ทีเอ็มบี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 17 May 2021 09:53:07 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ก้าวต่อไปของทีเอ็มบีและธนชาต เมื่อรวมกันเป็น ‘ttb’กับเป้าหมายสร้างชีวิตการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทย https://positioningmag.com/1331937 Mon, 17 May 2021 11:30:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331937

เหลือเวลาอีกเเค่หนึ่งเดือนกว่าๆ ดีลประวัติศาสตร์เเห่งวงการเเบงก์เมืองไทยที่หลายคนจับตามอง อย่างการรวมกิจการของ 2 ธนาคารใหญ่ ‘ทีเอ็มบี’ และ ‘ธนชาต’ สู่การเป็น

‘ทีเอ็มบีธนชาต’ หรือ ttb กำลังจะเสร็จสมบูรณ์เเบบ 100% ครบสูตร ‘One Dream, One Team, One Goal’ ในต้นเดือนกรกฎาคมนี้

การเดินทางครั้งสำคัญของ ttb กับเป้าหมายใหญ่ที่หวังจะช่วยให้คนไทยมี ‘Financial Well-being’ ชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น จะมีทิศทางต่อไปอย่างไร เเผนธุรกิจเเละกลยุทธ์การเข้าถึงลูกค้าในทุกช่วงชีวิต ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เเละการเปลี่ยนเเปลงที่จะเกิดขึ้น ลูกค้าต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง วันนี้ Positioning จะพามาหาคำตอบกัน

ภารกิจใหญ่ของการรวมธนาคารครั้งนี้ ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562 เป็นการรวมจุดแข็งของสองธนาคารมาไว้ที่เดียว

เมื่อรวมกันแล้วจะทำให้ธนาคารใหม่ มีขนาดธุรกิจเพิ่มขึ้น ‘เท่าตัว’ โดยมีสินทรัพย์รวมกันเกือบ 2 ล้านล้านบาท ขึ้นเเท่นเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ อันดับ 6 ของไทย มีพนักงานรวมกันมากกว่า 15,000 คน

“เราไม่ต้องการเป็นเเค่ธนาคารใหม่ เเต่จะสร้างรากฐานองค์กรใหม่ให้มีความเป็นหนึ่งเดียว สู่เป้าหมายเดียวกันคือ การช่วยให้คนไทยมีสุขภาพการเงินที่เเข็งเเรงในระยะยาว นำเสนอโซลูชั่นต่างๆ เพื่อตอบโจทย์คนไทยในทุกช่วงชีวิต” ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) กล่าว

รีเเบรนด์ให้ทันสมัย การ ‘เชื่อมต่อ’ คือหัวใจสำคัญ

ไม่กี่วันที่ผ่านมาเราคงได้เห็น ‘ภาพลักษณ์ใหม่’ ของ ttb ออกมาให้ตื่นตาตื่นใจกันเเล้ว ทั้งช่องทางการสื่อสารทางออฟไลน์เเละออนไลน์

จุดเล็กๆ เเต่น่าสนใจคือ เป็นครั้งเเรกของสถาบันการเงินไทยที่เลือกใช้ ชื่อโลโก้ใหม่ เป็นอักษรพิมพ์เล็ก ประกอบด้วยอักษร t ตัวแรกคือ TMB (ทีเอ็มบี) t ตัวที่สองคือ Thanachart (ธนชาต) และอักษร b มาจากคำว่า Bank (ธนาคาร)

ความหมายของโลโก้ของ ttb สื่อให้เห็นความตั้งใจของธนาคารที่จะใกล้ชิดและเข้าใจผู้คน ซึ่งการเชื่อมประสานกันของตัวอักษรทั้งสามตัว ยังมีความหมายถึง ‘การเชื่อมต่อ’ ของสองธนาคารเพื่อส่งมอบประสบการณ์ทางการเงินที่จะช่วยสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทย


ส่วนโทนสีของเเบรนด์ จะมี ‘สีฟ้าเเละสีส้ม’ ซึ่งเป็นสีเดิมของทีเอ็มบีและธนชาต ที่สะท้อนถึงการทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว เป็นธนาคารที่ทุกคนเข้าใจได้ง่าย ไม่ใช่เรื่องยากหรือเป็นเรื่องที่ไกลตัว

พร้อมมีการเฉดสีใหม่ อย่างสีฟ้าเฉดใหม่ ‘Confident Blue’ ที่หมายถึงการเปี่ยมไปด้วยพลัง ความคิดสร้างสรรค์ เเละสีส้ม ‘Refreshing Orange’ หมายถึง ความสดใส มีชีวิตชีวา โดยสะท้อนให้เห็นถึง ความก้าวหน้า ความอบอุ่น และความกระตือรือร้นที่จะบริการลูกค้า

รวมไปถึงเพิ่มสีน้ำเงิน ‘Trusted Navy’ สื่อถึงความมั่นคง น่าเชื่อถือและเป็นมืออาชีพ สามารถเป็นที่พึ่งพาให้แก่ทุกคน เหมือนที่เป็นตลอดมา และเพิ่มสีขาว ‘Honest White’ คือ การเป็นตัวแทนของความโปร่งใส การเปิดเผยและซื่อสัตย์ ที่เป็นหลักการที่ธนาคารยึดมั่นอยู่เสมอ โดยจะทยอยเปลี่ยนโฉมสาขา และ ATM เป็นแบรนด์ ttb ทั่วประเทศไทย

กลยุทธ์สู่ Main Bank : ขยายฐานลูกค้า – รุกดิจิทัล – เสริม

สกิลพนักงาน

ในปีนี้ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) ได้ลำดับความสำคัญทางธุรกิจที่จะเร่งดำเนินการไว้ 3 เรื่อง ได้เเก่

1) ขยายฐานลูกค้า ที่เลือกใช้ ttb เป็น ’ธนาคารหลัก’ (Main Bank) ผ่านกลยุทธ์ Financial Well-being solution พัฒนาโซลูชั่นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในทุกช่วงชีวิต ผ่าน 4 เสาหลัก คือ

  • ฉลาดออมฉลาดใช้ (Mindful spending & start saving)
  • รอบรู้เรื่องกู้ยืม (Healthy borrowing)
  • ลงทุนเพื่ออนาคต (Investing for future)
  • มีความคุ้มครองที่อุ่นใจ (Sufficient protection)

2) สร้างศักยภาพด้าน ‘Digital-first operating model’ บนโมบายแบงก์กิ้งแพลตฟอร์ม ที่เป็นมิตรและรู้ใจตอบโจทย์ความต้องการที่แตกต่างกันในแต่ละคน แต่ละช่วงชีวิต มอบประสบการณ์ที่ดีกว่า สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของลูกค้า และมีความคล่องตัวที่สูงขึ้นในการขับเคลื่อนนวัตกรรม

3) สร้างศักยภาพบุคลากร (People development) ให้สอดรับกับยุคดิจิทัล

“ธนาคารไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะเทคโนโลยี แต่จะให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์และให้ความช่วยเหลือเป็นที่ปรึกษาทางการเงินผ่านพนักงานของธนาคาร โดยใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือที่มาช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้า”

