ราคาน้ำมัน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 06 May 2024 08:51:37 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ดีมานด์ ‘น้ำมัน’ ทั่วโลกอาจลดลง ‘ครึ่งหนึ่ง’ ในปีนี้ เนื่องจากการเติบโตของ ‘รถอีวี’ ในจีน-สหรัฐฯ https://positioningmag.com/1472195 Mon, 06 May 2024 06:02:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1472195 นับตั้งแต่ปี 2020 ที่ความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกลดลง เนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์ทำให้ผู้คนไม่สามารถเดินทางได้ตามต้องการ แต่หลังจากนั้นความต้องการใช้งานน้ำมันก็เติบโตขึ้นมาโดยตลอด จนมาปี 2024 นี้ ที่แนวโน้มการเติบโตของความต้องการน้ำมันอาจลดลงถึงครึ่งหนึ่ง

Rystad Energy บริษัทวิจัยอิสระด้านพลังงาน ประเมินว่า การเติบโตของดีมานด์น้ำมันทั่วโลกอาจ ลดลงครึ่งหนึ่ง ในปีนี้ โดยความต้องการมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเพียง 340,000 บาร์เรลต่อวัน (bpd) จากในปีที่ผ่านมามีการเติบโตที่ 700,000 บาร์เรลต่อวัน โดยรวมแล้วปีนี้ทั่วโลกจะมีการใช้น้ำมันที่ 26.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ปัจจัยที่ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันลดลงมาจากผู้บริโภคเปลี่ยนไปใช้ รถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถอีวี มากขึ้น โดยเฉพาะในตลาดสำคัญอย่าง จีน และ สหรัฐอเมริกา โดยมีการประเมินถึงสัดส่วนยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าที่ขายในปีนี้ว่าจีนจะอยู่ที่ 45% ยุโรป 25% และมากกว่า 11% ในสหรัฐอเมริกา

สํานักงานพลังงานระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ครั้งหนึ่งจีนเคยเป็นตัวขับเคลื่อนความต้องการน้ำมันเบนซินของโลก แต่ปีที่ผ่านมา ตลาดรถอีวีเกือบ 60% มาจากประเทศจีน ทำให้ปีนี้ Sinopec หน่วยงานวิจัยของโรงกลั่นที่ใหญ่ที่สุดของจีน คาดว่าความต้องการน้ำมันเบนซินจะเพิ่มขึ้นเพียง 1.7% หรือประมาณ 3 ล้านตัน รวมทั้งปีอยู่ที่ 182 ล้านตัน

“ความต้องการใช้น้ำมันของจีนจะเติบโตเพียง 10,000 บาร์เรลต่อวัน ในปีนี้ เนื่องจากการเติบโตของรถอีวี” Sushant Gupta นักวิเคราะห์จาก Wood Mackenzie กล่าว

ด้านปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินของ สหรัฐฯ ในปี 2023 ลดลงเหลือประมาณ 8.94 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ความต้องการในปี 2024 คาดว่าจะทรงตัว

อย่างไรก็ตาม คาดว่าความต้องการบริโภคน้ำมันเบนซินของ ยุโรป ปีนี้จะเพิ่มขึ้น 50,000 บาร์เรลต่อวัน หรือ 2.3% เป็น 2.19 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่การบริโภคน้ำมันของ อินเดีย อาจจะแตะสถิติใหม่ที่ 908,000 บาร์เรลต่อวัน ในปีถึงเดือนมีนาคม 2025 เพิ่มขึ้นประมาณ 5%

]]>
1472195
สมาชิก OPEC+ ประกาศขยายเวลา “ลดกำลังการผลิตน้ำมัน” หวังรักษาเสถียรภาพของราคา https://positioningmag.com/1464962 Mon, 04 Mar 2024 06:07:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1464962 ดูเหมือนว่าราคาน้ำมันทั่วโลกจะยังไม่ลดลงง่าย ๆ เพราะเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา รัสเซียและสมาชิก OPEC+ อื่น ๆ ได้ประกาศขยายเวลาการลดการผลิตน้ำมันที่ประกาศครั้งแรกในปี 2023 โดยเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงระหว่างผู้ผลิตน้ำมันในการเพิ่มราคาตามความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ

ย้อนไปช่วงเดือนพฤศจิกายน 2023 กลุ่ม OPEC+ ได้มีมติในการปรับลดกำลังการผลิตโดยสมัครใจจำนวน 2.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน จนถึงไตรมาส 1/2024 ล่าสุด กลุ่ม OPEC+ ได้ประกาศขยายระยะเวลาการลดกำลังการผลิตไปจนถึงไตรมาส 2/2024 เพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาด ขณะที่นักวิเคราะห์มองว่า มีแนวโน้มที่จะปรับลดกำลังการผลิตจนถึงสิ้นปีนี้

