ประสิทธิภาพวัคซีน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 01 Aug 2021 12:39:35 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ซีอีโอ ‘ไฟเซอร์’ รับประสิทธิภาพลดเหลือ 84% หลังฉีด 6 เดือน มั่นใจฉีดเข็ม 3 สู้เดลตาได้ https://positioningmag.com/1344752 Sun, 01 Aug 2021 03:53:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344752 ในหลายประเทศเริ่มมีการพิจารณาที่จะฉีดวัคซีน เข็ม 3 อาทิ อิสราเอลชาติแรกที่จะเริ่มฉีดวัคซีนไฟเซอร์/ไบออนเทค เข็มที่ 3 ให้บุคคลที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หลังจากพบว่าวัคซีนเหลือประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการเพียง 41% อย่างไรก็ตาม ซีอีโอของไฟเซอร์ก็ออกมายอมรับว่าสำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนประมาณ 4-6 เดือนหลังจากได้รับยาครั้งที่สองประสิทธิภาพการป้องกันลดลงเหลือประมาณ 84%

การศึกษาจากผู้ลงทะเบียนมากกว่า 44,000 คนทั่วทั้งสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ พบว่าประสิทธิผลของวัคซีนแข็งแกร่งที่สุดที่ 96.2% โดยประสิทธิภาพดังกล่าวจะอยู่ระหว่างช่วง 1 สัปดาห์ถึงสองเดือนหลังจากได้รับเข็มที่สอง และจากผลการศึกษาดังกล่าวพบว่าประสิทธิภาพของวัคซีนจะลดลงโดยเฉลี่ย 6% ทุกสองเดือน โดยหลังจากฉีดเข็มที่สองไปแล้ว 4-6 เดือน ประสิทธิภาพจะอยู่ที่ประมาณ 84%

“เราได้เห็นข้อมูลจากอิสราเอลด้วยว่าภูมิคุ้มกันเสื่อมลง ตอนนี้หลังจากช่วงหกเดือนประสิทธิภาพอยู่ระหว่าง 80-90%” Albert Bourla CEO Pfizer กล่าว

อย่างไรก็ตาม การฉีดเข็มที่ 3 จะเป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกันในระดับที่จะเพียงพอที่จะป้องกันสายพันธุ์เดลตาได้ อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารกล่าวเสริมโดยอ้างถึงไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่เกิดจาการกลายพันธุ์ ดังนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลกที่วัคซีนจะมีประสิทธิภาพลดลงเมื่อเวลาผ่านไป

อย่างไรก็ตาม ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐฯ (CDC) และ องค์การอนามัยโลก (WHO) ไม่แนะนำให้ใช้ยากระตุ้นโควิดในขณะนี้ โดย ดร.เคท โอไบรอัน ผู้อำนวยการฝ่ายการสร้างภูมิคุ้มกัน วัคซีน และชีววิทยาของ WHO กล่าวว่า องค์กรยังคงทำการวิจัยว่าจำเป็นต้องฉีดบูสเตอร์เพื่อเพิ่มการป้องกันหรือไม่

Albert Bourla CEO Pfizer

“เราชัดเจนมากในเรื่องนี้ เรายังมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะให้คำแนะนำ ณ จุดนี้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวกำลังมีการพูดถึงอย่างมาก และมีงานวิจัยจำนวนมากที่กำลังดำเนินการอยู่เพื่อให้สามารถให้คำแนะนำได้”

แม้ WHO จะยังไม่แนะนำ แต่ก็มีข้อมูลสนับสนุนจาก CDC ที่เริ่มให้คำแนะนำให้ชาวอเมริกันที่ได้รับวัคซีนครบถ้วนในพื้นที่ที่มีอัตราการติดเชื้อโควิดสูงเริ่มสวมหน้ากากอนามัยในบ้านอีกครั้ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรุนแรงของสายพันธุ์เดลตา

