ธนาคารกรุงเทพ BBL – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 03 Nov 2021 11:05:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เเบงก์กรุงเทพ ลุยกลยุทธ์ “ทำบุญ” กระตุ้นรูดบัตร จ่อปรับฐานรายได้กู้บัตรเครดิตเป็น 2.5-3 หมื่นบาท https://positioningmag.com/1307341 Tue, 24 Nov 2020 10:43:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307341 โรคระบาดทำเศรษฐกิจซบเซา คนระวังใช้จ่าย ประหยัดมากขึ้น รูดบัตรเครดิตน้อยลงเเบงก์กรุงเทพขยับเจาะลูกค้าจ่ายตามไลฟ์สไตล์ เน้นดีลซูเปอร์มาร์เก็ตสินค้าในชีวิตประจำวัน ลุยต่อกลยุทธ์กระตุ้นรูดบัตรได้ร่วมทำบุญจ่อปรับเพิ่มรายได้ขั้นต่ำสมัครบัตรเครดิตเป็น 25,000-30,000 บาทต่อเดือน ห่วงกลุ่มหนี้ครัวเรือนสูง 

โชค ณ ระนอง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการสายบัตรเครดิต ธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้ ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก เพราะภาคการท่องเที่ยวยังไม่กลับมา เเละคาดว่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 12 เดือนจึงจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติซึ่งต้องจับตาดูการพัฒนาวัคซีนด้วย

การที่เศรษฐกิจซบเซานั้น ส่งผลกระทบต่อธุรกิจบัตรเครดิตเเละการจับจ่ายใช้สอยของผู้ถือบัตรของธนาคารโดยตรง

ล่าสุด ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตกรุงเทพ ลดลง 11-12% เมื่อเทียบจากปีก่อนดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงล็อกดาวน์ ในเดือนเม..-.. ที่ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรลดลงไปต่ำสุดที่ 16-17% เนื่องจากการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวหายไป

สำหรับเป้าหมายบัตรเครดิตใหม่ของปีนี้ ผู้บริหารเเบงก์กรุงเทพ ยอมรับว่า ไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ที่ 2.8 แสนบัตร เพราะปัจจุบันทำได้เพียง 1.8 แสนบัตรเท่านั้น หลักๆ มาผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 และคาดว่าสิ้นปีนี้จะทำได้ 2 แสนบัตร ทั้งนี้ ธนาคารกรุงเทพมีฐานลูกค้าบัตรเครดิตทั้งหมดราว 2.5 ล้านราย

ปีหน้าถ้าได้ยอดบัตรใหม่ 2 แสนบัตร เท่ากับปีนี้ก็เก่งแล้ว ส่วนยอดใช้จ่ายมองว่าจะทรงตัวจากปีนี้

โชค ณ ระนอง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการสายบัตรเครดิต ธนาคารกรุงเทพ

ขยับหาลูกค้า ซื้อของอุปโภค-บริโภค

เมื่อผู้คนต้องประหยัดเเละระมัดระวังการใช้เงินมากขึ้น ทำให้การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตลดน้อยลงไปด้วย ประกอบกับการใช้จ่ายเพื่อท่องเที่ยวต่างประเทศที่เคยเป็นหมวดที่มีการใช้จ่ายสูงหายไป

ปัจจัยเหล่านี้ ทำให้เเบงก์กรุงเทพต้องขยับหันมามุ่งไปส่งเสริมการใช้จ่ายเน้นด้านอุปโภคบริโภครูดบัตรเพื่อซื้อสินค้าเเละการเดินทางในชีวิตประจำวัน

ธนาคารกรุงเทพ จะทำโปรโมชันกับกลุ่มซูเปอร์มาร์เก็ต เติมน้ำมัน การรักษาพยาบาล เเละการท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มมากขึ้น

เรียกได้ว่า เป็นไปตามเทรนด์ของผู้ให้บริการบัตรเครดิตหลายราย ที่เริ่มหันมาเปิดบัตรใหม่ตามไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคมากขึ้น อย่าง บัตรเครดิตช้อปปิ้งออนไลน์ บัตรเครดิตเพื่อตรวจสุขภาพ ฯลฯ

ผู้บริหารเเบงก์กรุงเทพ มองว่า เป็นโอกาสที่ดีในการจะเข้าถึงลูกค้าใหม่เเละตอบโจทย์ลูกค้าเก่ามากขึ้น เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ใช้จ่ายเฉพาะส่วนตามจุดประสงค์มากขึ้น ไม่รูดบัตรเกินเพื่อเผื่อใช้ เเต่คิดว่าจะใช้อย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งยังมีอีกหลายเซกชั่นการใช้ชีวิตที่ธุรกิจบัตรเครดิตจะขยายไปหาลูกค้าได้อีก

