มิจฉาชีพ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 15 Nov 2024 11:14:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ธนาคาร” อัปเกรดระบบความปลอดภัยแน่น “มิจจี้” ต้องหาวิธีใหม่ๆ ทำโกงออนไลน์ เพิ่มขึ้น 10 เท่า  https://positioningmag.com/1499323 Fri, 15 Nov 2024 11:03:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1499323 BioCatch (ไบโอแคตช์) บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ กล่าวว่า ปัจจุบันธนาคารในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา มีการหลอกลวงทางดิจิทัล หรือ ฉ้อโกงออนไลน์ เพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่าในปีนี้ (2024) เนื่องจากอาชญากรมีใช้เทคนิคและเทคโนโลยีให้การหลอกเหยื่อให้โอนเงินไปให้

Tom Peacock ผู้อํานวยการ BioCatch ของ Global Fraud Intelligence กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของการฉ้อโกงออนไลน์นี้ เป็นผลมาจากการที่ธนาคารได้ปรับเปลี่ยนและอัปเกรดการป้องกันการเข้ายึดบัญชีและการฉ้อโกงรูปแบบอื่นๆ ให้มีความรัดกุมขึ้น

ซึ่งจากการเก็บข้อมูลจากพฤติกรรมการใช้แอปมือถือและเว็บไซต์ในลูกค้าธนาคารเพื่อช่วยให้ธนาคารแยกแยะระหว่างลูกค้าและอาชญากร ของ BioCatch ได้พบว่า อาญชากร หรือ มิจฉาชีพ มีการตระหนักได้ว่า การโน้มน้าวให้มนุษย์ทําอะไรบางอย่างผ่านการถ่ายโอนด้วยตัวเองนั้น ง่ายกว่าการพยายามหลีกเลี่ยงการควบคุมความปลอดภัยและการป้องกันโดยเทคโนโลยี

โดย Barclays (บาร์เคลย์) และ HSBC (เอชเอสบีซี) กลุ่มธนาคารของอังกฤษที่เป็นหนึ่งในกลุ่มลูกค้าของ BioCatch ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันจากหน่วยงานกํากับดูแลและฝ่ายนิติบัญญัติฯของประเทศ มีการมุ่งเน้นการปราบปรามไปที่อันตรายที่เกิดจากการหลอกลวงทางดิจิทัลมากขึ้น ส่งผลให้ธนาคารอยู่ภายใต้แรงกดดันในการกำจัดอาชญากรออกจากแพลตฟอร์มการเงินออนไลน์ รวมถึงการชดเชยค่าเสียหายให้กับเหยื่อที่มีจำนวนมากขึ้น 

ด้าน JPMorgan Chase (เจพีมอร์แกน เชส) และ Wells Fargo (เวลส์ ฟาร์โก) ผู้ให้บริการทางการเงินของอเมริกา ได้กล่าวว่า สํานักคุ้มครองทางการเงินของผู้บริโภคของอเมริกา อาจมีการลงโทษพวกเขา (กลุ่มผู้ให้บริการทางการเงิน) เนื่องจากมีความเกี่ยวเนื่องกับการชำระเงินของลูกค้าที่ชำระผ่านแอป Zelle เนื่องจากเมื่อในปี 2023 มีลูกค้าของธนาคารจำนวน 3 ราย รายงานว่า มีการทำธุรกรรมผ่านแอป Zelle และมีการตรวจสอบพบในภายหลังว่าเป็นการฉ้อโกงออนไลน์ ซึ่งรวมมูลค่าความเสียหายมากถึง 166 ล้านดอลลาร์ 

การเพิ่มขึ้นของการฉ้อโกงออนไลน์ มีการวิเคราะห์ว่า อาชญากรใช้กลวิธี “โน้มน้าวใจ” เพื่อโน้มน้าวให้เหยื่อทำธุรกรรมโอนเงินให้พวกเขาด้วยตัวเอง แม้การฉ้อโกงแบบนี้จะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 5 ปีก่อน แต่ในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา มีอัตราตัวเลขที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งแพลตฟอร์มอย่าง Zelle ช่วยให้มิจฉาชีพทำงานได้เร็วขึ้นกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ และประสบความสําเร็จในการฉ้อโกงมากขึ้นนั่นเอง 

ด้านเจ้าของ Zelle อย่าง Early Warning Services แย้งว่า ในขณะที่จำนวนการทำธุรกรรมเพิ่มขึ้นในปี 2023 แต่มีรายงานว่า การหลอกลวงและการฉ้อโกงลดลงเกือบ 50% และมีจำนวนการชำระเงินส่วนน้อยเท่านั้นที่ถูกตรวจพบว่าเป็นการฉ้อโกงออนไลน์ ซึ่งการเพิ่มขึ้นของอัตราการฉ้อโกงออนไลน์ที่อ้างโดย BioCatch นั้นอาจเป็นเพียงการทำธุรกรรมที่เพิ่มขึ้น เพราะก่อนหน้านั้นธนาคารไม่สามารถระบุได้ว่า การทำธุรกรรมที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นการฉ้อโกง เนื่องจากธุรกิจธนาคารมีกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้น 

ทั้งนี้ BioCatch ปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลด้านตัวเลขปริมาณการหลอกลวงที่มีความเฉพาะ เนื่องจากมีข้อตกลงในการรักษาความลับของลูกค้า แต่ในอีกสัญญาณหนึ่งที่เกี่ยวข้องของอาชญากรรมทางไซเบอร์ ลูกค้ากลุ่มธนาคารให้ข้อมูลกั  BioCatch ว่า มีการเปิดบัญชีหลอกลวง (บัญชีม้า) น้อยลง 59% แต่อาชญากรได้มุ่งเน้นไปที่การเข้ายึดบัญชีธนาคารที่มีอยู่แทน ส่งผลให้จำนวนการฉ้อโกงเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าผ่านช่องทางอื่นแทน 

