ทีทีบี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 01 May 2024 08:10:43 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ttb reserve ชูเป้าปี 67 เจาะลูกค้ากลุ่ม Young Wealth กลุ่ม SME และดีลเลอร์รถยนต์ คาด AUM ปีนี้โตได้ 40% https://positioningmag.com/1471716 Wed, 01 May 2024 05:26:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1471716 ttb reserve โดย ทีเอ็มบีธนชาต เปิดเผยกลยุทธ์ธุรกิจในปี 2567 โดยตั้งเป้าเจาะลูกค้ากลุ่ม Young Wealth กลุ่ม SME และดีลเลอร์รถยนต์ ขณะเดียวกันในด้านการลงทุนก็จะเน้นในเรีื่องการจัดพอร์ตให้กับลูกค้าเพื่อที่จะปกป้องความมั่งคั่ง คาดว่าปีนี้ AUM จะเติบโตได้ 40%

ฐากร ปิยะพันธ์ ผู้จัดการใหญ่ ทีเอ็มบีธนชาต ได้กล่าวถึงกลุ่มลูกค้า Wealth เพิ่มมากขึ้น และต้องการให้ฐานลูกค้านั้นเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งในปี 2566 ที่ผ่านมา และเขายังได้กล่าวถึงลูกค้ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่สถาบันการเงินหลายแห่งได้ให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้น

ปัจจุบันลูกค้า ttb reserve มี 2 แบบใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มลูกค้าที่มีสินทรัพย์ 5 ล้านบาทขึ้นไป กับลูกค้าที่มีสินทรัพย์ 30 ล้านบาทขึ้นไป ในปี 2566 ที่ผ่านมาธนาคารมีฐานลูกค้ากลุ่มนี้รวมกัน 39,000 คน และมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) ประมาณ 600,000 ล้านบาท

ฐานลูกค้าของ ttb reserve ในปีนี้ที่ต้องการเจาะตลาดได้แก่ กลุ่มลูกค้า Young Wealth อายุ 40 ขึ้นไป เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีครอบครัวกำลังต้องการส่งไปศึกษาต่อในต่างประเทศ หรือโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย ซึ่งกลุ่มลูกค้าดังกล่าวมีศักยภาพสูง

เพื่อที่จะสื่อสารภาพลักษณ์ดังกล่าว ทาง ttb reserve ยังได้เปิดตัว Brand Ambassador คนแรก คือ โสภิตนภา ชุ่มภาณี (เจี๊ยบ) มาเป็นตัวแทนกลุ่มลูกค้าครอบครัวที่ให้ความสำคัญเรื่องการวางแผนการศึกษาส่งต่ออนาคตที่ดีที่สุดให้ลูก

นอกจากนี้ ttb reserve ยังเตรียมเจาะกลุ่มลูกค้า SME ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ หรือแม้แต่ดีลเลอร์รถยนต์ ซึ่งลูกค้าเหล่านี้อยู่ใน Ecosystem ของ ทีเอ็มบีธนชาต อยู่แล้ว เพื่อต่อยอดความสำเร็จสู่ชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น

บุษรัตน์ เบญจรงคกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต กล่าวว่า ในปีนี้ธนาคารได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์และฟีเจอร์ใหม่เพื่อที่จะตอบโจทย์ลูกค้า ttb reserve ในกลุ่มดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นบริการธุรกรรมสกุลเงินต่างประเทศ (FX Solution) ผ่านแอป ttb touch ไปจนถึงบริการ FX Advisory ที่แนะนำบริหารจัดการความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยผู้เชี่ยวชาญ

และยังรวมถึงบริการบัญชีเงินฝากสกุลต่างประเทศ (FCD) เพื่อลูกค้าที่มีบุตรหลานที่เรียนในต่างประเทศ หรือเพื่อค่าใช้จ่ายการศึกษาในอนาคต สามารถเก็บเงินในสกุลต่างประเทศได้ ซึ่งรองรับ 10 สกุลเงินสำคัญๆ ของโลก เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ยูโร ปอนด์ เยน สวิสฟรังก์ สิงคโปร์ดอลลาร์ ออสเตรเลียนดอลลาร์ เป็นต้น