จำนวนผู้ติดเชื้อในอเมริกาเพิ่มขึ้นทั่วประเทศในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาเนื่องจากตัวแปรเดลตา อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่กล่าวว่าการรักษาในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตจากโควิดส่วนใหญ่อยู่ในคนที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน

Source

]]>
1344752
WHO เตือน เลี่ยงฉีด ‘วัคซีนผสมสูตร’ จับคู่ต่างชนิด เพราะเสี่ยงอันตราย ยังไม่มีข้อมูลมากพอ https://positioningmag.com/1341968 Tue, 13 Jul 2021 05:37:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1341968 WHO เตือน ควรหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เเบบผสมสูตรหรือจับคู่วัคซีนต่างชนิด ที่กำลังเป็นกระเเสในหลายประเทศ เพราะอาจก่อให้เกิดอันตราย เเละยังไม่มีข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบด้านสุขภาพที่เพียงพอ พร้อมเรียกร้องให้ประเทศร่ำรวยช่วยบริจาควัคซีน

Soumya Swaminathan หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์ ขององค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า การฉีดเเบบผสมสูตรจับคู่ฉีดวัคซีนจากผู้ผลิตหลายรายให้กับประชาชน ซึ่งหลายประเทศกำลังจะดำเนินการอยู่นั้น ถือเป็น ‘dangerous trend’ เพราะตอนนี้มีข้อมูลการวิจัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนแบบผสมสูตรอยู่น้อยมากไม่ทราบถึงผลข้างเคียงที่เเน่ชัดเเละอาจเกิดผลกระทบในการฉีดวัคซีนครั้งต่อๆ ไป

การจับคู่ผสมวัคซีนต่างชนิดเข้าด้วยกัน เป็นกระแสนิยมที่ค่อนข้างอันตราย เรายังไม่มีข้อมูลหลักฐานใด ๆ ที่จะมาสนับสนุนเรื่องนี้

พร้อมมองว่า อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในหลายประเทศ หากประชาชนเริ่มตัดสินใจเองว่าจะฉีดวัคซีนโควิดเข็มที่สอง สาม สี่ ได้เมื่อไหร่และจะใช้วัคซีนของผู้ผลิตรายใด

ข้อมูลการผสมวัคซีนยังมีจำกัด บางทีมันอาจจะเป็นอาจเป็นวิธีที่ดีมากก็ได้ แต่ตอนนี้ เรามีเพียงข้อมูลการผสมด้วยสูตร เข็มที่ 1 AstraZeneca และตามด้วย Pfizer เท่านั้น

เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา คณะกรรมการที่ปรึกษาแห่งชาติด้านการสร้างภูมิคุ้มกัน หรือ NACI ของแคนาดา อนุญาตให้ฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 เข็มแรกและเข็มสองต่างชนิดกันได้ เเต่ยืนยันว่า ควรเป็นวัคซีนชนิดเดียวกัน’ เเละยังจำกัดอยู่แค่เพียงวัคซีน 3 ยี่ห้อเท่านั้นคือ Pfizer, Moderna และ AstraZeneca

ขณะที่ วานนี้ (12 ..) คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติของไทย มีมติเห็นชอบให้ฉีดวัคซีนต่างชนิดกันได้โดยประชาชนผู้ได้รับวัคซีน Sinovac เข็มที่ 1 ให้ฉีดเข็มที่ 2 เป็น AstraZeneca โดยฉีดเว้นระยะห่างกัน 3-4 สัปดาห์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตา

สำนักข่าวต่างประเทศหลายสำนักรายงานว่าไทยจะเป็นประเทศเเรกในโลกที่ใช้วัคซีนโควิด ผสมสูตร Sinovac+AstraZeneca” 

Photo : Shutterstock

อย่างไรก็ตาม เเม้ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบทั้ง 2 เข็มเเล้ว ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตาที่กำลังระบาดทั่วโลก ทางองค์การอนามัยโลก จึงยังคงกระตุ้นให้ผู้คนสวมหน้ากากอนามัยและปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมอย่างเคร่งครัด