ที่มา : CNBC 

]]>
1499323
เอไอก็เอาไม่อยู่! ‘Meta’ รับ ยังดีไม่พอจัดการ ‘มิจฉาชีพ’ วอนผู้ใช้ช่วย ‘รีพอร์ต’ บัญชีสแกมอีกแรง https://positioningmag.com/1449412 Thu, 26 Oct 2023 11:51:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1449412 หลังจากคนไทยคุ้นเคยกับการใช้อินเทอร์เน็ต การช้อปออนไลน์ก็กลายเป็นอีกสิ่งที่ทำติดอันดับโลก รวมถึงการใช้ QR Payment ไทยถือเป็น Top5 ของโลกเลยทีเดียว และเมื่อคนไทยคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีก็คือ มิจฉาชีพ

อาชญากรรมออนไลน์ไทยเฉลี่ย 2.5 แสนคดี/ปี

พ.ต.อ.เจษฎา บุรินทร์สุชาติ ผู้กำกับการ กลุ่มงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์จากกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 ที่เปิดให้มีการแจ้งอาชญากรรมทางออนไลน์พบว่า มีการแจ้งรวมกว่า 3 แสนคดี หรือเฉลี่ยกว่า 700 คดี/วัน

รูปแบบอาชญากรรมออนไลน์ สามารถแยกได้เป็น 14 ประเภท แต่ที่มีจำนวนเยอะสุดอันดับ 1 คือ การซื้อขายออนไลน์ เช่น ได้ของไม่ตรงปก คิดเป็น 40% หรือกว่า 130,000 คดี ตามด้วย

  • หลอกทำภารกิจหรือเล่นเกม
  • หลอกทำงานออนไลน์
  • แก๊งคอลเซ็นเตอร์
  • หลอกลงทุน

“ในแต่ละปีความเสียหายจากมิจฉาชีพในไทยมีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท ซึ่งมิจฉาชีพก็เอาเงินไปลงทุนเทคโนโลยี และคนเพิ่มเติม ทำให้เครือข่ายมีความซับซ้อนและกระจายในหลายประเทศ ทำให้จับได้ยากขึ้น มีกลโกงรูปแบบใหม่ ๆ มากขึ้น โอกาสหลงเชื่อก็เยอะขึ้น” พ.ต.อ.เจษฎา กล่าว

พ.ต.อ.เจษฎา บุรินทร์สุชาติ ผู้กำกับการ กลุ่มงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์จากกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

98% ของบัญชีสแกมที่เจอถูกปิดโดยเอไอ

เฮเซเลีย มาร์กาเรต้า ผู้จัดการฝ่ายนโยบายสาธารณะด้านนโยบายเศรษฐกิจจาก Meta ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า การป้องกันไม่ให้โฆษณาบนแพลตฟอร์มถูกใช้งานเพื่อการหลอกลวงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งแพลตฟอร์มก็ได้ กำหนดมาตรฐานการโฆษณาที่ได้รับอนุญาต และหากตรวจจับโฆษณาที่ละเมิดมาตรฐานการโฆษณา แพลตฟอร์มก็จะดำเนินการ ไม่อนุมัติ โฆษณาดังกล่าวในทันที

โดย Meta ได้ใช้ เอไอ เพื่อตรวจสอบเนื้อหาและบัญชีที่ละเมิดนโยบายของแพลตฟอร์ม โดยไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 Meta ได้เดินหน้าลบบัญชีปลอมออกกว่า 676 ล้านบัญชีทั่วโลก โดย 98.8% ถูกตรวจพบและลบออกไปโดยเอไอก่อนที่จะมีการรายงานจากผู้ใช้

นอกจากนี้ Meta ก็มี คน ที่คอยตรวจสอบ 24 ชั่วโมง ตลอด 7 วัน อย่างไรก็ตาม ทาง Meta ไม่ได้เปิดเผยว่ามีเจ้าหน้าที่ที่ดูแลส่วนนี้มากน้อยเพียงใด

เฮเซเลีย มาร์กาเรต้า ผู้จัดการฝ่ายนโยบายสาธารณะด้านนโยบายเศรษฐกิจจาก Meta ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ซ้ายของภาพ) อิง ศิริกุลบดี ผู้จัดการฝ่ายนโยบายสาธารณะประจำ Facebook ประเทศไทยจาก Meta (ขวาของภาพ)

ยอมรับว่ายังมีช่องโหว่เพราะมิจฉาชีพเก่งขึ้น

เฮเซเลีย ยอมรับว่า แม้บัญชีหรือโพสต์สแกมจะถูกเอไอสกัดกั้นนับล้านบัญชีแต่ก็ยังมีบางส่วนที่หลุดรอดมาได้ ซึ่งแพลตฟอร์มไม่ได้พอใจ และจะพยายามหาทางสกัดกั้นเพิ่มเติม รวมถึงอยากขอให้ ผู้ใช้งานช่วยกันรีพอร์ตบัญชีสแกม ซึ่งเพียงแค่คนเดียวรีพอร์ตทาง Meta ก็เทคแอคชั่นทันที แต่ไม่สามารถระบุระยะเวลาในการดำเนินการได้ เพราะขึ้นอยู่กับระยะเวลาการตรวจสอบ ซึ่งการตรวจสอบเบื้องต้นจะใช้เอไอ และมีมนุษย์คอยตรวจสอบอีกครั้ง

