ตลท. – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 21 Apr 2021 06:00:55 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 อ่าน 5 ข้อ ทำความเข้าใจธุรกิจ “เงินติดล้อ” ก่อนตัดสินใจลงทุนซื้อหุ้น TIDLOR https://positioningmag.com/1328451 Tue, 20 Apr 2021 13:09:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328451 การระดมทุนครั้งใหญ่ของเงินติดล้อดึงความสนใจจากนักลงทุนรายย่อยได้ไม่น้อยทีเดียว หลังเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) เคาะราคาที่ 34.00-36.50 บาทต่อหุ้น เเละเปิดจองแบบ ‘Small Lot First’ ตามรอยหุ้น ‘OR’ ที่มียอดจองซื้อสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เเต่กรณีของเงินติดล้อจะเเตกต่างไปอย่างไร ต้องติดตาม

บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ ‘TIDLOR’ ให้เปิดให้นักลงทุนสามารถจองซื้อหุ้น TIDLOR ผ่านช่องทางออนไลน์ของตัวแทนจำหน่ายหุ้นทั้ง 3 ราย ในวันที่ 22-26 เมษายน 2564

จากนั้น TIDLOR จะประกาศราคา IPO และผลการจัดสรรหุ้นแก่นักลงทุนทั่วไปอย่างเป็นทางการวันที่ 28 เมษายน เเละจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยวันแรก 10 พฤษภาคม

สำหรับการเเจกจ่ายหุ้นเเบบ Small Lot First นั้นจะเป็นการเเจกจ่ายหุ้นให้ทั่วถึงผู้จองซื้อทุกคน ขั้นต่ำ 1,000 หุ้นในราคาเสนอขายสุงสุดที่ 36.50 บาทต่อหุ้น รวมเป็นเงินขั้นต่ำอยู่ที่ 36,500 บาท

จากราคาเสนอขายหุ้น IPO เบื้องต้นที่ 34-36.50 บาท คาดว่าบริษัทจะสามารถระดมทุนราว 35,480-38,089 ล้านบาท (รวมการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) นับเป็น IPO ของหุ้นในหมวดธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าเสนอขายสูงที่สุด 5 อันดับแรกในประวัติศาสตร์ตลาดทุนไทย จ่อติดอันดับใน SET50 ทันที 

ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้นผู้ลงทุนควรศึกษาธุรกิจนั้นๆ ให้รอบคอบ วันนี้ Positioning รวบรวมพื้นฐานธุรกิจ ความท้าทาย กลยุทธ์การเติบโต เเผนลงทุนต่อไป เเละรายละเอียดในการจองซื้อหุ้นของ ‘TIDLOR’ ไว้ดังนี้

รู้จักธุรกิจ ‘เงินติดล้อ’ 

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2523 ครอบครัวเเก้วบุตตาเปิดตัวธุรกิจสินเชื่อจำนำทะเบียนรถในจังหวัดเพชรบูรณ์ ในชื่อบริษัท ศรีสวัสดิ์ เพชรบูรณ์ จำกัดเพื่อเจาะลูกค้าเกษตรกรที่ไม่เข้าถึงเเหล่งเงินทุน

จากนั้นกิจการดำเนินไปได้ด้วยดี จนปี 2534 สามารถขยายธุรกิจออกไปในจังหวัดอื่นๆ ราว 130 สาขา เเละเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ศรีสวัสดิ์ อินเตอร์เนชั่นแนล (1991) จำกัด

ต่อมาในปี 2550 เกิดจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญเมื่อ AIG Consumer Finance Group, Inc (AIG) จากสหรัฐฯ เข้าซื้อกิจการเเละเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ซีเอฟจี เซอร์วิส จำกัดเเละปรับโครงสร้างธุรกิจ รีเเบรนด์ใหม่ให้เป็นที่รู้จักในนามศรีสวัสดิ์ เงินติดล้อ