สิ่งสำคัญในเวลานี้ คือต้องให้ประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุดและเร็วที่สุด เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิต

ด้าน Tedros Adhanom Ghebreyesus ผู้อำนวยการใหญ่ของ WHO ระบุว่า ยังคงมีความไม่เท่าเทียมในการ
กระจายวัคซีนในประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจแตกต่างกัน 

โดยเรียกร้องให้ประเทศร่ำรวย ร่วมบริจาควัคซีนให้แก่ประเทศยากจน เพื่อกระจายวัคซีนเข็มเเรกให้มากที่สุด แทนที่จะเดินหน้าทำการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 หรือ Booster Shot เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ซึ่งยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่าแนวคิดนั้นสิ่งจำเป็นในเวลานี้หรือไม่

สำหรับตัวเลขผู้ป่วยโควิด-19 จากทั่วโลกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน เเละยอดผู้เสียชีวิตก็กลับมาเพิ่มขึ้นสูงอีกครั้ง หลังลดลงตลอด 10 สัปดาห์ที่ผ่านมา สาเหตุหลักๆ มาจากการเเพร่ระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตาที่ระบาดหนักในพื้นที่มากกว่าร้อยประเทศทั่วโลก

 

 

ที่มา : Reuters , CNBC , Global News 

 

]]>
1341968
ส่อง 10 เรื่องเกี่ยวกับ ‘วัคซีนโควิด’ ที่ชาวโซเชียลไทยให้ความสนใจมากที่สุด https://positioningmag.com/1335070 Wed, 02 Jun 2021 08:40:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1335070 แม้จะมีการประกาศให้ประชาชนเริ่มลงทะเบียนและนัดวัน-เวลา การฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมา แต่ยังคงมีข้อสงสัย และคำถามต่าง ๆ มากมายจากคนบนโลกโซเชียล ซึ่งบริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด จึงได้รวบรวมข้อสงสัย และความกังวลใจของคนบนโลกโซเชียล ผ่านการเก็บข้อมูลผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE ในช่วงวันที่ 1- 31 พ.ค. 

จากการสำรวจพบว่ามีจำนวน Engagement สูงกว่า 53,000,000 Engagement คิดเป็นค่าเฉลี่ยต่อวันถึง 1,600,000 Engagement โดยถูกพูดถึงผ่านช่องทางหลัก คือ Facebook และ Twitter โดย 10 เรื่องหลัก ๆ ที่ชาวโซเชียลให้ความสนใจเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 มีดังนี้

ผลข้างเคียงวัคซีนโควิด

ชาวโซเชียลยังคงตั้งคำถามเรื่องผลข้างเคียงของวัคซีนที่ทำให้เกิดอาการชาหรืออ่อนแรง ซึ่งเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนกันเป็นประเด็นหลัก ๆ รวมถึง เรื่องวัคซีนต่างแบรนด์ จะมีผลข้างเคียงต่างกันไหม?

การลงทะเบียนฉีดวัคซีน

การลงทะเบียนรับสิทธิ์ผ่านทางเว็บไซต์ หรือแอป รวมถึงการเปิดให้ลงทะเบียนรับวัคซีนผ่านหลากหลายช่องทางจนทำให้เกิดข้อสงสัย เช่น ขั้นตอนการลงทะเบียนในช่องทางต่าง ๆ ทำอย่างไร? หลังลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ต้องทำอย่างไรบ้าง และจะได้ฉีดวัคซีนเมื่อไร? และสามารถเลือกแบรนด์ได้หรือไม่?

ประสิทธิภาพของวัคซีน

ถือเป็นเรื่องที่คนให้ความสนใจกันในอันดับต้น ๆ คือ เรื่องประสิทธิภาพของวัคซีน ไม่ว่าจะเป็นคำถามที่ว่าวัคซีนแต่ละแบรนด์มีประสิทธิภาพต่างกันอย่างไร? วัคซีนที่มีให้ฉีดในตอนนี้สามารถป้องกันเชื้อได้มากน้อยเพียงใด และป้องกันสายพันธุ์ไหนได้บ้าง? รวมถึงเชื้อโควิดบางสายพันธุ์จะทำให้ประสิทธิภาพลดลงหรือไม่?

