ลดการปล่อยคาร์บอน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 19 Dec 2023 07:22:30 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 หลายบริษัทลด “การเดินทางเพื่อธุรกิจ” ลงแม้หลังโควิด-19 ผ่านพ้น ช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอน https://positioningmag.com/1456185 Tue, 19 Dec 2023 03:17:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1456185 เกือบครึ่งหนึ่งของบริษัทระดับโลก 217 แห่งลด “การเดินทางเพื่อธุรกิจ” ลงระหว่างปี 2019-2022 ช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนลงได้อย่างน้อย 50% แม้หลังผ่านโควิด-19 การเดินทางเพื่อธุรกิจก็ยังฟื้นตัวอย่างช้าๆ เมื่อเทียบกับการเดินทางเพื่อการพักผ่อน

แม้การเดินทางในโลกนี้จะฟื้นตัวขึ้นอย่างมาก แต่หากเจาะลึกไปในกลุ่ม “การเดินทางเพื่อธุรกิจ” กลุ่มนี้ยังฟื้นตัวอย่างช้าๆ เนื่องจากลูกค้าองค์กรจำนวนมากเปลี่ยนมาใช้ระบบประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์แทน หรือเดินทางด้วยรถไฟแทนการขึ้นเครื่องบินซึ่งช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้มากกว่า

Transport and Environment กลุ่มรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ในทศวรรษนี้เราจำเป็นต้องลดการเดินทางเพื่อธุรกิจลง 50% เทียบกับก่อนโควิด-19 เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อนลงให้ได้ 1.5 องศาเซลเซียส

รายงานวิเคราะห์จาก Travel Smart Emissions Tracker พบว่า บริษัทสากลหลายบริษัท เช่น SAP บริษัทเทคโนโลยี, PwC บริษัทที่ปรึกษา หรือ Lloyd บริษัทด้านการธนาคาร ทั้งหมดมีการลดการปล่อยคาร์บอนจากการเดินทางเพื่อธุรกิจลงได้มากกว่า 75% เทียบกับปี 2019

“หนทางในอนาคตคือจะต้องมีการประชุมออนไลน์ให้มากขึ้น เดินทางด้วยรถไฟมากขึ้น และลดการเดินทางด้วยเครื่องบิน” Denise Auclair ผู้จัดการแคมเปญรณรงค์ Travel Smart กล่าวในแถลงการณ์

อย่างไรก็ตาม รายงานฉบับนี้พบด้วยว่ามี 21 บริษัทจาก 217 แห่งที่ “บิน” มากกว่าปี 2019 ไปแล้ว เช่น Marriott International, Boston Scientific, L3Harris บริษัทเหล่านี้มีการปล่อยคาร์บอนเฉลี่ยมากกว่าปี 2019 ถึง 69%

วิดีโอคอนเฟอเรนซ์กลายเป็นตัวเลือกทดแทนการเดินทางเพื่อธุรกิจ พบปะออนไลน์แทนการเจอตัวจริง

บรรดาสายการบินมองว่าการลดการบินเพื่อเดินทางธุรกิจอาจจะทำร้ายธุรกิจของพวกเขาและการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ แต่เนื่องจากกลุ่มนักเดินทางเพื่อการพักผ่อนกลับมาฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วงหลังโรคระบาด ทำให้สายการบินคลายความกังวลลง

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้มีการสำรวจร่วมกันระหว่าง American Express Global Business Travel และ Harvard Business Review เผยแพร่เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา พบว่า 84% ขององค์กรมองว่าทริปการเดินทางเพื่อพบเจอตัวจริงกันนั้นยังสำคัญและมีคุณค่ากับธุรกิจ

สำหรับสายการบินอเมริกันในช่วงก่อนเกิดโรคระบาดนั้น  การเดินทางเพื่อธุรกิจถือเป็นผู้โดยสารกลุ่มสำคัญ มีสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่งของรายได้สายการบิน เพราะสายการบินเหล่านี้สามารถขายที่นั่งแบบพรีเมียมที่ได้กำไรดีกว่าได้ และยังเติมที่นั่งในเที่ยวบินวันธรรมดาให้เต็มมากขึ้นได้ด้วย