หลังขายกิจการไปเพียงหนึ่งปี (2551) ครอบครัวเเก้วบุตตาผู้ก่อตั้งศรีสวัสดิ์ เงินติดล้อก็จัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาเพื่อทำธุรกิจเดียวกัน ในชื่อศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ 1972’ โดยใช้ชื่อแบรนด์ศรีสวัสดิ์ซึ่งปัจจุบันก็คือ บริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAWAD นั่นเอง

ขณะเดียวกันในช่วงปี 2551 สหรัฐฯ เจอวิกฤตซับไพรม์ AIG จึงต้องขายหุ้น 100% ของศรีสวัสดิ์ให้กับธนาคารกรุงศรีอยุธยา’ (BAY) เเละต่อมาในปี 2559 บริษัท Siam Asia Credit Access Pte. Ltd. (SACA) เข้าซื้อหุ้น 50% จาก BAY เเละตอนนั้นมีการเพิ่มสาขาเป็นกว่า 1,000 แห่งทั่วประเทศ

ในปี 2561 บริษัทตัดสินใจตัดคำว่าศรีสวัสดิ์ออกไป เพื่อป้องกันการสับสนกับคู่เเข่งเเละมุ่งปั้นเเบรนด์เงินติดล้อ’ ให้มีชื่อติดตลาด ปัจจุบันธุรกิจของเงินติดล้อ เเบ่งออกเป็น 2 หมวดหลักๆ ได้แก่

1.ธุรกิจสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ 

เงินติดล้อ เป็นผู้ให้บริการจำนำทะเบียนรถสินเชื่อจำนำทะเบียนรถรายใหญ่ที่สุดในไทย โดยรายได้รวมในปี 2563 กว่า 83% มาจาก ‘ดอกเบี้ยสินเชื่อ’ มีผลิตภัณฑ์หลากหลายทั้งกลุ่มสินเชื่อมอเตอร์ไซค์-รถยนต์ส่วนบุคคล เเละบัตรกดเงินสด

ล่าสุดมีสาขา 1,076 แห่ง ครอบคลุม 74 จังหวัด ตัวแทนขายมากกว่า 5,000 ราย พนักงานขายทางโทรศัพท์ 500 ราย ดีลเลอร์รถบรรทุกมือสอง 400 ราย เเละผ่านสาขาของ BAY อีก 680 แห่ง (ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2563) รวมไปถึงการให้บริการในทุกช่องทางออนไลน์ อย่างเว็บไซต์ แอปพลิเคชันเงินติดล้อ ไลน์เเละเพจเฟซบุ๊ก ฯลฯ

2.ธุรกิจบริการนายหน้าประกันภัย

เเม้จะเปิดตัวมาได้เพียง 3 ปี เเต่ก็มีเเนวโน้มทำรายได้ให้บริษัทได้ดี ด้วยการครองมาร์เก็ตเเชร์ที่ 2% เป็นอันดับ 3 ในตลาดนายหน้าประกันภัยสำหรับรายย่อย มีผลิตภัณฑ์ทั้งประกันภัยรถยนต์ทุกประเภท ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ประกันโรคมะเร็ง ฯลฯ โดยมีบริษัทประกันภัยพันธมิตร 18 ราย

ในปี 2562-2563 เบี้ยประกันวินาศภัยที่จัดเก็บได้มีอัตราเติบโตสูงกว่าการเติบโตของภาพรวมเบี้ยประกันวินาศภัยทั้งตลาด 12.5 เท่า

โดยฐานลูกค้าของเงินติดล้อ เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท มีเงินหมุนเวียนไม่แน่นอนและประวัติข้อมูลทางการเงินจำกัด

รายได้เเละกำไรของ TIDLOR

  • ปี 2561 รายได้ 7,569 ล้านบาท กำไร 1,306 ล้านบาท อัตรากำไรสุทธิ 17.3% เงินให้กู้และลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ 37,049.4 ล้านบาท
  • ปี 2562 รายได้ 9,458 ล้านบาท กำไร 2,202 ล้านบาท อัตรากำไรสุทธิ 23.3% เงินให้กู้และลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ 45,277.3 ล้านบาท
  • ปี 2563 รายได้ 10,559 ล้านบาท กำไร 2,416 ล้านบาท อัตรากำไรสุทธิ 22.9% เงินให้กู้และลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ 48,568 ล้านบาท

