งานไอที – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 24 Aug 2022 02:34:39 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 11 ตำแหน่งงาน IT ที่น่าจับตามองในครึ่งปีหลัง Project Managers นำโด่ง https://positioningmag.com/1397184 Tue, 23 Aug 2022 13:40:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1397184 ประเทศไทยเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และสังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่าง ๆ เข้ามาขับเคลื่อนสังคมและช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เป็นเหตุให้เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็วเริ่มมีบทบาทในการกำหนดทิศทางการดำเนินการของธุรกิจในทุกแง่มุม ทั้งยังกำลังก้าวเข้ามาทดแทนทักษะการทำงานของคน

อย่างไรก็ตาม “พนักงานยังคงเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดของบริษัท” หลายองค์กรจึงมองหาคนที่มีทักษะความรู้ความสามารถเพื่อมาร่วมพัฒนาองค์กร โดยเฉพาะผู้ที่มีทักษะด้านเทคโนโลยี อาทิ ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล ทักษะการเขียนโค้ดดิ้ง รวมถึงทักษะการพัฒนาซอฟต์แวร์ เป็นต้น

ล่าสุด 𝗘𝘅𝗽𝗲𝗿𝗶𝘀 บริษัทจัดหางานด้านไอทีในเครือของแมนพาวเวอร์กรุ๊ป ได้ทําการสํารวจการตัดสินใจรับพนักงานจํานวน 39,000 คนจาก 40 ประเทศ และได้สัมภาษณ์ผู้นําทีมงานและเทคโนโลยีจากอุตสาหกรรมต่างๆ จํานวน 8 ท่าน ได้เผยผลสำรวจในรายงาน “𝙉𝙚𝙬𝘼𝙜𝙚𝙤𝙛𝙏𝙚𝙘𝙝𝙏𝙖𝙡𝙚𝙣𝙩” หรือ “ยุคใหม่แห่งสายเทคโนโลยี” โดยระบุว่า

  • กว่า 98% ของผู้สมัครงานจะถูกเลือกจากทักษะความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และประสบการณ์การทำงานไม่ต่ำกว่า 3 ปี
  • 98% ของผู้สมัครเข้าตําแหน่งวิเคราะห์ข้อมูลวิทยาศาสตร์จะถูกคัดออกโดยผู้ว่าจ้างที่ต้องการทักษะ 4 ด้าน และประสบการณ์ทํางาน 3 ปี
  • 34% ของผู้จ้างงานระบุว่าผู้สมัครงานสายดิจิทัลมีคุณสมบัติตรงกับที่ต้องการไม่เพียงพอ
  • 32% ของผู้จ้างงานระบุว่าผู้สมัครงานมีประสบการณ์ไม่เพียงพอ
  • 32% ของผู้จ้างงานระบุว่ามากกว่า 1 ใน 4 หรือ 27% ของผู้สมัครงานสายดิจิทัลขาดทักษะซอฟต์สกิลที่เหมาะสม

ลิลลี่ งามตระกูลพานิช ผู้จัดการประจำประเทศไทย แมนพาวเวอร์กรุ๊ป เปิดเผยว่า

“ปัจจุบันเทคโนโลยีที่พัฒนาเร็วกว่าคนเริ่มส่งผลให้ตลาดแรงงานมีการแข่งขันที่สูงและเข้มข้นมากขึ้น องค์กรต่างต้องการคนเก่งที่มีศักยภาพ และพร้อมที่จะปรับตัวเรียนรู้เทคโนโลยีแห่งโลกดิจิทัลเพื่อสามารถขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ซึ่งจากรายงานของเอ็กซ์พีริส พบว่า หลายองค์กรกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะการทำงาน ความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในสายงานดิจิทัล โดยเฉพาะตำแหน่งผู้จัดการโปรเจกต์ IT หรือ IT Project Managers ที่มีสัดส่วนความต้องการมากที่สุดถึง 22%”