ส่วนในทวีปยุโรป สายการบินใหญ่ เช่น Air France เริ่มเปลี่ยนกลยุทธ์มาเสนอขายที่นั่งพรีเมียมให้กับนักเดินทางเพื่อการพักผ่อนทดแทนผู้โดยสารเชิงธุรกิจที่ลดลง

ประเด็นนี้ยังเป็นที่ถกเถียงผลดีผลเสีย เพราะบริษัทที่ทำธุรกิจด้านการเดินทางเพื่อธุรกิจมองว่าเทรนด์นี้จะทำให้ความสัมพันธ์เชิงธุรกิจของบริษัทต่างๆ อ่อนแอลง แต่กลุ่มนักรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมมองว่า เทรนด์นี้คือก้าวสำคัญในการลดการปล่อยคาร์บอนของโลก

Source

]]>
1456185
‘แอร์บัส’ คาดยอดซื้อ ‘เครื่องบินใหม่’ ยังพุ่ง เพราะมาตรการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ของสายการบิน https://positioningmag.com/1361955 Sun, 14 Nov 2021 06:11:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1361955 แอร์บัส ผู้ผลิตเครื่องบินสัญชาติยุโรป คาดการณ์ว่าการระบาดใหญ่จะไม่ส่งผลกระทบระยะยาวต่อความต้องการเครื่องบินใหม่ เพราะหลายสายการบินต้องการฝูงบินที่ปล่อยคาร์บอนน้อยลง เพื่อเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เนื่องจากสายการบินจะต้องลงทุนในเครื่องบินรุ่นใหม่ที่มีมลพิษน้อยกว่าเพื่อให้เป็นไปตามคำมั่นสัญญาของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ว่าจะปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050

แอร์บัส จึงได้คาดการณ์ว่าจะมีความต้องการเครื่องบินโดยสารและเครื่องบินขนส่งสินค้าใหม่จำนวน 39,020 ลำภายในปี 2040 ซึ่งจะทำให้ฝูงบินทั่วโลกมีจำนวน 46,720 ลำ ซึ่งตัวเลขการคาดการณ์ดังกล่าวยังคงใกล้เคียงกับการคาดการณ์ในปี 2019 ก่อนที่จะเกิดการระบาดของ COVID-19 ที่คาดว่าจะมีเครื่องบินใหม่จำนวน 39,210 ลำ ภายใน 20 ปีข้างหน้า

แอร์บัสระบุว่าเกือบ 40% ของเครื่องบินใหม่ในอุตสาหกรรมนี้จะถูกนำมาทดแทนไปสู่เครื่องที่ประหยัดเชื้อเพลิงและลดการปล่อยคร์บอนอย่างเร่งด่วน โดยเมื่อเทียบกับเครื่องบินรุ่นก่อน ๆ เครื่องบินรุ่นใหม่ล่าสุดประหยัดเชื้อเพลิงได้ 15-20% ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งส่งผลต่อภาวะโลกร้อน

“ภายในปี 2040 เครื่องบินพาณิชย์ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องบินรุ่นล่าสุด เพิ่มขึ้นจาก 13% ในปัจจุบัน” แถลงการณ์ของแอร์บัสระบุ

โดยในช่วง 10 เดือนแรก แอร์บัสกลับมามีกำไรและส่งมอบเครื่องบินได้ 460 ลำ ส่วนคู่แข่งอย่าง ‘โบอิ้ง’ ผู้ผลิตเครื่องบินสัญชาติอเมริกายังคงขาดทุนอยู่ และได้จัดหาเครื่องบินได้เพียง 268 ลำ ทว่าโบอิ้งคาดการณ์การส่งมอบใหม่ในอุตสาหกรรมเป็นจำนวน 43,610 ลำ ภายในปี 2040 หรือใกล้เคียงกับการคาดการณ์เดิมที่ 43,315 ลำ

