น้ำท่วม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 13 Sep 2023 04:08:35 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘ราคาน้ำมัน’ ไต่ขึ้นสูงสุดอีกครั้ง หลัง ‘ลิเบีย’ เจอน้ำท่วมใหญ่ซึ่งกระทบการ ‘ส่งออกน้ำมัน’ ในกลุ่ม OPEC https://positioningmag.com/1444093 Wed, 13 Sep 2023 01:50:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1444093 เหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ของ ลิเบีย เกิดขึ้นเพียงหนึ่งสัปดาห์หลังจากที่รัสเซียและซาอุดีอาระเบียประกาศขยายระยะเวลาที่จะจำกัดการผลิตน้ำมัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอีก เพราะลิเบียเป็นสมาชิก OPEC และเป็นผู้ผลิตน้ำมันอันดับ 13 ของโลก

น้ํามันดิบเบรนท์ ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานของโลกพุ่งขึ้นเกือบ 2% เป็นระดับสูงสุดระหว่างวันที่ 92.38 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล นั่นเป็นราคาสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2022 ราคาน้ํามันสหรัฐฯ พุ่งขึ้น 2.3% สูงถึง 89.29 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน

สาเหตุที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นเป็นเพราะเหตุการณ์ อุทกภัยใหญ่ในลิเบีย หลังจากเจอฝนตกหนักในแถบตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ทําให้ เขื่อนสองแห่งถล่ม จนเกิดน้ำท่วมฉับพลัน โดยมีผู้เสียชีวิตในอุทกภัยครั้งนี้อย่างน้อย 2,000 คน และมีผู้สูญหายกว่า 10,000 คน รวมถึงมีอาคารบ้านเรือนเสียหายนับไม่ถ้วน

ลิเบียเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกโอเปก โดยมีกำลังการผลิตสูงสุด 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน นับเป็นประเทศที่มีการส่งออกน้ำมันมากที่สุดอันดับ 13 ของโลก ซึ่งอุทกภัยนี้จะขัดขวางการส่งออกน้ำมันจากกลุ่มประเทศโอเปกชั่วคราว ขณะที่ก่อนหน้านี้ ซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ํามันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลกจับมือกันขยายเวลาที่จะ ลดกำลังการผลิตน้ำมันเหลือ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ยาวถึงสิ้นปีเป็นอย่างน้อย

“ลิเบียมีท่าเรือหลายแห่งที่ไม่สามารถส่งออกได้ มันเป็นอีกสิ่งหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ํามันดิบพุ่งสูงขึ้น” แมตต์ สมิธ หัวหน้านักวิเคราะห์น้ํามันสําหรับอเมริกาที่ Kpler กล่าว

สำหรับเหตุการณ์อุทกภัยของลิเบียครั้งนี้ นับเป็น หายนะครั้งใหญ่ของประเทศ โดยลิเบียกําลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยโรงพยาบาลใน Derna ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไปและห้องเก็บศพก็เต็มจนทำให้ร่างผู้เสียชีวิตถูกทิ้งไว้นอกห้องเก็บศพบนทางเท้า

Source

]]>
1444093
10 อันดับประเด็นร้อนแรงบนโลกโซเชียลแห่งปี 2564 “โควิด-19” ครองแชมป์ https://positioningmag.com/1369215 Thu, 30 Dec 2021 14:09:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369215 ก้าวเข้าสู่วันสุดท้ายของปี 2564 ซึ่งเป็นอีกปีหนึ่งที่มีเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เกิดขึ้นบนโลกโซเชียล ไวซ์ไซท์จึงได้ทำการรวบรวมข้อมูลผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE เพื่อวิเคราะห์และจัดอันดับประเด็นที่ชาวโซเชียลพูดถึงมากที่สุด โดยเก็บข้อมูลช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม-28 ธันวาคม 2564 เรามาดูกันดีกว่าว่าระหว่าง 1 ปีที่ผ่านมา มีประเด็นสำคัญอะไรเกิดขึ้นบ้าง

