ชิลี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 05 Aug 2021 11:32:06 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘ซิโนเเวค’ เร่งเพิ่มกำลังผลิต ทุ่มลงทุน 2,000 ล้านบาท ตั้งศูนย์วิจัย-โรงงานวัคซีนในชิลี https://positioningmag.com/1345474 Thu, 05 Aug 2021 10:01:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345474 ซิโนเเวค’ (Sinovac) ประกาศเเผนลงทุนใหม่ ทุ่มงบเกือบ 2,000 ล้านบาท ตั้งศูนย์วิจัยโรงงานวัคซีนหลายชนิดในชิลี

โดยบริษัทซิโนแวค ไบโอเทค’ เอกชนผู้ผลิตยารายใหญ่ในจีน เดินหน้าขยายฐานการผลิต เตรียมเปิดโรงงานบรรจุและปิดผนึกวัคซีนในประเทศโซนลาตินอเมริกาอย่างชิลีด้วยเงินลงทุนราว 60 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1,983 ล้านบาท)

ชิลี เป็นประเทศสามารถกระจายฉีดวัคซีนให้ประชาชนเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ส่วนใหญ่ใช้วัคซีน CoronaVac ของซิโนเเวค ที่จัดส่งไปแล้วกว่า 19.6 ล้านโดส โดยขณะนี้มีประชากรมากกว่า 60% ที่ฉีดวัคซีนแล้ว จากประชากรทั้งประเทศราว 19 ล้านคนเเต่ก็ยังมียอดติดเชื้ออยู่ในระดับสูง

โดยโรงงานเเห่งใหม่นี้ จะตั้งอยู่ใกล้เขตซันติอาโก เมืองหลวงของชิลี คาดว่าจะเริ่มการผลิตได้ ภายในไตรมาสแรกของปีหน้า นอกจากนี้ ซิโนแวคยังมีแผนสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนา ที่เมืองอันโตฟากัสตา ทางตอนเหนือของชิลีด้วย

ที่ผ่านมา ผู้บริหารซิโนเเวคได้ลงพื้นที่ในชิลีเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างโรงงานผลิตวัคซีนหลากหลายชนิด ทั้งวัคซีนโควิด-19 วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไข้หวัดใหญ่ ฯลฯ

รัฐบาลชิลี ‘เดิมพัน’ กับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของซิโนแวคไว้สูงมาก อย่างการให้ทุนบางส่วนกับธุรกิจในท้องถิ่นที่ร่วมทดลองใช้วัคซีน CoronaVac เเละมีเเผนจัดซื้อวัคซีนต่อเนื่องอีก 60 ล้านโดสในช่วง 3 ปีข้างหน้า

กระทรวงสาธารณสุขชิลี ยังระบุด้วยว่า กำลังมีการพิจารณาที่จะฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 หรือ ‘Booster Shots’ เพื่อต่อสู้กับไวรัสโคโรนากลายพันธุ์ เช่น สายพันธุ์ ’เดลตา’ ที่กำลังเร่งอัตราการติดเชื้อทั่วโลก

ทั้งนี้ จากข้อมูลที่เผยแพร่โดยรัฐบาลชิลี เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา บ่งชี้ว่า วัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวค มีประสิทธิภาพที่ 58.5% ในการป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการในประชาชนชาวชิลีที่ได้รับวัคซีน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงกรกฎาคม ขณะที่วัคซีนของไฟเซอร์มีประสิทธิภาพ 87.7% และแอสตร้าเซนเนก้า มีประสิทธิภาพ 68.7% 

การศึกษาของชิลีครั้งนี้ เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนในกลุ่มประชากรต่างๆ ที่ทั้งได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ได้รับ 1 เข็ม หรือยังไม่ได้ฉีดวัคซีน โดยกลุ่มประชากรที่ศึกษาฉีดซิโนแวค 8.6 ล้านคน ฉีดไฟเซอร์/ไบออนเทค 4.5 ล้านคน และฉีดแอสตร้าเซนเนก้า 2.3 ล้านคน