โดยพนักงานทั้งหมด จะได้รับการพัฒนายกระดับทักษะเดิมให้ดีขึ้น (Up-skill) และสร้างทักษะใหม่ที่จำเป็นในการทำงาน (Re-skill) ที่เหมาะสม เพื่อสนับสนุนทิศทางของธนาคารที่จะสร้าง Humanized digital หรือ รูปแบบการให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลที่เป็นมิตรและรู้ใจ

สำหรับการ ออกแบบ ‘โซลูชันทางการเงิน’ นั้นจะเน้นให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละช่วงชีวิต โดยยกตัวอย่างโซลูชันที่เหมาะสมกับลูกค้า 4 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มลูกค้าที่เพิ่งเริ่มทำงาน

เป็นวัยที่ต้องการก่อร่างสร้างตัว เพื่อหา ‘ล้านแรก’ ในชีวิต ttb จะเสนอโซลูชันด้านฉลาดออม ฉลาดใช้ เพื่อให้ลูกค้าได้ใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง พร้อมรับสิทธิประโยชน์รอบด้าน รวมถึงประกันอุบัติเหตุฟรี ที่ช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายที่คาดไม่ถึงหากเกิดอุบัติเหตุผ่านบัญชี all free และ ออมอย่างมีวินัยเพื่อใช้ในยามฉุกเฉินผ่านบัญชี no fixed

กลุ่มลูกค้าที่เริ่มสร้างครอบครัว

วัยนี้จะเป็นเสาหลักของบ้าน ที่ต้องการชีวิตอิสระในวันข้างหน้า ธนาคารจะเสนอโซลูชันเกี่ยวกับสินเชื่อสำหรับลูกค้าที่ต้องการมีบ้าน มีรถ ที่ใหญ่ขึ้นสำหรับการสร้างครอบครัวที่ใหญ่ขึ้น พร้อมทั้งเป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้คนกลุ่มนี้มีระเบียบวินัยในการผ่อนชำระ พร้อมโซลูชันการรวบหนี้ด้วยทรัพย์สินที่มีอยู่ เพื่อให้ จัดการปลอดหนี้ได้เร็วที่สุด สามารถเริ่มต้นเก็บออม และลงทุนเพื่ออนาคตได้ต่อไป      

กลุ่มลูกค้าที่ประสบความสำเร็จจากหน้าที่การงาน

กลุ่มนี้ต้องการมีชีวิตที่มั่นคงและเกษียณอย่างไร้กังวล ธนาคารจึงจะเน้นการให้ความรู้ด้านการลงทุน จัดทัพตามความเสี่ยง ต่อยอดความมั่งคั่ง ผ่านผลิตภัณฑ์การลงทุนที่หลากหลาย และ ttb smart port พอร์ตการลงทุน ที่ตอบทุกโจทย์การลงทุนครบวงจร โดยมืออาชีพ

กลุ่มลูกค้าที่มีความมั่งคั่ง

วัยนี้กำลังจะเตรียมเข้าสู่วัยเกษียณ เเละอยากใช้ชีวิตได้ตามใจ ‘สุขภาพเป็นหนึ่ง ลูกหลานสบาย’ ธนาคารพร้อมส่งมอบโซลูชันด้านประกันชีวิตและการลงทุนที่มอบความอุ่นใจ ในการรักษาความมั่งคั่ง พร้อมดูแลสุขภาพ และวางแผนส่งต่อมรดกให้กับทายาท


ttb DRIVE ต้องเป็นให้ได้มากกว่า ‘สินเชื่อรถยนต์’

วิกฤตโควิด-19 สะเทือนทุกหย่อมหญ้า ในปีที่ผ่านมา ttb ให้ความช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่ม ทั้งรายย่อยและธุรกิจไปกว่า 750,000 ราย และในช่วงเวลานี้ ได้เตรียมมาตรการอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้

‘สินเชื่อรถยนต์’ ก็เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ตัวชูโรงของ ttb โดยธนาคารได้ช่วยเหลือลูกค้าและคู่ค้าผ่านโครงการ “ตั้งหลัก” ซึ่งช่วยลูกค้าผ่อนหนักเป็นเบาได้กว่า 600,000 ราย และมอบประกันคุ้มครองโควิด-19 ให้แก่บริษัทคู่ค้าทั้งรถยนต์ใหม่และรถยนต์ใช้แล้วกว่า 3,000 รายทั่วประเทศตลอดปีที่ผ่านมา

ส่วนความเคลื่อนไหวต่อไปในปีนี้ ธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ของธนาคาร จะนำเสนอออกมาภายใต้แบรนด์ ‘ttb DRIVE’ ด้วยความตั้งใจที่จะเป็น “มากกว่าสินเชื่อรถ… เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น”

โดย ttb DRIVE พร้อมช่วยลูกค้าเคลียร์ทุกอุปสรรคทางการเงิน รวมหนี้ ลดภาระ เพิ่มสภาพคล่องด้วย “รถแลกเงินเคลียร์หนี้” และมอบสิทธิพิเศษให้ลูกค้าที่รักษาวินัยทางการเงินเป็นอย่างดีผ่านโครงการ “จ่ายดีมีคืน” อีกทั้งยังช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงสินเชื่อได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ด้วยโปรแกรม auto-approve ผนวกกับ scoring model พร้อมเจ้าหน้าที่ ttb DRIVE agent ให้บริการครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

นอกจากนี้ได้เปิดตัว “DRIVE Connect Platform” ทำตลาดออนไลน์ผ่านทาง Facebook ให้กับกลุ่ม ดีลเลอร์รถมือสอง และยังมีระบบ “Cross-area Booking” สามารถรองรับการซื้อขายรถยนต์ใหม่และรถยนต์ใช้แล้วผ่านช่องทางออนไลน์ ลดข้อจำกัดด้านพื้นที่ให้แก่คู่ค้า

พร้อมยกระดับศักยภาพทีมงาน ttb DRIVE เพื่อการทำงานในยุคดิจิทัล ผ่าน DRIVE Academy  เพื่อสร้างบริการที่ดีให้กับลูกค้าและคู่ค้าทุกราย

หนุนเงินทุน เสริมดิจิทัลขับเคลื่อน SMEs – ธุรกิจใหญ่

การเติบโตของธุรกิจรายย่อยไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นหัวใจหลักของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ttb จึงวางเเผนออกสร้างโซลูชันการเงิน เพื่อชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นของลูกค้าธุรกิจ ดังต่อไปนี้

มอบแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมและเพียงพอ

เน้นการสนับสนุน SMEs ที่อยู่ในซัพพลายเชนของธุรกิจขนาดใหญ่ให้ได้รับวงเงินที่เพียงพอบนเงื่อนไขที่เหมาะสมผ่าน “สินเชื่อเพื่อเครือข่ายธุรกิจ ทีทีบี (ttb supply chain solutions)” และช่วยเสริมสภาพคล่องในภาวะวิกฤตด้วยโครงการช่วยเหลือลูกค้าเอสเอ็มอี (Special Loan) และมาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ (Asset warehousing) ที่สอดคล้องนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย

ช่วยบริหารธุรกิจ ด้วย ttb business one

มอบโซลูชันและบริการที่ช่วยยกระดับประสิทธิภาพการบริหารธุรกิจ ด้วย “ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจ ทีทีบี บิสซิเนสวัน (ttb business one)” ที่เป็นมากกว่าเครื่องมือการทำธุรกรรมออนไลน์

ช่วยให้ทำธุรกรรมได้ครบตั้งแต่เรื่องสินเชื่อ จนถึงธุรกรรมต่างประเทศ มีรายงานครบถ้วน เรียกดูง่าย และนำไปต่อยอดทำรายงานเชิงวิเคราะห์ได้ สามารถเชื่อมต่อกับระบบของพันธมิตรและลูกค้า เช่น ERP POS และอีกหนึ่งดิจิทัลโซลูชันที่ช่วยลดเรื่องการใช้เงินสดและเอกสารอย่างเต็มรูปแบบก็คือ “ระบบบริหารการเรียกเก็บเงิน ทีทีบี (ttb digital invoice management)”

“เป็นการนำโซลูชันของธนาคารมาเชื่อมต่อกับระบบการเรียกเก็บเงินของลูกค้าธุรกิจ ลดการใช้เงินสดและเอกสาร ลดเวลาดำเนินการ และค่าใช้จ่ายเรื่องคน”

มอบชีวิตทางการเงินที่ดีให้แก่พนักงานและคู่ค้า

มีบริการที่น่าสนใจอย่าง “การจ่ายเงินเดือนและสวัสดิการพนักงาน ทีทีบี เพย์โรลพลัส (ttb payroll plus)” รวมไปถึงบริการและผลิตภัณฑ์ด้านการบริหารความเสี่ยงและด้านประกัน อย่างเช่น “ประกันสินเชื่อธุรกิจ ทีทีบี วันไลฟ์ (ttb one life business insurance)” เป็นต้น


ttb ยุคใหม่…ลูกค้าต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง ?

สำหรับในช่วงเวลานี้ลูกค้าทีเอ็มบีเเละธนชาต สามารถใช้ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ได้ ‘เช่นเดิม’ และยังสามารถใช้ช่องทางของ ttb ได้อีกด้วย

ลูกค้าทีเอ็มบีเดิม สามารถใช้ผลิตภัณฑ์และบริการได้เหมือนเดิมภายใต้แบรนด์ใหม่ โดยธนาคารกำลังอยู่ระหว่างการทยอยเปลี่ยนช่องทางบริการจาก ทีเอ็มบี เป็น ttb

ลูกค้าธนชาตเดิม หลังการรวมระบบในเดือนก.ค.สำเร็จ ผลิตภัณฑ์และบริการเดิมจะมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด รวมไปถึง ‘สิทธิประโยชน์’ ที่เพิ่มขึ้น

โดยลูกค้าธนชาตจะได้รับจดหมายแจ้งรายละเอียด ซึ่งจะมี ‘QR Code’ ให้สแกนเข้าไปดูข้อมูลเฉพาะของแต่ละบุคคล อย่างเลขที่บัญชีเงินฝากและเลขที่สัญญาสินเชื่อ เพื่อไว้ใช้ทำธุรกรรมตั้งเเต่วันจันทร์ที่ 5 ก.ค. เป็นต้นไป

“จดหมายนี้จะทยอยส่งออกไปหาลูกค้าตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม เป็นต้นไป เพื่อให้ลูกค้าเตรียมตัวล่วงหน้า”

หากได้รับจดหมายเรียบร้อยเเล้ว ลูกค้าสามารถสเเกน ‘ดาวน์โหลดไฟล์ pdf’  เพื่อเก็บรายละเอียดผลิตภัณฑ์เเละบริการของตัวเองไว้ใช้อ้างอิงได้ หรือสามารถตรวจสอบข้อมูล หรือสิทธิประโยชน์ต่างๆ ได้ผ่านแอป touch ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ค. เป็นต้นไป

กรณีที่ผ่านไปซักพักเเต่ยังไม่ได้รับจดหมาย ลูกค้าธนชาตสามารถติดต่อไปยัง ttb contact center โทร.1428 หรือติดต่อที่สาขา ttb ได้ทั่วประเทศ

 “ธนาคารขอให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จะนำไปสู่การยกระดับประสบการณ์ทางการเงินที่ดียิ่งขึ้นอย่างแน่นอน”

การเดินทางของ 2 ธนาคารใหญ่ที่มีอายุยาวนานหลายทศวรรษ สู่การรวมพลังกันเป็น ‘หนึ่งเดียว’ ก้าวไปพร้อมๆ กับฐานลูกค้ามากกว่า 10 ล้านรายในครั้งนี้ จะสร้างปรากฎการณ์ใหม่ เข้ามาช่วยสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทยได้อย่างไรอีกบ้าง…ต้องติดตาม

]]>
1331937
เผยโฉมโลโก้ธนาคารใหม่ ‘ttb’ ทหารไทยธนชาต เปลี่ยนคอลเซ็นเตอร์เป็น 1428 https://positioningmag.com/1330936 Fri, 07 May 2021 06:35:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1330936
หลังธนาคารทหารไทย (TMB) และธนาคารธนชาต ประกาศควบรวมกิจการ เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ‘ทหารไทยธนชาต’ หรือ ‘ทีเอ็มบีธนชาต’ มาวันนี้ถึงเวลาเผยโฉมโลโก้ใหม่ เป็น ‘ttb’ ผ่านช่องทางทั้งโซเชียลมีเดีย สาขา ตู้เอทีเอ็ม แอปพลิเคชัน และสื่อการตลาดต่างๆ ทั่วประเทศ ตามกลยุทธ์การ ‘รีเเบรนด์ดิ้ง’ เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้ลูกค้า

 

สำหรับชื่อย่อคือ ‘ttb’ (ทีทีบี) นั้นสื่อความหมายถึงการรวมพลังของสองธนาคารเป็นหนึ่งเดียว โดยอักษร t สีน้ำเงินตัวแรกมาจาก TMB (ทหารไทย) และ t สีส้มตัวที่สองมาจาก Thanachart (ธนชาต) ส่วนอักษร b สีกรมท่ามาจากคำว่า Bank (ธนาคาร) โดยจะดำเนินการเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์จดทะเบียนจาก TMB เป็น TTB ต่อไป

ในช่องทางโซเชียลมีเดีย ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า ttbbankofficial ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม ยูทูบ ส่วนไลน์จะใช้ TTB Bank และเว็บไซต์ทางการใช้ชื่อว่า ttbbank.com