อันดับที่ 1 สถานการณ์โควิด-19 (119,499,177 เอ็นเกจเมนต์)

สถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบันยังคงน่าเป็นห่วง หลังจากผ่านการล็อกดาวน์ ปิดประเทศ จนเปิดประเทศล่าสุด ก็ต้องเจอกับเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ ‘โอมิครอน’ อีกระลอก ทำให้ปีนี้ ประเด็นโควิดมาเป็นอันดับ 1 บนโลกโซเชียล

อันดับที่ 2 ปรากฏการณ์ลิซ่าฟีเวอร์ (98,967,525 เอ็นเกจเมนต์)

เมื่อวันที่ 10 กันยายน ที่ผ่านมา ลลิษา มโนบาล หรือที่รู้จักกันดีในนาม ลิซ่า แบล็กพิงก์ หนึ่งในสมาชิกของวงเกิร์ลกรุ๊ปจากประเทศเกาหลีใต้ ได้ปล่อยอัลบั้มเดี่ยวของตัวเองเป็นครั้งแรกและสร้างความฮือฮาให้กับโลกออนไลน์อย่างมาก ทั้งประเด็นการเป็นศิลปินหญิงเดี่ยวคนแรกที่มียอดเข้าชมผ่านช่องทาง YouTube มากกว่า 10 ล้านครั้งภายใน 1 ชั่วโมงครึ่ง ทุบสถิติเดิมของเทย์เลอร์ สวิฟต์ และได้สร้างเอ็นเกจเมนต์ขึ้นในโลกออนไลน์มากกว่า 53 ล้านเอ็นเกจเมนต์ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากที่ปล่อยเอ็มวี รวมถึง ลูกชิ้นยืนกินที่สร้างรายได้ให้ชุมชนมากมาย นั่นทำให้ลิซ่ามาเป็นอันดับที่ 2 ในปีนี้

อันดับที่ 3 การประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2020/2021 (80,398,276 เอ็นเกจเมนต์)

เป็นครั้งแรกที่งานประกวด Miss Universe 2020 และ 2021 จัดขึ้นในปีเดียวกันอันเนื่องมาจาก สถานการณ์โควิด-19 ซึ่งผู้ชนะทั้งสองรายการ ได้แก่ อแมนด้า ออบดัมและแอนชิลี สก๊อต-เคมมิส ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้ปลุกกระแสให้ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับประเด็น “Real Size Beauty” หรือการภูมิใจในรูปร่างของตนเอง และมีความสุขในสิ่งที่ตัวเองเป็น

อันดับที่ 4 มหกรรมกีฬาโอลิมปิกโตเกียว 2020 (59,829,135 เอ็นเกจเมนต์)

มหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมวลมนุษยชาติกับงานโอลิมปิกโตเกียวที่ได้เลื่อนจากปี 2563 มาจัดในปี 2564 ซึ่งหนึ่งเหตุการณ์ที่ทำให้ชาวไทยทั้งประเทศมีความสุขท่ามกลางสถานการณ์โควิดที่มีความรุนแรง คือ น้องเทนนิส พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ ได้คว้าเหรียญทองจากการแข่งขันเทควันโดนั่นเอง

อันดับที่ 5 พิมรี่พาย (54,686,116 เอ็นเกจเมนต์)

อีกหนึ่งบุคคลที่เป็นที่พูดถึงตลอดทั้งปีนี้คงหนี้ไม่พ้นพิมรี่พาย หรือ พิมรดาภรณ์ เบญจวัฒนะพัชร์ ทั้งประเด็นงาน CSR วันเด็กในช่วงต้นปี ที่เข้าไปติดแผงโซล่าร์เซลล์ที่หมู่บ้านชนบทในจังหวัดเชียงใหม่ ไปจนถึงปรากฏการณ์ไลฟ์ขายของ 10 นาที 100 ล้านบาท ที่เปิดขายกล่องสุ่มเครื่องสำอางกล่องละ 1 แสนบาท และมีคนสนใจสั่งซื้อกว่า 1,000 ชุด รวมถึง ประเด็นคลินิกเสริมความงามที่มีผู้เสียหายเข้ามาร้องเรียนหลายราย