“เราพยายามเต็มที่ และต้องพยายามเพิ่ม ระบบก็ไม่ได้สมบูรณ์แบบเสมอไป และต้องยอมรับว่ามิจฉาชีพพยายามหาช่องโหว่เพื่อให้หลุดรอดการตรวจสอบ เช่น ใช้สัญลักษณ์แปลก ๆ แทนพยัญชนะ ซึ่งเราก็พยายามสอนเอไอให้ฉลาดขึ้นเพื่อตรวจจับให้ได้ และใช้มนุษย์คอยตรวจซ้ำ”

ปัจจุบัน Meta มีผู้ใช้งานกว่า 3.88 พันล้านคน/เดือน มีมากกว่า 10 ล้านธุรกิจทั่วโลกใช้โฆษณาบน Meta และมากกว่า 200 ล้านธุรกิจ ใช้เทคโนโลยีของ Meta ในการทำธุรกิจ

พร้อมร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อสกัดกั้น

อิง ศิริกุลบดี ผู้จัดการฝ่ายนโยบายสาธารณะประจำ Facebook ประเทศไทยจาก Meta กล่าวว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา Meta ได้ร่วมทำงานใกล้ชิดกับพันธมิตรหลายภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกระทรวงดีอีเอส สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยเมื่อทางหน่วยงานแจ้งข้อมูลเข้ามาก็พร้อมดำเนินการปิดกั้น

นอกจากนี้ Meta ยังสร้างการตระหนักรู้และแคมเปญการให้ความรู้ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้คนสามารถรู้เท่าทันกลลวงและรู้วิธีการรายงานเนื้อหาเข้ามาได้ อาทิ แคมเปญ #StayingSafeOnline ภายใต้โครงการ We Think Digital Thailand โครงการหลักในการเสริมทักษะดิจิทัลของ Meta โดยแคมเปญดังกล่าวได้เข้าถึงชาวไทยเป็นจำนวนกว่า 30 ล้านคนแล้วในปัจจุบัน ตั้งแต่มีการเปิดตัวในปี 2564

ปัจจุบัน ตำรวจไซเบอร์ได้เปิดสายด่วน 1441 เพื่อขอความช่วยเหลือหรือปรึกษาปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยี รวมถึงแจ้งเบาะแสได้ทันที

]]>
1449412
ไทยพาณิชย์ ห่วงใยสังคมไทย ส่งแคมเปญ “แก้ เกม กล โกง” สร้างความตระหนักให้ประชาชนรู้เท่าทันและหลีกเลี่ยงมิจฉาชีพยุคใหม่ https://positioningmag.com/1441427 Fri, 18 Aug 2023 10:00:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1441427

ธนาคารไทยพาณิชย์ มีความห่วงใยสังคมไทยและตระหนักถึงผลกระทบจากภัยทุจริตทางการเงินของมิจฉาชีพที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดนับตั้งแต่ช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงรูปแบบอยู่ตลอดเวลา โดยจากสถิติยอดแจ้งความออนไลน์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 – 31 พฤษภาคม 2566 พบว่ามีมูลค่าความเสียหายมากกว่า 38,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่าความเสียหายเฉลี่ยสูงถึง 74 ล้านบาท/วัน ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาธนาคารได้ดำเนินการตามมาตรการและแนวทางป้องกันภัยทางการเงิน ควบคู่กับการยกระดับความปลอดภัยของระบบตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนด พร้อมทั้งมีการสื่อสารไปยังลูกค้าเพื่อเป็นการสร้างความตระหนักรู้ด้านภัยทุจริตทางการเงิน รวมถึงภัยจากไซเบอร์ อย่างต่อเนื่อง จากมูลค่าความเสียหายที่มหาศาลที่ประชาชนต้องสูญเสียทรัพย์สิน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น และการทำธุรกรรมทางการเงินในระยะต่อไป ด้วยเหตุนี้ ธนาคารจึงเล็งเห็นว่าลูกค้ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภัยของมิจฉาชีพได้อย่างเท่าทันและมีประสิทธิภาพ ธนาคารจึงจัดทำโครงการ “แก้ เกม กล โกง” โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อช่วยให้คนไทย ตื่นตัว รับรู้ เข้าใจ และรู้ทันวิธีป้องกันภัยทุจริตทางการเงิน และภัยคุกคามทางไซเบอร์ด้วยตนเอง ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับภัยจากมิจฉาชีพทั้งภาคธุรกิจ และผู้บริโภคภายใต้ 3 แกนหลัก ได้แก่ 1. อัปเดตกลโกง 2. วิธีป้องกันโกง 3. ถ้าโดนโกงแล้วต้องทำอย่างไร พร้อมทั้ง การแจ้งข่าวสาร ประกาศจากธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับภัยมิจฉาชีพ นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับ The Standard สำนักข่าวออนไลน์ชั้นนำของเมืองไทย พัฒนาโครงการ พร้อมร่วมจัดทำคอนเทนต์เตือนภัยมิจฉาชีพสุดเอ็กซ์คลูซีฟที่เป็นประโยชน์ สร้างการรับรู้แก่ประชาชนในวงกว้างผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย อีกด้วย

