งานศิลปะ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 15 Mar 2023 07:17:18 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 การ “ประมูลงานศิลปะ” ปี 65 ทำสถิติสูงสุด สวนทาง ‘NFTs’ ยอดลดลง 94% https://positioningmag.com/1423284 Wed, 15 Mar 2023 07:08:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1423284 ย้อนไปปี 2022 ตลาด ‘NFTs’ หรือ Non-fungible token กลายเป็นกระแสที่มารุ่งพุ่งแรง โดยเติบโตถึง 21,000% มีมูลค่าตลาดทะลุ 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยเฉพาะเทรนด์ที่หยิบงานศิลป์มาเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบ NFTs อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนเพียงปีเดียวเท่านั้น ตลาด NFTs ก็ดิ่งวูบ กลับกัน ตลาดการประมูลงานศิลป์ยังคงเติบโต แม้ว่าเศรษฐกิจจะถดถอย

รายงานของ Artprice บริษัทผู้จัดประมูลงานศิลปะในฝรั่งเศส เปิดเผยว่า การประมูลงานศิลปะในปี 2023 ทำสถิติสูงสุด โดยมีงานศิลปะ กว่าล้านชิ้นถูกนำออกประมูลเป็นครั้งแรก ในปีที่ผ่านมา แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะซบเซาก็ตาม กลับกันในตลาด NFTs ที่ใช้แสดงถึงความเป็นเจ้าของในงานศิลปะดิจิทัล กลับมียอดขาย ลดลง 94% เหลือ 13.9 ล้านดอลลาร์

ในงานศิลปะจำนวนกว่า 1 ล้านชิ้นที่ถูกประมูล สามารถประมูลได้ถึง 704,747 ชิ้น โดยมี 6 ชิ้น ที่ปิดประมูลไปในมูลค่าเกิน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3,500 ล้านบาท) โดยงานศิลปะที่ได้รับการตอบรับดีที่สุดคือ ภาพวาด

“ปัญหาเศรษฐกิจของโลกไม่มีผลกระทบต่อตลาดการประมูลงานศิลปะ และแน่นอนว่าสำหรับผลงานชิ้นเอกของประวัติศาสตร์ศิลปะปี 2022 มีการแข่งขันที่เข้มข้นกว่าที่เคยเป็นมา”

แม้จะมีจำนวนชิ้นในการประมูลสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่รายได้จากการประมูลงานศิลปะทั่วโลกลดลงเล็กน้อยจาก 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์เหลือ 1.65 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเกิดจากการชะลอตัวของตลาดจีน ซึ่งยังคงอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของ COVID-19

ส่วนยอดขายในตลาด นิวยอร์ก เติบโตขึ้น 1.5 พันล้านดอลลาร์ จากยอดขายผลงานชิ้นเอกหลายชิ้นจากคอลเล็กชั่นส่วนตัวของ Paul Allen ผู้ร่วมก่อตั้ง Microsoft เช่น Cezanne, Van Gogh และ Monet นอกจากนี้ ภาพเหมือนของ มาริลีน มอนโร เซ็กซ์ซิมโบลระดับตำนานของวงการฮอลลีวูดที่วาดโดย Andy Warhol  สามารถปิดประมูลไปที่ 195 ล้านเหรียญสหรัฐ และถือเป็นผลงานศิลปะของชาวอเมริกันที่มีมูลค่าสูงที่สุดในประวัติการณ์

ขณะที่ผลงานของ ปิกัสโซ ยังคงเป็นศิลปินที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ผลงานของเขาสร้างรายได้ 494 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

“เมื่อ 20 ปีที่แล้ว การขายงานศิลปะต้องใช้เวลาหลายเดือน วันนี้ขายได้ภายในไม่กี่วัน” เธียร์รี เออร์มันน์ หัวหน้าของ Artprice กล่าว

ในส่วนของตลาด NFTs แม้จำนวนจะเพิ่มขึ้นจาก 284 เป็น 373 รายการ แต่ผลงานส่วนใหญ่ถูกซื้อในราคาที่ ต่ำกว่า 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยสาเหตุที่ NFTs ไม่ได้รับความนิยมส่วนหนึ่งเป็นเพราะตลาดคริปโตฯ ที่มีปัญหา

อย่างไรก็ตาม โดยรวมแล้ว ตลาดศิลปะยังคงถูกขับเคลื่อนโดยตลาด สหรัฐอเมริกา จีน และอังกฤษ ซึ่งรวมกันแล้วคิดเป็น 81% ของยอดขายทั่วโลก โดยสหรัฐอเมริกากลับมาครองตำแหน่งสูงสุดด้วยมูลค่า 7.34 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งคิดเป็น 44% ของตลาดทั้งหมด

]]>
1423284
ยอดประมูล ‘งานศิลปะ’ ปี 2021 โต 60% ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์จาก ‘NFT’ และตลาดเอเชีย https://positioningmag.com/1377998 Thu, 17 Mar 2022 09:09:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1377998 การประมูลงานศิลปะในปี 2021 ประกอบด้วยภาพจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพพิมพ์ วีดิทัศน์ ศิลปะการจัดวาง งานพรมผนัง และ NFT ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ด้วยยอดขาย 1.71 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยปัจจัยที่สร้างการเติบโตดังกล่าวมาจากตลาดเอเชียที่เริ่มฟื้นตัวจากภาวะตกต่ำของ COVID-19 รวมไปถึงการมาของ NFT

มูลค่าตลาดงานศิลปะเติบโตกว่า +60% เมื่อเทียบกับปี 2020 ซึ่งเป็นปีที่ยอดขายงานศิลปะได้รับผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ในช่วงแรก และถือว่าเติบโตได้ +28% เมื่อเทียบกับปี 2019 ที่ยังไม่มีการระบาด โดย ประเทศจีน ได้กลายเป็นตลาดงานศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีมูลค่า 5.95 พันล้านดอลลาร์หรือ 35% ของยอดขายทั้งหมด

