ภัยเเล้ง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 17 Feb 2020 13:11:07 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สภาพัฒน์ มองปีนี้เศรษฐกิจไทยยังเสี่ยง หั่นเป้าจีดีพีเหลือ 1.5-2.5% จ่อโตต่ำสุดในรอบ 6 ปี https://positioningmag.com/1264670 Mon, 17 Feb 2020 04:40:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1264670 สภาพัฒน์​ เผยจีดีพีปี 2562 โต 2.4% หลังไตรมาสที่ 4 ขยายตัวแค่ 1.6% ส่วนปีนี้หั่นคาดการณ์จีดีพีเหลือ 1.5-2.5% เท่านั้น จ่อโตต่ำสุดในรอบ 6 ปี

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานตัวเลขการเติบโตเศรษฐกิจไทยใน ไตรมาสที่สี่ของปี 2562 ที่ผ่านมาว่า ขยายตัวร้อยละ 1.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อนหน้า (%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2562 ขยายตัวจากไตรมาสที่สามของปี 2562 ร้อยละ 0.2 (%QoQ SA)

รวมทั้งปี 2562 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 2.4 เทียบกับร้อยละ 4.2 ในปี 2561 เเละเป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 5 ปี สาเหตุที่เศรษฐกิจไทยย่อตัวลงมาจากทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน ได้แก่ ผลกระทบสงครามการค้าและการส่งออกที่ลดลง ขณะที่งบประมาณรายจ่ายปี 63 ล่าช้า เกิดปัญหาภัยแล้ง และเงินบาทแข็งค่า

โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าลดลงร้อยละ 3.2 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวม ขยายตัวร้อยละ 4.5 และร้อยละ 2.2 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยร้อยละ 0.7 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 6.8 ของจีดีพี

หั่นเป้าจีดี​พี​ปีนี้เหลือเเค่ 1.5 – 2.5 % จ่อโตต่ำสุดในรอบ 6 ปี

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2563 สศช.คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5 – 2.5 (หรือเฉลี่ย 2% ต่อปี) ชะลอตัวลงจากปี 2562 ตามข้อจำกัดจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ปัญหาภัยแล้ง และความล่าช้าของงบประมาณ

ทั้งนี้ การประเมินจีดีพีดังกล่าวอยู่บนสมมติฐานที่ว่าสถานการณ์ไวรัสมรณะจะจบลงภาย 3 เดือน หรือราว เม.ย.-พ.ค. ทำให้มีนักท่องเที่ยว 37 ล้านคนสร้างรายได้ไม่ต่ำกว่า 1.73 ล้านล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ ของเศรษฐกิจและการค้าโลกตามการลดลงของแรงกดดันจากมาตรการกีดกันการค้าและความเสี่ยงจากการแยกตัวของสหราชอาณาจักรแบบไร้ข้อตกลง

(2) การขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจของ การใช้จ่ายภาคครัวเรือน และการลงทุนภาคเอกชนและภาครัฐ (3) แรงขับเคลื่อนจากมาตรการภาครัฐ และ (4) ฐานการขยายตัวที่ต่ำในไตรมาสสุดท้ายของปี 2562

ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 1.4 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวม ขยายตัวร้อยละ 3.5 และร้อยละ 3.6 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 0.4 – 1.4 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 5.3 ของจีดีพี

โดย สศช. เเนะประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในช่วงปี 2563 ที่ควรให้ความสำคัญ ได้เเก่

(1) การประสานนโยบายการเงินการคลัง เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจในครึ่งปีแรก และสนับสนุนการฟื้นตัวและการขยายตัวในครึ่งปีหลัง

(2) การฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวให้สามารถกลับมาขยายตัวในครึ่งปีหลัง โดยมีจำนวนและรายได้นักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งปีไม่ต่ำกว่า 37.0 ล้านคน และ 1.73 ล้านล้านบาท ตามลำดับ โดยให้ความสำคัญกับ