โดยการจัดทำโครงการ “แก้ เกม กล โกง” ครั้งนี้ ธนาคารหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะสามารถสร้างความตระหนักแก่ภาคธุรกิจและประชาชนให้รู้เท่าทันกลโกงของมิจฉาชีพ พร้อมยืนหยัดเดินหน้ายกระดับความปลอดภัยอย่างไม่หยุดยั้ง ด้วยมาตรการการป้องกัน ติดตามและให้ความช่วยเหลือโดยทันทีเมื่อลูกค้ามีความเสี่ยงจากภัยทุจริตทางการเงิน ควบคู่กับการสื่อสารและเตือนภัยให้แก่สังคมไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภัยทางการเงินที่อาจสร้างความเสียหายในวงกว้างและอาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงินและองค์กรต่างๆ โดยรวม

สามารถติดตามเนื้อหาเกี่ยวกับภัยจากมิจฉาชีพทั้งภาคธุรกิจ และผู้บริโภคจากโครงการ “แก้ เกม กล โกง” ได้ที่ Social media ของธนาคารไทยพาณิชย์ และ The Standard ทุกช่องทาง ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

]]>
1441427
“เพจปลอม” เต็มไปหมด! เปิดกลโกง “มิจฉาชีพ” ปลอมเป็นบริษัทใหญ่-นักธุรกิจดัง “หลอกลงทุน” https://positioningmag.com/1437108 Fri, 07 Jul 2023 08:44:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1437108 ชีวิตอยู่ยากเมื่อ “มิจฉาชีพ” พัฒนากลโกงได้แนบเนียนขึ้นเรื่อยๆ มุกล่าสุดที่กำลังแพร่ระบาดไปทั่วอินเทอร์เน็ตคือ สร้าง “เพจปลอม” เป็นเพจของบริษัทใหญ่ที่มีชื่อเสียง หรือนักธุรกิจนักลงทุนชื่อดัง แล้วยิงโฆษณาเชิญชวนให้มาลงทุนผ่านบริษัท รับผลตอบแทนสูง แต่สุดท้ายเหยื่อจะถูกเชิดเงินหนี

โฆษณาเชิญชวนให้มาร่วมลงทุนกับบริษัทใหญ่ๆ แพร่กระจายเต็มโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น AMATA-อมตะ คอร์ปอเรชั่น, GULF-กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์, SANSIRI-แสนสิริ, AURORA-ร้านทองออโรร่า ฯลฯ มาพร้อมชื่อและรูปของผู้บริหารบนโฆษณาเสริมความน่าเชื่อถือ

เนื้อหาโฆษณาชวนลงทุนมุ่งเป้าไปที่คนที่สนใจด้านการเงิน การลงทุน ซื้อหุ้น ต้องการสร้างความมั่นคงทางการเงิน ด้วย “คีย์เวิร์ด” ต่างๆ เช่น

  • ลงทุนวัยเกษียณ
  • กองทุนเพื่อผู้สูงอายุ
  • เปลี่ยนชีวิตด้วยการลงทุน
  • มือใหม่ก็ลงทุนได้
  • เป็นเจ้าของบริษัทร่วมกัน
  • ร่วมเป็นเจ้าของโครงการใหม่ที่บริษัทกำลังจะลงทุน
เพจปลอม หลอกลงทุน
ตัวอย่างเพจปลอม AMATA
เพจปลอม หลอกลงทุน
ตัวอย่างเพจปลอม GULF

อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดล้วนเป็น “เพจปลอม” จากมิจฉาชีพที่ทำเลียนแบบเพจจริงของบริษัท บางเพจสร้างมาอย่างแนบเนียนด้วยการใช้ชื่อที่เหมือนหรือคล้ายคลึงมาก และคัดลอกโพสต์จากเพจจริงมาลงในเพจปลอมของตัวเองเป็นจำนวนมากจนกลายเป็นเพจคู่แฝด ทำให้เหยื่อหลงเชื่อได้ง่ายขึ้น

เพจปลอม หลอกลงทุน
แจ้งเตือนระวังมิจฉาชีพจาก “แสนสิริ” และ “ออโรร่า”

 

กลโกงมิจฉาชีพ “หลอกลงทุน” แล้วเชิดเงิน

Positioning รวบรวมข้อมูลจากเหยื่อหรือผู้ที่เกือบตกเป็นเหยื่อของเพจปลอมเหล่านี้ พบขั้นตอนที่มิจฉาชีพใช้ในการหลอกลวง คือ

1.เมื่อมีผู้หลงเชื่อและแสดงความสนใจ เพจปลอมจะส่งข้อความมาทักทาย และส่งลิงก์ให้แอดไลน์เพื่อคุยกับโค้ชการลงทุน

2.ในไลน์จะมีการแนะนำตนเองว่าเป็น “โค้ช” หรือ “ผู้ช่วย” ในการลงทุน โดยส่งรูปที่ตัดต่อให้เชื่อว่าเป็นพนักงานของบริษัทนั้นๆ มาด้วยเพื่อให้ตายใจ

3.“โค้ช” จะเริ่มเสนอโปรแกรมการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนสูง และยิ่งลงทุนมากขึ้นก็จะได้ผลตอบแทนสูงขึ้น เช่น ลงทุน 1,000 บาท ได้เงินปันผล 30% และไต่ระดับขึ้นไปถึงลงทุน 100,000 บาท ได้เงินปันผล 95% และจะจ่ายให้ทุกสัปดาห์

4.เมื่อผู้ที่สนใจตกลง “โค้ช” จะส่งเลขที่บัญชีมาให้เพื่อให้โอนเงินลงทุน สังเกตว่าชื่อบัญชีการลงทุนจะเป็นชื่อบุคคลธรรมดา

