พรรคคอมมิวนิสต์จีน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 01 Jun 2021 00:22:42 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “จีน” เปลี่ยนกฎอนุญาตมีลูกได้ 3 คน หลังทั้งประเทศเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ https://positioningmag.com/1334669 Mon, 31 May 2021 15:10:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1334669 พรรคคอมมิวนิสต์จีนแถลงว่า ได้เปลี่ยนนโยบายการควบคุมประชากรครั้งใหญ่ซึ่งทางพรรคจะอนุญาตให้แต่ละครอบครัวสามารถมีบุตรได้สูงสุด 3 คน โดยหวังว่าจะสามารถชะลอจีนก้าวไปสู่สังคมผู้สูงอายุที่จะกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ

เอพีรายงานว่า พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้บังคับใช้กฎการมีบุตรมาตั้งแต่ปี 1980 เพื่อควบคุมการเพิ่มทางประชากรของประเทศ แต่ทว่าจากสาเหตุความกังวลจำนวนกลุ่มประชากรคนวัยทำงานในจีนลดลงอย่างรวดเร็ว ระหว่างที่สัดส่วนกลุ่มประชากรอายุสูงกว่า 65 ปีขึ้นไปมีจำนวนเพิ่มขึ้น ถือป็นภัยคุกคามต่อความฝันของจีนในการแปลงโฉมหน้าของประเทศ ให้กลายเป็นสังคมผู้บริโภคที่มั่งคั่ง และผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลก

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า การประชุมพรรคที่นำโดยประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ในการเสนอมาตรการรับมืออย่างท่วงทันต่อกลุ่มประชากรสูงวัย ในรายงานชี้ว่า สีเห็นด้วยต่อการใช้นโยบายอนุญาตให้แต่ละครอบครัวสามารถมีบุตรได้ 3 คนและมาตรการสนับสนุนเพื่อปรับปรุงโครงสร้างทางประชากรของจีน

ซินหัวกล่าวว่า บรรดาผู้นำของพรรคจีนต่างลงความเห็นให้เปลี่ยนข้อกำหนดการเกษียณอายุ เพื่อที่จะยังคงมีกำลังกลุ่มคนทำงานอยู่ในตลาดแรงงานต่อไป รวมไปถึงปรับปรุงเบี้ยเกษียณอายุ และบริการสาธารณสุขสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุทั้งหลาย

Photo : Shutterstock

เอพีชี้ว่า ข้อจำกัดการมีบุตรได้แค่ 1 คนในจีนถูกผ่อนปรนลงในปี 2015 ที่เปลี่ยนมาให้คู่สมรสสามารถมีบุตรได้ 2 คน แต่ทว่าตัวเลขอัตราการเกิดยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าการเปลี่ยนแปลงกฎนั้นมีผลกระทบน้อยต่อแนวโน้มกระแสการไม่นิยมมีบุตรภายในประเทศ

คู่สมรสในจีนต่างกล่าวว่าปัญหาเรื่องค่าครองชีพที่สูงขึ้นสำหรับการเลี้ยงดูลูก เป็นสาเหตุที่ทำให้คนเหล่านี้ต้องเลื่อนการตัดสินใจออกไป และยังเป็นการทำให้ชีวิตการทำงานเกิดการติดขัด รวมไปถึงภาระที่ยังต้องเลี้ยงดูบิดามารดาที่แก่ชรา

ความเห็นที่ออกมาบนโลกโซเชียลมีเดียกล่าวว่า การเปลี่ยนกฎข้อบังคับไม่ช่วยต่อคู่สมรสใหม่ที่ต้องแบกรับบิลค่ารักษาพยาบาล ปัญหารายได้น้อยและตารางการทำงานที่สาหัสที่รู้จักในนาม 996 หรือตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึง 3 ทุ่ม และ 6 วันต่อสัปดาห์

Tchaikovsky ผู้ใช้เว็บไซต์แพลตฟอร์มชื่อดังของจีนซินล่างเวย์ปั๋ว แสดงความเห็นว่า “ทุกชั้นของปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข” และกล่าวต่อว่า “ใครจะเป็นคนเลี้ยงทารก คุณมีเวลาไหม ออกบ้านไปตั้งแต่เช้าและกลับมาถึงก็ดึกแล้ว เด็กๆ ไม่รู้ว่าพ่อแม่มีหน้าตาอย่างไร”

