น้ำมันแพง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 09 Oct 2023 07:20:38 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ผลพวง “สงครามอิสราเอล” ดันราคา “น้ำมัน” พุ่ง 4% https://positioningmag.com/1447262 Mon, 09 Oct 2023 06:45:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1447262 สงครามระหว่าง อิสราเอล และ ฮามาส กลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ ได้ยืดเยื้อมาถึงวันที่ 3 แล้ว ซึ่งจากสงครามดังกล่าวได้ส่งผลต่อ ราคาน้ำมันและทองคำ 

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า น้ำมันดิบเบรนท์ มีราคาซื้อขายสูงขึ้น 4.53% ที่ 88.41 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในวันนี้ (9 ต.ค.2566) ขณะที่สหรัฐฯ ฟิวเจอร์ส West Texas Intermediate เพิ่มขึ้น 4.69% เป็น 88.67 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์เชื่อว่าราคาน้ำมันที่พุ่งนั้นจะเกิดแค่ชั่วคราว เนื่องจากเป็นการตอบสนองของตลาดต่อภาวะสงคราม

โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มีความเห็นไปในทางเดียวกันว่า สงครามไม่ได้ทําให้แหล่งน้ํามันที่สําคัญใด ๆ ตกอยู่ในอันตรายโดยตรง เนื่องจากทั้งสองฝ่ายไม่ใช่ผู้ค้าน้ํามันรายใหญ่ โดย อิสราเอลมีโรงกลั่นน้ํามันสองแห่ง ที่มีกําลังการผลิตรวมกันเกือบ 300,000 บาร์เรลต่อวัน ขณะที่ ดินแดนปาเลสไตน์ไม่ผลิตน้ำมัน อย่างไรก็ตาม แม้ความขัดแย้งทั้งสองจะไม่ได้ส่งผลต่อโรงกลั่นน้ำมันในประเทศสำคัญ ๆ โดยตรง แต่ก็เสมือนอยู่ หน้าประตูของภูมิภาคการผลิตและส่งออกน้ำมันที่สําคัญสําหรับผู้บริโภคทั่วโลก

“ผลกระทบที่ส่งผลต่อราคาน้ำมันโดยตรงจริง ๆ คือ การลดอุปทานหรือการขนส่งน้ำมัน” Vivek Dhar ผู้อํานวยการฝ่ายวิจัยการขุดและสินค้าโภคภัณฑ์ด้านพลังงานของธนาคารเครือจักรภพ กล่าว

ไม่ใช่แค่ราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น แต่ราคา ทองคำ ก็สูงขึ้น 0.99% มาเคลื่อนไหวที่บริเวณ 1,850 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เนื่องจากนักลงทุนหาสินทรัพย์หลบภัย ส่วนราคาทองในไทย สมาคมค้าทองคำ ประกาศราคาครั้งที่ 1 เพิ่มขึ้น 400 บาท โดยราคารับซื้อทองคำแท่งบาทละ 32,350 บาท ขายออก 32,450 บาท ส่วนทองรูปพรรณ รับซื้อบาทละ 31,760.20 บาท ขายออก 32,950 บาท

ทั้งนี้ จากการโจมตีของกลุ่มฮามาส มีรายงานว่าชาวอิสราเอลอย่างน้อย 700 คนถูกสังหาร ขณะเดียวกัน กระทรวงสาธารณสุขปาเลสไตน์ได้บันทึกผู้เสียชีวิต 313 ราย จนถึงขณะนี้

Source

]]>
1447262
ราคา ‘น้ำมันดิบ’ ทำสถิติสูงสุดของปี หลัง ซาอุดีอาระเบีย-รัสเซีย จับมือลดกำลังการผลิตยาวถึงสิ้นปี https://positioningmag.com/1443635 Wed, 06 Sep 2023 07:30:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1443635 ราคาน้ํามันแตะระดับสูงสุดใหม่อีกครั้งสําหรับปีนี้ หลังจากที่ซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ํามันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลกจับมือกันขยายเวลาที่จะ ลดกำลังการผลิตน้ำมัน ยาวถึงสิ้นปีเป็นอย่างน้อย

ราคา น้ำมันดิบเบรนท์ ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานโลกเพิ่มขึ้น +1.8% โดยมีการซื้อขายสูงกว่า 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่ราคาน้ำมัน West Texas Intermediate (WTI) ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นใกล้เคียงกันที่ 87 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เนื่องจาก ซาอุดีอาระเบีย และ รัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกกลุ่ม OPEC+ ตกลงที่จะลดการผลิตลงอย่างมากและลากยาวไปถึงสิ้นปี

แหล่งข่าวอย่างเป็นทางการจากกระทรวงพลังงานของซาอุดีอาระเบีย เปิดเผยกับสํานักข่าว state-run SPA ว่า ทางประเทศจะลดกำลังการผลิตเหลือ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จนถึงสิ้นเดือนธันวาคม หลังจากที่เคยกำหนดว่าจะลดกำลังการผลิตถึงแค่เดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ นับตั้งแต่ที่ตัดสินใจลดกำลังการผลิตตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้กำลังการผลิตน้ำมันของซาอุดีอาระเบียเหลือเพียง 9 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ในขณะเดียวกัน อเล็กซานเดอร์ โนวัค รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย กล่าวว่า ประเทศจะลดการส่งออกลง 300,000 บาร์เรลต่อวัน จนถึงสิ้นปี เพื่อรักษาเสถียรภาพและความสมดุลในตลาดน้ำมัน แม้ว่ารัสเซียกําลังพยายามเพิ่มรายได้เพื่อสนับสนุนในการทําสงครามกับยูเครน 

การลดการผลิตโดย OPEC+ ซึ่งถือเป็น ผู้ผลิตน้ํามันดิบ 40% ของโลก ได้ทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งยิ่งส่งผลเสียต่ออัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย โดยราคาก๊าซเฉลี่ยในสหรัฐฯ ได้ลอยสูงขึ้นเป็น 3.81 ดอลลาร์ต่อแกลลอน ซึ่งสูงกว่าช่วงนี้ของปีที่แล้ว 2-3 เซ็นต์

Source

]]>
1443635
จับตา “ราคาน้ำมัน” หลัง OPEC+ ประกาศลดกำลังการผลิตลง 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวัน https://positioningmag.com/1425996 Mon, 03 Apr 2023 06:11:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1425996 หลังจาก OPEC+ ประกาศลดกำลังการผลิตลง 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวัน ล่าสุด สัญญาซื้อขายล่วงหน้า น้ำมันดิบเบรนท์ พุ่งขึ้น 5.07% เป็น 83.95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า น้ำมันดิบ West Texas Intermediate ของสหรัฐฯ พุ่งขึ้น 5.17% เป็น 79.59 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