5.หลังจากผ่านไป 1 สัปดาห์ โค้ชจะแสดงผลว่าขณะนี้ได้ผลตอบแทนตามที่แจ้ง โค้ชจะชักชวนให้ลงทุนเพิ่มอีก

6.แต่ถ้าเมื่อใดที่ผู้ลงทุนต้องการจะถอนเงินออกมา จะต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้บริษัทโดยต้องโอนเงินเพิ่มเติม

7.เมื่อโอนเงินค่าคอมมิชชั่นแล้ว ผู้ลงทุนจะกลายเป็น “เหยื่อ” โดยสมบูรณ์ เพราะโค้ชของบริษัทปลอมจะไม่โอนเงินคืนให้ บล็อกไลน์ และติดต่อไม่ได้อีกเลย

เห็นได้ว่าจริงๆ แล้วรูปแบบการหลอกลวงไม่ต่างจากที่เคยมีมามากนัก แต่ที่ต่างไปคือต้นทางการชวนเหยื่อเข้ามา มีการสร้างเพจปลอมบริษัทขนาดใหญ่เพื่อความน่าเชื่อถือ สร้างตัวตนพนักงานบริษัทปลอมเพิ่มน้ำหนัก ทำให้เหยื่อตายใจได้ง่าย

 

จับพิรุธ “มิจฉาชีพ” แก๊งเพจปลอม

เพจปลอมเหล่านี้แพร่ระบาดอย่างหนักและทุกคนมีสิทธิตกเป็นเหยื่อ ดังนั้น เราขอแนะนำวิธีจับพิรุธเพจปลอม ดังนี้

1.หากพบโฆษณาชวนลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงผิดปกติ เช่น ลงทุน 1,000 บาท รับผลตอบแทน 30%, การันตีปันผล 3-5% ทุกสัปดาห์ ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่าเป็นมิจฉาชีพ

2.ชื่อเหมือน โลโก้เหมือน ไม่ได้แปลว่าเป็นเพจจริง!! โปรดตรวจสอบประวัติของเพจที่ลงโฆษณา
– คลิกไปที่ เกี่ยวกับ (About) > ความโปร่งใสของเพจ (Page Transparency) > ดูทั้งหมด (See All) > ประวัติ (History)
หากเพจนั้นมีประวัติเคยเปลี่ยนชื่อจากเพจอื่น หรือเป็นเพจที่เพิ่งก่อตั้งเมื่อเร็วๆ นี้ และ/หรือแอดมินที่ดูแลเพจอาศัยอยู่ต่างประเทศ แสดงว่าเป็นเพจปลอม

หลอกลงทุน
ตัวอย่างการเช็กเพจปลอม พบว่าเปลี่ยนชื่อมาจากเพจอื่น และผู้ดูแลเพจไม่ได้อยู่ประเทศไทย

3.หากมีการแจ้งให้โอนเงินลงทุนไปที่บัญชีบุคคลธรรมดา ไม่ใช่บัญชีบริษัท ไม่ควรโอนเงิน

4.ค้นหาเบอร์โทรศัพท์สำนักงานของบริษัทนั้นๆ ด้วยตนเอง เพื่อโทรฯ สอบถามเรื่องโฆษณาการลงทุน

 

ถ้าหากพบเบาะแสเพจปลอมหลอกลงทุนหรือถูกหลอกไปแล้ว สามารถแจ้งได้ 2 ช่องทาง คือ

  • ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.) โทรฯ 1441
  • ศูนย์บริการประชาชน ก.ล.ต. โทรฯ 1207 กด 2

ทุกวันนี้ใครๆ ก็ต้องการให้เงินทำงานและมองหาการลงทุน ทำให้มิจฉาชีพมีโอกาสแทรกตัวเข้ามาล่อตาล่อใจได้โดยง่าย ถ้าไม่อยากตกเป็นเหยื่อ ต้องเช็กให้ชัวร์ก่อนทุกครั้งว่าคุณกำลังโอนเงินไปสร้างความมั่งคั่งให้คนอื่นอยู่หรือเปล่า

อ่านเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติม

]]>
1437108
‘Whoscall’ เผย ปี 65 ยอดสายมิจฉาชีพพุ่ง 165% เบอร์มือถือคนไทยรั่วไหลกว่า 13 ล้านเบอร์ https://positioningmag.com/1425849 Fri, 31 Mar 2023 11:38:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1425849 Whoscall เผยในปี 2565 คนไทยเจอสายจากมิจฉาชีพ 17 ล้านครั้ง และจำนวนการรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์ในประเทศไทยมีกว่า 13 ล้านเบอร์ โดยการหลอกลวงทางข้อความ SMS ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง

ฐิตินันท์ สุทธินราพรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท Gogolook ผู้ให้บริการ Whocall แอปพลิเคชันระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จักและป้องกันสแปมสำหรับสมาร์ทโฟน กล่าวว่า 7 ใน 10 ครั้งของข้อความ SMS ที่คนไทยได้รับเป็นข้อความสแปมและข้อความหลอกลวง หรือคิดเป็น 73% ของข้อความที่ได้รับทั้งหมด ในส่วนของยอด สายโทรศัพท์หลอกลวงพุ่งขึ้น 165% จาก 6.4 ล้านครั้งในปี 2564 เป็น 17 ล้านครั้งในปี 2565

