ชิป – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 09 Apr 2024 04:58:16 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รัฐบาลสหรัฐฯ ทุ่ม 6.6 พันล้าน ดึง ‘TSMC’ ผู้ผลิตชิปเบอร์ 1 ของโลก ขยายโรงงานในอเมริกา https://positioningmag.com/1469461 Tue, 09 Apr 2024 03:29:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1469461 ไม่ใช่แค่สกัดกั้น จีน ในการเข้าถึงชิประดับสูง แต่ สหรัฐฯ ยังเดินเกมดึงพันธมิตรเข้ามาลงทุนในประเทศ โดยรัฐบาลสหรัฐฯ วางแผนที่จะมอบเงิน 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับผู้ผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง TSMC เพื่อขยายโรงงานในรัฐแอริโซนา

รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศว่า ได้ลงนามในข้อตกลงที่ไม่มีผลผูกพันกับ TSMC (Taiwan Semiconductor Manufacturing Co.) บริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์อันดับ 1 ของโลกสัญชาติไต้หวัน เพื่อจัดหาเงินทุนสำหรับลงทุนเปิดโรงงานผลิตในเมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ จะให้เงินอุดหนุนมูลค่า 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกเหนือจากเงินกู้รัฐบาลประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์ จากกฎหมาย Chips and Science Act

ขณะที่ TSMC เองก็ตกลงจะเพิ่มวงเงินลงทุนในสหรัฐฯ อีก 25,000 ล้านดอลลาร์ รวมเป็น 65,000 ล้านดอลลาร์ โดยเตรียมที่จะสร้างโรงงานแห่งที่ 3 ภายในปี 2030 โดยการลงทุนดังกล่าว ถือเป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของรัฐแอริโซนา  

“อเมริกาคิดค้นชิปเหล่านี้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เราเปลี่ยนจากการผลิตเกือบ 40% ของกำลังการผลิตของโลก เหลือเพียง 10% และไม่มีชิปที่ทันสมัยที่สุดเลย นั่นทำให้เราเผชิญกับความเปราะบางทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของชาติอย่างมีนัยสำคัญ” โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าว

ปัจจุบัน TSMC ครองสัดส่วนถึง 90% ของชิปที่ทันสมัยที่สุดในโลก โดย Mark Liu ประธาน TSMC กล่าวว่า การจัดตั้งโรงงานในสหรัฐฯ จะทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงชิปภายในประเทศ ที่สามารถใช้ได้กับสมาร์ทโฟนไปจนถึงดาวเทียม รวมถึงระบบปัญญาประดิษฐ์ด้วย

ทั้งนี้ โรงงานทั้ง 3 แห่งคาดว่าจะสร้างงานด้านเทคโนโลยีประมาณ 6,000 ตำแหน่ง และงานทางอ้อมมากกว่า 20,000 ตำแหน่ง เช่น ในการก่อสร้างการรักษาความปลอดภัย และซัพพลายเชน รวมถึงจะดึงดูดซัพพลายเออร์เซมิคอนดักเตอร์ 14 ราย ให้กับรัฐ

การที่สหรัฐฯ สามารถดึง TSMC มาลงทุนในประเทศได้นั้น ถือว่า Win-Win ทั้ง 2 ฝ่าย เพราะรัฐบาลสหรัฐฯ ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องนำการผลิตชิปมาใช้ในประเทศมากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาการผลิตชิปจากประเทศอื่น หลังจากที่เจอปัญหาชิปขาดแคลนไปในช่วงการระบาดของ COVID-19 จนส่งผลให้ราคาสูงขึ้น

ขณะที่ประเทศไต้หวันก็อยู่ในตำแหน่งที่อ่อนแอเช่นกัน เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญด้านซับพลายเชนและเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ กังวลว่า ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน อาจทำให้เกิดการรุกรานทางทหารกับไต้หวัน อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตชิปที่สำคัญของประเทศ นอกจากนี้ ไต้หวันเพิ่งเจอกับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ซึ่งย้ำให้เห็นถึงความเสี่ยงของอุตสาหกรรมต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ

สำหรับกฎหมาย Chips and Science Act ได้ผ่านการรับรองในเดือนสิงหาคม 2022 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศของสหรัฐฯ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศและแข่งขันกับคู่แข่งได้ดีขึ้น เช่น จีน โดยรัฐบาลได้ วางงบอุดหนุนด้านการวิจัยและการผลิตสูงถึง 52,700 ล้านดอลลาร์ นอกจากนี้สมาชิกสภาคองเกรสยังได้อนุมัติวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำอีก 75,000 ล้านดอลลาร์ด้วย