อันดับที่ 6 ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว (39,427,269 เอ็นเกจเมนต์)

เกิดเหตุระเบิดและเพลิงไหม้โรงงานผลิตเม็ดโฟมพลาสติกบริษัท หมิงตี้ เคมิคอล จำกัด ใน ซอยกิ่งแก้ว 21 จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ทำให้ประชาชนในรัศมี 5 กิโลเมตร ต้องอพยพออกจากพื้นที่ดังกล่าวเนื่องจากกลัวว่าเพลิงจะลุกลาม นับว่าเป็นอีกหนึ่งเหตุเพลิงไหม้ขนาดใหญ่ในรอบหลายปีที่ผ่านมาและมีการพูดถึงบนโลกโซเชียลอย่างมากตลอด 24 ชั่วโมงในขณะที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงกำลังปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมเพลิง

อันดับที่ 7 น้ำท่วม (34,989,035 เอ็นเกจเมนต์)

นอกจากพิษโควิด-19 แล้วปีนี้เรายังคงเจอกันสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ตั้งแต่เดือนตุลาคม ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงหลายๆ จังหวัดในภาคกลาง, ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจากสถานการณ์ครั้งนี้ได้เกิดคลิปไวรัลจากชาวโซเชียลที่จังหวัดนครราชสีมาทำคลิปล้อเลียนโฆษณาของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบรนด์ดัง

อันดับที่ 8 ลุงพล (34,239,932 เอ็นเกจเมนต์)

สิ้นสุดคดีน้องชมพู่ ที่อยู่บนความสนใจของชาวโซเชียลมาอย่างยาวนาน การเกาะติดความคืบหน้าของคดีได้สร้างให้เกิดเรื่องราวของ “ผู้ต้องหา” ที่ถูกจับตาจากโซเชียลทุกย่างก้าวให้กลายเป็น “คนดัง” ในชั่วข้ามคืน และในที่สุดศาลจังหวัดมุกดาหาร ได้ออกหมายจับลุงพล หรือนายไชย์พล วิภา 3 ข้อหา ผู้ต้องหาคดี “น้องชมพู่” หนูน้อยวัย 3 ขวบ แห่งบ้านกกกอก ที่เสียชีวิตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

อันดับที่ 9 ผู้กำกับโจ้ (33,367,496 เอ็นเกจเมนต์)

ประเด็นร้อนบนโลกโซเชียลกับกรณีมาวิน ผู้ต้องสงสัยคดียาเสพเสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมตัวโดย พ.ต.อ. ธิติสรรค์ อุทธนผล หรือ ผู้กำกับโจ้ โดยสาเหตุเกิดจากการขาดอากาศหายใจ ส่งผลให้เกิดเป็น คดีดัง และถูกขุดขุ้ยจนพบว่าครอบครองรถหยนต์หรูกว่า 30 คันและพบการ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จนได้ฉายา “โจ้เฟอร์รารี่”

อันดับที่ 10 น้าค่อม (33,160,272 เอ็นเกจเมนต์)

ถือเป็นอีกหนึ่งการสูญเสียครั้งใหญ่ของวงการบันเทิงและวงการตลกไทย กับการจากไปของนายอาคม ปรีดากุล หรือ น้าค่อม ชวนชื่น หลังพบเชื้อโควิด-19 และอาการทรุดลงเรื่อยๆ ชาวโซเชียลร่วมไว้อาลัย #น้าค่อม จนขึ้นอันดับ 1 ทวิตเตอร์ไทย

