ดูหนัง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 24 Aug 2022 08:05:09 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Major Cineplex x Atome มิติใหม่ของวงการหนัง “ดูก่อนจ่ายทีหลัง” แบ่งจ่ายฟินๆ แบบไร้ดอกเบี้ย https://positioningmag.com/1396867 Wed, 24 Aug 2022 10:00:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1396867

ภาพรวมสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของ COVID-19 เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น ผู้บริโภคเริ่มออกมาจับจ่ายใช้สอย ธุรกิจหลายภาคส่วนเริ่มฟื้นตัวไม่ว่าจะเป็นศูนย์การค้า ร้านอาหาร และการท่องเที่ยว รวมไปถึงธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักอย่าง “โรงภาพยนตร์” ที่เริ่มเห็นสัญญาณดีขึ้นเช่นกัน

ในส่วนของโรงภาพยนตร์นอกจากจะมีภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ตบเท้าเข้าโรงอย่างต่อเนื่องแล้ว ในเรื่องของนวัตกรรมต่างๆ ก็ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้น ยิ่งล่าสุดกับนวัตกรรมดูหนังแบบแบ่งจ่าย หรือที่เรียกว่าดูก่อนจ่ายทีหลังเป็นครั้งแรกในประเทศไทย จะเป็นอย่างไรบ้าง เราจะมาเล่าให้ฟัง


ดูหนังก่อน จ่ายทีหลังครั้งแรกในประเทศไทย

ถ้าการช้อปปิ้งสินค้าทั่วไปยังสามารถแบ่งจ่ายได้ แล้วทำไมการดูหนังจะแบ่งจ่ายไม่ได้? ก่อนหน้านี้เราได้เห็นหลายธุรกิจเริ่มมีเทรนด์ Buy Now Pay Later กันมาบ้างแล้ว หรือช้อปก่อน จ่ายทีหลัง หรือคือการแบ่งจ่ายนั่นเอง แต่เป็นการแบ่งจ่ายโดยแพลตฟอร์มที่มีตัวกลาง สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคทั่วไปที่ไม่มีสินเชื่อ หรือบัตรเครดิตได้ โดยผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดนี้ก็คือ Atome (อาโตมี่)

เมื่อไม่นานมานี้ “เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์” ได้ประกาศความร่วมมือกับ Atome ในการเริ่มให้บริการ Buy Now Pay Later เรียกว่าเป็นการสร้างมิติใหม่แห่งวงการภาพยนตร์ ลูกค้าสามารถดูหนังก่อนแบบชิลล์ๆ แล้วค่อยจ่ายทีหลัง นับเป็นครั้งแรกของโรงภาพยนตร์ในเมืองไทยที่ลูกค้าสามารถ “ดูหนังก่อนจ่ายทีหลัง” ไร้ดอกเบี้ยไร้ค่าบริการเพิ่มเติม

วิธีการใช้บริการนั้นสะดวกสบายอย่างมาก เพียงซื้อตั๋วหนังผ่านตู้จำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ E-Ticket แล้วเลือกชำระเงินผ่านแอปพลิเคชั่น Atome แบ่งจ่ายค่าตั๋วหนังได้ 3 ครั้ง แถมดอกเบี้ย 0% ทุกเรื่องทุกรอบ สามารถแบ่งจ่ายครั้งแรกเป็น 1/3 ของยอดชำระทั้งหมด เพียงแค่มีสมาร์ทโฟนและมีบัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต ก็แบ่งจ่ายแบบชิลล์ๆ

นรุตม์ เจียรสนอง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์กรุ้ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

“เนื่องจากลูกค้าของเราเป็น Smart Shopper ฉลาดใช้ฉลาดเลือก เรามองว่า Buy Now Pay Later (BNPL) เป็นเทรนด์ใหม่ที่คนเลือกใช้ และกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วเมเจอร์เองอยากสร้างการชำระเงินที่สะดวกสบายที่สุดให้กับลูกค้าทางเมเจอร์จึงร่วมมือกับ Atome เป็นเจ้าแรก ที่ทำเรื่อง BNPL ให้เกิดมิติใหม่แห่งการดูหนังการขยายช่องทางชำระเงินของลูกค้า เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องสร้างความสะดวกสบายให้ลูกค้ามากที่สุดเราพยายามหานวัตกรรมใหม่ๆ ในการชำระเงินให้กับลูกค้า เพื่อให้รู้สึกว่าการมาชมภาพยนตร์เป็นการซื้อตั๋วที่สะดวกสบายที่สุดนี่คือเป้าในการจ่ายเงินแบบใหม่ต่างๆ ที่เรานำมาเสิร์ฟให้ลูกค้า”


สร้างประสบการณ์ใหม่ เพิ่มทางเลือกในการจ่ายเงิน

ความสำคัญของการร่วมมือกันครั้งนี้นอกจากจะเป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ให้แก่กลุ่มลูกค้าของเมเจอร์ ให้มีทางเลือกการชำระเงินที่หลากหลายขึ้น สะดวกขึ้น ยังเป็นโอกาสที่ดีให้การขยายฐานกลุ่มลูกค้าให้ทั้งทางเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์และ Atome อีกด้วย รวมไปถึงการทำระบบ BNPL ร่วมกับทางเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ก็สะดวกสบาย ง่ายต่อการใช้งาน

