รักษา COVID-19 – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 01 Apr 2020 14:28:48 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 อินเดีย ดัดเเปลง “รถไฟ” กว่า 2 หมื่นตู้ ให้เป็นห้องรักษาผู้ป่วย COVID-19 https://positioningmag.com/1271137 Wed, 01 Apr 2020 09:14:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271137 การรถไฟอินเดีย เริ่มดัดเเปลงตู้รถไฟกว่า 2 หมื่นตู้ ให้เป็นห้องกักตัวเเละรักษาผู้ป่วย COVID-19 ที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง

“ตู้รถไฟที่จะนำมาดัดเเปลงกว่า 20,000 ตู้ สามารถรองรับผู้ป่วยที่ต้องเเยกกักกันโรคได้ถึง 320,000 เตียง โดยตอนนี้ได้เริ่มทำการดัดเเปลงตู้รถไฟไปเเล้ว 5,000 ตู้ ซึ่งจะสามารถรองรับผู้ป่วยได้ถึง 80,000 เตียง” การรถไฟอินเดียระบุในเเถลงการณ์

โดยตอนนี้ การรถไฟใน 5 พื้นที่ของอินเดียได้เริ่มจัดเตรียม “ตู้รถไฟต้นเเบบ” โดยในหนึ่งตู้จะสามารถรองรับได้ 16 เตียง สำหรับกักตัวหรือแยกโรคผู้ป่วยเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะมีการติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นทั้งหมดตามแนวปฏิบัติทางการแพทย์

ก่อนหน้านี้รัฐบาลอินเดียเริ่ม “ปิดประเทศ 3 สัปดาห์” ตั้งเเต่วันที่ 24 มี.ค. เพื่อควบคุมการเเพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยมีคำสั่งห้ามประชาชนกว่า 1.3 พันล้านคนออกจากเคหะสถานในเวลาที่กำหนด รวมถึงหยุดการบริการคมนาคมทั้งทางถนน รถไฟ เเละเครื่องบิน โดยยกเว้นบริการที่สำคัญที่ยังคงเปิดทำการอยู่ เเละยกเลิกวีซ่าให้พลเมืองต่างชาติทุกประเทศ

ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 มี.ค. กระทรวงสาธารณสุขอินเดีย เเจ้งยอดผู้ป่วย COVID-19 ในอินเดียที่ยืนยันผลเเล้วที่ 1,251 ราย มียอดผู้เสียชีวิตล่าสุดที่ 32 ราย

รัฐบาลอินเดีย ตั้งงบ 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ช่วยเยียวยา “คนจน” สู้วิกฤต Covid-19

 

ที่มา : hindustantimes , Xinhua

 

]]>
1271137
Johnson & Johnson ทุ่ม 3.2 หมื่นล้านบาท พัฒนาวัคซีน COVID-19 หวังใช้ได้จริงต้นปี 2021 https://positioningmag.com/1270974 Tue, 31 Mar 2020 09:04:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1270974 บริษัทผู้ผลิตยายักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ Johnson & Johnson (J&J) ประกาศทุ่มงบวิจัยกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3.2 หมื่นล้านบาท) ร่วมมือกับหน่วยวิจัยและพัฒนาทางการแพทย์ขั้นสูง หรือ BARDA พัฒนาวัคซีนจำนวน 1 พันล้านโดสเพื่อรักษาผู้ป่วย COVID-19

โดย J&J คาดว่าจะสามารถเริ่มทดลองวัคซีนดังกล่าวได้ในช่วงกันยายนปีนี้ เเละหวังว่าจะได้รับอนุมัติจากรัฐบาลสหรัฐฯ เริ่มส่งมอบให้ใช้ได้ในกรณีฉุกเฉินในช่วงต้นปี 2021 ซึ่งนับว่าเร็วเมื่อเทียบกับการพัฒนาวัคซีนรักษาโรคอื่นๆ ที่ต้องใช้เวลาอย่างน้อยราว 18 เดือนขี้นไป

Alex Gorsky ประธานเเละซีอีโอของ J&J ระบุว่า “โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตด้านสาธารณสุข เราจะมุ่งมั่นพัฒนาวัคซีนเพื่อรักษาโรค ให้เข้าถึงได้ทั่วโลกโดยเร็วที่สุด”