การสร้างภูมิคุ้มกัน

ภูมิคุ้มกันที่ได้หลังฉัดวัคซีนเป็นอีกเรื่องที่หลายคนต้องการทราบ เกิดคำถามตามมาว่าวัคซีนแต่ละแบรนด์สร้างภูมิคุ้มกันได้มากน้อยเพียงใด? ภูมิคุ้มกันจะอยู่ในร่างกายได้นานเพียงใด? และคนไทยจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้เมื่อไรและอย่างไร? และหลังการฉีดวัคซีน ยังมีโอกาสติดโควิดหรือไม่?

ผู้ได้ประโยชน์จากวัคซีน

ข่าวความสำเร็จของวัคซีนทำให้หลายคนตั้งคำถามว่านอกจากประชาชนที่ได้รับประโยชน์ทางตรงแล้ว ใครที่ได้ประโยชน์จากเรื่องนี้บ้าง?

กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว

หากเป็นบุคคลที่อยู่ใน 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง เบาหวาน และโรคอ้วน ควรฉีดวัคซีนแบรนด์ใด และควรเตรียมตัวก่อนเข้ารับการฉีดอย่างไร? นอกจากนี้ อาการและภาวะอื่น ๆ เช่น ตั้งครรภ์หรือเป็นประจำเดือน สามารถฉีดวัคซีนได้หรือไม่?

กลุ่มคนสูงอายุ

หลายคนสงสัยว่าผู้สูงอายุควรฉีดวัคซีนหรือไม่ และหากฉีด วัคซีนแบรนด์ใดจะปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป?

แผนกระจายวัคซีน

มีคำถามถึงความคืบหน้าแผนการฉีดวัคซีนครึ่งหลังปี 2564 ในกลุ่มบุคคลทั่วไปว่าจะเริ่มฉีดได้เมื่อใด? รวมถึง แผนการนำเข้าวัคซีนแบรนด์อื่นว่าจะมาถึงไทยและสามารถฉีดได้เมื่อใด?

การฉีดวัคซีนซ้ำ

หลายคนกังวลกรณีฉีดวัคซีนแล้ว มีวัคซีนใหม่ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าออกมา สามารถฉีดซ้ำได้หรือไม่? หรือหากเคยติดเชื้อCOVID-19 แล้ว จำเป็นต้องฉีดวัคซีนอีกหรือไม่? รวมถึงการรับวัคซีนเข็มที่ 2 สามารถเปลี่ยนแบรนด์ได้หรือไม่ หรือมีความจำเป็นต้องรับวัคซีนเข็มที่ 2 จากแบรนด์เดิมเท่านั้น

ราคาวัคซีน

ประชาชนมีความต้องการวัคซีนทางเลือกค่อนข้างสูง อาทิ โมเดอร์นา ทำให้เกิดความสงสัยเกี่ยวกับราคาตามมา ว่าราคาต่อโดสอยู่ที่เท่าไร?

วัคซีนถือเป็น ความหวัง และเป็น อาวุธ สำคัญที่จะช่วยหยุดการแพร่ระบาด สร้างภูมิคุ้มกัน บรรเทาอาการป่วยรุนแรงและลดอัตราการเสียชีวิตของประชาชนได้ อย่างไรก็ตาม ด้วยจำนวนที่จำกัดทำให้การจะฉีดวัคซีนอาจจะล่าช้า ดังนั้น สิ่งที่ทุกคนทำได้ตอนนี้ คือ การสวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือให้สะอาด และเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและคนรอบข้าง