ทางด้าน ภูมิพงษ์ ตันเจริญผล ผู้จัดการทั่วไป Atome ประจำประเทศไทย เล่าว่า

“จากสถานการณ์ช่วง COVID-19ทำให้วิถีการใช้ชีวิตของผู้บริโภคเปลี่ยนไป เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ และ Atome เห็นว่าหลังจากที่มีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ผู้บริโภคก็จะกลับมาใช้ชีวิต และทำกิจกรรมนอกบ้านมากขึ้นธุรกิจบันเทิงอย่าง การดูหนัง ก็จะเป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักที่ผู้บริโภคจะกลับไปทำ จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ Atomeหันมาสนใจธุรกิจด้านนี้ เพื่อเป็นการตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์รูปแบบใหม่ เพื่อยกระดับประสบการณ์ลูกค้าให้ดีขึ้น และเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ให้ทั้ง 2 ฝ่ายลูกค้าจะมีตัวเลือกในการชำระเงินมากขึ้น และตอบโจทย์ความต้องการของตัวเองได้มากขึ้น”

กลุ่มลูกค้าหลักของเมเจอร์ 70% อยู่ในช่วงอายุประมาณ 15-35 ปี เป็น Gen Z มีพฤติกรรมในการใช้ BNPL อยู่แล้ว การที่เราทำโปรโมชั่นร่วมกับ Atome เป็นการดึงฐานลูกค้าของ Atome ที่มียอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันมากกว่า 350,000 ครั้งในไทย ให้มาชมภาพยนตร์มากขึ้น

ในขณะเดียวกันลูกค้าเมเจอร์ได้มีทางเลือกมากขึ้นในการชำระเงินที่หลากหลาย ซึ่งทิศทางของเมเจอร์ คือต้องการลดการใช้เงินสดที่ตู้ การมีระบบการจ่ายเงินที่หลากหลาย ทำให้ลูกค้าสะดวกสบายมากขึ้น ซึ่ง BNPL ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ลูกค้าชื่นชอบ

ปกติแล้วเมเจอร์มีตู้ซื้อตั๋วอัตโนมัติ หรือ E-ticket อยู่ทุกสาขา และสามารถซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้ ทำให้ปัจจุบันการซื้อตั๋วของลูกค้า 60% ซื้อที่ตู้ E-ticket 35% ซื้อผ่านทางออนไลน์ และอีก 5% ซื้อเงินสดที่ Box Office ในสิ้นปีนี้ทางเมเจอร์ตั้งเป้าการใช้เงินสดเหลือ 0% หรือพูดง่ายๆ ก็คือ การซื้อตั๋วจะเป็น Cashless 100% ให้ได้ภายในปีนี้

การร่วมมือกับ Atome ก็เป็นอีกหนึ่งจิ๊กซอว์สำคัญในการผลักดันภารกิจนี้ให้รวดเร็วขึ้น รวมถึงอาจจะขยายความร่วมมือจากการซื้อตั๋วหนังไปยังระบบ M Pass ในอนาคตอีกด้วย


สามารถซื้อได้ทุกสาขาทั่วประเทศไทย พร้อมโปรจัดเต็มลด 100 บาท

แน่นอนว่าในความร่วมมือครั้งนี้ ต้องจัดเต็มด้วยโปรโมชั่นอย่างแน่นอน สำหรับลูกค้าใหม่ที่ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น Atome ในครั้งแรก รับทันทีส่วนลดตั๋วหนัง 100 บาท เมื่อชำระค่าตั๋วหนังผ่านแอพพลิเคชั่นอาโตมี่ ตั้งแต่ 200 บาทขึ้นไป ถึงวันที่ 31 ส.ค. 65

ง่ายๆ กับ 3 ขั้นตอนรับสิทธิ์บริการ “ดูหนังก่อนจ่ายทีหลัง” ไร้ดอกเบี้ย

  • ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Atome และลงทะเบียนสมัครสมาชิก
  • ใช้บริการซื้อตั๋วหนังที่ ตู้จำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ E-Ticket แล้วเลือกชำระค่าตั๋วหนังผ่านแอพพลิเคชั่น Atome
  • ชำระค่าตั๋วหนังเป็น 3 ครั้ง ครั้งละเท่าๆ กันเป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยไม่มีดอกเบี้ยสามารถซื้อตั๋วหนังได้ทุกประเภทที่นั่ง ไม่จำกัดจำนวน


จับตาเทรนด์ Buy Now Pay Later กระตุ้นยอดขายได้ 30%

เทรนด์ของ BNPL ในไทยมีศักยภาพในการเติบโตเป็นอย่างมาก จากรายงานของ FIS World Pay 2022 เผยว่าตั้งแต่ปี 2021 จนถึงปี 2025 โซลูชัน BNPL จะเป็นเทรนด์วิธีการชำระเงินที่เติบโตเร็วที่สุดทั้งช่องทางหน้าร้าน และออนไลน์

กลุ่มผู้บริโภคหลักของ BNPL คือกลุ่ม Millennial และ Gen Zซึ่ง BNPL ตอบโจทย์ความต้องการของคนกลุ่มนี้ที่อยากมี ความยืดหยุ่นในการใช้จ่ายมากขึ้น และควบคุมการใช้จ่ายของตัวเองได้มากขึ้น โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

จากประสบการณ์ของร้านค้าที่มีโซลูชั่นของ Atome พบว่าสามารถช่วยเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ และเพิ่มยอดใช้จ่ายต่อบิลของลูกค้า (Basket Size) ประมาณ 30% ซึ่งก็ถือเป็นช่องทางในการขยายธุรกิจได้อย่างดี เพราะผู้บริโภครู้สึกอุ่นใจในการใช้จ่าย ซื้อของได้มากขึ้น แบ่งจ่ายอย่างสบายใจ