วัคซีนต้าน COVID-19 ที่ได้รับการคัดเลือกของ Johnson & Johnson

หลังเริ่มมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่  J&J ได้เริ่มวิจัยและทดลองหลากหลายวัคซีนที่มีศักยภาพในการต้านไวรัสนี้ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยทีมวิจัยจากบริษัท แจนเซ่น ฟาร์มาซูติกา ได้ร่วมมือกันกับ Beth Israel Deaconess Medical Center หน่วยงานในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เพื่อคิดค้นและทดลองวัคซีนมากมายโดยใช้เทคโนโลยี AdVac® ของแจนแซ่น

จากการดำเนินงานครั้งนี้ J&J ได้รับคัดเลือกให้เป็นวัคซีนตัวแรกที่จะถูกใช้ในการป้องกัน COVID-19 (โดยมีตัวสำรองอีก 2 รายการ) ซึ่งจะเริ่มต้นเข้าสู่กระบวนการผลิตขั้นตอนแรกต่อไป

สำหรับโครงการวัคซีน COVID-19 ได้ใช้เทคโนโลยี AdVac (R) และ PER.C6(R) ของแจนแซ่น ซึ่งมีความสามารถในการพัฒนาตัวเลือกของวัคซีนใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังยกระดับการผลิตวัคซีนที่ได้รับการคัดเลือกไปพร้อมกัน เทคโนโลยีเดียวกันนี้เคยถูกนำไปใช้พัฒนาและผลิตวัคซีนป้องกันอีโบลาของบริษัท และสร้างวัคซีนที่จะถูกนำไปคัดเลือกเพื่อต้านเชื้อซิกา อาร์เอสวี และ เอชไอวี ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาทางคลินิกเฟสสองหรือเฟสสาม

นอกจากความพยายามในการพัฒนาวัคซีนแล้ว BARDA และ J&J ยังได้ขยายความร่วมมือ เพื่อเร่งการดำเนินงานของแจนเซ่นในการตรวจคัดกรองคลังสารเคมีที่เก็บไว้ (compound libraries) ซึ่งรวมถึงสารเคมีจากบริษัทเวชภัณฑ์อื่น ๆ ด้วย โดย J&J และ BARDA จะให้เงินทุนสนับสนุนในส่วนของความร่วมมือครั้งนี้ ความพยายามในการคัดกรองยาต้านไวรัสนี้เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือกับสถาบันเพื่อการวิจัยทางการแพทย์ Rega (KU Leuven/University of Leuven) ในประเทศเบลเยียม

ทั้งนี้ ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีน การรักษา หรือยารักษา COVID-19 ใด ๆ ที่ได้รับการอนุมัติ โดยไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เริ่มเเพร่ระบาดในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนเมื่อช่วงปลายปี 2019 ที่ผ่านมา ก่อนจะเเพร่ระบาดไปยังประเทศต่างๆ ล่าสุดขณะนี้คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 34,000 คนทั่วโลก โดยสหรัฐอเมริกากำลังเป็นประเทศที่มีการยืนยันยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 มากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่มหานครนิวยอร์ก ขณะเดียวกันมีรายงานว่าเหล่าโรงพยาบาลต่างๆ กำลังประสบปัญหาขาดเเคลนอุปกรณ์ทางการเเพทย์ที่ใช้ในการรักษาโรคนี้

 

ที่มา : Reuters , jnj.com

 

]]>
1270974
จีนแชร์ความรู้ “8 ตัวยา-วิธีรักษา” ต่อสู้กับ COVID-19 อย่างได้ผล https://positioningmag.com/1269458 Mon, 23 Mar 2020 14:45:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1269458 สำนักข่าวซินหัว สื่อทางการจีน รายงานรายการ “ยา” และ “วิธีการรักษา” ต่อไปนี้ คือแนวทางการรักษาที่พบว่ามีศักยภาพในการต่อสู้กับโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 และเสร็จสิ้นการทดลองหรืออยู่ระหว่างการทดลองทางคลินิกในจีน