ณัฐวรรณ อภิรัตนพิมลชัย ประธานกลุ่ม กลยุทธ์ลูกค้าบุคคล ทีเอ็มบีธนชาต กล่าวว่า ttb reserve ได้เสนอโซลูชันการปรับพอร์ตลงทุน (Wellness Solution) เพื่อเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก โดยที่เน้นรักษาเงินต้น และจำกัดความเสี่ยงในช่วงตลาดผันผวน บริการดังกล่าวจะมาพร้อมกับทีม Private Banking ที่ปรึกษาทางการเงินและการลงทุนส่วนบุคคลที่ลูกค้าสามารถติดต่อได้หลายช่องทาง

ประธานกลุ่ม กลยุทธ์ลูกค้าบุคคล ทีเอ็มบีธนชาต ได้กล่าวว่า ในการจัดพอร์ตให้กับลูกค้าจะเน้นในเรื่องของพอร์ตการลงทุนเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น การจัดสรรน้ำหนักการลงทุน เช่น ใน 10 ล้านบาท จะมีเงินฝากกี่ % กองทุนรวมกี่ % หรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ ตามความเสี่ยงที่ลูกค้ารับได้

ขณะเดียวกันเธอยังกล่าวว่าจะมีการร่วมมือกับทาง บลจ. อีสท์สปริง ในการเสนอและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้กับลูกค้า ttb reserve เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังเน้นในเรื่องของ Open Architecture ในการเสนอผลิตภัณฑ์จาก บลจ. รายอื่นด้วยเช่นกัน

สำหรับเป้าหมายทางธุรกิจของ ttb reserve ในปี 2567 คือมี AUM เพิ่มขึ้น 40% มาอยู่ที่ราวๆ 700,000 ล้านบาท มีฐานลูกค้าที่ใช้บริการเพิ่มขึ้นเป็น 44,000 คน

]]>
1471716
‘ทีทีบี’ ตั้งเป้าผู้ใช้งาน ttb touch เพิ่มอีก 1 ล้านราย ชูการใช้ AI ช่วยเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินตรงใจลูกค้ายิ่งขึ้น https://positioningmag.com/1466187 Thu, 14 Mar 2024 14:31:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1466187 ทีเอ็มบีธนชาต ตั้งเป้าผู้ใช้งาน ttb touch ปี 2024 นี้เพิ่มอีก 1 ล้านราย ชูการใช้ AI ช่วยเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินตรงใจลูกค้ายิ่งขึ้น อย่างไรก็ดีทางธนาคารมีความกังวลในเรื่องของหนี้ครัวเรือน และพบว่ามีการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งธนาคารได้หาวิธีในการแก้ปัญหา เช่น การรวบหนี้ เพื่อลดดอกเบี้ยของลูกค้า

ฐากร ปิยะพันธ์ ผู้จัดการใหญ่ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) ได้กล่าวว่า ทีทีบี มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อส่งมอบชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้ลูกค้าอย่างต่อเนื่องในทุกช่วงชีวิต โดยเฉพาะ 4 กลุ่มลูกค้าหลักที่ธนาคารเชี่ยวชาญ ภายใต้แนวคิด Ecosystem Play ได้แก่ กลุ่มคนมีรถ คนมีบ้าน พนักงานเงินเดือน และลูกค้า Wealth

สำหรับในปี 2023 ที่ผ่านมา ttb นั้นมีผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน ttb touch เพิ่มขึ้น 800,000 ราย ขณะเดียวกันนั้นเงินฝากของทางธนาคารก็ได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ทางธนาคารนั้นต้องมีการบริหารต้นทุนทางการเงินให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นมา

ในปี 2024 นี้ความท้าทายของ ttb นั้น ฐากร มองว่าไม่ว่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อธุรกิจประกันชีวิตที่มีช่องทางขายผ่านธนาคาร หรือแม้แต่เรื่องของเงินฝาก ขณะเดียวกันเศรษฐกิจที่เติบโตช้า รวมถึงตลาดทุนที่ผันผวนก็ได้ส่งผลต่อการลงทุนไม่น้อย

ส่วนของกลุ่มเงินฝาก ttb ได้นำเสนอลูกค้าด้วยผลิตภัณฑ์เงินฝากที่หลากหลาย ครอบคลุมทุกความต้องการด้านการออม ซึ่งแต่ละผลิตภัณฑ์นั้นมีความเหมาะสมกับลูกค้าแต่ละกลุ่ม และยังรวมถึงเงินฝากในสกุลต่างประเทศที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่ต้องใช้ หรือฝากเงินในสกุลต่างประเทศไว้ใช้ หรือให้ลูกหลานเวลาเรียนต่อในต่างแดน