วีรภัทร์ วิริยะโกวิทยา ผู้บริหารระดับสูงฝ่ายบัญชีและการเงิน บมจ.เงินติดล้อ ระบุว่า บริษัทมีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปีของกำไรสุทธิอยู่ที่ 36%

โดยธุรกิจสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันของ TIDLOR มีการเติบโตต่อเนื่อง มียอดสินเชื่อคงค้างปีที่ผ่านมา 5.13 หมื่นล้านบาท จาก 3.97 หมื่นล้านบาท ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วภายหลังเกิดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในปีที่ผ่านมา

สำหรับโครงสร้างรายได้ปี 2563 มีสัดส่วนของรายได้ดอกเบี้ยรับจากเงินให้กู้ยืม คิดเป็นสัดส่วน 71% รายได้ดอกเบี้ยรับจากลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ คิดเป็น 11% รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการคิดเป็นสัดส่วน 17%

คาดการณ์ว่ารายได้จากดอกเบี้ยรับและค่าธรรมเนียมและบริการรวมในปีนี้จะอยู่ที่ 1.22 หมื่นล้านบาท เติบโต 16% จากปีก่อน และคาดกำไรสุทธิราว 3.45 พันล้านบาท เติบโต 15% ส่งผลให้มีอัตรากำไรสุทธิเฉลี่ย 3 ปี ระหว่างปี 2562-2564 เท่ากับ 16%

ขณะที่ธุรกิจนายหน้าประกันภัยมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และเป็นแรงผลักดันมูลค่าและการเติบโตที่สำคัญ โดยมีค่าเบี้ยประกันวินาศภัยปี 2563 ที่ระดับ 4.01 พันล้านบาท จาก 1.917 พันล้านบาท ในปี 2561

กางเเผน 3 ปี : ขยายสาขา-ทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล 

วัตถุประสงค์ในการเปิดขายหุ้น IPO ให้ประชาชนครั้งนี้ เป็นไปเพื่อเพิ่มทุนสำหรับการขยายธุรกิจ ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และชำระคืนหนี้สิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโครงสร้างเงินทุน

ปิยะศักดิ์ อุกฤษฎ์นุกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.เงินติดล้อ เผยถึงเเผนธุรกิจต่อไปว่า จะมีการขยายสาขาอีก 500 แห่งให้ได้ภายในปี 2566 ครอบคลุมการให้บริการในพื้นที่ต่างๆ เพิ่มตัวแทนและพนักงานขายทางโทรศัพท์ ขยายสินเชื่อควบคู่ไปกับการบริการผ่านช่องทางออนไลน์ และลงทุนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี พัฒนาแพลตฟอร์มทางการเงินและเปลี่ยนผ่านกระบวนการทำงานต่างๆ สู่ดิจิทัล

นอกจากนี้ เงินติดล้อยังมองหาโอกาสเติบโตจากการ ‘ควบรวมธุรกิจหรือการเข้าซื้อกิจการ’ ในเชิงกลยุทธ์เพื่อขยายผลิตภัณฑ์และการให้บริการ ทั้งในประเทศและตลาดอื่นในภูมิภาคอาเซียน

“บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้เติบโตเฉลี่ย 15-20% ต่อปี ในช่วง 3 ปีข้างหน้า ขณะที่รายได้เสริมที่มาจากธุรกิจนายหน้าขายประกันวินาศภัยรายย่อย จะยังเห็นการเติบโตราว 40% ในช่วง 2-3 ปี”

