ดอกเบี้ยนโนบาย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 09 Nov 2021 12:10:35 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ประเมิน ‘เงินเฟ้อ’ มีแนวโน้มเร่งขึ้น เเต่อุปสงค์ในประเทศฟื้นตัวช้า ธุรกิจท่องเที่ยวยังมีข้อจำกัด https://positioningmag.com/1361153 Tue, 09 Nov 2021 10:57:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1361153 วิจัยกรุงศรี คาดกนง. คงดอกเบี้ย 0.50% ไปอย่างน้อยจนถึงสิ้นปี 2565 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนตุลาคมสูงสุดในรอบ 5 เดือน ตามราคาน้ำมัน-ราคาอาหารสด พืชผัก แต่อุปสงค์ในประเทศยังฟื้นตัวช้า ภาคท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัวเเบบมีข้อจำกัด

โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ‘เดือนตุลาคม’ อยู่ที่ 2.38% YoY จาก 1.68% เดือนกันยายน สาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศตามสถานการณ์ราคาพลังงานโลก (+37.1%) และการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารสดในกลุ่มพืชผัก (+7.1)

“ผลกระทบจากน้ำท่วมทำให้ผลผลิตเข้าสู่ตลาดลดลง ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดยาสูบเพิ่มสูงขึ้นจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต”

ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (หักราคาหมวดอาหารสดและพลังงาน) อยู่ที่ 0.21% จาก 0.19% เดือนกันยายน สำหรับในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2564 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ 0.99% และ 0.23% ตามลำดับ

อัตราเงินเฟ้อยังคงเผชิญแรงกดดัน ในช่วงที่เหลือของปี หลักๆ มาจาก 

⚫ ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทรงตัวในระดับสูงตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และปัญหาด้านอุปทาน

⚫ กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ภายหลังผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด และการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบไม่กักตัวจากประเทศที่กำหนด

⚫ การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกษตรบางชนิด ที่ยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก

แม้ทิศทางของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเร่งสูงขึ้นจากปัจจัยทางด้านอุปทานเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่อุปสงค์ในประเทศมีทิศทางฟื้นตัวค่อนข้างช้า สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือนล่าสุดที่ทรงตัวในระดับต่ำ ประกอบกับสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง หลังหลายประเทศกำลังประสบกับการกลับมาระบาดใหม่หลังจากมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุม

ทั้งนี้ ในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินในสัปดาห์นี้ (วันที่ 10 พฤศจิกายน) คาดว่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% และมีแนวโน้มตรึงไว้อย่างน้อยจนถึงสิ้นปีหน้า เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังมีความเปราะบางและไม่สม่ำเสมอ แม้อาจเผชิญแรงกดดันจากเงินเฟ้อจากปัจจัยด้านอุปทานอยู่บ้างในช่วงปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้าก็ตาม

ความเชื่อมั่นผู้บริโภค เพิ่มสูงสุดรอบ 5 เดือน

ด้านความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นทางธุรกิจฟื้นต่อเนื่อง ขณะที่การเปิดประเทศสัปดาห์แรกมีนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้วกว่า 2 หมื่นราย กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัวหลังสถานการณ์การระบาดบรรเทาลง และมาตรการควบคุมการระบาดที่ผ่อนคลายเพิ่มเติม หนุนให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 สู่ระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือนที่ 43.9 จาก 41.4 ในเดือนกันยายน

โดยเป็นการปรับขึ้นในทุกองค์ประกอบ ด้านดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 สู่ระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือนที่ 47.0 จาก 42.6 เดือนกันยายน จากการปรับเพิ่มขึ้นในเกือบทุกองค์ประกอบ ยกเว้นด้านต้นทุนที่ยังถูกแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ปรับขึ้นเหนือระดับ 50 (ขยายตัว) ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 อยู่ที่ 52.5 จาก 50.7

แม้เศรษฐกิจในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีมีสัญญาณฟื้นตัวจากความเชื่อมั่นทั้งผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการระบาด (ที่ระดับค่าเฉลี่ย 75.5 และ 48.9 ตามลำดับ ในปี 2562)

Photo : Shutterstock

ภาคท่องเที่ยวฟื้นตัวล่าช้า- มีข้อจำกัด

นอกจากนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังกระจายตัวไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวที่ยังฟื้นล่าช้าแม้จะเริ่มมีการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยจากข้อมูลช่วงวันที่ 1-7 พฤศจิกายน มีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 22,832 ราย แม้สูงกว่าทั้งเดือนกันยายนที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 12,237 ราย

แต่การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวโดยรวมแล้วอาจยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง อย่าง นโยบายของประเทศต้นทางที่ยังคุมเข้มการเดินทางระหว่างประเทศ และความกังวลจากสถานการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันของไทยที่ยังค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน

“มาตรการภาครัฐที่เพิ่มกำลังซื้อของผู้บริโภค และกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ จะเป็นปัจจัยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงปลายปีนี้” 

]]>
1361153