สำหรับ Atome มาจากคำว่า Available to me เป็นธุรกิจมาจากประเทศสิงคโปร์ ผู้นำทางด้าน Buy Now Pay Later ในอาเซียน เป็นบริษัทลูกของ Advance Intelligence Group บริษัทเทคโนโลยีซีรีส์ D ซึ่งเป็นยูนิคอร์นจากสิงคโปร์

Atomeได้เปิดตัวในประเทศไทยเมื่อปี 2564 มีจุดเด่นตรงที่ให้ผู้บริโภคแบ่งจ่าย 3 ครั้ง ดอกเบี้ย 0% และไม่มีค่าธรรมเนียม สามารถชำระได้ผ่านทั้งทางหน้าร้าน และช่องทางออนไลน์ โมเดลการหารายได้ของ Atome ก็คือ คิดค่าธรรมเนียมกับทางพาร์ทเนอร์ ไม่ได้คิดค่าบริการกับทางลูกค้า

จุดประสงค์หลักของ Atome ก่อตั้งมาตอบโจทย์กลุ่ม Underserved และ Unbanked พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ กลุ่มที่ไม่สามารถถึงบริการ หรือผลิตภัณฑ์ของแบงค์ได้ อาจจะเป็นกลุ่มฟรีแลนซ์ คนไม่มีบัตรเครดิต ขอสินเชื่อไม่ได้ คนกลุ่มนี้มีจำนวนสูงมากในอาเซียน

นอกจากความร่วมมือในด้านการชำระเงินแล้ว เราอาจจะได้เห็นเมเจอร์ และ Atome ร่วมมือกันในด้านอื่นๆ อีกอาจจะเป็นการจัดเทศกาลภาพยนตร์ร่วมกัน เพื่อโปรโมทภาพยนตร์ไทย หรือเอเชียรวมไปถึงมีแผนในการพัฒนาการชำระเงินของ M pass ผ่าน Atome และขยายไปยังธุรกิจอื่นๆ อาจจะรวมถึงเครื่องดื่ม ป๊อบคอร์น โบว์ลิ่ง ไอซ์สเก็ต คาราโอเกะ

ต่อไปอาจจะได้เห็น กินป๊อปคอร์นก่อน แล้วแบ่งจ่ายทีหลัง ก็เป็นได้… สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://atome-th.onelink.me/SrPK/MJCATOME

]]>
1396867
กลับมาสดใส! เม็ดเงินอุตสาหกรรม ‘โรงภาพยนตร์’ เริ่มกลับมาเท่าปี 2019 และอาจโตกว่า https://positioningmag.com/1392651 Thu, 14 Jul 2022 13:43:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1392651 เชื่อว่า 2 ปีกว่าที่ COVID-19 ระบาดทำให้หลายคนนอนดูหนังบนโซฟาจนเบื่อ ทำให้หลังจากที่สถานการณ์การระบาดคลี่คลายมากขึ้น อุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ก็เริ่มกลับมาไม่เพียงแต่พวกเขาจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง โดยเฉพาะในอเมริกา ที่นอกจากผู้ชมจะกลับเข้าโรงฯ แล้วยังมีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายมากขึ้น

ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาพยนตร์ Marvel Cinematic Universe เรื่องล่าสุดของดิสนีย์อย่าง Thor: Love and Thunder ได้เปิดตัวในอเมริกาได้เกือบ 145 ล้านดอลลาร์ และดึงดูดผู้ชมเข้าโรงฯ ได้กว่า 10 ล้านคน นอกจากนี้ ภาพยนตร์ที่ฉายก่อนหน้าอย่าง Top Gun: Maverick  ของ Paramount และ Skydance, Minions: The Rise of Gru ของ Universal และ Jurassic World: Dominion, Lightyear ของ Pixar ก็ทำรายได้ในระดับเดียวกันในปี 2019 ตามข้อมูลจาก Comscore

“สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นวันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี โดยสามารถทำรายได้เทียบกับตอนเปิดตัว ‘Spider-Man: No Way Home’ ที่ฉายในช่วงเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา” บร็อค แบกบี้ รองประธานบริหารของ B&B Theatres เครือโรงภาพยนตร์ระดับภูมิภาคในมิดเวสต์ กล่าว

ด้วยภาพยนตร์ระดับบล็อกบัสเตอร์ใหม่ ๆ ที่ทำให้ผู้คนมาที่โรงภาพยนตร์มากขึ้น ส่งผลให้บ็อกซ์ออฟฟิศในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ช่วงวันที่ 1 พฤษภาคมถึง 10 กรกฎาคม มีรายได้รวมราว 2.27 พันล้านดอลลาร์ ลดลงเพียง 12% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2019 ที่ปิด 2.58 พันล้านดอลลาร์ หรือก่อนจะมีก่อนเกิด COVID-19 ตามข้อมูลจาก Comscore สำหรับครึ่งปีแรกนี้ บ็อกซ์ออฟฟิศในอเมริกามียอดขายตั๋วไปแล้วมากกว่า 4.25 พันล้านดอลลาร์ โดยต่ำกว่าระดับก่อนเกิดโรคระบาดปี 2019 ที่ 30%

“ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพฤษภาคมมีการเปิดตัวภาพยนตร์มากมายที่กระตุ้นให้ผู้ชมกลับเข้าไปชมในโรงภาพยนตร์ โดยผู้บริโภคจะตอบสนองต่อภาพยนตร์ที่สนุก ตื่นเต้น สมความคาดหวัง” เจฟฟรีย์ คอฟแมน รองประธานอาวุโสฝ่ายภาพยนตร์และการตลาดของ Malco Theatres กล่าว