]]>
1369215
ไม่ใช่แค่ไทย! ราคาอาหารโลกขึ้น 30% ใน 1 ปี เหตุจากภัยพิบัติ การขาดแรงงาน และต้นทุน https://positioningmag.com/1360801 Mon, 08 Nov 2021 04:52:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1360801 ผลพวงจากปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัดของประเทศไทย ส่งผลให้ ‘ผัก’ ราคาพุ่งสูงขึ้น ที่เห็นหลัก ๆ คงจะเป็น ‘ผักชี’ ที่ราคาเคยแตะถึง 400 บาท/กิโลกรัม จากเมื่อต้นปีราคาไม่เกิน 100 บาท/กิโลกรัม และหากมองภาพรวมทั่วโลกก็พบว่าไม่ใช่แค่ไทย แต่ในปีนี้ราคาอาหารแพงขึ้น 30% ถือว่าสูงสุดในรอบ 10 ปีเลยทีเดียว

ราคาอาหารทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันในเดือนตุลาคม โดยเพิ่มขึ้น 3% จากเดือนกันยายน ตามดัชนีที่เผยแพร่โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ซึ่งเกิดจากแรงหนุนจากราคาน้ำมันพืชและข้าวสาลีที่พุ่งสูงขึ้น และหากดูภาพรวมทั้งปีพบว่า ราคาอาหารโลกพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบกว่าทศวรรษ โดยพุ่งสูงขึ้นถึง 30% ในปีนี้ และอยู่ที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554

ราคาน้ำมันปาล์ม ถั่วเหลือง ดอกทานตะวัน และน้ำมันเรพซีดที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้ดัชนีราคาผักของ FAO เพิ่มขึ้น 9.6% ซึ่งปัญหาวัตถุดิบราคาแพงเกิดปัญหาการเก็บเกี่ยววัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภัยพิบัติที่ส่งผลต่อผลผลิต การขาดแคลนแรงงาน และต้นทุนที่สูงขึ้น อย่างราคาน้ำมันปาล์มพุ่งขึ้นจากความกังวลเกี่ยวกับการผลิตที่ชะลอตัวในมาเลเซียเนื่องจากการขาดแคลนแรงงานข้ามชาติ

ซูเปอร์มาร์เก็ตในประเทศเศรษฐกิจหลักบางแห่งพยายามดิ้นรนเพื่อให้ชั้นวางสินค้ามีสินค้าเพียงพอในช่วงการระบาดใหญ่ อย่างในสหราชอาณาจักร กำลังเผชิญปัญหาการขาดแคลนแรงงานรุนแรงขึ้นจาก Brexit ขณะที่เชนฟาสต์ฟู้ดบางรายจำต้องถอดรายการเมนูยอดนิยมออกเนื่องจากการขาดแคลนวัตถุดิบ

ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ของจีนเองได้ออกมาประกาศให้หน่วยงานท้องถิ่นตรวจสอบให้แน่ใจว่าพลเมืองของตนมี “สิ่งของจำเป็นที่เพียงพอ” ในฤดูหนาวนี้ และพยายามตรึงราคาอาหารให้คงที่

ทั้งนี้ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อาหารที่สูงขึ้นนำไปสู่ต้นทุนที่สูงขึ้นสำหรับบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งบางบริษัทได้ส่งต่อการขึ้นราคาไปยังผู้ซื้อ Unilever ( UL ) , Kraft Heinz ( KHC ) และ Mondelez ( MDLZ ) ได้ปรับราคาสินค้ายอดนิยมทั้งหมดขึ้น

Source

]]>
1360801
เสนอขุด “คลองบายพาส” ฝั่งกรุงเทพฯ ตะวันออก แก้ปัญหาน้ำท่วม-ใช้ประโยชน์ที่ดินยาก https://positioningmag.com/1349452 Tue, 31 Aug 2021 09:06:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1349452 มูลนิธิคนรักเมืองมีนร่วมกับหอการค้าไทย-จีนตั้งคณะกรรมการฯ ศึกษาและเสนอโครงการขุด “คลองบายพาส” ฝั่งกรุงเทพฯ ตะวันออกผ่านเขตคลองสามวา มีนบุรี ลาดกระบัง แก้ปัญหาน้ำท่วม แทนการกำหนดพื้นที่ขาวทแยงเขียวเป็นฟลัดเวย์ ซึ่งทำให้ใช้ประโยชน์ที่ดินได้ยาก

ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ ถูกกำหนดเป็น “ฟลัดเวย์” รับน้ำท่วมมาช้านาน แต่จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี และสายสีส้มตะวันออก ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี อยู่ระหว่างก่อสร้าง จนถึงการลงทุนในเขต EEC และสนามบินสุวรรณภูมิ ทำให้กลุ่มนักธุรกิจและประชาชนที่มีที่ดินในฟากตะวันออกของกรุงเทพฯ ต้องการปรับโมเดลฟลัดเวย์ในพื้นที่ให้เป็นกิจจะลักษณะมากกว่าเป็นที่รับน้ำล้น และไม่สามารถใช้ประโยชน์อื่นได้นอกจากทำเกษตรกรรม

“วิชาญ มีนชัยนันท์” ประธานมูลนิธิคนรักเมืองมีน ร่วมกับหอการค้าไทย-จีน และกรุงเทพมหานคร เปิด “คณะกรรมการศึกษาการพัฒนาเมืองฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ภายหลังการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มและสายสีชมพู” เริ่มการศึกษาเมื่อประมาณ 7 เดือนก่อน โดยมีการเชิญนักธุรกิจและผู้นำชุมชนร่วมพูดคุยกับนักวิชาการด้านผังเมือง

แนวรถไฟฟ้าสองสายที่จะเข้ามาในเขตตะวันออกของกรุงเทพฯ

รวมถึงมีการสำรวจความเห็นประชาชน 3,000 คนใน 6 เขตฝั่งตะวันออกกรุงเทพฯ ได้แก่ คันนายาว สะพานสูง คลองสามวา มีนบุรี ลาดกระบัง และหนองจอก เพื่อรับฟังความต้องการการพัฒนาของประชาชนในพื้นที่

การศึกษาครั้งนี้นำเสนอโดย “ผศ.ดร.เพชรลัดดา เพ็ชรภักดี” หนึ่งในคณะกรรมการฯ โดยเป็นอาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

ส่วนผสมย่านการค้า-พื้นที่สีเขียว

จากการสำรวจประชาชน 3,000 คนใน 6 เขตดังกล่าว ดร.เพชรลัดดาเสนอผลความต้องการของประชาชนในแต่ละเขต ดังนี้

คลองสามวา – ถูกกำหนดเป็นพื้นที่ฟลัดเวย์ในขณะนี้ ทำให้ประชาชนต้องการระบบป้องกันน้ำท่วมที่ดีขึ้น

หนองจอก – ต้องการเป็นย่านที่พักอาศัยแนวราบชั้นดี ไม่ต้องการคอนโดมิเนียมหรือตึกสูง ต้องการคงความเป็นย่านการเกษตร มีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ ยังคงเป็นพื้นที่สีเขียว อากาศดี ไม่แออัด

มีนบุรี – ต้องการยกระดับเป็นศูนย์ธุรกิจแห่งกรุงเทพฯ ตะวันออก จากปัจจุบันมีแนวโน้มเช่นนั้นอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นแหล่งการค้า รวมถึงเป็นแหล่งที่พักอาศัยทั้งแนวราบแนวสูง

ลาดกระบังต้องการการพัฒนาที่เชื่อมโยงกับสนามบินสุวรรณภูมิ (Photo : Shutterstock)

ลาดกระบัง – ต้องการเป็นชุมชน Smart City รองรับความเป็น “เมืองการบิน” ของสนามบินสุวรรณภูมิได้ครบวงจร ตอบโจทย์ได้ทั้งการท่องเที่ยว โรงแรม คลังสินค้า รวมถึงมีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง รองรับด้านการศึกษาอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม เขตลาดกระบังเผชิญปัญหา 2 ประการ คือ 1.อยู่ในแนวเขตปลอดภัยด้านการบิน พัฒนาตึกสูงไม่ได้ แต่ที่ดินกลับมีราคาสูง และ 2.อยู่ในแนวฟลัดเวย์น้ำท่วม