นอกจากนี้ ยังเปลี่ยนหมายเลขคอนแทกต์เซ็นเตอร์ (Contact Center) จากหมายเลข 1558 และ 1770 ให้เป็นหมายเลขเดียวคือ ‘1428’ ส่วนเลขทะเบียนนิติบุคคล เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และหมายเลขโทรศัพท์พื้นฐาน 0-2299-1111 และที่อยู่สำนักงานใหญ่นั้น ‘ไม่มีการเปลี่ยนแปลง’

โดยลูกค้า TMB เเละธนชาต สามารถใช้ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ได้เช่นเดิมภายใต้แบรนด์ใหม่ โดยเลขที่บัญชีและรหัสสาขายังคงเดิม ส่วนลูกค้าของธนาคารธนชาต จะแจ้งรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงล่วงหน้า รวมทั้งขั้นตอนที่แนะนำให้ลูกค้าปฏิบัติเพื่อความต่อเนื่องในการใช้บริการของทีเอ็มบีธนชาตต่อไป

คาดว่าทั้งสองธนาคารจะควบรวมกิจการ ‘เสร็จสมบูรณ์’ ได้ในเดือนกรกฎาคมนี้ เตรียมเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ในไทย เเละดำเนินงานร่วมกัน ตามโมเดล “ONE GOAL”

ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2563 ทีเอ็มบีธนชาต มีสินทรัพย์รวมกันราว 1.8 ล้านล้านบาท เงินให้สินเชื่อ 1.39 ล้านล้านบาท เงินฝาก 1.37 ล้านล้านบาท ฐานลูกค้ารวมกันประมาณ 10 ล้านราย

สำหรับการ ‘โอนย้ายพนักงาน’ กว่า 11,000 คน จากธนชาตไป ttb นั้น ได้มีการทยอยโอนย้ายมาต่อเนื่องเป็นระยะ โดยเมื่อพนักงานจากธนชาต มารวมกันกับพนักงานของ TMB ที่มีอยู่ราว 8,000 คน จะทำให้มีจำนวนพนักงานในธนาคารใหม่ทั้งสิ้นราว 19,000 คน

อ่านเพิ่มเติม :  ภารกิจ “TMB – ธนชาต” ย้ำควบรวมเสร็จในก.ค. 64 ตั้งเป้าปีนี้มีสาขาร่วม 100 แห่ง

]]>
1330936
“TMB” แชมป์ธนาคาร “เป็นธรรม-รับผิดชอบสังคม” สูงสุด “กรุงไทย” ก้าวกระโดดคว้าอันดับ 2 https://positioningmag.com/1315423 Wed, 20 Jan 2021 13:26:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1315423 Fair Finance Thailand ประกาศผลธนาคารที่เป็นธรรมและรับผิดชอบต่อสังคมสูงสุดปี 2563 แชมป์เก่า “TMB” ยังครองแชมป์ต่ออีกสมัย ด้านธนาคาร “กรุงไทย” ก้าวกระโดดขึ้นสู่อันดับ 2 ไฮไลต์การพัฒนาความรับผิดชอบสังคมปีนี้ มีตั้งแต่นโยบายต่อต้านการทุจริต ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ จนถึงการไม่เก็บค่าธรรมเนียมการเปิดบัญชีพื้นฐาน

Fair Finance Thailand จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 แล้วในประเทศไทย โดยการประเมินนี้เป็นเครือข่ายและใช้ดัชนีชี้วัดจาก Fair Finance International (FFI) ซึ่งริเริ่มขึ้นเมื่อปี 2552 ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ปัจจุบันมีทั้งหมด
11 ประเทศที่นำดัชนีนี้มาใช้ชี้วัดการทำงานที่รับผิดชอบสังคมของธนาคาร ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม เยอรมนี นอร์เวย์ สวีเดน บราซิล อินเดีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม

สำหรับ Fair Finance Thailand มีองค์กรที่มีส่วนร่วมในการประเมินทั้งหมด 5 แห่ง คือ ป่าสาละ, มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw), มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, มูลนิธิบูรณะนิเวศ และ International Rivers โดยการเปิดรายชื่ออันดับปีนี้นำโดย “สฤณี อาชวานันทกุล” หัวหน้าคณะวิจัย Fair Finance Thailand เป็นผู้รายงาน

การวัดผลความเป็นธรรมและรับผิดชอบ มีดัชนีชี้วัด 3 หมวด 13 หัวข้อหลัก ซึ่งจะแตกออกเป็นมากกว่า 200 หัวข้อย่อย หัวข้อหลักที่วัดผล เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, ผลกระทบต่อสุขภาพ (ซึ่งเป็นหัวข้อใหม่), สิทธิแรงงาน, ความเท่าเทียมทางเพศ, การคุ้มครองผู้บริโภค, ความโปร่งใสและความรับผิด เป็นต้น การวัดผลทั้งหมดจะมาจากการตรวจสอบนโยบายที่ประกาศเป็นสาธารณะเท่านั้น เช่น รายงานประจำปี ข้อมูลบนเว็บไซต์

ปี 2563 มีธนาคารที่ได้รับการประเมินทั้งหมด 12 แห่ง ไล่เรียงตามขนาดสินทรัพย์ ดังนี้ ธนาคารกรุงเทพ (BBL), ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB), ธนาคารกรุงไทย (KTB), ธนาคารกสิกรไทย (KBANK), ธนาคารออมสิน (GSB), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY), ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.), ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.), ธนาคารทีเอ็มบี (TMB), ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP), ธนาคารทิสโก้ (TISCO) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank)

ทั้งนี้ ธนาคารที่ออกจากรายชื่อการประเมินปีนี้คือธนาคารธนชาตเนื่องจากได้ควบรวมกับ TMB แล้ว และธนาคาร 4 แห่งที่เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐจะจัดอันดับแยกออกไป เนื่องจากภารกิจบางอย่างไม่สอดคล้องกับดัชนีชี้วัด ได้แก่ ธ.ออมสิน ธกส. ธอส. และ SME Bank

ผลสรุป อันดับธนาคารพาณิชย์ใน Fair Finance Thailand 2563 เป็นธรรม-รับผิดชอบสังคมสูงสุด ได้แก่

1) ทีเอ็มบี คะแนน 38.9% (เพิ่มขึ้น +72%)
2) กรุงไทย คะแนน 22.4% (เพิ่มขึ้น +43%)
3) กรุงเทพ คะแนน 21.8% (เพิ่มขึ้น +28%)
4) ไทยพาณิชย์ คะแนน 21.2% (เพิ่มขึ้น +4%)
5) กสิกรไทย คะแนน 20.6% (ลดลง -0.5%)
6) กรุงศรีอยุธยา คะแนน 16.9% (ลดลง -1.9%)
7) เกียรตินาคินภัทร คะแนน 16.1% (เพิ่มขึ้น +0.5%)
8) ทิสโก้ คะแนน 15.9% (ลดลง -0.9%)

(Photo : Fair Finance Thailand)

ผลสรุป อันดับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐใน Fair Finance Thailand 2563 เป็นธรรม-รับผิดชอบสังคมสูงสุด ได้แก่

