การแสดงความเห็นนี้เกิดขึ้นระหว่างที่เขาโปรโมต Source Code: My Beginnings หนังสือชีวประวัติเล่มใหม่ของตัวเอง ในรายการ The Tonight Show Starring Jimmy Fallon ของ ‘จิมมี่ ฟอลลอน’ (Jimmy Fallon)
ฟอลลอนได้ถามเกตส์ว่า ปัจจุบันใคร ๆ ก็พูดถึง AI แล้วเกตส์คิดว่า มันจะเข้ามามีบทบาทอย่างไรในอนาคต รวมถึงมีข้อดีและข้อเสียในการนำมาใช้งานอย่างไร ?
เกตส์ ตอบว่า AI จะเข้ามามีบทบาทสำคัญและพลิกโฉมรูปแบบของการทำงาน ทำให้มนุษย์ไม่จำเป็นในงานส่วนใหญ่ อาทิ ด้านการผลิต การขนส่ง และการเกษตร เป็นต้น และ AI ยังช่วยให้เข้าถึงบริการสำคัญที่ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็น คำแนะนำทางการแพทย์และการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต ฯลฯ
นอกจากนี้ เขายังทำนายอีกว่า ในอนาคตมนุษย์อาจทำงานเพียง 2-3 วันต่อสัปดาห์ เพราะ AI สามารถทำงานที่ซับซ้อนแทนมนุษย์ได้มากขึ้น ทำให้เกิดคำถามสำคัญ คือ เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้มนุษย์มีชีวิตดีขึ้น หรือจะทำให้หลายล้านคนต้องตกงาน ?
“ด้วย AI เป็นเรื่องใหม่และยังมีความไม่แน่นอนสูง คนจำนวนมากจึงรู้สึกกังวลกับเรื่องนี้ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลก” เกตส์ตอบ
นอกจากนี้แม้ AI จะมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก แต่ยังมีกิจกรรมบางอย่างที่ยังคงต้องมีมนุษย์อยู่ เช่น กีฬา เพราะความสนุกมาจากการมีส่วนร่วมของคนจริง ๆ
ก่อนที่เกตส์จะปิดท้ายว่า ตัวเขาเชื่อมั่นในศักยภาพของวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม รวมถึงความก้าวหน้าทางด้านสุขภาพที่จะสามารถรักษาโรคยาก ๆ ได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์ มาลาเรีย เอชไอวี และโปลิโอ ที่อาจถูกกำจัดได้ภายในไม่กี่ปี
เกตส์ยังเชื่อว่า มนุษยชาติสามารถสามารถนำเทคโนโลยีและการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อนำมาช่วยแก้ไขการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ แค่ขอร่วมมือและมีความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาร่วมกัน
]]>
บิล เกตส์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Microsoft ได้เปิดเผยว่า เขาได้บริจาคเงิน 2 หมื่นล้านเหรียญ หรือราว 7.3 แสนล้านบาท ให้กับมูลนิธิ Bill & Melinda Gates พร้อมกับระบุว่า เขาจะ บริจาคทรัพย์สินทั้งหมด ให้กับมูลนิธิ แม้ว่าชื่อเขาจะหลุดออกจากตำแหน่งบุคคลที่มั่งคั่นที่สุดในโลกก็ตาม
“ผมมีภาระผูกพันที่จะคืนทรัพยากรของผมสู่สังคม เพื่อบรรเทาความทุกข์ยากของผู้คน รวมถึงพัฒนาคุณภาพชีวิตของพวกเขา และผมหวังว่ามหาเศรษฐีคนอื่น ๆ จะช่วยบริจาคเพิ่มมากขึ้น” ข้อความที่บิล เกตส์ประกาศผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว
นับตั้งแต่ปี 1994 บิล เกตส์ และอดีตภรรยา เมลินดา เฟรนช์ เกตส์ ได้บริจาคเงินกว่า 5 หมื่นล้านเหรียญ และถ้าเขาต้องการบริจาคทรัพย์สินทั้งหมด แปลว่าเขาจะบริจาคทรัพย์สินถึง 1.13 แสนล้านเหรียญ จากการประเมินทรัพย์สินทั้งหมดในปัจจุบันของเขาโดยบลูมเบิร์ก
สำหรับมูลนิธิ Bill & Melinda Gates ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2000 โดยมีวัตถุประสงค์ในการค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาระดับโลก เช่น โรคภัยไข้เจ็บ ความยากจน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพและการศึกษา
บิล เกตส์ ระบุว่า มูลนิธิของเขาวางแผนที่จะเพิ่มการใช้จ่ายประจำปีอีกราว 50% จากประมาณ 6 พันล้านเหรียญเป็น 9 พันล้านเหรียญ ภายในปี 2026 เพื่อเป็นทุนในการวิจัยและพัฒนาในการป้องกันโรคระบาดในอนาคต บรรเทาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และลดการเสียชีวิตของเด็กจากโรคที่ป้องกันได้
“ตอนนี้เป็นที่ชัดเจนว่าความต้องการในทุกพื้นที่ที่เราทำงานมีมากขึ้นกว่าที่เคย เพราะในสมัยของเรามีวิกฤตครั้งใหญ่จำนวนมาก และเราต้องการให้ทุกคนทำมากกว่านี้ นับตั้งแต่การระบาดใหญ่ของ COVID-19 และการรุกรานยูเครนของรัสเซีย ถือเป็นการพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ของโลก”
]]>ด้วยการแชร์ประวัติย่อที่เขียนขึ้นเมื่อ 48 ปีที่แล้ว Bill Gates ต้องการบอกโลกว่าการพยายามหางานทำนั้นเป็นอย่างไรในยุคที่ Gates เพิ่งเข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัย ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงก่อนที่ Gates จะลาออกจากมหาวิทยาลัยเพื่อก่อตั้งบริษัท Microsoft อย่างเต็มตัว ถือเป็นข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจมากเกี่ยวกับการเริ่มต้นอาชีพของหนึ่งในคนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในปัจจุบัน
ไม่ว่าประวัติย่อในช่วงเริ่มต้นชีวิตของมหาเศรษฐีรายอื่นที่ประสบความสำเร็จอย่างเหลือเชื่อนั้นเป็นอย่างไร แต่ในเอกสารที่ Bill Gates เปิดเผยออกมานั้นระบุว่าเงินเดือนของหนุ่มน้อย Gates นั้นอยู่ที่ 12,000 ดอลลาร์สหรัฐ (434,640 บาทตามค่าเงินในปัจจุบัน หรือประมาณ 300,000 บาทตามค่าเงินในเวลานั้น) ตัวเลขที่น่าประทับใจสำหรับน้องใหม่ระดับมหาวิทยาลัยทุกคนนี้ทำให้เกิดคำถามว่า การให้กำลังใจผู้คนด้วยเรซูเม่นี้ จะได้ผลดีจริงๆ ใช่ไหม?