ปิยะศักดิ์ อุกฤษฎ์นุกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR

จัด Small Lot First ซื้อขั้นต่ำ 1,000 หุ้น

หุ้นสามัญ TIDLOR ที่จะเสนอขายจำนวนไม่เกิน 907,428,600 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนรวมกันไม่เกินร้อยละ 39.1 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด แบ่งออกเป็น

  • เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของเงินติดล้อ จำนวนไม่เกิน 210,816,700 หุ้น
  • เสนอขายหุ้นสามัญเดิม โดยธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำนวนไม่เกิน 284,144,300 หุ้น
  • เสนอขายหุ้นสามัญเดิมโดย Siam Asia Credit Access Pte. Ltd. จำนวนไม่เกิน 412,467,600 หุ้น

สำหรับนักลงทุนรายย่อย TIDLOR จัดสรรหุ้นไว้ 46.5 ล้านหุ้น หรือมูลค่าราว 1,700 ล้านบาท เปิดให้นักลงทุนรายย่อยที่สนใจจองซื้อหุ้นได้ตั้งแต่ เวลา 09.00 น. ของวันที่ 22 เม.ย. 2564 ไปจนถึง เวลา 16.00 น. ของวันที่ 26 เมษายน 2564 (ในระยะเวลาดังกล่าวจองได้ตลอด 24 ชั่วโมง)

ซื้อขั้นต่ำ 1,000 หุ้น จ่ายเงินที่ราคาสูงสุดหุ้นละ 36.50 บาท ด้วยเงิน 36,500 บาท (ไม่จำกัดจำนวนหุ้นที่จองซื้อต่อหนึ่งใบจอง) ผ่านช่องทางออนไลน์ ของตัวแทนจำหน่ายหุ้น 3 ราย ได้แก่

  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) รายละเอียดการจองซื้อ คลิกที่นี่
  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) รายละเอียดการจองซื้อ คลิกที่นี่
  • และบริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (สำหรับบุคคลที่เป็นลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) เท่านั้น) รายละเอียดการจองซื้อ คลิกที่นี่

โดยจะมีประกาศผลผ่านทาง www.settrade.com ในวันที่ 28 เม.ย. เเละจะเข้าเปิดเทรดวันแรก 10 พฤษภาคม 2564

ในกรณีที่ราคาเสนอขาย IPO สุดท้ายต่ำกว่า 36.50 บาทต่อหุ้น นักลงทุนที่จองซื้อแต่ละรายจะได้รับคืนเงินส่วนต่างระหว่างราคา 36.50 บาทต่อหุ้น กับราคาเสนอขายสุดท้าย

(อ่านรายละเอียดและหนังสือชี้ชวนของเงินติดล้อได้ ที่นี่ )

ทั้งนี้ การจัดสรรเเบบ Small Lot First นักลงทุนรายย่อยที่จองซื้อและชำระเงินเเล้วทุกคนจะได้รับจัดสรรหุ้นในรอบแรกเป็นจำนวนขั้นต่ำที่ 1,000 หุ้น จากนั้นมีการจัดสรรหุ้นรอบละ 100 หุ้นต่อรายไปเรื่อย ๆ จนกว่าหุ้นทั้งหมดที่ออกจำหน่ายจะจัดสรรจนหมด โดยเศษที่เหลือในรอบสุดท้ายนั้นจะมีการแจกจ่ายโดยโปรแกรมสุ่ม

ต้องจับตา ‘ความเสี่ยง’ อะไรบ้าง ? 

จากบทวิเคราะห์ของ MGR Online ระบุว่า สิ่งที่น่าสนใจสำหรับหุ้น TIDLOR คือ ค่า P/E หุ้นของบริษัท โดยหากพิจารณากำไรสุทธิในช่วง 12 เดือนย้อนหลัง (ตั้งแต่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค.2563) ที่ 2.41 พันล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมด 2.31 พันล้านหุ้น (Fully Diluted) (บนสมมติฐานว่ามีการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน 212.95 ล้าน หุ้น) จะได้กำไรสุทธิต่อหุ้น (Earnings Per Share) เท่ากับ 1.04 บาทต่อหุ้น และอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (Price to Earnings Ratio : P/E) ประมาณ 32.60-35.00 เท่า

