ราคาที่ดิน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 01 Nov 2023 10:48:38 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ราคาที่ดิน” Q3/2566 ยังปรับขึ้นแต่ “ชะลอตัว” ทำเล “นครปฐม” มาแรง ราคาขึ้น 62.5% จากปีก่อน https://positioningmag.com/1450234 Wed, 01 Nov 2023 06:43:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1450234
  • REIC สำรวจ “ราคาที่ดิน” Q3/2566 ปรับขึ้นเพียง 3.0% จากปีก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นการชะลอตัวลง เทียบกับก่อนโควิด-19 ราคาที่ดินขึ้นช้าลงถึง 5 เท่า
  • เหตุจากดีมานด์ซื้อลดลง ผู้ประกอบการชะลอการเปิดโครงการใหม่ตามภาวะเศรษฐกิจ และลดการเก็บสะสมที่ดินหลังรัฐเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเต็มอัตรา
  • อย่างไรก็ตาม บางทำเลราคาที่ดินยังพุ่งกระฉูด อันดับ 1 ประจำไตรมาสนี้คือ “นครปฐม” ราคาพุ่ง 62.5% YoY
  • ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ REIC เปิดเผยข้อมูลการสำรวจ “ราคาที่ดิน” ประจำไตรมาส 3/2566 พบว่า ราคาที่ดินมีการปรับขึ้น 0.9% QoQ หรือปรับขึ้น 3.0% YoY

    โดยรวมตลอดปี 2566 ราคาที่ดินเริ่มมีการเติบโตแบบชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับช่วง 5 ปีก่อนโควิด-19 (ปี 2558-62) ช่วงนั้นราคาที่ดินมีการเติบโตเฉลี่ย 14.8% ต่อปี ราคาที่ดินที่ปรับขึ้นในไตรมาสล่าสุดจึงถือว่าชะลอจากช่วงก่อนโควิด-19 ถึง 5 เท่า

    ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์  เปิดเผยว่า ปัจจัยที่ทำให้ราคาที่ดินเปล่ามีการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง เกิดจากปัจจัยลบสำคัญ คือ ผู้ประกอบการมีการหาซื้อที่ดินเปล่าลดลง

    เหตุที่ผู้ประกอบการเริ่มหาซื้อที่ดินเปล่าน้อยลง เกิดจากผู้ประกอบการมีการชะลอเปิดขายโครงการใหม่ จากกำลังซื้อของผู้บริโภคในตลาดที่ลดลง หลัง กนง. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นมาหลายครั้งจนขณะนี้อยู่ที่ 2.50% สวนทางกับภาวะหนี้ครัวเรือนที่สูงถึง 90% ของ GDP

    อีกทั้งผู้ประกอบการยังกังวลเรื่องการจ่ายภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ปีนี้รัฐเรียกเก็บเต็มอัตรา ดังนั้น หากมีการซื้อที่ดินสะสมไว้จำนวนมาก อาจจะเป็นต้นทุนเพิ่มในการพัฒนาโครงการต่อไปในอนาคต

    เมื่อดีมานด์เริ่มลดลงจึงเป็นแรงสะท้อนให้ราคาที่ดินปรับขึ้นได้ช้ากว่าที่เคยเป็นมา

    อย่างไรก็ตาม บางทำเลก็ยังคงร้อนแรง โดยในไตรมาส 3 ปี 2566 นี้ พบว่า โซนที่มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุด 5 อันดับแรกเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) มีดังนี้

    อันดับ 1 ได้แก่ ที่ดินในโซนนครปฐมมีอัตราการเปลี่ยนราคามากถึงร้อยละ 62.5

    อันดับ 2 ได้แก่ ที่ดินในโซนบางพลี-บางบ่อ-บางเสาธง มีอัตราการเปลี่ยนราคาร้อยละ 22.3

    อันดับ 3 ได้แก่ ที่ดินในโซนเมืองสมุทรปราการ-พระประแดง-พระสมุทรเจดีย์ มีอัตราการเปลี่ยนราคา  ร้อยละ 17.9

