มาตรการช่วยเหลือ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 10 Aug 2021 13:54:04 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ครัวเรือนไทย กังวลรายได้ลด-ไร้งานทำ เเบกหนี้หนัก ค่าครองชีพพุ่ง เข้าไม่ถึงโครงการรัฐ https://positioningmag.com/1346077 Tue, 10 Aug 2021 10:20:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1346077 ล็อกดาวน์โควิดระลอก 3 ซัดหนัก ประชาชนกังวลรายได้ลด-ไม่มีงานทำ เเบกหนี้หนักเเถมค่าครองชีพพุ่ง ดัชนี KR-ECI ลดฮวบ ‘ต่ำกว่าล็อกดาวน์ทั่วประเทศ’ เมื่อปีที่เเล้ว ท่องเที่ยวเจ็บยาว ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์น้อยกว่าเป้า คนไทยบางส่วน ‘เข้าไม่ถึง’ โครงการช่วยเหลือของรัฐ 

ครัวเรือนไทย ‘วิตกกังวล’ ต่อภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพต่อเนื่อง จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังรุนเเรง จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอยู่ในระดับสูง และยังคงทำสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง ขณะที่อัตราการเสียชีวิตอยู่ในระดับสูงเช่นกัน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงาน ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ประจำเดือนก.ค. 64 ปรับลงต่อเนื่องอยู่ที่ 34.7 ซึ่งเป็น ระดับต่ำกว่าช่วงเดือนเม.ย. 63 ที่มีการล็อกดาวน์ทั่วประเทศ ที่ 35.1 ขณะที่ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนใน 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 36.6 จาก 38.9 ในเดือนมิ.ย.

เเบกหนี้หนัก ราคาอาหารสดเเพงขึ้น 

ครัวเรือนมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับ ระดับราคาสินค้า โดยในเดือนก.ค.ดัชนีปรับลดลงอยู่ที่ 31.5 จาก 37.0 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับระดับอัตราเงินเฟ้อของไทย ในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา ที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอยู่ที่ 0.45% ซึ่งหากไม่รวมผลจากมาตรการภาครัฐในเรื่องของการบรรเทาค่าใช้จ่ายด้านค่าน้ำค่าไฟ ระดับอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 1.8%

“ปัจจัยหนุนเงินเฟ้อ นอกจากราคาน้ำมันแล้ว ส่วนหนึ่งมาจากราคาอาหารสดที่ปรับเพิ่มขึ้นตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่มีการล็อกดาวน์” 

ขณะที่กำลังซื้อของภาคครัวเรือนยังคงถูกกดดันจากความเปราะบางของฐานะการเงินที่สะสมมาจากการแพร่ระบาดในปีก่อนและปัจจุบัน ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้สะท้อนผ่านหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงที่ 90.5% ของจีดีพีในไตรมาสแรกของปี 2564 นอกจากนี้ ครัวเรือนยังมีความกังวลเกี่ยวกับรายได้และจ้างงานเพิ่มขึ้น 

รายได้ลด ไร้งานทำ ท่องเที่ยวไม่ฟื้น 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำการสำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการล็อกดาวน์ใน 10 จังหวัดพื้นที่เสี่ยงพบว่า 64.2 % ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ (64.2%) มีรายได้จากการจ้างงานลดลง

ขณะที่บางส่วน (14.3%) ธุรกิจปิดกิจการและถูกเลิกจ้าง ซึ่งตรงนี้จะเป็นปัจจัยที่เข้ามาซ้ำเติมตลาดแรงงานที่มีภาวะเปราะบาง

ล่าสุด ในไตรมาส 2/2564 จำนวนผู้ว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 7.3 แสนคน โดยทิศทางการฟื้นตัวของตลาดแรงงานยังมีความไม่แน่นอนสูงเช่นกัน

โดยเฉพาะแรงงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจในภาคท่องเที่ยว ที่แม้ในเดือนก.ค. 64 จะมีการนำร่องเปิดโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ รับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยไม่ได้ต้องกักตัวตามเงื่อนไข