บางองค์กรเลือกที่จะแสวงหาพนักงานคนใหม่ เข้ามาทำงานแทนคนเก่าที่ขาดทักษะความเชี่ยวชาญด้านนี้ แต่มักจะพบว่าคนเหล่านี้ยังขาดทักษะในการร่วมพัฒนาองค์กร อย่างไรก็ตาม องค์กรส่วนใหญ่มักเลือกที่จะเพิ่มอัตราภายใน และลงทุนเพิ่มมีศักยภาพภายในมากกว่าที่จะแสวงหาจากภายนอกองค์กร

แม้ว่าองค์กรต่างๆ จะปลูกฝังการเรียนรู้ทักษะอย่างเป็นระบบ แต่มักไม่ตรงกับความต้องการ พนักงานไม่สามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่บริษัทต้องการได้ทันเวลา ส่งผลให้พนักงานยังจะมีความกังวลทั้งเรื่องหน้าที่การงาน และเหนื่อยล้าจากการเรียนรู้เอ็กซ์พีริส (Experis) จึงได้ออกแบบหลักสูตรเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ ให้สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้น และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง โดยมี Experis Academy เป็นอีกหนึ่งแหล่งความรู้ที่จะช่วยให้องค์กรนั้นๆ ประสานช่องว่างของตําแหน่งงานผ่านการฝึก การอบรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ นําโดยผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม พนักงานจะได้เรียนรู้ผ่านทฤษฎีมากมาย เช่น Experis Academy ร่วมมือกับ Scania AB ในด้านการผลิตและพัฒนาระบบการขนส่งจากประเทศสวีเดนเพื่อวิเคราะห์ช่องว่างของทักษะและจัดทําโครงการอบรมนักพัฒนา Front-end ที่ใช้เวลา 12 สัปดาห์เพื่อปรับทักษะพนักงานที่สนใจภายในบริษัทรวมถึงพนักงานที่ไม่เกี่ยวข้องด้าน IT ด้วย

Experis Academy ใช้ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์เช่น การใช้ปัญญาประดิษฐ์ในกระบวนการจ้างงาน ซึ่งจากการวิเคราะห์กระบวนการการจ้างงานด้วยมนุษย์ในสายงานที่มีการเปลี่ยนตําแหน่งสูงกว่า 300,000 งาน พบว่า คนงานที่ถูกจ้างผ่านการวิเคราะห์ของปัญญาประดิษฐ์นั้นทํางานอยู่นานกว่า และขั้นตอนการจ้างงานมีประสิทธิภาพสูงกว่าคนที่ถูกจ้างผ่านการวิเคราะห์โดยมนุษย์อย่างน้อย 25% เพราะเมื่อพนักงานถูกจ้างแล้ว เทคโนโลยีประมวลข้อมูลจะช่วยให้พวกเขาพัฒนาทักษะต่างๆ ได้ โครงการ Career Accelerator ของ Experis มีเครื่องมือต่างๆ ที่จะช่วยให้พนักงานตั้งค่าโปรแกรมการพัฒนาอาชีพที่เหมาะสมกับตัวเอง โดยการเลือกทักษะ และประเมินงานกับหัวหน้างาน และจัดเป็นหลักสูตรพัฒนาทักษะส่วนตัวได้

นอกจากนี้ ในรายงานยังระบุว่า กว่า 7 ใน 10 ของพนักงานกล่าวว่าการมีผู้นําที่พึ่งพาและเชื่อถือได้นั้นสําคัญและกว่า 2 ใน 3 อยากทํางานกับองค์กรที่เห็นคุณค่าในตัวพนักงาน ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ทุกองค์กรต้องการ คือ ซอฟต์สกิล หรือทักษะ “ภายใน” ของแต่ละคนที่มีผลต่อการปฏิสัมพันธ์ต่อผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเจ้านาย เพื่อนร่วมงาน คู่ค้า ลูกค้า เพื่อให้เกิดผลสำเร็จในการทำงานได้ ซึ่งทักษะเหล่านี้ เปรียบเสมือน “𝑷𝒐𝒘𝒆𝒓𝒔𝒌𝒊𝒍𝒍𝒔” อันทรงพลังในการขับเคลื่อนให้งานสำเร็จ และเป็นจุดแข็งของแรงงานที่เทคโนโลยีในปัจจุบันยังไม่สามารถเรียนรู้และเข้ามาทดแทนคนได้ โดยเฉพาะทักษะที่หายากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่