    อันดับ 4 ได้แก่ ที่ดินในโซนตลิ่งชัน-บางแค-ภาษีเจริญ-หนองแขม-ทวีวัฒนา-ธนบุรี-คลองสาน-บางพลัด-บางกอกน้อย-บางกอกใหญ่ มีอัตราการเปลี่ยนราคา  ร้อยละ 14.9

    อันดับ 5 ได้แก่ ที่ดินในโซนกรุงเทพชั้นใน มีอัตราการเปลี่ยนราคาร้อยละ 6.8

    อันดับที่ดินที่ราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุดช่วงไตรมาส 3/2566 เห็นได้ว่าจะเป็นเขตชานเมืองทางปริมณฑลมากกว่าในเมือง ทาง REIC วิเคราะห์ว่าเกิดจากผู้ประกอบการมีแผนจะพัฒนาโครงการในเขตจังหวัดปริมณฑล เพราะต้องการพัฒนาเป็นโครงการแนวราบ อีกทั้งชานเมืองยังเป็นเขตที่ราคาที่ดินยังไม่สูง จึงมีโอกาสเติบโตด้านราคาอีกมาก

    REIC กล่าวด้วยว่า โซนเหล่านี้ถ้าย้อนกลับไปดูสถิติในช่วงครึ่งปีแรก 2566 ทำเลเหล่านี้คือพื้นที่ที่มีการเปิดโครงการใหม่และยอดขายใหม่มากที่สุดด้วย จึงน่าจะมีส่วนช่วยผลักดันราคาเพราะเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่ตลาดมีความต้องการสูง

    ]]>
    1450234
    ราคาที่ดินในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 2 ปีติดต่อกันแล้ว จากเทรนด์ท่องเที่ยว ตั้งโรงงานผลิตชิป และซื้อบ้านนอกเมือง https://positioningmag.com/1444895 Wed, 20 Sep 2023 06:13:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1444895 รัฐบาลญี่ปุ่นได้สำรวจราคาที่ดินมากถึง 21,000 แห่งทั่วประเทศ โดยตัวเลขราคาที่ดินในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 2 ปีติดต่อกันแล้ว ขณะที่ราคาที่ดินตามต่างจังหวัดกลับมาเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 31 ปี หลังฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตกในยุค 1990

    รัฐบาลญี่ปุ่นได้เปิดเผยราคาเฉลี่ยที่ดินในประเทศเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งสำรวจราคาที่ดินมากถึง 21,000 แห่งทั่วประเทศ ราคาเฉลี่ยที่ดินทั่วประเทศเพิ่มมากขึ้น 1% และเป็นการเพิ่มขึ้น 2 ปีติดต่อกันแล้ว

    โดยราคาที่ดินสำหรับพัฒนาโครงการเชิงพาณิชย์เฉลี่ยเพิ่มมากขึ้นถึง 1.5% ขณะที่ราคาที่ดินสำหรับที่อยู่อาศัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.7%

    ปัจจัยที่ทำให้ราคาที่ดินญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นก็คืออัตราดอกเบี้ยสำหรับซื้อบ้านในญี่ปุ่นยังถือว่าถูก เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศพัฒนาอื่นๆ จากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย

    ขณะเดียวกันเทรนด์การซื้อบ้านนอกเมืองใหญ่ก็กำลังฮิตในชาวญี่ปุ่น เนื่องจากราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกกว่าตามเมืองใหญ่ หรือแม้แต่ชาวต่างชาติที่สนใจเริ่มซื้ออสังหาริมทรัพย์ในแดนอาทิตย์อุทัยที่เพิ่มมากขึ้น

    ทางด้านภาคการท่องเที่ยวที่กลับมาคึกคักหลังการเปิดประเทศ โดยราคาที่ดินในเมือง Sapporo ที่เกาะ Okinawa หรือแม้แต่ที่ Nagano เพิ่มขึ้นจากปัจจัยดังกล่าว