Source

]]>
1469461
‘มาเลเซีย’ กลายเป็นอีกหมุดหมายของ ‘โรงงานผลิตชิป’ หลังจีน-สหรัฐฯ ยังตึงใส่กัน https://positioningmag.com/1469027 Thu, 04 Apr 2024 02:57:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1469027 เพราะความตึงเครียดระหว่างจีน-สหรัฐฯ ในด้าน เซมิคอนดักเตอร์ หรือ ชิป ทำให้หลายบริษัทผู้ผลิตชิปในสหรัฐฯ เริ่มมองหาฐานการผลิตใหม่ ๆ นอกจากจีน และดูเหมือนว่า มาเลเซีย กำลังกลายเป็นอีกหมุดหมายของบริษัทผู้ผลิตชิปหลาย ๆ บริษัท ที่จะไปลงทุนตั้งโรงงาน

หลายคนอาจไม่รู้ว่า มาเลเซีย มีโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงและมีประสบการณ์ราว 50 ปีในแบ็กเอนด์ของกระบวนการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ โดยเฉพาะ แรงงานที่มีทักษะการประกอบ การทดสอบ และบรรจุภัณฑ์ อีกทั้งยังลดต้นทุนการดำเนินงานเชิงเปรียบเทียบ ทำให้การส่งออกสามารถแข่งขันได้มากขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้มาเลเซียกำลังกลายเป็นจุดสำคัญสำหรับโรงงานเซมิคอนดักเตอร์ เนื่องจากความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีน ส่งผลให้บริษัทต่าง ๆ ต้องกระจายการดำเนินงาน

บริษัทชิปยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกันอย่าง อินเทล (Intel) ได้เคยออกมาประกาศในช่วงเดือนธันวาคม 2564 ว่า บริษัทจะลงทุนมากกว่า 7 พันล้านดอลลาร์ เพื่อสร้างโรงงานบรรจุภัณฑ์และทดสอบชิปในมาเลเซีย โดยคาดว่าจะเริ่มการผลิตได้ในปี 2567 นี้

โดยมาเลเซีย ถือเป็นโรงงานผลิตชิปในต่างประเทศแห่งแรกของอินเทล โดยเปิดตัวครั้งแรกเปิดตัวในปี 2515 ด้วยเงินลงทุน 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยบริษัทเดินหน้าเพิ่มศูนย์ทดสอบเต็มรูปแบบ รวมถึงศูนย์การพัฒนาและการออกแบบในมาเลเซีย

“การตัดสินใจลงทุนในมาเลเซียมีรากฐานมาจากกลุ่มผู้มีความสามารถที่หลากหลาย โครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคง และซัพพลายเชนที่แข็งแกร่ง” Aik Kean Chong กรรมการผู้จัดการของ Intel Malaysia กล่าว

นอกจากนี้ยังมี GlobalFoundries บริษัทชิปยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ อีกรายที่จะเปิดโรงงานในเดือนกันยายน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการผลิตทั่วโลก ควบคู่ไปกับโรงงานในสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และยุโรป นอกเหนือจากบริษัทในสหรัฐฯ ก็มี Infineon ผู้ผลิตชิปชั้นนำของเยอรมนี ที่เตรียมสร้างโมดูลการผลิตเวเฟอร์แห่งที่ 3 ในประเทศ Newways ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์หลักของผู้ผลิตอุปกรณ์ชิปสัญชาติเนเธอร์แลนด์  ASML ก็เตรียมจะสร้างโรงงานผลิตแห่งใหม่ในมาเลเซียเช่นกัน

“เนื่องจากนโยบายที่มีความคิดก้าวหน้าและการสนับสนุนที่แข็งแกร่งจากรัฐบาล ร่วมกับพันธมิตรอย่าง InvestPenang ได้สร้างระบบนิเวศที่แข็งแกร่งสำหรับอุตสาหกรรมที่จะเจริญเติบโต” Tan Yew Kong รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปของ GlobalFoundries Singapore กล่าว

นอกจากนี้ มาเลเซียถือหุ้น 13% ของตลาดโลกสำหรับบริการบรรจุภัณฑ์ชิป การประกอบ และการทดสอบ โดยหน่วยงานพัฒนาการลงทุนของมาเลเซีย ได้เปิดเผยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า การส่งออกอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์และวงจรรวมเพิ่มขึ้น 0.03% เป็น 387.45 พันล้านริงกิตมาเลเซีย (81.4 พันล้านดอลลาร์) ในปี 2566 แม้ว่าความต้องการชิปทั่วโลกที่อ่อนแอ

เพื่อพยายามขยายระบบนิเวศเซมิคอนดักเตอร์ของประเทศและดึงดูดการลงทุน มาเลเซียจึงได้จัดตั้ง คณะทำงานเชิงกลยุทธ์ด้านเซมิคอนดักเตอร์ระดับชาติ เมื่อเดือนมกราคม นอกจากนี้ ซาฟรุล อาซิซ รัฐมนตรีกระทรวงการลงทุน การค้า และอุตสาหกรรมของมาเลเซีย ได้เปิดเผยว่า มาเลเซียมีเป้าหมายที่จะมุ่งเน้นไปที่ ส่วนหน้า ของกระบวนการผลิตชิป จากเดิมที่มาเลเซียจะเชี่ยวชาญในส่วนแบ็กเอนด์ โดยกระบวนการส่วนหน้าเกี่ยวข้องกับการผลิตแผ่นเวเฟอร์