โดยความเสี่ยงในธุรกิจของ TIDLOR ก็มีเช่น P/E ของหุ้นถือว่าสูงหากพิจารณากับผู้ประกอบการในธุรกิจเดียวกัน อย่าง MTC ที่ระดับ 26.63 เท่า ส่วน SAWAD ที่ระดับ 24.90 เท่า และมีที่สูงกว่า TIDLOR คือ SAK ที่ระดับ 40.29 เท่า และ TQM ที่ระดับ 54.91 เท่า

ด้านภาพรวมธุรกิจของบริษัทถือเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง ทั้งธุรกิจให้สินเชื่อ และธุรกิจนายหน้าประกันภัย แม้จะส่วนแบ่งการตลาดในระดับที่สูง แต่ความเสี่ยงสำคัญของบริษัทคือ ‘กลุ่มลูกค้า’ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีรายได้ต่อเดือนประมาณ 10,000 บาท ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอิสระ ผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ใช้แรงงานและพนักงานบริษัท ทำให้บางส่วนมีรายได้หรือเงินหมุนเวียนที่ไม่แน่นอน และบางรายไม่สามารถเข้าถึงบริการสินเชื่อของธนาคารได้ ทำให้อาจไม่สามารถประเมินความน่าเชื่อถือทางเครดิตของผู้กู้และความเพียงพอของการบริหารความเสี่ยง

ไม่เพียงเท่านี้ บริษัทจำเป็นต้องใช้เงินทุนจำนวนมากในการดำเนินธุรกิจ และดำรงการเติบโต แต่ก็มีความเสี่ยงที่อาจไม่สามารถติดตามทวงหนี้สินเชื่อค้างชำระได้

Photo : Shutterstock

ในช่วงต้นปี 2564 ทริสเรทติ้งประกาศ “เครดิตพินิจ” แนวโน้ม “Developing” หรือ “ไม่ชัดเจน” สำหรับอันดับเครดิตองค์กรและตราสารหนี้ระดับ A- ของ TIDLOR สืบเนื่องมาจากประกาศของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท คือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ผ่านทางตลาดหลักทรัพย์ฯ เกี่ยวกับการออกและจำหน่ายหุ้นสามัญแก่ประชาชนเป็นครั้งแรกและการนำหุ้นสามัญของ TIDLOR เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายฐานการระดมทุนและเสริมความแข็งแกร่งให้แก่งบการเงินของบริษัททำให้มีเครดิตพินิจแนวโน้ม “Developing” หรือ “ไม่ชัดเจน” หมายถึงสถานการณ์ด้านเครดิตดังกล่าวมีโอกาสที่จะส่งผลทั้งในทางบวกและลบต่ออันดับเครดิตและ/หรือแนวโน้มอันดับเครดิตของบริษัท หรืออันดับเครดิตและ/หรือแนวโน้มอันดับเครดิตดังกล่าวอาจคงอยู่ในระดับเดิมเท่ากับในช่วงก่อนการประกาศเครดิตพินิจก็ได้ เพราะคาดว่าธนาคารกรุงศรีอยุธยาจะมีสัดส่วนการถือหุ้นลดลงมากสุดไม่ต่ำกว่า 30% จาก 50%

ในขณะที่ Siam Asia Credit Access Pte Ltd (SACA) จะลดการถือหุ้นมากสุดไม่ต่ำกว่า 25% จาก 50% หลังจากที่หุ้นของบริษัทมีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว แม้ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทคือธนาคารกรุงศรีอยุธยา และ SACA จะไม่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายหุ้นที่ถืออยู่ในบริษัทเพิ่มเติมเป็นระยะเวลา 1 ปีหลังจากบริษัทจดทะเบียน และในระยะปานกลาง ธนาคารกรุงศรีอยุธยาก็มีความประสงค์ที่จะคงระดับการถือหุ้นให้ไม่ต่ำกว่า 30% แม้ว่าจะผ่านระยะเวลาห้ามจำหน่ายหุ้นไปแล้วก็ตาม