    ไม่เพียงเท่านี้ ความต้องการที่ดินสำหรับการตั้งโรงงานผลิตชิปและสินค้าที่เกี่ยวข้องที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาที่ดินในเมือง Chitose เพิ่มขึ้นจากปัจจัยดังกล่าวโดยเฉพาะ หรือแม้แต่ราคาที่ดินในจังหวัด Kumamoto ที่ราคาที่ดินสำหรับพัฒนาโครงการเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้น 32% จากการเข้ามาตั้งโรงงานผลิตชิปของ TSMC

    ผลที่เกิดขึ้นทำให้ราคาที่ดินตามพื้นที่ต่างจังหวัดได้ปรับเฉลี่ยขึ้น 0.1% และเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 31 ปี หลังจากฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ในญี่ปุ่นแตกในช่วงยุค 1990 ซึ่งสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงถัดมา

    Ide Takeshi จาก Tokyo Kantei บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ ได้กล่าวกับ NHK ว่า แนวโน้มขาขึ้นของราคาที่ดินจะดำเนินต่อไป โดยได้ปัจจัยการฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยว และมีการสร้างโรงงานเพิ่มขึ้น ขณะที่ปัจจัยด้านลบไม่มีเลย

    แต่เขาก็เตือนว่ามีช่องว่างระหว่างราคาที่ดินกับเศรษฐกิจที่แท้จริง และต้องรอดูสัญญาณดังกล่าวว่าจะเป็นฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์หรือไม่

    ที่มา – NHK, Kyodo News, Bloomberg

    ]]>
    1444895
    ราคาประเมินที่ดินรอบปี 2566-69 กรุงเทพฯ “ตารางวาละล้าน” ช่วงไข่แดงกลางเมือง https://positioningmag.com/1414866 Mon, 09 Jan 2023 07:04:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1414866 การประเมินราคาที่ดินโดย “กรมธนารักษ์” รอบก่อนในปี 2559-62 มีถนนเพียงสายเดียวที่มีราคาประเมินแตะ “1 ล้านบาทต่อตารางวา” คือ ถนนสีลม แต่มารอบปี 2566-69 ถนนหลายสายในกรุงเทพฯ ถูกปรับราคาประเมินขึ้นไปสู่ระดับ “วาละล้าน” โดยราคาประเมินรอบใหม่จะเริ่มใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2566

    ]]>
    1414866
    “ราคาที่ดิน” กรุงเทพฯ ต้นปี’65 เติบโตต่ำ ผลจากเศรษฐกิจชะลอตัว-ภาษีที่ดินเก็บเต็มเม็ด https://positioningmag.com/1383826 Wed, 04 May 2022 07:13:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1383826 ยังทรงตัวต่อเนื่อง REIC ประเมิน “ราคาที่ดิน” กรุงเทพฯ ไตรมาส 1/2565 ยังเติบโตในระดับต่ำ ผลกระทบตั้งแต่เกิดโรคระบาด และเศรษฐกิจยังคงไม่ฟื้นตัว สำทับด้วยปัจจัยภาษีที่ดินที่เก็บเต็ม 100% ทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องการสต็อกที่ดิน

    ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) เปิดข้อมูลดัชนี “ราคาที่ดิน” ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 1/2565 อยู่ที่ 341.0 จุด เพิ่มขึ้น 0.6% QoQ และเพิ่มขึ้น 4.5% YoY

    แม้ว่าราคาที่ดินจะยังปรับเพิ่ม แต่ถ้าเทียบกับช่วงก่อนหน้าเกิดโรคระบาด COVID-19 ถือว่า ราคาที่ดินกรุงเทพฯ มีการเติบโตแบบชะลอตัว เพราะค่าเฉลี่ย 5 ปีก่อนโรคระบาด (2558-2562) ราคาที่ดินจะปรับเพิ่มเฉลี่ย 4.1% ต่อไตรมาส และขึ้นเฉลี่ยถึง 14.8% ต่อปี