อย่างไรก็ตาม มาเลเซียก็มีความท้าทายที่สำคัญก็คือ ภาวะสมองไหล เมื่อคนงานเดินทางออกนอกประเทศเพื่อหางานทำที่ดีขึ้นและเงินเดือนที่สูงขึ้น โดยจากการศึกษาอย่างเป็นทางการที่ดำเนินการในปี 2565 เปิดเผยว่า คนงานชาวมาเลเซียที่มีทักษะหรือกึ่งทักษะ 3 ใน 4 คนย้ายไปทำงานในสิงคโปร์

Source

]]>
1469027
‘จีน’ จวก ‘อเมริกา’ ว่าสร้างอุปสรรคให้กับอุตสาหกรรมชิปมากขึ้น หลังเพิ่มเกณฑ์ควบคุมส่งออกไปยังจีน https://positioningmag.com/1468601 Mon, 01 Apr 2024 11:59:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1468601 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ฝ่ายบริหารของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้แก้ไขกฎเกี่ยวกับการส่งออกชิป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้จีนเข้าถึงชิปปัญญาประดิษฐ์และเครื่องมือสร้างชิปของสหรัฐฯ ได้ยากขึ้น เนื่องจากข้อกังวลด้านความมั่นคงของชาติ เพรากลัวว่าจีนจะนำชิปไปเสริมประสิทธิภาพให้กองทัพ

ล่าสุด จีน ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์กฎเกณฑ์การส่งออกเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐฯ ที่เข้มงวดขึ้น โดยกล่าวว่า อเมริกากำลังสร้างอุปสรรคในการค้าขายและเพิ่มความไม่แน่นอนในอุตสาหกรรมชิปมากขึ้น โดยความเคลื่อนไหวของสหรัฐฯ ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างบริษัทจีนและบริษัทต่างชาติ และยังเป็นอันตรายต่อสิทธิและผลประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายของพวกเขา จีนต่อต้านสิ่งนี้อย่างแข็งขัน

สหรัฐฯ ได้ขยายแนวคิดเรื่องความมั่นคงของชาติ แก้ไขกฎเกณฑ์ตามอำเภอใจ และมาตรการควบคุมที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่จะสร้างอุปสรรคมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังสร้างภาระในการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่หนักขึ้นสำหรับบริษัทจีนและอเมริกาที่ต้องการทำงานร่วมกันในเชิงเศรษฐกิจและทางการค้าตามปกติ และยังสร้างความไม่แน่นอนอย่างมากให้กับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก” โฆษกกระทรวงพาณิชย์กล่าว

ย้อนไปช่วงเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ กำหนดกฎเกณฑ์ห้ามการส่งออกเซมิคอนดักเตอร์ไปยังจีน ทำให้บริษัทอย่าง Nvidia และ AMD ได้แก้ปัญหาโดยการ ผลิตชิปสำหรับจำหน่ายให้จีนโดยเฉพาะ โดยจะออกแบบให้ตรงตามสเปกที่สหรัฐฯ ตั้งไว้ แต่จากกฎใหม่ที่สหรัฐออกมา จะมาอุดช่องว่างดังกล่าว โดยกฎเกณฑ์ใหม่ซึ่งมีความยาว 166 หน้าจะมีผลบังคับใช้ในวันพฤหัสบดีหน้า (4 เม.ย.) นี้

จีนพร้อมที่จะทำงานร่วมกับทุกฝ่ายเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน และส่งเสริมความมั่นคงและเสถียรภาพของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก”

Source

]]>
1468601
‘อินเดีย’ ขอ 5 ปี! ผงาดเป็น Top 5 ประเทศผู้ผลิตชิปของโลก https://positioningmag.com/1466715 Tue, 19 Mar 2024 02:30:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1466715 ตอนนี้หลายประเทศพยายามที่จะดันอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ หรือ ชิป มากขึ้น หลังจากที่เคยเอาแต่พึ่งพาจีน ขณะที่ อินเดีย ที่ปัจจุบันกลายเป็นประเทศที่บริษัทไอทีหลายรายย้ายมาใช้เป็นฐานการผลิต ทำให้อินเดียมีความหวังที่จะขึ้นเป็นประเทศ Top 5 ของโลกด้านการผลิตชิป