แต่สถานการณ์การระบาดทั้งในและนอกประเทศที่รุนแรงขึ้น ส่งผลให้ในเดือนก.ค. 64 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาภูเก็ต 14,055 คน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวันอยู่ที่ 5,400 บาท (ไม่รวมค่าตั๋วเครื่องบิน) ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวดังกล่าวยังมีแนวโน้มต่ำกว่าที่ภาครัฐเคยประเมินไว้ (ไตรมาส 3 จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามา 1 แสนคน)

ขณะนี้ในภูเก็ตก็ได้มีมาตรการคุมเข้มการระบาดเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้กิจกรรม รวมถึงสถานที่ต่าง ๆ ไม่สามารถเปิดได้เต็มที่

Photo : Shutterstock

คนไทยบางส่วน ‘เข้าไม่ถึง’ โครงการรัฐ 

ด้านมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจจากภาครัฐ มีความจำเป็นที่จะต้องเข้ามาช่วยประคับประคองการดำรงชีพของครัวเรือน ซึ่งช่วงที่สำรวจภาครัฐได้มี 2 โครงการคือ โครงการคนละครึ่งระยะที่สาม และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้สำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าร่วมมาตรการพบว่า มีครัวเรือนถึง 30.6% ที่ไม่ได้เข้าร่วมทั้งสองโครงการ เนื่องจากมองว่าขั้นตอนการสมัครมีความยุ่งยาก อีกทั้งโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ที่เป็นโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้มีเงินออมมีผู้เข้าร่วมเพียง 2.9%

ทั้งนี้ โครงการทั้งสองโครงการได้ออกมาในช่วงก่อนที่สถานการณ์การระบาดจะเผชิญความรุนแรงและมีมาตรการคุมเข้มการระบาดอย่างในปัจจุบัน ซึ่งหากสถานการณ์การระบาดไม่ได้รุนแรงมาก อาจทำให้โครงการต่าง ๆ จูงใจประชาชนให้เข้าร่วมได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ล่าสุดภาครัฐได้มีมาตรการเยียวยา 9 กลุ่มอาชีพใน 13 พื้นที่เสี่ยงที่ถูกล็อกดาวน์ ซึ่งน่าจะเข้ามาช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นได้บางส่วน

“ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนยังเผชิญความไม่แน่นอนสูง สถานการณ์การระบาดที่ยืดเยื้อและมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้นจะยิ่งเป็นปัจจัยกดดันต่อตลาดแรงงานต่อเนื่อง ไปจนถึงกำลังซื้อของภาคครัวเรือน” 

ดังนั้น ภาครัฐควรออกมาตรการเยียวยาที่ตรงจุดและเข้าถึงง่ายเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น ควบคู่ไปกับการจัดหา จัดสรร และแจกจ่ายวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเร่งควบคุมสถานการณ์ เช่น การตรวจเชิงรุกเพราะทุกเวลาที่ผ่านไปคือความสูญเสียที่เกิดขึ้นแก่ภาคประชาชนและประเทศ

สรุป :

ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในระดับปัจจุบัน (ก.ค. 64) และ 3 เดือนข้างหน้าบ่งชี้ถึงความกังวลของครัวเรือนต่อรายได้และการจ้างงาน ขณะที่ในเดือนส.ค.มีมาตรการล็อกดาวน์ใน 13 จังหวัดพื้นที่เสี่ยง ดังนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นจะยิ่งเพิ่มขึ้น ภาครัฐควรมีมาตรการเยียวยาที่ตรงจุดและเข้าถึงง่ายพร้อมกับเร่งเข้าควบคุมสถานการณ์ รวมถึงในเรื่องของวัคซีนเพื่อให้สถานการณ์การระบาดบรรเทาลง

 

]]>
1346077
สิงคโปร์ เปิดโครงการใหม่ ให้เงินหนุนผู้มีรายได้น้อย-ปานกลาง ที่ตกงานเเละสูญเสียรายได้ https://positioningmag.com/1311321 Sun, 20 Dec 2020 18:08:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311321 รัฐบาลสิงคโปร์ เปิดตัวโครงการใหม่ ให้เงินสนับสนุนประชาชนเเละผู้อยู่อาศัยถาวรที่ต้องตกงานเเละรายได้หดหายไป อันเป็นผลกระทบมาจาก COVID-19