  • การยกเว้นค่าธรรมเนียมและค่าปรับให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ไม่สามารถเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในช่วงการแพร่ระบาดของ ไวรัส
  • การรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวไทยหันมาท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น
  • การจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในช่วงครึ่งหลังของปี
  • การพิจารณาวันหยุด เพิ่มเติมในช่วงครึ่งปีแรก โดยไม่กระทบต่อกิจกรรมเศรษฐกิจเเละการติดตามขับเคลื่อนมาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยว

3) การขับเคลื่อนการส่งออกให้สามารถกลับมาขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2.0 (ไม่รวมทองคำ) โดยการขับเคลื่อนแผนการส่งออกปี 2563 ดังนี้

  • การให้ความสำคัญกับการส่งออกสินค้าที่ได้รับประโยชน์จากการเบี่ยงเบนทางการค้าและสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของไวรัส
  • การให้ความช่วยเหลือผู้ผลิตที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตและการค้าไทย-จีน
  • การเร่งรัดการเจรจาความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

(4) การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ โดยการเร่งรัดการเบิกจ่ายเพื่อให้สามารถเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 งบประมาณเหลื่อมปี และงบลงทุนรัฐวิสาหกิจไม่ต่ ากว่าร้อยละ 91.2 ร้อยละ 70.0 และร้อยละ 75.0 ตามลำดับ

(5) การสร้างความเชื่อมั่นและสนับสนุนการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน โดยการติดตามและขับเคลื่อนมาตรการเพื่อสนับสนุนการลงทุน การขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ การเร่งรัด การเจรจาความร่วมมือทางการค้าเเละการแก้ไขปัญหาอุปสรรคการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการต่างชาติ

(6) การดูแลผู้มีรายได้น้อย ผู้ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง การลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยว และการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มเกษตรกรที่ทำงานในภาคบริการในช่วงนอกฤดูกาลเพาะปลูกและฤดูกาลเก็บเกี่ยว กลุ่มพนักงานในสาขาการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs การเร่งรัดเบิกจ่ายเงินชดเชย และการฟื้นฟูเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง และการบริหารจัดการน้ำ

 

ที่มา : สภาพัฒน์

]]>
1264670
กนง. ปรับลดดอกเบี้ยเหลือแค่ 1% หลังประเมินเศรษฐกิจ​ไทยแย่กว่า​ที่คาด https://positioningmag.com/1263345 Wed, 05 Feb 2020 10:37:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1263345 กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 1.25 เป็นร้อยละ 1.00 ต่อปี ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยให้มีผลทันที

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2563 มีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าประมาณการเดิมและต่ำกว่าระดับศักยภาพมากขึ้น โดยมีปัจจัยสำคัญ ได้เเก่

  • การระบาดของไวรัสโคโรนา
  • ความล่าช้าของ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี
  • ภัยแล้ง

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อตลอดช่วงประมาณการ เสถียรภาพระบบการเงินเปราะบางเพิ่มขึ้นจากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจ

“ในสถานการณ์เช่นนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประสานมาตรการทั้งทางการเงินและการคลัง”

กนง. จึงเห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเพิ่มขึ้นจะช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยลบที่เกิดขึ้น รวมทั้งสนับสนุนสภาพคล่องและการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้กับภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการให้เกิดผลชัดเจนขึ้น จึงเห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้ โดยมองทิศทางเศรษฐกิจด้านต่างๆ ดังนี้

การท่องเที่ยวเเละส่งออก

มีแนวโน้มลดลงจากที่ประมาณการไว้เดิมมาก และการส่งออกสินค้ามีแนวโน้มลดลงตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาคด้วย

อุปสงค์ในประเทศ

การใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มขยายตัวต่ำลงจากการประกาศใช้ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ล่าช้าและยังมีความไม่แน่นอนสูง นอกจากนี้ การบริโภคภาคเอกชนยังได้รับแรงกดดันจากรายได้ครัวเรือนที่มีแนวโน้มชะลอลงมากขึ้นทั้งครัวเรือนในภาคบริการ เกษตร และอุตสาหกรรม รวมถึงหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง

โดยต้องติดตามผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ความล่าช้าของการเบิกจ่ายงบประมาณ และภาวะภัยแล้งที่อาจรุนแรงกว่าที่ประเมินไว้ รวมทั้งสภาวะการกีดกันทางการค้าและความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง

อัตราเงินเฟ้อ

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2563 และปี 2564 มีแนวโน้มต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อตลอดช่วงประมาณการ ตามอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ชะลอลงตามแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่อยู่ในระดับต่ำ รวมถึงราคาพลังงานต่ำกว่าคาดเนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันมีแนวโน้มลดลงจากการระบาดของไวรัสโคโรนา แม้อัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดจะปรับเพิ่มขึ้นบ้างจากภัยแล้ง

ภาวะการเงิน

ที่ผ่านมาอยู่ในระดับผ่อนคลาย โดยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลง สภาพคล่องในระบบการเงินอยู่ในระดับสูง แต่สินเชื่อภาคธุรกิจมีแนวโน้มชะลอลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจ

อัตราแลกเปลี่ยน

แม้ว่าเงินบาทอ่อนค่าลงบ้างเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้าคู่แข่ง แต่ยังอาจไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย และมีแนวโน้มผันผวน

ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะติดตามสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิดท่ามกลางความไม่แน่นอนด้านต่างประเทศที่มีอยู่สูง รวมถึงให้ติดตามประสิทธิผลของการผ่อนคลายกฎเกณฑ์กำกับดูแลการแลกเปลี่ยนเงินเพื่อเอื้อให้เงินทุนไหลออก และสนับสนุนให้ ธปท. ดำเนินมาตรการเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องร่วมกับภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ระบบการเงินโดยรวม

มีความเปราะบางมากขึ้นจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวโดยเฉพาะความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนและธุรกิจ SMEs คณะกรรมการฯ เห็นว่ามาตรการการเงินการคลังต่าง ๆ ที่ภาครัฐและ ธปท. ได้เร่งดำเนินการเป็นการช่วยเหลือที่ตรงจุด

ทั้งนี้ กนง. จะติดตามประสิทธิผลของมาตรการต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด รวมถึงติดตามพฤติกรรมการก่อหนี้และความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนและธุรกิจ SMEs พฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นในภาวะดอกเบี้ยต่ำ การขยายสินทรัพย์และความเชื่อมโยงภายในของสหกรณ์ออมทรัพย์ และการก่อหนี้ของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่อาจนำไปสู่การประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร

 

ที่มา : ธนาคารเเห่งประเทศไทย

]]>
1263345
ไทยเสี่ยงเข้าสู่ภาวะ “ถดถอย” เพิ่มขึ้น ส่องวิเคราะห์ Kbank เเนะชะลอลงทุนหุ้น 5 กลุ่ม https://positioningmag.com/1261672 Thu, 23 Jan 2020 09:50:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261672 กสิกรไทย ห่วงภัยแล้งเเละปัญหาฝุ่น PM 2.5 ฉุดเศรษฐกิจ หนี้ครัวเรือนพุ่งที่ระดับ 79% ต่อจีดีพี ลุ้นงบประมาณปี 2563 ดันลงทุนรัฐโต มองสงครามการค้าเฟส 2 เจราจรยาก ด้านตลาดหุ้นไทยยังไม่เเน่นอน เเนะชะลอลงทุนหุ้น 5 กลุ่มใหญ่ในไตรมาสเเรก 

Positioning สรุปประเด็นสำคัญจากสัมมนา “จับตาเศรษฐกิจเเละหุ้นปังปีชวด” จัดโดยธนาคารกสิกรไทย กับมุมมองสภาพเศรษฐกิจโลก ความคืบหน้าของสงครามการค้าเเละความท้าทายของเศรษฐกิจไทยที่มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย

ปัญหาฝุ่น-ภัยเเล้ง ฉุดจีดีพี

กอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย (Kbank) มองว่าหากการเจรจาของสหรัฐเเละจีน บรรเทาความตึงเครียดของสงครามการค้าได้มาก เศรษฐกิจไทยปีนี้ก็จะขยายตัวที่ 2.7% พร้อมด้วยปัจจัยสำคัญจากการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ โดยคาดว่าจะเบิกจ่ายได้ภายในไตรมาส 2/2563

“ภัยแล้งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เข้ามากระทบต่อเศรษฐกิจปีนี้ คิดเป็นเม็ดเงินมากกว่า 20,000 ล้านบาท เเละหากภัยแล้งเสียหายมากกว่าที่ประเมินไว้ ก็คงมีผลต่อการปรับประมาณการจีดีพีปีนี้ใหม่อีกครั้ง”

ขณะเดียวกัน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ว่าเรื่องฝุ่น PM2.5 ที่รุนแรงขึ้น ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบเศรษฐกิจไทยสูงถึง 6 พันล้านบาท

ห่วงหนี้ครัวเรือนระดับ 79% ความเสี่ยงภาวะ “ถดถอย” เพิ่มขึ้น

ด้านการปรับเกณฑ์มาตรการ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดว่าจะเพิ่มความยืนหยุ่นให้กับการซื้ออสังหาริมทรัพย์มากขึ้น

สิ่งที่ต้องจับตามอง คือ ปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทย ที่มีอยู่ถึง 79% ต่อจีดีพี และหนี้ครัวเรือนต่อรายได้สูงถึง 220% สะท้อนว่าไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการบริโภคได้อีกทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการบริโภคของครัวเรือน ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปยังการดูดซับอุปทานอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะอุปทานในคอนโดมิเนียม

“ดุลบัญชีเดินสะพัดปีนี้คาดว่ายังเกินดุลอยู่ที่ 33,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ใกล้เคียงปีก่อน สะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่สมดุล เนื่องจากภาครัฐเก็บภาษีในระดับสูงมีการหาช่องทางการเก็บภาษีเพื่อสร้างรายได้ ทำให้กำลังซื้อของประชาชนลดลง จึงอยากให้ภาครัฐปรับภาษีใหม่ทั้งหมด เพื่อกระตุ้นการนำเข้าสินค้า” กอบสิทธิ์ระบุ

“ไทยมีโอกาสเสี่ยงจะเข้าสู่ภาวะถดถอยเพิ่มขึ้นจาก 15% เป็น 23% “

ด้านค่าเงินบาทคาดจะยังแข็งค่าจากการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดลง 2 ครั้ง และการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่คาดอยู่ที่ 31,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ ช่วงครึ่งปีแรกค่าเงินบาทจะแข็งค่าที่ 29.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และสิ้นปีอยู่ที่ 29.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

อ่านเพิ่มเติม : สรุปวิเคราะห์ทิศทางเศรษฐกิจ 2020 ส่งออก-ค่าเงิน-ตลาดหุ้นไทย

สงครามการค้า เฟส 2 ไม่ง่าย

ด้าน ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในสมัยโดนัลด์ ทรัมป์มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 20% ซึ่งตอบโจทย์ชนชั้นกลางชาวอเมริกันที่ชื่นชอบลงทุนในหุ้น ทรัมป์จึงจะพยายามไม่ให้ตกลงไปจากนี้ เพราะต้องการฐานเสียงเลือกตั้ง