  1. ทักษะการใช้เหตุผล การแก้ปัญหา
  2. ทักษะด้านการพึ่งพา ความไว้ใจ และวินัย
  3. ทักษะด้านการคิดเชิงวิพากษ์ และวิเคราะห์
  4. ทักษะด้านความสร้างสรรค์และเป็นต้นฉบับ มีความคิดเป็นของตัวเอง
  5. ทักษะความยืดหยุ่น ความอดทน อดกลั้น และการปรับตัว
]]>
1397184
ตลาดงาน 2565 “ไอที” ยังคงเป็น “มนุษย์ทองคำ” นายจ้างไทยแย่งตัวสู้กับต่างประเทศ https://positioningmag.com/1389904 Thu, 23 Jun 2022 11:29:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1389904
  • JobsDB เปิดผลสำรวจ พบการจ้างงานฟื้นตัวดีขึ้นเรื่อยๆ ในปีนี้ หลังเศรษฐกิจฟื้นหลัง COVID-19 คลี่คลาย ภาคการผลิตเดินเครื่องเพิ่ม
  • “มนุษย์ทองคำ” ยังคงเป็นสาย “ไอที” จากความต้องการของทุกธุรกิจ รองลงมาคือสายวิศวะ การตลาด บัญชี
  • อาชีพด้านดิจิทัลเป็นที่ต้องการทั่วโลก และการทำงานแบบ “ไฮบริด” หรือ ทำงานทางไกล (remote work) ยิ่งทำให้องค์กรไทยต้องแย่งตัวมนุษย์ไอทีแข่งกับต่างประเทศมากขึ้น
  • เปิดผลสำรวจจาก JobsDB เกี่ยวกับตลาดงานปี 2565 โดย “ดวงพร พรหมอ่อน” กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า สถานการณ์การจ้างงานในช่วง COVID-19 ปัจจุบันปรับตัวดีขึ้นมาก หลังจากเคยมีอัตราการว่างงานเพิ่มสูงสุดในช่วงไตรมาส 3/63 จากนั้นอัตราว่างงานไต่ขึ้นลงมาตลอด ค่าเฉลี่ยอัตราว่างงานจะอยู่ที่ 2%

    จนกระทั่งนายจ้างเริ่มมั่นใจว่าสถานการณ์การระบาดจะส่งผลกระทบต่ำหลังการฉีดวัคซีน ทำให้เมื่อต้นปี 2565 จึงมีการกลับมาประกาศรับสมัครงานเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

    JobsDB ไอที
    “ดวงพร พรหมอ่อน” กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด

    แน่นอนว่า ตลาดงานจะมีธุรกิจและอาชีพที่มีตำแหน่งงานว่างมากกว่าตลาด โดยมีรายละเอียดดังนี้

    5 ธุรกิจที่ประกาศรับสมัครงานสูงสุด
    1. ธุรกิจไอที
    2. ธุรกิจขายส่งขายปลีก
    3. ธุรกิจการเงิน ธนาคาร
    4. ธุรกิจอุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์
    5. ธุรกิจขนส่ง
    5 อาชีพที่ประกาศรับสมัครงานสูงสุด
    1. งานไอที
    2. งานขาย งานบริการลูกค้า งานพัฒนาธุรกิจ
    3. งานวิศวกรรม
    4. งานการตลาด ประชาสัมพันธ์
    5. งานบัญชี