โดย ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ํามันชั้นนําจะยังคงลด 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่ รัสเซียและอิรัก จะลดการผลิตลงเหลือ 471,000 และ 220,000 บาร์เรลตามลําดับ ปรับลดลงจาก 500,000 และ 223,000 บาร์เรล ส่วนประเทศอื่น ๆ ยังคงเดิม อาทิ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 163,000; คูเวต 135,000; คาซัคสถาน 82,000; แอลจีเรีย 51,000 และโอมาน 42,000 บาร์เรลต่อวัน

“หลังจากสิ้นสุดไตรมาสที่ 2 การปรับลดกำลังการผลิตเพิ่มเติมเหล่านี้จะค่อย ๆ กลับมา อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับสภาวะตลาดด้วย” อเล็กซานเดอร์ โนวัค รองนายกรัฐมนตรีของรัสเซีย กล่าว

การขยายเวลาลดกำลังการผลิตน้ำมันส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้น โดยราคา West Texas Intermediate (WTI) ของสหรัฐทะลุ 80 ดอลลาร์ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ในทะเลเหนือแตะระดับสูงสุดของเดือนที่ 83.55 ดอลลาร์

ทั้งนี้ การรุกรานยูเครนของรัสเซียในปี 2022 ส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นถึง 140 ดอลลาร์ ซึ่งส่งผลให้รายได้ทั่วทั้งอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น และนับตั้งแต่ช่วงสิ้นปี 2022 พันธมิตรผู้ผลิตน้ำมัน OPEC+ ของ 22 ประเทศ ได้ดำเนินการลดกำลังการผลิตไปแล้วมากกว่า 5 ล้านบาร์เรลต่อวัน (bpd)

ที่ผ่านมา ชาติตะวันตกพยายามคว่ำบาตรน้ำมันของรัศเซีย ส่งผลให้รัสเซียต้องหันไปส่งออกน้ำมันไปยังประเทศอื่น ๆ เช่น จีนและอินเดียแทน

Source

]]>
1464962
ประเมินราคา ‘น้ำมัน’ อาจทะยานสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หากสงครามอิสราเอล-ฮามาสทวีความรุนแรง https://positioningmag.com/1450115 Tue, 31 Oct 2023 07:58:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1450115 ดูเหมือนว่าหากสงคราม อิสราเอล-ฮามาส ยังยืดเยื้อจะไม่ใช่แค่ส่งผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน แต่ทั่วโลกก็ได้ผลกระทบไปด้วย ที่เห็นชัดก็คือ ราคาน้ำมัน โดยธนาคารโลกมองว่าอาจทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 150 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หากสงครามยืดเยื้อ

ธนาคารโลก ออกมาเตือนว่า หากความขัดแย้งของสงคราม อิสราเอล-ฮามาส ขยายออกไปนอกพรมแดนของฉนวนกาซา จนเกิดการคว่ำบาตรน้ำมัน ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นถึง 157 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยราคาน้ำมันที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์คือ ในเดือนกรกฎาคม 2008 ที่มีการซื้อขายสูงถึง 147.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ตามข้อมูลจาก LSEG

นอกจากนี้ เคยมีเหตุการณ์การคว่ำบาตรน้ำมันของอาหรับในปี 1973 ส่งผลให้อุปทานน้ำมันทั่วโลกจะลดลง 6-8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งนั่นจะผลักดันราคาให้สูงขึ้น 56-75% หรือราว 140-157 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

“วิกฤตน้ำมันเมื่อ 50 ปีก่อนทําให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้น 4 เท่าหลังจากรัฐมนตรีพลังงานอาหรับสั่งห้ามส่งออกน้ำมัน   ของสหรัฐฯ เพื่อตอบโต้การสนับสนุนอิสราเอลในสงครามอาหรับ-อิสราเอลปี 1973 ซึ่งเป็นที่รู้จักในอิสราเอลในชื่อสงครามยมคิปปูร์”

อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ดังกล่าวเป็นการประเมินสถานการณ์แย่ที่สุด โดยธนาคารโลกได้ประเมินสถานการณ์ไว้ 3 ระดับ โดย กรณีที่ดีที่สุด คือ ราคาน้ำมันจะปรับตัวสูงขึ้น 3-13% มาอยู่ที่ระดับ 93-102 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลล์ หากอุปทานน้ำมันทั่วโลกลดลง 500,000 ถึง 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นการลดลงที่เทียบได้กับช่วงสงครามกลาง เมืองลิเบียในปี 2011

