ผูกขาด – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 05 Mar 2024 05:54:55 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Apple โดนสหภาพยุโรปปรับเป็นเงินก้อนใหญ่เกือบ 70,000 ล้านบาท จากประเด็นผูกขาด App Store https://positioningmag.com/1465072 Tue, 05 Mar 2024 03:45:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1465072 สหภาพยุโรปปรับเงิน Apple มากถึง 1,800 ล้านยูโร จากประเด็นผูกขาด App Store หลังจากที่ Spotify ได้ร้องเรียนการขัดขวางไม่ให้แจ้งผู้ใช้งานว่าสามารถจ่ายเงินค่าบริการจากนอกแพลตฟอร์มได้ ซึ่งเม็ดเงินค่าปรับดังกล่าวสูงกว่าที่คาดไว้

Apple ถูกสหภาพยุโรปปรับเป็นเงินมากถึง 1,800 ล้านยูโร หรือคิดเป็นเงินไทยเกือบ 70,000 ล้านบาท จากข้อหาที่ผูกขาด App Store และขัดขวางไม่ให้คู่แข่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการ Music Streaming รายอื่นสามารถแจ้งผู้ใช้งานได้ว่าสามารถจ่ายเงินค่าบริการจากนอกแพลตฟอร์มได้

ปัจจุบัน Apple ห้ามแอปประเภท Music Streaming แจ้งผู้ใช้งาน iOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับ iPhone และ iPad ว่าสามารถสมัครสมาชิกด้านนอกแอปที่มีราคาถูกกว่าการสมัครผ่านแอปใน iOS ได้ ซึ่งถ้าหากมีการสมัครผ่านแอปโดยตรงนั้นจะโดน Apple หักค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก 30% ทำให้ผู้พัฒนาแอปหลายรายไม่พอใจ

ขณะเดียวกันค่าปรับดังกล่าวยังสูงกว่าที่หลายฝ่ายคาดไว้ ซึ่งในตอนแรกคาดว่าจะอยู่ที่ราวๆ 500 ล้านยูโรเท่านั้น

คำตัดสินดังกล่าวมาจากข้อกล่าวหาที่ Spotify ได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการยุโรปถึงพฤติกรรมของ Apple ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เช่น การขวางไม่ให้อัปเดตตัวแอป เนื่องจากบริษัทให้ผู้ใช้งานรายใหม่สมัครสมาชิกนอกแอปฯ ของตัวเองจะได้ฟังเพลงฟรี 3 เดือนในราคา 0.99 เหรียญเท่านั้น

Margrethe Vestager กรรมาธิการการแข่งขันของคณะกรรมาธิการยุโรปกล่าวว่า Apple ใช้ตำแหน่งที่โดดเด่นในทางที่ผิดมานานนับ 10 ปี หลังจากนี้ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ จะต้องยกเลิกข้อจำกัดที่มีอยู่ทั้งหมด

รายได้จาก App Store นั้นถือว่าเป็นรายได้สำคัญของ Apple ปัจจุบันรายได้ในส่วนดังกล่าวนั้นมีสัดส่วนมากกว่า 20% ของรายได้รวมของบริษัทแล้ว

ไม่ใช่แค่สหภาพยุโรปเท่านั้นที่มองถึงเรื่องการผูกขาด App Store แต่หน่วยงานกำกับดูแลหลายประเทศเองเริ่มบีบ Apple หรือแม้แต่ Google ให้เปิดเสรีมากขึ้น เนื่องจากมองว่าผู้เล่นรายอื่นควรที่จะเข้ามาแข่งขันได้ เช่น ในกรณีของญี่ปุ่น เป็นต้น

ทางฝั่งของ Apple กล่าวว่าจะอุทธรณ์คำตัดสินดังกล่าว และมองว่าผลการตัดสินนั้นผู้ที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือฝั่งของ Spotify ซึ่งได้เข้าพบกับคณะกรรมาธิการยุโรปมากถึง 65 ครั้งในช่วงที่ผ่านมา และมองว่าบริษัทไม่ได้ผูกขาดบริการ Music Streaming เนื่องจาก Spotify มีส่วนแบ่งทางการตลาดมากถึง 56% ในทวีปยุโรป

ที่มา – BBC, CNN, The Guardian

]]>
1465072
‘เกาหลีใต้’ สั่งปรับ ‘Google’ กว่า 1,100 ล้าน ข้อหากีดกันผู้พัฒนาไม่ให้ปล่อยเกมบนแพลตฟอร์มคู่แข่ง https://positioningmag.com/1427256 Wed, 12 Apr 2023 01:52:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1427256 คณะกรรมาธิการการค้าที่เป็นธรรมของเกาหลีใต้ (KFTC) ได้ปรับ Google บริษัทลูกของ Alphabet เป็นจำนวน 42.1 พันล้านวอน (ประมาณ 1,100 ล้านบาท) เนื่องจากบล็อกผู้พัฒนาไม่ให้ปล่อยเกมมือถือบนแพลตฟอร์มคู่แข่งของเกาหลีที่ชื่อว่า One Store

Google ได้ถูกกล่าวหาว่า บริษัทได้กำหนดให้บริษัทผู้ผลิตวิดีโอเกมของเกาหลีใต้เผยแพร่เกมใหม่ได้เฉพาะบน Play Store ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2016 จนถึงเมษายน 2018 ซึ่งหมายความว่า Google ห้ามผู้ผลิตเกมท้องถิ่นไม่ให้เผยแพร่เนื้อหาของตัวเองบนแพลตฟอร์ม One Store ซึ่งเป็นคู่แข่ง เพื่อแลกกับการขายและการสนับสนุนสำหรับการขยายตัวทั่วโลก

ในปี 2018 ส่วนแบ่งการตลาดของ Google ในตลาดแอปมือถือ Android เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 90-95% จากปี 2016 มีส่วนแบ่งประมาณ 80-85% ขณะที่ส่วนแบ่งการตลาดของ One Store ในปี 2018 คิดเป็นประมาณ 5-10% ซึ่งลดลงจาก 15-20% ในปี 2016 ตามข้อมูลที่รวบรวมโดย KFTC

“ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเพื่อให้แน่ใจว่ามีการแข่งขันที่เป็นธรรมในตลาดแอป โดยป้องกันไม่ให้บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ใช้ตำแหน่งที่มีอำนาจเหนือกว่าในทางที่ผิด” หน่วยงานต่อต้านการผูกขาดของเกาหลี กล่าว

Google Play และ One Store สร้างยอดขายในประเทศมากกว่า 90% จากการขายเกม ขณะที่นโยบายของ Google ส่งผลกระทบต่อบริษัทเกม ตั้งแต่ผู้ผลิตวิดีโอเกมรายใหญ่ เช่น NCSoft, Netmarble และ Nexon ไปจนถึงผู้พัฒนาเกมขนาดเล็กและขนาดกลาง

อย่างไรก็ตาม Google มั่นใจว่าไม่ได้ละเมิดกฎหมายของเกาหลีใต้ และอ้างว่ามีส่วนสนับสนุนการเติบโตและการขยายตัวทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จของนักพัฒนาเกมมือถือเกาหลีที่เปิดตัวเกมบน Play Store ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

“เราได้ให้ความร่วมมืออย่างขยันขันแข็งกับกระบวนการสอบสวนและพิจารณาของ KFTC ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และเชื่อว่าไม่มีการละเมิดกฎหมาย Google ลงทุนจำนวนมากเพื่อความสำเร็จของนักพัฒนา และเราไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปของ KFTC” Google กล่าวในแถลงการณ์ทางอีเมล

ย้อนไปในปี 2021 KFTC ได้สั่งปรับ Google เป็นเงิน 177 ล้านดอลลาร์ จากการใช้อำนาจเหนือตลาดของตนในทางที่ผิดในตลาดระบบปฏิบัติการ Android (OS)

สำหรับ One Store นั้น ถือเป็นบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นในเดือนมิถุนายน 2016 โดยบริษัทโทรคมนาคมสามแห่งของเกาหลีใต้ ได้แก่ SK Telecom, KT และ LG Uplus และ Naver บริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่

Source

]]>
1427256
ชำแหละดีลควบรวม ‘ทรู’-‘ดีแทค’ ผูกขาดหรือไม่ เสี่ยงแค่ไหน และ ‘ผู้บริโภค’ ได้หรือเสียมากกว่ากัน https://positioningmag.com/1374729 Mon, 21 Feb 2022 12:15:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374729 เมื่อวันที่ 18 ก.พ. ที่ผ่านมา บอร์ดทรู-ดีแทค ไฟเขียวควบรวมกิจการ เคาะตั้งบริษัทใหม่เข้าตลาดหุ้น พร้อมถอนหุ้น TRUE และ DTAC ออกจากตลาด โดยทาง สภาองค์กรของผู้บริโภค จัดงานเสวนา เรื่อง ‘ดีล True – Dtac ต้องโปร่งใส กสทช. ต้องรับฟังผู้บริโภค’ เพื่อสะท้อนหากเกิดการควบรวมจริงถือเป็นการ ‘ผูกขาด’ หรือไม่ และ ผู้บริโภค’ ได้หรือเสียมากกว่ากัน

ตามหลักเศรษฐศาสตร์ผูกขาดชัดเจน

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ประโยชน์ของการควบรวมบริษัทมีอยู่ 2 ประการ คือ ทำให้บริษัทมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีนวัตกรรมมากขึ้น ประหยัดต้นทุนมากขึ้น ผู้บริโภคมีโอกาสได้ของดีราคาถูก อีกมุมคือ เพิ่มอำนาจการผูกขาด ทำให้ผู้บริโภคอาจเสียผลประโยชน์ ดังนั้น ในทางเศรษฐศาสตร์ต้องชั่งน้ำหนักของ 2 ข้อนี้

“ตัวอย่างในสหรัฐอเมริกา องค์กรที่กำกับดูแลจะพิจารณาจาก ผลกระทบต่อผู้บริโภคเท่านั้น ว่าการควบรวมก่อให้เกิดผลดีหรือผลเสียกับผู้บริโภคมากกว่ากัน ถ้าเกิดผลเสียอย่างร้ายแรงก็จะ ห้ามการควบรวม แต่ถ้ายังไม่ถึงขั้นร้ายแรงก็จะมีการกำหนดกฎเกณฑ์เพิ่มเติม”

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

สำหรับการควบรวมของ ทรู-ดีแทค นั้นส่งผลดีหรือผลเสียให้ผู้บริโภคในทางเศรษฐศาสตร์นั้นพิจารณาจาก ผู้ประกอบการรายที่เหลือ (เอไอเอส) มีท่าทีอย่างไร ถ้ามีการ คัดค้าน หน่วยงานกำกับดูแลควรอนุญาตให้ควบรวม แต่ถ้า ไม่คัดค้านหรือสนับสนุน ควร ห้ามการควบรวม กรณีนี้ไม่มีใครคัดค้าน เพราะจะทำให้ตลาดกระจุกตัวเพิ่มขึ้นทำให้ผู้ประกอบการได้ประโยชน์

หลักฐานที่ชัดเจนคือ ราคาหุ้นของทั้ง 3 บริษัทเพิ่มขึ้น แม้ว่าเอไอเอสไม่ได้เกี่ยวข้องกับการควบรวมก็ตาม นอกจากนี้ การควบรวมทรู-ดีแทค ยังถือว่าเป็นการผูกขาดในระดับ อันตรายมาก ดังนั้น จึงไม่ควรอนุญาตให้ควบรวม