AMC Entertainment ซึ่งเป็นเครือข่ายโรงภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก รายงานว่า ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้ชมภาพยนตร์ถึง 5.9 ล้านคน และรายได้ค่าเข้าชมทั่วโลกแซงหน้าวันหยุดสุดสัปดาห์ในช่วงเวลาเดียวกันในปี 2019 ถึง 12%

“ผลงานบ็อกซ์ออฟฟิศทุกสัปดาห์ในฤดูร้อนนี้ได้แสดงให้เห็นสิ่งที่เราเชื่อว่าจะกลับมาตลอด ผู้บริโภคต้องการสัมผัสภาพยนตร์ของพวกเขาผ่านประสบการณ์โรงภาพยนตร์ที่ไม่มีอะไรเทียบได้ ด้วยหน้าจอขนาดใหญ่ เสียงที่กระหึ่ม ที่นั่งใหญ่และสบาย” อดัม อารอน ซีอีโอของ AMC กล่าว

นอกจากนี้ ผู้ชมยังเลือกซื้อตั๋วที่นั่งแบบ พรีเมียม มากกว่าช่วงที่เกิดการแพร่ระบาด รวมถึงโรง IMAX, Dolby, 3D และอื่น ๆ เพื่อสัมผัสประสบการณ์ใหม่ ๆ รวมถึงผู้ชมได้ใช้จ่ายมากขึ้นกับอาหารและเครื่องดื่มเช่นกัน

แม้สถานการณ์อุตสาหกรรมจะกลับมามีทิศทางที่สดใสใกล้เคียงก่อนเกิดการระบาด แต่จำนวนภาพยนตร์ที่เข้าฉายในปี 2022 โดยรวมลดลงมากกว่า 30% เมื่อเทียบกับปี 2019

]]>
1392651
ส่อง ’10 กิจกรรม’ ที่ชาวโซเชียล ‘อยากทำมากที่สุด’ ในช่วงล็อกดาวน์ https://positioningmag.com/1346523 Fri, 13 Aug 2021 06:00:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1346523 หลังจากรัฐบาลประกาศบังคับใช้มาตรการคุมเข้มโควิด ทำให้หลายกิจการต้องปิดตัวลงชั่วคราว และในปัจจุบันได้ขยายมาตรการล็อกดาวน์ เคอร์ฟิว จำกัดการเดินทางในพื้นที่ 29 จังหวัดสีแดงเข้มอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม โดยจะมีการประเมินทุก 14 วันเพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาด ซึ่งนั่นได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนที่ไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ

บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด จึงได้เก็บข้อมูลเพื่อสะท้อนกิจกรรมที่ ชาวโซเชียลอยากทำมากที่สุด การล็อกดาวน์อย่างต่อเนื่อง จากคีย์เวิร์ดคำว่า ‘อยาก’ จากกว่า 150 กิจกรรม ในช่วงวันที่ 1 มิถุนายน – 11 สิงหาคม 2564 พบว่า มักมีการพูดถึงการอยากทำกิจกรรมต่าง ๆ ในช่วงเวลา 10.00-24.00 น. โดยช่องทางที่มีการพูดถึงเรื่องดังกล่าวมากที่สุด ได้แก่ Twitter (64%) ตามด้วย Facebook (29%) และช่องทางอื่น ๆ (7%) โดย 10 อันดับกิจกรรมที่ชาวโซเชียลอยากทำมากที่สุดเรียงตามเอ็นเกจเมนต์ มีดังต่อไปนี้

อยากไปเที่ยว (3,745,397 เอ็นเกจเมนต์)

การเดินทางที่ไกลที่สุดตอนนี้อาจจะเป็นจากบ้านถึงซูเปอร์มาร์เก็ตหน้าปากซอย หลายคนทริปล่ม ทริปถูกเลื่อนแล้วเลื่อนอีก ไม่มีทีท่าว่าจะได้ออกไปไหนเลย การไปเที่ยวเลยเป็นกิจกรรมอันดับต้นๆ ที่หลายคนบ่นถึง โดยสถานที่ที่ชาวโซเชียลอยากไปมากที่สุด คือ ทะเล ส่วน 3 อันดับจังหวัดที่ชาวโซเชียลอยากไปมากที่สุด ได้แก่ เชียงใหม่, ภูเก็ต, นครราชสีมา และ 3 อันดับประเทศที่ชาวโซเชียลอยากไปมากที่สุด ได้แก่ เกาหลี, ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา

หาดป่าตอง ภูเก็ต ช่วงหลัง COVID-19 ยังมีนักท่องเที่ยวบางตา (Photo : Shutterstock)

อยากกินหมูกระทะ (3,116,185 เอ็นเกจเมนต์)

“อยากกินหมูกระทะกะเธอ ติดตรงโควิด ไปไหนไม่ได้เลย” กลายเป็นไวรัลที่ดังชั่วข้ามคืนกับเพลง ‘อยากกินหมูกระทะกะเธอ – เทที & คลีโพ’ เพลงนี้ทำให้ชาวโซเชียลคิดถึงการรวมกลุ่มรับประทานหมูกระทะ ปิ้งย่าง ชาบู มากขึ้นไปอีก

อยากนอน (2,839,994 เอ็นเกจเมนต์)

บรรยากาศช่วงหน้าฝน บวกกับการนั่งทำงานหรือเรียนออนไลน์ที่บ้านอาจทำให้ชาวโซเชียลหลายคนง่วง รวมถึงมีหลายคนที่ต้องการนอนเพื่อหนีปัญหา และอยากให้ช่วงเวลาเลวร้ายต่างๆ นั้นผ่านไปไวๆ ล็อกดาวน์ครั้งนี้เลยอาจทำให้สภาพจิตใจของใครหลายคนแย่ลง

อยากดูหนัง (2,582,400 เอ็นเกจเมนต์)

ครั้งสุดท้ายที่ดูหนังในโรงภาพยนตร์คือเมื่อไหร่กันนะ? หลายคนคิดถึงบรรยากาศการรับประทานป๊อปคอร์นและน้ำอัดลมระหว่างชมภาพยนตร์ หลายคนซื้อโปรเจคเตอร์จอใหญ่จุใจมาเพิ่มอรรถรสในการชมภาพยนตร์ที่บ้านให้ดียิ่งขึ้น ยังไงตอนนี้คงต้องสตรีมมิ่งดูภาพยนตร์-ซีรีส์วนไปครับ!