ส่วน สหรัฐฯ อยู่อันดับ 2 มีส่วนแบ่ง 34% แต่ตลาดมีความหลากหลายมากกว่าจีน และผลงานถูกขายได้ในราคาเฉลี่ยที่ต่ำกว่า ขณะที่ เกาหลีใต้ เติบโตอย่างรวดเร็วโดยติด Top 10 ด้วยมูลค่า 237 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 58 ล้านดอลลาร์ในช่วงก่อนการระบาดหรือ เติบโตขึ้น 4 เท่า

“สามประเทศแรกที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุดในตลาดงานศิลปะโลก มีสัดส่วน 80% ของมูลค่าการประมูลงานศิลปะทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม จากการ Brexit หรือการถอนตัวออกจากยุโรปของ สหราชอาณาจักร ได้ส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายจากการประมูลลดลง -10% เมื่อเทียบกับปี 2018 โดยมีมูลค่ารวม 1.99 พันล้านดอลลาร์ และนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สำหรับ ฝรั่งเศส ที่มีมูลค่าการประมูลทั้งปีเกิน 1 พันล้านดอลลาร์ ได้กลายเป็นผู้เล่นหลักในตลาดงานศิลปะระดับโลกด้วย

ทั้งนี้ การเติบโตของตลาดศิลปะในปีที่ผ่านมาได้รับแรงหนุนจากการประมูลผลงานชื่อดังมากมาย อาทิ ผลงาน Botticelli มูลค่า 45 ล้านดอลลาร์ และผลงาน Frida Kahlo มูลค่า 34.9 ล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ยังมีการขายผลงาน NFT ของ Beeple ในราคา 69 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นมูลค่าสูงสุดอันดับ 3 ของโลก สำหรับผลงานของศิลปินที่ขายได้ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ และเมื่อนับเฉพาะผลงาน NFT ที่มีการประมูลรวมแล้วกว่า 300 ครั้ง มีมูลค่ารวม 232 ล้านดอลลาร์

สำหรับผลงานของศิลปินที่มียอดขายสูงสุด ได้แก่ Gerhard Richter และ Banksy โดยผลงานศิลปะของ Banksy จำนวน 1,186 ชิ้น ถูกขายไปในปี 2021 มีมูลค่ารวม 206 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ ศิลปะร่วมสมัย ที่นับผลงานหลังปี 1945 ก็มีส่วนแบ่งการขายเพิ่มขึ้น โดยคิดเป็น 20% ของตลาด เพิ่มขึ้นจาก 3% ในปี 2000

“การมาของ COVID-19 ได้เร่งให้ตลาดศิลปะกลายเป็นดิจิทัล โดย 87% ของที่จัดการประมูล 6,300 แห่ง ที่บริษัทติดตามอยู่มีสำนักงานหลังบ้านที่เกี่ยวข้องกับการขายออนไลน์” Thierry Ehrmann ประธานบริษัท Artprice กล่าว

Source

]]>
1377998
OpenSea แหล่งขาย NFT มูลค่าบริษัทพุ่งเกือบ 9 เท่า นักวิเคราะห์กังวลตลาด “ปั่น” ดีมานด์ลวง https://positioningmag.com/1369732 Fri, 07 Jan 2022 05:37:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369732 แหล่งขายงานศิลปะ NFT ชื่อดัง “OpenSea” ระดมทุนรอบล่าสุดได้อีก 300 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้มูลค่าบริษัทที่ได้รับการประเมินรอบล่าสุดขึ้นไปแตะ 13,300 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตเกือบ 9 เท่าภายในเวลา 6 เดือน นักวิเคราะห์ประเมินตลาด NFT ปีก่อนมีมูลค่าสะสมถึง 40,900 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตาม อาจเกิดจากการ ‘ปั่น’ กระแสงานดังๆ ของกลุ่มนักลงทุน

OpenSea ประกาศการระดมทุนรอบล่าสุด ได้รับเงินลงทุนอีก 300 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 10,000 ล้านบาท) ซึ่งทำให้มูลค่าบริษัทที่ได้รับการประเมินขึ้นไปอยู่ที่ 13,300 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 4.46 แสนล้านบาท) เติบโตขึ้นเกือบ 9 เท่า เทียบกับเมื่อ 6 เดือนก่อนที่มูลค่าบริษัทยังอยู่ที่ 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 50,300 ล้านบาท)

ความร้อนแรงของ OpenSea ที่เพิ่งก่อตั้งเมื่อปี 2017 เป็นไปตามกระแสการขาย งานศิลปะ NFT (non-fungible token) ที่เป็นที่นิยมขึ้นอย่างมากเมื่อปีก่อน บางชิ้นงานสามารถขายได้ในราคาหลายล้านเหรียญสหรัฐ และบริษัทเองประเมินว่ามีการซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มของตนเพิ่มขึ้นมากกว่า 600 เท่าเมื่อปี 2021 ทั้งนี้ นักวิจารณ์บางรายมองว่าแพลตฟอร์มประเมินตัวเลขดังกล่าวสูงเกินจริง

 

นักลงทุนแค่หา ‘ที่ลง’ ให้กับเงินที่ล้นมือ

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางรายมองว่าการพุ่งทะยานของธุรกิจคริปโตต่างๆ เป็นเพียงเครื่องสะท้อนว่านักลงทุนขาดแคลนแหล่งลงทุนเท่านั้น

“มีเงินจำนวนมากที่เหลือล้นมืออยู่ แต่มีที่ลงทุนน้อยเกินไป” David Gerard นักข่าวและนักเขียนด้านการเงินกล่าว “ยุคนี้แม้แต่คนรวยยังหันมาซื้อล็อตเตอรี่กันแล้ว”

ชิ้นงาน Bored Ape ที่ Eminem ซื้อไป

ช่วงปีที่ผ่านมา ทั้งนักธุรกิจ เซเลบดารา กระทั่งสโมสรกีฬา ยังหันไปลงทุนซื้องานศิลปะ NFT ข่าวฮือฮาล่าสุดเช่น Eminem แร็ปเปอร์ดัง ตัดสินใจซื้อผลงาน “Bored Ape” ไปในราคา 450,000 เหรียญ (ประมาณ 15.1 ล้านบาท)