1. ฟาวิพิราเวียร์ (FAVIPIRAVIR)

ฟาวิพิราเวียร์เป็นยาต้านไวรัสก่อโรคไข้หวัดใหญ่ที่ได้รับการอนุมัติเพื่อการใช้งานทางคลินิกในญี่ปุ่นเมื่อปี 2014 โดยยาตัวนี้ช่วยให้ผู้ป่วยมีผลตรวจไวรัสออกมาเป็นลบได้ในเวลาอันสั้น ทั้งยังไม่ปรากฏอาการไม่พึงประสงค์ที่ชัดเจนในการทดลองทางคลินิกที่ดำเนินจนเสร็จสิ้นในนครเซินเจิ้น มณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) ทางตอนใต้ของจีน

ส่วนการทดลองอีกรายการหนึ่งซึ่งดำเนินการในนครอู่ฮั่น ศูนย์กลางการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เผยให้เห็นถึงประสิทธิภาพการรักษาของยานี้เช่นกัน โดยผลออกมาดีกว่าผลของกลุ่มควบคุม (control group) หรือกลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยจัดให้มีลักษณะเหมือนกลุ่มทดลอง แต่ไม่ได้รับตัวแปรในการทดลอง เพื่อใช้เปรียบเทียบผลที่ได้กับกลุ่มทดลอง

ขณะนี้ บริษัทเภสัชกรรมจีนแห่งหนึ่งได้รับการอนุมัติจากสำนักงานบริหารเวชภัณฑ์แห่งชาติ (NMPA) ให้ผลิตยาชนิดนี้จำนวนมากแล้ว พร้อมทั้งประกันยาสำรองให้เพียงพอ

2. คลอโรควิน ฟอสเฟต (CHLOROQUINE PHOSPHATE)

คลอโรควิน ฟอสเฟต เป็นยารักษาและป้องกันการติดเชื้อมาลาเรียและรักษาโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง ที่ถูกนำมาใช้รักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่มีอาการวิกฤตในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งของอู่ฮั่น และจนถึงขณะนี้ยังไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ที่ปรากฏชัดจากการใช้ยา

กรอบแนวทางการรักษาฉบับล่าสุดของจีนระบุให้คลอโรควิน ฟอสเฟต เป็นยาแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่มีอายุ 18-65 ปี โดยหากผู้ป่วยมีน้ำหนักมากกว่า 50 กิโลกรัม ให้ใช้ยาขนาด 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน แต่ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 9 กลุ่ม อาทิ หญิงมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคหัวใจ ตับ และไตเรื้อรัง

3. แพทย์แผนจีน (TCM)

การแพทย์แผนจีน (TCM) ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 บรรดาผู้เชี่ยวชาญการแพทย์กล่าวว่าวิธีรักษาด้วยยาแผนจีนนั้นช่วยลดอาการไข้ หรือไอในผู้ป่วยอาการไม่รุนแรงได้ ส่วนผู้ป่วยที่อาการรุนแรงนั้น ยาแผนจีนจะช่วยบรรเทาอาการต่างๆ และฟื้นฟูความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด ป้องกันไม่ให้อาการของผู้ป่วยทรุดหนักจนถึงขั้นวิกฤต

นอกจากนี้ จีนยังได้แนะนำยาต้ม “ชิงเฟ่ย ไผตู๋” (Qingfei Paidu) แก่สถาบันทางการแพทย์ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 6 ก.พ. ที่ผ่านมา

4. โทซิลิซูแมบ (TOCILIZUMAB)

กรอบแนวทางการรักษาฉบับล่าสุดแนะนำให้ใช้ยาโทซิลิซูแมบ ซึ่งใช้ชื่อทางการค้าว่าแอกเทมรา (Actemra) ในผู้ป่วยที่มีระดับอินเทอร์ลิวคิน-6 (IL-6) เพิ่มสูงขึ้น และมีรอยโรคระดับสูงในปอดทั้ง 2 ข้าง หรือมีอาการรุนแรง