โดยมองการเจรจาเกี่ยวกับสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ ว่า เเม้ว่าจะผ่านไปได้ในเฟสเเรกเเต่เฟสสองจะไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ เพราะจะเเยกย่อยเป็น 2-3 ยกต่อเฟส เพื่อกระตุ้นให้เกิด “ข่าวดี” ที่ส่งผลต่อหุ้น ซึ่งคาดว่าหากมีข้อตกลงเฟส 2 อีก ก็น่าจะเป็นช่วง “เดือนมิถุนายน”

“ความขัดเเย้งที่น่าจับตามองในปีนี้ จะไม่ใช่ความขัดเเย้งด้านเศรษฐกิจอีกต่อไปเเต่จะเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองของจีนเเละสหรัฐฯ เช่นในกรณีประท้วงฮ่องกงเเละเลือกตั้งไต้หวัน อีกทั้งการโจมตีจีน ยังเป็นการหาเสียงของ
ทั้งพรรคเดโมเเครตเเละรีพับลีกัน ซึ่งจะเป็นการขัดขาการเจราจาสงครามการค้าในช่วงต่อไป”

กอบสิทธิ์ เสริมว่า สหรัฐฯ ยังตั้งเงื่อนไขกับจีน โดยให้จีนซื้อสินค้าจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใน 2 ปีข้างหน้า และยังไม่ปลดล็อกภาษีที่ขึ้นมาก่อนหน้านี้ประมาณ 370,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลกระทบการค้า ส่งอกของประเทศคู่ค้า เช่น ไทยที่คาดว่าการส่งออกปีนี้จะติดลบ 1% นอกจากนี้ปัญหาความขัดเเย้งในทะเลจีนใต้ก็ต้องเผ้าระวังที่จะกระทบไทย

ทั้งนี้ มองว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีแนวโน้มลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 1 ครั้งในช่วงกลางปีนี้ เเละเศรษฐกิจจีนเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวขึ้น

อ่านเพิ่มเติม : มองเศรษฐกิจรอบด้าน เปิดวิเคราะห์ SCB EIC ครัวเรือนไทยรายได้-ใช้จ่ายลดในรอบ 10 ปี หนี้สูง

หุ้นไทย Q1/63 ยังเผชิญความไม่แน่นอน

ด้าน สรพล วีระเมธีกุล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) มองว่า ปัจจัยเสี่ยงที่จะเข้ามากระทบเศรษฐกิจไทยที่ต้องให้ความสำคัญคือ 1) ปัญหาฝุ่น PM 2.5 2) ภัยเเล้งที่คาดว่าจะอยู่ในระดับวิกฤต เเละ 3 ) โรคระบาด

“ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ มีความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจมากที่สุด”

สรพล ประเมินว่า มุมมองการเคลื่อนไหวดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) ในไตรมาส 1/63จะอยู่ในกรอบ 1,555-1,630 จุด เเละคาดว่า SET Index สิ้นปีจะอยู่ที่ 1,725 จุด

สำหรับตลาดหุ้นไทย ยังมีผลกระทบจากความไม่แน่นอน เเละ ควรชะลอการลงทุนหุ้นไปก่อนในไตรมาส 1/63 โดยเฉพาะใน 5 กลุ่ม ดังนี้

1.กลุ่มไอซีที จากปัจจัยความไม่ชัดเจนในการประมูล 5G ว่า CAT และ TOT จะเข้าร่วมหรือไม่ เเละหากเข้าร่วมก็จะส่งผลให้เกิดการแข่งขันด้านราคาที่เพิ่มขึ้น

2.กลุ่มค้าปลีก มีความไม่เเน่นอนจากประเด็นการประมูลซื้อกิจการเทสโก้ โลตัส ในประเทศไทย ซึ่งตอนนี้มีคู่เเข่ง 3 รายใหญ่อย่าง กลุ่มเซ็นทรัล , กลุ่มซีพีเเละกลุ่มบีซีเจ ที่ไม่ว่าเจ้าไหนจะชนะการประมูลก็ต้องพิจารณาถึงแผนการระดมเงินทุนในการซื้อกิจการเทสโก้ โลตัส ว่าจะใช้แหล่งเงินทุนจากช่องมางใดบ้าง และจำเป็นต้องเพิ่มทุนหรือไม่