ปัจจุบัน ปริมาณการเดินทางทางอากาศทั่วโลกเริ่มฟื้นตัวจากภาวะโรคระบาดที่ลดลง แม้ว่าในเดือนต.ค. จะยังคงอยู่ในระดับครึ่งก่อนจะเกิดการระบาดก็ตาม โดยคาดว่าตลาดจะกลับสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาดในช่วงปี 2023-2025 เท่านั้น โดยกลุ่มชนชั้นกลางซึ่งมีแนวโน้มว่าจะบินได้มากที่สุด ซึ่งจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น 2 พันล้านคน คิดเป็น 63% ของประชากรโลก โดยเอเชียจะมีการเติบโตจะเร็วที่สุด และจีนจะเป็นตลาดภายในประเทศที่ใหญ่ที่สุด

“ในขณะที่สูญเสียการเติบโตไปเกือบ 2 ปีในช่วงโควิด แต่การกลับมาของผู้โดยสารได้แสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่น เราเห็นการเติบโตที่ 3.9% ต่อปี” Christian Scherer ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์และหัวหน้า Airbus International กล่าว

Source

]]>
1361955
‘โตโยต้า’ ขึ้นแท่นเบอร์ 1 ค่ายรถยนต์ที่ ‘แย่ที่สุด’ ด้านความพยายามลดการปล่อยมลพิษ https://positioningmag.com/1360304 Thu, 04 Nov 2021 05:15:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1360304 ผู้ผลิตรถยนต์ที่มียอดขายสูงสุดของโลกอย่าง ‘โตโยต้า’ (Toyota) ได้เข้าร่วมในการจัดอันดับความพยายามในการปล่อยคาร์บอนของ กรีนพีซ (Greenpeace) ที่จัดทำโดยบริษัทรถยนต์ ซึ่งโตโยต้าเองได้คะแนนต่ำสุด ขึ้นเป็น ‘เบอร์ 1’ ค่ายรถยนต์ที่แย่ที่สุดในด้านความพยายามลดการปล่อยมลพิษ

การประเมินดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่ผู้นำระดับโลกพบกันที่กลาสโกว์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมสภาพภูมิอากาศ COP26 ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในการพูดคุยเรื่องข้อตกลงปารีสปี 2015 ซึ่งตั้งเป้าหมายในการจำกัดภาวะโลกร้อนไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส

กลุ่มรณรงค์ดังกล่าวให้คะแนนระดับ ‘F ลบ ลบ’ กับ ‘โตโยต้า’ และบริษัทสหรัฐฯ ในยุโรป สำหรับความพยายามในการขจัดคาร์บอน รวมทั้งเลิกใช้เครื่องยนต์ที่เผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนแทนรถยนต์ไฟฟ้า

ขณะที่การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในซัพพลายเชน และการนำกลับมาใช้ใหม่หรือการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับแบตเตอรี่รถยนต์ ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ตรวจสอบในรายงานที่เปรียบเทียบผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ 10 ราย

โดย จนเนอรัล มอเตอร์ส’ (GM) ได้เกรด C ที่แย่ที่สุด รองลงมาคือ D สำหรับ ‘Volkswagen’ และ D- สำหรับ ‘Renault’ บริษัทอื่น ๆ ทั้งหมด อาทิ Ford, Honda และ Hyundai-Kia ได้รับการจัดอันดับ F บวกหรือลบ

“โตโยต้า ผู้จำหน่ายรถยนต์อันดับหนึ่งของโลกในปีที่แล้ว เป็นค่ายที่ดื้อรั้นที่สุดในการยังคงให้ความสำคัญกับรถยนต์เครื่องสันดาป” เอด้า กง ผู้จัดการโครงการอาวุโสฝ่ายรณรงค์อุตสาหกรรมยานยนต์ของกรีนพีซเอเชียตะวันออกกล่าว