    เมื่อดูกราฟช่วงก่อนและหลังเกิดโรคระบาด จะเห็นว่าราคาที่ดินเคยปรับขึ้นสูงมากในช่วงปี 2561-2562 นี้เอง โดยเคยขึ้นสูงสุดช่วงไตรมาส 4/2561 ที่ขึ้น 32.6% YoY เพราะเป็นช่วงที่มีการประกาศแผนก่อสร้างรถไฟฟ้าหลายสาย ทั้งสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมฯ–มีนบุรี สายสีเหลือง สำโรง–ลาดพร้าว และสายสีชมพู มีนบุรี-แคราย

    แต่หลังจากเผชิญโรคระบาดช่วงไตรมาส 2/2563 การเติบโตของราคาที่ดินก็เริ่มชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง จนถึงช่วงไตรมาส 1/2564 การเติบโตของราคาที่ดินลดจนต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 5 ปีก่อนโรคระบาด และเป็นไตรมาส 1/2564 นี้เองที่ราคาที่ดินถึงกับปรับตัว “ลดลง” เป็นครั้งแรก โดยลดลง-2.2% QoQ

    REIC ประเมินว่า แม้ว่าปี 2565 ประเทศไทยจะเริ่มเข้าสู่ช่วงคลี่คลายจากโรคระบาด แต่เนื่องจากเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย จนกำลังซื้อที่อยู่อาศัยยังไม่ฟื้นตัวมากนัก ผู้ประกอบการจึงชะลอการลงทุนซื้อที่ดินเปล่า

    ประกอบกับ การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเคยให้ส่วนลด 90% ในปี 2562-2563 มาถึงปี 2564 เริ่มเก็บเต็ม 100% แล้ว ซึ่งมีผลทำให้ผู้ประกอบการต้องระมัดระวังในการสต็อกที่ดินรอก่อนเริ่มพัฒนาโครงการ โดยรวมแล้วทำให้ดีมานด์ต่อที่ดินยังไม่สูงดังเก่า

     

    “ตลิ่งชัน-ศาลายา” ราคาที่ดินขึ้นสูงสุด

    ค่าเฉลี่ยราคาที่ดินปรับเพิ่มต่ำ แต่บางทำเลก็ยังปรับราคาได้สูง ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณที่มีแผนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายใหม่ หรือยังอยู่ระหว่างก่อสร้าง ดังนี้

    อันดับ 1 สายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-ศาลายา) โครงการที่กำลังจะก่อสร้างในอนาคต ราคาที่ดินปรับขึ้น 8.5% YoY โดยเฉพาะในเขตทวีวัฒนาและตลิ่งชัน

    อันดับ 2 สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) โครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีความคืบหน้าการก่อสร้างไปแล้วกว่าร้อยละ 90.7 คาดเปิดใช้ภายในปี 2565 ราคาที่ดินปรับเพิ่มขึ้น 8.2% YoY เขตหลักสี่และเขตคันนายาว เป็นบริเวณที่ราคาที่ดินปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุด

    อันดับ 3 สายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) โครงการที่เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2559 ราคาที่ดินปรับขึ้น 6.7% YoY ราคาที่ดินในอำเภอเมืองนนทบุรี และอำเภอบางบัวทอง เป็นบริเวณที่มีราคาปรับเพิ่มขึ้นมาก

    อันดับ 4 สายสีน้ำเงิน (บางแค-พุทธมณฑล สาย 4) โครงการส่วนต่อขยายที่กำลังจะก่อสร้างในอนาคต ราคาที่ดินปรับขึ้น 6.3% YoY โดยราคาที่ดินในเขตหนองแขมและเขตบางแค เป็นบริเวณที่มีการปรับราคาเพิ่มขึ้นมาก

    อันดับ 5 สายสีเขียว (สมุทรปราการ-บางปู) โครงการส่วนต่อขยายที่กำลังจะก่อสร้างในอนาคต และ สายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) เป็นโครงการที่เปิดให้บริการแล้ว โดยราคาที่ดินทั้ง 2 เส้นทาง ราคาที่ดินปรับขึ้นเท่าๆ กันที่ 5.8% YoY โดยพบว่าอำเภอเมืองสมุทรปราการ เป็นบริเวณที่มีราคาที่ดินเพิ่มขึ้นมาก