นอกจากตัวเลขเงินเดือน ส่วนสูงและน้ำหนักของ Bill Gates เป็นอีกข้อมูลที่ดึงดูดใจชาวโลก เนื่องจากทุกวันนี้ไม่ใช่เรื่องปกติที่จะแบ่งปันรายละเอียดส่วนตัวเช่นนี้ โดยประวัติย่อของ Bill Gates ในอายุ 18 ย่าง 19 ประกาศว่าตัวเองสูง 5 ฟุต 10 นิ้ว และหนัก 130 ปอนด์ ต่อจากนั้นจึงบอกเล่าข้อมูลประวัติการทำงานโดยย่อตามธรรมเนียมปฏิบัติ
หากอ่านโดยไม่ทราบว่า Gates จะเติบโตขึ้นเป็นนักเรียนเกียรตินิยมที่ทำคะแนนได้ A ทุกวิชาในปีแรกที่วิทยาลัยฮาร์วาร์ด ก่อนจะลาออกจากวิทยาลัยในภายหลังเพื่อเริ่มต้น Microsoft เราต้องยอมรับว่าประวัติย่อนี้ให้ภาพรวมของโครงการก่อนหน้าที่ Gates ทำกับ Paul Allen ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทระดับโลกในอนาคต นั่นคือระบบที่ศึกษาการเคลื่อนที่ของทราฟฟิกคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยเหลือ traffic engineer หรือวิศวกรผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น
Gates ในวัย 66 ปีให้ความเห็นเกี่ยวกับเรซูเม่ของตัวเองไว้สั้นๆ ว่าไม่ว่าใครจะเพิ่งจบหรือเพิ่งออกจากวิทยาลัย ตัวเขาก็แน่ใจว่าประวัติย่อของหลายคนจะดูดีกว่าที่ตัวเขาเคยทำเมื่อ 48 ปีก่อนมาก ข้อความนี้สะท้อนความพยายามสร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งไม่เพียงแต่ Bill Gates ในอนาคตเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบุคคลทั่วไปที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ในเส้นทางอาชีพใด ทุกคนก็สามารถมองดูอดีตของตัวเองด้วยความหวังว่าทุกสิ่งจะคลี่คลายไปในทางดีกว่าเดิม
คำพูดของ Gates ที่ว่าประวัติการทำงานของคนยุคนี้อาจดูดีกว่าที่ตัวเขาเคยทำนั้น แม้จะแสดงออกถึงความตั้งใจเพิ่มความมั่นใจให้ “คนหนุ่มสาวหลายล้านคนทั่วโลกที่กำลังมองหางาน” แต่ความสำเร็จไม่ธรรมดาที่ William Henry Gates III ทำได้ในขณะเป็นน้องใหม่ที่ Harvard College นั้นไม่สามารถมองข้ามไปได้ ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายคนจึงยกย่องประวัติย่อของ Bill Gates ว่าไม่มีที่ติ และขอบคุณ Gates ที่พยายามสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคน
ท่ามกลางกระแสขอบคุณ Gates สำหรับการแบ่งปันความทรงจำล้ำค่า ชาวเน็ตบางคนแสดงความทึ่งที่ Gates สามารถทำทุกสิ่งที่ระบุในเรซูเม่ได้ตั้งแต่ตอนเป็นเด็กปี 1 ขณะที่บางคนพูดทำนองว่า อย่าเทียบกันเลยว่าประวัติย่อของคนธรรมดาจะเป็นอย่างไรเมื่อวางคู่กับประวัติย่อของ Gates รวมถึงบางเสียงที่หันมาแซวว่า การใส่ส่วนสูงและน้ำหนักลงในเรซูเม่ของผู้คนยุคก่อน นั้นเหมือนกับการใส่ข้อมูลในแอปพลิเคชันนัดเดทของผู้คนในยุคนี้ไม่มีผิด
ที่มา : Scoopwhoop, The Print, Economic Times, Cnet
]]>บิล เกตส์ออกมาแสดงความคิดเห็นเรื่องโควิด-19 เพื่อโปรโมตหนังสือเล่มใหม่ของตัวเองที่ชื่อ “How to Prevention the Next Pandemic” ไม่เพียงให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวไฟแนนเชียลไทมส์เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม แต่ผู้ก่อตั้งไมโครซอฟท์ (Microsoft) ยังออกมาพูดถึงโควิด-19 ในการตอบกระทู้ถามบน Reddit AMA (Ask Me Anything) ซึ่งบิล เกตส์หมั่นตั้งขึ้นมาเพื่อให้ชาวเน็ตเข้ามาถามคำถามได้ทุกเรื่องเป็นประจำทุกปี
สำหรับปีนี้ คำถามที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ถูกหยิบยกมาสนทนาอย่างคึกคัก ในช่วงเวลา 1 สัปดาห์หลังจากที่เกตส์ประกาศว่าได้ติดเชื้อโควิด-19 แล้วเรียบร้อยเพื่อแสดงความเชื่อมั่นให้ชาวโลกทราบว่ายังคงมีความเสี่ยงเหลืออยู่จากการระบาดใหญ่ครั้งนี้ เจ้าพ่อ Microsoft จึงพยายามย้ำว่าโควิด-19 ยังมีตัวแปรอื่นที่จะสร้างความปั่นป่วนทั้งในเชิงการแพร่ระบาดและการเป็นอันตรายถึงชีวิตมากขึ้น ซึ่งแม้จะดูเหมือนไม่น่าเป็นไปได้