สำหรับการปรับลดกำลังการผลิตของ OPEC+ จะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงสิ้นสุดปี 2566 โดยซาอุดีอาระเบีย กล่าวว่า การปรับลดกำลังการผลิตเป็น มาตรการป้องกันการรักษาเสถียรภาพของตลาดน้ำมัน หลังจากที่ รัสเซียจะลดการผลิตน้ำมันลง 500,000 บาร์เรลต่อวัน จนถึงสิ้นปี 2566

ประเทศสมาชิกอื่น ๆ ได้ให้คำมั่นว่าจะลดกำลังการผลิตลงตามลำดับ โดย ซาอุดีอาระเบียจะลด 500,000 บาร์เรลต่อวัน และ UAE จะลด 144,000 บาร์เรลต่อวัน รวมถึงการลดกำลังการผลิตอื่น ๆ จากคูเวต โอมาน อิรัก แอลจีเรีย และคาซัคสถาน

“แผนของ OPEC+ สำหรับการลดการผลิตเพิ่มเติมอาจผลักดันราคาน้ำมันให้แตะระดับ 100 ดอลลาร์อีกครั้ง เมื่อพิจารณาจากการเปิดประเทศของจีนและการลดกำลังการผลิตของรัสเซีย ที่ตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรของตะวันตก” Tina Teng นักวิเคราะห์ของ CMC Markets กล่าว

มีการคาดการณ์ว่าอุปสงค์ของจีนกลับมาที่ 16 ล้านบาร์เรลต่อวัน และจากข้อมูลของ Wood Mackenzie จีนสามารถคิดเป็น 40% ของความต้องการที่ฟื้นตัวของโลกในปี 2566

ทั้งนี้ ในเดือนมีนาคมราคาน้ำมันร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2021 เนื่องจากผู้ค้ากลัวว่าการล้มของธนาคารอาจบั่นทอนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก โดยกลุ่มค้าน้ำมันและพันธมิตรกำลังหาทางหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุซ้ำรอยในปี 2008 ที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกช่วงนั้นมีความผันผวนอย่างมาก

“พวกเขากำลังมองไปยังช่วงครึ่งหลังของปีนี้ และตัดสินใจว่าพวกเขาไม่ต้องการหวนนึกถึงปี 2008 ที่ราคาน้ำมันพุ่งจาก 35 ดอลลาร์เป็น 140 ดอลลาร์” Bob McNally ประธาน Rapidan Energy Group กล่าว

Source

]]>
1425996
ปตท. คลายข้อสงสัย ทำไมสงคราม ‘รัสเซีย-ยูเครน’ ถึงส่งผลต่อพลังงานโลก https://positioningmag.com/1388729 Wed, 22 Jun 2022 04:00:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1388729

ตอนนี้ไม่ใช่แค่ประเทศไทยที่เจอกับปัญหาราคาพลังงานพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะผลกระทบดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นทั่วทั้งโลก ซึ่งเป็นผลพวงมาจากสงคราม ‘รัสเซีย-ยูเครน’ ซึ่งหลายคนอาจยังไม่เข้าใจว่าสถานการณ์ดังกล่าวนั้นทำไมถึงส่งผลต่อตลาดพลังงานทั่วโลก คุณดิษทัต ปันยารชุน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ปตท. ได้กล่าวถึงประเด็น “สงคราม “รัสเซีย-ยูเครน” กับพลังงานโลก” ให้คนไทยได้เข้าใจกัน


น้ำมันแพงเพราะผลิตน้อย ไม่ใช่เพราะคว่ำบาตร

หลายคนอาจไม่รู้ว่าทั่วโลกมีความต้องการใช้น้ำมันราว 100 ล้านบาร์เรลต่อวัน และหลายคนอาจไม่รู้ด้วยว่า รัสเซีย เป็นผู้ผลิต น้ำมันดิบอันดับ 2 ของโลก โดยช่วงก่อนเกิดสงครามสามารถผลิตได้เฉลี่ย 11 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็น 11% ของความต้องการทั่วโลก ส่วนผู้ผลิตอันดับ 1 ของโลกคือ สหรัฐอเมริกา โดยผลิตได้วันละ 11.5 ล้านบาร์เรล ส่วน อันดับ 3 ได้แก่ ซาอุดิอาราเบียโดยผลิตที่ 10.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน

หากดูจากตัวเลขคงปฏิเสธไม่ได้ว่า รัสเซียถือเป็นประเทศที่สำคัญต่อพลังงานโลก แต่ตั้งแต่เกิดสงคราม ปริมาณการผลิตของรัสเซียก็ลดลงมาเหลืออยู่ราว 9-10 ล้านบาร์เรลต่อวันเท่านั้น หรือหายไปประมาณ 1-2 ล้านบาร์เรลต่อวัน แม้ตัวเลขเหมือนจะน้อยแต่ก็ส่งผลกระทบหนักมาก เพราะแค่ประเทศไทยประเทศเดียวก็ใช้น้ำมันวันละ 1 ล้านบาร์เรลแล้ว

ประเด็นคือ ในขณะที่รัสเซียผลิตน้ำมันได้น้อยลง แต่ กลุ่มโอเปกพลัส (OPEC+) หรือกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน ที่รวมแล้วคิดเป็นประมาณ 40% ของน้ำมันดิบโลก ไม่ได้เพิ่มกำลังการผลิตเพื่อมาอุดช่องที่หายไปของรัสเซีย เนื่องจากที่ผ่านมากลุ่มโอเปก ได้พยายามจำกัดปริมาณการผลิตน้ำมันให้อยู่ในจุดที่เพียงพอต่อการใช้งาน เพื่อให้ราคาน้ำมันไม่ต่ำหรือสูงจนเกินไป โดยเฉพาะในช่วงที่โควิด-19 ระบาด ที่มีการใช้น้ำมันน้อย กลุ่มโอเปกก็ได้ลดกำลังการผลิตลง เพื่อประคองราคาน้ำมัน