งานชิ้นนี้เป็นหนึ่งในคอลเลกชัน The Bored Ape Yacht Club (BAYC) โดยดาต้าจาก Cryptoslam ผู้รวบรวมดาต้าเกี่ยวกับตลาด NFT ระบุว่างานคอลเลกชันนี้มีการซื้อขายเปลี่ยนมือหลายครั้งจนมูลค่าการซื้อสะสมรวมทุกครั้งได้ทะลุ 1,000 ล้านเหรียญไปแล้ว! (ประมาณ 33,500 ล้านบาท)

ในแง่ความงามทางศิลปะ ไม่ใช่ทุกคนที่เห็นความงามของมัน Jonathan Jones นักวิจารณ์ศิลปะประจำสำนักข่าว The Guardian มองว่าภาพนี้ “ช่างแสนจะธรรมดาและดูเหมือนดีไซน์ในหนังสือการ์ตูน”

แต่คำอธิบายของ BAYC บอกว่าผลงานคอลเลกชันนี้เป็นการใช้โปรแกรมรวบรวมบุคลิกของมนุษย์มากกว่า 170 แบบ ไม่ว่าจะเป็นสีหน้าท่าทาง เครื่องสวมศีรษะ เสื้อผ้า และอื่นๆ ออกมาเป็นภาพในคอลเลกชัน

 

มูลค่าตลาด NFT อาจแซงโลกศิลปะจับต้องได้ไปแล้ว

สำนักข่าว The Financial Times ระบุว่า ตลาดศิลปะ NFT อาจจะใกล้เคียงกับโลกศิลปะจับต้องได้ไปแล้ว

โดยอ้างอิงข้อมูลจากบริษัทดาต้าบล็อกเชน Chainalysis ประเมินว่าปี 2021 มีการซื้อขาย NFT มูลค่ารวมประมาณ 40,900 ล้านเหรียญ (ประมาณ 1.37 ล้านล้านบาท) และตัวเลขนี้อาจจะต่ำไปด้วยซ้ำ เพราะประเมินได้เฉพาะ NFT ที่ซื้อขายกันด้วยสกุลเงินอีเธอเรียม

NFT
ผลงาน HUMAN ONE จาก Beeple หนึ่งในงาน NFT ที่โด่งดัง

ขณะที่ตลาดงานศิลปะจับต้องได้ทั่วโลกปีก่อนมีการซื้อขายกัน 50,100 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.68 ล้านล้านบาท) เห็นได้ว่าใกล้เคียงกันอย่างมาก และถ้ารวมการซื้อขายด้วยคริปโตสกุลเงินอื่นด้วย ก็อาจจะแซงไปแล้ว

 

ดินแดนไร้กฎ นักลงทุน “ปั่น” ดีมานด์ลวง

หลังจากการระดมทุนรอบใหม่ OpenSea ระบุว่าแพลตฟอร์มจะ “ทำให้ NFT เข้าถึงผู้บริโภคได้กว้างขึ้นในปีนี้” และจะลด “กำแพงการเข้าถึง” ของผู้บริโภค

แต่นักวิจารณ์และหน่วยงานกำกับควบคุมกังวลว่า ผู้บริโภคไม่น่าจะชื่นชอบความเสี่ยงใหญ่หลวงที่มากับสินทรัพย์คริปโตแบบ NFT นี้

ตัวอย่างงานศิลปะ NFT บนมาร์เก็ตเพลซ OpenSea

Chainalysis วิจัยพบข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่า แม้จะมีคนจำนวนมากที่ “สะสม” งานจริงๆ แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนอีกมากที่เข้ามาเพื่อ “ขุดทอง” กับวงการนี้เท่านั้น

นักวิเคราะห์กังวลว่า NFT คือแหล่งในการ “ปั่น” ราคา โดยนักลงทุนจะขายและซื้อกลับงาน NFT ของตัวเอง เพื่อให้เกิดดีมานด์สูงขึ้น

อีกประเด็นที่สังคมยังถกเถียงกันอยู่เกี่ยวกับบล็อกเชนซึ่งรวมถึง NFT คือ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เพราะตลาด NFT ต้องอาศัยบล็อกเชนในการบันทึกว่าใครคือเจ้าของตัวจริง ซึ่งต้องใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์นับหลายพันตัวทั่วโลกเพื่อเข้ารหัสพร้อมกัน

ดังนั้น ยิ่งตลาดขยายไปเท่าไหร่ มีการซื้อขายเปลี่ยนมือซึ่งต้องลงรหัสหลายครั้งเท่าไหร่ ก็ยิ่งกินไฟและก่อให้เกิดมลพิษมากเท่านั้น

Source

]]>
1369732
ยุคใหม่โรงประมูล Christie’s ทำยอดขายงานศิลปะ NFT ไป 150 ล้านเหรียญในปี 2021 https://positioningmag.com/1368119 Tue, 21 Dec 2021 12:12:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1368119 จากยอดขายการประมูลทั่วโลก 7,100 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2021 นี้โรงประมูล Christie’s ทำยอดขายประมูลชิ้นงานศิลปะ NFT ไปถึง 150 ล้านเหรียญ ถือเป็นก้าวใหญ่ของบริษัทเก่าแก่ดั้งเดิมเข้าสู่โลกใหม่แห่งศิลปะดิจิทัล

Christie’s โรงประมูลงานศิลปะ ของหรู ของสะสมระดับโลก เปิดเผยยอดขายปี 2021 แตะ 7,100 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2.39 แสนล้านบาท) สูงที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา

โดยชิ้นงานที่ถูกประมูลไปในราคาสูงที่สุดปีนี้ 2 ชิ้น คือ In This Case งานศิลปะของ Basquiat ประมูลไปในราคา 93.1 ล้านเหรียญ (ประมาณ 3,100 ล้านบาท) และชิ้นงาน Femme assise près d’une fenêtre ผลงานของ Picasso ประมูลไปในราคา 103.4 ล้านเหรียญ (ประมาณ 3,500 ล้านบาท)