การให้บริการด้านสินเชื่อ ทางธนาคารได้เน้นในเรื่องการรีไฟแนนซ์บ้าน การปล่อยสินเชื่อรถยนต์ใหม่ โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้านั้นธนาคารตั้งเป้าหมายเติบโตถึง 20% ในปีนี้ และยังรวมถึงมีแผนเปิดธุรกิจ Nano Finance ซึ่งใช้อัตราดอกเบี้ยตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่เน้นช่องทางดิจิทัลเป็นหลัก

อย่างไรก็ดี ฐากร ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้ครัวเรือนในประเทศไทย จากปัญหาเศรษฐกิจเรื้อรัง ทำให้ปี 2023 ที่ผ่านมามีผู้ที่เป็นหนี้ค้างชำระระหว่าง 1-3 เดือนสูงขึ้น รวมถึงมีการผิดนัดชำระหนี้มากขึ้น ทำให้ธนาคารได้หาวิธีในการแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการรวบหนี้ เพื่อที่จะลดภาระดอกเบี้ยของลูกค้าลง

เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ttb ยังได้กล่าวถึงเรื่องของ การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทยที่มีสัดส่วนสูง ซึ่งเขามองว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก และเรียกร้องให้หลายภาคส่วนเข้ามาช่วยกันแก้ปัญหาดังกล่าว

ในส่วนของประกัน ทาง ttb จะเน้นที่ประกันสุขภาพ ขณะเดียวกันก็จะเร่งการเติบโตประกันรถยนต์ ซึ่งจะทำให้ธนาคารได้รายได้จากค่าธรรมเนียมจากประกันเพิ่มมากขึ้น

ขณะที่ลูกค้ากลุ่มความมั่งคั่งสูง หรือลูกค้ากลุ่ม Wealth ทาง ttb ได้ตั้งเป้าที่จะเน้นรุกลูกค้ากลุ่มที่มีความั่งคั่งสูง โดยมี AUM มากกว่า 30 ล้านบาท ธนาคารยังได้มีการจัดทีม Private Banking ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญการลงทุนเพื่อยกระดับการให้บริการ

และจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจในการลงทุนของลูกค้ากลุ่ม Wealth ไม่น้อย ttb จึงเน้นผลิตภัณฑ์ที่มุ่งรักษาเงินต้นและปิดความเสี่ยง เช่น หุ้นกู้อนุพันธ์แฝงอ้างอิงดัชนี (Index Linked Note) เป็นทางเลือกสำหรับนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้น พร้อมคุ้มครองเงินต้นในเวลาเดียวกัน และในปีนี้ทางธนาคารจะมีการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้กับลูกค้ากลุ่มนี้มากขึ้น

นอกจากนี้สำหรับลูกค้าที่ใช้แอปฯ ttb touch ฐากร ได้ชูถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ได้ช่วยลดภาระต้นทุนของธนาคาร เขาได้ชูถึงจุดเด่นของแอปฯ ดังกล่าวสามารถทำธุรกรรมของสาขาได้ถึง 94% และหลังจากนี้ถ้าหากลูกค้าไปสาขาจะให้ทำธุรกรรมผ่าน Tablet แทน โดยมีพนักงานช่วยดู ไม่มีทำผ่านกระดาษอีกแล้ว

ฐากรชี้ว่าถ้าหากการทำธุรกรรมผ่านสาขาลดลงไป 10% จะส่งผลต่อต้นทุนธุรกรรมที่สาขาลดลงไป 40% เลยทีเดียว

ไม่เพียงเท่านี้เขาชี้ว่าในส่วนของแอปฯ ttb touch ยังมีการนำเทคโนโลยี AI มาช่วยตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากขึ้น และจะมีสิทธิประโยชน์ที่ลูกค้าแต่ละคนต้องการ และยังมีการนำเทคโนโลยีวิเคราะห์ให้กับ Call Center ของธนาคารเพื่อลดการโทรหาลูกค้าซ้ำซ้อนลง

เป้าหมายทางการเงินของกลุ่มลูกค้าบุคคลของ ttb ในปี 2024 นี้การเติบโตของสินเชื่อบ้านและสินเชื่อรถยนต์ เติบโต 1-2% ขณะที่การเติบโตของสินทรัพย์ภายใต้การดูแล AUM ของลูกค้าเติบโต 15-20% และเบี้ยประกันภัยเติบโต 30-35% เบี้ยประกันชีวิตเติบโต 15-20% รวมถึงผู้ใช้งาน ttb touch เพิ่มอีก 1 ล้านราย