สะพานสูง – ต้องการศูนย์ธุรกิจใหม่ๆ เช่น ตลาดค้าส่ง โดยเปรียบเทียบโมเดลกับตลาดไทที่เป็นแหล่งรวมสินค้าของสดทางเหนือของกรุงเทพฯ

คันนายาว – ต้องการระบบถนนที่ดีขึ้น เพราะเป็นเขตที่มีซอยตันมาก การเดินทางไม่สะดวก

ด้านภาพรวมของทุกเขตมีความต้องการการพัฒนาร่วมกัน ได้แก่ 1.โรงพยาบาล 2.นิคมอุตสาหกรรมไฮเทคปลอดมลพิษ 3.ตลาดกลางสินค้า 4.สวนสาธารณะ 5.โรงเรียน 6.ถนน

 

ติดล็อกพื้นที่ขาวทแยงเขียวเพราะเป็น “ฟลัดเวย์”

ดร.เพชรลัดดา นำเสนอต่อว่า ปัจจุบันกรุงเทพฯ ยังบังคับใช้ผังเมืองรวมปี 2556 ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีพื้นที่ขาวทแยงเขียวบริเวณกว้างพาดผ่านเขตคลองสามวา มีนบุรี หนองจอก และลาดกระบัง เพราะฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ เป็นที่ลุ่มที่เหมาะกับการเป็นพื้นที่รับน้ำมาแต่เดิม จึงถูกกำหนดให้เป็นฟลัดเวย์รับน้ำและเป็นทางระบายน้ำหากเกิดน้ำท่วมน้ำหลากจากทางเหนือ

ผังเมือง 2556 (ฉบับปัจจุบัน) เทียบกับร่างผังเมืองใหม่ของกรุงเทพฯ (ที่มา : คณะกรรมการฯ)

โดยขณะนี้กรุงเทพฯ มีร่างผังเมืองใหม่รอประกาศใช้ พื้นที่ขาวทแยงเขียวถูกลดขนาดลงแต่ยังคงพาดผ่านเขตคลองสามวา มีนบุรี และลาดกระบัง แม้เขตที่เป็นสีขาวทแยงเขียวจะลดลง แต่ก็ยังมีอยู่ ซึ่งทำให้ผู้ที่มีที่ดินในเขตสีนี้จะใช้ประโยชน์อื่นไม่ได้นอกจากทำเกษตรกรรม

อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของกรุงเทพฯ ก็เป็นเรื่องสำคัญ คณะกรรมการฯ จึงมองว่าควรจะหาโมเดลอื่นในการระบายน้ำฝั่งตะวันออก มากกว่าการมีแก้มลิงเก็บน้ำและคันกั้นน้ำไม่ให้ทะลักเข้าไปในกรุงเทพฯ ชั้นใน ซึ่งทำให้น้ำที่ไหลผ่านฝั่งตะวันออกกรุงเทพฯ ไหลเอ่ออย่างไร้ทิศทางในพื้นที่และระบายออกอ่าวไทยได้ช้า

 

เสนอขุด “คลองบายพาส” แบบซัปโปโร-ดัลลัส

ดร.เพชรลัดดากล่าวว่า โมเดลที่มองว่าเหมาะสมกับพื้นที่คือการขุดคลองไว้เป็นทางระบายน้ำ โดยยกตัวอย่างคลองที่ซัปโปโร ประเทศญี่ปุ่น และที่ดัลลัส ประเทศสหรัฐอเมริกา