โดยโครงการนี้ มีชื่อว่า COVID-19 Recovery Grant มุ่งช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางเเละผู้ประกอบอาชีพอิสระ

เเม้ก่อนหน้านี้ รัฐบาลสิงคโปร์จะมีมาตรการต่างๆ ที่ให้ความช่วยเหลือไปบ้างเเล้วก็ตาม เเต่ทางกระทรวงพัฒนาสังคมและครอบครัว ระบุว่า ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจนต้องสูญเสียงานเเละรายได้นั้น ยังต้องการความช่วยเหลืออีกมากกว่าจะก้าวพ้นวิกฤตนี้ไปได้

โครงการ COVID-19 Recovery Grant จะเปิดให้ชาวสิงคโปร์เเละผู้อยู่อาศัยถาวร ที่มีอายุ 21 ปีขึ้นไป ได้รับเงินสนับสนุนสูงถึง 700 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อเดือน (ราว 1.5 หมื่นบาท) เป็นเวลา 3 เดือน

ตามเงื่อนไข 2 ประการที่ว่า จะต้องเป็นผู้ถูกปลดจากงานโดยไม่สมัครใจ เนื่องจากบริษัทต้องการลดต้นทุนหรือได้รับผลกระทบหนักจากโรคระบาด หรือเป็นผู้ที่ต้องหยุดงานโดยไม่รับเงินค่าจ้าง ยาวนาน 3 เดือนติดต่อกัน

ส่วนผู้ที่จะได้รับเงินสนับสนุน 500 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อเดือน (ราว 1.1 หมื่นบาท) เป็นเวลา 3 เดือนนั้น จะต้องมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่ว่า จะต้องเป็นพนักงานที่มีเงินเดือนหายไป 50% โดยเฉลี่ย 3 เดือนติดต่อกัน เเละผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่สูญเสียรายได้อย่างน้อย 50% เป็นเวลา 3 เดือนติดต่อกัน เมื่อเทียบกับรายได้ในปี 2019 หรือปี 2020

Photo : Shutterstock

ด้วยความที่โครงการ COVID-19 Recovery Grant มุ่งจะช่วยผู้มีรายได้น้อยเเละผู้ที่สูญเสียรายได้เป็นหลัก ดังนั้นจึงมีการกำหนดให้ ประชาชนมีรายได้ครัวเรือนอยู่ที่ 7,800 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 1.7 เเสนบาท) หรือน้อยกว่านั้น หรือมีรายได้ต่อหัวเฉลี่ยที่ 2,600 เหรียญสิงค์โปร์ (ราว 5.8 หมื่นบาท) หรือน้อยกว่านั้นในช่วงก่อนที่จะเกิดการเเพร่ระบาดของ COVID-19 สามารถลงทะเบียนรับความช่วยเหลือนี้ได้เช่นกัน

ทั้งนี้ ชาวสิงคโปร์สามารถลงทะเบียนเพื่อรับความช่วยเหลือดังกล่าวได้ตั้งเเต่วันที่ 18 มกราคม เป็นต้นไป เเละสิ้นสุด ณ 31 ธันวาคม ปี 2021 โดยคาดว่าจะมีผู้ประกอบอาชีพอิสระได้รับผลประโยชน์จากโครงการนี้กว่า 2 เเสนคน ใช้งบประมาณราว 1,800 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 4 หมื่นล้านบาท)

ด้านคนขับรถแท็กซี่และคนขับรถรับจ้างส่วนตัว ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาคท่องเที่ยวที่หยุดชะงัก จะได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสงเคราะห์ในช่วง COVID-19 ขององค์การขนส่งทางบกที่กำลังจะมีมาตรการใหม่ออกมาเพิ่มเติมในเร็ว ๆ นี้

 