]]>
1466187
ttb business one ต่อยอดฟีเจอร์ใหม่ จาก Pain Point ชาวเอสเอ็มอี จัดการธุรกิจผ่าน ‘มือถือ’  https://positioningmag.com/1362565 Wed, 17 Nov 2021 09:55:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1362565 SMEs ไทยปรับตัวเข้าหาดิจิทัล ttb business one จับโอกาสเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ รับโมบายแอปพลิเคชัน เเก้ Pain Point ผู้ประกอบการ จัดการธุรกิจผ่านมือถือได้ในระบบเดียว 

ปัจจุบันธุรกิจ SMEs’ (เอสเอ็มอี) ในไทย มีผู้ประกอบการมากถึง 3 ล้านราย คิดเป็นกว่า 99% ของผู้ประกอบการทั้งหมดในประเทศ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและส่งผลต่อ GDP ถึง 42% มีการจ้างงานเเละกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจไปยังภูมิภาคต่างๆ

เเต่เมื่อเกิดวิกฤตโรคระบาดลากยาวมาเกือบ 2 ปี ผู้ประกอบการรายย่อยรับผลกระทบหนัก ต้องปรับตัวให้อยู่รอด ดิจิทัลมากขึ้น เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนเเปลงไป

ในช่วงโควิด SMEs ส่วนใหญ่ยังต้องการความช่วยเหลือ โดย 52% ยังพอประคองตัวไปได้ อีก 10% ไปได้ดี เเต่อีกกว่า 38% อยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง

ต่อยอดเทคโนโลยีจาก Pain Point ผู้ประกอบการ 

จุดนี้เป็นโอกาสของ ทีเอ็มบีธนชาต ที่จะพัฒนาดิจิทัลโซลูชันttb business one’ มาจับกลุ่มตลาดลูกค้า SMEs โดยเฉพาะ โดยเน้นไปที่การเเก้ Pain Point ของผู้ประกอบการ SMEs ที่มักจะทำธุรกิจผ่านมือถือต้องเจอบ่อยๆ อย่าง

  • การทำธุรกรรมหลายประเภทต้องเข้าหลายระบบ หรือลืมรหัสผ่านเพราะมีหลายอัน
  • ดิจิทัลเเบงก์กิ้งบนคอมพิวเตอร์กับมือถือ ‘เเยกโปรไฟล์กัน’ ทำให้สับสน ใช้งานเฉลี่ย 7 คลิกต่อ 1 ธุรกรรม
  • ไม่รู้ว่าเงินโอนรับเข้ามานั้นมาจากคู่ค้ารายใด ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบ
  • ไม่รู้วิธีการจ่ายหรือการโอนเงินแบบไหนเร็วที่สุด หรือประหยัดที่สุด
  • โอนจ่ายโดยไม่รู้จำนวนเงินสำรองที่เหลือ
  • ไม่สามารถตั้งเมนู Personalize ได้ตามความต้องการของเเต่ละเเผนกได้

ปัจจุบัน ทีเอ็มบีธนชาต มีลูกค้าธุรกิจและเอสเอ็มอีที่ทำธุรกรรมบนดิจิทัลแบงก์กิ้ง ทั้งโมบายแอปพลิเคชัน และอินเทอร์เน็ต รวมเกือบ 200,000 ราย

หากเทียบกับปี 2563 ที่ผ่านมา พบว่า ผู้ประกอบการ SMEs หันมาใช้ช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้นถึง 60% และลูกค้าธุรกิจทั้งหมดมีจำนวนรายการที่ทำผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่าตัว หรือเพิ่มขึ้น 160% ขณะที่สัดส่วนการทำธุรกรรมของลูกค้าระหว่างช่องทางดิจิทัลกับช่องทางสาขาเปลี่ยนจาก 40% ต่อ 60% เป็น 80% ต่อ 20% เเล้ว

การออกแบบโมบายแอปพลิเคชันในครั้งนี้ล้วนมาจากความคิดเห็นของลูกค้าจริง ๆ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานให้มากที่สุด” สุกัญญา ตรีเสน่ห์จิต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าเอสเอ็มอี ทีเอ็มบีธนชาต กล่าว 

ฟีเจอร์ใหม่ คุมธุรกิจได้ผ่าน ‘มือถือ’ 