ขณะที่อีกคนใช้ชื่อว่า Hyeongmok แสดงความเห็นว่า “อย่ากลัวไปถึงปัญหาการชราภาพ เพราะเจเนอเรชันของพวกเราคงอยู่ได้ไม่นาน”

จีนพร้อมกับไทย และอีกบางชาติเศรษฐกิจเอเชียกำลังเผชิญหน้ากับสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ที่เรียกว่าความท้าทายที่คนเหล่านี้จะสามารถรวยได้ก่อนที่จะแก่ตัว

ประชากรจีนแตะ 1.4 พันล้านคนแล้ว และคาดว่าจะเพิ่มถึงขั้นสูงสุดภายใน 10 ปีนี้ก่อนที่จะเริ่มลดลง ซึ่งผลการสำรวจมโนประชากรที่ถูกเปิดเผยมาเมื่อวันที่ 11 พ.คชี้ว่ามันจะเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า พร้อมเสริมว่าปัญหาสวัสดิการเกษียณ์ที่ไม่เพียงพอ และระบบสาธารณสุข และการลดลงจำนวนแรงงานในอนาคต เพื่อมาสนับสนุนการเติบโตของจำนวนประชากรวัยเกษียณอายุ

สัดส่วนประชากรวัยทำงานระหว่าง 15 ปี – 59 ปีนั้นลดลงไปอยู่ที่ 63.3% ในปีที่แล้วเมื่อเทียบกับตัวเลข 70.1% ของเมื่อ 10 ปีก่อนหน้า ขณะที่กลุ่มประชากรวัย 65 ปีและสูงกว่านั้นเพิ่มขึ้น 13.5% จากแต่เดิม 8.9% การเกิดใหม่ 12 ล้านคนที่ถูกรายงานในปี 2020 พบว่าต่ำลงเกือบ 1 ใน 5 ของปี 2019

และพบว่า 40% ของบุตรคนที่ 2 ต่ำลงไป 50% ในปี 2017 อ้างอิงจาก หนิง จี้เจ่อ (Ning Jizhe) ผู้อำนวยการสถิติแห่งชาติแถลง

นักวิจัยจีนและกระทรวงแรงงานจีนต่างระบุว่า สัดส่วนกลุ่มประชากรวัยแรงงานอาจตกลงไปครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรทั้งหมดภายในปี 2050 ซึ่งการประชุมพรรค ซินหัวชี้ว่า ได้มีการลงความเห็นถึงความจำเป็นการยืดอายุการเกษียณออกไป แต่ยังไม่มีรายละเอียดออกมาแต่ทว่าทางรัฐบาลปักกิ่งได้เคยออกมาชี้แนวทางว่าอาจจะกำหนดอายุการเกษียณที่ 60 ปีของกลุ่มพนักงานบริษัทชาย และ 55 ปีของกลุ่มพนักงานบริษัทหญิง และ 50 ปีสำหรับกลุ่มที่ใช้แรงงานหญิง

ทั้งนี้พรรคคอมมิวนิสต์จีนกล่าวว่าทางพรรคประสบความสำเร็จป้องกันไม่ให้มีการเกิดประชากรได้มากถึง 400 ล้านคน เลี่ยงปัญหาการขาดแคลนอาหารและน้ำได้ แต่ทว่าบรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างชี้ว่าหากจีนยังคงเดินตามทิศทางแนวโน้มที่เกิดในไทย บางส่วนของอินเดียและประเทศอื่นๆ แล้ว จำนวนประชากรเกิดใหม่อาจต่ำเหลือแค่ไม่กี่ล้านคนก็เป็นได้

Source

]]>
1334669
จีนไล่บี้ “แจ็ค หม่า” ไม่หยุด! บีบให้ขาย “ธุรกิจสื่อ” ป้องกันการชี้นำความคิดสังคม https://positioningmag.com/1323611 Tue, 16 Mar 2021 07:53:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1323611 มหากาพย์ “แจ็ค หม่า” เศรษฐีจีนเจ้าของ Alibaba กับการถูกรัฐบาลจีนเข้าควบคุมยังไม่จบง่ายๆ ล่าสุดสำนักข่าว Bloomberg รายงานอ้างอิงแหล่งข่าววงในว่า รัฐบาลจีนกำลังบีบให้หม่า “ขาย” สื่อบางส่วนในมือออก เพราะกังวลว่าหม่ามีอิทธิพลต่อความคิดสาธารณะมากเกินไป