แต่เกตส์ย้ำว่าโควิดรอบนี้ยังมีความเสี่ยงเหลืออยู่อีกไม่ต่ำกว่า 5% และที่สำคัญคือ เกตส์เชื่อว่าโลกยังมาไม่ถึงจุดที่เป็น “สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด” ของโควิด-19 เลย
บิล เกตส์ ตั้งข้อสังเกตว่าไวรัสอาจกลายพันธุ์อีกครั้งหลังจากที่ตัวเลขการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับโควิดกำลังลดลง การออกมาแสดงความคิดเห็นนี้ทำให้เกิดความกังวลมากขึ้น เพราะตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนกำลังเติบโตทั่วโลก และการแพร่กระจายของโรคคือเครื่องเตือนใจชั้นเยี่ยมว่าโควิด-19 ยังคงแฝงตัวอยู่ในสังคม
สถิติจากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ ระบุว่าผู้ติดเชื้อรายใหม่จากโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนกำลังเติบโตทั่วทั้งสหรัฐฯ โดยเพิ่มขึ้นเกิน 9% ในช่วงต้นพฤษภาคมทั่ว 39 รัฐในช่วงเวลานั้น ขณะที่สถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2565 ถึง 27 พ.ค. 2565 พบจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่เพิ่ม 4,837 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ (ม.ค. 2565) มีผู้ติดเชื้อสะสมไปแล้ว 2,211,076 ราย โดยการระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือน ม.ค.2565 มียอดผู้เสียชีวิตสะสมในไทย 8,212 ราย และภาพรวมของการเสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 มีผู้เสียชีวิตรวม 29,910 ราย
สำหรับเกตส์ บทเรียนสำคัญจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 คือการวางแผนป้องกัน และการกำหนดมาตรการเฝ้าระวังจะสามารถช่วยให้โลกจัดการกับการระบาดใหญ่ในอนาคตได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของหนังสือ “How to Prevention the Next Pandemic” ที่กำลังจะออกเผยแพร่ในปลายปีนี้
หนึ่งในข้อเสนอของบิลเกตส์คือการกระตุ้นให้องค์การอนามัยโลกลุกขึ้นมาตั้งทีมเฝ้าระวังระดับโลก ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญที่จะสามารถมองเห็นภัยคุกคามด้านสุขภาพแบบใหม่ในระดับโลกได้อย่างรวดเร็ว ทีมนี้ควรจะประสานงานกับรัฐบาลทั่วโลกอย่างฉับไวเพื่อป้องกันไม่ให้ความเจ็บป่วยในอนาคตกลายเป็นโรคระบาดใหญ่ได้อีก
ไม่เอาแล้วนะแบบเดิม
เพื่อไม่ให้โลกต้องฟกช้ำในรอยเดิม เกตส์ย้ำว่าการตั้งทีมนี้จะต้องระดมทุนมหาศาลจาก WHO และประเทศสมาชิก ไม่เพียงผนึกกำลังทีมผู้เชี่ยวชาญระดับโลก รวมทั้งนักระบาดวิทยาและนักไวรัสวิทยา แต่ยังต้องจัดหาเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการระบุและควบคุมการระบาดในอนาคตในเชิงรุก
เกตส์ตั้งชื่อหน่วยงานไว้คร่าวๆ ว่า โครงการ “Global Epidemic Response and Mobilization” (GERM) ซึ่งเป็นโครงการเดียวกับแผนที่เคยประกาศก่อนหน้านี้ในการประชุม TED ปี 2022 เมื่อเดือนเมษายน เวลานั้นเกตส์ตั้งข้อสังเกตว่า WHO น่าจะต้องใช้เงินมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ต่อปีเพื่อจัดตั้งทีมรับมือระดับโลกดังกล่าว ซึ่งแม้จะมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ต้นทุนของการระบาดใหญ่ครั้งหน้าอาจจะสูงกว่านี้มากนัก