มิจฉาชีพนิยมส่งข้อความหลอกลวงเนื่องจากสามารถเข้าถึงเหยื่อจำนวนมากด้วยต้นทุนต่ำ ข้อความ SMS ถูกใช้เป็น เครื่องมือเพื่อ “ติดต่อครั้งแรก” โดยหลอกให้เหยื่อกดลิงก์ฟิชชิ่งเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว เพิ่มบัญชีไลน์เพื่อหลอกให้ส่งข้อมูลหรือ โอนเงินให้ กลอุบายที่พบบ่อยได้แก่ การเสนอเงินกู้โดยมักอ้างรัฐบาลหรือธนาคาร และการให้สิทธิ์เข้าตรงเว็บพนันออนไลน์ ที่ผิดกฎหมาย คีย์เวิร์ดของข้อความหลอกลวงที่ถูกรายงานที่พบบ่อยที่สุดเช่น “รับสิทธิ์ยื่นกู้” “เครดิตฟรี” “เว็บตรง” “คุณได้รับสิทธิ์” “คุณได้รับทุนสำรองโครงการประชารัฐ” “คุณได้รับสิทธิ์สินเชื่อ” และ “คุณคือผู้โชคดี”

สำหรับประเทศไทย ถือเป็นอันดับต้น ๆ ที่มีข้อความและสายโทรเข้าหลอกลวง เฉลี่ย 33.2 ครั้งต่อปี (เพิ่มขึ้น 7%) ขณะที่ไต้หวันมี 17.5 ครั้ง (ลดลง 20%) และมาเลเซีย 16.5 ครั้ง (เพิ่มขึ้น 15%) ตัวเลขดังกล่าวตอกย้ำว่าการหลอกลวงนั้นยังคงแพร่หลายไปยังหลายประเทศ

ทั้งนี้ กลหลอกลวงใหม่ ๆ ในประเทศไทยมักเกิดขึ้นตามความสนใจและเทรนด์ต่าง ๆ อาทิ ข้อความ SMS และสายหลอกลวงที่เกี่ยวกับการปล่อยเงินกู้ หลอกส่งพัสดุเพื่อเก็บเงินปลายทาง หลอกเป็นกรมทางหลวง หลอกให้คลิกไปเล่นพนันออนไลน์ หลอกว่ามีงาน part time หลอกว่าได้รางวัลจาก TikTok และแพลตฟอร์มต่าง ๆ  มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

และจากการเก็บข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีการรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์ 45% ทั้งนี้ รหัสผ่าน เบอร์โทรศัพท์ และชื่อ เป็นข้อมูลส่วนตัว ที่มีการรั่วไหลมากที่สุด ตามด้วยสัญชาติ อีเมล ที่อยู่ และวันเกิด ซึ่งข้อมูลส่วนตัวที่รั่วไหลมักเป็นด่านแรกที่มิจฉาชีพใช้เข้าถึงรายละเอียดการติดต่อเพื่อหลอกลวงเหยื่อ การรั่วไหลอาจเกิดขึ้นจาก ฐานข้อมูลขององค์กรหรือรัฐบาลถูกโจมตีทางไซเบอร์ หรือเมื่อผู้ใช้กรอกแบบสำรวจ แบบทดสอบทางจิตวิทยา หรือแบบฟอร์มในเว็บไซต์ฟิชชิ่ง

สำหรับข้อแนะนำจาก Whoscall เพื่อป้องกันตนเองจากเหล่ามิจฉาชีพ ได้แก่

  • อย่าคลิก: หากคุณได้รับลิงก์ใน SMS อย่าคลิกลิงก์นั้น โดยเฉพาะข้อความที่มาจากธนาคารหรือหมายเลขที่ไม่รู้จัก เนื่องจาก ปัจจุบัน มีข้อห้ามไม่ให้ธนาคารและสถาบันการเงินในประเทศไทยส่งลิงก์ทาง SMS ให้กับลูกค้าโดยตรง
  • อย่ากรอก: หากได้รับ SMS เพื่อขอข้อมูลส่วนบุคคลหรือขออัปเดตชื่อผู้ใช้/รหัสผ่าน หรือข้อมูลทางการเงินที่มีลิงก์ไปยัง เว็บไซต์ที่น่าสงสัย อย่าให้ข้อมูลส่วนบุคคลใดๆ เด็ดขาด
  • อย่าเพิกเฉย: ผู้ใช้สามารถช่วยกันต่อต้านกลโกงและหลอกลวงทางโทรศัพท์ โดยการรายงานเบอร์โทรศัพท์ที่น่าสงสัย หรือหลอกลวง ทางแอปพลิเคชัน Whoscall เพื่อป้องกันและช่วยส่งคำเตือนไปยังกลุ่มผู้ใช้รายอื่น

จากการหลอกลวงจำนวนมาก ปัจจุบัน รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ได้ร่างนโยบายต่อต้านการหลอกลวง และจัดตั้ง     หน่วยงานพิเศษเพื่อรับมือ รวมทั้งร่วมมือกับบริษัทเอกชนและคนดังเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับกลโกงและการหลอกลวง ซึ่งในประเทศไทยได้มีการร่วมมือระหว่างภาครัฐ (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงาน กสทช.) และภาคเอกชน (Whoscall ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น) เช่นกัน

มนวู จู ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ Gogolook กล่าวว่า ภัยคุกคามจากการหลอกลวงที่เพิ่มขึ้นมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อต้านการทุจริต (Anti-Fraud Prevention) จากข้อมูลของ Fortune Business Insight อุตสาหกรรมนี้คาดว่าจะมีมูลค่าถึง 129.2 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2572 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปีที่ 22.8% จากการเพิ่มขึ้นของ เอไอแบบรู้สร้าง (Generative AI) และช่องโหว่ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลขององค์กร คาดว่าจะมีการใช้เทคโนโลยี เพื่อหลอกลวง และเกิดผลเสียทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต เพื่อต่อสู้กับการหลอกลวงที่เพิ่มขึ้น