อยากไปถ่ายรูป (1,630,866 เอ็นเกจเมนต์)

วางกล้องเหงา ๆ ไว้ที่มุมห้องมานาน อยากออกไปข้างนอกเพื่อถ่ายรูปเก็บภาพความประทับใจแล้ว! หลายคนอยากออกไปถ่ายรูปเล่นกับเพื่อน ถ่ายรูปรับปริญญา ถ่ายรูปใหม่ ๆ เพื่อไปลงโซเชียล แต่ทำได้แค่ลงรูปที่สต็อกไว้จากสองปีที่แล้ว

อยากเที่ยวกลางคืน (837,006 เอ็นเกจเมนต์)

ถ้าจบโควิด สายปาร์ตี้คงไปเปิดฟลอร์แดนซ์สะบัดอยู่ที่ไหนสักแห่ง บางคนก็อยากไปนั่งชิล จิบเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับเพื่อน ตอนนี้แอลกอฮอล์เดียวที่รู้จักคือแอลกอฮอล์ล้างมือ!

อยากไปคอนเสิร์ต (602,093 เอ็นเกจเมนต์)

‘คิดถึงการไปคอนเสิร์ต’ ‘คิดถึงบรรยากาศร้องเพลงติดขอบเวที’ ‘คิดถึงการเล่นสดของศิลปิน’ หลายคนนั่งย้อนดูคลิปการแสดงดนตรีสด หลายคนซื้อบัตรเข้าชมเทศกาลดนตรีออนไลน์ ‘ดนตรีบำบัด’ จึงเป็นสิ่งที่ใครหลายคนต้องการในตอนนี้

บรรยากาศคอนเสิร์ต Rolling Loud ในปีก่อนๆ

อยากไปทำงาน (428,971 เอ็นเกจเมนต์)

เวิร์คฟรอมโฮม อาจ ‘ไม่ได้เวิร์ค’ สำหรับทุกคน หลายคนจึงอยากกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ ไปเจอเพื่อนร่วมงานและพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันแบบตัวเป็นๆ หรือรวมกลุ่มกันพักรับประทานอาหารกลางวัน

อยากไปโรงเรียน (385,801 เอ็นเกจเมนต์)

นักเรียน นักศึกษา ครูและผู้ปกครองหลายคนเบื่อกับการเรียนออนไลน์ เด็ก ๆ อยากไปเจอเพื่อน ครูอยากทำการสอนที่เน้นกิจกรรมและให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ผู้ปกครองเองก็อาจจะเหนื่อยกับการดูแลการเรียนการสอนลูกพร้อมกับทำงานไปด้วย

อยากตัดผม (330,010 เอ็นเกจเมนต์)

ร้านตัดผมและร้านเสริมสวยต้องปิดตัวลงชั่วคราวตามมาตรการคุมเข้ม COVID-19 ทำให้ตอนนี้หลายคนผมยาวจนกลายเป็นราพันเซลกันไปหมด

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ เช่น อยากปั่นจักรยาน, อยากเดินห้าง, อยากทำสวย, อยากสัก, อยากเลี้ยงสัตว์ ที่มีจำนวนการพูดถึงเกิน 100,000 เอ็นเกจเมนต์ จะสังเกตเห็นได้ว่าส่วนมากเป็นกิจกรรมที่ไม่สามารถทำได้ที่บ้านทั้งนั้น หลายคนจึงแก้ปัญหาด้วยการโพสต์รูปเก่าแก้คิดถึง หรือแม้กระทั่งนั่งทำลิสต์กิจกรรมที่อยากทำและสถานที่ที่อยากไปหลังโควิดยาวเป็นหางว่าว ยังไงไวซ์ไซท์ก็หวังว่าสถานการณ์จะดีขึ้นในเร็ววันนะครับ

]]>
1346523
ถอดบทเรียน ‘SF Cinema’ ช่วงปิดโรงหนัง 75 วัน ทุบแผนระยะยาว ต้องมอนิเตอร์รายสัปดาห์ https://positioningmag.com/1281674 Tue, 02 Jun 2020 07:29:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281674 หลังจากที่ ‘SF’ (เอส เอฟ) และโรงภาพยนตร์อื่น ๆ ทั่วประเทศต้องปิดให้บริการถึง 75 วัน แต่ในที่สุดรัฐบาลได้ประกาศมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 3 ทำให้โรงภาพยนตร์ในเครือ เอส เอฟ สามารถกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม กลับมาเปิดได้ก็จริง แต่โรงภาพยนตร์สามารถจุคนได้เพียง ‘25%’ เท่านั้น เนื่องจากต้องเว้นระยะห่างเพื่อความปลอดภัย โดยคุณพิมสิริ ทองร่มโพธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ยอมรับว่า ด้วยจำนวนไม่สามารถครอบคลุมต้นทุนที่ต้องกลับมาเปิดได้จริง ๆ