“ทุกอย่างชี้ว่าการควบรวมครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ แต่เป็นผลเสียกับผู้บริโภค รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ที่ต้องดีลกับผู้ประกอบการที่จะเหลืออยู่ 2 รายในตลาด ไม่ว่าจะเป็นดีลเลอร์ที่เหลือแค่ 2 ทางเลือก ผู้พัฒนานวัตกรรมหรือสตาร์ทอัพก็มีทางเลือกน้อยลง จะเห็นว่าทุกฝ่ายแย่ลงหมดยกเว้นผู้ประกอบการ ดังนั้น ควรระงับไม่ให้เกิดการควบรวม”

ด้าน นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการ สอบ. กล่าวว่า การควบรวมกิจการ มีผลกระทบต่อผู้บริโภคอย่างแน่นอน เพราะเมื่อทางเลือกลดลงย่อมส่งผลต่อราคา อีกทั้งยังทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล สิทธิในด้านกิจการโทรคมนาคมก็จะลดลงตามไปด้วย ดังนั้น หวังว่าบอร์ดใหม่กสทช. จะพิจารณาให้ถี่ถ้วน

“จากงานวิจัยในอังกฤษพบว่า เมื่อผู้เล่นลดลงจาก 4 เหลือ 3 ราย ผู้บริโภคต้องรับภาระเพิ่มขึ้นถึง 20% ดังนั้นจาก 3 เหลือ 2 ย่อมส่งผลต่อผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้”

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการ สอบ.

กฎหมายใหม่กสทช. มีช่องว่าง

นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า ตั้งแต่ที่ทั้งทรู-ดีแทคออกมาประกาศว่า “อยู่ระหว่างการหารือเรื่องควบรวม” แต่กลับมีการเรียนอัตราการแลกหุ้นอย่างชัดเจน แสดงว่าทั้ง 2 บริษัทได้คำนวณเรื่องการควบรวมไว้แล้วแสดงว่า มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน มีการเจรจากัน ก่อนที่จะมีการประกาศการควบรวม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทั้ง 2 บริษัทตั้งใจจะควบรวมกิจการ ลึกที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้

ไม่ว่าจะมีการควบรวมหรือไม่นั้น กสทช. เป็นองค์กรที่ต้องออกมากำกับดูแลหากเห็นพฤติกรรมที่ส่องเค้าที่จะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน ดังนั้น กสทช. ไม่ควรรีรอบอร์ดกสทช. ชุดใหม่ ควรจะวางกระบวนการตั้งแต่วันแรกที่มีการประกาศควบรวม ต้องเรียกขอดูข้อมูล และอีกปัญหาคือ ประกาศกสทช. ฉบับปี 2561 มีช่องว่างก่อให้เกิดความเสี่ยงในการควบรวมเมื่อเทียบกับประกาศของปี 2553 จากเดิมจะ ต้องมาขออนุญาตก่อน แต่ประกาศฉบับปี 61 แค่รายงานให้ทราบ

“เห็นชัดเจนว่าถ้าจาก 3 เหลือ 2 การแข่งขันน้อยลงอย่างแน่นอน ดังนั้น ถ้าปล่อยให้ทั้ง 2 บริษัทเดินหน้าควบรวมโดยที่ไม่มีหน่วยงานไหนเลยเข้ามากำกับก็จะนำไปสู่ภาวะการผูกขาดหรือการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งอาจเกิดได้ตั้งแต่ก่อนที่การควบรวมจะสิ้นสุดด้วยซ้ำ เพราะแค่เจรจาก็สุ่มเสี่ยงแล้ว”

กสทช. รับต้องรอบอร์ดใหม่พิจารณา

นพ. ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช ยอมรับว่า ตั้งแต่มีข่าวการควบรวม กสทช. ได้เรียกผู้ประกอบการมาชี้แจงบ้าง รวมถึงได้ประสานงานกับคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) แต่ช่วง 3 เดือนที่มีข่าว ทางกสทช. ไม่เคยนำเสนอเรื่องการควบรวมให้เป็นวาระการประชุมเลย เพิ่งมี 2 ครั้งหลังสุดที่มีการรายงานด้วยวาจา โดยไม่มีเอกสารวาระก่อนปิดประชุมทั้ง 2 ครั้ง

ดังนั้น กรรมการกสทช. จึงไม่มีเวลาถกแถลง หรือ หารือว่าจะทำอย่างไรต่อ และเป็นปัญหาที่ตัวข้อเท็จจริงยังอยู่ในชั้นสำนักงานทั้งหมด ซึ่งปัญหาที่เกิดถือเป็น จุดอ่อนของการบริหารของสำนักงานกสทช. อีกปัญหาคือ ตัวกฎหมายผู้ร่างคือสำนักงานกสทช. ซึ่งประกาศฉบับแก้ไขการรวมกิจการปี 61 ก็ร่างโดยสำนักงานกสทช. ซึ่งส่วนตัวนั้น ไม่เห็นด้วย เพราะกฎหมายปี 53 มีความเสี่ยงในการควบรวมได้ทันที

“หลายคนไม่เอะใจเลยว่า กฎหมายปี 61 เป็นแค่การรายงานให้ทราบ แต่ไม่มีอำนาจในการพิจารณา ถือเป็นประกาศที่อำนวยความสะดวกให้ธุรกิจไม่ได้พิจารณาถึงผลกระทบในการควบรวม ดังนั้น ตรงนี้ตรงไปตรงมามาก และผมไม่ได้เห็นด้วย”

อีกปัญหาสำคัญคือ การควบรวมมาในช่วงคาบเกี่ยวการแต่งตั้ง กสทช. ชุดใหม่ ซึ่งทางกรรมการชุดปัจจุบันไม่ใช่เป็นผู้มีอำนาจในการอนุมัติเรื่องการควบรวม ดังนั้น เมื่อมีการเสนอคำขอควบรวม จึงทำให้เกิดความอิหลักอิเหลื่อหากบอร์ดทั้ง 2 ชุดเห็นไม่ตรงกัน อย่างไรก็ตาม มีข่าวว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ใน 1-2 สัปดาห์จากนี้ ขณะที่การควบรวมคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 65