“ทำบุญ” กระตุ้นรูดบัตร 

อีกหนึ่งบัตรเครดิตของธนาคารกรุงเทพที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในปัจจุบัน ทั้งเรื่องสุขภาพเเละการชอบทำบุญของคนไทย ก็คือการ Co- Brand กับโรงพยาบาลศิริราช ที่ทำมาเเล้ว 5 ปี เเละเพิ่งมีการอัพเกรดสิทธิประโยชน์ต่อไปอีก 5 ปี เนื่องจากมีกระเเสตอบรับที่ดี สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 

สำหรับ “บัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท ทีพีเอ็น แรบบิท ศิริราชจะให้ฟรีประกันอุบัติเหตุ พร้อมค่ารักษาพยาบาล แตะจ่ายได้เหมือนบัตรแรบบิท ขณะที่บัตรเครดิตวีซ่า แพลทินัม ศิริราชให้ผ่อนจ่ายค่ารักษาค่ารักษา 0% นาน 3 เดือนพร้อมส่วนลดคะแนนสะสมเเละตรวจสุขภาพฟรี

โดยทุกยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรดังกล่าว ธนาคารกรุงเทพจะสมทบให้ศิริราช 0.2% ของยอดใช้จ่าย

ปัจจุบัน บัตรร่วมศิริราช มีผู้ถือบัตรรวมกว่า 1.4 ล้านราย มียอดบริจาคของลูกค้าและเงินสมทบธนาคารแก่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล รวมกว่า 275 ล้านบาทในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา

การที่เราทำให้ผู้ถือบัตรสามารถเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับในคราวเดียวกัน ทุกครั้งที่มีการใช้จ่ายผ่านบัตร เป็นการสร้างความแตกต่างจากบัตรอื่น ๆ ในตลาด ตอบโจทย์ผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับการได้มีส่วนช่วยดูแลสังคม หรือการทำดีในแบบที่สามารถจับต้องได้จริง รู้สึกดีเมื่อรู้ว่าทุกการใช้จ่ายของลูกค้า ได้ทำประโยชน์ให้ผู้อื่นด้วย

ผู้บริหารเเบงก์กรุงเทพ บอกอีกว่า บัตรเครดิตที่เเบ่งยอดการใช้จ่ายไปทำบุญเเละช่วยเหลือสังคมนั้น กระตุ้นผู้บริโภคให้ตัดสินใจเลือกหยิบบัตรมาใช้จ่ายง่ายขึ้น เป็นอีกหนึ่งเเนวทางในการเพิ่มยอดใช้จ่ายผ่านบัตรได้ดี โดยเฉพาะในยามเศรษฐกิจไม่เเน่นอน

โชค ณ ระนอง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการสายบัตรเครดิต ธนาคารกรุงเทพ (ซ้าย) ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล (ขวา)

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ธนาคารกรุงเทพมีบัตรเครดิตที่ทำโปรโมชันร่วมทำบุญกับหลายโรงพยาบาล เเต่เป็นไปในลักษณะการเเลกพอยท์ ไม่ได้เป็น Co- Brand เหมือนกับศิริราช โดยคาดหวังว่าจะมีลูกค้าผู้ถือบัตรร่วมศิริราชทั้ง 2 แบบเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านราย ภายในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า

ต่อไปก็อาจจะมีการพิจารณาร่วมกับโรงพยาบาลอื่นๆ เเต่ยังไม่ถึงขั้นที่จะออกบัตร Co- Brand ในช่วงเร็วๆ นี้

ปรับรายได้ขั้นต่ำของลูกค้าเป็น 2.5-3 หมื่นต่อเดือน

ส่วนภาพรวมแผนธุรกิจปี 2564 ในเบื้องต้นธนาคารกรุงเทพ จะปรับฐานคุณสมบัติของลูกค้าใหม่เป็นผู้มีรายได้ 25,000 -30,000 บาทต่อเดือน จากเดิมที่มีการพิจารณาปล่อยกู้ บัตรเครดิตอยู่ที่รายได้ราว 20,000 บาทต่อเดือน เพื่อหวังชะลอหนี้ครัวเรือนที่ปัจจุบันคนกลุ่มนี้อยู่ระดับสูง และไม่อยากส่งเสริมให้คนใช้จ่ายเกินตัว