ค่ายรถญี่ปุ่น เช่น โตโยต้า มั่นใจว่าเทคโนโลยีไฮบริดจะเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพแทนเครื่องยนต์สันดาป อย่างไรก็ตาม การลดการปล่อยมลพิษและการประหยัดเชื้อเพลิงของรถยนต์ไฮบริดนั้นไม่ดีเท่าที่ควร โดยรถถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดช่วยลดการปล่อยมลพิษได้ประมาณ 1 ใน 3 เมื่อเทียบกับรถยนต์เบนซินหรือดีเซล

อย่างไรก็ตาม กรีนพีซ กล่าวว่า ไม่มีบริษัทรถยนต์ 10 แห่งที่ประกาศแผนการเลิกใช้เครื่องยนต์สันดาปก่อนปี 2035 ซึ่งจะทำให้เป้าหมาย 1.5 องศา “แทบจะเป็นไปไม่ได้”

ที่ผ่านมา โตโยต้า ได้เปิดเผยว่า ในเดือนกันยายนว่าจะลงทุน 1.5 ล้านล้านเยน (13.2 พันล้านดอลลาร์) ในแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ไฮบริดภายในปี 2030 โดย โตโยต้า ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นก่อนการเผยแพร่รายงานการปล่อยมลพิษ ซึ่งกรีนพีซเรียกร้องให้ผู้ผลิตรถยนต์ยอมรับรถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ

Source

]]>
1360304
‘ออสเตรเลีย’ ยัน! จะผลิต ‘ถ่านหิน’ ในช่วง 10 ปีนี้ แม้ UN เตือนเรื่องสภาพอากาศและเศรษฐกิจ https://positioningmag.com/1350631 Tue, 07 Sep 2021 07:00:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1350631 จากภาวะโลกร้อนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพอากาศที่รุนแรงและบ่อยครั้งขึ้น ไม่ว่าจะภัยแล้ง คลื่นความร้อน และไฟป่า และน้ำท่วม ทำให้นักวิทยาศาสตร์พยายามเตือนให้แหล่งเศรษฐกิจสำคัญ ๆ ต้องลดการปล่อยคาร์บอนลง 45% ในทศวรรษนี้ หากโลกต้องควบคุมอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยให้สูงขึ้นถึง 1.5˚C เหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม

ถ่านหินเป็นแหล่งปล่อยก๊าซคาร์บอนเพียงแหล่งเดียวที่ใหญ่ที่สุดในโลก และสหประชาชาติ (United Nations : UN) ได้เรียกร้องให้ประเทศที่อยู่ในองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ โออีซีดี (Organisation for Economic Co-operation and Development – OECD) รวมถึงออสเตรเลีย เลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลภายในปี 2030

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลออสเตรเลียกล่าวเมื่อวันจันทร์ว่า ประเทศจะยังคงผลิตและส่งออกถ่านหินเกินปี 2030 แม้จะมีคำเตือนจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านสภาพอากาศของสหประชาชาติ ว่าหากไม่ชะลอการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจะ สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ และสภาพอากาศ

ประเทศพัฒนาแล้วอีกหลายประเทศกำลังดำเนินการเพื่อยุติการใช้ถ่านหินภายในสิ้นทศวรรษนี้ อย่างไรก็ตาม Keith Pitt รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรและน้ำของออสเตรเลียมองว่า อนาคตของอุตสาหกรรมที่สำคัญนี้จะถูกตัดสินโดยรัฐบาลออสเตรเลีย ไม่ใช่หน่วยงานต่างประเทศ

โดยรัฐมนตรีระบุถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจหลายประการที่ถ่านหินได้นำมาสู่เศรษฐกิจของออสเตรเลีย ไม่ว่าจะเป็นค่าค่าลิขสิทธิ์และภาษีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ให้แก่รัฐบาลและรัฐบาลกลาง และว่าจ้างชาวออสเตรเลียโดยตรงมากกว่า 50,000 คน แต่ไม่ได้กล่าวถึงวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