ปัจจุบัน Gogolook กำลังร่วมมือ กับพันธมิตรหลายแห่งในประเทศไทยและทั่วโลก พัฒนาโซลูชันส์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อจัดการกับภัยคุกคามเหล่านี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อป้องกันการหลอกลวงอย่างครอบคลุมและมอบความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้ Whoscall

]]>
1425849
ก็ได้หรอ!? สถานทูตเกาหลีร้องเรียน “เวียดนาม” โขกราคานักท่องเที่ยวซื้อชุดตรวจ COVID-19 https://positioningmag.com/1399509 Thu, 08 Sep 2022 11:07:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1399509 เหตุเกิดในฮานอย เวียดนาม สถานทูตเกาหลีใต้ร้องเรียน ตั้งข้อสงสัย VietJet Air อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับ “มิจฉาชีพ” บีบให้นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ที่จะกลับประเทศแม่ต้องซื้อชุดตรวจ COVID-19 ราคาแพงระยับที่สนามบิน โดยอ้างว่าผลตรวจล่วงหน้าที่นำมาแสดงไม่ได้รับการรับรอง

สถานทูตเกาหลีใต้ประจำเวียดนาม ร้องเรียนให้มีการสืบสวนประเด็นมิจฉาชีพหลอกลวงบีบให้ซื้อชุดตรวจ COVID-19 ราคาแพงที่สนามบิน โดยเป้าหมายหลักคือ “ชาวเกาหลีใต้” ที่จะบินกลับประเทศแม่ เนื่องจากก่อนหน้าวันที่ 2 กันยายน 2022 เกาหลีใต้ยังมีเงื่อนไขให้ทุกคนที่เข้าประเทศต้องแสดงผลตรวจ RT-PCR ภายใน 48 ชม.ก่อนบิน หรือผล ATK ภายใน 24 ชม.ก่อนบิน

เจ้าหน้าที่ของสถานทูตเกาหลีใต้ประจำเวียดนามได้เข้าเยี่ยมสำนักงานใหญ่ VietJet Air ในกรุงฮานอยแล้วเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (5 กันยายน 2022) เพราะการบีบให้ซื้อชุดตรวจราคาแพงจะเกิดขึ้นได้ ต้องเริ่มมาจากการที่สายการบินไม่ยอมรับผลการตรวจ COVID-19 เป็นลบที่นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้นำมาแสดง เมื่อนักท่องเที่ยวไม่ต้องการพลาดไฟลท์บิน จึงต้องยอมรับการตรวจด่วนราคาแพงที่นายหน้าในสนามบินเสนอขาย

สถานทูตฯ ยังร้องขอให้สายการบินยื่นเรื่องไปที่ฝ่ายความมั่นคงสาธารณะของเวียดนามด้วย เพื่อให้เข้าตรวจสอบการหลอกลวงของมิจฉาชีพในกรณีดังกล่าว และสถานทูตฯ ยังยื่นเรื่องไปที่ศูนย์ควบคุมการบินพลเรือนของเวียดนามด้วยอีกทางหนึ่ง

Photo : Shutterstock

สถานทูตเกาหลีใต้ระบุว่า ชาวเกาหลีใต้จำนวนมากตกเป็นเหยื่อของการบีบขายชุดตรวจ มีการร้องเรียนของประชาชนจำนวนมากเข้ามาก่อนหน้านี้ ตามที่สถานทูตฯ แจ้ง ปรากฏว่าเป็นสายการบิน VietJet Air ที่ปฏิเสธไม่ให้ผู้โดยสารขึ้นเครื่องบ่อยครั้ง

วิธีการหลอกลวงบีบขายดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้กลุ่มหนึ่งที่ควรจะต้องได้ขึ้นเครื่องสายการบิน VietJet ที่สนามบินนานาชาติโหน่ยบ่าย กรุงฮานอย พวกเขามีหลักฐานผลตรวจ COVID-19 เป็นลบมาแสดง ณ เคาน์เตอร์เช็กอิน วันที่ 23 สิงหาคม 2022 แต่พวกเขากลับถูกปฏิเสธขึ้นเครื่อง

เมื่อถูกปฏิเสธขึ้นเครื่อง นายหน้าท้องถิ่นที่สนามบินจะเข้ามาประกบและขายแพ็กเกจตรวจ COVID-19 ด่วนที่สามารถรู้ผลทันขึ้นเครื่องกลับเกาหลีใต้ได้ โดยเสนอราคาสูงถึง 4 ล้านดอง บวกกับค่าตรวจอีก 1 ล้านดอง รวมทั้งหมด 5 ล้านดอง (ประมาณ 7,700 บาท) ทั้งๆ ที่ชุดตรวจลักษณะนี้ปกติขายในราคาเพียง 150,000 ดอง (ประมาณ 232 บาท)

Information, International Airport, Noi Bai, Hanoi, Vietnam (Photo by Schöning/ullstein bild via Getty Images)

กรณีดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในหมู่นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ โดยหลายคนตั้งข้อสงสัยว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างนายหน้าขายชุดตรวจกับสายการบินหรือไม่

ทั้งนี้ ทางสถานทูตเกาหลีใต้มีการสอบถามโดยตรงแล้วว่าสายการบินมีส่วนเกี่ยวข้องหรือเปล่า แต่ทางสายการบินปฏิเสธข้อสงสัยนี้ รวมถึงรายงานว่า สายการบินตัดสินใจไม่ให้ผู้โดยสารขึ้นเครื่องหลังจากปรึกษากับหน่วยงานกักกันโรคที่สนามบินอินชอน ประเทศเกาหลีใต้แล้ว