เราจะเน้นไปที่การกระตุ้นการใช้จ่ายบัตรเครดิตกับลูกค้าเดิมเป็นหลัก

จากสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อลูกค้าของธนาคาร โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับภาคท่องเที่ยว โรงแรม สายการบิน โดยล่าสุด มีลูกค้าที่เข้าโครงการพักชำระหนี้ราว 35,000 ราย ส่วนใหญ่สามารถกลับมาชำระหนี้ได้ มีลูกค้าราว 20-25% ที่ยังต้องการความช่วยเหลือต่อ

โดยธนาคารกรุงเทพ มีมาตรการให้ความช่วยเหลือต่างๆ เช่น ด้วยการพักชำระหนี้ 3 เดือน , คิดดอกเบี้ย 12% จาก 16% และแปลงหนี้บัตรเครดิตเป็นสินเชื่อที่มีระยะเวลา ซึ่งจะมีการประเมินทุกๆ 3 เดือนหากลูกค้ายังไม่สามารถกลับมาชำระได้ก็จะมีการช่วยเหลือต่อไป

ส่วนแนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ภาพรวมมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นตามสภาพที่เป็นไป โดยขณะนี้อยู่ที่ 2.6% จากสิ้นปี 2019 อยู่ที่ 2.15% 

 

]]>
1307341
ใครเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ “6 บิ๊กธนาคาร” ในไทย? https://positioningmag.com/1297995 Mon, 21 Sep 2020 06:18:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297995 ธนาคารมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยเเละเป็นธุรกิจที่อยู่ใกล้ชิดในชีวิตประจำวันของประชาชนอย่างมาก เมื่อทุกคนต้องใช้เงินทั้งฝากถอนโอนกู้ลงทุนเเละอีกมากมาย

ผลกระทบของ COVID-19 ตั้งเเต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา ทำให้ราคาหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์อยู่ในทิศทางขาลงโดยภาพรวมยังมีแรงกดดัน จากความกังวลต่อหนี้ NPL ที่อาจสูงขึ้นอีกในอนาคต บวกกับความระอุของการเมืองที่ปลุกกระเเสการเเบน การถอนเงินเเละปิดบัญชีในบางเเบงก์ขึ้นมา ยิ่งทำให้ถูกแนะนำว่าเป็นกลุ่มหุ้นที่ควรเลี่ยงการลงทุน

จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีธนาคารพาณิชย์อยู่ทั้งหมด 30 แห่ง เเต่บิ๊กเเบงก์ที่มีมูลค่ากิจการเเตะ 1 เเสนล้านบาทนั้นมีอยู่ 6 เเห่งด้วยกัน เรามาดูกันว่า ธนาคารใหญ่ๆ ในประเทศไทย…มีใครเป็นเจ้าของกันบ้าง

ธนาคารไทยพาณิชย์ SCB

เริ่มจากธนาคารที่เก่าเเก่ที่สุดในไทย ที่มีอายุกว่า 115 ปีอย่างธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด “มากที่สุด” ในวงการธนาคารไทยที่ 228,353.45 ล้านบาท อัตราเงินปันผลตอบแทนล่าสุด 9.29% โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่ ดังนี้

  1. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวนหุ้น 793,832,359 คิดเป็น 23.38%
  2. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 392,649,100 คิดเป็น 11.56%
  3. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 392,649,100 คิดเป็น 11.56%
  4. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวนหุ้น 346,262,309 คิดเป็น 10.20%
  5. สำนักงานประกันสังคม จำนวนหุ้น 109,198,100 คิดเป็น 3.22%

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา BAY

ตามมาด้วย เเบงก์สีเหลืองอย่างธนาคารกรุงศรีอยุธยา ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ที่ 144,908.51 ล้านบาท อัตราเงินปันผลตอบแทนล่าสุด 4.31% โดยในส่วนของ BAY ที่มีเจ้าของคือ MUFG Bank ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ถือหุ้นกว่า 76.88% ถือว่าเป็นทุนต่างชาติที่ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วนที่มากกว่าธนาคารอื่นมาก ซึ่งทำให้ BAY มีสัดส่วนผู้ถือหุ้น “รายย่อย” น้อยกว่าธนาคารใหญ่อื่นๆ มากด้วย

  1. MUFG BANK, LTD. จำนวนหุ้น 5,655,332,146 คิดเป็น 76.88%
  2. บริษัท สตรองโฮลด์ แอสเซ็ทส์ จำกัด จำนวนหุ้น 166,536,980 คิดเป็น 2.26%
  3. บริษัท ทุนมหาโชค จำกัด จำนวนหุ้น 166,478,940 คิดเป็น 2.26%
  4. บริษัท จี แอล แอสเซทส์ จำกัด จำนวนหุ้น 166,414,640 คิดเป็น 2.26%
  5. บริษัท บีบีทีวี แซทเทลวิชั่น จำกัด จำนวนหุ้น 166,151,114 คิดเป็น 2.26%