แม้ว่าสหรัฐฯ จะพยายามกดดันให้ประเทศสมาชิกโอเปกพลัสที่เหลือเพิ่มกำลังการผลิต แต่ก็ไม่สามารถกดดันได้ เพราะต้องเกรงใจรัสเซีย ที่เป็นหนึ่งในสมาชิกโอเปกพลัส ดังนั้น เมื่อรัสเซียผลิตได้น้อยลง กลุ่มโอเปกไม่ผลิตเพิ่ม ราคาน้ำมันก็ลงยาก เนื่องจากที่ผ่านมาปริมาณน้ำมันในตลาดอยู่ในจุดที่ต่ำกว่าความต้องการของตลาดนิดหน่อยอยู่ตั้งแต่แรกแล้ว จากความต้องการใช้น้ำมันที่ฟื้นตัวหลังจากโควิด-19


รัสเซียสำคัญเกินกว่าจะคว่ำบาตร

แม้จะมีการคว่ำบาตรเกิดขึ้นในหลาย ๆ ส่วน แต่ยังไม่มีประเทศไหนคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซีย 100% โดยเฉพาะประเทศในทวีปยุโรปที่ส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียถึง 90% ของพลังงานทั้งหมดที่ใช้ภายในประเทศ

โดยเฉลี่ยแล้ว ยุโรปนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียอยู่ที่ราว 25-35% ส่วน ก๊าซธรรมชาติ อยู่ที่ 45% และ ถ่านหิน 45% โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2021 ยุโรปมีปริมาณการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียอยู่ที่ 37% และนำเข้าก๊าซธรรมชาติที่แปรรูปเป็นของเหลวแล้วหรือ LNG อยู่ที่ 23% ซึ่งสาเหตุที่ยุโรปต้องพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียก็เพราะรัสเซียมีท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติกระจายอยู่ทั่วทั้งภูมิภาค

หากประเทศในยุโรปตัดสินใจคว่ำบาตรการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียทั้งหมดนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ แม้ว่าจะมีการประชุมหารือเพื่อหาข้อสรุปก็ตาม เพราะหากประเทศในยุโรปเลือกจะคว่ำบาตรรัสเซีย สิ่งที่ต้องเจอคือ ต้นทุนที่สูงขึ้น เพราะต้องขนส่งมาทางเรือ อย่างน้ำมันที่เป็นของเหลวอาจจะไม่มีปัญหามาก แต่กับก๊าซธรรมชาตินั้นเป็นเรื่องที่ยากกว่ามาก

หรือหากจะสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่เพื่อรองรับการนำเข้าพลังงานจากประเทศอื่นก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 5 ปี ดังนั้น แค่สงครามรัสเซีย-ยูเครนก็ส่งผลให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มสูงขึ้นในเกือบทุกภาคส่วนอยู่แล้ว เนื่องจากราคาพลังงานที่ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น หากจะคว่ำบาตรก็จะยิ่งกระทบมากขึ้นไปอีก


ทำไมไทยไม่นำเข้าน้ำมันรัสเซียที่ลดราคา

สำหรับไทยเองนำเข้าน้ำมันกว่า 80% โดยจัดหาน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางประมาณ 55% ส่วนการนำเข้าจากรัสเซียประมาณ 5% เท่านั้น แต่เมื่อยุโรปมีปัญหาจากการนำเข้าน้ำมันรัสเซีย ความต้องการก็จะหันไปยังภูมิภาคอื่น เช่น สหรัฐอเมริกา หรือ ตะวันออกกลางอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูง ไทยเองก็ได้ผลกระทบเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ไทยเองก็ไม่สามารถนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียได้ แม้รัสเซียลดราคาน้ำมันดิบลง เพราะราคาไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่จะใช้ในการตัดสินใจ ยังมีประเด็นด้านคุณสมบัติของน้ำมันและการเมืองมาเกี่ยวข้อง เพราะหากเลือกซื้อน้ำมันจากรัสเซีย ไทยอาจถูกมองว่าสนับสนุนสงคราม แม้แต่ เกาหลีและญี่ปุ่น ที่แหล่งส่งออกน้ำมันรัสเซียอยู่ติดกับ 2 ประเทศยังเลือกที่จะไม่ซื้อแม้จะได้ราคาที่ดีมากก็ตาม


ราคาน้ำมันไทยแพงเพราะอะไร

สำหรับราคาน้ำมันของบ้านเรา 67% มาจากราคาน้ำมัน 28% มาจากภาษีและกองทุนต่าง ๆ อีก 5% เป็นค่าการตลาด หลายคนคงสงสัยว่าทำไมต้องมีภาษีและหักเข้ากองทุน ซึ่งความจริงแล้วการหักเข้ากองทุนน้ำมันนั้นเป็นความจำเป็นเพื่อเป็นเกราะป้องกันหากเจอราคาน้ำมันที่สูงอย่างไม่คาดคิด ซึ่งส่วนนี้ได้นำมาช่วยเหลือให้สามารถตรึงราคาน้ำมัน รวมถึงอุดหนุนราคาก๊าซหุงต้ม

สุดท้าย คุณดิษทัต กล่าวว่า จากมุมมองของนักค้าน้ำมันแล้ว สถานการณ์ของรัสเซีย-ยูเครนคงไม่จบลงเร็ว ๆ นี้ แปลว่าผลกระทบจะยังอยู่ต่อไปอย่างน้อยอีก 6 เดือน ดังนั้น ทั้งประเทศต้องช่วยกันบริหารจัดการเพื่อให้ราคาลดลงได้ รัฐเองต้องพยายามควบคุมราคาเพื่อให้ไม่กระทบต่อต้นทุนสินค้า ภาคประชาชนเองก็ช่วยได้โดยการลดใช้พลังงานในครัวเรือน โดยมีการวิจัยแล้วว่าช่วยให้ลดการใช้น้ำมันถึง 10% เลยทีเดียว

]]>
1388729
น้ำมันแพง พนักงานไม่พอ แต่ดีมานด์พุ่ง ทำให้ “ค่าตั๋วเครื่องบิน” แพงขึ้น 20-30% https://positioningmag.com/1388010 Tue, 07 Jun 2022 07:05:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1388010 สายการบินต่างๆ กำลังพยายามกลับมาทำกำไรหลังวิกฤตโรคระบาดผ่านพ้น ขณะที่ดีมานด์การเดินทางพุ่งสูง ทั้งจากกลุ่ม ‘Revenge Travel’ และการเดินทางเพื่อธุรกิจ แต่น้ำมันที่ราคาพุ่งไม่แพ้กัน พร้อมด้วยปัญหาพนักงานไม่เพียงพอ ไฟลท์บินมีจำกัด ส่งผลให้ “ค่าตั๋วเครื่องบิน” แพงขึ้น 20-30% เทียบกับก่อน COVID-19