อ่านฉบับเต็ม : “เงินติดล้อ” แม้แกร่งแต่เสี่ยง ธุรกิจแข่งขันสูง-กลุ่มลูกค้าน่าห่วง

 

ที่มา : sec.or.thngerntidlor.com , tidlorinvestor , MGR Online

 

]]>
1328451
เปิดลิสต์ 18 กองทุน SSF ซื้อลดหย่อนภาษี 2 แสนบาท ก.ล.ต.ไฟเขียว เสนอขายได้ 1 เม.ย.นี้ https://positioningmag.com/1271003 Tue, 31 Mar 2020 10:53:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271003 ก.ล.ต. อนุมัติจัดตั้ง “กองทุน SSF หลักทรัพย์จดทะเบียน” เเล้ว จำนวน 18 กองทุน จาก บลจ. 14 แห่ง เพื่อให้เสนอขายได้วันที่ 1 เมษายน นี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีภายใต้มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

รื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ตามที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2563 มีมติให้ประชาชนทั่วไปหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนเพื่อการออม (Super Savings Fund : SSF) ที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือ “SSF หลักทรัพย์จดทะเบียน” นั้น โดยมีเงื่อนไข ดังนี้

(1) ลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนทั้งในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ

(2) หักลดหย่อนภาษีเงินได้พึงประเมินตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยแยกจากวงเงินลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน SSF กรณีปกติ และไม่อยู่ภายใต้เพดานวงเงินหักลดหย่อนรวมในกองทุนเพื่อการเกษียณทั้งหมด

(3) ซื้อระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563

(4) ถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปี

ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 ก.ล.ต. ได้อนุมัติการจัดตั้งกองทุน SSF หลักทรัพย์จดทะเบียน ไปแล้วจำนวน 18 กองทุน จากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) จำนวน 14 แห่ง ซึ่งกองทุน SSF หลักทรัพย์จดทะเบียน พร้อมเสนอขายได้ในวันที่ 1 เมษายน 2563 สำหรับผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่ บลจ. ที่เสนอขายกองทุน ดังนี้

1. กองทุนเปิดกรุงศรี SET100 – บลจ.กรุงศรี
2. กองทุนเปิด เค ซูเปอร์สตาร์ เพื่อการออมพิเศษ – กสิกรไทย
3. กองทุนเปิด ทิสโก้ หุ้นทุน เพื่อการออม – ทิสโก้
4. กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นไทยเพื่อการออม – บัวหลวง
5. กองทุนเปิดกรุงไทย ก่อการดี เพื่อการออม – กรุงไทย
6. กองทุนเปิดกรุงไทย 70/30 เพื่อการออม – กรุงไทย
7. กองทุนเปิดพรินซิเพิล เว็ท 50 อินเด็กซ์เพื่อการออม – พรินซิเพิล
8. กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ไทยเฟล็กซิเบิล เพื่อการออม – เอ็มเอฟซี
9. กองทุนเปิดเอ็มเอฟซีหุ้นไทยเพื่อการออม – เอ็มเอฟซี
10. กองทุนเปิดยูโอบี เพื่อการออม – ยูโอบี
11. กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ดัชนี SET เพื่อการออม – ไทยพาณิชย์
12. กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ผสม 70/30 เพื่อการออม – ไทยพาณิชย์
13. กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นไทยเเอคทีฟ เพื่อการออม – ไทยพาณิชย์
14. กองทุนเปิด เเอล เอช สมาร์ท เพื่อการออม – เเลนด์ เเอนด์ เฮ้าส์
15. กองทุนเปิด เเอสเซทพลัส สมอล เเอนด์ มิด เเคป อิควิตี้ เพื่อการออม – เเอสเซท พลัส
16. กองทุนเปิดภัทร SET50 ESG – ภัทร
17. กองทุนเปิดธนชาต อีสท์สปริง หุ้นทุนปันผลเพื่อการออมพิเศษ – ธนชาต
18. กองทุนเปิด วรรณ สนับสนุนตลาดทุนไทย เพื่อการออม – วรรณ

*ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563

อ่านเพิ่มเติม :
ส่องผลประโยชน์-ผลกระทบ “กองทุน SSF” ที่มาทดแทน LTF

 

 

]]>
1271003
บำรุงราษฎร์ โต้กลับ BDMS ไม่คาดคิดจะเสนอซื้อหุ้นทั้งหมด ขอคุยคณะกรรมการแข่งขันการค้า https://positioningmag.com/1266227 Thu, 27 Feb 2020 16:51:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1266227 หลังจากมีการประกาศ “ดีลใหญ่” ของวงการธุรกิจการแพทย์ บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เข้าทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดโดยสมัครใจแบบมีเงื่อนไขในหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BH คาดต้องใช้เงินราว 8.56 หมื่นล้านบาท ถึง 1.02 แสนล้านบาท ในราคาหุ้นละ 125 บาท เเละในกรณีราคาที่สูงขึ้นจะไม่เกิน 20%
(ปัจจุบัน BDMS ถือหุ้นใหญ่ใน BH อยู่เเล้วที่ 24.99%)

อ่านเพิ่มเติม : BDMS ทุ่ม 8.56 หมื่นล้าน เสนอซื้อหุ้นทั้งหมดของ รพ.บำรุงราษฎร์ ราคา 125 บาท/หุ้น

จากนั้น “บำรุงราษฎร์” ออกมาโต้กลับ โดยทำหนังสือชี้เเจงต่อตลท.ว่า “ผู้บริหารของ BH ไม่คาดคิดและไม่เคยทราบเรื่องการทำคำเสนอซื้อโดยสมัครใจมาก่อน เนื่องจากในอดีต BH และ BDMS ต่างดำเนินธุรกิจอย่างอิสระต่อกันและปราศจากการประสานความร่วมมือทางธุรกิจใดๆ”

นอกจากนี้บริษัทเห็นว่าทั้งสองกลุ่มโรงพยาบาลดำเนินธุรกิจที่แข่งขันกัน และต่างก็เป็นผู้นำในธุรกิจด้านการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านท่องเที่ยวเชิงพาณิชย์ (Medical Tourism) และการบริการทางการแพทย์ตติยภูมิให้กับกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงระดับสูง

อีกทั้ง บริษัทเล็งเห็นถึงความสำคัญที่ผู้บริโภคพึงได้รับการบริการทางการแพทย์ตติยภูมิภายใต้การแข่งขันอย่างเป็นธรรม ดังนั้นบริษัทจะขอเข้าปรึกษาและให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.)  เพื่อชี้แจงถึงสภาพการแข่งขันในธุรกิจด้านการแพทย์ในปัจจุบัน และขอความชัดเจนในเชิงนโยบายเกี่ยวกับการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท โดย BDMS ดังกล่าว

โดยบริษัทแนะนำให้ผู้ถือหุ้นติดตามข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าทำรายการจากทั้ง BH และ BDMS “อย่างใกล้ชิดและอย่างระมัดระวัง”  นอกจากนี้ บริษัทจะปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง และจะมีการแต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับการทำคำเสนอซื้อ และนำเสนอต่อผู้ถือหุ้นในช่องทางที่เหมาะสมต่อไป

ทั้งนี้ ราคาหุ้น BH ประจำวันที่ 27 ก.พ. (ช่วงเย็นหลังการประกาศคำเสนอซื้อหุ้น) ปิดที่หุ้นละ 130 บาท เพิ่มขึ้น 18 บาท หรือคิดเป็น 16.07% โดยราคาสูงสุดของวันอยู่ที่ 133 บาท และต่ำสุดอยู่ที่ 112 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 1,364.29 ล้านบาท

 

ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

]]>
1266227