อ่าน >>> ไม่ใช่แค่ ‘Hollywood’ แต่ ‘Bollywood’ ของอินเดียก็กำลังเจ็บหนักจาก COVID-19

พิมสิริ ทองร่มโพธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

ไม่ได้เปิดเพื่อตัวเอง แต่ช่วยประคองธุรกิจอื่นด้วย

วิกฤติครั้งนี้ถือเป็นวิกฤติใหญ่สุดของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เพราะไม่เคยมีครั้งไหนที่จะทำให้โรงภาพยนตร์ปิดได้ทั่วโลกแบบนี้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ปิดตัวไป 75 วัน รายได้ของเอส เอฟเป็นศูนย์ก็จริง แต่เมื่อกลับมาเปิดอีกครั้งโดยที่ขายตั๋วได้เพียง 25% ซึ่งอาจไม่เต็มในแต่ละรอบเพราะขึ้นอยู่กับภาพยนตร์ นอกจากนี้ยังฉายรอบสุดท้ายได้เพียง 6 โมงเย็น จากเดิมดึกสุด 4 ทุ่ม ดังนั้นรายได้ส่วนนี้ไม่สามารถมาอุดต้นทุนของโรงภาพยนตร์ได้

“เรามีรายจ่ายที่ค่อนข้างสูง เพราะตั๋วใบหนึ่งเราจะต้องแบ่งให้ค่ายหนังทันที นอกจากนี้ยังมีรายจ่ายค่าเช่าสถานที่ ค่าพนักงาน น้ำไฟ บริการต่าง ๆ อีก ซึ่งรวมแล้วเป็นหลักร้อยล้านบาทต่อเดือน”

แม้ว่าที่นั่งจะถูกจำกัด แต่เอส เอฟยืนยันว่าไม่มีการขึ้นราคาตั๋ว ซึ่งราคาจะแตกต่างไปตามสาขา ตั้งแต่ 80 บาท จนถึงหลักพันบาท โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 160 บาท ก็แตกต่างกันตามสาขาและประเภทของโรงภาพยนตร์ นอกจากนี้ เอส เอฟมองว่า การที่โรงภาพยนตร์กลับมาเปิด มันส่งผลดีให้กับหลาย ๆ ฝ่าย ทั้งห้างสรรพสินค้า ทั้งร้านอาหาร เนื่องจากโรงภาพยนตร์ก็ถือเป็นแรงดึงดูดสำคัญ ซึ่งหลังจากที่โรงภาพยนตร์กลับมาเปิด ทางร้านอาหารค่อนข้างดีใจที่เอส เอฟกลับมาไม่ใช่แค่ผู้ชม

“ร้านอาหารบอกว่ายอดกลับมาแค่ 20% ดังนั้นไม่ใช่แค่เรา แต่สิ่งหนึ่งที่เขาพูดกับเรา คืออยากให้โรงภาพยนตร์กลับมาเปิด เพราะอยากให้มีอะไรที่ทำให้คนรู้สึกอยากออกจากบ้านมากขึ้น เราเลยคิดว่าการกลับมาของเรามัน ไม่ได้กลับมาเพื่อตัวเอง แต่เราสามารถประคองคนอื่นไปด้วยได้เหมือนกัน ส่วนคนดูกว่าหลายร้อยคนทักมาหาเรา บอกว่าคิดถึงโรงภาพยนตร์แล้ว”

ภาพจาก Facebook SF Cinema

ฟื้นอีกทีไตรมาส 3

ธุรกิจภาพยนตร์ขึ้นอยู่กับตัวภาพยนตร์ที่จะดึงดูดลูกค้าได้แค่ไหน ดังนั้นในช่วงแรกที่เปิดหนังใหม่และหนังระดับบล็อกบัสเตอร์อาจจะยังน้อย ดังนั้นในช่วงสัปดาห์แรกจะเป็นการฉายภาพยนตร์ที่ค้างไปตอนปิด COVID-19 ซึ่งกว่าจะมีภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์อาจต้องรอช่วงกลางเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม แต่โชคดีที่ภาพยนตร์ส่วนใหญ่แค่เลื่อนฉายไปปลายปี ไม่ได้เปลี่ยนไปฉายปีหน้า ซึ่งตอนนี้มีแค่เรื่องเดียวคือ Fast and Furious 9 ที่เลื่อนฉายไปปีหน้า

นอกจากนี้อาจจะต้องรอดูมาตรการของภาครัฐว่าจะผ่อนปรนมากแค่ไหน สามารถเปิดให้บริการได้ 100% หรือเปล่า ดังนั้นต้องรอลุ้นในช่วงไตรมาส 3

“ปกติภาพยนตร์จะต้องมีเวลาโปรโมตก่อน ดังนั้นภาพยนตร์ใหม่ ๆ ที่จะได้รับชมจะได้เห็นกันวันที่ 18 มิถุนายนนี้ เป็นอย่างต่ำ และคาดว่าเดือนกรกฎาคมจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง เพราะตอนนี้ค่ายหนังหลายค่ายก็ให้การตอบรับ”