Femme assise près d’une fenêtre ผลงานของ Picasso

สำหรับงานศิลปะดิจิทัลบน NFT โรงประมูล Christie’s ทำยอดขายรวมไป 150 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 5,050 ล้านบาท) มีชิ้นงานที่เคาะยอดสูงสุดสองชิ้นจากศิลปิน Beeple ทั้งคู่ ได้แก่ EVERYDAYS เคาะขายราคา 69 ล้านเหรียญ (ประมาณ 2,300 ล้านบาท) และชิ้นงาน HUMAN ONE เคาะราคา 29 ล้านเหรียญ (ประมาณ 977 ล้านบาท) โดย Beeple ถือเป็นศิลปิน NFT ที่มีชิ้นงานขายผ่านโรงประมูลมูลค่าสูงที่สุดขณะนี้

ผลงาน EVERYDAYS ของ Beeple

ตลาด NFT ในปี 2021 ได้รับการประเมินว่ามีมูลค่าสูงถึง 1.2 หมื่นล้านเหรียญแล้ว (ประมาณ 4.04 แสนล้านบาท) การที่ Christie’s เข้ามาจับตลาดนี้ถือเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ และจะทำให้บริษัทเก่าแก่ดั้งเดิมก้าวเข้าสู่ตลาดโลกดิจิทัลได้อย่างแข็งแรง

Source

อ่านเพิ่มเติม

]]>
1368119
พาชม “แบรนด์ เซ็นเตอร์” ใหม่ของ Adidas ที่ SQ1 แห่งแรกที่ตกแต่งด้วยงานศิลปินไทย https://positioningmag.com/1323338 Fri, 12 Mar 2021 18:42:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1323338 Adidas เปิด “แบรนด์ เซ็นเตอร์” แห่งใหม่ที่ “สยามสแควร์วัน” (SQ1) กินพื้นที่ 3 ชั้นรวมกว่า 1,000 ตร.ม. โดยเป็นแห่งแรกในไทยที่ออกแบบด้วยเอกลักษณ์ความเป็นไทย และ collab กับศิลปินไทยสร้างสรรค์งานอาร์ตเพื่อตกแต่งร้าน สำหรับไฮไลต์สินค้าภายในร้านมี “Maker Lab” ให้ลูกค้าได้ดีไซน์เลือกแบบสกรีนและปักผ้าเองได้

Positioning พาชม “แบรนด์ เซ็นเตอร์” แห่งใหม่ของ Adidas ใหญ่ที่สุดในไทย ทำเลตั้งอยู่ในสยามสแควร์วัน (SQ1) ใช้พื้นที่ 3 ชั้น รวมกว่า 1,000 ตร.ม. แบ่งแต่ละชั้นเป็นชั้น B1 วางจำหน่ายสินค้าสปอร์ต เพอร์ฟอร์แมนซ์ผู้หญิง ชั้น 1 สปอร์ต เพอร์ฟอร์แมนซ์ผู้ชาย และชั้น 2 เสื้อผ้ารองเท้าจากอาดิดาส ออริจินอลส์

แบรนด์ เซ็นเตอร์ Adidas สาขาสยามสแควร์วัน

แบรนด์ เซ็นเตอร์ ของ Adidas ในไทยมีอยู่แล้ว 2 แห่งที่ เซ็นทรัลเวิลด์ และ เซ็นทรัล พลาซ่า เวสต์เกต แต่สาขาที่ 3 นี้จะเป็นครั้งแรกของ Adidas ที่วางคอนเซ็ปต์ให้แบรนด์ เซ็นเตอร์ตกแต่งด้วยเอกลักษณ์ความเป็นไทย รวมถึงให้มีงาน collab กับศิลปินนักออกแบบของไทย 2 ท่าน คือ “ปัญญวัฒน์ พิทักษวรรณ” หรือ Tos Panyawat และ “จักรกฤษณ์ อนันตกุล” หรือ Hello iam JK ซึ่งแต่ละคนต่างดีไซน์งานตามแนวทางของตนเองเพื่อสะท้อนความเป็นไทยผสมผสานกับความเป็นแบรนด์ Adidas

งานของ Tos Panyawat ได้แก่ ชิ้นงาน “เปล่งประกาย” ชั้น B1 แรงบันดาลใจจาก “แม่ไก่” ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่คู่สังคมไทยมานาน และสอดคล้องกับความเป็นผู้หญิงของสินค้าที่วางขายในชั้นนี้ อีกชิ้นงานหนึ่งคือ “กึกก้อง” บนชั้น 1 แรงบันดาลใจจาก “ยันต์ลายเสือ” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สะท้อนถึงความเป็นชายชาตรีแต่โบราณของไทย เข้ากับสินค้าสปอร์ตของผู้ชาย ทั้งหมดทำให้ร้านสะท้อนความเป็นไทยชัดเจน

“เปล่งประกาย”
“กึกก้อง”

ขึ้นไปที่ชั้น 2 อาดิดาส ออริจินอลส์ งานของ Hello iam JK เป็นแนวทางของความสดใส สนุกสนาน ใช้แรงบันดาลใจจากลายไทยต่างๆ เช่น ลายจักสาน ลายผ้าไทย ลายเครื่องกระเบื้องเคลือบ ว่าวจุฬา ผลิตเป็นชิ้นงานตกแต่งผนัง พรม โคมไฟ พลิกให้ลายไทยทันสมัยขึ้น เข้ากันได้กับแบรนด์ Adidas

งานออกแบบจาก Hello iam JK

ชิ้นงานของศิลปินยังใช้วัสดุรีไซเคิลหรือสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติประมาณ 80-90% ของงาน เป็นอีกหนึ่งภาพสะท้อนถึงทิศทางของแบรนด์ Adidas