นพ. ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช

อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาเรื่องการควบรวมจำเป็นต้องใช้ข้อมูลจำนวนมากมาประกอบว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต ไม่เช่นนั้นจะเกิดการลำเอียงในการพิจารณาในภายหลัง ผู้ที่ขอยื่นอาจขอค้านทางปกครองในภายหลังว่าเราไม่มีความเป็นกลาง ดังนั้น โดยหลักแล้วทำให้กสทช. ต้องรอข้อมูลผลการศึกษาให้ครบถ้วน ซึ่งปัจจุบันข้อถกเถียงเรื่องผลดีผลเสียจากการควบรวมของทรู-ดีแทค ยังเป็นแค่การพยากรณ์ทั้งสิ้น เพราะยังไม่เกิด แต่ถ้าปล่อยให้ควบรวมก็จะสายเกิดไปในการรับมือ

และทางกสทช. ไม่ได้นิ่งนอนใจโดยมีการประสานงานกับ คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า โดยได้หารือว่าจะรับมืออย่างไร นอกจากนี้ คณะสภาผู้แทนราษฎรณ์ก็มีการแต่งตั้งตัวแทนเพื่อศึกษาเรื่องนี้โดยเฉพาะ ซึ่งทางกสทช. ก็ได้หารือกันทุกสัปดาห์ มีการศึกษาผลระยะยาวสภาพตลาด ภายหลังจากการควบรวม เบื้องต้นพยายามรวมประเด็นเพื่อทำการวิเคราะห์ในทุกด้าน

“โดยสรุปแล้ว กสทช. ยังไม่ได้ฟันว่าจะไม่ให้ควบรวม หรือให้ควบรวม แต่ต้องปกป้องประโยชน์ต่อประชาชน และต้องคำนึงถึงมาตรการในระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้น สิ่งที่เป็นไปได้คือ ถ้าจะพิจารณาเรื่องนี้ต้องวิเคราะห์โครงสร้างตลาดที่เหมาะสมในประเทศไทย มีมาตรการเชิงโครงสร้าง และสิ่งสำคัญต้องติดตามผลกระทบจากการควบรวมจริง ๆ”

แนะ 3 ข้อ ป้องกันผูกขาด

ดร. สมเกียรติ ได้เสนอ 3 แนวทาง สำหรับป้องกันการผูกขาดที่จะเกิดจากการควบรวมทรู-ดีแทค ดังนี้

  1. ไม่อนุญาตให้ควบรวม : โดยหากดีแทคต้องการจะเลิกกิจการในประเทศไทย ควรให้ขายกิจการกับผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เอไอเอสและทรู
  2. ควบรวมได้ แต่ต้องคืนคลื่น : อนุญาตให้ควบรวมได้แต่ต้องคืนคลื่นมาบางส่วนแล้วนำมาจัดสรรใหม่ เพื่อให้มีผู้ประกอบการ 3 ราย ในตลาดโทรศัพท์มือถือเหมือนเดิม
  3. ควบรวมได้แต่ต้องส่งเสริมให้เกิด MVNO หรือผู้ให้บริการที่ไม่มีโครงข่ายฯ ของตัวเอง : ทางเลือกนี้ไม่ใช่ทางเลือกที่มีความเหมาะสม เนื่องจาก MVNO ไม่ได้เกิดง่าย และการดูแลยากมาก ดังนั้น ควรป้องกันไม่ให้มีการผูกขาด เพราะหากปล่อยให้มีการผูกขาดแล้วไปแก้ไขในภายหลังจะเป็นเรื่องที่ยากมาก

สุดท้าย ผศ.ดร. กมลวรรณ จิรวิศิษฏ์ อาจารย์ประจำศูนย์กฎหมายพาณิชย์และธุรกิจ ตั้งข้อสังเกตว่า แม้จะยังไม่ควบรวมแต่การมีการ แบ่งปันข้อมูล อาจนำไปมาซึ่งการ ไม่แข่งขัน เพราะอาจมีการ ฮั้ว กันเกิดขึ้นได้ ดังนั้น เรื่องนี้หน่วยงานกำกับดูแลต้องนำมาพิจารณาด้วย

]]>
1374729
โดนอีก! จีนสั่งปรับ อาลีบาบา , Baidu และ JD.com รายละ 2.5 ล้านบาทฐานผูกขาด https://positioningmag.com/1363140 Sun, 21 Nov 2021 11:52:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1363140 เรียกได้ว่าเดินหน้าลงดาบรัว ๆ สำหรับหน่วยงานควบคุมการตลาดของจีน โดยล่าสุด อาลีบาบา , Baidu และ JD.com ก็โดนปรับอีก เนื่องจากไม่ได้รายงานการเข้าซื้อกิจการรวม 43 รายการเมื่อ 8 ปีที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาด

บริษัทที่เกี่ยวข้องกับคดีดังกล่าวนี้จะถูกปรับ 500,000 หยวน หรือราว 2.5 ล้านบาทต่อราย สูงสุดตามกฎหมายต่อต้านการผูกขาดปี 2551 ของจีน โดยในช่วงปีที่ผ่านมา รัฐบาลจีนได้เข้มงวดขึ้นในการเข้าถือครองแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ต ในแนวทางที่ไม่เป็นธรรม หรือมีความเสี่ยงของการใช้อำนาจตลาดในทางที่ผิดเพื่อยับยั้งการแข่งขัน การใช้ข้อมูลของผู้บริโภคในทางที่ผิด และการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค

โดยข้อตกลงแรกสุดในรายการคือ การเข้าซื้อกิจการในปี 2555 ของ Baidu และหุ้นส่วน และล่าสุดคือข้อตกลงปี 2564 ระหว่าง Baidu และผู้ผลิตรถยนต์จีน Zhejiang Geely Holdings เพื่อสร้างบริษัทรถยนต์พลังงานใหม่ ส่วนข้อตกลงอื่น ๆ ที่หน่วยงานกำกับดูแลได้กล่าวถึงนั้น มีการเข้าซื้อกิจการ AutoNavi บริษัทการทำแผนที่และการนำทางดิจิทัลของจีนในปี 2557 ของอาลีบาบา และการซื้อหุ้น 44% ใน Ele.me ในปี 2561 เพื่อเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของบริการส่งอาหาร