    นอกจากนี้ จะมีบางธุรกิจที่ถือว่าเติบโตร้อนแรงมากในช่วงหลังเกิด COVID-19 และมีผลต่อการจ้างงานบางประเภท บางพื้นที่ เป็นพิเศษ ดังนี้

    1. พลาสติก กระดาษ ปิโตรเคมี – เพราะการเดลิเวอรีทำให้มีการใช้แพ็กเกจจิ้งและการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นสูงมาก โดยเฉพาะกระดาษที่มีการใช้เพิ่มถึง 300% ตำแหน่งงานที่ต้องการมากที่สุดจึงเป็นวิศวกรรม และเพิ่มขึ้นในภาคตะวันออกของประเทศมากที่สุด
    2. ไอที Digital Transformation เกิดขึ้นในทุกธุรกิจ หลังจากผู้บริโภคใช้บริการผ่านดิจิทัลเพิ่มขึ้น 30% มนุษย์ไอทีจึงเป็นหัวใจสำคัญ แม้แต่บริษัทขนาดเล็กก็ต้องการตัวมนุษย์ไอทีมาก โดย 60% ของประกาศงานด้านไอที มาจากบริษัทที่มีพนักงานน้อยกว่า 50 คน และบริษัทเหล่านี้ยอมทุ่มลงทุนด้านไอทีเพื่อสู้กับบริษัทใหญ่
    3. การผลิต – หลังจาก COVID-19 คลี่คลาย การลงทุนฟื้นตัว มีการเพิ่มกำลังผลิต และทำให้ความต้องการพนักงานระดับเจ้าหน้าที่สูงขึ้นถึง 79.5% โดยเฉพาะจังหวัดชลบุรี
    4. การแพทย์และเภสัชกรรม – นวัตกรรมพบแพทย์ทางไกล (Telemedicine) มาแรง และมีการวิจัยเพิ่มขึ้น ทำให้งานด้านวิทยาศาสตร์และวิจัยมีตำแหน่งงานเพิ่ม 95%

     

    “ไอที” มนุษย์ทองคำที่บริษัทต้องหาทางยื้อไว้ให้ได้

    เห็นได้ชัดว่าสายงานไอทีติดทุกผลการสำรวจไม่ว่าจะในแง่มุมใด โดยถ้าแยกย่อยออกมา กลุ่มงานดิจิทัลที่ต้องการตัวกันมากที่สุด เช่น โปรแกรมเมอร์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ นักวิทยาศาสตร์/วิเคราะห์ดาต้า ไอทีอินฟราสตรักเจอร์ ความปลอดภัยไซเบอร์ เป็นต้น

    Technology security concept safety digital protection system

    คนทำงานสายนี้เป็นที่ต้องการสูงมาก ทำให้มีโอกาสเปลี่ยนงานสูงกว่าสายอื่น โดยเฉลี่ยสายงานอื่นมักจะเปลี่ยนงานทุกๆ 2-3 ปี แต่ไอทีจะเปลี่ยนงานทุกๆ 1-2 ปี

    ไม่เพียงแต่ในไทยเท่านั้น แต่ตลาดต่างประเทศก็ต้องการตัวสายดิจิทัล ซึ่งทำให้ถ้าหากคนดิจิทัลคนนั้นมีทักษะด้านภาษาสูงก็สามารถหางานได้กว้างกว่าเดิม

    ยิ่งในยุคหลัง COVID-19 ซึ่งการทำงานแบบไฮบริดหรือทำงานทางไกล (remote work) สามารถทำได้และได้รับการยอมรับ ก็ยิ่งทำให้คนสายงานดิจิทัลหางานต่างประเทศได้มากขึ้น เพราะสำหรับคนที่กังวลเรื่องการย้ายถิ่นที่อยู่ก็ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป ในกรณีคนดิจิทัลไทยนั้น มีนายจ้างต่างประเทศสนใจจ้างข้ามแดนจากหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย รัสเซีย จีน อินโดนีเซีย