สำหรับลูกค้าที่มาช้อปภายในแบรนด์ เซ็นเตอร์ สาขา SQ1 นอกจากมาชมสินค้าได้แบบเต็มอิ่มแล้ว จะมีจุดไฮไลต์ที่ทุกคนต้องแวะมาชมคือ “Maker Lab” ซึ่งเปิดให้ลูกค้าสามารถออกแบบสกรีนผ้าหรือปักผ้าได้ตามใจ (*งดเว้นคำที่ไม่สุภาพตามดุลพินิจของพนักงาน) โดยงานศิลปะที่ collab กับศิลปินไทยจะออกมาเป็นลายสกรีนผ้าและเข็มกลัดที่ Maker Lab ด้วย

Maker Lab ในแบรนด์ เซ็นเตอร์
เข็มกลัดลายจากศิลปินไทย “จักรกฤษณ์ อนันตกุล”

การเปิดให้ศิลปินไทยออกแบบร้าน เป็นส่วนหนึ่งจากนโยบายระดับโลกของ Adidas ที่ต้องการให้แบรนด์ปรับให้เข้ากับท้องถิ่น (localize) มากขึ้น จากเดิมที่ Adidas จะวางคอนเซ็ปต์แต่ละร้านจากบริษัทแม่เพื่อให้เหมือนกันทั่วโลก นอกจากที่ประเทศไทย ก่อนหน้านี้เริ่มมีแบรนด์ เซ็นเตอร์ที่สะท้อนวัฒนธรรมพื้นถิ่นแล้วในประเทศอื่นแล้ว เช่น จีน เกาหลีใต้

]]>
1323338
คุยกับ I Found Something Good มัลติแบรนด์กิฟต์ช็อป รันวงการ ‘สติกเกอร์’ นักวาดไทย https://positioningmag.com/1320454 Tue, 23 Feb 2021 12:20:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320454 ภาพของวัยรุ่น ‘ต่อคิวยาว’ เพื่อรอซื้อ ‘สติกเกอร์’ ของนักวาดคนไทย สร้างความเเปลกใจให้ผู้ที่เดินผ่านไปมาไม่น้อย สะท้อนความนิยมของตลาดได้เป็นอย่างดี

ย่างเข้าปีที่ 2 กับการเดินทางของ ‘I Found Something Good’ ร้านมัลติแบรนด์ที่รวบรวมผลงานศิลปะน่ารักกุ๊กกิ๊ก ที่เข้าไปเเล้วต้องได้ของออกมาสักชิ้น เเม้จะเริ่มทำธุรกิจมาได้ไม่นาน เเต่กลับต้องเจอกับความท้าทายครั้งใหญ่อย่าง COVID-19

จาก ‘ความชอบ’ สู่ ‘ธุรกิจทำเงิน’ ของ 4 สาวเพื่อนซี้ วัย 24-25 ปี ผู้ร่วมก่อตั้งที่หลงใหลในงานศิลปะ อย่าง เบลล์-อริยา สภานุรัตนา , นัตโตะ-ณัฐวดี กาญจนโกมล, โรล-นดี จรรยาประเสริฐ และ ร็อค-นดา จรรยาประเสริฐ

วันนี้เติบโตขึ้นไปอีกขั้น พร้อมหาโอกาสใหม่ ขยายสาขาจากสยามสเเควร์ สู่ศูนย์การค้าใหญ่ชานเมือง เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าให้กว้างกว่า ‘วัยรุ่น’

Positioning จะพามารู้จัก ‘I Found Something Good’ เสพงานศิลป์ให้เป็นไลฟ์สไตล์…ให้มากขึ้นกัน 

โอกาสธุรกิจจาก ‘ความชอบ’

I Found Something Good เกิดขึ้นจากความสนใจเเละชอบสะสมงานศิลปะของทั้ง 4 คน เวลาที่พวกเขาไปงาน Art Market ก็มักจะคิดเสมอว่า อยากให้มีร้านที่สามารถเเวะมาซื้อของเหล่านี้ได้ตลอด สร้าง community เล็กๆ เพื่อเเลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ซึ่ง ณ ตอนนั้นกระเเสงาน Art Market ในไทยก็เพิ่งเริ่มบูมมาได้ราว 1-2 ปีเท่านั้น 

หลังเรียนจบมหาวิทยาลัย ในช่วงปลายปี 2019 เริ่มคิดหาสิ่งที่ตัวเองอยากทำจริงๆ เดิมที ‘เบลล์’ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง ได้เปิดร้านขายสติกเกอร์น่ารักๆ ทางออนไลน์อยู่เเล้ว จึงได้มาพูดคุยกัน เเละเห็นตรงกันว่า 

“ทุกวันนี้เมืองไทยมีนักวาด นักศิลปะรุ่นใหม่เยอะมาก ความสามารถสูงไม่เเพ้ต่างชาติ เเต่ส่วนใหญ่กระจายตัวกันตามโซเชียลมีเดียต่างๆ อย่าง ทวิตเตอร์ เราจึงเห็นโอกาสที่จะเปิดพื้นที่ให้พวกเขาได้มาโชว์ผลงาน”

อย่างในญี่ปุ่นจะมีร้านรวมงานศิลปะเยอะ เเต่ในไทยไม่ค่อยมีเเละหายากมาก ส่วนใหญ่จะเป็นงานของต่างชาติที่นำเข้ามา 

“ตอนนั้นในตลาดเเทบจะไม่มีร้านมัลติเเบรนด์ที่รวบรวมของคนไทยเลย เป็นช่องว่างธุรกิจที่เราเห็นว่าน่าจะโตไปได้ พร้อมไปกับการได้ช่วยขับเคลื่อนวงการนี้ด้วย” 

คนรุ่นใหม่ เสพศิลปะที่ ‘จับต้องได้’ 