3.กลุ่มปิโตรเคมี ที่เกี่ยวข้องการผลิตพลาสติก เพราะต้องคิดในระยะยาวว่าการรณรงค์ลดใช้พลาสติกจะมีแนวทางในการดำเนินธุรกิจต่อไปอย่างไร

4.กลุ่มท่องเที่ยว มีปัจจัยความไม่เเน่นอนจากโรคระบาดที่สร้างความกังวลให้ผู้คน เช่นไวรัสจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ทำให้การท่องเที่ยวเกิดการชะลอตัว

5. กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ จากปริมาณสต็อกที่อยู่อาศัยในตลาดยังเหลืออยู่มาก และกำลังซื้อที่ชะลอตัว คนจับจ่ายใช้สอยน้อยลง หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น

ส่วนกลุ่มหุ้นที่มีความโดดเด่นในไตรมาส 1/63 ได้แก่

1. กลุ่ม Non-Bank ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารหนี้เสีย ที่จะได้ประโยชน์ไนภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดี เช่น JMT

2. กลุ่มพลังงานต้นน้ำ เช่น PTTEP

3. กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง โดยได้รับเเรงหนุนจากภาครัฐที่จะทยอยเบิกจ่ายใช้งบประมาณในการลงทุนโครงการต่างๆ หุ้นแนะนำ คือ STEC

4. กลุ่มโรงไฟฟ้า

ส้วนหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ มองว่าในปีนี้ยังมีแรงกดดันจากนโยบายการควบคุมจากภาครัฐและธปท. และปัญหาหนี้เสียที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่มองว่าในระยะยาวกลุ่มธนาคารพาณิชย์จะกลับมาฟื้นตัวได้

สรุปทิศทางเศรษฐกิจ ปี 2020 

• เศรษฐกิจโลก

มีสัญญาณดีขึ้นหลังจากการลงจามข้อตกลงการค้าระยะที่ 1 ระหว่างสหรัฐฯ-จีน โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังแข็งแกร่งนาโดยการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่การผลิตและลงทุนยังอ่อนแอ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาวะการจ้างงานในระยะข้างหน้า ทาให้ประเมินว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ มีแนวโน้มลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 1 ครั้งในช่วงกลางปี 2020 ด้านเศรษฐกิจจีนเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวขึ้น

• เศรษฐกิจไทย

มีแนวโน้มขยายตัวตามแนวโน้มการลงทุนจากแรงสนับสนุนของการใช้จ่ายภาครัฐ ขณะที่การส่งออกไทยยังมีแนวโน้มหดตัวจากผลของมาตรการภาษีระหว่างสหรัฐฯ-จีนเดิมที่ยังคงอยู่ ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของจีนทาให้การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมอ่อนแอลง ส่งผลถึงการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ลดลงและการบริโภคในประเทศชะลอตัว

• เงินบาท

มีแนวโน้มอ่อนค่าลงบ้างในช่วงเดือนนี้ หลังจากที่ค่าเงินบาทแข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาคในปี 2019
ประเมินว่าแนวโน้มการแข็งค่าของค่าเงินในเอเชีย คาดว่าค่าเงินบาทจะเป็นที่น่าสนใจน้อยกว่าค่าเงินในเอเชียสกุลอื่นๆ นอกจากนี้ ธปท. จะมีการออกมาตรการผ่อนคลายเกณฑ์การเปิดเสรีเงินทุนเคลื่อนย้ายเพิ่มเติมเพื่อลดแรงกดดันบาทแข็ง ทาให้คาดว่าเงินบาทจะมีช่องให้อ่อนค่าลงบ้างในระยะสั้น

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดไทย และข้อจากัดจาก Policy space ของ ธปท. ที่น้อยจะกดดันให้เงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าในระยะยาว

 

]]>
1261672