1) ธกส. คะแนน 22.1%
2) ออมสิน คะแนน 15.4%
3) ธอส. คะแนน 11.0%
4) SME Bank คะแนน 9.0%

สฤณีกล่าวว่า ปี 2563 ธนาคารทีเอ็มบียังคงครองแชมป์ และพัฒนาขึ้นสูงมาก มีหลายดัชนีชี้วัดที่ทีเอ็มบีเป็นธนาคารเดียวในไทยที่มีนโยบาย ส่วนธนาคารกรุงไทยมีการพัฒนาที่สูงไม่แพ้กัน โดยปรับตัวขึ้นจากอันดับ 7 เมื่อปีก่อนมาเป็นอันดับ 2 ในปีนี้

“ภาพรวมค่าเฉลี่ยธนาคารพาณิชย์ของไทยอยู่ที่ 21.7% ซึ่งพัฒนาขึ้นไวมาก จากเมื่อสองปีก่อนค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 12% เท่านั้น เห็นได้ชัดว่าเกิดบรรยากาศการแข่งขันที่ดีในหมู่ธนาคารที่จะมีความรับผิดชอบสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม 5 อันดับแรก” สฤณีกล่าว

สำหรับหัวข้อที่ธนาคารไทยให้ความใส่ใจสูงสุด คือ “การคุ้มครองผู้บริโภค” ซึ่งทุกธนาคารจะมีนโยบายเกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้ ในทางกลับกัน หัวข้อที่ธนาคารไทยยังมีนโยบายน้อยคือ “สิทธิมนุษยชน” ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ทีเอ็มบีได้คะแนนสูง เพราะเป็นธนาคารที่มีนโยบายในด้านนี้มากกว่าธนาคารอื่นอย่างเห็นได้ชัด

 

ไฮไลต์ “นโยบายเพื่อสังคม” ที่โดดเด่นของธนาคารชั้นนำ

สฤณียังนำเสนอไฮไลต์ตัวอย่างนโยบายเพื่อสังคมเด่นๆ ของกลุ่มธนาคาร 5 อันดับแรกที่น่าสนใจ ดังนี้

1) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ – จัดรายการธุรกิจ “เหมืองถ่านหิน” หรือ “โรงไฟฟ้าถ่านหิน” ให้อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ไม่ให้การสนับสนุนทางการเงิน (exclusion list) –> ธนาคารที่มีนโยบาย : TMB

2) การต่อต้านการทุจริต – ประกาศไม่ทำกิจกรรมใดๆ กับล็อบบี้ยิสต์ –> ธนาคารที่มีนโยบาย : TMB, KTB, SCB

“ความเท่าเทียมทางเพศ” เป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับความเป็นธรรมและรับผิดชอบสังคม

3) ความเท่าเทียมทางเพศ – กำหนดเป้าหมายรักษาสัดส่วนผู้บริหาร “หญิง” ไม่น้อยกว่า 40% ของตำแหน่งผู้บริหารทั้งหมด –> ธนาคารที่มีนโยบาย : TMB

4) การขยายบริการทางการเงินมีบัญชีเงินฝากพื้นฐานที่ไม่เก็บค่าธรรมเนียมการเปิดบัญชี –> ธนาคารที่มีนโยบาย : KTB, KBANK

5) นโยบายค่าตอบแทน – การจ่ายค่าตอบแทนโบนัสกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานตั้งอยู่บนเกณฑ์อื่นนอกเหนือจากธุรกิจด้วย เช่น ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (เป็นนโยบายสำคัญที่ทำให้ผู้บริหาร/พนักงานนำกลยุทธ์ความยั่งยืนต่างๆ ไปใช้จริง) –> ธนาคารที่มีนโยบาย : TMB,KTB, SCB, KBANK

 

“แชมป์” TMB มีนโยบายจัดลิสต์ธุรกิจที่ “ไม่ปล่อยกู้”

สำหรับบริษัทที่ได้อันดับ 1 อีกครั้งในปีนี้ มีนโยบายที่น่าสนใจและแตกต่างจากธนาคารอื่น คือการจัดทำ “รายการธุรกิจที่ไม่ให้การสนับสนุนทางการเงิน” (exclusion list) ด้วย โดยรายการธุรกิจเหล่านี้ถูกแบนด้วยเหตุผลด้านการทำลายสิ่งแวดล้อมหรือเกี่ยวข้องกับประเด็นทางสังคม

ต่อประเด็นนี้ “นริศ อารักษ์สกุลวงศ์” หัวหน้ากลยุทธ์องค์กร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทีเอ็มบีจัดทำนโยบายนี้ โดยอ้างอิงกรอบการทำงานมาจาก ING ธนาคารที่เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในทีเอ็มบี แบ่งลิสต์ออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

“รายการธุรกิจที่ไม่สนับสนุนทางการเงิน”
1) การพนัน
2) ภาพอนาจาร
3) ธุรกิจที่เกี่ยวพันกับสวัสดิภาพสัตว์
4) อาวุธที่เป็นประเด็นในสังคม (เช่น โดรนโจมตีอัตโนมัติ)
5) พลังงาน
6) การประมง
7) ป่าไม้
8) พันธุวิศวกรรม
9) แร่ธาตุ
10) เหมืองถ่านหิน
11) พื้นที่หวงห้าม

“รายการธุรกิจที่จะพิจารณาอย่างเข้มงวด”
1) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
2) อาวุธ เครื่องมือป้องกันตัว
3) พลังงาน เคมีภัณฑ์ ทรัพยากรธรรมชาติ
4) แร่กัมมันตรังสี
5) ยาสูบ

“รายการธุรกิจที่ไม่ให้การสนับสนุนทางการเงิน” (exclusion list) ของทีเอ็มบี (Photo : TMB)

นริศกล่าวว่า ลิสต์เหล่านี้จัดทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ธุรกิจที่ธนาคารสนับสนุนด้วยการให้สินเชื่อจะตอบโจทย์ด้านความยั่งยืนในภาพใหญ่ที่ธนาคารวางแนวทางไว้ นอกจากกรอบคิดจาก ING แล้ว ในประเทศไทยเอง ทีเอ็มบีก็กำลังพยายามมองโจทย์ของประเทศด้วย เช่น ขณะนี้ทีเอ็มบีกำลังมุ่งเน้นหารือกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ “ไร่อ้อย” เพื่อหาความร่วมมือสนับสนุนให้ธุรกิจมีการเผาไร่อ้อยลดลง เพื่อร่วมแก้ปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการเผาไร่ทางการเกษตรเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุของ PM 2.5

การจัดอันดับตามดัชนีชี้วัดของ Fair Finance Thailand ทำให้เห็นว่า “ธนาคาร” สามารถมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ ทั้งการทำงานทางตรงภายในธนาคารเอง และในฐานะที่เป็นแหล่งทุนในการทำธุรกิจ