รองลงมาคือ อุปทานลดลงตลาด 3-5 ล้านบาร์เรลต่อวัน อาจจะดันให้ราคาน้ำมันให้สูงขึ้นระหว่าง 109-121 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเทียบเท่ากับระดับที่ไปถึงในช่วงสงครามอิรักในปี 2003

ถึงแม้ว่าทั้งอิสราเอลและดินแดนปาเลสไตน์จะไม่ใช่ผู้เล่นน้ำมันรายใหญ่ แต่ความขัดแย้งก็อยู่ในภูมิภาคการผลิต    น้ำมันที่สําคัญ

“หากความขัดแย้งทวีความรุนแรงขึ้น เศรษฐกิจโลกจะต้องเผชิญกับภาวะช็อกด้านพลังงานเป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ เพราะไม่ใช่แค่จากสงครามในยูเครนเท่านั้น แต่ยังมาจากตะวันออกกลางด้วย”

Source

]]>
1450115
ผลพวง “สงครามอิสราเอล” ดันราคา “น้ำมัน” พุ่ง 4% https://positioningmag.com/1447262 Mon, 09 Oct 2023 06:45:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1447262 สงครามระหว่าง อิสราเอล และ ฮามาส กลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ ได้ยืดเยื้อมาถึงวันที่ 3 แล้ว ซึ่งจากสงครามดังกล่าวได้ส่งผลต่อ ราคาน้ำมันและทองคำ 

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า น้ำมันดิบเบรนท์ มีราคาซื้อขายสูงขึ้น 4.53% ที่ 88.41 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในวันนี้ (9 ต.ค.2566) ขณะที่สหรัฐฯ ฟิวเจอร์ส West Texas Intermediate เพิ่มขึ้น 4.69% เป็น 88.67 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์เชื่อว่าราคาน้ำมันที่พุ่งนั้นจะเกิดแค่ชั่วคราว เนื่องจากเป็นการตอบสนองของตลาดต่อภาวะสงคราม

โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มีความเห็นไปในทางเดียวกันว่า สงครามไม่ได้ทําให้แหล่งน้ํามันที่สําคัญใด ๆ ตกอยู่ในอันตรายโดยตรง เนื่องจากทั้งสองฝ่ายไม่ใช่ผู้ค้าน้ํามันรายใหญ่ โดย อิสราเอลมีโรงกลั่นน้ํามันสองแห่ง ที่มีกําลังการผลิตรวมกันเกือบ 300,000 บาร์เรลต่อวัน ขณะที่ ดินแดนปาเลสไตน์ไม่ผลิตน้ำมัน อย่างไรก็ตาม แม้ความขัดแย้งทั้งสองจะไม่ได้ส่งผลต่อโรงกลั่นน้ำมันในประเทศสำคัญ ๆ โดยตรง แต่ก็เสมือนอยู่ หน้าประตูของภูมิภาคการผลิตและส่งออกน้ำมันที่สําคัญสําหรับผู้บริโภคทั่วโลก

“ผลกระทบที่ส่งผลต่อราคาน้ำมันโดยตรงจริง ๆ คือ การลดอุปทานหรือการขนส่งน้ำมัน” Vivek Dhar ผู้อํานวยการฝ่ายวิจัยการขุดและสินค้าโภคภัณฑ์ด้านพลังงานของธนาคารเครือจักรภพ กล่าว

ไม่ใช่แค่ราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น แต่ราคา ทองคำ ก็สูงขึ้น 0.99% มาเคลื่อนไหวที่บริเวณ 1,850 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เนื่องจากนักลงทุนหาสินทรัพย์หลบภัย ส่วนราคาทองในไทย สมาคมค้าทองคำ ประกาศราคาครั้งที่ 1 เพิ่มขึ้น 400 บาท โดยราคารับซื้อทองคำแท่งบาทละ 32,350 บาท ขายออก 32,450 บาท ส่วนทองรูปพรรณ รับซื้อบาทละ 31,760.20 บาท ขายออก 32,950 บาท

ทั้งนี้ จากการโจมตีของกลุ่มฮามาส มีรายงานว่าชาวอิสราเอลอย่างน้อย 700 คนถูกสังหาร ขณะเดียวกัน กระทรวงสาธารณสุขปาเลสไตน์ได้บันทึกผู้เสียชีวิต 313 ราย จนถึงขณะนี้

Source

]]>
1447262
‘ราคาน้ำมัน’ ไต่ขึ้นสูงสุดอีกครั้ง หลัง ‘ลิเบีย’ เจอน้ำท่วมใหญ่ซึ่งกระทบการ ‘ส่งออกน้ำมัน’ ในกลุ่ม OPEC https://positioningmag.com/1444093 Wed, 13 Sep 2023 01:50:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1444093 เหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ของ ลิเบีย เกิดขึ้นเพียงหนึ่งสัปดาห์หลังจากที่รัสเซียและซาอุดีอาระเบียประกาศขยายระยะเวลาที่จะจำกัดการผลิตน้ำมัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอีก เพราะลิเบียเป็นสมาชิก OPEC และเป็นผู้ผลิตน้ำมันอันดับ 13 ของโลก