    ไอที
    ข้อมูลโดย JobsDB

    ดังนั้น JobsDB จึงแนะนำนายจ้างไทยที่ต้องการให้มนุษย์ไอทีต้องการทำงานกับองค์กรได้นาน หรือดึงดูดคนดิจิทัลใหม่ๆ เข้ามา ต้องเข้าใจอินไซต์ของคนในสายอาชีพนี้ว่า นอกจากผลตอบแทนที่เหมาะสมแล้ว พวกเขายังมีสิ่งที่ต้องการหลักๆ ดังนี้

    • 57% ต้องการให้มีวิธีการทำงานแบบไฮบริด ไม่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน โดย 95% ต้องการทำงานจากที่ไหนก็ได้อย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ และมีถึง 25% ที่ต้องการทำงานแบบ Fully Remote Work คือไม่ต้องเข้าออฟฟิศเลย นั่นหมายความว่า องค์กรต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมให้คนทำงานจากนอกออฟฟิศ และมีวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมการประชุมและทำงานออนไลน์ได้
    • คนไอทีกังวลด้านการพัฒนาทักษะเป็นพิเศษ ทำให้องค์กรที่ดึงดูดคืองานที่เปิดโอกาสให้พัฒนาทักษะใหม่เสมอ และสนับสนุนการเพิ่มประสบการณ์ เช่น โอกาสไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ
    • มีวัฒนธรรมองค์กรยอมรับความหลากหลายและเท่าเทียม ไม่กีดกันทางเพศ เชื้อชาติ ศาสนา

    โดยสรุปแล้ว คนสายงานดิจิทัลไม่ได้พิจารณาการทำงานจากค่าตอบแทนเพียงอย่างเดียว แต่ต้องการสมดุลชีวิตที่ดี การทำงานยืดหยุ่น และอยู่ในองค์กรที่ส่งเสริมตนเอง มีวัฒนธรรมองค์กรที่ทันสมัยด้วย

    ส่วนคนทำงานสายอาชีพอื่นก็ต้องเพิ่มทักษะด้านดิจิทัลให้กับตนเอง มีการ Upskill/Reskill เพราะหากอาชีพถูกทดแทนด้วยเครื่องจักรหรือซอฟต์แวร์ได้ และไม่สามารถปรับตัวไปเป็นผู้ควบคุมดูแลเครื่องจักรหรือใช้ซอฟต์แวร์นั้นๆ ได้ ก็จะเสี่ยงเป็นอาชีพที่ตกงานในอนาคต (JobsDB มีคอร์สเรียนฟรีเพื่อเสริมทักษะคนทำงานด้านต่างๆ เช่น ความรู้พื้นฐานดิจิทัล ภาษาอังกฤษธุรกิจ ในชื่อโครงการ UpLevel คลิกที่นี่)

    ]]>
    1389904
    ยังขาดแคลนหนัก! Huawei ICT Academy ตั้งเป้าฝึกทักษะคนไอทีไทยเพิ่มเป็น 1,200 คน https://positioningmag.com/1291064 Tue, 04 Aug 2020 11:38:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1291064 โครงการ Huawei ICT Academy เริ่มขึ้นในไทยเมื่อปี 2561 ปัจจุบันมีผู้ผ่านหลักสูตรและได้ใบรับรองไปแล้ว 350 คน และตั้งเป้าจะเพิ่มจำนวนเป็น 1,200 คนภายในสิ้นปีนี้ จุดประสงค์เพื่อแก้โจทย์บุคลากรด้านไอซีทียังขาดแคลนทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก

    ไมเคิล แมคโดนัลด์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดิจิทัล และที่ปรึกษาผู้บริหาร Huawei Asia Pacific เปิดเผยความคืบหน้าของโครงการ Huawei ICT Academy และการให้ ประกาศนียบัตรมาตรฐานวิชาชีพของ Huawei ซึ่งทั่วโลกเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2556 ส่วนในไทยเริ่มปี 2561