ทั้งนี้ อาลีบาบา เคยถูกปรับ 2,800 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 9.1 หมื่นล้านบาท ในฐานะผูกขาดมาแล้ว

Source

]]>
1363140
‘เกาหลีใต้’ สั่งปรับ ‘Google’ กว่า 5.8 พันล้านบาท ฐานผูกขาดระบบปฏิบัติการ https://positioningmag.com/1352000 Wed, 15 Sep 2021 11:39:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1352000 คณะกรรมการธิการการค้ายุติธรรมของเกาหลีใต้ (KFTC) วางแผนที่จะปรับ Google (กูเกิล) อย่างน้อย 207,400 ล้านวอน หรือราว 5,800 ล้านบาท ฐานบล็อกผู้ผลิตสมาร์ทโฟนอย่าง Samsung ไม่ให้ใช้ระบบปฏิบัติการอื่น ซึ่งจะเป็นบทลงโทษต่อต้านการผูกขาดที่ใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของประเทศ

การประกาศปรับ Google เกิดขึ้นเมื่อประเทศเกาหลีใต้เริ่มบังคับใช้กฎหมายโทรคมนาคมฉบับปรับปรุง ซึ่งห้ามไม่ให้ผู้ให้บริการตลาดแอป เช่น Google และ Apple กำหนดให้ผู้ใช้สมาร์ทโฟนชำระเงินด้วยระบบการซื้อในแอป หรือก็คือ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ต้องมีอิสระในการเลือกช่องทางชำระเงิน โดยเกาหลีใต้ถือเป็นประเทศแรกที่นำกฎระเบียบดังกล่าวมาใช้

เกาหลีใต้ได้พิจารณาอย่างใกล้ชิดว่าบริษัทเทคโนโลยีต่างประเทศมีพฤติกรรมอย่างไรในตลาดของตน จุดสนใจส่วนใหญ่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ Google และ Apple เนื่องจากเจ้าหน้าที่ให้คำมั่นที่จะป้องกันไม่ให้พวกเขาใช้ตำแหน่งทางการตลาดที่มีอำนาจเหนือกว่าในอินเทอร์เน็ตบนมือถือ

Joh Sung-wook ประธานคณะกรรมาธิการการค้ายุติธรรมของเกาหลีใต้ กล่าวว่า Google ได้ขัดขวางการแข่งขันตั้งแต่ปี 2011 โดยบังคับให้พันธมิตรด้านอิเล็กทรอนิกส์ลงนามในข้อตกลง ‘anti-fragmentation’ ซึ่งทำให้บริษัทไม่สามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการ Google เวอร์ชันดัดแปลงบนอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สมาร์ทโฟนและสมาร์ทวอทช์ได้ นั่นทำให้ Google เป็นผู้นำในตลาดซอฟต์แวร์มือถือและแอป

เมื่อผู้ผลิตอย่าง Samsung และ LG ต้องยอมรับข้อกำหนดเมื่อเซ็นสัญญากับ Google สำหรับการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ใน App Store หรือการเข้าถึงรหัสคอมพิวเตอร์ก่อนใคร เพื่อให้พวกเขาสามารถสร้างอุปกรณ์ได้ล่วงหน้าก่อนที่ Google จะเปิดตัว Android และระบบปฏิบัติการอื่น ๆ เวอร์ชันใหม่

อย่างไรก็ตาม ในแถลงการณ์ทางอีเมลของ Google ได้กล่าวว่า KFTC ไม่สนใจว่าโปรแกรมความเข้ากันได้ของ Android ซึ่งกำหนดข้อกำหนดสำหรับผู้ผลิตอุปกรณ์และนักพัฒนาเพื่อให้เข้ากันได้กับระบบปฏิบัติการได้กระตุ้น นวัตกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ซึ่งนำความสำเร็จมหาศาลมาสู่ OEM และนักพัฒนาของเกาหลี

“สิ่งนี้นำไปสู่ทางเลือก คุณภาพ และประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นสำหรับผู้บริโภคชาวเกาหลี การตัดสินใจของ KFTC ที่ออกมาในวันนี้นั้นละเลยผลประโยชน์เหล่านี้ และจะบ่อนทำลายข้อได้เปรียบที่ผู้บริโภคได้รับ Google ตั้งใจที่จะอุทธรณ์คำตัดสินของ KFTC”

Photo : Shutterstock

Joh ชี้ให้เห็นว่า Samsung ผู้ผลิตโทรศัพท์ Galaxy Android ที่ได้รับความนิยมทั่วโลก ประสบกับความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ในปี 2013 เมื่อ Google บังคับให้ยกเลิกแผนการใช้ซอฟต์แวร์ Google เวอร์ชันปรับแต่งบนนาฬิกาอัจฉริยะ Galaxy Gear

ที่ผ่านมา ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีต้องเผชิญกับการวิพากษ์วิจารณ์จากทั่วโลกในการบังคับให้นักพัฒนาใช้ระบบการซื้อในแอป ซึ่งบริษัทเหล่านี้จะได้รับค่าคอมมิชชั่นสูงถึง 30%

Source

]]>
1352000
ศาลสั่ง ‘Apple’ ห้ามจำกัดตัวเลือก ‘ชำระเงิน’ ใน App Store หลังถูก ‘Epic Games’ ฟ้องข้อหาผูกขาด https://positioningmag.com/1351388 Sun, 12 Sep 2021 04:38:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1351388 ย้อนไปเมื่อช่วงเดือนสิงหาคมปี 2020 ‘Epic Games’ พยายามที่จะให้ผู้เล่นสามารถชำระเงินเกม Fortnite ผ่านระบบของตนเองได้ โดยไม่ต้องชำระผ่าน App Store เพื่อจะได้ไม่เสียค่าธรรมเนียมส่วนต่าง 30% ให้กับ ‘Apple’  ทำให้ Apple ไม่พอใจถึงกับแบนเกมออกจาก App Store จนนำไปสู่การฟ้องร้องข้อหา ‘ผูกขาด’