แหล่งข่าวคนดังกล่าวระบุกับ Bloomberg ว่า รัฐบาลจีนมีการปรึกษากันหลายครั้งในการประชุมเมื่อปีก่อนเกี่ยวกับการถือหุ้นธุรกิจสื่อของ Alibaba กำลังเป็นประเด็นที่สร้างความกังวลให้กับรัฐบาล รัฐบาลมองว่าบริษัทนี้อาจจะอยู่เบื้องหลังข่าวลือบนโลกออนไลน์ และอาจควบคุมความคิดสาธารณะในเรื่องต่างๆ ได้ ดังเช่นปัจจุบันที่สื่อของบริษัทมีส่วนสำคัญในการชี้นำความคิดคนเกี่ยวกับธุรกิจฟินเทค

แจ็ค หม่า และ Alibaba ค่อยๆ สร้างพอร์ตการถือหุ้นสื่อมาอย่างต่อเนื่องหลายปี โดยมีสื่อในมือทั้งสื่อหลักอย่าง South China Morning Post หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษชั้นนำในฮ่องกง มีหุ้นส่วนใหญ่ใน Weibo โซเชียลมีเดียสำคัญของจีน และยังถือหุ้นในสื่ออื่นอีกมาก รวมถึงบริษัทโปรดักชั่นผลิตรายการทีวี และบริษัทโฆษณา

(Photo: Shutterstock)

Bloomberg รายงานด้วยว่า หนึ่งในจุดสำคัญที่ทำให้รัฐบาลจีนต้องหันมามองการถือหุ้นสื่อของหม่าอย่างจริงจัง คือเหตุการณ์เมื่อเดือนเมษายน 2020 เมื่อ “เจียง ฟาน” หนึ่งในหุ้นส่วนของ Alibaba และเป็นแม่ทัพธุรกิจ Taobao กับ Tmall เกิดศึกข่าวฉาวเชิงชู้สาว ซึ่งเกี่ยวพันถึงบริษัท เพราะ “จาง ต้าอี้” เน็ตไอดอลชื่อดังและภรรยาลับของเจียง ฟาน เป็นหุ้นส่วนสำคัญของบริษัทบริหารทาเลนต์แห่งหนึ่งที่ Alibaba เข้าลงทุน

เมื่อสังคมหยิบเรื่องนี้มาวิจารณ์ ข่าวฉาวต่างๆ ของเจียง ฟานกลับถูกลบออกจาก Weibo อย่างรวดเร็ว ศักยภาพในการควบคุมสื่อของ Alibaba จึงสร้างความกังวลให้กับรัฐบาล

จากนั้นภาครัฐจึงเข้าตรวจสอบโฮลดิ้งของหม่า และพบว่ามีการถือหุ้นสื่อจำนวนมากจนน่าตกใจ กลายมาเป็นแผนบีบให้หม่าลดการถือหุ้นสื่อลงทั้งหมดหรือบางส่วน โดยคาดว่าจุดที่รัฐบาลเพ่งเล็งมากที่สุดคือหนังสือพิมพ์ South China Morning Post ซึ่งอาจจะบีบให้หม่าขายหุ้นออกทั้งหมด และผู้รับซื้อจะต้องเป็นคนสัญชาติจีน

ดังที่ทราบกันดีว่า พรรคคอมมิวนิสต์จีนมีนโยบายควบคุมสื่ออย่างเข้มงวด และใช้สื่อเพื่อโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda) ชี้ทิศทางสังคม ดังนั้น อิทธิพลของใครคนใดคนหนึ่งต่อสื่อจึงเป็นเรื่องที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนให้ความสำคัญอย่างจริงจัง (ย้อนอ่านเรื่อง IPO ตกสวรรค์ของ Ant Group เมื่อ “แจ็ค หม่า” มีความเห็นต่อระบบการเงินของจีนได้ที่นี่)

Source

]]>
1323611