    ปัจจุบันทั่วโลกมีเยาวชนและคนทำงานที่ได้รับใบประกาศนียบัตรมาตรฐานวิชาชีพ Huawei ไปแล้วกว่า 260,000 คน โดยบริษัทมีเป้าหมายเพิ่มจำนวนเป็น 700,000 คนภายในปี 2566 ส่วนในประเทศไทยนั้น มีผู้ได้รับประกาศนียบัตรมาตรฐานวิชาชีพแล้ว 350 คน และตั้งเป้าเพิ่มเป็น 1,200 คนภายในสิ้นปีนี้

    โครงการ Huawei ICT Academy นั้นเป็นโครงการฝึกทักษะให้คนที่สนใจและต้องการทำงานด้านไอซีที แยกหลักสูตรออกเป็น 22 สาขา ครอบคลุมทั้งด้าน โครงสร้างพื้นฐานไอซีที เช่น 5G, WLAN, SDN และด้าน แพลตฟอร์ม-บริการ เช่น บิ๊กดาต้า, AI, IoT ผู้ผ่านการอบรมสามารถไปสอบรับใบประกาศนียบัตรมาตรฐานวิชาชีพของ Huawei ได้ โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ Associate, Professional และระดับ Expert

    หลักสูตรและระดับขั้นของประกาศนียบัตรมาตรฐานวิชาชีพ Huawei

    การเข้าร่วมอบรมจะมีทั้งคอร์สอบรมในรั้วมหาวิทยาลัยให้กับกลุ่มนักศึกษา โดยทาง Huawei เข้าไปอบรมอาจารย์ให้เป็นผู้อบรมนักศึกษาต่ออีกทอดหนึ่ง ส่วนคนทำงานหรือผู้ที่สนใจสามารถเรียนกับศูนย์เทรนนิ่งของ Huawei หรือเรียนออนไลน์ในระบบ Learn On ได้ฟรี เมื่อเรียนจบหลักสูตรออนไลน์สามารถรับวอชเชอร์เพื่อไว้ใช้สอบประกาศนียบัตรมาตรฐานวิชาชีพได้

    โดยไมเคิลมองว่า กลุ่มที่ Huawei โฟกัสเป็นพิเศษคือกลุ่มนักศึกษา ซึ่งจะมาเป็นกำลังสำคัญในภาคแรงงานไอซีทีของไทย ทำให้บริษัทขยายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยจากเดิมมี 13 แห่งที่เข้าร่วม เช่น KMITL, ม.เทคโนโลยีมหานคร, ม.สงขลานครินทร์ ปีนี้จะเพิ่มความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยรวมเป็น 20 แห่ง

     

    ทาเลนต์ด้านไอซีทีทั่วโลกยังขาดแคลน 5 ล้านคน

    จุดประสงค์ของ Huawei ในการสร้างโปรแกรมฝึกทักษะแบบนี้ ไมเคิลกล่าวว่า เพราะบริษัทเล็งเห็นถึงความขาดแคลนทาเลนต์ด้านไอซีทีทั่วโลก โดยเฉพาะใน 5 ปีข้างหน้า ภูมิทัศน์ของการใช้เทคโนโลยีไอซีทีจะยิ่งก้าวหน้ารวดเร็วไปกว่านี้มากและอยู่ในทุกอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีอย่างบิ๊กดาต้า AI IoT คลาวด์คอมพิวติ้ง ทำให้บริษัทคาดว่าทั่วโลกจะยังขาดแคลนทาเลนต์ขั้นสูงอีกถึง 5 ล้านคน

    ส่วนในประเทศไทยแม้จะไม่มีตัวเลขแน่ชัด แต่ไมเคิลเชื่อว่าจำนวนบุคลากรที่มี “ยังไม่ใกล้เคียงกับคำว่าเพียงพอ” และที่ขาดแคลนมากที่สุดคือทาเลนต์ที่มีความรู้ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 5G