 

ที่มา : Reuters (1) (2) , SCMP 

 

]]>
1345474
“ชิลี” ต่อเวลาล็อกดาวน์ หลังผู้ป่วย COVID-19 ทะลุ 1.4 ล้านราย แม้ฉีดวัคซีน 10 ล้านรายแล้ว https://positioningmag.com/1335510 Sun, 06 Jun 2021 05:58:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1335510 สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า พอลลา ดาซา รัฐมนตรีช่วยกระทรวงสาธารณสุขชิลี แถลงข่าวว่าชิลีเตรียมขยายระยะเวลาบังคับใช้มาตการล็อกดาวน์เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ใน 16 เมือง ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 5 มิ.ย. เป็นต้นไป โดย 5 เมืองอยู่ในภูมิภาคมหานคร ซึ่งรวมถึงกรุงซานติอาโก เมืองหลวงของประเทศ

อัลเบอร์โต ดูแนก รัฐมนตรีช่วยเครือข่ายความช่วยเหลือ สังกัดกระทรวงฯ รายงานว่าชิลีตรวจพบผู้ป่วยเพิ่ม 8,150 ราย ในช่วง 24 ชั่วโมง ทำให้มีผู้ป่วยสะสม 1,403,101 ราย และตรวจพบผู้ป่วยเสียชีวิตเพิ่ม 213 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยเสียชีวิตอยู่ที่ 29,598 ราย

โดย 77% ของผู้ป่วยใหม่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน COVID-19 หรือยังฉีดไม่ครบโดส

เอ็นริเก พารีส รัฐมนตรีกระทรวงฯ กล่าวว่าชิลีดำเนินแผนการฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ขนานใหญ่ครบ 4 เดือนในวันพฤหัสบดีที่ 3 มิ.ย.

โดยฉีดวัคซีนให้ประชาชนแล้ว 10,928,685 คน ซึ่งเป็นผู้รับวัคซีนครบโดสแล้ว 8,180,288 คน ขณะยอดผู้ป่วยเสียชีวิตลดลงอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับช่วงที่ยังไม่มีการฉีดวัคซีนในประเทศ

]]>
1335510
กรณีศึกษา ‘ชิลี’ ยังมีผู้ติดเชื้อพุ่ง 9,000 ราย แม้ประชากร 40% จะฉีดวัคซีน Sinovac แล้วก็ตาม https://positioningmag.com/1328348 Tue, 20 Apr 2021 05:31:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328348 การรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส COVID-19 ของ ชิลี เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนมากที่สูงสุดแห่งหนึ่งของโลก แต่การติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นเมื่อไม่นานมานี้เริ่มทำให้เกิดความกังวลว่าจะเกินกว่าจะควบคุม ซึ่งมีทั้งปัจจัยจากการกลายพันธุ์ของไวรัส, การเดินทางที่มากขึ้น และการไม่เว้นระยะห่าง

ปัจจุบันเกือบ 40% ของประชากรทั้งหมดของประเทศแถบอเมริกาใต้ได้รับวัคซีน COVID-19 อย่างน้อยหนึ่งครั้งตามสถิติที่รวบรวมโดย Our World in Data ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ซึ่งรวมถึงประเทศ ‘ชิลี’

อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ชิลีกำลังเผชิญกับปัญหาผู้ติดเชื้อที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเมื่อวันที่ 9 เมษายนมีผู้ติดเชื้อสูงกว่า 9,000 รายเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การแพร่ระบาดเริ่มขึ้น ซึ่งสูงกว่าจุดสูงสุดในปีที่ผ่านมาที่มีผู้ติดเชื้อ 7,000 ราย

ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพกล่าวว่า กรณีที่เกิดขึ้นล่าสุดของประเทศส่วนหนึ่งเป็นเพราะไวรัส COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ที่รุนแรงมากขึ้น อีกทั้งยังมีการผ่อนคลายมาตรการด้านสาธารณสุข นอกจากนี้ ประชาชนยังไม่ระวังตัวเอง โดยไม่เว้นระยะห่างและไม่สวมหน้ากากอนามัย เนื่องจากวัคซีนทำให้ผู้คนรู้สึกปลอดภัย