น้ํามันดิบเบรนท์ ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานของโลกพุ่งขึ้นเกือบ 2% เป็นระดับสูงสุดระหว่างวันที่ 92.38 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล นั่นเป็นราคาสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2022 ราคาน้ํามันสหรัฐฯ พุ่งขึ้น 2.3% สูงถึง 89.29 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน

สาเหตุที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นเป็นเพราะเหตุการณ์ อุทกภัยใหญ่ในลิเบีย หลังจากเจอฝนตกหนักในแถบตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ทําให้ เขื่อนสองแห่งถล่ม จนเกิดน้ำท่วมฉับพลัน โดยมีผู้เสียชีวิตในอุทกภัยครั้งนี้อย่างน้อย 2,000 คน และมีผู้สูญหายกว่า 10,000 คน รวมถึงมีอาคารบ้านเรือนเสียหายนับไม่ถ้วน

ลิเบียเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกโอเปก โดยมีกำลังการผลิตสูงสุด 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน นับเป็นประเทศที่มีการส่งออกน้ำมันมากที่สุดอันดับ 13 ของโลก ซึ่งอุทกภัยนี้จะขัดขวางการส่งออกน้ำมันจากกลุ่มประเทศโอเปกชั่วคราว ขณะที่ก่อนหน้านี้ ซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ํามันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลกจับมือกันขยายเวลาที่จะ ลดกำลังการผลิตน้ำมันเหลือ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ยาวถึงสิ้นปีเป็นอย่างน้อย

“ลิเบียมีท่าเรือหลายแห่งที่ไม่สามารถส่งออกได้ มันเป็นอีกสิ่งหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ํามันดิบพุ่งสูงขึ้น” แมตต์ สมิธ หัวหน้านักวิเคราะห์น้ํามันสําหรับอเมริกาที่ Kpler กล่าว

สำหรับเหตุการณ์อุทกภัยของลิเบียครั้งนี้ นับเป็น หายนะครั้งใหญ่ของประเทศ โดยลิเบียกําลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยโรงพยาบาลใน Derna ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไปและห้องเก็บศพก็เต็มจนทำให้ร่างผู้เสียชีวิตถูกทิ้งไว้นอกห้องเก็บศพบนทางเท้า

Source

]]>
1444093
ราคา ‘น้ำมันดิบ’ ทำสถิติสูงสุดของปี หลัง ซาอุดีอาระเบีย-รัสเซีย จับมือลดกำลังการผลิตยาวถึงสิ้นปี https://positioningmag.com/1443635 Wed, 06 Sep 2023 07:30:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1443635 ราคาน้ํามันแตะระดับสูงสุดใหม่อีกครั้งสําหรับปีนี้ หลังจากที่ซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ํามันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลกจับมือกันขยายเวลาที่จะ ลดกำลังการผลิตน้ำมัน ยาวถึงสิ้นปีเป็นอย่างน้อย

ราคา น้ำมันดิบเบรนท์ ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานโลกเพิ่มขึ้น +1.8% โดยมีการซื้อขายสูงกว่า 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่ราคาน้ำมัน West Texas Intermediate (WTI) ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นใกล้เคียงกันที่ 87 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เนื่องจาก ซาอุดีอาระเบีย และ รัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกกลุ่ม OPEC+ ตกลงที่จะลดการผลิตลงอย่างมากและลากยาวไปถึงสิ้นปี

แหล่งข่าวอย่างเป็นทางการจากกระทรวงพลังงานของซาอุดีอาระเบีย เปิดเผยกับสํานักข่าว state-run SPA ว่า ทางประเทศจะลดกำลังการผลิตเหลือ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จนถึงสิ้นเดือนธันวาคม หลังจากที่เคยกำหนดว่าจะลดกำลังการผลิตถึงแค่เดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ นับตั้งแต่ที่ตัดสินใจลดกำลังการผลิตตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้กำลังการผลิตน้ำมันของซาอุดีอาระเบียเหลือเพียง 9 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ในขณะเดียวกัน อเล็กซานเดอร์ โนวัค รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย กล่าวว่า ประเทศจะลดการส่งออกลง 300,000 บาร์เรลต่อวัน จนถึงสิ้นปี เพื่อรักษาเสถียรภาพและความสมดุลในตลาดน้ำมัน แม้ว่ารัสเซียกําลังพยายามเพิ่มรายได้เพื่อสนับสนุนในการทําสงครามกับยูเครน 