    ไมเคิล แมคโดนัลด์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดิจิทัล และที่ปรึกษาผู้บริหาร Huawei Asia Pacific

    ทั้งนี้ หลักสูตรที่ฝึกทักษะและประกาศนียบัตรมาตรฐานวิชาชีพที่ให้จะทำให้ผู้ผ่านการอบรมคุ้นเคยกับระบบของ Huawei แต่หลักสูตรจะเน้นสอนทักษะความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ได้กับทุกระบบ และไม่มีข้อผูกมัดว่าจะต้องทำงานให้กับบริษัท

    “ประโยชน์ที่ผู้รับการอบรมจะได้คือ นักเรียนนักศึกษาจะมีความพร้อมเข้าสู่ตลาดงานทันที เพราะมีความรู้แบบพร้อมใช้  มีโอกาสได้งานเร็วขึ้น มั่นคงในอาชีพมากขึ้น น่าจะเรียกค่าตอบแทนได้มากขึ้นด้วย ส่วนคนทำงานที่เข้าอบรมและได้ประกาศนียบัตรมาตรฐานวิชาชีพก็สามารถนำไปเพิ่มความสามารถตนเองเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ” ไมเคิลกล่าว

    ขณะที่ประเทศไทยก็จะมีโอกาสวางโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีตอบรับโลกยุคใหม่ได้เร็วกว่าเดิม เมื่อเรามีทาเลนต์ขั้นสูงที่พร้อม

    ]]>
    1291064
    สัญญาณตลาดแรงงานเริ่มฟื้น! งาน “โลจิสติกส์” มาแรง “ไอที-ขาย” ยังต้องการสูงสุด https://positioningmag.com/1281913 Wed, 03 Jun 2020 16:58:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281913 จ๊อบส์ ดีบีเปิดข้อมูล ดีมานด์แรงงานเดือนพ.ค. เริ่มฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด รับคลายล็อกเฟส 3 โดยที่สายงานไอที งานขาย ยังมีความต้องการสูงสุด ด้านธุรกิจโลจิสติกส์ คว้าแชมป์ดีมานด์เติบโต 23%

    โลจิสติกส์รับคนเพิ่มสูงสุด

    จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) เผยภาพรวมความต้องการงานทั่วประเทศไทย 3 เดือนตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม แม้จะเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จนส่งผลกระทบในหลายภาคส่วนจนทำให้เกิดอัตราคนว่างงานที่เพิ่มมากขึ้น

    แต่ในวิกฤตดังกล่าวพบว่ามีภาคธุรกิจที่ยังคงมีความต้องการแรงงาน อาทิ ธุรกิจไอที ธุรกิจขายปลีก ธุรกิจบริการด้านการเงิน ธุรกิจจัดจำหน่าย ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ฯลฯ

    ล่าสุดข้อมูลสิ้นเดือนพฤษภาคมพบสัญญาณการรับสมัครงานเพิ่มขึ้นใน 5 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่

    • ธุรกิจโลจิสติกส์ เพิ่มขึ้น 23%
    • ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพิ่มขึ้น 13%
    • ธุรกิจโฆษณา ธุรกิจการตลาด ธุรกิจประชาสัมพันธ์ เพิ่มขึ้น 6%
    • ธุรกิจประกันภัย เพิ่มขึ้น 5%
    • ธุรกิจขายส่ง ธุรกิจขายปลีก เพิ่มขึ้น 2%

    ไอที-ขาย ดาวรุ่ง รับ New Normal

    พรลัดดา เดชรัตน์วิบูลย์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า

    “จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่เกิดขึ้นไปทั่วโลก ปฏิเสธไม่ได้ว่าได้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจรวมถึงธุรกิจเกือบทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นฝั่งองค์กร ผู้ประกอบการ ตลอดจนฝั่งคนหางาน แต่ในวิกฤตดังกล่าวก็ยังพบว่ามีธุรกิจหลายประเภทที่ยังมีความต้องการแรงงาน เพื่อมาช่วยขับเคลื่อนให้องค์กรสามารถข้ามผ่านสถานการณ์ดังกล่าวไปได้ ด้วยเหตุนี้ จ๊อบส์ ดีบี จึงได้เผยภาพรวมความต้องการคนทำงานทั่วประเทศไทยช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม 2563″