ล่าสุด จากการตัดสินของผู้พิพากษาของรัฐบาลกลางโดยผู้พิพากษา Yvonne Gonzalez Rogers ได้ตัดสินให้ Apple ห้ามไม่ให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ส่งลิงก์หรือการสื่อสารอื่น ๆ ที่นำผู้ใช้ออกจากการซื้อในแอปของ Apple อีกต่อไป จากที่ผ่านมา Apple มีกฎห้ามแจ้งลิงก์ชี้ช่องทางจากภายในแอปเอง โดยอ้างเหตุผลเรื่องความปลอดภัย

แม้ Apple จะชนะจาก 9 ใน 10 ข้อหา และได้ระบุว่า Apple ไม่ได้ผูกขาด และ ความสำเร็จไม่ผิดกฎหมาย แต่จากนี้เมื่อผู้บริโภคสามารถชำระเงินจากช่องทางอื่นได้ Apple อาจต้องสูญเสียรายได้จากค่าธรรมเนียมส่วนต่างของ App Store ที่กำหนดไว้ 15-30% ซึ่ง Apple สามารถทำรายได้จากส่วนนี้ถึง 6.4 หมื่นล้านดอลลาร์ และหลังจากศาลตัดสินทำให้หุ้นของ Apple ร่วงกว่า 3%

“ศาลสรุปว่าข้อกำหนดในการป้องกันการบังคับให้ชำระเงินผ่านลิก์อื่นนอกจากภายใน App Store ของ Apple ซ่อนข้อมูลที่สำคัญจากผู้บริโภคและยับยั้งทางเลือกของผู้บริโภคอย่างผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ศาลไม่สามารถสรุปได้ในท้ายที่สุดว่า Apple เป็นผู้ผูกขาดภายใต้กฎหมายต่อต้านการผูกขาดของรัฐบาลกลางหรือของรัฐ” Rogers ระบุ

ทางด้าน Epic Games จะต้องจ่ายค่าส่วนต่าง 30% จากรายได้ที่ได้ย้อนหลัง โดยนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2020 จนถึงวันพิจารณาคดี โดยเป็นเงินกว่า 3.6 ล้านดอลลาร์ หรือราว 118 ล้านบาท ส่วน Apple มีสิทธิ์ที่จะนำเกมของ Epic Games ออกจาก App Store ได้เช่นเดิม เพราะถือว่าละเมิดสิทธิ์ก่อนจะมีการฟ้องร้อง

Kate Adams ที่ปรึกษาทั่วไปของ Apple กล่าวว่า “เรายินดีเป็นอย่างยิ่งกับคำตัดสินของศาล และเราถือว่านี่เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่สำหรับ Apple”

ขณะที่ Tim Sweeney CEO ของ Epic Games วิจารณ์คำตัดสินในแถลงการณ์บน Twitter ว่า “การพิจารณาคดีในวันนี้ไม่ใช่ชัยชนะสำหรับนักพัฒนาหรือผู้บริโภค โดย Epic กำลังต่อสู้เพื่อการแข่งขันที่ยุติธรรมระหว่างวิธีการชำระเงินในแอปและร้านแอปสำหรับผู้บริโภคนับพันล้านราย”

Source

]]>
1351388
จีนบี้ต่อสั่ง ‘เทนเซ็นต์’ เลิกผูกขาดลิขสิทธิ์เพลง พร้อมปรับเงิน 2.5 ล้านบาท https://positioningmag.com/1344035 Sun, 25 Jul 2021 03:51:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344035 รัฐบาลจีนยังคงเดินหน้าปราบปรามบริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด หน่วยงานกำกับดูแลการต่อต้านการผูกขาดของจีนได้สั่งให้ ‘เทนเซ็นต์’ (Tencent) ยกเลิกสิทธิ์ในการครอบครองลิขสิทธิ์เพลงแต่เพียงผู้เดียว พร้อมกับสั่งปรับเงินจากบริษัทเนื่องจากข้อหาการผูกขาด

หน่วยงานกำกับดูแลการตลาดของรัฐ (SAMR) ได้กำหนดโทษปรับ 500,000 หยวน หรือราว 2.5 ล้านบาท จาก เทนเซ็นต์ ในข้อหาการละเมิดกฎหมายการผูกขาด เนื่องจากเทนเซ็นต์เข้าซื้อกิจการ China Music ในปี 2559 ซึ่งหลังจากการเข้าซื้อกิจการนั้น ทำให้เทนเซ็นต์กลายเป็นเจ้าของทรัพยากรเพลงพิเศษมากกว่า 80% ทำให้บริษัทมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง เนื่องจากสามารถเข้าถึงข้อตกลงพิเศษกับผู้ถือลิขสิทธิ์ได้มากขึ้น

นอกจากค่าปรับแล้ว หน่วยงานเฝ้าระวังการแข่งขันได้สั่งให้ เทนเซ็นต์และบริษัทในเครือเทนเซ็นต์ยกเลิกการครอบครองลิขสิทธิ์เพลงแต่เพียงผู้เดียวภายใน 30 วัน และยุติข้อกำหนดสำหรับผู้ถือลิขสิทธิ์เพื่อให้บริษัทได้รับการปฏิบัติที่ดีกว่าคู่แข่ง และเทนเซ็นต์จะต้องรายงานต่อ SAMR เกี่ยวกับความคืบหน้าทุกปีเป็นเวลา 3 ปี และ SAMR จะกำกับดูแลให้เทนเซ็นต์ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