Ashwini Vaishnaw รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ รถไฟ และการสื่อสาร ของอินเดีย ประกาศว่า อินเดียต้องการเป็น 1 ใน 5 ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของโลกในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยจากการรายงานของ เทรนด์ฟอร์ซ ระบุว่า ปัจจุบัน 5 ประเทศที่ผลิตชิปได้มากที่สุดของโลก ได้แก่

  • ไต้หวัน (46%)
  • จีน (26%)
  • เกาหลีใต้ (12%)
  • สหรัฐอเมริกา (6%)
  • ญี่ปุ่น (2%)

หลังจากที่ความตึงเครียดของสหรัฐฯ – จีนไม่มีสัญญาณว่าจะสิ้นสุดลงในเร็ววัน ทำให้หลายบริษัท โดยเฉพาะบริษัทไอทีต้องการลดการพึ่งพาจีน ทำให้อินเดียกลายเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์ไปเต็ม ๆ โดยล่าสุด ควอลคอมม์ (Qualcomm) บริษัทชิปยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ได้เปิดศูนย์ออกแบบใหม่ในเมืองเจนไน โดยโรงงานจะเน้นการออกแบบเทคโนโลยีไร้สายและสร้างงาน 1600 ตำแหน่งในประเทศ

“อุตสาหกรรมชิปเป็นตลาดที่ซับซ้อนมาก และเราคิดว่าในอีกห้าปีข้างหน้า เราจะเป็น Top 5 ประเทศเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำของโลก เนื่องจากมั่นใจว่าอินเดียเป็นพันธมิตรที่เชื่อถือได้” Ashwini Vaishnaw กล่าว

นอกจากการลงทุนของควอลคอมม์ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อินเดียพึ่งเปิดตัวโรงงานเซมิคอนดักเตอร์ 3 แห่ง หนึ่งในโรงงานเหล่านั้นเป็นการร่วมทุนระหว่าง Tata Electronics และบริษัท PowerChip Semiconductor Manufacturing Corp. ของไต้หวัน โดยมีเป้าหมายคือการสร้างชิปเซมิคอนดักเตอร์ตัวแรกของอินเดียภายในปี 2026

ทั้งนี้ Ashwini Vaishnaw คาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกจะมีมูลค่าถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ ภายใน 7 ปีข้างหน้า และบริษัททั่วโลกกำลังมองว่าอินเดียเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับการตัดสินใจลงทุนครั้งต่อไป และตอนนี้รัฐบาลกำลังตรวจสอบข้อเสนอการลงทุนด้านเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศรวมมูลค่ากว่า 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์

Source

]]>
1466715
ปัญหา ‘ชิป’ ขาดแคลนอาจกลับมาอีกครั้ง หลัง TSMC แจงมีความเสี่ยง ‘ขาดแคลนน้ำ’ สิ่งสำคัญในการผลิต https://positioningmag.com/1464480 Thu, 29 Feb 2024 09:16:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1464480 ย้อนไปปี 2021 บริษัท Taiwan Semiconductor Manufacturing Company ซึ่งเป็นผู้รับจ้างผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของโลก ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากปัญหาภัยแล้งในไต้หวัน มาปี 2024 ที่อุตสาหกรรมได้กลับสู่ภาวะปกติ กำลังเจอปัญหาเก่า คือ ขาดแคลนน้ำในการผลิต ซึ่งอาจส่งผลต่อราคาชิปในอนาคต

Taiwan Semiconductor Manufacturing Company หรือ TSMC บริษัทเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่สุดของโลกได้ออกมาเปิดเผยว่า บริษัทกำลังมีความเสี่ยงที่จะเกิดการ ขาดแคลนน้ำ ซึ่งหลายคนอาจไม่รู้ว่าอุตสาหกรรมการผลิตชิปเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำเยอะมาก เนื่องจากต้องใช้น้ำปริมาณมหาศาลเพื่อทำให้เครื่องจักรเย็นลง และรับประกันว่าแผ่นเวเฟอร์ปราศจากฝุ่น

“มีเส้นแบ่งโดยตรงระหว่างการใช้น้ำและความซับซ้อนของชิป เนื่องจากโรงงานใช้น้ำบริสุทธิ์พิเศษ ซึ่งเป็นน้ำจืดที่ผ่านการแปรรูปให้มีความบริสุทธิ์สูงมาก เพื่อล้างเวเฟอร์ระหว่างแต่ละกระบวนการ ยิ่งเซมิคอนดักเตอร์มีความก้าวหน้ามากขึ้น ขั้นตอนกระบวนการก็จะยิ่งใช้น้ำมากขึ้น” Hins Li นักวิเคราะห์เครดิตของ S&P Global Ratings กล่าว