การลดการผลิตโดย OPEC+ ซึ่งถือเป็น ผู้ผลิตน้ํามันดิบ 40% ของโลก ได้ทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งยิ่งส่งผลเสียต่ออัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย โดยราคาก๊าซเฉลี่ยในสหรัฐฯ ได้ลอยสูงขึ้นเป็น 3.81 ดอลลาร์ต่อแกลลอน ซึ่งสูงกว่าช่วงนี้ของปีที่แล้ว 2-3 เซ็นต์

Source

]]>
1443635
จับตา “ราคาน้ำมัน” หลัง OPEC+ ประกาศลดกำลังการผลิตลง 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวัน https://positioningmag.com/1425996 Mon, 03 Apr 2023 06:11:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1425996 หลังจาก OPEC+ ประกาศลดกำลังการผลิตลง 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวัน ล่าสุด สัญญาซื้อขายล่วงหน้า น้ำมันดิบเบรนท์ พุ่งขึ้น 5.07% เป็น 83.95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า น้ำมันดิบ West Texas Intermediate ของสหรัฐฯ พุ่งขึ้น 5.17% เป็น 79.59 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

สำหรับการปรับลดกำลังการผลิตของ OPEC+ จะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงสิ้นสุดปี 2566 โดยซาอุดีอาระเบีย กล่าวว่า การปรับลดกำลังการผลิตเป็น มาตรการป้องกันการรักษาเสถียรภาพของตลาดน้ำมัน หลังจากที่ รัสเซียจะลดการผลิตน้ำมันลง 500,000 บาร์เรลต่อวัน จนถึงสิ้นปี 2566

ประเทศสมาชิกอื่น ๆ ได้ให้คำมั่นว่าจะลดกำลังการผลิตลงตามลำดับ โดย ซาอุดีอาระเบียจะลด 500,000 บาร์เรลต่อวัน และ UAE จะลด 144,000 บาร์เรลต่อวัน รวมถึงการลดกำลังการผลิตอื่น ๆ จากคูเวต โอมาน อิรัก แอลจีเรีย และคาซัคสถาน

“แผนของ OPEC+ สำหรับการลดการผลิตเพิ่มเติมอาจผลักดันราคาน้ำมันให้แตะระดับ 100 ดอลลาร์อีกครั้ง เมื่อพิจารณาจากการเปิดประเทศของจีนและการลดกำลังการผลิตของรัสเซีย ที่ตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรของตะวันตก” Tina Teng นักวิเคราะห์ของ CMC Markets กล่าว

มีการคาดการณ์ว่าอุปสงค์ของจีนกลับมาที่ 16 ล้านบาร์เรลต่อวัน และจากข้อมูลของ Wood Mackenzie จีนสามารถคิดเป็น 40% ของความต้องการที่ฟื้นตัวของโลกในปี 2566

ทั้งนี้ ในเดือนมีนาคมราคาน้ำมันร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2021 เนื่องจากผู้ค้ากลัวว่าการล้มของธนาคารอาจบั่นทอนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก โดยกลุ่มค้าน้ำมันและพันธมิตรกำลังหาทางหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุซ้ำรอยในปี 2008 ที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกช่วงนั้นมีความผันผวนอย่างมาก

“พวกเขากำลังมองไปยังช่วงครึ่งหลังของปีนี้ และตัดสินใจว่าพวกเขาไม่ต้องการหวนนึกถึงปี 2008 ที่ราคาน้ำมันพุ่งจาก 35 ดอลลาร์เป็น 140 ดอลลาร์” Bob McNally ประธาน Rapidan Energy Group กล่าว

Source

]]>
1425996
‘โอเปก’ เล็งถอด ‘รัสเซีย’ จากข้อตกลงผลิตเพื่อเปิดทางเพิ่มกำลังการผลิต https://positioningmag.com/1387461 Wed, 01 Jun 2022 12:29:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1387461 มีรายงานว่าผู้แทน องค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันออก หรือ โอเปก (OPEC) มีความกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นในรัสเซีย และเริ่มพิจารณาระงับข้อตกลงการผลิตน้ำมัน เนื่องจากสงครามทำให้รัสเซียขาดความสามารถในการสูบน้ำมันดิบ

จากรายงานของ The Wall Street Journal ได้อ้างตัวแทนของ OPEC ที่ไม่เปิดเผยชื่อระบุว่า สมาชิกของกลุ่มพันธมิตรพลังงาน OPEC+ กำลังพิจารณาว่าจะระงับรัสเซียจากข้อตกลงการผลิตน้ำมันหรือไม่ เนี่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นในรัสเซีย รวมถึงความสามารถในกำลังการผลิตน้ำมันดิบ