]]>
1315423
อัปเดตภารกิจ “ทีเอ็มบี – ธนชาต” ย้ำควบรวมเสร็จในก.ค. 64 ตั้งเป้าปีนี้มีสาขาร่วม 100 แห่ง https://positioningmag.com/1291881 Mon, 10 Aug 2020 09:31:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1291881 ภารกิจใหญ่ของทีเอ็มบีธนชาตที่กำลังจะก้าวสู่การเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ อันดับ 6 ในไทย หลังประกาศดีลควบรวมมูลค่า 1.4 แสนล้าน ตั้งเเต่ช่วงต้นปี 2019 ที่ผ่านมา เเละเริ่มดำเนินการร่วมกัน ตามโมเดล “ONE GOAL” มาเป็นเวลา 6 เดือนวันนี้เราจะมาอัปเดตความคืบหน้าของดีลนี้กัน

หลังผ่านช่วงวิกฤต COVID-19 ที่กระทบธุรกิจทุกภาคส่วน ล่าสุดธนาคารทหารไทย (TMB) และธนาคารธนชาต ยืนยันว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามเเผนเดิม ตามเป้าหมายที่จะรวมสองธนาคารเป็นหนึ่งเดียว ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนกรกฎาคม ปี 2564 

สำหรับการดำเนินงานช่วง 6 เดือนที่ผ่านมานั้น ความคืบหน้าล่าสุดของ ทีเอ็มบีธนชาต ในด้านการให้บริการลูกค้าได้เน้นไปที่การเชื่อมโยงการให้บริการในช่องทางบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น

  • ลูกค้าชำระบิลสินเชื่อรถยนต์ ประกันรถยนต์ สินเชื่อบ้าน สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต และบัตรกดเงินสด ของธนาคารธนชาต สามารถทำรายการดังกล่าวได้ผ่านโมบายล์แอปพลิเคชัน TOUCH และตู้ ATM ของทีเอ็มบี (ยกเว้นสินเชื่อบ้าน และประกันรถยนต์) ได้เรียบร้อยแล้ว และในส่วนของลูกค้าทีเอ็มบี สามารถใช้บริการกดเงินไม่ใช้บัตรผ่าน TOUCH เพื่อรับเงินสดจากเครื่อง ATM ของธนชาตได้เช่นกัน

  • ลูกค้าทั้งสองธนาคารสามารถทำรายการ ฝาก ถอน และโอน ได้ฟรี ไม่มีค่าธรรมเนียม ผ่าน ATM/ADM ทั้งของทีเอ็มบีและธนชาต กว่า 4,900 เครื่องทั่วประเทศ  เหมือนตู้ของธนาคารเดียวกัน
  • บริการสาขา ธนาคารได้เปิดตัว สาขาที่ให้บริการร่วม (Co-Location) ระหว่างทีเอ็มบี และธนชาต ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เเละสิ้นปี 2563 ตั้งเป้าหมายอยู่ที่ประมาณ 100 สาขา แบ่งเป็นในกรุงเทพฯ ราว 60 สาขา และต่างจังหวัดอีก 30 สาขา โดยพนักงานทีเอ็มบีสามารถแนะนำผลิตภัณฑ์ทั้งสินเชื่อรถยนต์ใหม่รถใช้แล้วและรถแลกเงินของธนชาตให้กับลูกค้าได้

ประพันธ์ อนุพงษ์องอาจ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทย หรือ ทีเอ็มบี กล่าวว่า การรวมกิจการของธนาคารทีเอ็มบีและธนาคารธนชาต ภายใต้ One Dream, One Team, One Goal เป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยคาดว่ากระบวนการรวมกิจการทั้งสองธนาคาร จะเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 

เมื่อภารกิจการรวมธนาคารของเราสำเร็จเรียบร้อยทุกด้าน ธนาคารใหม่ที่เกิดขึ้นจะกลายเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ขึ้น แตะระดับ 10 ล้านราย ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์อื่น ทั้งในระดับประเทศและระดับอาเซียนให้ดีขึ้น รวมทั้งสามารถสร้างสรรค์สินค้าและบริการด้านการเงินใหม่ๆ ให้ลูกค้าได้มีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น” 

สำหรับการ โอนย้ายพนักงาน กว่า 11,000 คนจากธนชาตไปธนาคารใหม่นั้น ทางทรัพยากรบุคคลกลางได้เริ่มดำเนินการสื่อสารและจะเริ่มดำเนินการโอนการจ้างพนักงาน มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และมีการทยอยโอนย้ายเป็นระยะ ตามเป้าหมายที่วางไว้ เเม้จะเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั้งนี้ หากมาพนักงานจากธนชาตมารวมกันกับพนักงานทีเอ็มบี ที่มีอยู่ราว 8,000 คน จะทำให้มีพนักงานในธนาคารใหม่ทั้งสิ้นราว 19,000 คน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2564 นี้เช่นกัน

อ่านต่อ : เปิดเเผนโอนย้ายพนักงานกว่า 11,000 คน ในการควบรวมทีเอ็มบีธนชาต

โดยผู้บริหารของธนาคารใหม่ได้ย้ายมาทำงานร่วมกันทั้งหมดตั้งแต่ต้นปี และตลอดครึ่งปีที่ผ่านมา มีการโอนย้ายพนักงานบางส่วนแล้ว เช่น กลุ่มผู้บริหารระดับสูง พนักงานระดับหัวหน้างาน และพนักงานส่วนปฏิบัติการ  

สำหรับทีเอ็มบี” มีจุดเด่นในการระดมเงินฝาก, Deposit Franchise และรูปแบบการให้บริการด้านการเงินที่แตกต่างจากธนาคารแบบดั้งเดิม (Traditional Bank) ส่วน “ธนชาต” เป็นผู้เชี่ยวชาญการให้บริการสินเชื่อรายย่อยโดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์ เป็นผู้นำอันดับ 1 ของตลาด โดยเมื่อกระบวนการรวมกิจการเสร็จสิ้น คาดว่าธนาคารใหม่นี้จะมีสินทรัพย์รวมเกือบ 2 ล้านล้านบาท 

ล่าสุด (25 ก.พ.2564) TMB แจ้งว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเห็นสมควรเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติการเปลี่ยนชื่อธนาคารเป็นธนาคาร ‘ทหารไทยธนชาต’ (TMBThanachart Bank) เป็นไปตามกลยุทธ์การ ‘รีเเบรนด์ดิ้ง’ ของธนาคารโดยธนาคารมีแผนจะเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์จาก TMB เป็น ‘TTB’ ต่อไป

 

]]>
1291881
อีสท์สปริงควบรวม บลจ.ธนชาต ขึ้นเป็น บลจ.ใหญ่อันดับ 4 ในตลาด ครองส่วนแบ่ง 12% https://positioningmag.com/1264273 Thu, 13 Feb 2020 09:00:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1264273 อีสท์สปริงควบรวม บลจ.ธนชาต ผ่านการเข้าถือหุ้น 50.1% เปลี่ยนชื่อเป็น “Thanachart Fund Eastspring” ทำให้อีสท์สปริงขึ้นเป็น บลจ.ขนาดใหญ่อันดับ 4 ของไทย ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 12% ระยะถัดไปเตรียมควบรวมบริษัทนี้เข้ากับ TMBAM Eastspring ด้าน “พรูเด็นเชียล” บริษัทแม่ ยืนยันให้ความสำคัญตลาดไทย ต้องการปักหลักระยะยาว