ตามข้อมูลของ S&P พบว่า ผู้ผลิตชิปทั่วโลกใช้น้ำมากพอ ๆ กับปริมาณการใช้น้ำของฮ่องกง ที่มีประชากร 7.5 ล้านคน โดยปริมาณการใช้น้ำของ TSMC เพิ่มขึ้นมากกว่า 35% หลังจากที่ได้ก้าวไปสู่การผลิตชิปขนาด 16 นาโนเมตร นับตั้งแต่ปี 2558 และรายงานระบุว่า ปริมาณการใช้น้ำในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นประมาณ 1 หลักในแต่ละปี โดยได้แรงหนุนจากการขยายกำลังการผลิตและความต้องการของเทคโนโลยีกระบวนการที่ก้าวหน้า

ทั้งนี้ S&P คาดว่า การหยุดชะงักของขั้นตอนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับน้ำอาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานเทคโนโลยีทั่วโลกเนื่องจาก TSMC ครองส่วนแบ่งตลาดของชิปขั้นสูงประมาณ 90% ของโลกที่ใช้สำหรับแอปพลิเคชัน AI และควอนตัมคอมพิวเตอร์

“ความมั่นคงทางน้ำจะเป็นปัจจัยสำคัญมากขึ้นต่อสถานะเครดิตของบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ การจัดการทรัพยากรน้ำอย่างไม่ถูกต้องอาจขัดขวางการดำเนินงานของบริษัท ส่งผลเสียต่อผลการดำเนินงานทางการเงิน และอาจกระทบต่อความสัมพันธ์กับลูกค้า”

ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเพิ่มอัตราสภาพอากาศที่รุนแรง ความถี่ของความแห้งแล้ง และความผันผวนของปริมาณน้ำฝน กำลังจำกัดความสามารถของผู้ผลิตชิปในการจัดการเสถียรภาพของการผลิต

Source

]]>
1464480
เขากลับมาแล้ว! Masayoshi Son เตรียมตั้งกองทุนเกี่ยวกับชิปด้าน AI มูลค่าสูงถึง 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ https://positioningmag.com/1463264 Tue, 20 Feb 2024 03:24:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1463264 Masayoshi Son ซึ่งเป็น CEO ของ SoftBank เตรียมตั้งกองทุนเกี่ยวกับชิปด้าน AI มูลค่าสูงถึง 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ โดยเน้นลงทุนในบริษัทชิปที่เกี่ยวข้องกับด้าน AI โดยเฉพาะ และขอเป็นผู้ท้าชิงในอุตสาหกรรมดังกล่าวกับ Nvidia ซึ่งครองตลาดชิปเร่งการประมวลผล AI อยู่ในเวลานี้

สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Masayoshi Son ซึ่งเป็น CEO ของ SoftBank เตรียมที่จะจัดตั้งกองทุนเพื่อที่จะลงทุนในด้านการผลิตชิปสำหรับเร่งการประมวลผลด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยเฉพาะ คาดว่าขนาดของกองทุนนั้นจะใหญ่มากถึง 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 3.6 ล้านล้านบาท

โครงการดังกล่าวมีชื่อเรียกภายในบริษัทว่า Izanagi โดยกองทุนดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมให้ ARM บริษัทออกแบบชิปที่ SoftBank เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ สามารถที่จะเป็นผู้ท้าชิงในอุตสาหกรรมดังกล่าวกับ Nvidia ซึ่งครองตลาดชิปเร่งการประมวลผล AI อยู่ในเวลานี้

สำหรับการจัดตั้งกองทุนนั้นคาดว่าเม็ดเงินราวๆ 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จะมาจาก SoftBank ซึ่งมีเม็ดเงินเหลือเฝืออยู่ในบริษัทอยู่แล้ว ขณะที่ 70,000 ล้านเหรียญคาดว่าจะมาจากนักลงทุนในตะวันออกกลาง

ถ้าหาก SoftBank ตั้งกองทุนได้สำเร็จก็จะกลายเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในบริษัทด้าน AI กองทุนใหญ่กองหนึ่งของโลก ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัทประสบความสำเร็จในการจัดตั้งกองทุนขนาดยักษ์อย่าง SoftBank Vision Fund ที่ลงทุนในสตาร์ทอัพมาแล้ว

ความต้องการในการผลิตชิปเร่งการประมวลผล AI เพิ่มมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นทั้งบริษัทในสหรัฐอเมริกาอย่าง OpenAI เองก็มีแผนที่จะระดมทุนเพื่อสร้างโรงงานผลิตชิป หรือแม้แต่บริษัทจีนอย่าง Huawei เองก็ต้องให้ความสำคัญกับการผลิตชิปสำหรับ AI ก่อนด้วยซ้ำ

ก่อนหน้านี้ CEO ของ SoftBank มีความสนใจในเรื่องของ AI อย่างมาก และมีการพูดคุยกับ CEO ของ OpenAI อย่าง Sam Altman บ่อยครั้ง นอกจากนี้เขายังเคยกล่าวเรื่องเทคโนโลยี AI กับชาวญี่ปุ่นว่า “จะนำมันมาใช้หรือถูกทิ้งไว้ข้างหลังอีกครั้ง” มาแล้ว