ที่ผ่านมา กลุ่ม OPEC+ ยังคงยึดมั่นในข้อตกลงเดิม ด้วยการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันเพียง 432,000 บาร์เรล/วัน แม้ว่าสหรัฐฯ และหลายประเทศจะเรียกร้องให้กลุ่ม OPEC+ เพิ่มกำลังการผลิต เนื่องจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น หลังจากที่รัสเซียรุกรานยูเครน ซึ่งส่งผลต่อกำลังการผลิตน้ำมันดิบของประเทศโดยมีการคาดการณ์ว่าการผลิตน้ำมันดิบของรัสเซียทั้งปีจะลดลง 8%

ทั้งนี้ การยกเว้นรัสเซียจากข้อตกลงการผลิตของโอเปกพลัสจะเปิดทางให้ซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมทั้งสมาชิกรายอื่น ๆ ของโอเปกพลัส สามารถเพิ่มการผลิตน้ำมันได้มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการผลิตของโอเปกพลัสและเพื่อชดเชยกำลังการผลิตที่หายไปของรัสเซีย

Source

]]>
1387461
สงครามรัสเซีย-ยูเครน: กลุ่มประเทศ “เอเชียแปซิฟิก” ใครได้-ใครเสียประโยชน์ทางเศรษฐกิจ https://positioningmag.com/1381001 Fri, 08 Apr 2022 06:46:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381001 แม้กลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิกจะอยู่ไกลห่างจาก “สงครามรัสเซีย-ยูเครน” ทำให้ไม่ได้รับผลทางตรงจากการสู้รบ แต่ในเชิงเศรษฐกิจ ราคาสินค้าที่พุ่งขึ้น การเป็นประเทศผู้ส่งออกอาวุธของรัสเซีย และนักท่องเที่ยวรัสเซีย ปัจจัยเหล่านี้ย่อมมีผลทั้งทางบวกและลบต่อกลุ่มประเทศ “เอเชียแปซิฟิก”

Economic Intelligence Unit (EIU) เปิดเผยรายงานผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นต่อประเทศใน “เอเชียแปซิฟิก” จากการทำสงครามรัสเซีย-ยูเครน มีทั้งผู้ที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์จากการรบและการคว่ำบาตร

โดยพื้นฐานแล้ว ทั้งรัสเซียและยูเครนเป็นผู้ผลิตและส่งอออกสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะ “ปุ๋ย” “ธัญพืช/ข้าวสาลี” “น้ำมัน/ก๊าซธรรมชาติ/ถ่านหิน” และ “แร่ธาตุ เช่น นิกเกิล”

ขณะที่เฉพาะประเทศรัสเซีย เป็นประเทศผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่ของโลก และด้วยจำนวนประชากรทำให้ปกติแล้วจะมีนักท่องเที่ยวรัสเซียเดินทางไปยังเอเชียแปซิฟิกจำนวนมาก

ข้าวสาลี
ทั้งรัสเซียและยูเครนเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีและธัญพืชรายใหญ่

ผลที่เกิดขึ้นทันทีหลังสงครามปะทุคือราคาสินค้าโภคภัณฑ์ดังกล่าวพุ่งสูงขึ้น ซึ่งทำให้บางประเทศในเอเชียที่นำเข้าสินค้าเหล่านั้นทั้งทางตรงและทางอ้อมต้องรับภาระต้นทุน โดยกลุ่มประเทศที่รับภาระราคาปุ๋ย ได้แก่ ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ส่วนประเทศเอเชียตะวันออกที่เป็นแหล่งผลิตชิป ก็จะต้องรับภาระต้นทุนแร่ธาตุที่ใช้ผลิต

ขณะที่บางประเทศซึ่งเป็นผู้ส่งออกสินค้าประเภทเดียวกับรัสเซีย-ยูเครนจะได้อานิสงส์จากราคาที่ดีขึ้น และยอดส่งออกที่ดีจากการหาซัพพลายทดแทนจากประเทศอื่น เนื่องจากการคว่ำบาตรรัสเซีย

ด้านประเทศที่พึ่งพิงอาวุธจากรัสเซียอาจจะขาดแคลนซัพพลาย หากเลือกร่วมคว่ำบาตรรัสเซียด้วย และประเทศที่พึ่งพิงนักท่องเที่ยวรัสเซียก็จะได้รับผลกระทบเพราะค่าเงินรูเบิลตกต่ำทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางลำบากขึ้น

 