ก่อนหน้านี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าการระบาดของโควิด-19 จะทำให้เศรษฐกิจโลกเสียหายกว่า 12.5 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2567 ในขณะเดียวกัน และมีแนวโน้มว่าผู้คนทั่วโลกกว่า 6.2 ล้านคนต้องเสียชีวิตจากไวรัสโควิด-19 ผลจากการที่พวกเราชาวโลกไม่ได้เตรียมพร้อมรับมือกับโรคระบาดนี้อย่างเหมาะสม ตามที่ WHO และเกตส์ได้กล่าวซ้ำแล้วซ้ำอีกหลายรอบในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
“สำหรับผม ในนามของพลเมืองโลก มันดูบ้าไปหน่อยที่เราไม่ยอมหาบทเรียนจากโศกนาฏกรรมครั้งนี้ และจะไม่ลงทุนอะไรเลย เราจำเป็นต้องใช้เงินหลายพันล้าน เพื่อประหยัดเงินหลายล้านล้าน”
นอกจากแนวคิดเรื่องการตั้งทีม GERM และข้อเสนอแนะอื่น เกตส์ยังให้น้ำหนักกับการต่อสู้เรื่องการแพร่กระจายของข้อมูลเท็จ และการทำให้วัคซีนเข้าถึงได้ง่ายทั่วโลก โดยเกตส์กล่าวว่าเป้าหมายส่วนตัวในปี 2022 ของเขาคือ “การทำให้แน่ใจว่า โควิด-19 เป็นโรคระบาดครั้งสุดท้าย”
และในขณะที่เกตส์ย้ำเตือนว่าอย่าเพิกเฉยต่อความเสี่ยงที่ยังคงมีอยู่ของโควิด-19 มหาเศรษฐีระดับโลกยังไม่ลืมแสดงความมองโลกในแง่ดีว่า โควิด-19 จะสามารถจัดการได้มากขึ้นในฤดูร้อนปีนี้ เพราะในที่สุด ชาวโลกส่วนใหญ่จะสามารถรักษา Covid ได้เหมือนเป็น “ไข้หวัดตามฤดูกาล”
ในกระทู้บน Reddit AMA มีผู้ตั้งคำถามเชิงว่าในเมื่อบิล เกตส์ ไม่ได้จบปริญญาทางการแพทย์ แล้วมายุ่งเกี่ยวกับวงการยาหรือวงการเพทย์ทำไม? และเพราะเหตุใด ความคิดเห็นทางการแพทย์ของบิล เกตส์จึงควรมีความสำคัญ? เกตส์ตอบว่าเพราะมูลนิธิของเขามีผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์จำนวนมาก และการรับมือกับโรคระบาดจำเป็นต้องใช้ทักษะมากมายในการดำเนินการสิ่งต่างๆ ทั้งการกำจัดโรคมาลาเรีย หรือวัคซีนและการรักษาโควิด เมื่อเกตส์ได้ฟังผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับคำแนะนำทางการแพทย์ที่เฉพาะเจาะจง ว่าระบบป้องกันการแพร่ระบาดจะต้องใช้มากกว่าแพทย์ ดังนั้น เกตส์จึงเขียนหนังสือเพื่อเริ่มการอภิปรายว่า เราชาวโลกควรต้องปฏิบัติอย่างไร
เพื่อไม่ให้สถานการณ์ “เลวร้ายที่สุด” ปรากฏตรงหน้าเรา
]]>COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน กำลังสร้างความปั่นป่วนให้กับโลกแทนที่สายพันธุ์เดลตาไปแล้ว แม้จะมีผลงานวิจัยออกมาระบุว่าความรุนแรงนั้นน้อยกว่า แต่ความเร็วในการระบาดนั้นเร็วกว่ามาก แต่ถึงอย่างนั้น บิล เกตส์ (Bill Gates) ก็ยังมองเห็นความหวัง
เมื่อวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา บิล เกตส์ ได้ตอบคำถามผ่าน Twitter ของ Devi Sridhar ประธานฝ่ายสาธารณสุขระดับโลกที่ University of Edinburgh โดยเขากล่าวว่า เมื่อสิ้นสุดการระบาดเวฟ (โอมิครอน) นี้ ประเทศต่าง ๆ สามารถคาดหวังถึงจำนวนผู้ป่วยที่จะลดลงอย่างมากภายในปี 2022 และโควิดจะกลายเป็นเหมือนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลมากขึ้น
บิล เกตส์ กล่าวถึงสถานการณ์ดังกล่าวใน Twitter Q&A ของเขา โดยคาดการณ์ว่า โอมิครอนจะสร้างภูมิคุ้มกันจำนวนมากอย่างน้อยก็ในปีหน้า และหากประเทศสามารถรักษาระดับภูมิคุ้มกันพร้อม ๆ กันกับการระบาดของโควิดได้ ไม่ว่าจะเกิดจากวัคซีนหรือไม่ก็ตาม การระบาดของไวรัสอาจช้าลงนานพอที่จะเปลี่ยนการแพร่ระบาดไปสู่ระยะที่กลายเป็นการระบาดเฉพาะถิ่น และเมื่อถืงเวลานั้น ประชากรโลกอาจต้องฉีดวัคซีนทุกปีเหมือนกับฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ นอกจากนี้ บิล เกตส์ยังมองว่า โอมิครอน จะไม่มีอาการรุนแรงมากเหมือนกับสายพันธุ์อื่น ๆ “สถานการณ์นี้ไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน” แต่ไม่ใช่กับ ผู้ที่ไม่ฉีดวัคซีน