]]>
1463264
รัฐบาลญี่ปุ่นทุ่มเงินเกือบ 11,000 ล้านบาท สนับสนุนการพัฒนาชิป 2 นาโนเมตร รวมถึงชิปที่เกี่ยวข้องกับ AI https://positioningmag.com/1462515 Tue, 13 Feb 2024 07:47:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1462515 รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศทุ่มเงินเกือบ 11,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการพัฒนาชิป 2 นาโนเมตรให้ได้ภายในปี 2027 และยังรวมถึงการพัฒนาชิปที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลด้านปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวกำลังมีบทบาทสำคัญในอนาคต

รัฐบาลญี่ปุ่นได้ทุ่มเงินมากถึง 45,000 ล้านเยน หรือคิดเป็นเงินไทยเกือบ 11,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการพัฒนาชิปสำหรับ AI หรือแม้แต่เทคโนโลยีการผลิตชิปให้ได้ 2 นาโนเมตรให้ได้ภายในปี 2027 หลังจากที่ญี่ปุ่นได้ทุ่มทุนในการดึงอุตสาหกรรมไฮเทคเข้ามาในประเทศมากขึ้น

เม็ดเงินวิจัยและพัฒนาชิปจะนำไปใช้โดย Leading-Edge Semiconductor Technology Center ซึ่งมีการก่อตั้งในปี 2022 โดยแยกเป็น 28,000 ล้านเยนสำหรับพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบชิปรุ่นต่อไปสำหรับปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเม็ดเงินอีกส่วน 17,000 พันล้านเยนสำหรับพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตชิป 2 นาโนเมตรหรือดีกว่าให้ได้

สำหรับ Leading-Edge Semiconductor Technology Center นั้นมีแกนนำคือ มหาวิทยาลัยโตเกียว AIST ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลญี่ปุ่น รวมถึง Rapidus บริษัทร่วมทุนของภาคเอกชนญี่ปุ่นเพื่อพัฒนาการผลิตชิป ซึ่งประกอบไปด้วยบริษัทอย่าง Sony NTT SoftBank Toyota ฯลฯ

โดย Leading-Edge Semiconductor Technology Center การวิจัยมีทั้งในเรื่องเทคโนโลยีการผลิต หรือแม้แต่วัสดุในการผลิตชิป ซึ่งญี่ปุ่นเองถือเป็นประเทศที่ส่งออกวัตถุดิบในการผลิตชิปอันดับต้นๆ ของโลก และจะมีการร่วมมือกับบริษัททั้งในญี่ปุ่นรวมถึงผู้เล่นสำคัญที่อยู่ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์

ก่อนหน้านี้ Fumio Kishida นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ต้องการให้มีการผลิตชิปในประเทศญี่ปุ่นอีกครั้ง และหวังว่าแผนการดังกล่าวทำให้ญี่ปุ่นสามารถกลับมาเป็นผู้นำในด้านนี้ได้ หลังจากที่เกิดความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดยที่รัฐบาลเตรียมให้เม็ดเงินและสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อที่จะเพิ่มกำลังการผลิตชิปในญี่ปุ่นมากถึง 3 เท่าภายในปี 2030

ซึ่งบริษัทที่สนใจเข้าไปตั้งโรงงานผลิตชิปในญี่ปุ่นก็คือ TSMC และยังมีการประกาศตั้งโรงงานเพิ่มเติมที่จะผลิตชิปด้วยเทคโนโลยี 3 นาโนเมตร

ขณะเดียวกัน Rapidus เองซึ่งเป็นบริษัทของญี่ปุ่นได้วางเป้าหมายที่จะผลิตชิปด้วยเทคโนโลยี 1.4 นาโนเมตรให้ได้ภายในปี 2028

ที่มา – Reuters, JiJi, Nikkei Asia

]]>
1462515
‘ญี่ปุ่น’ อัดฉีด 2 หมื่นล้านเยนให้ ‘ซัมซุง’ เพื่อดึงมาสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนา ‘ชิป’ ภายในประเทศ https://positioningmag.com/1456824 Fri, 22 Dec 2023 06:44:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1456824 นับตั้งแต่ ชิป เคยขาดตลาดไปในช่วงโควิด แม้ว่าช่วงนี้ปริมาณจะกลับมาล้นตลาดแล้วก็ตาม ทำให้นานาประเทศพยายามที่จะลดการพึ่งพาจีนและหันมาพึ่งตัวเองมากขึ้น โดย ญี่ปุ่น ก็ถือเป็นหนึ่งในนั้น

