ผลข้างเคียงโควิด – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 28 Jul 2021 07:30:01 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘ไบเดน’ ผลักดันให้ผู้ป่วย ‘long COVID’ ได้รับการช่วยเหลือ-มีสิทธิ คุ้มครองตามกฎหมายผู้พิการ https://positioningmag.com/1344344 Wed, 28 Jul 2021 07:19:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344344 ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เเห่งสหรัฐฯ ผลักดันให้ผู้ป่วย ‘long COVID’ ที่หายจากการติดเชื้อเเล้ว เเต่ยังคงมีอาการข้างเคียงเรื้อรัง ที่อาจเข้าข่ายทุพพลภาพจะต้องได้รับสิทธิ สวัสดิการ การช่วยเหลือคุ้มครองตามกฎหมาย

ในขณะที่ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่ที่มีอาการไม่รุนเเรงมากนัก จะฟื้นตัวได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ แต่บางคนกลับมีอาการเรื้อรังในระยะยาว เเตกต่างกันไป ตั้งแต่ปวดข้อ เป็นไข้ เหนื่อยล้า มองเห็นภาพซ้อน ไปจนถึงผมร่วง

ชาวอเมริกันจำนวนมาก ดูเหมือนจะหายจากไวรัสโควิดเเล้ว เเต่ก็ยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายที่รออยู่ข้างหน้า เช่น ปัญหาการหายใจ ภาวะสมองล้า (Brain Fog) อาการปวดเรื้อรัง หรือความเหนื่อยล้าต่างๆ บางครั้งอาจเพิ่มระดับความรุนแรงจนเข้าข่ายความพิการได้ไบเดนระบุ

ทำเนียบขาว กำลังประสานหน่วยงานต่างๆ เพื่อดูเเลชาวอเมริกันที่มีอาการ ‘Long COVID’ ที่เข้าข่ายทุพพลภาพ ให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย สามารถเข้าถึงสิทธิและทรัพยากรภายใต้กฎหมายคนพิการ เช่น การอำนวยความสะดวกและบริการในที่ทำงานและโรงเรียน ระบบบริการสุขภาพให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี

ทางกระทรวงสาธารณสุขและบริการมนุษย์ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงแรงงาน ได้ออกแนวทางปฏิบัติเพื่อให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิดในระยะยาวได้รับความช่วยเหลือต่างๆ จากรัฐบาลกลาง

เเต่แนวทางปฏิบัติดังกล่าว ระบุชัดเจนว่า  ‘Long COVID ไม่ถือเป็นความพิการโดยอัตโนมัติโดยจะต้องมีการประเมินเป็นรายบุคคลอย่างละเอียดว่า ผลกระทบหรืออาการใดๆ ก็ตามจากการป่วยโควิดในระยะยาวนั้น ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือไม่ อย่างไร

โดยผู้ป่วย ‘Long COVID’ อาจได้รับสิทธิในการปรับสภาพแวดล้อมเพิ่มเติม ‘ตามสมควร’ ในที่ทำงานหรือที่โรงเรียน เเละสามารถเข้าถึงทรัพยากรของชุมชนในด้านการรักษาพยาบาลและที่อยู่อาศัยได้

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการรักษาผู้ป่วย ‘long COVID’ ยังเป็นไปอย่างจำกัด ซึ่งทางองค์การอนามัยโลก (WHO) และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ (CDC) กำลังอยู่ระหว่างการศึกษา ทำความเข้าใจระยะการฟื้นตัวโรคโควิด-19 ให้ดีขึ้น

 

ที่มา : NBC , Reuters 

]]>
1344344
แพทย์เผย ‘ผู้ติดเชื้อโควิด’ ราว 10% อาจมีความผิดปกติในการรับกลิ่นนาน 3 ปี https://positioningmag.com/1343013 Mon, 19 Jul 2021 05:23:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1343013 ในปี 2020 มีหญิงชาวอังกฤษรายหนึ่งที่หายจากโรคโควิด แม้จะหายขาดแต่สิ่งหนึ่งที่ไม่กลับมาเป็นเหมือนเดิมก็คือการรับ กลิ่น ที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป โดยแพทย์พบว่า 90% ของผู้ป่วยโควิดอาการจะหายไปในไม่กี่สัปดาห์ แต่บางคนอาจต้องใช้เวลาถึง 3 ปี ถึงการรับกลิ่นจะกลับมาปกติ

มีสาวอังกฤษได้แชร์ประสบการณ์หลังจากหายจาก COVID-19 โดยในช่วงแรกนั้นเธอสูญเสียการรับรู้รสชาติและกลิ่น แต่ 3 เดือนต่อมาการรับกลิ่นก็กลับมาแต่ไม่เหมือนเดิม โดยเธอเรียกมันว่า ‘กลิ่นโควิด’ เพราะไม่ว่ากลิ่นอะไรก็ตามที่เธอได้รับมันผิดเพี้ยนไปหมดเป็นกลิ่นที่เหม็นแทน ซึ่งเธอต้องอยู่กับอาการดังกล่าวมานานกว่า 1 ปี

โดยศัพท์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับอาการดังกล่าวเรียกว่า Parosmia เป็นความผิดปกติการตรวจจับกลิ่น โดยสมองจะเปลี่ยนเป็นกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์โดยทั่วไป เช่น กลิ่นเน่า แม้ไม่ทราบจำนวนผู้ป่วยโรค Parosmia ที่แน่นอน แต่ผล การศึกษาที่ตีพิมพ์ในเดือนกรกฎาคม 2020 พบว่า 89% ของผู้ที่สูญเสียกลิ่นเนื่องจากโควิดจะฟื้นตัวภายใน 4 สัปดาห์

ส่วนที่เหลืออีก 11% รายงานการสูญเสียกลิ่นอย่างต่อเนื่องหรือ Parosmia และการศึกษาอีกครั้งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2021 พบว่าใน 47% ของผู้ป่วย COVID-19 จะรับกลิ่นและรสชาติที่เปลี่ยนไป

อย่างไรก็ตาม Carl Philpott จากโรงเรียนแพทย์ Norwich Medical School แห่งมหาวิทยาลัย East Anglia ระบุว่า การสูญเสียกลิ่นอันเนื่องมาจาก COVID-19 จะกลับมาในที่สุด แต่มีประมาณ 10% ที่อาจใช้เวลาถึง 3 ปี ส่วนอีก 90% ของผู้คนจะได้รับกลิ่นของพวกเขากลับคืนมาภายใน 2-3 สัปดาห์หลังการติดเชื้อ

ทั้งนี้ แม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีวิธีรักษา parosmia แต่วิธีหนึ่งในการฟื้นฟูอย่างรวดเร็วคือการเริ่มฝึกการดมกลิ่น โดยต้องฝึกเพื่อกระตุ้นและขยายเส้นประสาทในจมูกที่มีหน้าที่ในการดมกลิ่น โดยการศึกษาดั้งเดิมแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างการบำบัดด้วยกลิ่นและการฟื้นฟู ได้แก่ โคลเวอร์, ยูคาลิปตัส, มะนาว และดอกกุหลาบ

“ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแสดงให้เห็นว่าเมื่อเวลาผ่านไปมันอาจจะดีขึ้น”

Source

]]>
1343013