ที่มา : CNA , The Straits Times

]]>
1311321
ส่อง 8 มาตรการ กยศ.ช่วยลูกหนี้สู้ COVID-19 ลดเบี้ยปรับเหลือ 0.5% หักเงินเดือน 10 บาท https://positioningmag.com/1271161 Wed, 01 Apr 2020 10:01:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271161 กยศ. เผย 8 มาตรการอุ้มลูกหนี้สู้ภัย COVID-19 ลดเบี้ยปรับจาก 7.5% เหลือ 0.5% ลดจำนวนหักเงินเดือนของผู้กู้ยืมทุกรายในกลุ่มหน่วยงานเอกชนเหลือ 10 บาท/คน/เดือน ชำระหนี้ลดเบี้ยปรับ 75-80% พักชำระหนี้ 2 ปี สำหรับผู้กู้ยืมที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้กู้ยืมที่ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เกิน 8,008 บาทต่อเดือน สามารถขอผ่อนผันได้คราวละ 1 ปี ไม่เกิน 2 คราว ผู้กู้ยืมที่มีรายได้ถดถอยขยายระยะเวลาการชำระหนี้สูงสุดไม่เกิน 2.5 เท่าจากสัญญาเดิม รวมถึงงดการขายทอดตลาดทุกกรณี และชะลอการบังคับคดี ยกเว้นกรณีใกล้ขาดอายุความ

ชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจในวงกว้าง ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนในการดำรงชีพของผู้กู้ยืม กองทุนฯ ได้มีมาตรการช่วยเหลือผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างชำระหนี้

โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ลดเบี้ยปรับเหลือ 0.5% จาก 7.5% ในกรณีที่ผู้กู้ยืมยังไม่ถูกดำเนินคดีและไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด กองทุนฯ จะปรับลดเบี้ยปรับให้กับผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระเงินกู้ยืมเป็นการชั่วคราว จากอัตรา 7.5% ต่อปี เป็นอัตรา 0.5% ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง 31 ธันวาคม 2563
  2. ลดจำนวนหักเงินเดือนเหลือ 10 บาทต่อคนต่อเดือน กองทุนฯ จะปรับลดจำนวนเงินที่แจ้งให้หักเงินเดือน เพื่อชำระเงินคืนกองทุนฯ ของผู้กู้ยืมทุกรายในกลุ่มหน่วยงานเอกชน จากจำนวนเงินที่เคยแจ้งหัก เป็นแจ้งให้นายจ้างหักเงินของผู้กู้ยืมทุกรายรายละ 10 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง 30 มิถุนายน 2563
  3. ลดเบี้ยปรับ 80% สำหรับผู้กู้ยืมทุกกลุ่มที่ค้างชำระหนี้ และปิดบัญชีในครั้งเดียว กรณีผู้กู้ยืมที่ยังไม่ถูกดำเนินคดี ติดต่อชำระหนี้ที่ธนาคารกรุงไทยหรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย กรณีผู้กู้ยืมถูกดำเนินคดี ลงทะเบียนขอรับสิทธิ์ได้ที่เว็บไซต์ กยศ. โดยผู้กู้ยืมต้องชำระค่าทนายความและค่าฤชาธรรมเนียมศาลให้เสร็จสิ้นก่อนชำระหนี้ปิดบัญชี โดยขยายระยะเวลาเดิมที่สิ้นสุดวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นให้สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563
  4. ลดเบี้ยปรับ 75% เฉพาะผู้กู้ยืมที่ยังไม่ถูกดำเนินคดีที่ชำระหนี้ค้างทั้งหมดให้มีสถานะปกติ (ไม่ค้างชำระ) โดยติดต่อชำระหนี้ที่ธนาคารกรุงไทยหรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โดยให้ขยายระยะเวลาเดิมที่สิ้นสุดวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นให้สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563
  5. พักชำระหนี้ให้แก่ผู้กู้ยืมที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2 ปี ผู้กู้ยืมที่มีสถานะยังไม่ถูกดำเนินคดี จะได้รับการผ่อนผันการชำระหนี้ตามเงื่อนไข กรณีผู้ที่มีงวดชำระเป็นรายปี ได้รับสิทธิ์ผ่อนผันการชำระหนี้งวดปี 2563 เป็นเวลา 2 ปี นับแต่วันที่กองทุนฯ อนุมัติ โดยผู้กู้ยืมจะกลับมาชำระหนี้งวดปี 2563 ภายในวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 และงวดที่เหลือในปีถัดไป กรณีผู้ที่มีงวดชำระเป็นรายเดือน ให้ผ่อนผันการชำระหนี้ 24 เดือน นับตั้งแต่เดือนถัดไปที่กองทุนฯ อนุมัติ โดยในระหว่างพักชำระหนี้ดังกล่าว กองทุนฯ จะไม่ถือว่าผู้กู้ยืมผิดนัดชำระหนี้ กองทุนฯ​ จะหยุดคิดดอกเบี้ย เบี้ยปรับ หรือค่าธรรมเนียมผิดนัดชำระหนี้ทั้งงวดที่ค้างชำระก่อนหน้าและงวดที่อยู่ระหว่างผ่อนผันการชำระหนี้ จนกว่าระยะเวลาพักชำระหนี้จะสิ้นสุด โดยขยายเวลาให้ผู้กู้ยืมสามารถลงทะเบียนยื่นคำขอรับสิทธิ์ได้ทางเว็บไซต์ กยศ. เดิมสิ้นสุดวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นให้สิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม 2563
  6. ผ่อนผันการชำระหนี้ ในกรณีสถานการณ์ที่มีความจำเป็นสำหรับผู้กู้ยืมที่ครบกำหนดชำระหนี้และไม่เป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ สามารถยื่นคำขอผ่อนผันและส่งเอกสารหลักฐานไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนครบกำหนดชำระหนี้ ในวันที่ 5 กรกฎาคม ซึ่งเป็นไปตามประกาศของกองทุนฯ ที่มีอยู่เดิมแล้ว ดังนี้