    ]]>
    1383826
    ราคา “ที่ดิน” กรุงเทพฯ ท่ามกลาง COVID-19 ยังปรับขึ้น…แต่ขึ้นช้าลง https://positioningmag.com/1344123 Tue, 27 Jul 2021 11:02:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344123 สำรวจราคา “ที่ดิน” เปล่าในกรุงเทพฯ-ปริมณฑลโดย REIC พบว่าการเติบโตของราคาที่ดินยังปรับขึ้นอยู่ แต่ปรับขึ้นช้าลง ขึ้นต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีมาติดต่อกัน 3 ไตรมาส สะท้อนผลกระทบจาก COVID-19

    ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) เปิดข้อมูลจากการสำรวจราคาที่ดินเปล่ากรุงเทพฯ-ปริมณฑลรายไตรมาส พบว่า ณ ไตรมาส 2/64 ราคาที่ดินเปล่าปรับขึ้น 7.8% YoY หรือปรับขึ้น 2.0% QoQ 

    อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าการปรับขึ้นชะลอตัวลง ราคาที่ดินเติบโตในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี (2559-2563) ติดต่อกันมาแล้ว 3 ไตรมาส เริ่มตั้งแต่ไตรมาส 4/63

    สะท้อนว่าวิกฤต COVID-19 มีผลทำให้ความต้องการซื้อที่ดินลดลงแล้ว และเจ้าของที่ดินเองมีความต้องการขายสูงขึ้น โดยในระยะต่อไปขึ้นอยู่กับว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจจะทำให้เจ้าของที่ดินมีการระบายขายที่ดินออกมามากขึ้นหรือไม่ หากมีซัพพลายสูงขึ้น น่าจะทำให้ราคาที่ดินปรับขึ้นแบบชะลอตัวต่อเนื่อง

    บางแค-สาย 4 มาแรงสวนตลาด

    ด้านราคาที่ดินเปล่าที่ปรับขึ้นแยกตามทำเลที่มีรถไฟฟ้าผ่าน 5 อันดับแรก ปรับขึ้นในระดับใกล้เคียงกัน แต่ทำเลที่ปรับขึ้นมาแรงสูงสุดคือบริเวณ บางแค-พุทธมณฑลสาย 4 ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนต่อขยายในอนาคตของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ล่าสุดปรับขึ้น 29.4% YoY และเป็้นการปรับขึ้นสูงสุดเป็นอันดับ 1 ติดต่อกันมา 3 ไตรมาสแล้ว

    สำหรับ 5 อันดับแรกทำเลแนวรถไฟฟ้าที่ราคาที่ดินปรับขึ้นสูงสุด มีดังนี้

    อันดับ 1
    – สายสีน้ำเงิน บางแค-พุทธมณฑลสาย 4 +29.4%
    อันดับ 2
    – สายสีทอง ธนบุรี-ประชาธิปก +27.7%
    – สายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางแค +27.7%
    – สายสีส้ม ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม +27.7%
    – สายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี +27.7%
    อันดับ 3
    – สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-จตุจักร +27.1%
    อันดับ 4
    – สายสีแดงเข้ม บางซื่อ-หัวลำโพง +27.0%
    อันดับ 5
    – สายสีเขียว ช่วงอโศก-บางนา +26.0%

    ]]>
    1344123
    5 ล้านคนทั่วโลก ขึ้นแท่น ‘เศรษฐีเงินล้าน’ จากเเรงหนุนตลาดหุ้น ราคาบ้าน-ที่ดิน ‘เเพงขึ้น’ https://positioningmag.com/1338449 Thu, 24 Jun 2021 08:42:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1338449 ผู้คนทั่วโลกกว่า 5 ล้านคน ขึ้นเเท่นเป็นเศรษฐีท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนเเรงที่สุดในรอบศตวรรษ ด้วยเเรงสนับสนุนของตลาดหุ้น บ้านเเละที่ดิน ปรับราคาเเพงขึ้น