อีสท์สปริง อินเวสท์เมนท์ บริษัทจัดการการลงทุนภายใต้ กลุ่มบริษัทพรูเด็นเชียล แถลงความคืบหน้าการเข้าซื้อหุ้นในกิจการ บลจ.ธนชาต ตามแผนงานสำเร็จลุล่วงแล้ว โดยบริษัทเข้าซื้อหุ้นรวม 50.1% มูลค่ารวมประมาณ 4,208 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นจากธนาคารธนชาตจำกัด (มหาชน) 25.1% และจากธนาคารออมสิน 25.0% และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Thanachart Fund Eastspring

โดยก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนกันยายนปี 2561 อีสท์สปริง อินเวสท์เมนท์ ได้เข้าซื้อหุ้น 65% ใน บลจ.ทหารไทย และเปลี่ยนชื่อเป็น TMBAM Eastspring ทำให้เมื่อควบรวม บลจ.ธนชาตเข้ามาในครั้งนี้ จะทำให้อีสท์สปริง อินเวสท์เมนท์ เป็นบริษัทที่มีมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การบริหารจัดการสุทธิ (AUM) 6.68 แสนล้านบาท ซึ่งคิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 12% หรือใหญ่เป็นอันดับ 4 ของตลาด

“นิค นิแคนดรู” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พรูเด็นเชียล คอร์ปอเรชั่น เอเชีย กล่าวถึงการควบรวมเหล่านี้ว่า เป็นไปตามวิสัยทัศน์ที่ต้องการรวมความเข้มแข็งของ บลจ.ทั้ง 2 ฝั่งมาสร้างการเติบโตและการบริการใหม่ๆ ช่วยให้บริษัทขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียได้ดีขึ้น

โดยปัจจุบันอีสท์สปริง อินเวสท์เมนท์มีการลงทุนในทวีปเอเชียทั้งหมด 11 ประเทศ บริษัทยังกล่าวด้วยว่า ใน 7 ประเทศของเอเชียที่ลงทุนอยู่ ตนเป็นผู้นำในธุรกิจจัดการการลงทุนอยู่ขณะนี้

ด้าน “ปิติ ตัณฑเกษม” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี กล่าวว่า เป้าประสงค์ของธนาคารคือต้องการให้การจัดการลงทุนเป็นสิ่งที่คนไทยชนชั้นกลางเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และมีผลิตภัณฑ์หลากหลายขึ้น นั่นทำให้ธนาคารมีการเปิด open architecture และใช้เทคโนโลยี Smart Port ช่วยจัดพอร์ตลงทุน ส่วนการร่วมทุนกับอีสท์สปริงจะทำให้ธนาคารมีตัวเลือกการลงทุนทั่วโลกเพื่อนำมาใช้จัดพอร์ตกองทุน

“ธุรกิจนี้ ความสำคัญคือขนาด เพราะต้นทุนต่อหน่วยจะถูกลง และเราต้องการให้คนไทยเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้ง่ายและหลากหลาย” ปิติกล่าว ถึงเหตุผลของการควบรวมกับอีสท์สปริง “ปกติกฎหมายไทยเปิดกว้างให้คนไทยไปลงทุนต่างประเทศได้ แต่คนไทยทั่วไปที่ไม่ได้มีเงินล้านจะนำเงินออกไปลงทุนได้อย่างไร? เราจึงมองว่าความร่วมมือนี้จะเป็นประโยชน์ให้คนไทยที่มีเงินหลักแสนหรือหลักหมื่นได้โอกาสลงทุนมากขึ้น ในภาวะที่ดอกเบี้ยต่ำเช่นนี้”

“ปิติ ตัณฑเกษม” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี

สำหรับการควบรวม Thanachart Fund Eastspring กับ TMBAM Eastspring เป็นบริษัทเดียวนั้น จะเกิดขึ้นในระยะต่อไปตามแผนที่วางไว้แล้ว แต่ขณะนี้ทั้งสองบริษัทจะทำงานร่วมกันในรูปแบบพันธมิตร

โดยบริษัทมีการเตรียมการแล้วผ่านการจัดตั้งทีมงานดูแลการควบรวมกิจการ 10 คน ตั้งกลุ่มผู้บริหารอาวุโสร่วมทั้งสองบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของสองบริษัทเป็นบุคคลเดียวกัน เพื่อให้การควบรวมทุน คน สำนักงาน เป็นไปโดยเรียบร้อย ไม่กระทบต่อลูกค้า

ด้านความกังวลถึงสถานการณ์ตลาดที่ไม่เอื้อต่อการลงทุนในประเทศไทยรวมถึงภูมิภาคเอเชียระยะนี้ ทั้งประเด็นอัตราดอกเบี้ยต่ำและไวรัสโคโรนามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ จะทำให้พรูเด็นเชียลชะลอการลงทุนออกไปหรือไม่ พรูเด็นเชียลยืนยันว่า แผนการลงทุนใน Thanachart Fund Eastspring กับ TMBAM Eastspring ถือเป็นการลงทุน “ขนาดใหญ่” ของบริษัทแม่ และบริษัทมีความตั้งใจอย่างยิ่งในการทำงานและต้องการปักหลักระยะยาว

“พรูเด็นเชียลเราเริ่มการทำงานจากประกันชีวิตและประกันสุขภาพ การอุบัติของไวรัส COVID-19 ยิ่งทำให้คนตระหนักถึงชีวิตและสุขภาพ การปกป้องตนเอง และการลงทุนมากขึ้นด้วยซ้ำ ดังนั้นเราไม่คิดจะชะลอการลงทุนในภูมิภาค แต่จะยิ่งเสริมความแข็งแกร่งให้มากขึ้นด้วย” นิคกล่าวย้ำ

]]>
1264273
เปิดเเผนโอนย้ายพนักงานกว่า 11,000 คน ในการควบรวม “ทีเอ็มบี – ธนชาต” https://positioningmag.com/1262244 Tue, 28 Jan 2020 13:32:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1262244 เปิดวิสัยทัศน์ “ทีเอ็มบี-ธนชาต” ยกโมเดล “ONE GOAL” เพิ่มฐานลูกค้าเป็น 10 ล้านราย ควบสาขาทับซ้อน ทยอยโอนย้ายพนักงานกว่า 1.1 หมื่นคน ก่อนเดดไลน์กระบวนการควบรวมเบ็ดเสร็จไม่เกิน 1 ก.ค. 2564 รอตั้งชื่อเเบงก์ใหม่ภายใน 18 เดือนจากนี้ 

เดินหน้าผนึกองค์กรต่อเนื่อง หลัง “ทีเอ็มบี-ธนชาต” ประกาศดีลควบรวม 2 ธนาคารใหญ่ของไทยที่มีมูลค่า 1.4 แสนล้าน ตั้งเเต่ช่วงต้นปี 2019 ที่ผ่านมา