    5 ธุรกิจที่ยังมีความต้องการคนทำงาน

    • ธุรกิจไอที (Information Technology)
    • ธุรกิจการผลิต (Manufacturing)
    • ธุรกิจขายส่ง ธุรกิจขายปลีก (Wholesale / Retail)
    • ธุรกิจบริการด้านการเงิน (Financial Services)
    • ธุรกิจ Trading ธุรกิจจัดจำหน่าย (Trading and Distribution)

    5 สายอาชีพที่ยังคงมีความต้องการคนทำงาน

    • งานขาย งานบริการลูกค้า งานพัฒนาธุรกิจ (Sales, CS & Business Devpt)
    • งานไอที (Information Technology)
    • งานวิศวกรรม (Engineering)
    • งานการตลาด งานประชาสัมพันธ์ (Marketing/Public Relations)
    • งานธุรการ งานทรัพยากรบุคคล (Admin & HR)

    จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่ากลุ่มธุรกิจ และสายงานไอทีเป็นกลุ่มที่มีความต้องการคนทำงานสูง เนื่องจากหลายองค์กรมีการปรับตัวรับ New Normal รวมถึงการทำงานให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ในขณะที่ธุรกิจผลิตและจัดจำหน่าย มีการเตรียมความพร้อมรับคนกลับมาทำงานหลังภาพรวมต่าง ๆ เริ่มส่งสัญญาณในทิศทางที่ดีขึ้น

    5 กลุ่มธุรกิจที่มีจำนวนประกาศงานลดลง 

    • ธุรกิจท่องเที่ยว (Tourism/Travel Agency)
    • ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจบริการ ธุรกิจจัดเลี้ยง (Hospitality/Catering)
    • ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจสถาปัตยกรรม (Architecture/Building/Construction)
    • ธุรกิจยานยนต์ (Motor Vehicles)
    • ธุรกิจวิศวกรรมก่อสร้าง-ธุรกิจวิศวกรรมโยธา-ควบคุมอาคาร (Engineering – Building, Civil, Construction/Quantity Survey)

    สมัครงานเพิ่มขึ้น 20%

    สำหรับภาพรวมของฝั่งคนหางาน พบว่าในเดือนพฤษภาคมผู้สมัครงานมีจำนวนการสมัครงานเพิ่มขึ้น คิดเป็น 20% เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน ทั้งจากคนทำงานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ รวมถึงผู้สมัครงานบางส่วนเริ่มมีความเชื่อมั่นในสถานการณ์และมองหาโอกาสในการทำงานเพิ่มขึ้น ซึ่งพิจารณาจากใบสมัครเติบโตสูง พบว่า

    • ธุรกิจ Trading ธุรกิจจัดจำหน่าย เพิ่มขึ้น 32%
    • ธุรกิจสารเคมี พลาสติก กระดาษ ปิโตรเคมี เพิ่มขึ้นสูงถึง 13%
    • ธุรกิจไอที เพิ่มขึ้น 10%
    • ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจจัดเลี้ยง เพิ่มขึ้น 2%

    5 กลุ่มสายงานเป็นที่ต้องการของผู้สมัครงานสูง

    • อีคอมเมิร์ซ เพิ่มขึ้น 75%
    • งานขาย งานบริการลูกค้า งานพัฒนาธุรกิจ เพิ่มขึ้น 3%
    • งานบัญชี เพิ่มขึ้น 3%
    • งานไอที เพิ่มขึ้น 3%
    • งานการตลาด งานประชาสัมพันธ์ เพิ่มขึ้น 2%
    ]]>
    1281913