    งานวิจัยความมั่งคั่งของประชากรโลก หรือGlobal Wealth Reportฉบับล่าสุด โดย Credit Suisse ระบุว่า ปี 2020 ที่ผ่านมา จำนวนเศรษฐีเงินล้าน (Millionaires) เพิ่มขึ้น 5.2 ล้านคน เป็น 56.1 ล้านคนทั่วโลก ขณะที่คนยากจนยิ่งจนลงเรื่อยๆ ในช่วงโรคระบาดโควิด-19

    โดยประชากรวัยผู้ใหญ่มากกว่า 1% ก้าวสู่สังคมเศรษฐีเงินล้านเป็นครั้งแรก จากปัจจัยการฟื้นตัวของตลาดหุ้นและราคาบ้านและที่ดินที่ปรับตัวสูงขึ้น ช่วยเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินให้คนเหล่านี้

    Anthony Shorrocks นักเศรษฐศาสตร์และผู้เขียนรายงานฉบับนี้ กล่าวว่า การระบาดใหญ่ส่งผลกระทบระยะสั้นต่อตลาดมั่งคั่ง

    โดยเห็นได้ว่า ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2020 ตลาดหุ้นตกอยู่ในภาวะขาลงก่อนที่จะพลิกกลับมาเติบโตได้ในช่วงครึ่งปีหลัง นับตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมา

    ไม่ใช่เเค่ทรงตัวได้เมื่อยามเผชิญวิกฤต เเต่ตลาดมั่งคั่งทั่วโลก กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งปีหลัง

    อย่างไรก็ตาม มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ แม้จะมีเศรษฐีเพิ่มมากขึ้น แต่งานวิจัยก็พบว่า หากตัดปัจจัยด้าน ‘อสังหาริมทรัพย์’ ออกไปความมั่งคั่งของครัวเรือนทั่วโลกก็อาจจะลดลง โดยคนที่รวยเเค่ระดับมีกินมีใช้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับเท่าเดิมเเละหลายรายน้อยลงกว่าเดิม

    การกระตุ้นเศรษฐกิจของบรรดาธนาคาร ส่งผลให้ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น และตลาดหุ้นขยับขึ้น เเต่หากต่อไปมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย มูลค่าสินทรัพย์เหล่านี้ก็จะลดลงตามไปด้วย

    จากผลวิจัยโดยรวม พบว่า ในปี 2020 ความมั่งคั่งทั่วโลก เติบโตที่ 7.4% และนับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 21 ประชาชนผู้ถือครองทรัพย์สิน ระหว่าง 10,000-100,000 ดอลลาร์สหรัฐ มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าจาก 507 ล้านคนในปี 2000 มาอยู่ที่ 1,700 ล้านคนในช่วงกลางปี 2020

    การขยายตัวนี้ สะท้อนให้เห็นการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยเฉพาะจีน ที่มีการขยายตัวของชนชั้นกลางมากที่สุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

    ขณะเดียวกัน นโยบายเเละกฎระเบียบของภาครัฐ เเละการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลกในช่วงโรคระบาด ก็มีส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดการกระจายรายได้ทั่วถึงมากขึ้น

    Nannette Hechler-Fayd’herbe หัวหน้าสายงานด้านการลงทุนของ Credit Suisse ให้ความเห็นว่า นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลต่างๆ เเม้จะช่วยพยุงเศรษฐกิจให้เดินหน้าในช่วงวิกฤต เเต่ก็มีราคาที่ต้องจ่ายเเละต้องระมัดระวัง โดยขณะนี้ ระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP ในหลายประเทศทั่วโลก ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 20%

     