อีกหนึ่งเเบงก์ใหญ่อย่างธนาคารกรุงเทพ ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 192,793.13 ล้านบาท อัตราเงินปันผลตอบแทน 6.93% มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ค่อนข้างกระจายตัว ทั้งบริษัทไทย บริษัทต่างชาติ กองทุนและบริษัทนอมินี โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่ ดังนี้
  1. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวนหุ้น 448,535,678 คิดเป็น 23.50%
  2. SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED จำนวนหุ้น 98,649,920 คิดเป็น 5.17%
  3. สำนักงานประกันสังคม จำนวนหุ้น 85,852,300 คิดเป็น 4.50%
  4. UOB KAY HIAN (HONG KONG) LIMITED – Client Account จำนวนหุ้น 39,837,220 คิดเป็น 2.09%
  5. STATE STREET EUROPE LIMITED จำนวนหุ้น 36,715,127 คิดเป็น 1.92%
Photo : Shutterstock
ฝั่งธนาคารทหารไทย มีมูลค่ากิจการตามราคาตลาด 87,732.57 ล้านบาท (ปรับลดจากระดับเเสนล้านบาทในช่วงต้นปีนี้) เงินปันผลล่าสุดเท่ากับ 3.54% ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดย ธนาคาร ING จากเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้ ดีลใหญ่วงการธนาคารที่ TMB เข้าควบรวมกับธนาคารธนชาต ทำให้บริษัททุนธนชาตหรือ TCAP เข้ามาถือหุ้นด้วยในสัดส่วน 20.12% โดยตอนนี้ TMB ยังมีผู้ถือหุ้นใหญ่ ดังนี้
  1. ING BANK N.V. จำนวนหุ้น 22,190,033,791 คิดเป็น 23.03%
  2. บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 19,389,891,967 คิดเป็น 20.12%
  3. กระทรวงการคลัง จำนวนหุ้น 11,364,282,005 คิดเป็น 11.79%
  4. THE BANK OF NOVA SCOTIA จำนวนหุ้น 5,023,611,111 คิดเป็น 5.21%
  5. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 4,926,405,658 คิดเป็น 5.11%
  6. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 4,926,405,657 คิดเป็น 5.11%

ธนาคารกรุงไทย KTB

กรุงไทย มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ที่ 132,772.58 ล้านบาท อัตราเงินปันผลตอบแทน 7.93% โดยเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ เพราะมีผู้ถือหุ้นใหญ่คือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐ ทำให้มีลูกค้าเป็นข้าราชการจำนวนมาก มีโครงการรัฐต่างๆ ผ่านธนาคารนี้ อย่างเช่น กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็นต้น

  1. กองทุน เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวนหุ้น 7,696,248,833 คิดเป็น 55.07%
  2. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวนหุ้น 834,921,543 คิดเป็น 5.97%
  3. STATE STREET EUROPE LIMITED จำนวนหุ้น 362,902,099 คิดเป็น 2.60%
  4. สหกรณ์ออมทรัพย์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำกัด จำนวนหุ้น 326,090,300 คิดเป็น 2.33%
  5. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 305,775,658 คิดเป็น 2.19%
  6. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 305,775,657 คิดเป็น 2.19% 
Photo : Shutterstock

ธนาคารกสิกรไทย KBANK

เเบงก์ใหญ่สีเขียวที่มีอายุกว่า 75 ปีอย่าง KBANK มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 192,059.13 ล้านบาท อัตราเงินปันผลตอบแทนล่าสุด 6.24% มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่กระจายตัวทั้งบริษัทไทย กองทุน บริษัทต่างชาติเเละบริษัทนอมินี

  1. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวนหุ้น 443,939,592 คิดเป็น 18.55%
  2. STATE STREET EUROPE LIMITED จำนวนหุ้น 203,656,972 คิดเป็น 8.51%
  3. SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED จำนวนหุ้น 142,055,420 คิดเป็น 5.94%
  4. สำนักงานประกันสังคม จำนวนหุ้น 85,905,100 คิดเป็น 3.59%
  5. BNY MELLON NOMINEES LIMITED จำนวนหุ้น 78,949,299 คิดเป็น 3.30%
  6. THE BANK OF NEW YORK MELLON จำนวนหุ้น 55,954,035 คิดเป็น 2.34%
Photo : Shutterstock
ข้อมูลจาก : ตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย (ค่าสถิติสำคัญ ณ วันที่ 18 ก.ย. 2563)
]]>
1297995