เทนเซ็นต์ได้กล่าวในแถลงการณ์ว่าจะ ”ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านกฎระเบียบทั้งหมด ปฏิบัติตามความรับผิดชอบต่อสังคมของเรา และมีส่วนร่วมในการแข่งขันที่ดีในตลาด” โดยเทนเซ็นต์จะทำงานร่วมกับบริษัทในเครือ ซึ่งรวมถึง Tencent Music Entertainment เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นและรับรองการปฏิบัติตามอย่างสมบูรณ์

การปราบปรามด้านกฎระเบียบครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในขณะที่ปักกิ่งยังคงควบคุมอำนาจของบริษัทเทคโนโลยีของจีนที่เติบโตขึ้นจนกลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก โดยธุรกิจของเทนเซ้นต์นั้นได้แก่ WeChat ซึ่งเป็นบริการส่งข้อความ มีบริการ เกม เพลง วิดีโอสตรีมมิ่ง และบริการฟินเทคที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของจีน โดยเทนเซ็นต์ได้จดทะเบียนบริษัทในฮ่องกงโดยมีมูลค่าตลาดเกือบ 656 พันล้านดอลลาร์

การปราบปรามที่กว้างขึ้นของจีนมีตั้งแต่แนวปฏิบัติในการต่อต้านการแข่งขันไปจนถึงการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลตลอดจนการตรวจสอบบริษัทจีนที่มีรายชื่อในต่างประเทศในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ในเดือนเมษายน SAMR ได้เรียกบริษัท 34 แห่ง ซึ่งรวมถึง Tencent และ ByteDance และสั่งให้ดำเนินการตรวจสอบตนเองเพื่อให้สอดคล้องกับกฎการต่อต้านการผูกขาด

Source

]]>
1344035
รัฐบาลจีนฟาด! สั่งปรับ ‘อาลีบาบา’ 8.6 หมื่นล้าน ข้อหาผูกขาดตลาด https://positioningmag.com/1327652 Sat, 10 Apr 2021 18:31:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327652 ในที่สุดหน่วยงานกำกับดูแลของจีนก็ฟาด ‘อาลีบาบา’ (Alibaba) ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีและอีคอมเมิร์ซจีนด้วยค่าปรับ 18,000 ล้านหยวน ในการสอบสวนต่อต้านการผูกขาด โดยระบุว่าเป็นการใช้อำนาจครอบงำตลาด

ย้อนไปเมื่อช่วงเดือนตุลาคมปี 2020 ผู้คุมกฎการแข่งขันในตลาดธุรกิจจีนได้เปิดการไต่สวนเครือบริษัทอาลีบาบา กรุ๊ป ในข้อหา ‘ผูกขาดตลาด’ และในปลายเดือนธันวาคมคณะบริหารดูแลด้านการตลาดแห่งรัฐ (China’s State Administration for Market Regulation : SAMR) ได้ประกาศเปิดการสอบสวนพฤติกรรมผูกขาดตลาดของอาลีบาบาอย่างเป็นทางการ โดยจุดสนใจหลักของการสืบสวนคือ แนวทางปฏิบัติที่บังคับให้ผู้ขายเลือกหนึ่งในสองแพลตฟอร์มแทนที่จะทำงานกับทั้งสองแพลตฟอร์ม (ห้ามใช้งานของคู่แข่งนั่นเอง)

ล่าสุด SAMR ก็ได้สั่งปรับอาลีบาบาเป็นจำนวนเงิน 18,000 ล้านหยวน หรือราว 86,400 ล้านบาท ในข้อหาละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาด และใช้อำนาจทางการตลาดในทางที่ผิด โดยละเมิดธุรกิจของผู้ค้าบนแพลตฟอร์มและสิทธิและผลประโยชน์ที่ถูกต้องตามกฎหมายของผู้บริโภค

รัฐบาลจีน ระบุว่า นโยบาย “เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง” และนโยบายอื่น ๆ ทำให้อาลีบาบาอยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบในตลาด ทำให้ได้เปรียบในการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม และนอกเหนือจากค่าปรับแล้ว อาลีบาบาจะต้องยื่นรายงานการตรวจสอบตนเองและการปฏิบัติตามข้อกำหนดไปยัง SAMR เป็นเวลาสามปี

เหอหม่า ซูเปอร์มาร์เก็ตที่หลอมรวมออนไลน์และออฟไลน์ของ Alibaba

ทั้งนี้ อาลีบาบาได้กล่าวในแถลงการณ์ว่ายอมรับการลงโทษและจะปฏิบัติตามการกำหนดของ SAMR โดยพร้อมจะให้ความร่วมมือเต็มที่ทั้งการดำเนินการประเมินตนเอง และดำเนินการปรับปรุงระบบภายใน

“อาลีบาบาจะไม่ประสบความสำเร็จในการเติบโต หากปราศจากกฎระเบียบและบริการของรัฐบาลที่ดี และการกำกับดูแลที่สำคัญ ความอดทนและการสนับสนุนจากทุกเขตเลือกตั้งของเรามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาของเรา” บริษัท กล่าว

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตัวเลขการปรับจะดูมหาศาล แต่คิดเป็นประมาณ 4% ของรายได้ของอาลีบาบาในปี 2019 เท่านั้น

Source

]]>
1327652
ดีใจไม่สุด! ‘Tencent’ ฟันกำไร 9 พันล้านเหรียญ แต่ต้องเครียดเพราะรัฐบาลจีนเล็งเช็กบิลเรื่อง ‘ผูกขาด’ https://positioningmag.com/1325144 Fri, 26 Mar 2021 05:59:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1325144 ‘Tencent’ บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีนได้เปิดเผยผลประกอบการในไตรมาส 4 ของปี 2020 ซึ่งเติบโตในทุกด้าน โดยเฉพาะกำไรที่เติบโตถึง 175% แต่ถึงอย่างนั้นเหล่านักลงทุนก็ยังมีความกังวลว่า Tencent จะกลายเป็นเป้าหมายใหญ่ต่อไปของการจับกุมโดยหน่วยงานกำกับดูแลบริษัทเทคโนโลยีในจีนหรือไม่