    ที่มา : BBC , Global Wealth Report

    ]]>
    1338449
    ปี’63 “ราคาที่ดินกลางเมือง” ทรงตัว แต่ปี’64 ส่งสัญญาณปรับลดบางแปลง เศรษฐียอมปล่อยมือ https://positioningmag.com/1317878 Thu, 04 Feb 2021 04:25:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317878 CBRE เปิดข้อมูล “ราคาที่ดินกลางเมือง” 3 ทำเลสำคัญ พบราคาซื้อขายที่ดินปี 2563 ยังทรงตัว แลนด์ลอร์ดไม่ปรับลด แต่เปิดปี 2564 เริ่มมีสัญญาณปรับลดแล้วบ้างบางแปลง โดยเฉพาะที่ดินแปลงเล็กในซอยลึกอาจปรับลดได้ถึง 50% โอกาสนักพัฒนาอสังหาฯ ดีลที่ดินกลางเมืองอีกครั้ง จากปีก่อนกำลังซื้อลด แต่ต้นทุนที่ดินกลับไม่ลดลง

    “กุลวดี สว่างศรี” หัวหน้าแผนกการลงทุนและที่ดิน ซีบีอาร์อี ประเทศไทย เปิดเผยข้อมูล ราคาที่ดินกลางเมือง 3 ทำเล คือ เพลินจิต-ลุมพินี, สุขุมวิท และสีลม-สาทร พบปี 2563 ราคาที่ดินกลางเมืองทรงตัวทุกพื้นที่ และราคาที่ดินสูงสุดยังคงเดิม ไม่ปรับเพิ่มขึ้น ดังนี้

    • เพลินจิต-ลุมพินี ราคาที่ดินสูงสุด 3.93 ล้านบาทต่อตร.ว.
    • สุขุมวิท ราคาที่ดินสูงสุด 2.86 ล้านบาทต่อตร.ว.
    • สีลม-สาทร ราคาที่ดินสูงสุด 1.70 ล้านบาทต่อตร.ว.
    ราคาที่ดินสูงสุดย่านกลางเมืองกรุงเทพฯ โดย CBRE

    โดยพื้นที่เพลินจิต-ลุมพินีและสุขุมวิท เทรนด์ราคามีการปรับขึ้นมาแล้ว 3 ปี (2561-63) ขณะที่ที่ดินสีลม-สาทรราคาทรงตัวมาตั้งแต่ปี 2559

    “ราคาที่ดินปีก่อนยังไม่ปรับขึ้นเท่าที่เจ้าของที่ดินต้องการ ทำให้เจ้าของมองว่าจะเก็บที่ดินไว้ก่อนจนกว่าเศรษฐกิจดีขึ้น ความต้องการกลับมา และทำให้ได้ราคาเท่าที่ตั้งไว้” กุลวดีกล่าว

     

    ปี 2564 เศรษฐีส่งสัญญาณยอมลดราคาที่ดิน

    อย่างไรก็ตาม เข้าปี 2564 กุลวดีกล่าวว่า เริ่มเห็นสัญญาณแลนด์ลอร์ดบางแปลงเริ่มยอมปรับลดราคาลงบ้างแล้ว เช่น ที่ดินแปลงหนึ่งย่านสุขุมวิทเคยตั้งราคาขาย 1.6 ล้านบาทต่อตร.ว. ยอมลดเหลือ 1.4-1.5 ล้านบาทต่อตร.ว. เพื่อให้ขายได้ แต่จะตั้งเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติม เช่น โอนกรรมสิทธิ์เร็วขึ้น

    หรือกลุ่มที่ดินแปลงเล็กในซอยลึก เนื้อที่ดิน 200-400 ตร.ว. เป็นพื้นที่ก่อสร้างอาคารได้ไม่เกิน 23 เมตร (8 ชั้น) กลุ่มนี้มีแนวโน้มปรับลดได้มากกว่าที่ดินพัฒนาตึกสูงได้หรืออยู่ริมถนนใหญ่ ยกตัวอย่างที่ดินแปลงหนึ่งในเขตสีลม-สาทร จากบอกขายราคา 6 แสนบาทต่อตร.ว. ลดเหลือ 3 แสนบาทต่อตร.ว. ยอมลดลงครึ่งต่อครึ่่ง