กรณีผู้กู้ยืมที่ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เกิน 8,008 บาทต่อเดือน สามารถขอผ่อนผันได้ไม่เกิน 2 คราว คราวละไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งในช่วงเวลาที่ได้รับการผ่อนผัน ผู้กู้ยืมไม่ต้องชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย รวมถึงยกเว้นเบี้ยปรับกรณีผิดนัดชำระหนี้ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ได้รับการผ่อนผัน
กรณีผู้กู้ยืมที่มีรายได้ถดถอย สามารถขอผ่อนผันให้ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ได้ตั้งแต่ 1.5-2.5 เท่าของระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามสัญญากู้ยืมเดิม โดยขึ้นอยู่กับมูลหนี้คงเหลือ ในการชำระเงินงวดสุดท้าย ผู้กู้ยืมต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี และผู้กู้ยืมจะต้องทำบันทึกข้อตกลงกับกองทุนฯ เพื่อนำยอดหนี้คงเหลือมาคำนวณใหม่ และเฉลี่ยให้ชำระในแต่ละเดือนเท่าๆ กันภายในระยะเวลาที่ได้รับการผ่อนผัน

  1. งดการขายทอดตลาด สำหรับผู้กู้ยืม และ/หรือผู้ค้ำประกัน ที่กองทุนฯ​ ได้ดำเนินการยึดทรัพย์ไว้ทุกราย และขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการขายทอดตลาด กองทุนฯ จะยื่นคำร้องของดการขายทอดตลาดทุกรายไปจนถึงสิ้นปี 2563 โดยจะต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้กู้ยืม และ/หรือ ผู้ค้ำประกันที่ถูกยึดทรัพย์ รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม ผู้รับจำนองที่ยึดไว้ (ถ้ามี)

 

  1. ชะลอการบังคับคดี สำหรับผู้กู้ยืม และ/หรือ ผู้ค้ำประกันทุกคดี กองทุนฯ จะชะลอการบังคับคดีไว้ ยกเว้นกรณีที่คดีใกล้ขาดอายุความ กองทุนฯจำเป็นต้องดำเนินการบังคับคดีตามกฎหมาย แต่จะงดการขายทอดตลาดไว้

 

ทั้งนี้ ผู้กู้ยืมสามารถดูรายละเอียดมาตรการช่วยเหลือผู้กู้ยืม จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ทาง www.studentloan.or.th และเพื่อเป็นการร่วมเว้นระยะห่างทางสังคม สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line@กยศ. หรือ Line@กยศ.หักเงินเดือน หรือ Line@กยศ.คดีและบังคับคดี หรือ e-mail : [email protected]

]]>
1271161