ผ่านมาได้ 11 เดือน หลังทีเอ็มบีธนชาต เปิดตัวบริการ ttb business one ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจ ในรูปแบบอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ครั้งนี้ก็ถึงเวลาขยายฟีเจอร์ใหม่ๆ ผ่าน โมบายแอปพลิเคชัน อย่างเต็มรูปเเบบ อิงตามความต้องการของลูกค้า 

โดยคอนเซ็ปต์หลักๆ ของ ttb business one คือการวางจุดเด่นเป็น One Platform ระบบเดียวเข้าได้จากทุกอุปกรณ์ทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน ผู้ใช้จะได้รับประสบการณ์เดียวกันทั้งหมด เห็นทุกอย่างในโปรไฟล์เดียวกัน

One to Control คือระบบเดียวทำได้ทุกธุรกรรม ซื้อ ขาย รับ จ่าย ทั้งในและต่างประเทศ ควบคุมธุรกิจได้จากที่เดียว ไม่ต้องเข้าหลายแอป จำหลาย user password เช่น โอนเงินในประเทศ ต่างประเทศ เรียกดูวงเงิน OD 

เเละ One to Command ระบบเดียว มองเห็นภาพรวมและข้อมูลสรุปทางการเงินภายในบริษัท ด้วย Dashboard ที่เรียกดูง่ายและเข้าใจง่าย สามารถสั่งการต่อได้เลย พร้อมระบบมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล

“ฟีเจอร์บนมือถือ จะมีทั้งการอนุมัติรายการ ทำรายการที่ง่ายขึ้นไม่ต้องกดหลายครั้ง การเรียกดูรายงานต่าง ๆ ได้ในหน้าจอเดียว พร้อมการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายงานตามที่ต้องการ สามารถควบคุมทุกเรื่องธุรกิจได้จากมือถือ” 

รัชกร ชยาภิรัต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารนวัตกรรมทางดิจิทัลลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต บอกว่า จากตัวเลขการใช้ธุรกรรมช่องทางดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ยืนยันว่า ttb business one มาถูกทางแล้ว ฟีเจอร์เหล่านี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถใช้ช่องทางดิจิทัลได้เต็มที่ 100% มีข้อมูล Data Insightful ช่วยคาดการณ์กระแสเงินสดเข้า-ออก ภายในบริษัทได้ล่วงหน้า ทำให้บริหารจัดการกระแสเงินสดได้ ซึ่งตอนนี้ไม่มีค่าธรรมเนียมการใช้แพลตฟอร์ม

“ttb ตั้งเป้าว่าด้วยนวัตกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ จะมีลูกค้ามาใช้ช่องทางดิจิทัลมากขึ้น 60% ภายในสิ้นปี” 

 

]]>
1362565
จับตา ‘คลัสเตอร์โรงงาน’ หากคุมไม่อยู่ โควิดลุกลาม-ยืดเยื้อ ฉุด ‘ส่งออก’ เสียหาย 1.9 แสนล้าน https://positioningmag.com/1344693 Fri, 30 Jul 2021 10:29:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344693 โจทย์ใหญ่ ‘คลัสเตอร์โรงงานหากคุมไม่อยู่ โควิดลุกลามยืดเยื้อ เสี่ยงกระทบภาคส่งออกตัวหลักฟื้นเศรษฐกิจไทยต้องสะดุด เสียหายถึง 1.9 แสนล้านบาท ฉุดการเติบโตต่ำกว่า 7%  ชะลอดีมานด์ตลาดอาเซียน เเนะรัฐเร่งทำ Bubble and Sealed ฉีดวัคซีนให้แรงงานภาคการผลิตโดยเร็ว 

ข้อมูลล่าสุดจาก Thai Stop Covid โดยกรมอนามัย ระบุว่า นับตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนกรกฎาคม 2564 มีโรงงานผลิตที่ต้องเผชิญกับปัญหาการติดเชื้อโควิดแล้วมากถึง 1,607 โรงงาน เป็นโรงงานขนาดใหญ่ 67% ซึ่งมีแรงงานจำนวนมาก มีทั้งโรงงานผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศและป้อนตลาดต่างประเทศ 

คลัสเตอร์โรงงาน จึงเป็นคลัสเตอร์ใหญ่ นอกเหนือไปจากแคมป์ก่อสร้าง

โรงงานส่วนใหญ่ที่พบปัญหาการติดเชื้อจะอยู่ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยางพาราและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ

โดยประเทศไทยมีโรงงานใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมนี้มากถึง 11,637 แห่ง มีแรงงาน 1.96 ล้านคน และมีมูลค่าตลาดต่อปีเท่ากับ 8.87 ล้านล้านบาท มีสัดส่วนส่งออกกว่า 57% และจากการที่เป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานค่อนข้างมาก เมื่อมีผู้ติดเชื้อจึงมีโอกาสที่จะเกิดการแพร่กระจายสูง ซึ่งอาจนำไปสู่การใช้มาตรการปิดโรงงานหยุดกระบวนการผลิตชั่วคราวได้ 

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินว่า หากมีการปิดคลัสเตอร์โรงงาน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมข้างต้นเป็นเวลา 2 สัปดาห์เพื่อควบคุมการระบาด จะก่อให้เกิดการสูญเสียมูลค่า 3.5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 4% ของมูลค่าตลาด 

สำหรับอุปทานสินค้าป้อนตลาดจากโรงงานในอุตสาหกรรมอาหารยานยนต์ ยางพาราและพลาสติก จะได้รับผลกระทบจากการปิดโรงงานเร็วที่สุด เพราะมีสินค้าคงคลังน้อยกว่าช่วงปกติ

ดังนั้น หากไม่สามารถควบคุมการระบาดคลัสเตอร์โรงงานได้ ภาครัฐต้องมีการล็อกดาวน์โรงงานเพิ่มขึ้น หรือขยายระยะเวลาปิดโรงงานออกไป คาดว่าจะทำให้ปัญหา Supply Disruption ชัดเจนมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกที่เป็นเครื่องยนต์หลักในการฟื้นเศรษฐกิจครั้งนี้ 

นอกจากสินค้าส่งออกทั้ง 5 กลุ่มอุตสาหกรรมเเล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจอาเซียนได้รับผลกระทบจากการเผชิญกับยอดผู้ติดเชื้อโควิดใหม่เพิ่มสูงขึ้นมากขึ้น โดยเฉพาะ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ทำให้ประเทศเหล่านี้ต้องกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์ทั้งประเทศ ส่งผลต่อความต้องการสินค้าส่งออกจากไทยในช่วงครึ่งปีหลัง

การส่งออกใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม คิดเป็น 2 ใน 3 ของมูลค่าการส่งออกไปตลาดอาเซียน ซึ่งในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้มีมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาท

เเนะทำ ‘Bubble and Sealed’ ในโรงงาน เร่งฉีดวัคซีน สกัดความเสียหาย 

เมื่อพิจารณาประเทศคู่ค้าหลัก ทั้งสหรัฐฯ จีน และยุโรป ที่เศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจนต่อเนื่อง สะท้อนจากการส่งออกไปตลาดคู่ค้าหลักในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ที่ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ถึง 23.4% และมีแนวโน้มเติบโตแข็งแกร่งต่อเนื่อง

เหล่านี้ จะช่วยชดเชยผลกระทบจากการชะลอตัวลงของตลาดอาเซียนที่ในช่วงครึ่งปีแรกขยายตัวได้ 11.2% ส่งผลให้การส่งออกรวม 5 กลุ่มอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง

ประกอบกับ หากสามารถเร่งหยุดยั้งการระบาดของคลัสเตอร์โรงงานได้เร็ว จะหนุนให้ภาพรวมการส่งออกสินค้าไทยทั้งปี 2564 ขยายตัวได้ในระดับสูงที่ 9.4% เพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อน

เเต่หากไม่สามารถควบคุมคลัสเตอร์โรงงานได้ ทำให้กระบวนการผลิตหยุดไปอีก 2 สัปดาห์ จะเกิดความเสียหาย 1.9 แสนล้านบาท เป็นปัจจัยฉุดการส่งออกทั้งปีโตได้เพียง 6.8%

ttb analytics เเนะว่า เพื่อลดการระบาดและลุกลามของคลัสเตอร์โรงงาน รัฐต้องมีกระบวนการเร่งตรวจหาและคัดแยกผู้ติดเชื้อออกจากโรงงาน เเละการทำ Bubble and Sealed เพื่อควบคุมดูแลรักษาผู้ติดเชื้อในโรงงานไม่ให้แพร่กระจายออกไป

ต้องเร่งฉีดวัคซีนให้กับแรงงานภาคการผลิตที่มีจำนวนมาก ถือเป็นมาตรการเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรร่วมมือดำเนินการ เพื่อให้ภาคการผลิตและส่งออกของไทยยังรักษาอัตราการเติบโตได้ต่อเนื่อง ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัว

 

 

]]>
1344693