พอตกลงกันได้ ก็เริ่มลงมือทำทันที…ไม่รอรีให้เสียเวลา โดยทั้ง 4 คนลงขันกันเพื่อเปิดสาขาเเรก ด้วยเงินราว 4-5 เเสนบาท จากเงินเก็บสะสมของทุกคน เเละบางส่วนจากการสนับสนุนจากครอบครัว ซึ่งยอมรับว่าต้อง ‘อธิบาย’ เกี่ยวกับธุรกิจนี้ให้ผู้ใหญ่เข้าใจกันเยอะทีเดียว 

ชื่อของ I Found Something Good มีความหมายถึงการพบเจอสิ่งที่ดีๆ เเละอยากเเบ่งปันให้ผู้อื่น เปิดตัวมาด้วยการเป็นร้านเล็กๆ ในย่านวัยรุ่น อย่างสยามสเเควร์ 

โดยเริ่มหาผลงานของศิลปินเเละเหล่านักวาดไทย จากกลุ่มเพื่อนที่รู้จักกัน ช่วงเเรกๆ ต้องอาศัย ‘ความเชื่อใจ’ กันมาก เพราะที่ร้านยังไม่มีความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจ

หลังเปิดร้านได้ไม่นาน ก็ได้รับเสียงตอบรับ ‘ดีเกินคาด’ ทำให้มองเห็นโอกาสอื่นๆ ที่จะนำมาต่อยอดไปได้อีก 

“สมัยก่อน เมื่อพูดถึงงาน Craft หรือ Art คนทั่วไปมักจะมองว่าต้องเป็นงานศิลปะยิ่งใหญ่ เป็นภาพวาดอลังการ เเต่เด็กๆ รุ่นนี้เสพงานศิลปะที่หลากหลายเเละเปิดกว้างมากขึ้น เน้นจับต้องได้จริงเเละใช้ในชีวิตประจำวันได้ กลายเป็นหนึ่งในไลฟ์สไตล์ของพวกเขา” 

สร้าง community รวมพลคนชอบ ‘สติกเกอร์’ 

เมื่อคนซื้ออยู่ในโลกออนไลน์ ก็ต้องโปรโมตผ่านโลกออนไลน์ I Found Something Good เลือกทำการตลาดบนโซเชียลมีเดียเพื่อเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่อย่าง ‘ทวิตเตอร์’ เพื่อโปรโมตร้าน 

โดยได้เเรงสนับสนุนจากศิลปิน-นักวาดที่มี ‘ฐานเเฟนคลับ’ อยู่เเล้ว ช่วยเเชร์เเละกระจายข่าว ค่อยๆ สร้าง community พูดคุยรวมกลุ่มคนที่ชอบเหมือนกันขึ้นมา ทำให้ร้านเป็นที่รู้จักได้รวดเร็ว มีคนต่อคิวซื้อเเถวยาวเหยียด

จากร้านเล็กๆ ห้องเดียว ตัดสินใจย้ายร้านขึ้นมาอยู่ชั้น 3 สยามสแควร์วัน เพื่อรองรับการเติบโต จากเริ่มเเรกกลุ่มลูกค้าหลักจะเป็นนักเรียนมัธยม จากนั้นขยับมาเป็นกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย รวมถึงผู้ใหญ่วัยทำงานที่เข้ามามากขึ้น ปรับทาร์เก็ตให้เป็นผู้คนทุกช่วงวัย 

ทุกวันนี้ I Found Something Good เปิดให้บริการมาราว 2 ปี นับว่าเป็นร้าน ‘มัลติเเบรนด์’ ที่รวมงานสติกเกอร์ของคนไทยรายเเรกๆ โดยมีสินค้าในร้านกว่า 200 เเบรนด์ จำนวนมากกว่า 1 หมื่นชิ้น 

“พวกเรามองว่านี่เป็นเเค่ก้าวเเรกเท่านั้น ถ้าถามว่าสำเร็จเเล้วหรือยัง ก็ต้องบอกว่ายังไม่ถึงจุดวางไว้ เพราะยังต้องไปต่อได้อีกเยอะ ลึกๆ รู้สึก ‘ดีใจมาก’ ที่ได้เป็นจุดเล็กๆ ที่ได้ช่วยให้ศิลปินได้เติบโต สร้าง community เเละไลฟ์สไตล์ให้คนรุ่นใหม่ เป็นกำลังใจให้พวกเราได้สู้ต่อ” 

ปัจจุบัน มีศิลปินที่เป็นพาร์ทเนอร์กับ I Found Something Good ราว 200 คนทั่วประเทศ โดยยังมีแผนขยายความร่วมมือไปเรื่อยๆ นักวาดคนไหนสนใจก็ติดต่อมาได้

พลิก ‘ขายออนไลน์’ พยุงรายได้ช่วง COVID-19 

เมื่อมองย้อนไปยังจุดเริ่มต้น ทุกคนยังไม่มีความรู้พื้นฐานธุรกิจ อีกทั้งยังอายุน้อย การ ‘ดีลงาน’ ก็ถือว่าเป็น ‘งานยาก’ ต้องเรียนรู้กันใหม่ โดยอาศัยการปรึกษาพ่อเเม่ ปรึกษาผู้รู้ทำธุรกิจมาก่อน เเละปรึกษากันเอง ค่อยๆ ทำเป็นระบบร้านขึ้นมา 

เเต่หลังเปิดร้านมาได้เพียง 5 เดือน ก็เจอมรุสมครั้งใหญ่ที่กระทบธุรกิจทั่วโลกอย่าง COVID-19 เเต่ในอีกมุมก็ทำให้เหล่านักธุรกิจรุ่นใหม่ ได้เรียนรู้การก้าวผ่านอุปสรรค นั่นก็คือ การปรับตัวเพื่อรับมือกับ ‘วิกฤต’ 

“โชคดีที่ตอนนั้น เราเริ่มคุยกันว่าจะขยับไปทำเว็บไซต์เเละขายผ่านออนไลน์กันมากขึ้น ในวันที่ทางการประกาศล็อกดาวน์ ตรงกับวันเเรกที่เราเปิดตัวเว็บไซต์ใหม่ เมื่อต้องปิดร้านชั่วคราว เเต่เรายังสามารถขายของได้” 