ทั้งนี้ บิล เกตส์ ไม่ใช่คนแรกที่คาดการณ์แบบเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่า การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของ โอมิครอนแม้ว่าจะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง แต่ก็สามารถทำให้ผู้คนมี ภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ ที่จะช่วยควบคุมการระบาดของ COVID-19 ให้เข้าสู่ระยะ โรคประจำเฉพาะถิ่น ที่รุนแรงน้อยกว่ามาก
เมื่อวันที่ 10 มกราคมที่ผ่านมา สหรัฐฯ มีผู้ป่วย COVID-19 รายใหม่ถึง 1.5 ล้านราย ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่ Dr. Anthony Fauci ที่ปรึกษาทางการแพทย์ชั้นนำของประธานาธิบดี Joe Biden คาดการณ์ว่า การระบาดของโอมิครอนในปัจจุบันจะถึงจุดสูงสุดภายในสิ้นเดือนมกราคมนี้
]]>“เป็นปีแห่งการทำลายล้างทุกสิ่ง” คือประโยคแรกที่ “บิล เกตส์” เขียนในโพสต์ส่งท้ายปี 2020 ปกติเกตส์มักจะสื่อสารเรื่องต่างๆ ผ่านบล็อกส่วนตัวของเขาเสมอ หลายครั้งที่เขาแนะนำหนังสือดีประจำปี แต่ปีนี้เกตส์เขียนโพสต์ยาวเหยียดถึงโลกในปี 2020 และความหวังต่อปี 2021
บิล เกตส์ เป็นมหาเศรษฐีอันดับ 4 ของโลก ตามการจัดอันดับของ Forbes ด้วยมูลค่าทรัพย์สินกว่า 1.2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งนั่นคือทรัพย์สินที่เขาเหลืออยู่หลังจากตั้งมูลนิธิร่วมกับภรรยา เมลินดา เกตส์ บริจาคหุ้นใน Microsoft และทรัพย์สินต่างๆ เข้ามูลนิธิเพื่อนำไปใช้เชิงสาธารณกุศล
โดยเฉพาะปีนี้ที่การวิจัยพัฒนาวัคซีนต้าน COVID-19 เป็นสิ่งสำคัญ มูลนิธิของบิลและเมลินดา เกตส์ บริจาคเงินไปแล้ว 420 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อวิจัย พัฒนา ผลิต และแจกจ่ายวัคซีนให้กับประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง
เกตส์เขียนในโพสต์ของเขาว่า โรคระบาด COVID-19 คร่าชีวิตผู้คนไปแล้ว 1.6 ล้านคนทั่วโลก และมีผู้ติดเชื้อสะสม 73 ล้านคน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจนับล้านล้านเหรียญสหรัฐ เขายังระบุไปถึงเรื่องร้ายอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในปี 2020 ที่กระหน่ำซ้ำเติมโรคระบาดในสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นการฆาตกรรม “จอร์จ ฟลอยด์” และ “บรีออนนา เทย์เลอร์” เหตุไฟป่าครั้งใหญ่ และการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ก่อกระแสปัญหาไปทั่วประเทศ
อย่างไรก็ตาม เกตส์มองว่า “มีข่าวดีรออยู่ในปี 2021” เนื่องจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ทำให้การพัฒนาวัคซีนต้านโรค COVID-19 สำเร็จและเริ่มแจกจ่ายแล้ว “มนุษยชาติไม่เคยก้าวหน้าในการป้องกันโรคใดภายในเวลาปีเดียว เหมือนอย่างความคืบหน้ากับไวรัสโคโรนาซึ่งเกิดขึ้นในปีนี้” แม้ว่าปกติวัคซีนอาจต้องใช้เวลามากถึง 10 ปีในการพัฒนา นักวิทยาศาสตร์ในปีนี้สามารถพัฒนาวัคซีน COVID-19 ขึ้นมาหลายตัว ทำให้ทุกคนควรมีความหวังต่อปี 2021 ที่จะมาถึง
เกตส์เขียนต่อไปว่า วัคซีนจาก Moderna และ Pfizer/BioNTech น่าจะ “อยู่ในระดับที่สร้างแรงกระเพื่อมในระดับโลกได้” จำนวนผู้เสียชีวิตและผู้ติดเชื้อในประเทศร่ำรวยจะเริ่มลดลงก่อน “ชีวิตจะกลับมาใกล้เคียงคำว่าปกติมากกว่าเดี๋ยวนี้”
เขายังอธิบายเชิงเทคนิกเกี่ยวกับการพัฒนาวัคซีนด้วยว่า หลักการคือการโจมตี “โปรตีน” ซึ่งเป็นส่วนประกอบสร้างหนามแหลมที่ยื่นออกมาจากตัวไวรัสโคโรนา (และเป็นที่มาของชื่อโคโรนาซึ่งแปลว่ามงกุฏ) ดังนั้น เมื่อนักวิจัยรู้ถึงวิธีการทำงานของโปรตีนตัวนี้ น่าจะมองในแง่บวกได้ว่า วัคซีนตัวอื่นที่กำลังพัฒนาบนหลักการเดียวกัน จะได้ผลเช่นกัน