ราคาสินค้าโภคภัณฑ์พุ่ง ใครได้-ใครเสีย

อัปเดตราคาล่าสุดของสินค้าโภคภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ราคาข้าวสาลี (ตลาดฟิวเจอร์ส) พุ่งขึ้น 65% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน และราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ตลาดฟิวเจอร์ส) พุ่งขึ้น 40% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน รวมถึงราคานิกเกิลที่ทะยานอย่างรุนแรงเพราะรัสเซียคือผู้ผลิตนิกเกิลที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก

“ประเทศที่ได้ประโยชน์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูง”
  • ผู้ส่งออกถ่านหิน: ออสเตรเลีย, อินโดนีเซีย, มองโกเลีย
  • ผู้ส่งออกน้ำมันดิบ: มาเลเซีย, บรูไน
  • ผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติ: ออสเตรเลีย, มาเลเซีย, ปาปัวนิวกินี
  • ผู้ส่งออกนิกเกิล: อินโดนีเซีย, นิวคาลิโดเนีย
  • ผู้ส่งออกข้าวสาลี: ออสเตรเลีย, อินเดีย
บางประเทศในเอเชียแปซิฟิกกลับได้รับประโยชน์จากสงคราม เพราะเป็นผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทเดียวกับรัสเซีย-ยูเครน เช่น น้ำมันดิบ (Photo : Shutterstock)
“ประเทศที่เสียประโยชน์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูง” (*เปอร์เซ็นต์ที่ปรากฏคือสัดส่วนการนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากประเทศรัสเซียหรือยูเครน)
  • ปุ๋ย: อินโดนีเซีย (มากกว่า 15%), เวียดนาม (มากกว่า 10%), ไทย (มากกว่า 10%), มาเลเซีย (ประมาณ 10%), อินเดีย (มากกว่า 6%), บังกลาเทศ (ประมาณ 5%), เมียนมา (ประมาณ 3%), ศรีลังกา (ประมาณ 2%)
  • ธัญพืชจากรัสเซีย: ปากีสถาน (ประมาณ 40%), ศรีลังกา (มากกว่า 30%), บังกลาเทศ (มากกว่า 20%), เวียดนาม (เกือบ 10%), ไทย (ประมาณ 5%), ฟิลิปปินส์ (ประมาณ 5%), อินโดนีเซีย (น้อยกว่า 5%), เมียนมา (น้อยกว่า 5%), มาเลเซีย (น้อยกว่า 5%)
  • ธัญพืชจากยูเครน: ปากีสถาน (ประมาณ 40%), อินโดนีเซีย (มากกว่า 20%), บังกลาเทศ (เกือบ 20%), ไทย (มากกว่า 10%), เมียนมา (มากกว่า 10%), ศรีลังกา (เกือบ 10%), เวียดนาม (น้อยกว่า 5%), ฟิลิปปินส์ (ประมาณ 5%), มาเลเซีย (ประมาณ 5%)
ราคา “ปุ๋ย” ที่แพงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อหลายประเทศในเอเชียแปซิฟิก มีผลต่อเนื่องต่อราคาพืชผลการเกษตร

 

หากคว่ำบาตรอาวุธรัสเซีย กระทบใคร?

EIU ระบุว่า รัสเซียเป็นผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก และเป็นผู้ส่งออกหลักให้กับจีน อินเดีย และเวียดนามในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา

“การคว่ำบาตรทั่วโลกต่อบริษัทขายอาวุธของรัสเซีย จะทำให้ประเทศเอเชียไม่สามารถเข้าถึงอาวุธเหล่านี้ได้” รายงานฉบับดังกล่าวระบุ อย่างไรก็ตาม ประเทศผู้ผลิตอาวุธอื่นๆ ก็จะได้ประโยชน์ รวมถึงผู้ผลิตภายในประเทศนั้นๆ เองด้วย

“ประเทศที่พึ่งพิงอาวุธรัสเซียมากที่สุด” (ช่วงปี 2000-2020 เปอร์เซ็นต์แสดงสัดส่วนที่นำเข้าจากรัสเซีย)

มองโกเลีย (ประมาณ 100%), เวียดนาม (มากกว่า 80%), จีน (เกือบ 80%), อินเดีย (มากกว่า 60%), ลาว (มากกว่า 40%), เมียนมา (ประมาณ 40%), มาเลเซีย (มากกว่า 20%), อินโดนีเซีย (มากกว่า 10%), บังกลาเทศ (มากกว่า 10%), เนปาล (มากกว่า 10%), ปากีสถาน (น้อยกว่า 10%)

 

เมื่อนักท่องเที่ยวรัสเซียขาดแคลน

แม้ว่าน่านฟ้าเอเชียยังเปิดให้สายการบินรัสเซียบินผ่านได้ตามปกติ แต่นักท่องเที่ยวรัสเซียอาจจะบินออกนอกประเทศน้อยลง