เนื่องจากผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่มีอาการรุนแรงและอาการวิกฤตจำนวนมากได้รับการตรวจพบระดับ IL-6 ในเลือดที่สูงขึ้น ระดับ IL-6 ที่สูงขึ้นนั้นจึงกลายเป็นสัญญาณเตือนว่าอาการของผู้ป่วยอาจทรุดลงได้

ขณะนี้ ยาโทซิลิซูแมบอยู่ยังระหว่างการทดลองทางคลินิกในโรงพยาบาล 14 แห่งในอู่ฮั่น และจนถึงวันที่ 5 มี.ค. มีการใช้ยาชนิดนี้รักษาผู้ป่วยอาการรุนแรงแล้ว 272 ราย

5. น้ำเลือดที่มีโปรตีนภูมิคุ้มกัน (CONVALESCENT PLASMA)

น้ำเลือดหรือพลาสมาที่มีโปรตีนภูมิคุ้มกันได้มาจากการนำพลาสมาที่เก็บจากผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่หายป่วยแล้วมาผ่านกระบวนการ โดยพบว่ามีส่วนประกอบของโปรตีนภูมิคุ้มกันในปริมาณมาก

เมื่อนับถึงวันที่ 28 ก.พ. มีผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่รับการรักษาด้วยวิธีนี้แล้ว 245 ราย โดย 91 รายมีอาการและตัวบ่งชี้ทางคลินิกดีขึ้นหลังรับการรักษา

ทั้งนี้ ทางการสาธารณสุขชี้ว่าการรักษาด้วยพลาสมาได้รับพิสูจน์แล้วว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

6. เรมเดซิเวียร์ (REMDESIVIR)

ยาเรมเดซิเวียร์พัฒนาขึ้นโดยกิลเลียด ไซเอนเซส (Gilead Sciences) บริษัทเวชภัณฑ์สัญชาติสหรัฐฯ เพื่อต้านเชื้ออีโบลา สำหรับการรักษาโรคโควิด-19 นั้น ยาชนิดนี้สามารถออกฤทธิ์ต้านไวรัสในระดับเซลล์ได้ดีพอสมควร

เฉาปิน ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นผู้นำในโครงการทดลองยาเรมเดซิเวียร์ ระบุว่าการทดลองยาทั้ง 2 ส่วน เป็นไปอย่างราบรื่น และจีนจะแบ่งปันข้อมูลกับประชาคมนานาชาติหลังจากเสร็จสิ้นโครงการ

7. การทดลองปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ (STEM CELL)

จีนทำการวิจัยและทดลองใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 หลายรายการ ซึ่งรวมถึงยาสเต็มเซลล์ที่ได้รับการอนุมัติสำหรับทดลองทางคลินิก และวิธีการบำบัดด้วยสเต็มเซลล์เนื้อเยื้อเกี่ยวพัน (mesenchymal)

แพทย์ได้ใช้วิธีดังกล่าวในการรักษาผู้ป่วยอาการรุนแรง และวิกฤต 64 ราย และได้รับการพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพในการลดปฏิกิริยาอักเสบรุนแรงที่เกิดจากโรคดังกล่าว รวมถึงลดการบาดเจ็บในปอดและลดพังผืดในปอดด้วย

ทั้งนี้ สมาคมชีววิทยาของเซลล์แห่งจีน (Chinese Society for Cell Biology) และสมาคมการแพทย์จีน (Chinese Medical Association) ร่วมกันออกแนวปฏิบัติเพื่อวางมาตรฐานการวิจัยทางคลินิกและการประยุกต์ใช้การบำบัดด้วยสเต็มเซลล์ต้านโรคโควิด-19

8. การฟอกเลือด

ที่ผ่านมามีการนำเทคโนโลยีตับเทียมและเทคโนโลยีฟอกเลือดมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยอาการวิกฤต และพบว่าปัจจัยการอักเสบของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้ลดระดับลง ทั้งยังมีผลการตรวจทรวงอกที่ดีขึ้นด้วย

วิธีการรักษานี้ยังช่วยลดระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจลดลงได้เฉลี่ย 7.7 วัน รวมถึงลดระยะเวลาเฝ้าระวังในห้องผู้ป่วยฉุกเฉินหรือไอซียูได้อีกด้วย

]]>
1269458