ขณะนี้ VietJet Air ยังไม่มีความคิดเห็นหรือแถลงเพิ่มเติมต่อสื่อมวลชน

นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ถือเป็นกลุ่มสำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวเวียดนาม เป็นกลุ่มที่เข้าสู่เวียดนามเป็นอันดับ 1 หลังจากเวียดนามเปิดการท่องเที่ยวในปีนี้

ตามที่สำนักงานสถิติทั่วไปแห่งเวียดนามรายงาน เมื่อเดือนสิงหาคม 2022 มีนักท่องเที่ยวเกาหลีเข้าสู่เวียดนาม 173,000 คน ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้าสู่เวียดนามเป็นอันดับ 2 คือชาวอเมริกันจำนวนกว่า 139,000 คน และอันดับ 3 ชาวกัมพูชา 82,000 คน

Source

]]>
1399509
FTC พบ ยอดตุ๋นลงทุน ‘คริปโต’ ปี 64 เสียหายกว่า 3.6 หมื่นล้านบาท วัย 25-40 ปี เสี่ยงโดนโกงสูง 3 เท่า https://positioningmag.com/1391841 Fri, 08 Jul 2022 06:27:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1391841 แค่ตลาดคริปโตติดดอยก็ปวดใจแล้ว ยังต้องมาเจอกับ ‘มิจฉาชีพ’ ที่มาหลอกเอาเงินจากคริปโตอีก โดยจากรายงานของ Federal Trade Commission (FTC) พบว่า ทุก ๆ จำนวนการทำธุรกรรมเกี่ยวกับคริปโตเคอร์เรนซีจะมีเงินสูญหายประมาณ 4 ดอลลาร์ จากการฉ้อโกง ซึ่งมากกว่าวิธีการชำระเงินอื่น ๆ

คณะกรรมาธิการว่าด้วยการค้าแห่งสหพันธรัฐ หรือ FTC เปิดเผยว่า ในปี 2021 มีผู้ที่ถูกมิจฉาชีพหลอกหลวงในตลาดคริปโตถึง 4.5 หมื่นราย รวมมูลค่ากว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 3.6 หมื่นล้านบาท โดย 70% ใช้ Bitcoin เพื่อจ่ายให้กับมิจฉาชีพ ตามด้วยเหรียญสกุล Tether และ Ether ขณะที่ เหยื่อมักจะมีอายุน้อย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 25-40 ปี มีแนวโน้มที่จะสูญเสียเงินเนื่องจากการฉ้อโกงถึง สามเท่า

ขณะที่ เกือบครึ่งหนึ่ง ของผู้ที่ออกมาแจ้งความว่าสูญเสียเงินจากการหลอกลวงคริปโตในปี2021 ระบุว่า พวกเขาถูกหลอกผ่านโพสต์ออนไลน์หรือข้อความโซเชียลมีเดีย โดยโพสต์มากกว่าครึ่งถูกเห็นบน Facebook หรือ Instagram

ทั้งนี้ การต้มตุ๋นหลอกลวงในตลาดคริปโตกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยอัตราการก่ออาชญากรรมพุ่งสูงขึ้น 60 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2018 เนื่องจากนักต้มตุ๋นมีข้อได้เปรียบตรงที่ธนาคารจะไม่สามารถตรวจพบธุรกรรมที่น่าสงสัยได้เหมือนกับการเงินปกติ อีกทั้งระบบการโอนที่ไม่สามารถย้อนกลับได้ และนักลงทุนมือใหม่ที่ส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยกับวิธีการทำงานของคริปโต

อย่างในเดือนกุมภาพันธ์ คณะลูกขุนใหญ่ของรัฐบาลกลางในซานดิเอโกได้ฟ้องร้องผู้ก่อตั้ง BitConnect เนื่องจากถูกกล่าวหาว่า หลอกลวงนักลงทุนเกี่ยวกับ โปรแกรมการให้กู้ยืมเงินของสกุลเงินดิจิทัล โดยอ้างว่าเทคโนโลยีที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทจะนำผลตอบแทนที่สำคัญมาสู่นักลงทุนโดยการติดตามตลาดแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัล

หรืออย่างในเดือนพฤษภาคม CEO ของ Mining Capital Coin ถูกฟ้องในข้อหา “เตรียมแผนฉ้อโกงการลงทุนทั่วโลกมูลค่า 62 ล้านดอลลาร์” ซึ่งให้คำมั่นว่าจะได้รับผลตอบแทนมหาศาลจากการขุดคริปโตเคอร์เรนซีใหม่ ๆ โดยในทั้งสองกรณี นักต้มตุ๋นสัญญาว่าจะให้ผลตอบแทนมหาศาลแก่นักลงทุน แต่กลับเอาเงินใส่กระเป๋าเงินดิจิทัลของพวกเขาเอง

ดังนั้น FTC เตือนว่า ควรหลีกเลี่ยงการลงทุนกับใครก็ตามที่สัญญาว่าจะ รับประกันผลตอบแทน

“ไม่มีการรับประกันว่าการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลจะสร้างรายได้ การลงทุนที่ถูกกฎหมายจะไม่บังคับให้คุณต้องซื้อสกุลเงินดิจิทัล หรือหากมีการขอให้ส่งคริปโตให้แทนการบอกรักกับคนที่เจอผ่านแอปหาคู่ นั่นถือเป็นการหลอกลวง” FTC กล่าว

Source

]]>
1391841