หลัง COVID-19 คลี่คลาย หลายประเทศเปิดพรมแดนการเดินทางอีกครั้ง ปัญหาต่อมาที่ทุกคนต่างพูดถึงคือ “ค่าตั๋วเครื่องบิน” ราคาสุดโหดในขณะนี้

ผู้บริโภคจำนวนมากกำลังหาตั๋วเครื่องบิน หลายคนวางแผนเดินทางออกนอกประเทศเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี หรือที่เรียกกันว่า ‘Revenge Travel’ แม้ว่าค่าตั๋วจะพุ่งสูงในหลายๆ เส้นทาง แต่นักท่องเที่ยวก็ยังอยากไปเที่ยวเพื่อชดเชยหลายปีที่ไม่สามารถไปไหนได้เลย

ปัจจุบันค่าตั๋วไปกลับที่นั่งชั้นประหยัดของ Singapore Airlines เมืองฮัมบูร์ก เยอรมนี – สิงคโปร์ ต้องใช้วงเงินถึง 5,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 125,000 บาท) เทียบกับก่อนโรคระบาดที่มีราคาเพียง 2,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 50,000 บาท)

ขณะที่ค่าตั๋วไปกลับ ฮ่องกง-ลอนดอน โดยสายการบิน Cathay Pacific Airways ช่วงปลายเดือนมิถุนายนนี้ พบว่าราคาไปถึง 42,051 ดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 185,000 บาท) หรือสูงขึ้นเกือบ 5 เท่าของราคาทั่วไปในช่วงก่อนเกิดโรคระบาด ขณะที่ราคาตั๋วระหว่างนิวยอร์ก-ลอนดอน ในช่วงเวลาเดียวกัน ก็ขึ้นไปถึง 2,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 69,000 บาท)

Mastercard Economics Institute พบว่า ราคาตั๋วเครื่องบินไปหรือกลับจากสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 27% เมื่อเดือนเมษายน 2022 เทียบกับเดือนเมษายน 2019 ขณะที่ไฟลท์ไปหรือกลับออสเตรเลียจะเพิ่มขึ้น 20% ราคาที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกทำให้นักท่องเที่ยวจำนวนมากรีบซื้อตั๋วล่วงหน้านานหลายเดือน เพราะกังวลเรื่องราคาตั๋วนาทีสุดท้าย

“ดีมานด์พุ่งทะยาน” เอ็ด บาสเตียน ซีอีโอ Delta Air Lines กล่าว และบอกด้วยว่า ฤดูร้อนนี้ราคาตั๋วเครื่องบินน่าจะสูงกว่าช่วงก่อนเกิดโรคระบาดถึง 30% ซึ่งจะเกิดขึ้นกับการเดินทางทุกๆ รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อนหรือธุรกิจ

ราคาค่าตั๋วเครื่องบินที่พุ่งสูงเกิดจากหลายสาเหตุรวมกัน และไม่ใช่ทุกเหตุผลที่สายการบินจะควบคุมได้

 

เครื่องบินลำใหญ่ยังไม่ถูกเรียกกลับมาใช้งาน

หลายสายการบินยังไม่นำเครื่องบินลำใหญ่กลับมาใช้งาน ซึ่งหมายถึงเครื่องบินอย่าง แอร์บัส A380 ซูเปอร์จัมโบ้ และโบอิ้ง 747-8 เพราะสายการบินยังต้องการใช้งานรุ่นที่ประหยัดน้ำมันมากกว่าอย่าง แอร์บัส A350 หรือ โบอิ้ง 787 ดรีมไลเนอร์

(Photo by Nicolas Economou/NurPhoto)

เมื่อประเทศใหญ่ในเอเชียอย่างประเทศจีนยังคงปิดพรมแดน ทำให้สายการบินยังไม่พร้อมจะนำเครื่องลำใหญ่มาใช้ รวมถึงการเปิดประเทศเต็มที่ของฝั่งเอเชียก็เพิ่งเริ่มขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทำให้การปรับฟลีทเครื่องบินให้เหมาะสมต้องใช้เวลา “ยังเป็นช่วงเริ่มต้นเท่านั้น เราเพิ่งจะเข้าเดือนมิถุนายนเอง เรื่องนี้ไม่เหมือนกับแค่เปิดก๊อกน้ำหรอกนะ” สุภัส เมนอน ผู้อำนวยการทั่วไป สมาคมสายการบินแห่งเอเชียแปซิฟิก กล่าว

ไฟลท์บินก็น้อยลงตั้งแต่ช่วงเกิดโรคระบาด และหลายเที่ยวบินตรงที่เคยมีก็ยังไม่กลับมา เช่น British Airways ยังไม่กลับมาบินสู่ฮ่องกงเลยในตอนนี้

โดยรวมแล้ว เมื่อมีเที่ยวบินน้อยลง เครื่องบินน้อยและเล็กลง ทำให้มีจำนวนที่นั่งจำกัด เทียบกับดีมานด์ที่เติบโตเร็วกว่า ย่อมส่งผลให้ค่าตั๋วแพงขึ้น

 

น้ำมันแพง (มาก)

เมื่อรัสเซียบุกรุกดินแดนยูเครน ทำให้ราคาน้ำมันดิบโลกพุ่งทะยานขึ้นเรื่อยๆ ต้นทุนน้ำมันขณะนี้คิดเป็นสัดส่วน 38% ของต้นทุนสายการบิน เพิ่มขึ้นจากสัดส่วน 27% เมื่อปี 2019 สำหรับสายการบินโลว์คอสต์ อาจจะคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 50%

นักลงทุนหลายสถาบันวิเคราะห์ว่า สายการบินฝั่งเอเชียจะได้รับผลกระทบสูงกว่าตะวันตก เพราะหลายสายไม่มีการเฮดจ์ราคาเชื้อเพลิงล่วงหน้า

 

พนักงานขาดแคลน

ทั้งนักบิน พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน พนักงานภาคพื้น และอีกมากมายที่เกี่ยวข้องกับการบิน ต่างก็สูญเสียตำแหน่งงานไปในช่วงโรคระบาด แต่เมื่อการท่องเที่ยวฟื้นตัว อุตสาหกรรมกลับพบว่าตนเองไม่สามารถจ้างงานพนักงานกลับมาได้เร็วพอที่จะรองรับ