สำหรับการโอนย้ายพนักงานกว่า 11,000 คนจากธนชาตไปธนาคารใหม่นั้น ทางทรัพยากรบุคคลกลางได้เริ่มดำเนินการสื่อสารและจะเริ่มดำเนินการโอนการจ้างพนักงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นไป และจะมีการทยอยโอนย้ายเป็นระยะ

โดยจะเริ่มที่กลุ่มผู้บริหารระดับสูง (C-Suite Level) ก่อน จากนั้นจะเป็นพนักงานระดับหัวหน้างาน (Top Management Level) ซึ่งทั้งสองธนาคารได้ร่วมกิจกรรม Team Building กันตั้งแต่ปีที่ผ่านมา

ปัจจุบันได้โอนย้ายระดับผู้บริหารสูงสุดเรียบร้อยแล้ว โดย 3 เดือนหลังจากนี้จะเป็นการทยอยโอนผู้บริหารระดับกลางลงมา ซึ่งการโอนย้ายพนักงานจะดำเนินการเป็นระยะ เพื่อมารวมกันกับพนักงานทีเอ็มบีที่มีอยู่ราว 8,000 คน ซึ่งจะทำให้มีพนักงานทั้งสิ้นประมาณ 19,000 คน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน ก.ค. 2564

ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทีเอ็มบี เปิดเผยว่า การดำเนินการจับมือทางธุรกิจรวมกิจการของทั้งสองธนาคารมีความคืบหน้าไปมาก ในปีนี้ก็จะเดินหน้ากลยุทธ์ ONE DREAM, ONE TEAM, ONE GOAL เพื่อลูกค้าของทั้งสองธนาคาร เป้าหมายจึงไม่ใช่ “หนึ่งบวกหนึ่งเท่ากับสอง แต่ผลลัพธ์ต้องเท่ากับสาม” บริหารและพนักงานทุกคนจะต้องเรียนรู้ผลิตภัณฑ์ซึ่งกันและกัน

“พนักงานทุกคนจะต้องได้รับสวัสดิการเท่าเทียม ซึ่งจะให้สวัสดิการตามอายุงาน ไม่ใช่ตำแหน่ง รวมถึงสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่สมทบให้มากกว่าระบบ”

ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทีเอ็มบี

วิจิตรา ธรรมโพธิทอง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านทรัพยากรบุคคล ทีเอ็มบี และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการทรัพยากรบุคคลกลาง ธนาคารธนชาต กล่าวว่า ทางธนาคารได้ให้เงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) ในอัตราที่สูงกว่าตลาดเพื่อให้พนักงานสามารถเก็บออมได้เพียงพอไว้ใช้ยามเกษียณ

ส่วนสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลนั้น ธนาคารจัดแผนตรวจสุขภาพโดยคำนึงถึงวัยและอายุของแต่ละคนเป็นหลัก เพราะเชื่อว่าความจำเป็นของการตรวจขึ้นอยู่กับอายุร่างกาย ไม่ใช่ตำแหน่งหรืออายุงาน โดยยังคงเปิดโอกาสให้พนักงานได้เลือกแผนสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลที่เหมาะสมกับตนเอง นอกจากนี้ยังมีสวัสดิการเงินกู้สำหรับพนักงานที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การกู้ยืมของธนาคารด้วย

เพิ่มฐานลูกค้าเป็น 10 ล้านราย

อนุวัติร์ เหลืองทวีกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้ารายย่อย กล่าวว่า การรวมสองธนาคารจะทำให้จำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านราย โดยสิ่งสำคัญที่ธนาคารต้องทำคือการนำข้อมูลที่มีอยู่มาใช้เป็นอาวุธสำคัญในการนำเสนอโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ลูกค้าในเวลาที่เหมาะสม

“ในบรรดาช่องทางบริการทั้งหลาย พนักงานสาขาทั้งหมดคือหน้าบ้านและถือเป็นด่านแรกที่จะพบกับลูกค้า จึงจำเป็นที่จะต้องมีทักษะในการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินและมีคุณภาพที่สุด โดยเราจะมีการอบรมอย่างเข้มข้นและโค้ชชิ่งอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างให้พนักงานสาขากลายเป็นที่ปรึกษาที่มีคุณภาพ”

สำหรับ “ทีเอ็มบี” มีจุดเด่นในการระดมเงินฝาก, Deposit Franchise และรูปแบบการให้บริการด้านการเงินที่แตกต่างจากธนาคารแบบดั้งเดิม (Traditional Bank) ส่วน “ธนชาต” เป็นผู้เชี่ยวชาญการให้บริการสินเชื่อรายย่อยโดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์ เป็นผู้นำอันดับ 1 ของตลาด

อ่านเพิ่มเติม : ผ่าดีล ควบรวม “TMB” – “ธนชาต” มูลค่า 1.4 แสนล้าน อาจต้องลดสาขา แต่ไม่ลดคน

เปิด Co-Location ควบสาขาทับซ้อน 

ด้านประพันธ์ อนุพงษ์องอาจ ผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า เป้าหมายหลักของธนาคารในตอนนี้คือ การรวมเป็นหนึ่งเดียวภายในกรกฎาคม 2564 โดยคำนึงถึงประสบการณ์ของลูกค้าที่ได้รับบริการเป็นหลัก ว่าต้องไม่ได้รับผลกระทบใดๆ

โดยธนาคารมีแผนที่จะเริ่มทยอยนำเสนอผลิตภัณฑ์ของแต่ละธนาคารให้ลูกค้าของอีกธนาคารได้รู้จักและทดลองใช้ และกลางเดือนกุมภาพันธ์นี้ จะเริ่มเปิดให้บริการ Co-Location/ Co-Brand Branch ที่เป็นสาขาร่วมระหว่างสองธนาคาร เเละเป็นสาขาที่อยู่ในพื้นที่ใกล้กัน โดยในปีแรกจะเริ่มทำ 90-100 แห่ง จากจำนวนสาขาที่มีอยู่ปัจจุบันจำนวน 900 แห่ง ทำให้จะเหลือ 800 แห่ง ซึ่งยืนยันว่าจะไม่กระทบลูกค้าและพนักงาน

ขณะที่ในเดือนมีนาคม ลูกค้าทั้งสองธนาคารจะได้ใช้บริการ ATM/ ADM จำนวนกว่า 4,700 เครื่อง ฟรีค่าธรรมเนียมฝาก ถอน โอน ลูกค้าทีเอ็มบี ทัช สามารถทำรายการกดเงินไม่ใช้บัตรจากเครื่องของธนชาตได้ และบิลสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ บัตรเครดิตของธนชาต ก็สามารถชำระได้ที่เครื่องของทีเอ็มบี

ทั้งนี้ เมื่อกระบวนการรวมกิจการเสร็จสิ้น ธนาคารใหม่นี้จะมีสินทรัพย์รวมเกือบ ล้านล้านบาท นับเป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ ในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย 

 

]]>
1262244