คลองระบายน้ำรับมือน้ำท่วมของซัปโปโร นำเสนอโดย ดร.เพชรลัดดา เพ็ชรภักดี

โมเดลคลองบายพาสเป็นการขุดคลองกว้างไว้สำรองรับน้ำ ในหน้าน้ำปกติ น้ำจะเป็นคลองเส้นเล็กๆ เท่านั้น ระหว่างสองข้างทางคลองที่ซัปโปโรเป็นพื้นที่สีเขียว มีทางจักรยาน ไว้เป็นพื้นที่สาธารณะ ด้านบนบริเวณสันคลองสองข้างเป็นถนนสัญจร ในหน้าน้ำหลาก คลองทั้งหมดจะใช้ระบายน้ำได้อย่างเต็มที่

จึงเสนอว่าบริเวณฟลัดเวย์ขาวทแยงเขียวปัจจุบัน ควรจะมีการขุดคลองบายพาสกว้าง 300 เมตร และมีพื้นที่ริมคลองอีกฝั่งละ 100 เมตร ยาวประมาณ 60 กิโลเมตร โดยพื้นที่ริมคลองนี้อาจจะเป็นพื้นที่ให้เช่าทำนาตามบริบทเมืองไทย หรือให้สัมปทานทำโซลาร์ฟาร์มหรือวินด์ฟาร์ม บางช่วงอาจเว้นเป็นที่สันทนาการสาธารณะ สามารถทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้

โมเดลการขุดคลองบายพาสแก้น้ำท่วม เสนอโดยคณะกรรมการฯ

คลองนี้ด้านบนรับน้ำจาก จ.ปทุมธานี ด้านล่างจะเชื่อมต่อกับ จ.สมุทรปราการ ซึ่งต้องคิดหาโมเดลเพื่อรับน้ำต่อไปออกอ่าวไทย ทั้งนี้ จ.สมุทรปราการ จะมีคลองส่งน้ำสุวรรณภูมิเป็นที่รับน้ำระบายน้ำอยู่แล้ว

บริเวณที่เหมาะจะขุดคลองนั้น คณะกรรมการฯ มองว่าจะต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้กระทบบ้านเรือนอยู่อาศัยให้น้อยที่สุด และถ้าหากโมเดลนี้เป็นจริง กรุงเทพฯ มีคลองระบายน้ำแล้วก็อาจขอให้มีการปรับผังเมืองปลดล็อกพื้นที่ขาวทแยงเขียวออกได้

 

ประชาชนต้องเสียสละพื้นที่ขุดคลอง?

คำถามสำคัญข้อต่อมาคือ ใครจะยอมให้มีการขุดคลองในพื้นที่ของตนเอง? โดยคลองกว้าง 500 เมตร ยาว 60 กิโลเมตรนี้ต้องตัดผ่านที่ดินประชาชนกว่า 70,000 แปลง

ดร.เพชรลัดดากล่าวว่า เนื่องจากพื้นที่ที่ศึกษาเป็นที่ดินขาวทแยงเขียวซึ่งทำได้เฉพาะเกษตรกรรมอยู่แล้ว จึงเสนอว่า การเสียที่ดินบางส่วนจะทำให้ที่ดินที่ยังเหลืออยู่ของประชาชนมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ตามโมเดลการนำที่ดินข้างคลองไปใช้ทำประโยชน์ และมีถนนตัดผ่าน

หากภาครัฐเห็นด้วยกับแนวทางนี้ มองว่าไม่ควรใช้วิธี “เวนคืน” ที่ดิน เพราะถึงแม้ว่าประชาชนจะได้ค่าชดเชยแต่อาจต้องย้ายออกไปไกลจากพื้นที่เดิมที่คุ้นเคย วิธีที่มองว่าควรใช้และเป็นไปได้มากกว่าคือ “การจัดรูปที่ดิน” ร่วมกับการจัดตั้ง “บรรษัทร่วมทุนเอกชน” ของคนในพื้นที่ ให้ทุกคนที่เสียที่ดินทำคลองบายพาสเป็นผู้ถือหุ้นในบรรษัทที่บริหารจัดการพื้นที่ริมคลอง นำกำไรมาปันผลให้ผู้ถือหุ้น

]]>
1349452