อย่างไรก็ตาม ในส่วนรายได้ ที่ ‘เคยได้’ ยอมรับว่าหายไปพอสมควร เพราะรายได้ส่วนใหญ่มาจากการขายหน้าร้าน เเต่ก็ถือว่าได้หาช่องทางพยุงรายได้ ไม่ได้ขาดช่วงเเละช่วยซัพพอร์ตค่าใช้จ่ายได้ 

สำหรับช่องทางการขายในปัจจุบัน ลูกค้าส่วนใหญ่ยังเป็นหน้าร้าน เนื่องจากมีจุดเด่นอยู่ที่ ‘การได้เห็นของจริง’ เพราะสติกเกอร์เเต่ละชิ้น จะมีรายละเอียดที่เเตกต่างกันออกไป อย่างเช่น บางอันมีลวดลายที่มีมิติ กันน้ำได้หรือไม่ได้ เป็นต้น 

ช่วงที่ขายดีที่สุดคือช่วงเทศกาลเเละวันหยุดยาว ส่วนเวลาที่ขายดีในเเต่ละวัน จะเป็นช่วงเย็นๆ หลังเลิกเรียน โดยสินค้าที่ขายดีที่สุด ได้เเก่ สติกเกอร์ , โปสการ์ด , พวงกุญเเจ เเละเทียนหอม 

จากเริ่มต้นที่ต้องทำทุกอย่าง ทุกหน้าที่ เเละมีทีมที่เป็นญาติมาช่วยอีกเเค่ 2 คน มาตอนนี้บริษัทขยายทีมงานให้ใหญ่ขึ้น มีออฟฟิศเเละจ้างพนักงานดูเเลหน้าร้าน มีผู้จัดการสาขา เเละเเอดมินคอยตอบลูกค้า รวมทั้งหมด 10 คน มีการเเบ่งหน้าที่การรับผิดชอบกันเเน่ชัด สื่อสารกันตลอดเวลา 

ขยายฐานลูกค้า ให้เข้าถึง ‘ผู้ใหญ่’

จุดเด่นของ I Found Something Good  อันดับหนึ่งคือการเป็น ‘Local Brand’ ที่มีผลงานศิลปะฝีมือคนไทย 100% รองลงมาคือ ‘ราคาที่จับต้องได้’ เด็กๆ สามารถซื้อได้ในราคา ‘หลักสิบหลักร้อย’  สินค้ามีความหลากหลาย โดยมีการใช้จ่ายเฉลี่ยราว 150-200 บาทต่อคน 

ตามมาด้วย ‘บรรยากาศของร้าน’ เมื่อมาเจอลูกค้าได้มาเจอคนที่ชอบในสิ่งเดียวกัน จึงมีความที่อยากซื้อไว้สะสมมากขึ้น รู้สึกเป็นพื้นที่ของเขา เป็น comfort zone ที่เดินดูของได้นานๆ

จากสาขาเเรกในสยามสเเควร์วัน ย่านวัยรุ่น สู่การขยายสาขามาที่ ‘เมกาบางนา’ ศูนย์การค้าใหญ่ชานเมืองที่ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าทุกช่วงวัย เพื่อเจาะกลุ่มครอบครัวเเละวัยทำงาน 

โดยเหตุผลที่เลือก ‘เปิดสาขาใหม่’ ที่เมกาบางนา เพราะมองว่าเป็นศูนย์การค้าที่มีทราฟฟิกเยอะ บรรยากาศทันสมัย มีลูกค้าทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ มาเป็นครอบครัวเเละกลุ่มเพื่อน อีกทั้งเมกาบางนายังมีการเติบโตต่อเนื่อง เเม้จะอยู่ในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 

เมื่อถามว่า ทำไมจึงเลือกขยายสาขาในช่วงเวลานี้ เจ้าของร้าน I Found Something Good บอกว่าเป็นหนึ่งในแผนที่จะทำอยู่เเล้วในช่วงสิ้นปี 2020 โดยคิดไว้ว่าโรคระบาดน่าจะซาลงเเล้ว เเต่เมื่อต้องมาเจอ COVID-19 ระลอกใหม่ จึงต้องสู้กันใหม่ หาวิธีปรับตัวกันอีก เเต่ครั้งนี้มองว่าจะรับมือ ‘ได้ดีกว่าเดิม’ เพราะผ่านประสบการณ์เเบบนี้มาเเล้ว 

กลยุทธ์หลักๆ ของปีนี้ หลังขยายสาขาที่ 2 เรียบร้อยเเล้ว จึงจะเป็นการสร้าง ‘ระบบหลังบ้าน’ ให้เเข็งเเรง เรียกได้ว่า ‘กลับมาอยู่กับตัวเองมากขึ้น’ ทำความเข้าใจปัญหาที่มีเเละเตรียมตัวต่อยอดธุรกิจต่อไป 

‘ให้คุณค่า’ คือคีย์หลักของวงการ ‘สติกเกอร์’ ไทย

หลังจากที่อยู่ในวงการสติกเกอร์ไทยนาน  มองว่าปัญหาใหญ่ๆ ที่ต้องผลักดันคือเรื่อง ‘การให้คุณค่างานศิลปะ’ เพราะหลายคนยังตั้งคำถามว่า ทำไมราคาเท่านี้ อยากให้มองว่ากว่าจะสร้างสรรค์ผลงานออกมา 1 ชิ้น มันมี ‘ต้นทุน’ มากกว่าค่ากระดาษเเละค่าหมึกพิมพ์ ทั้งการฝึกฝน ทักษะเเละการเล่าเรียนต่างๆ ที่ต้องใช้เวลานานหลายปี 

นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงปัญหาเรื่อง ‘ซัพพลายเออร์’ ที่มีในท้องตลาดจำนวนน้อย เวลาผลิตสติกเกอร์จึงไม่ค่อยมีความหลากหลายของวัตถุดิบ เนื้อสติกเกอร์ยังมีให้เลือกค่อนข้างจำกัด 