Photo : Shutterstock

ยกตัวอย่างสนามบินชางงี สิงคโปร์ สนามบินที่มักจะได้รับการโหวตให้เป็นสนามบินที่ดีที่สุดในโลก ประกาศรับสมัครงานพนักงานกว่า 6,600 คน เพราะพนักงานหลายคนที่ให้ออกไปแล้วในช่วง 2 ปีก่อนนี้ เข้าสมัครและทำงานอาชีพอื่นที่ผันผวนน้อยกว่าเรียบร้อยแล้วและไม่ต้องการจะกลับมาในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ทำให้สนามบินชางงีต้องเสนอโบนัสพิเศษสำหรับคนที่สมัครเข้าทำงาน

ในสหรัฐฯ สถานการณ์สายการบินระดับภูมิภาคไม่สามารถทำการบินได้เต็มอัตรา เพราะสายการบินรายใหญ่ซื้อตัวนักบินไปหมด ขณะที่ในอังกฤษ หลายเที่ยวบินถูกยกเลิกในช่วงหยุดเทศกาล ในยุโรปก็พบเห็นเที่ยวบินดีเลย์และยกเลิกมากมายเพราะพนักงานไม่เพียงพอ ทั้งหมดเป็นการ ‘ดิสรัปต์’ ตารางการบิน และทำให้ค่าใช้จ่ายยิ่งสูงขึ้น

 

แพงเท่าไหร่ก็ไป

แม้ว่าค่าตั๋วเครื่องบินจะแพงมหาโหด แต่ก็สกัดกั้นนักท่องเที่ยวไม่ได้ ผู้บริโภคบางส่วนยังขยับงบท่องเที่ยวของตัวเองขึ้นอีก อัปเกรดตั๋วขึ้นเป็นชั้นที่สูงกว่าสำหรับการไปพักผ่อน

“บุคคลที่ได้รับผลกระทบทางอารมณ์จากการล็อกดาวน์ และต้องการไปเที่ยวอย่างมากในช่วงสองปีนี้ พวกเขาฝันถึงการไปเที่ยวมาตลอด” เฮอร์ไมโอนี่ จอย หัวหน้าธุรกิจการท่องเที่ยวเอเชียแปซิฟิก Google กล่าว “ดังนั้น พวกเขาจึงพร้อมจ่ายอย่างมาก”

แล้วเมื่อไหร่ค่าตั๋วจะถูกลง? ไม่มีใครตอบได้แน่ชัดว่าเมื่อไหร่ค่าตั๋วจะถูกลง “การพุ่งขึ้นของค่าตั๋วเป็นปรากฏการณ์ระยะสั้น” สตีเฟน เทรซี่ ซีโอโอของ Milieu Insight บริษัทวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคจากสิงคโปร์ กล่าว “เราหวังได้เพียงว่า เมื่อทุกอย่างกลับมาสมดุลอีกครั้ง ราคาจะกลับลดลง ผมค่อนข้างมั่นใจว่าสถานการณ์นั้นจะเกิดขึ้น”

Source

]]>
1388010
ราคา ‘น้ำมันดิบ’ ปรับตัวขึ้นอีก 3% หลังสงครามรัสเซีย-ยูเครนไม่มีทีท่าจะดีขึ้น https://positioningmag.com/1378369 Mon, 21 Mar 2022 07:40:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1378369 ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นหลังจากการเจรจาระหว่างรัสเซีย – ยูเครนดูเหมือนจะไม่มีสัญญาณของความคืบหน้า และตลาดยังคงกังวลต่ออุปทานที่ตึงตัว กระตุ้นให้สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) เรียกร้องให้ลดการใช้น้ำมันลงในวันศุกร์ที่ 25 มีนาคมนี้

ราคาน้ำมันมีความผันผวนในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยทะยานขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนมีนาคมก่อนที่จะร่วงลงมากกว่า 20% ในสัปดาห์ที่แล้ว โดยแตะระดับต่ำกว่า 100 ดอลลาร์ และกระโดดขึ้นอีกครั้งในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ที่แล้ว ล่าสุด ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าเพิ่มขึ้นมากกว่า +3% ในเช้าวันจันทร์ระหว่างการซื้อขายในเอเชีย เกณฑ์มาตรฐานสากลของน้ำมันดิบเบรนท์อยู่ที่ 111.46 ดอลลาร์ และฟิวเจอร์สสหรัฐที่ 108.25 ดอลลาร์

Mizuho Bank กล่าวว่า 2 ปัจจัยที่ผลักดันราคาน้ำมันให้สูงขึ้น คือ ความไม่แน่นอนของรัสเซีย – ยูเครน ที่แม้จะประชุมกันเป็นระยะเพื่อเจรจาสันติภาพ แต่ยังไม่มีความคืบหน้าถึงข้อตกลงสำคัญ ๆ อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดียูเครน โวโลดีมีร์ เซเลงซี ได้เรียกร้องให้มีการเจรจากับมอสโกอีกรอบ

อีกปัจจัยคือ ผลกระทบของ COVID-19 ในจีน ซึ่งอาจเลวร้ายน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ดังนั้น อาจมีความหวังที่รัฐบาลจะออกมาผ่อนคลายข้อจำกัดต่าง ๆ เช่น อนุญาตให้เริ่มงานใหม่และดำเนินการขนส่งสาธารณะได้ และอาจจะเพิ่มความต้องการการใช้น้ำมัน

ด้วยอุปทานที่ตึงตัวยังคงเป็นข้อน่ากังวลต่อตลาด ส่งผลให้ สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) เรียกร้องให้มี มาตรการฉุกเฉินเพื่อลดการใช้น้ำมันในวันศุกร์ โดยมีแผนออกมา 10 ข้อ เพื่อลดความต้องการใช้น้ำมัน อาทิ การลดขีดจำกัดความเร็วสำหรับยานพาหนะ การทำงานจากที่บ้านสูงสุด 3 วันต่อสัปดาห์ และการหลีกเลี่ยงการเดินทางทางอากาศเพื่อธุรกิจ โดย IEA คาดว่า แผนการดังกล่าวจะสามารถลดอุปสงค์น้ำมันได้ 2.7 ล้านบาร์เรลต่อวันภายใน 4 เดือน

ที่ผ่านมา สงครามรัสเซีย-ยูเครนทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการหยุดชะงักของอุปทานอันเป็นผลมาจากการคว่ำบาตรน้ำมันและก๊าซของรัสเซีย ของสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรป อีกทั้งยังระบุด้วยว่าพวกเขาจะ เลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลของรัสเซีย

ทั้งนี้ จากตัวเลขของ Goldman Sachs พบว่า ในปี 2021 รัสเซียจัดหา 11% ของปริมาณการใช้น้ำมันทั่วโลกและ 17% ของปริมาณการใช้ก๊าซทั่วโลก และเฉพาะในยุโรป รัสเซียเป็นผู้จัดหาก๊าซมากถึง 40%

Source

]]>
1378369
ส่อง 4 ผลกระทบด้าน ‘เศรษฐกิจ’ หลัง ‘รัสเซีย’ เปิดฉากโจมตี ‘ยูเครน’ https://positioningmag.com/1375298 Thu, 24 Feb 2022 13:42:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1375298 วิกฤต รัสเซีย-ยูเครน กำลังเกิดขึ้น แม้จะดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว แต่เพราะเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินเชื่อมโยงถึงกัน อย่างที่การระบาดของ COVID-19 ได้แสดงให้เห็นว่าเหตุการณ์ที่ด้านหนึ่งของโลกสามารถทำให้เกิดแรงกระแทกในอีกด้านหนึ่งได้ ดังนั้นไปดูกันว่าผลกระทบที่จะเห็นได้อย่างชัดเจนเกือบทั่วทั้งโลกมีอะไรบ้าง

ราคาน้ำมันก๊าซธรรมชาติพุ่ง

เนื่องจากรัสเซียเป็นมหาอำนาจด้านพลังงาน โดยผลิตได้ 9.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งปริมาณดังกล่าวมากกว่าที่อิรักและแคนาดาผลิตได้รวมกันเสียอีก ดังนั้น เมื่อ วลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ได้ส่งทหารเข้าไปในยูเครน ซึ่งโดยพฤตินัยแล้วนี่เป็นการประกาศสงคราม

ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าสหรัฐฯ พุ่งขึ้น 4.73% สู่ระดับ 96.46 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์พุ่งขึ้น 4.69% ที่ 101.93 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ผ่านระดับ 100 ดอลลาร์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2014 และแม้จะยังไม่มีความตึงเครียดระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ราคาน้ำมันก็พุ่งสูงขึ้นอยู่แล้ว เนื่องจากกลุ่ม OPEC+ ยืนยันจะรักษาระดับการผลิตน้ำมันไว้ แต่พอเกิดสถานการณ์ดังกล่าวก็ยิ่งส่งผลต่อราคาน้ำมัน

ทั้งนี้ JPMorgan เตือนว่า หากกระแสน้ำมันของรัสเซียหยุดชะงักจากวิกฤตดังกล่าว ราคาน้ำมันอาจพุ่งขึ้นไปที่ 120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และในกรณีที่การส่งออกน้ำมันของรัสเซียลดลงครึ่งหนึ่ง ราคาน้ำมันดิบจะเพิ่มขึ้นเป็น 150 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเลยทีเดียว

เกิดภาวะเงินเฟ้อ

วิกฤตรัสเซีย-ยูเครนอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อแย่ขึ้นไปอีก เนื่องจากราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่สูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลไปถึงค่าใช้จ่ายภายในบ้านเพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ให้บริการด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ก็จะมี ‘ต้นทุน’ ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคอีกทอดหนึ่งที่ต้องจ่ายค่าบริการที่แพงขึ้น

นอกเหนือจากกลุ่มพลังงานแล้ว สินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ อาจประสบกับความผันผวนของราคา เนื่องจากรัสเซียเป็นผู้ผลิตโลหะรายใหญ่ อาทิ แร่แพลเลเดียม แพลตตินัม และนิกเกิล ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของการผลิตไมโครชิป ซึ่งอาจทำให้ราคารถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับราคาขึ้น อีกทั้ง รัสเซียยังเป็นผู้ส่งออก ข้าวสาลีรายใหญ่ที่สุดด้วย ในขณะที่ยูเครนเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีและข้าวโพดรายใหญ่ที่สุด ดังนั้น เป็นได้ที่ข้าวของจะแพงยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ แรงกดดันด้านเงินเฟ้อน่าจะมากขึ้นสำหรับชาวยุโรป เนื่องจากอยู่ใกล้กับวิกฤตและการพึ่งพาพลังงานของรัสเซีย ขณะที่สหรัฐฯ เองปัญหาเงินเฟ้อถือเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ เผชิญอยู่ โดยอัตราเงินเฟ้อแบบปีต่อปีอาจจะเพิ่มขึ้นสูงกว่า 10% จากปัจจุบันที่เพิ่มขึ้น 7.5% ซึ่งอัตราเงินเฟ้อของอเมริกาไม่เคยเพิ่มขึ้นถึง 10% ตั้งแต่ปี 1981

ความปั่นป่วนของตลาดหุ้น

เห็นได้ชัดว่าการบุกโจมตียูเครนอย่างเต็มรูปแบบได้กระตุ้นให้เกิดการเทขายหุ้นอย่างโกลาหล เนื่องจากนักลงทุนเห็นความเป็นไปได้ที่น้ำมันจะแพงขึ้น เงินเฟ้อที่สูงขึ้น และมาตรการการคว่ำบาตรรัสเซีย ซึ่งได้ส่งผลให้ตลาดอาจอยู่ในภาวะตกต่ำเป็นเวลานานจนอาจทำให้ความมั่งคั่งในตลาดหุ้นและในบัญชีเกษียณอายุหายไปหมดสิ้น และความไม่แน่นอนของตลาดอาจสร้างความไม่เชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและธุรกิจได้เช่นกัน

และเมื่อหลังจากมีข่าวการโจมตียูเครนของรัสเซีย ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงอย่างรุนแรง โดย

  • ตลาดหุ้นไทย SET ร่วงลงแล้วกว่า 27 จุด มาอยู่ที่ 1669 จุด
  • ดัชนีดาวโจนส์ของสหรัฐฯ ร่วงลงกว่า 464.85 มาอยู่ที่ 33,131.76
  • ค่าเงินรูเบิลรัสเซีย (USD/RUB) อ่อนค่าลงอยู่ที่ 84.075 รูเบิลต่อดอลลาร์ ถือว่าลดลงมากสุดนับตั้งแต่ปี 2016
  • ด้านสกุลเงินดิจิทัลถูกเทขายอย่างรุนแรง Bitcoin ลดลงมาอยู่ที่ 35,034 ดอลลาร์
  • Ethereum ลดลงมาอยู่ที่ 2,350 ดอลลาร์
  • ทองคำ ซึ่งถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยที่สุดพุ่งทะยานทำสถิติสูงสุดในรอบ 9 เดือนที่ +1,950.10 ดอลลาร์
Photo : Shutterstock