ที่ผ่านมา รัฐบาลที่นำโดย ประธานาธิบดีเซบาสเตียน ปิเนรา ได้สั่งปิดพรมแดนของประเทศตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายนของปี 2563 แม้ว่าจะมีข้อยกเว้นเล็กน้อยก็ตาม และช่วงปลายปีที่สถานการณ์เริ่มคลี่คลายก็ได้เปิดพรหมแดนแก่ผู้โดยสารระหว่างประเทศอีกครั้ง นอกจากนี้ ยังมีการเปิดร้านค้า, ร้านอาหาร และรีสอร์ตในช่วงวันหยุดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่การเปิดตัวการฉีดวัคซีนของประเทศขับเคลื่อนไปข้างหน้า แต่การแพร่กระจายของสายพันธุ์ที่รุนแรงมากขึ้น เช่น สายพันธุ์ P.1 ซึ่งพบครั้งแรกในนักเดินทางจากบราซิลทำให้มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีน เนื่องจากการใช้วัคซีนของ CoronaVac เป็นวัคซีนที่ผลิตโดยบริษัท Sinovac ของจีน

โดยข้อมูลระยะสุดท้ายของวัคซีนโควิดของ CoronaVac นั้นแตกต่างกันไป โดยการทดลองของบราซิลพบว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพมากกว่า 50% ซึ่งมีประสิทธิภาพน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับ Pfizer-BioNTech, Moderna และ Oxford-AstraZeneca ในขณะที่นักวิจัยชาวตุรกีรายงานว่ามีประสิทธิภาพสูงถึง 83.5%

ขณะที่การศึกษาที่เผยแพร่โดยมหาวิทยาลัยชิลีเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมารายงานว่า CoronaVac ได้ผล 56.5% ในสองสัปดาห์หลังจากได้รับยาครั้งที่ 2 แต่การฉีดเพียง 1 ครั้ง จะมีประสิทธิภาพเพียง 3% เท่านั้น ส่งผลให้ชิลีและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ต่างกำลังพิจารณาที่จะฉีดวัคซีนทั้งหมด 3 เข็ม

“วัคซีนจะไม่หยุดการแพร่ระบาดของโรคนี้ มันไม่เพียงพอที่จะปกป้องคนที่มีความเสี่ยง ดังนั้น ไม่ใช่แค่ต้องเร่งฉีดวัคซีน แต่ต้องมีกลยุทธ์ที่ครอบคลุมและใช้มาตรการด้านสาธรณสุขที่ได้ผล” Carissa Etienne ผู้อำนวยการ PAHO กล่าว

(Photo by Andressa Anholete/Getty Images)

เมื่อวันที่ 14 เมษายนทวีปอเมริการายงานว่ามีผู้ติดเชื้อโควิดมากกว่า 1.3 ล้านคนและมีผู้เสียชีวิตเกือบ 36,000 คน ในสัปดาห์ที่ผ่านมาตามข้อมูลที่รวบรวมโดยหน่วยงานด้านสุขภาพของสหประชาชาติ จนถึงปัจจุบัน ทวีปอเมริกามีผู้ป่วย 58.8 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1.4 ล้านคนทำให้เป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบเลวร้ายที่สุดในโลก

นอกเหนือจากข้อจำกัดที่ผ่อนคลายในบางพื้นที่แล้ว Etienne ยังกล่าวอีกว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่และสามารถแพร่เชื้อได้สูง ปัจจุบัน บราซิล, โคลอมเบีย, เวเนซุเอลา, เปรู และบางพื้นที่ของโบลิเวียกำลังมีอัตราการติดเชื้อที่รุนแรงขึ้น ส่วนปารากวัย, อุรุกวัย, อาร์เจนตินา และชิลีกำลังประสบกับการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของผู้ป่วย COVID-19

Source

]]>
1328348