แต่ความท้าทายต่อไปยังมีอยู่ นั่นคือ “การผลิตวัคซีนให้เพียงพอกับคนทั้งโลก” โลกเราจะต้องการวัคซีน 5,000-10,000 ล้านโดส ขึ้นอยู่กับว่าวัคซีนต้องฉีดเข็มเดียวหรือสองเข็มจึงจะมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เห็นบริบทได้ชัด เกตส์กล่าวว่า ปกติบริษัทผลิตวัคซีนทั้งโลกมีกำลังผลิตรวมกัน 6,000 ล้านโดสต่อปี สำหรับการผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดและโรคที่ต้องฉีดเพิ่มภูมิคุ้มกันตั้งแต่เด็กทั้งหลาย
เพื่อให้ผู้ผลิตวัคซีน COVID-19 สามารถผลิตได้มากขึ้นโดยไม่ต้องสละหยุดผลิตวัคซีนที่เราฉีดเป็นประจำ มูลนิธิของเขาได้เชื่อมโยงบริษัทวัคซีนในประเทศร่ำรวยเข้ากับผู้ผลิตวัคซีนในประเทศกำลังพัฒนา โดยทำสัญญาเรียกว่า “สัญญาแหล่งผลิตทุติยภูมิ” ผู้ผลิตเหล่านี้จะสามารถสร้างวัคซีนในราคาเข้าถึงได้ ด้วยปริมาณที่มากพอ
การทำสัญญานี้แปลกประหลาดอย่างไร เกตส์พยายามอธิบายว่า สัญญาแหล่งผลิตทุติยภูมิก็เหมือนกับบริษัท Ford ยินยอมให้โรงงานแห่งหนึ่งแก่ Honda ใช้ผลิตรถยนต์รุ่น Accord ได้เป็นการชั่วคราว ที่เกิดความแปลกประหลาดนี้ได้ เพราะความเร่งด่วนฉุกเฉินในโลกทำให้บริษัทยาต่างเล็งเห็นประโยชน์ที่ดีกว่า หากจะร่วมมือกันทำงานเช่นนี้
แล้วมูลนิธิของเกตส์เข้าสนับสนุนอะไร? กรณีตัวอย่างที่ดำเนินการแล้วเช่น Serum Institute of India หนึ่งในผู้ผลิตวัคซีนที่ใหญ่ที่สุดของโลก เริ่มผลิตวัคซีนของ AstraZeneca (AZ) แล้ว ล่วงหน้าก่อนที่วัคซีนของ AZ จะได้รับการรับรอง แต่เมื่อได้รับอนุมัติเมื่อไหร่ ประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางจะมีวัคซีนใช้ทันที โดยมูลนิธิของเกตส์รับความเสี่ยงด้านเงินทุนไว้บางส่วน หากวัคซีนไม่ได้รับอนุมัติ บริษัท Serum จะไม่ต้องรับต้นทุนความเสียหายทั้งหมดคนเดียว
ทั้งนี้ เมลินดาและบิล เกตส์ จะอภิปรายสาธารณะอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการบริจาคเพื่อสนับสนุนวัคซีน เพราะพวกเขาเชื่อในการร่วมรับผิดชอบจากการให้คืนความมั่งคั่งของตนกลับสู่สังคม
เกตส์เขียนต่อว่า ความหวังอีกอย่างของปี 2021 คือ ชุดตรวจเชื้อโรค COVID-19 ด้วยการ swab ใช้สำลีแหย่ลึกในโพรงจมูกซึ่งสร้างความรู้สึกไม่สบายตัวผู้รับการตรวจ อาจจะกลายเป็นวิธีการที่ล้าสมัยในไม่ช้า เพราะองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) เพิ่งจะให้การอนุมัติชุดตรวจที่ทำเองได้ที่บ้านเมื่อสัปดาห์ก่อน วิธีการนี้ยังเป็นการ swab โพรงจมูก แต่ไม่ต้องแหย่ลึกเหมือนที่เคยทำกันมา แถมยังไม่ต้องรอผลจากแล็บด้วย
การวิจัยที่ให้ทุนโดยมูลนิธิของเกตส์พบว่า ชุดตรวจเองที่บ้านนี้ให้ผลแม่นยำเท่าๆ กับการตรวจแบบเก่า และมีบริษัทอีกหลายแห่งที่กำลังพัฒนาชุดตรวจที่เป็นมิตรกับผู้ใช้มากกว่าและให้ผลภายใน 15 นาที ซึ่งถ้าหากใช้โดยแพร่หลาย เกตส์มองว่าจะทำให้การแทร็กติดตามการแพร่เชื้อเร็วขึ้นอีก
เขายังสรุปในโพสต์ด้วยความท้าทายทางวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่ง (ที่เราอาจจะเริ่มลืมๆ กันไปแล้ว) คือเรื่อง “โลกร้อน” เกตส์มองว่าการเปลี่ยนตัวประธานาธิบดีเป็น “โจ ไบเดน” จะทำให้การบริหารของประเทศสหรัฐฯ มุ่งเน้นเรื่องสู้โลกร้อนมากกว่าที่เคย “สหรัฐฯ จัดสมดุลแล้วเพื่อกลับสู่ตำแหน่งผู้นำ” ในแง่ของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเขายังรอคอยการประชุม UN ในเดือนพฤศจิกายน 2021 ซึ่งจะดึงผู้นำโลกมาพูดคุยเรื่องโลกร้อนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่งานประชุมที่ปารีสในปี 2015
ปี 2021 ของเกตส์เต็มไปด้วยความหวังจากการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ และเชื่อว่าอะไรๆ จะดีขึ้นจากปี 2020 แล้วคุณล่ะ…มองเห็นความหวังในปี 2021 อย่างไร?