บทเรียนจาก COVID-19 ไม่มี แผน ระยะยาว อีกต่อไป

ในวันที่รายได้เป็นศูนย์ มีแต่รายจ่าย เอส เอฟได้กลับมามองตัวเอง เพื่อหาจุดที่จะลดต้นทุนให้มากที่สุด มีการจัดการต่าง ๆ ที่ลงตัวกับพนักงานมากขึ้น รอบฉายเราก็ได้ทำการออกแบบให้ดีที่สุด เพื่อที่จะได้ฉายให้ลูกค้าได้มากที่สุด และจากสถานการณ์ตอนนี้ ไม่มีแล้วแพลนระยะยาว 3 เดือน 6 เดือน แต่ทำเป็นรายสัปดาห์ โดยดูพฤติกรรมของลูกค้าเป็นหลัก อย่างการเปิดให้บริการในครั้งนี้ เอส เอฟได้มีมาตรการ #ดูแลด้วยใจ ที่ดึงจุดเด่นเรื่องความใส่ใจ และการให้บริการ เน้นความปลอดภัยของลูกค้าและพนักงานทุกคนมาต่อยอดเป็นมาตรฐานใหม่ ซึ่งสิ่งสำคัญไม่ใช่แค่ดูแลความปลอดภัยของลูกค้าและพนักงาน แต่โจทย์ใหญ่คือ ต้องทำให้ลูกค้าไม่ยุ่งยากและราบรื่นที่สุด 

อ่าน >>> ‘SF’ ยืนยันไม่ขึ้น ‘ค่าตั๋ว’ แม้เหลือที่นั่ง 25% พร้อมออก 4 มาตรการ #ดูแลด้วยใจ

พาร์ทเนอร์ยังอยู่ครบ

พาร์ทเนอร์หลัก ๆ ไม่หายไปไหน แม้ว่าโรงภาพยนตร์จะปิดหรือถูกลดจำนวน โดยทางเอฟ เอสมีการพูดคุยเจรจา ทั้งยืดเวลาสัญญาบ้างอะไรบ้าง อย่าง โค้ก ก็ชัดเจนว่าไม่ไปไหน นอกจากนี้ในส่วนพาร์ทเนอร์ค่ายภาพยนตร์ ทางเอส เอฟก็มีหน้าที่ช่วยเหลือ เพราะเขาเอาหนังมาให้ฉาย ดังนั้นอาจได้เห็นภาพยนตร์อยู่ในโรงฯนานขึ้น จากบางเรื่องที่ปกติจะอยู่แค่ 2 อาทิตย์ แต่ตอนนี้อาจจะเห็นอยู่กันเป็นเดือน

และในส่วนของแผนที่จะเข้าตลาดตลาดหลักทรัพย์ ในปีนี้ คงต้องเลื่อนไปก่อน เพราะด้วยสถานการณ์ โดยยังไม่ได้คิดว่าจะเข้าเมื่อไหร่ คิดแค่ต้องประคองให้ผ่านช่วงนี้ไปให้ได้ เพราะตอนนี้ถือเป็นช่วงที่ยากที่สุดของการกลับมา แต่โชคดีของเอส เอฟ ที่จะลงทุนทำอะไร ก็ระวังตัวตลอด เลยทำให้ผ่านช่วงนี้มาได้ และผู้บริหารก็ชัดเจนว่าเรื่องกำไรปีนี้ยังไม่ได้คาดหวัง ยังไงก็ต้องพากันไปให้รอดให้นานที่สุด

]]>
1281674
‘SF’ ยืนยันไม่ขึ้น ‘ค่าตั๋ว’ แม้เหลือที่นั่ง 25% พร้อมออก 4 มาตรการ #ดูแลด้วยใจ https://positioningmag.com/1281488 Mon, 01 Jun 2020 06:49:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281488 นี่ถือเป็นวันแรกที่ ‘โรงภาพยนตร์’ กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง หลังจากต้องปิดตัวไปเกือบ 3 เดือน ซึ่งทางโรงภาพยนตร์ในเครือ ‘SF’ ก็ได้กลับมาให้บริการอีกครั้ง พร้อมกับออกมาตรการ #ดูแลด้วยใจ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับทั้งลูกค้าและพนักงาน

คุณพิมสิริ ทองร่มโพธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โรงภาพยนตร์ในเครือเอสเอฟจะไม่มีการปรับราคาบัตรชมภาพยนตร์ขึ้น แม้ว่าจะมีต้นทุนที่สูงขึ้นจากจำนวนรอบฉายที่ลดลง เพราะต้องปิด 21.00 น. และจากการลดที่นั่งเหลือเพียง 25% เนื่องจากเอสเอฟไม่มีนโยบายผลักภาระต้นทุนให้กับลูกค้า เช่นเดียวกับในสภาวะปกติที่ยังคงฉายหนังและให้บริการแม้จะมีผู้ชมเพียงคนเดียว

อย่างไรก็ตาม หลายคนยังกังวลว่าหลังจากนี้จะมีภาพยนตร์เข้าฉายหรือไม่เอสเอฟยืนยันว่าค่ายภาพยนตร์ทุกค่ายยังพร้อมสนับสนุนและนำภาพยนตร์ทั้งไทยและต่างประเทศเข้าฉาย รวมถึงมีภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่อีกหลายเรื่องที่จะทยอยเข้าฉายตลอดทั้งปีแน่นอน

“ที่ผ่านมาทุกธุรกิจและทุกคนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เราจำเป็นต้องให้กำลังใจกันและกันปรับตัวและช่วยเหลือกันเพื่อที่จะก้าวผ่านเรื่องนี้ไปให้ได้ สำหรับเอสเอฟแม้เราจะไม่มีรายได้เลยตลอดเกือบ 3 เดือน แต่เรายังยืนยันที่จะรักษาและดูแลพนักงานของเราทุกคน เช่นเดียวกับการดูแลลูกค้าอย่างดีที่สุด เราเข้าใจว่าความกังวลของลูกค้าไม่ใช่เรื่องผิด เพราะหน้าที่ของทุกคนก็ยังต้องช่วยกันยับยั้งการแพร่ระบาด แต่เป็นหน้าที่ของเราเองที่ต้องสร้างความมั่นใจให้ลูกค้า”