เหล่านี้เป็นปัญหาที่สอดคล้องกันว่า ถ้าสังคมให้ความสำคัญกับงานศิลปะมากขึ้น บรรดาซัพพลายเออร์ก็จะพัฒนาสินค้าให้มีมากขึ้นตามไปด้วย หาอะไรใหม่ๆ มาสู้กันบ้าง ซึ่งตอนนี้ก็มองว่าตลาดนี้เริ่มดีขึ้น มีการนำของใหม่ๆ มาให้ศิลปินมาลองใช้กัน เเต่ก็ยังถือว่าน้อย เมื่อเทียบกับประเทศที่ให้การสนับสนุนด้านงานวาดการ์ตูนอย่างญี่ปุ่น 

ส่วนปัญหาเรื่อง ‘ลิขสิทธิ์’ ทางร้านก็พยายามคัดสรรสินค้าไม่เหมือนกัน ไม่นำของละเมิดลิขสิทธิ์เข้ามาขาย โดยมีการพูดคุยข้อตกลงกับศิลปินที่เป็นพาร์ตเนอร์ด้วยอย่างจริงจัง  

“ไม่อยากให้มองว่าวงการสติกเกอร์ เป็นเเค่เทรนด์หรือกระเเสที่เกิดขึ้นชั่วคราว เเต่ให้มองว่าเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเราจริงๆ เป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ที่ผู้คนนำมาปรับใช้ ทำให้ชีวิตมีความสุขขึ้นในทุกๆ วัน” 

โดยปัจจุบัน มีทั้งการนำ ‘สติกเกอร์’ ไปตกเเต่งห้อง ตกเเต่งของใช้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เเละเครื่องเขียนต่างๆ นำไปใช้ตอนจดตารางการทำงาน จดสรุปการเรียน ช่วยให้มีกำลังใจในการอ่านหนังสือมากขึ้น ฯลฯ 

คงความเป็นตัวตน มีทีมเวิร์กเเละใส่ใจลูกค้า 

สำหรับการเเข่งขันในตลาด มองว่ามีความท้าทาย เพราะมีร้านลักษณะคล้ายกันมาเปิดมากขึ้น จากเดิมที่เคยเป็นเจ้าเเรกๆ จึงทำให้ต้องเร่งพัฒนาให้ไม่หยุดนิ่ง 

“ถ้าถามว่าจะให้ขยายสาขาไปเยอะๆ เลยเราก็ทำได้ เเต่จะไม่ได้บรรยากาศเเบบที่เราต้องการ เพราะมันจะดูเป็นธุรกิจจ๋าเกินไป จึงจะพยายามคงความเป็นตัวตนของเรา ไปพร้อมๆ กับการเติบโตที่มากขึ้น” 

หลักการทำงานที่สำคัญที่สุด ที่ทั้ง 4 คนยึดถือ นั่นก็คือ ‘ทีมเวิร์ก’ เพราะไม่มีทางที่คนคนหนึ่งจะทำงานทุกอย่างได้ตั้งเเต่ต้นยันจบ การมีทีมที่ดีทำให้เราทำสิ่งที่คิดให้เกิดขึ้นจริงได้ เเละโตไปได้ด้วยประสิทธิภาพที่มากกว่า 

ต่อมาคือ ‘การดูเเลพนักงาน’ เเม้ว่าเราจะอายุยังน้อย เเต่เมื่อพนักงานในบริษัทเเล้ว ก็ต้องให้สวัสดิการที่ดี สร้างบรรยากาศการทำงานให้พูดคุยกันได้ อาศัยการไว้ใจจากคนทำงาน สบายใจเเละเปิดใจกับเรา 

‘ความพึงพอใจของลูกค้า’ คือสิ่งสำคัญโดยจะมีเช็กฟีดเเบ็กลูกค้าตลอด มีปัญหาอะไรก็เข้าไปเเก้ทันที  ขณะที่การดูเเลศิลปินนั้น จะมีการช่วยโปรโมตผลงานให้อย่างต่อเนื่อง หาโปรโมชันทำร่วมกับศิลปิน เพื่อส่งเสริมการขายให้กันเเละกัน 

เเม้จะเต็มไปด้วยพลังที่จะเรียนรู้อะไรใหม่ๆ เเต่ทุกการทำงานต้องมี ‘ความเหนื่อย’ อย่างตอนที่เช็กสินค้าในสต๊อกไม่ทัน ต้องอดหลับอดนอน เเละมีช่วงที่เเพชชั่นมันลดลง เเต่พอมาเจอลูกค้าหรือได้รับฟีดเเบ็กดีๆ ก็มีส่วนช่วยได้เยอะ 

ส่วนมุมมองของการทำ ‘ธุรกิจกับเพื่อน’ นั้น ทั้ง 4 คนมองไปในทิศทางเดียวกันว่า เป็นความสัมพันธ์ที่มากกว่าการทำงาน ไม่ได้มองว่าเป็นเเค่เพื่อนร่วมงาน เเต่เป็นเพื่อนร่วมชีวิต ฟังความคิดเห็นกันเเละพยายามหาโซลูชันที่พอใจกันทุกฝ่าย 

สุดท้าย I Found Something Good ฝากเเนะนำถึง ผู้ประกอบการรุ่นใหม่’ ที่อยากจะลองทำธุรกิจว่า ถ้าตอนนี้ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มจากอะไร ให้สังเกตความชอบของตัวเองดีๆ เพราะการทำธุรกิจต้องใช้ชีวิตอยู่กับมันจริงๆ ทำงานตลอดเวลา ต้องทุ่มเทเเละวางเป้าหมายให้เเน่ชัด การเลือกพาร์ตเนอร์ที่ไว้ใจได้เป็นสิ่งสำคัญ หาความรู้เกี่ยวกับธุรกิจทั่วไปเเละเฉพาะธุรกิจของเรา ลงมือทำจริง เเละตั้งมั่นว่าจะ ‘ไม่ถอยกลางทาง’ 

 

]]>
1320454