯลฯ
  • อันดับ 3 การแพร่ระบาดของยาเสพติด 25.17% แนวทางแก้ไข คือ กวาดล้างให้หมดสิ้น ถอนรากถอนโคน จับกุมผู้ค้ารายใหญ่ ครอบครัวต้องดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน ฯลฯ
  • อันดับ 4 ล่วงละเมิดทางเพศ ข่มขืน 21.38% แนวทางแก้ไข คือ เพิ่มโทษให้หนัก ประหารชีวิต จับกุมผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้ มุ่งเน้นปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ฯลฯ
  • อันดับ 5 ปัญหามลพิษ ฝุ่น ควัน 15.17% แนวทางแก้ไข คือ ภาครัฐแก้ปัญหาอย่างจริงจัง รักษาสิ่งแวดล้อม ประชาชนดูแลตัวเอง ใส่หน้ากากอนามัยอยู่เสมอ ฯลฯ

5.สิ่งที่อยากฝากบอกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ

อันดับ 1 บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ปรับปรุงบทลงโทษให้เหมาะสม 46.51%
อันดับ 2 ตรวจสอบการทำงานของกล้องวงจรปิดทุกจุดให้ใช้งานได้จริง 43.41%
อันดับ 3 เร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชน 20.54%
อันดับ 4 ทุกคดีที่เกิดขึ้นควรเร่งติดตาม จับกุมผู้กระทำผิดมาลงโทษโดยเร็ว 18.60%
อันดับ 5 นำเสนอข่าวที่เป็นจริง สร้างสรรค์ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับประชาชน 16.67%

 

ประชาชนมองหน่วยงานรัฐแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ไร้ประสิทธิภาพ จี้มาตรการจริงจังที่เป็นรูปธรรมในการควบคุม

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ‘การจัดการวิกฤตฝุ่นละออง’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15 – 16 ม.ค. 2563 จากประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร กระจายทุกระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,256 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการจัดการวิกฤติฝุ่นละอองในเขตกรุงเทพ สรุปผลดังนี้

เมื่อถามถึงการปฏิบัติตัวเมื่อเผชิญปัญหาจากวิกฤตฝุ่นละอองของประชาชน

ร้อยละ 69.98 สวมหน้ากากอนามัยเวลาออกนอกบ้าน
ร้อยละ 21.50 หลีกเลี่ยงการเดินทางออกนอกบ้าน
ร้อยละ 10.59 งดทำกิจกรรมกลางแจ้ง
ร้อยละ 6.61 ใช้เครื่องฟอกอากาศ
ร้อยละ 5.41 ปิดประตู-หน้าต่างกันฝุ่น
ร้อยละ 3.66 ใช้ชีวิตตามปกติไม่ได้ทำอะไรเลย
ร้อยละ 3.50 ไม่สนใจ เพราะอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นละออง
ร้อยละ 3.18 ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ
ร้อยละ 2.23 ไม่สนใจ เพราะเป็นปัญหาเล็ก ๆ
ร้อยละ 1.83 ไม่สนใจ เพราะคิดว่าร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานดี
ร้อยละ 0.64 เดินทางไปอยู่ต่างจังหวัดที่ไม่มีฝุ่น
ร้อยละ 0.48 ไม่ได้ทำอะไร ไม่มีเงินเพียงพอที่จะซื้ออุปกรณ์ป้องกันฝุ่นละออง
ร้อยละ 0.32 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ปลูกต้นไม้ ฉีดน้ำบริเวณรอบบ้าน ขณะที่บางส่วนระบุว่า ซื้อเครื่องตรวจจับค่า pm 2.5 มาใช้

ด้านประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

ร้อยละ 2.47 มีประสิทธิภาพมาก เพราะ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมีการจัดการแก้ปัญหาที่ดี

ร้อยละ 17.60 ร้อยละ ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ เพราะ มีการพ่นละอองน้ำเพื่อลดฝุ่น มีการแจ้งเตือนเขตพื้นที่สีแดง ทำให้ประชาชนได้เตรียมพร้อมรับมือ ขณะที่บางส่วน ไม่ได้เกี่ยวกับหน่วยงานภาครัฐ แต่เป็นที่ตัวบุคคลในการทำให้เกิดฝุ่นละออง

ร้อยละ 40.84 ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ เพราะ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องยังแก้ไขได้ไม่ตรงจุด ทำงานไม่จริงจัง ไม่ต่อเนื่อง ควรมีมาตรการอย่างจริงจังที่เป็นรูปธรรมในการควบคุม เช่น การก่อสร้าง รถควันดำ หรือผู้ที่ก่อให้เกิดมลพิษ

ร้อยละ 36.22 ไม่มีประสิทธิภาพเลย เพราะ การจัดการของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องยังไม่มีการตื่นตัว ไม่มีการเเก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรม ไม่มีความชัดเจน ปัญหายังเดิม ๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น งานก่อสร้างต่าง ๆ รถประจำทาง/รถส่วนตัวยังมีควันดำ และร้อยละ 2.87 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อถามถึงการมีส่วนช่วยลดปัญหาฝุ่นละอองของประชาชน

ร้อยละ 30.57 ช้บริการขนส่งสาธารณะแทนการขับรถส่วนตัว
ร้อยละ 24.20 ฉีดน้ำล้างฝุ่นละอองหน้าบ้านตนเอง
ร้อยละ 23.09 หยุดเผาขยะ ใบไม้ เศษวัสดุ
ร้อยละ 21.66 ไม่มีส่วนช่วยลดปัญหาฝุ่นละออง เพราะ การใช้ชีวิตประจำวันไม่ได้ทำอะไรหรือสร้างปัญหาอะไรเกี่ยวกับฝุ่น อยู่แต่ที่บ้าน/อาคารไม่ได้ไปไหน ขณะที่บางส่วนระบุว่า เนื่องจากจำเป็นต้องใช้รถส่วนตัวเพื่อไปทำงาน

ร้อยละ 16.96 ดับเครื่องยนต์ ทุกครั้งเวลาจอดรถ
ร้อยละ 8.20 หยุดการจุดธูป ประทัด
ร้อยละ 7.48 นำรถไปเข้าอู่เพื่อแก้ไขปัญหาควันดำ
ร้อยละ 2.23 หยุดการก่อสร้าง
ร้อยละ 3.50 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ใช้รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน หรือเดินแทนการใช้รถยนต์ ปลูกต้นไม้ และอยู่บ้านเพื่อลดการใช้รถ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ลดการใช้รถที่เติมน้ำมันดีเซล เปลี่ยนมาใช้รถที่เติมน้ำมันเบนซิน หรือ E20 แทน

 

 

 

]]>
1261198