]]>บิล เกตส์ ผู้ก่อตั้งบริษัท Microsoft และมูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ ให้สัมภาษณ์ในรายการ PBS Newshour เมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมาว่า เขามองว่าสหรัฐอเมริกาจะยังไม่ปลอดภัยโดยสมบูรณ์จนกว่าจะถึงช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 2564 (ราวเดือนกันยายน-พฤศจิกายน) เพราะจากความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนรักษาไวรัส COVID-19 น่าจะต้องใช้เวลาอีกมากกว่า 1 ปีกว่าจะสำเร็จ
“วัคซีนจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจนกว่าจะมีวัคซีน อะไรๆ จะยังไม่เป็นปกติอย่างแท้จริง” มหาเศรษฐีใจบุญรายนี้กล่าว “การเปิดเมืองจะทำได้ในระดับหนึ่ง แต่ความเสี่ยงของการติดเชื้อซ้ำจะยังอยู่จนกว่าเราจะระดมฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึง”
เกตส์อธิบายว่า การเว้นระยะห่างทางสังคมจะช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ได้ โดยวิธีการนี้มีเป้าหมายเพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงให้อยู่ในระดับที่สามารถติดตามผู้ใกล้ชิดที่อาจจะติดโรคจากผู้ติดเชื้อได้ทั้งหมด เพื่อนำตัวทุกคนมากักกันโรค
เขายังกล่าวถึงภาพในอนาคต 6-12 เดือนข้างหน้าว่าน่าจะใช้โมเดลประเทศจีนเป็นตัวอย่าง “พวกเขากำลังเปิดให้คนกลับไปทำงาน แต่ยังต้องสวมหน้ากากอนามัยและตรวจไข้อยู่ และยังไม่มีการจัดอีเวนต์กีฬาขนาดใหญ่ เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อซ้ำเป็นวงกว้าง” เกตส์กล่าว
ความเป็นไปได้อีกหนึ่งอย่างในการดำเนินนโยบายเปิดเมืองคือ การอนุญาตการจับกลุ่มได้แบบจำกัดอายุ
“การอนุญาตให้จัดห้องเรียนที่มีแต่คนหนุ่มสาวสัก 30 คนในนั้นอาจจะทำได้ เพราะเราน่าจะเข้าใจบทบาทการเป็นพาหะนำโรคของพวกเขามากขึ้นในอีกประมาณหนึ่งเดือนข้างหน้า การอนุญาตนี้อาจจะเกิดขึ้นจำกัดและน่าจะผ่อนปรนให้กับหนุ่มสาวมากกว่ากลุ่มผู้ใหญ่ทั่วไป” เกตส์กล่าว อย่างไรก็ตาม เขาย้ำว่าการจัดชุมนุมชนขนาดใหญ่ “ยังไม่ควรจัดขึ้นจนกว่าจะมีการปูพรมฉีดวัคซีนเสร็จสิ้น”
สำหรับ “การกลับสู่สภาวะเกือบปกติ” เขามองว่าน่าจะดูตัวอย่างได้จากบางประเทศ เช่น สวีเดน เพราะเป็นประเทศที่ไม่ได้ล็อกดาวน์ประชาชนมากนัก ทำให้ประสบการณ์ของพวกเขาน่าจะมีประโยชน์
บิล เกตส์ นั้นเป็นหนึ่งในพันธมิตรของ สถาบันวัดผลและวิวัฒนาการสุขภาพ ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยด้านสาธารณสุขระดับโลกของ University of Washington เพื่อร่วมทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “นโยบายใดในแต่ละประเทศที่ดูจะทำงานได้ผล” กับการรับมือ COVID-19
]]>ใครกำลังหาเเรงบันดาลใจเเละความรู้ใหม่ๆ ห้ามพลาด นี่คือหนังสือ 5 เล่มที่บิล เกตส์ อยากให้คุณอ่านในช่วงวันหยุดปีใหม่นี้ เพื่อจุดพลังไอเดียของคุณต่อไปในปีหน้า
หนังสือเล่มนี้ครอบคลุมเรื่องราวประวัติศาสตร์อเมริกามานานหลายศตวรรษเขียนโดย Jill Lepore ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และเป็น contributor ของ The New Yorker โดยเกตส์ ยกให้เป็นหนึ่งในหนังสือที่เขียนขึ้นได้อย่างดงามที่สุดเลยทีเดียว
These Truths : A History of the United States บอกเล่าถึงความขัดเเย้งต่างๆ ในอเมริกา ที่เเม้จะก่อตั้งประเทศขึ้นมาโดยใช้หลักเสรีภาพเเต่ต่อมากลับมีการใช้เเรงงานทาส โดยหนังสือเล่มนี้ได้เเบ่งปันข้อเท็จจริงที่ไม่ค่อยมีคนทราบมากนัก ซึ่งเกตส์ ยกตัวอย่างว่าในช่วงระหว่างปี 1830 ถึง ปี 2403 มีเหตุการณ์ความรุนแรงระหว่างสมาชิกสภาคองเกรส มากกว่า 100 ครั้ง