การโจมตีทางไซเบอร์และอื่น ๆ

ประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ เตือนเมื่อวันอังคารถึงความเป็นไปได้ที่รัสเซียจะโจมตีผ่านโลกไซเบอร์ ตัวอย่างคือ การแฮกระบบโคโลเนียลไปป์ไลน์ ในปีที่แล้วแสดงให้เห็นว่าการโจมตีทางไซเบอร์สามารถก่อกวนโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างรุนแรง โดยการแฮกดังกล่าวได้ปิดท่อส่งก๊าซที่สำคัญที่สุดสายหนึ่งในอเมริกา นอกจากนี้ ยังมีการโจมตีในระบบการเงินอีกด้วย

“หากรัสเซียโจมตีสหรัฐอเมริกาหรือพันธมิตรด้วยวิธีการที่ไม่สมดุล เช่น การโจมตีทางไซเบอร์กับบริษัทของเราหรือโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เราก็พร้อมที่จะตอบโต้” ไบเดน กล่าว

การโจมตีทางไซเบอร์เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนสามารถลุกลามไปสู่ชีวิตประจำวันได้อย่างไร

“สงครามวิวัฒนาการไปในทางที่คาดเดาไม่ได้ ดังนั้น ไม่มีใครควรทึกทักเอาเองว่าพวกเขาสามารถเห็นผลกระทบทั้งหมดของสงครามตั้งแต่เริ่มต้น” Kelly แห่ง JPMorgan กล่าว

CNN / cbsnews

]]>
1375298
‘ซาอุดีอาระเบีย’ ยัน! ไม่มีแผนผลิตน้ำมันเพิ่ม แม้เกิดความผันผวนของราคา https://positioningmag.com/1374464 Fri, 18 Feb 2022 02:57:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374464 ซาอุดีอาระเบีย ส่งสัญญาณว่าจะยังไม่เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน และจะไม่ผลักดันการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงกับรัสเซียและผู้ผลิตรายอื่น ๆ ที่ยังคงจำกัดระดับการผลิตน้ำมันไว้ ส่งผลให้รัฐบาลสหรัฐฯ เกิดความกังวล เนื่องจากราคาน้ำมันเบนซินพุ่งขึ้น และความตึงเครียดกับรัสเซียในยูเครนยังเพิ่มความไม่แน่นอนให้ตลาดเชื้อเพลิง

ฝ่ายบริหารของประธานาธิบดี Joe Biden ได้ส่ง Brett McGurk ผู้ประสานงานตะวันออกกลางของสภาความมั่นคงแห่งชาติ และ Amos Hochstein ผู้แทนด้านพลังงานของกระทรวงการต่างประเทศไปยังริยาดเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับสงครามที่ดำเนินอยู่ในเยเมนและการจัดหาพลังงานทั่วโลก

โดยเจ้าหน้าที่ซาอุดิอาระเบียสองคนบอกกับ Associated Press ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของซาอุดีอาระเบียได้แจ้งให้องค์กรของประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน หรือ OPEC+ ทราบถึงความมุ่งมั่นของราชอาณาจักรต่อแผนงานปัจจุบันของกลุ่มในการเพิ่มปริมาณการผลิตอย่างระมัดระวังทุกเดือน

และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กษัตริย์ซัลมาน ได้ตรัสกับ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ว่า จะเน้นถึง “ความสำคัญของการรักษาข้อตกลง” ของ OPEC+ พันธมิตรผู้ผลิตน้ำมันที่นำโดยซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย ทั้งนี้ ซาอุดีอาระเบียมีความสามารถในการผลิตประมาณ 12 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่ปัจจุบัน ผลิตอยู่ที่ประมาณ 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งสอดคล้องกับการควบคุมของ OPEC+ ในช่วงการระบาดของ COVID-19

ปัจจุบัน เกณฑ์มาตรฐานราคาน้ำมันดิบซื้อขายที่ประมาณ 95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 8 ปี  โดยค่าเฉลี่ยของน้ำมันเบนซินปกติหนึ่งแกลลอนในสหรัฐอเมริกามีราคาประมาณ 3.50 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 40% จากค่าเฉลี่ย 2.50 ดอลลาร์ในช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา

สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด

ที่ผ่านมากลุ่ม OPEC+ ได้ปฏิเสธแรงกดดันอย่างต่อเนื่องจากสหรัฐฯ ที่ต้องการให้เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันอย่างเห็นได้ชัด โดยตัดสินใจที่จะเพิ่มความระมัดระวังในแต่ละเดือนแทน ขณะที่ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของทั้งซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย เนื่องจากมอสโกต้องเผชิญกับการคว่ำบาตรจากตะวันตกต่อยูเครน

เราได้เห็นการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาน้ำมัน และราคาน้ำมันที่สูงและอัตราเงินเฟ้อที่สูงนั้นเป็นวัฏจักรและส่งผลกระทบต่อกันและกัน ผู้ผลิตน้ำมันจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีอุปทานเพียงพอกับความต้องการ เพื่อที่ราคาจะไม่ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในวงกว้าง ” Amos Hochstein กล่าว

Fatih Birol กรรมการบริหารของ IEA ก็ได้เรียกร้องให้ผู้ผลิต OPEC+ “เพิ่มปริมาณให้กับตลาด” เพื่อลดความผันผวนของราคาที่สร้างภาระให้ครัวเรือน

Source

]]>
1374464
นักเศรษฐศาสตร์มองปี 65 ปัญหา ‘เงินเฟ้อ’ ยิ่งรุนแรงเนื่องจากไม่มีมาตรการช่วยเหลือจากรัฐ https://positioningmag.com/1369196 Thu, 30 Dec 2021 03:59:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369196 การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ได้นำไปสู่ยุคใหม่ของความไม่เท่าเทียมด้วยปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยนักเศรษฐศาสตร์เตือนว่าประชากรที่ยากจนต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น เนื่องจากต้นทุนต่าง ๆ ที่เพิ่มสูงขึ้น และในปีหน้าปัญหายิ่งรุนแรง เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ของภาครัฐอาจหายไปเนื่องจากการระบาดที่ลดลง