“ความต้องการของคนรัสเซียที่จะเดินทางน่าจะได้รับผลกระทบจากการดิสรัปต์เศรษฐกิจ ค่าเงินรูเบิลตกต่ำ และการถอนตัวของระบบชำระเงินสากลจากรัสเซีย” EIU ระบุ

รัสเซีย เศรษฐกิจ เอเชีย
(Photo: Shutterstock)

รัสเซียถูกตัดออกจากระบบ SWIFT ระบบการเงินที่เชื่อมโยง 200 ประเทศทั่วโลกไปแล้ว ขณะที่ค่าเงินรูเบิลต่ำลงเกือบ 30% เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ นับตั้งแต่สงครามปะทุขึ้น แม้ว่าเงินรูเบิลจะดีดกลับขึ้นมาแล้ว แต่ก็ยังต่ำกว่าราคาเมื่อต้นปีนี้ถึง 10%

ประเทศในเอเชียแปซิฟิกที่จะได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนนักท่องเที่ยวรัสเซียมากที่สุดคือ “ไทย” เมื่อปี 2019 ประเทศไทยต้อนรับคนรัสเซียถึง 1.4 ล้านคน แต่นั่นก็คิดเป็นเพียง 4% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดที่มาเยือนไทยในปี 2019

สำหรับอันดับ 2 ในเอเชียที่คนรัสเซียไปเยือนมากที่สุดคือ เวียดนาม รองมาอันดับ 3 คือ อินโดนีเซีย อันดับ 4 ศรีลังกา และอันดับ 5 มัลดีฟส์

ในภาพรวม การขาดแคลนนักท่องเที่ยวรัสเซียอาจจะส่งผลไม่มากต่อเอเชียแปซิฟิก แต่ก็เป็นโอกาสที่น่าเสียดายของภูมิภาคนี้ เพราะนักท่องเที่ยวจีนยังออกนอกประเทศได้ยากตามนโยบายรัฐบาล ทำให้ภาคท่องเที่ยวในเอเชียแปซิฟิกต้องการดึงดูดนักท่องเที่ยวชาติอื่นๆ เข้ามาแทน และคงคาดหวังกับชาวรัสเซียได้ยากยิ่งขึ้น

Source

]]>
1381001
อังกฤษ ‘ลดภาษีน้ำมัน’ สู้วิกฤต ‘ค่าครองชีพ’ หลังเงินเฟ้อพุ่งสูงสุดในรอบ 30 ปี https://positioningmag.com/1379097 Thu, 24 Mar 2022 10:03:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1379097 รัฐบาลอังกฤษ ‘ลดภาษีน้ำมัน’ สู้วิกฤตค่าครองชีพ หลังเงินเฟ้อพุ่งสูงสุดในรอบ 30 ปี

Rishi Sunak รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอังกฤษ ประกาศลดภาษีน้ำมันในทันที พร้อมเเผนการลดภาษีในระยะยาวสำหรับเเรงงาน เพื่อบรรเทาผลกระทบประชาชนที่ต้องเเบกรับภาระค่าครองชีพ

โดยราคาน้ำมันในอังกฤษ จะลดลงเหลือราว 5 เพนนีต่อลิตรในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งการลดภาษีน้ำมันครั้งนี้มีมูลค่าประมาณ 6,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

รัฐบาลหวังว่าการลดภาษีในครั้งนี้ จะมีส่วนช่วยลดต้นทุนการขายปลีกน้ำมัน ตามสถานีเติมน้ำมันที่เปิดให้บริการทั่วประเทศ ท่ามกลางราคาน้ำมันในตลาดโลกที่พุ่งสูงขึ้น

หนึ่งในแรงกดดันอยู่ที่รัฐบาลอังกฤษต้องเผชิญคือ วิกฤตค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยครัวเรือนต้องมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่สูงและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในรอบหลายทศวรรษ และคาดว่าจะเลวร้ายลงเมื่อผลกระทบจากความขัดแย้งรัสเซียยูเครนทวีความรุนแรงขึ้น

อัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักรอยู่ที่ 6.2% ในเดือนกุมภาพันธ์ สูงสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 1992 เนื่องจากราคาอาหารและพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยธนาคารกลางอังกฤษ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงถึง 8% ในไตรมาสที่สอง

ผู้มีรายได้ปานกลางจะยังคงรู้สึกกดดัน การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อมีความไม่แน่นอนมีอยู่มากมาย แต่ทิศทางที่ชัดเจนคือการเติบโตทางเศรษฐกิจจะลดลงและอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวสูงขึ้น” Neil Birrell หัวหน้าฝ่ายการลงทุนจาก Premier Miton Investors กล่าว

ที่มา : CNBC

]]>
1379097