ย้อนกลับไปในช่วงปี 1980 ญี่ปุ่น เคยเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ โดยมี อะกิโอะ โมริตะ ผู้ร่วมก่อตั้ง Sony ที่ถือเป็นคนที่มีบทบาทสำคัญในการนำพาให้ญี่ปุ่นสามารถผลิตชิปในรูปแบบของตนเอง แต่ปัจจุบัน ญี่ปุ่นแม้จะไม่ใช่ผู้นำในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์อีกต่อไปแล้ว แต่ก็ยังบทบาทสำคัญโดยเป็นประเทศที่ผลิตอุปกรณ์พิเศษมากกว่า 1 ใน 3 ที่ใช้ในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก

ล่าสุด กระทรวงอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นได้ดึง ซัมซุง (Samsung Electronics) บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ไอทีและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของเกาหลีใต้ โดยรัฐบาลได้ให้เงินอุดหนุนสูงถึง 2 หมื่นล้านเยน (ราว 4.8 พันล้านบาท) เพื่อสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาใหม่สำหรับเซมิคอนดักเตอร์ขั้นสูง เพื่อเพิ่มการผลิตชิปในประเทศ

เนื่องจากการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงการแข่งขันทางเทคโนโลยีระหว่าง 2 มหาอำนาจอย่าง สหรัฐอเมริกาและจีน ทำให้ญี่ปุ่นได้พยายามที่จะสนับสนุนซัพพลายเชนของเซมิคอนดักเตอร์โดยดึงดูดการลงทุนจากบริษัทในต่างประเทศ

“ขณะนี้บริษัทต่าง ๆ จากทั่วโลกสนใจลงทุนในญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก” ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรี กล่าว

ที่ผ่านมา การลงทุนด้านเซมิคอนดักเตอร์โดยบริษัทต่างชาติที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่นในปัจจุบัน ได้แก่ Taiwan Semiconductor Manufacturing (TSMC) ในจังหวัดคุมาโมโตะ, Micron Technology Inc. ในจังหวัดฮิโรชิม่า และ Western Digital Corp. ในจังหวัดมิเอะ

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นตั้งเป้าเพิ่มรายได้จากชิปภายในประเทศ 3 เท่า ภายในปี 2030 และอัดฉีดงบลงทุนจำนวน 6.8 พันล้านดอลลาร์ เพื่อผลักดันเป้าหมายดังกล่าว โดยทางรัฐบาลเชื่อมั่นว่าแผนที่วางไว้จะลุล่วงไปด้วยดี

Source

]]>
1456824
แพงไปไม่ซื้อ! Meta, Microsoft และ OpenAI เตรียมเปลี่ยนใช้ชิปเอไอจาก ‘AMD’ หลังสู้ราคา ‘Nvidia’ ไม่ไหว https://positioningmag.com/1454651 Thu, 07 Dec 2023 06:16:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1454651 ในยุค Generative AI แบบนี้ ทำให้ความต้องการชิปสำหรับการประมวลผลปัญญาประดิษฐ์พุ่งขึ้นมหาศาล ส่งผลให้บริษัทผู้ผลิตชิปได้อานิสงส์นี้ไปเต็ม ๆ และหนึ่งในแบรนด์ที่เติบโตจากเทรนด์ดังกล่าวก็คือ Nvidia บริษัทที่เชี่ยวชาญด้านหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) และปัญญาประดิษฐ์

การจะสร้างและพัฒนาโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ เช่น ChatGPT ส่วนสำคัญก็คือ ชิป อย่างไรก็ตาม เนื่องจากราคาชิปของ Nvidia ที่ถือเป็นผู้นำของตลาดชิปสำหรับใช้ในการพัฒนาเอไอมีราคาแพง ทำให้ Meta, OpenAI และ Microsoft ประกาศว่าพวกเขาจะ ใช้ชิป AI ใหม่ล่าสุดของ AMD นั่นคือ Instinct MI300X ซึ่งเป็นชิป high-end ตัวล่าสุด ซึ่งจะชนกับ H100 ของ Nvidia

ที่น่าสนใจคือ Omdia บริษัทติดตามตลาด เชื่อว่า Meta และ Microsoft เป็นผู้ซื้อ GPU H100 ของ Nvidia รายใหญ่ที่สุด พวกเขาจัดหา GPU H100 มากถึง 150,000 ตัว ซึ่งมากกว่าจํานวนโปรเซสเซอร์ H100 ที่ซื้อโดย Google, Amazon, Oracle และ Tencent (ตัวละ 50,000 ตัว)

โดย AMD จะเริ่มจัดส่งชิป MI300X ในต้นปีหน้า และด้วยราคาที่ถูกลงอาจช่วยลดต้นทุนในการพัฒนาโมเดล AI รวมถึงสร้างแรงกดดันด้านการแข่งขันต่อการเติบโตของยอดขายชิป AI ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของบริษัท Nvidia