“ทำให้เห็นว่าประวัติศาสตร์อเมริกันยังมีอีกหลายเเง่มุม มากกว่าที่พวกเราเรียนในโรงเรียน เเละความจริงเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราทุกคนควรรับฟัง”
เขาเล่าย้อนไปในสมัยที่เริ่มก่อตั้งไมโครซอฟท์ที่ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำ ใจจดจ่ออยู่กับการสร้างซอฟต์เเวร์ตลอดเวลาจนเเทบไม่ได้นอน เเต่หลังจากอายุเพิ่มขึ้น ตอนนี้เขารู้เเล้วว่า “คนเราไม่ควรสูญเสียเวลานอน” เเละใครก็ตามที่เชื่อว่าพวกเขาสามารถอยู่รอดได้ด้วยการนอนเพียงน้อยนิดนั่นเป็นสิ่งที่ผิด
Why We Sleep: Unlocking the Power of Sleep and Dreams เขียนโดย Matthew Walker นักวิจัยด้านการนอนหลับของมหาวิทยาลัย California-Berkeley กล่าวถึงผลกระทบของการนอนน้อยที่มีผลต่อความจำเเละความคิดสร้างสรรค์ สุขภาพเเละการทำงานของหัวใจ รวมไปถึงการทำงานของสมองเเละระบบภูมิคุ้มกัน
เกตส์มักย้ำอยู่เสมอว่า เขาเฝ้ารอหนังสือเล่มใหม่ของ Vaclav Smil เหมือนกับที่ผู้คนทั้งหลายรอหนังภาคใหม่ของสตาร์ วอร์ส เเละล่าสุดเขาก็เเนะนำหนังสือเล่มนี้ ที่มีความยาวกว่า 500 หน้า บอกเล่าเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของระบบการใช้ชีวิต ไปจนถึงการใช้เทคโนโลยีเเละอารยธรรม
โดย Vaclav Smil พูดถึงข้อจำกัดในการเติบโตและความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงของวิธีที่มนุษย์ปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อม
“ผมไม่เห็นด้วยกับการวิเคราะห์ทั้งหมดของเขา ผมมองโลกในแง่ดีกว่าเขา ในเรื่องที่ว่าเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนในปัจจุบันสามารถนำไปใช้ได้ นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจะพัฒนาแหล่งพลังงานใหม่ที่สะอาด” เกตส์ระบุ อย่างไรก็ตาม เขาก็เห็นว่าหนังสือเล่มนี้เป็นสุดยอดเเห่งการสังเคราะห์วิชาที่ซับซ้อน
หนังสือเล่มนี้บอกเล่าถึง Summit Public Schools กลุ่มของโรงเรียนที่พยายามจะพลิกโฉมการศึกษารูปแบบใหม่ในห้องเรียนทั่วไป เเละคำเเนะนำต่างๆ สำหรับนักเรียน เขียนโดย Diane Tavenner ซีอีโอเเละผู้ก่อตั้งโรงเรียนที่ใช้รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
โดยนักเรียนสามารถกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้เเละการประเมินผลด้วยตนเอง เเทนที่จะมุ่งความสำคัญไปที่คะเเนนสอบ ซึ่งเด็กๆ จะได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริงในโครงการต่างๆ เเละยังมีการประชุมเเลกเปลี่ยนความเห็นกับที่ปรึกษาอย่างต่อเนื่อง
“ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้ไปเยี่ยมโรงเรียนเเห่งหนึ่งเพื่อดูว่าพวกเขาสามารถเปลี่ยนวิสัยทัศน์นี้ให้เป็นจริงได้อย่างไร เเละก็พบว่าที่นั่นช่างเเตกต่างจากโรงเรียนที่ผมเคยเจอมาก่อน ” เกตส์เล่า โดยเขาใช้เงินหลายร้อยล้านเหรียญไปกับความพยายามที่จะเปลี่ยนเเปลงการศึกษาในสหรัฐ
นวนิยายเล่มนี้ เกตส์ได้รับการเเนะนำมาจากลูกสาวของเขา บอกเล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับสามีภรรยาผิวสีคู่หนึ่ง ในรัฐเเอตเเลนตา เมื่อผู้เป็นสามีถูกกล่าวหาว่าก่อคดีข่มขืนจนถูกตัดสินโทษจำคุก 12 ปี เเละชีวิตการเเต่งงานของพวกเขาก็ไปไม่รอด เป็นการนำเสนอให้เห็นความเจ็บปวดจากการถูกจองจำเเละการถูกตีตราจากสังคมไปตลอดชีวิต นอกจากนี้ ยังสะท้อนให้เห็นถึงระบบยุติธรรมที่ไม่ยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนผิวสี
“ถ้าคุณกำลังมองหาสิ่งที่กระตุ้นความคิด ควรอย่างยิ่งที่จะเพิ่มหนังสือเล่มนี้ลงไปในลิสต์ของคุณ”
ที่มา : Bill Gates solves your gift problems: Here are his top 5 books for the holidays
]]>