การวิเคราะห์ล่าสุดโดย Penn Wharton พบว่า ในปี 2021 ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและปานกลางในสหรัฐฯ จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นประมาณ 7% หากซื้อสินค้าแบบเดียวกันกับที่พวกเขาซื้อในปี 2020 หรือในปี 2019 ซึ่งคิดเป็นเงินประมาณ 3,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อครัวเรือน

โดยค่าอาหารเพิ่มขึ้น 6.4% ในปีที่ผ่านมา ขณะที่น้ำมันเบนซินพุ่งขึ้น 58% และตอนนี้หลายคนกำลังเผชิญกับราคาที่สูงขึ้นเนื่องจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลกลางค่อย ๆ หายไป แต่ในทางตรงกันข้าม การใช้จ่ายของครัวเรือนที่ร่ำรวยเพิ่มขึ้นเพียง 6%

ประเมินราคาน้ำมันในไทยพุ่ง 25% กระทบธุรกิจ ครัวเรือนเเบกค่าครองชีพเพิ่ม 340 บาท/เดือน

Kent Smetters กล่าวว่า ความไม่เท่าเทียมกันนี้เป็นเรื่องปกติในช่วงที่เงินเฟ้อ ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายที่ราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ครัวเรือนที่มีรายได้สูงได้เปลี่ยนการใช้จ่ายจากสินค้าและไปสู่การบริการมากขึ้น ในขณะเดียวกัน การหยุดชะงักของการผลิตที่เกิดจากการระบาดได้ทำให้ต้นทุนของสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มสูงขึ้น

“สิ่งที่พวกเขากำลังซื้อได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตอุปทาน” Smetters กล่าว

ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลบัตรเครดิตและบัตรเดบิตโดย Alberto Cavallo นักเศรษฐศาสตร์จาก Harvard Business School โดยในช่วงเริ่มต้นของการระบาดใหญ่แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยประสบปัญหาการขึ้นราคาซึ่งหนักกว่าเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับผู้บริโภคที่ร่ำรวย

ในปี 2019 เอกสารร่วมจากนักวิจัยที่ Columbia และ London School of Economics คาดการณ์ว่า จะมีผู้คนอีกประมาณ 3 ล้านคน ที่ต้องดำรงชีวิตอยู่ในความยากจน หากรายได้ของพวกเขาถูกปรับตามอัตราเงินเฟ้อที่พวกเขาประสบ

‘เทลอาวีฟ-อิสราเอล’ ครองแชมป์เมือง ‘ค่าครองชีพสูงสุดในโลก’ แซง ‘ปารีส’ แชมป์เก่า

]]>
1369196
‘OPEC+’ ตัดสินใจเพิ่มกำลังผลิตน้ำมัน แม้ ‘Omicron’ ระบาดอาจทำให้ความต้องการลดลงก็ตาม https://positioningmag.com/1365360 Fri, 03 Dec 2021 11:25:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1365360 OPEC+ กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ตัดสินใจที่จะเพิ่มระดับการผลิตน้ำมันในเดือนมกราคม แม้ว่าทั่วโลกกำลังเผชิญกับ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ที่อาจทำให้ความต้องการใช้น้ำมัน โดยเฉพาะภาคการเดินทางลดลง

ก่อนหน้านี้พันธมิตร OPEC+ ที่นำโดยซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย ได้ต่อต้านแรงกดดันที่นำโดยสหรัฐฯ ในการเพิ่มผลผลิตอย่างมีนัยสำคัญเพื่อแก้ปัญหาราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ขณะที่หลายส่วนคาดว่า กลุ่ม OPEC+ จะลดกำลังการผลิตในเดือนมกราคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการเกิดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ส่งประเทศต่าง ๆ ที่เร่งรีบเพื่อกำหนดขอบเขตการเดินทางใหม่และครุ่นคิดมาตรการอื่น ๆ ที่สามารถลดความต้องการน้ำมัน ซึ่งอาจส่งผลต่อราคา

แต่หลังจากการประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์เป็นเวลากว่าชั่วโมงเล็กน้อยในบ่ายวันพฤหัสบดี สมาชิก 13 คนขององค์กรกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) ในกรุงเวียนนาและพันธมิตรทั้ง 10 ของพวกเขาตัดสินใจที่จะ เพิ่มกำลังการผลิตเล็กน้อยที่ 400,000 บาร์เรลต่อวัน ทุกเดือนเหมือนที่ทำกันมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม

การตัดสินใจดังกล่าวส่งผลให้ราคาน้ำมันมาตรฐานทั้งสองสัญญา WTI และ Brent ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมที่ 62 ดอลลาร์และ 65 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลตามลำดับ จากนั้นพวกเขาฟื้นตัวมาเกือบ 67 ดอลลาร์และ 70 ดอลลาร์ ทั้งคู่เพิ่มขึ้นในวันนี้ แต่ก็ยังต่ำกว่าระดับสูงสุดที่บันทึกไว้ในปลายเดือนตุลาคม

ทั้งนี้ การประชุมกลุ่ม OPEC+ มีขึ้นหนึ่งสัปดาห์หลังจากสหรัฐฯ จีน อินเดีย และญี่ปุ่น ตัดสินใจที่จะลดปริมาณสำรองทางยุทธศาสตร์เพื่อช่วยลดราคาน้ำมันดิบ หลังจากที่ราคาพุ่งสูงขึ้นซึ่งบั่นทอนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งสหรัฐอเมริกายินดีกับการตัดสินใจของสมาชิก OPEC+ เพื่อเพิ่มผลผลิต

“เราเชื่อว่าสิ่งนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก” เจน ซาซากิ โฆษกทำเนียบขาว กล่าว

อเล็กซานเดอร์ โนวัค รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย บอกกับสำนักข่าวว่า การตัดสินใจดังกล่าว “อธิบายได้จากข้อเท็จจริงที่ว่าตลาดมีเสถียรภาพและความต้องการดังกล่าวกำลังฟื้นตัว” อย่างไรก็ตาม เขารับทราบว่ามี “ความไม่แน่นอนอยู่มาก” ที่เชื่อมโยงกับตัวแปร Omicron และกล่าวว่า “แน่นอนว่าเราจะติดตามสถานการณ์นี้ไปพร้อมกับประเทศอื่น ๆ เพื่อดูว่ามันส่งผลต่อการเดินทางอย่างไร”

Source

]]>
1365360