พิมสิริ ทองร่มโพธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

ทั้งนี้ พร้อมเปิดให้บริการ ภายใต้มาตรการ #ดูแลด้วยใจ ซึ่งประกอบด้วย

1.การดูแลความสะอาดและความปลอดภัยบริเวณ

-โรงภาพยนตร์ผู้ใช้บริการทุกคนต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา

-ลงทะเบียนเมื่อใช้บริการผ่านระบบไทยชนะหรือลงชื่อและข้อมูลติดต่อทุกครั้ง

-กำหนดจุดยืนรอคิวและจุดนั่งรอชมภาพยนตร์เพื่อรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล

-มีการจัดเตรียมเจลแอลกอฮอล์ให้บริการทุกจุดอย่างทั่วถึง

-พนักงานท่าความสะอาดทุกจุดสัมผัสด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทุก 30 นาที

2.การจำหน่ายบัตรชมภาพยนตร์ป๊อปคอร์นและเครื่องดื่ม

-ส่งเสริมการซื้อบัตรชมภาพยนตร์ผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชันเพื่อลดการสัมผัส

-เครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (Kiosk) บริเวณหน้าโรงภาพยนตร์จะเปิดให้บริการเว้นตู้เพื่อเพิ่มระยะห่างระหว่างบุคคล

-รับชำระเงินด้วยบัตรเครดิตบัตรเอสเอฟพลัสและ E-Payment เพื่อลดการสัมผัสกรณีชำระเงินด้วยเงินสดจะต้องใช้ถาดรับและทอนเงิน

3.การดูแลความสะอาดและความปลอดภัยภายในโรงภาพยนตร์

-ตรวจวัดอุณหภูมิผู้ใช้บริการก่อนเข้าชมภาพยนตร์ต้องไม่เกิน 37.5 องศาเซลเซียส

-กำหนดทางเข้าออกที่ชัดเจนและให้ทยอยเข้าโรงภาพยนตร์เพื่อรักษาระยะห่างที่เหมาะสม

-กำหนดระยะห่างของการนั่งชมภาพยนตร์โดยมีการเว้นที่นั่งระหว่างชมภาพยนตร์

-พนักงานดูแลระบบปรับอากาศภายในโรงภาพยนตร์เพื่อตรวจสอบให้มีอากาศถ่ายเทอยู่เสมอ

-ทำการอบฆ่าเชื้อตัวยโอโซนภายในโรงภาพยนตร์หลังปิดให้บริการทุกวัน

-พนักงานทำความสะอาดพื้นที่อุปกรณ์ทุกจุดสัมผัสด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อและเปลี่ยนผ้ารองศีรษะที่เก้าอี้ก่อนรอบฉายทุกรอบ

4.การดูแลพนักงาน

-พนักงานทุกคนต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาสำหรับพนักงานที่ต้องใกล้ชิดลูกค้าจะสวมใส่ Face Shield และถุงมือด้วย

-มีการตรวจวัดอุณหภูมิพนักงานก่อนเริ่มงานทุกวันหากมีอาการไข้ไอเจ็บคอจะต้องหยุดปฏิบัติงานและพบแพทย์ทันที

]]>
1281488
‘HOOQ’ โบกมือลาศึก Streaming ประกาศเลิกกิจการเหตุสู้ ‘ต้นทุน’ ไม่ไหว https://positioningmag.com/1271688 Fri, 03 Apr 2020 13:32:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271688 HOOQ Digital บริษัท ร่วมทุนระหว่าง Singtel (เจ้าของหุ้นใหญ่), Sony Pictures และ Warner Bros Entertainment ที่โลกแล่นอยู่ในตลาดสตรีมมิ่งมากว่า 5 ปี ประกาศ เลิกกิจการ พร้อมกับขายทรัพย์เพื่อใช้หนี้ หลังจากที่ไม่สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วและทำกำไรครอบคลุมต้นทุนการดำเนินงาน

โฆษกของ HOOQ กล่าวในแถลงการณ์ว่า “บริษัทได้แล่นผ่านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่สำคัญ โดยเรากำลังดิ้นรนเพื่อให้ผลตอบแทนที่ยั่งยืนแก่นักลงทุน ขณะที่ผู้ให้บริการเนื้อหาทั่วโลกและในประเทศมีราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ผู้บริโภคเองมีตัวเลือกที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ รูปแบบธุรกิจ OTT จึงกลายเป็นความท้าทายที่เพิ่มมากขึ้น เป็นผลให้ HOOQ ไม่สามารถเติบโตได้อย่างเพียงพอที่จะให้ผลตอบแทนที่ยั่งยืนหรือครอบคลุมต้นทุนเนื้อหา”

ปัจจุบัน HOOQ มีผู้ใช้งาน 80 ล้านคน ในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย ไทย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และยังสร้างการเติบโตได้ต่อเนื่อง เพียงแต่รายได้ยังไม่เพียงพอต่อต้นทุนที่ต้องจ่าย

จากนี้คงต้องจับตาดู HOOQ ในประเทศไทยว่าจะเป็นอย่างไรต่อไปจากนี้ รวมถึงผู้เล่นรายอื่นๆ อีกด้วย เพราะตั้งเเต่เจ้าพ่อคอนเทนต์ใหญ่อย่าง Disney ทำ Disney + แถมยังให้บริการไม่ถึงฝั่งเอเชีย แต่ก็สร้างความปั่นป่วนให้ตลาดนี้อย่างเห็นได้ชัด

Source

]]>
1271688