Tencent รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 4 ปี 2020 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 26% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 20,486 ล้านดอลลาร์ และมีกำไรสุทธิ 9,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 175% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า Ma Huateng หรือที่รู้จักกันในนาม Pony Ma ซีอีโอของบริษัท กล่าวถึงผลการดำเนินงานตลอดปี 2020 ว่า แม้เป็นปีที่มีความผันผวนและท้าทายมาก แต่ผลลัพธ์ที่ออกมาสะท้อนว่าธุรกิจของบริษัทยังแข็งแกร่ง โดยบริษัทยังคงเป็นผู้นำในผลิตภัณฑ์บนอินเทอร์เน็ต และขยายสู่ตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะในธุรกิจเกม

“ในขณะที่ปี 2020 เป็นปีแห่งความท้าทายที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ผลลัพธ์ที่มั่นคงในทุกธุรกิจของเราเป็นเครื่องยืนยันถึงการมุ่งเน้นที่คุณค่าของผู้ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีและความยั่งยืนของธุรกิจ” Ma Huateng ประธานและซีอีโอของTencent กล่าว

หม่า ฮั่วเถิง หรือ โพนี หม่า ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Tencent มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของจีน

อย่างไรก็ตาม แม้ Tencent จะเติบโตอย่างมากแต่นักลงทุนก็ยังมีความกังวลว่าบริษัทนั้นมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการปราบปรามบริษัทเทคโนโลยีของจีนในข้อหา ‘ผูกขาด’ โดยก่อนหน้าที่ Tencent จะประกาศผลกำไรนั้น หุ้นของบริษัทลดลงประมาณ 1.5% ในฮ่องกง หลังจากที่สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า Jack Ma เพิ่งพบกับเจ้าหน้าที่ต่อต้านการผูกขาด

ที่ผ่านมา มีการรายงานข่าวจากรอยเตอร์ว่า Tencent ได้เข้าพบกับหน่วยงานเฝ้าระวังการแข่งขันของจีนคือ State Administration for Market Regulation (SAMR) เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวปฏิบัติของบริษัทต่อกฎระเบียบใหม่ว่าด้วยการป้องกันการผูกขาดตลาด

Tencent มีการประชุมกับหน่วยงานกำกับดูแลเป็นประจำและนี่เป็นการประชุมตามปกติ เราได้พูดคุยกันในหัวข้อต่างๆ มากมาย โดยมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมนวัตกรรมและการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม Tencent มีความมุ่งมั่นและจะดำเนินการต่อไปโดยสอดคล้องกับกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง”

เทนเซ็นต์ โฮลดิ้ง (Tencent Holdings) บริษัทผู้ให้บริการเกมและโซเชียลเน็ตเวิร์กยักษ์ใหญ่ของจีน
ภาพจากรอยเตอร์

โดยแหล่งข่าว 2 แห่งได้เปิดเผยกับรอยเตอร์เจ้าหน้าที่จีนกำลังมองหาแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการผูกขาดของ WeChat ซึ่งเป็นแอปโซเชียลเน็ตเวิร์กยอดนิยมของ Tencent โดยหน่วยงานกำกับดูแลมีความกังวลเป็นพิเศษว่าแพลตฟอร์มดังกล่าวอาจ “มีการแข่งขันที่เป็นธรรมและบีบคู่แข่งที่มีขนาดเล็ก”

ที่ผ่านมา Ant Group ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีทางการเงินในเครือของอาลีบาบาถูกบังคับให้ระงับการเสนอขายหุ้น IPO มูลค่า 3.7 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่ Simon Hu ต้องลาออกจากตำแหน่ง CEO ของ Ant Group หลังจากการปราบปรามด้านกฎระเบียบ

Source

]]>
1325144
COVID-19 ดันรายได้ ‘App Store’ พุ่ง 28% ฟันยอดรวมกว่า 1.92 ล้านล้านบาท https://positioningmag.com/1313559 Sun, 10 Jan 2021 11:17:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1313559 ยอดขาย App Store เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงการระบาดของไวรัส COVID-19 เนื่องจากผู้คนไม่ได้ออกจากบ้านเลยต้องใช้เวลาและเงินกับแอปและเกม

App Store ได้กลายเป็นส่วนหลักที่สร้างการเติบโตให้ Apple โดย CNBC ได้วิเคราะห์ว่ารายได้จาก App Store ในปี 2020 สูงถึง 6.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.92 ล้านล้านบาท เติบโต 28% จากปี 2019 ที่ทำรายได้ประมาณ 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2019 และ 4.85 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2018

ทั้งนี้ เพราะเม็ดเงินที่ Apple ทำได้จาก App Store ได้กลายเป็นที่พูดถึงของนักวิจารณ์ที่มองว่า Apple นั้นเอาเปรียบผู้พัฒนาแอปมากเกินไป เพราะเก็บค่าธรรมเนียมถึง 30% สำหรับการขายผ่านแพลตฟอร์ม จนกระทั่ง Apple ต้องปรับโครงสร้างค่าธรรมเนียมเหลือ 15% จากบริษัทที่มีรายได้น้อยกว่า 1 ล้านดอลลาร์ใน App Store

ปีที่ผ่านมา Apple ต้องถูกสอบสวนจากคณะอนุกรรมการของรัฐสภา ด้วยข้อกล่าวหาการผูกขาด ซึ่งทำให้ Apple มีผลกำไรเกินขนาด ที่ฟ้องโดย Epic Games ที่ต้องการหลีกเลี่ยงการจ่ายเงิน 30% ของยอดขายให้กับ Apple ซึ่ง Apple เองปฏิเสธว่า App Store เป็นการผูกขาดและกำลังต่อสู้กับข้อกล่าวหาของ Epic Games ในศาล

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเม็ดเงินดังกล่าวเป็นการคาดการณ์จาก CNBC เพราะตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นไป Apple ไม่เปิดเผยรายได้จาก App Store

Source

]]>
1313559