AMD กล่าวว่า MI300X ใช้สถาปัตยกรรมใหม่ โดยชิป MI300X เป็นชิปเร่งความเร็วสถาปัตยกรรม CDNA 3 เพิ่มหน่วยประมวลผล 40% ขยายแบนวิดท์หน่วยความจำ 1.7 เท่า ใส่แรม HBM3 192GB สามารถถ่ายโอนข้อมูลได้เร็วขึ้น รองรับข้อมูลแบบ FP8 หน่วยความจำที่สูงขึ้นทำให้สามารถรันโมเดล LLaMA-2 70B ได้ในชิปเดียว  

ทั้งนี้ AMD เคยคาดการณ์ว่าชิป MI300X จะมียอดขายประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2024 และหลังจากเปิดตัวชิปดังกล่าวหุ้นของบริษัทพุ่งขึ้น 1.9% ทั้งนี้ รายได้ใน Q3/2023 ของ AMD อยู่ที่ 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 4% โดย Lisa Su ซีอีโอของ AMD คาดการณ์ว่า ตลาดสําหรับชิป AI จะมีมูลค่ากว่า 4 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2027 และหวังว่า AMD จะครองส่วนแบ่งใหญ่ของตลาดนั้น

Source

]]>
1454651
จีนนำเข้าชิปลดลงเกือบ 15% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2023 ผลจากมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ผลิตเองในประเทศ https://positioningmag.com/1448027 Sun, 15 Oct 2023 08:50:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1448027 ปริมาณการนำเข้าชิปของประเทศจีน 9 เดือนแรกของในปี 2023 นั้นลดลงเกือบ 15% สาเหตุสำคัญคือมาตรการคว่ำบาตรจากสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังรวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศที่ต้องการหลีกเลี่ยงมาตรการดังกล่าว

South China Morning Post รายงานข่าวโดยอ้างอิงข้อมูลของสำนักงานศุลกากรของจีนว่าในช่วง 9 เดือนแรกจีนมีปริมาณนำเข้าชิป 355,900 ล้านชิ้น ลดลงเกือบ 15% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2022 ซึ่งอยู่ที่ 416,700 ล้านชิ้น

ไม่เพียงเท่านี้การนำเข้าชิปจากพันธมิตรสหรัฐฯ ของจีน ไม่ว่าจะเป็น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไต้หวัน ซึ่งเป็นผู้เล่นหลักอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ด้วย โดยการนำเข้าชิปจากเกาหลีใต้ลดลง 23% จากไต้หวันลดลง 20% และญี่ปุ่นลดลง 16.3%

ถ้าหากมองมูลค่าการนำเข้าชิปในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้จะพบว่าอยู่ที่ 252,900 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงมากถึง 19.8% เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมา

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้จีนนำเข้าสินค้าประเภทเซมิคอนดักเตอร์ลดลงนั้นมากจากมาตรการคว่ำบาตรของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเด็นของเทคโนโลยีได้กลายเป็นประเด็นสำคัญของความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์

ความไม่แน่ใจของบริษัทเทคโนโลยีจีนจำนวนมากที่พบว่าตัวเองต้องเผชิญ แต่บริษัทเทคโนโลยีจีนหลายแห่งทั้ง Tencent และ Alibaba หรือแม้แต่ ByteDance ฯลฯ ยังคงดำเนินโครงการพัฒนาต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการพัฒนาด้าน AI ที่มีการนำเข้าชิปของ Nvidia ล่วงหน้าเป็นมูลค่ารวมกันมากถึง 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

บริษัทเทคโนโลยีจีนเหล่านี้ต้องรีบนำเข้าชิปจากสหรัฐอเมริกา หรือประเทศพันธมิตร เนื่องจากกังวลถึงมาตรการที่สหรัฐเตรียมห้ามส่งออกชิปไว้สำหรับเร่งการประมวลผล เนื่องจากกังวลว่าจีนจะนำไปใช้ในการฝึก AI ซึ่งอาจสร้างผลกระทบต่อแดนมะกันหลังจากนี้ได้

ขณะเดียวกันจีนได้ตั้งเป้าที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เป็นของตัวเองมากขึ้นในปี 2023 นี้ ไม่ว่าจะโรงงานผลิตชิปของ Huawei ซึ่งเป็นโครงการลับ และได้รับการสนับสนุนเม็ดเงินจากรัฐบาลจีนเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านหยวน เพื่อผลิตชิปภายในประเทศ ลดการนำเข้าและหลีกเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ

อย่างไรก็ดีสหรัฐอเมริกาเองเตรียมที่จะออกมาตรการห้ามส่งออกเพิ่มเติม หลังจากที่บริษัทจีนหลายแห่งอาจใช้บางประเทศในตะวันออกกลางในการนำเข้าชิป โดยมาตรการล่าสุดคือทางการสหรัฐอเมริกาห้ามไม่ให้ Nvidia ส่งออกชิปประมวลผล AI ไปยังบางประเทศในตะวันออกกลางแล้ว รวมถึงมาตรการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

]]>
1448027