    กรุงเทพ สีลม สาทร ภาพมุมสูง
    พื้นที่สีลม-สาทร

    กุลวดีมองว่า ปีนี้แลนด์ลอร์ดบางรายอาจจะเริ่มได้รับผลกระทบทางธุรกิจ จึงต้องการกระแสเงินสดจากการขายที่ดินไปใช้ดำเนินธุรกิจ จึงยอมลดราคาลงบ้าง ทั้งนี้ ส่วนใหญ่จะมีเฉพาะที่ดินในซอยหรือทำเลไม่ดีมากนักที่ยอมลดราคา ที่ดินแปลงสวยทำเลทองอาจจะยังไม่ลดลง

    แม้ว่าจะเป็นที่ดินทำเลในซอย แต่กุลวดีเห็นว่าเป็นโอกาสของนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพราะราคาสมเหตุสมผลพอที่จะนำมาพัฒนาทั้งคอนโดฯ ตึกเตี้ย หรือเป็นโครงการพิเศษขนาดเล็ก จำนวนยูนิตน้อย กลุ่มแนวราบระดับลักชัวรีกลางใจเมือง

     

    ที่ดินแพงปีก่อน ส่งผลคอนโดฯ กลางเมืองหายจากตลาด

    ด้าน อลิวัสสา พัฒนถาบุตร กรรมการผู้จัดการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย กล่าวว่า ปี 2563 มีคอนโดฯ กลางเมืองเปิดตัวเพียงกว่า 1,500 ยูนิตเท่านั้น จากปกติจะเปิดตัวปีละประมาณ 10,000 ยูนิต เห็นได้ว่าการเปิดตัวลดลงเหลือเพียงราว 15% ของปกติ ส่วนการขายนั้นถือว่ายังขายได้โดยมีอัตราดูดซับ 75% แต่เกิดจากการลดราคา 15-30% ของผู้ประกอบการ เพราะต้องการปิดการขายให้ได้

    ส่วนปี 2564 คาดว่าสถานการณ์การเปิดตัวจะไม่ต่างจากปีก่อนมากนัก เพราะกำลังซื้อยังขาด และราคาที่ดินปีก่อนยังสูงเกินไป เมื่อต้นทุนสูงจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะทำราคาให้ดีกว่าตลาดซึ่งกำลังลดราคาอยู่

    เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดคอนโดฯ ขอบเมือง-ชานเมือง การเปิดตัวคอนโดฯ ใหม่ยังมีสถานการณ์ที่ดีกว่าบ้าง โดยมีการเปิดตัวเกือบ 26,000 ยูนิต จากปกติจะเปิดตัวเฉลี่ยปีละ 50,000 ยูนิต ทำให้คอนโดฯ กลุ่มนี้ลดลงไปราว 50%

    อย่างไรก็ตาม อลิวัสสากล่าวว่า อัตราดูดซับที่แท้จริงของคอนโดฯ กลุ่มนี้ไม่ดีนัก เพราะความต้องการซื้อสูงแต่การโอนกรรมสิทธิ์จริงทำได้ยากลำบากจากปัญหา “กู้ไม่ผ่าน” ของผู้ซื้อ แต่ปี 2564 น่าจะยังเห็นผู้ประกอบการเน้นเปิดคอนโดฯ ในกลุ่มนี้มากกว่าจากต้นทุนที่ดินที่สมเหตุสมผลกว่า

    อลิวัสสาสรุปสถานการณ์คอนโดฯ ยุคหลัง COVID-19 คอนโดฯ กลางเมืองมีซัพพลายเหลือขายกว่า 14,000 ยูนิต คาดว่าต้องใช้เวลาถึงครึ่งปีหลังปี 2565 จึงจะเริ่มฟื้นตัว ขณะที่คอนโดฯ ขอบเมือง-ชานเมืองมีซัพพลายเหลือขายสูงกว่า 1 แสนยูนิต ทำให้คาดว่าต้องรอถึงปี 2566 ตลาดจึงจะกลับมาอีกครั้ง

    ]]>
    1317878