]]>
1335070
วิจัยเกาหลีพบ “วัยเกษียณ” ฉีด Pfizer/AstraZeneca “เข็มเดียว” ประสิทธิภาพเกิน 86% https://positioningmag.com/1330730 Thu, 06 May 2021 05:19:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1330730 ข้อมูลจากเกาหลีพบว่า ผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไปหลังได้รับวัคซีน Pfizer หรือ AstraZeneca เพียงเข็มเดียว ประสิทธิภาพป้องกัน COVID-19 สูงมากกว่า 86%

รายงานข่าวจาก Reuters ระบุข้อมูลที่ออกโดย สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคเกาหลีใต้ (KDCA) พบว่า วัคซีน Pfizer มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค COVID-19 อยู่ที่ 89.7% หลังการฉีดเข็มแรก 2 สัปดาห์ ขณะที่วัคซีน AstraZeneca สามารถป้องกันได้ 86.0% หลังฉีดเข็มแรก 2 สัปดาห์

อย่างไรก็ตาม กลุ่มประชากรที่ KDCA ศึกษา เป็นการเจาะเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไปจำนวน 3.5 ล้านคน โดยกว่า 5.2 แสนคนในจำนวนนี้ได้รับวัคซีนเข็มแรกมานานกว่า 2 เดือนแล้ว

ด้านผลข้างเคียงร้ายแรงจากการฉีดวัคซีน ทางกระทรวงสาธารณสุขเกาหลีใต้ระบุว่ามีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ แต่อยู่ใน “อัตราที่ต่ำมาก” และส่วนใหญ่สามารถรักษาได้

ปัจจุบัน เกาหลีใต้มีประชากรได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 เข็มคิดเป็นสัดส่วน 6.7% ของประชากรทั้งหมด หากวัดประชากรที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มจะมีเพียง 0.5% เท่านั้น โดยประเทศนี้ตั้งเป้าจะสร้างภูมิคุ้มกันให้ประชากร 70% ภายในเดือนกันยายน และต้องการให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ภายในเดือนพฤศจิกายน

Photo : Shutterstock

ผลการศึกษาของ KDCA ค่อนข้างแตกต่างจากข้อมูลประสิทธิภาพวัคซีนสองชนิดนี้ที่เคยมีการศึกษามา เพราะก่อนหน้านี้ AstraZeneca ถูกระบุว่ามีประสิทธิภาพป้องกันโรค 76% หลังจากฉีดครบ 2 โดส ซึ่งต่ำกว่าที่ KDCA พบว่าฉีดเพียงเข็มเดียวก็ป้องกันได้ถึง 86% แล้ว

ขณะที่ Pfizer ยังถือเป็นข้อมูลที่สอดคล้องกัน เพราะข้อมูลเดิมพบว่าการฉีดครบ 2 โดสจะป้องกันได้ 95% เพิ่มขึ้นมากกว่าการฉีดโดสเดียวที่ป้องกันได้ 89.7% ตามการศึกษาของ KDCA

ความแตกต่างนี้ เป็นไปได้ว่าเกิดจากสายพันธุ์ของ COVID-19 ที่เกิดกลายพันธุ์ไปหลายพันธุ์แล้ว เช่น สายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์บราซิล สายพันธุ์แอฟริกาใต้ โดยที่ KDCA ไม่ได้ระบุแยกย่อยถึงประสิทธิภาพการป้องกันต่อสายพันธุ์ต่างๆ

ข้อมูลนี้มีความสำคัญ เพราะขณะนี้สหราชอาณาจักรวางแผนการฉีดวัคซีนโดยเน้นการฉีด “เข็มแรก” ให้กับประชากรให้ได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของประเทศก่อน ดังนั้น ข้อมูลประสิทธิภาพจากการฉีดเข็มแรกที่เกิดขึ้นจะเป็นข้อมูลสนับสนุนสำคัญต่อวิธีวางแผนของอังกฤษ และอาจเป็นตัวอย่างให้กับประเทศอื่นที่เพิ่งเริ่มการฉีดวัคซีนได้

Source

]]>
1330730