“การยุติอุตสาหกรรมถ่านหิน ทำให้ต้องเสียงานหลายพันงาน และการส่งออกมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ โดยจากการคาดการณ์ของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศคาดว่า การใช้ถ่านหินทั่วทั้งเอเชียจะเติบโตในอีก 10 ข้างหน้า โดยเฉพาะความต้องการของประเทศต่าง ๆ เช่น จีน อินเดีย และเกาหลีใต้” Keith Pitt  กล่าวในแถลงการณ์

เหมืองถ่านหินในออสเตรเลีย

ทั้งนี้ ประเทศออสเตรเลียมีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหัวสูง เนื่องจากอุตสาหกรรมถ่านหินของประเทศ โดยออสเตรเลียเป็นผู้ส่งออกถ่านหินรายใหญ่เป็น อันดับสองของโลกรองจากจีน ซึ่งโครงการถ่านหินใหม่ 176 โครงการของโลก มีจำนวนถึง 79 โครงการ อยู่ในออสเตรเลีย ปัจจุบัน ชาวออสเตรเลียปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ย 17 เมตริกตัน ในขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลก น้อยกว่า 5 ตันต่อคน

เซลวิน ฮาร์ท ที่ปรึกษาพิเศษด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกของยูเอ็น กล่าวว่า “เราเข้าใจดีถึงบทบาทของถ่านหิน และเชื้อเพลิงฟอสซิลอื่น ๆ ที่มีต่อเศรษฐกิจของออสเตรเลีย แต่อุตสาหกรรมเหมืองแร่ครองส่วนแบ่งเพียงประมาณ 2% ของการจ้างงานทั้งหมดในประเทศ แต่หากโลกไม่เลิกใช้ถ่านหินอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะสร้างความหายนะให้กับเศรษฐกิจของออสเตรเลียตั้งแต่ เกษตรกรรมเพื่อการท่องเที่ยวและทั่วทั้งภาคบริการ”

ทั้งนี้ เซลวิน ฮาร์ท กล่าวชักชวนให้องค์กรธุรกิจและนักลงทุนเลิกใช้ถ่านหินและหันมาสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนซึ่งขณะนี้มีราคาถูกลง โดยประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่กำลังเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ในขณะที่โครงข่ายไฟฟ้าของออสเตรเลียยังคงพึ่งพาถ่านหินอย่างมาก

“เป็นที่ชัดเจนว่าการลดปล่อยคาร์บอนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นโอกาสทางการค้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคของเรา โดยโลกกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อด้านวิกฤตสภาพภูมิอากาศ”

เหมืองถ่านหินในประเทศจีน

ที่ผ่านมา ออสเตรเลียให้คำมั่นว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 26-28% จากระดับปี 2005 ภายในปี 2030 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าข้อสัญญาที่ปรับปรุงใหม่จากทางสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และสหราชอาณาจักร รวมถึงประเทศที่พัฒนาแล้วอื่น ๆ อาทิ ประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ได้ให้คำมั่นว่าของประเทศของเขาจะลดการปล่อยมลพิษลง 50-52% ในช่วงเวลาเดียวกัน

ขณะที่ประเทศจีนเป็นผู้บริโภคและผู้ผลิตถ่านหินรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 50% ของการผลิตของโลก ปัจจุบัน กำลังเพิ่มแรงกดดันภายในประเทศที่จะเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเร็วกว่าที่วางแผนไว้

อย่างไรก็ตาม ออสเตรเลียยังไม่ได้ให้คำมั่นที่จะ ปล่อยคาร์บอนให้เป็นศูนย์ หรือคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้ไม่เกินปริมาณที่ขัยออกจากชั้นบรรยากาศภายในปี 2050 ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และสหราชอาณาจักร รวมถึงประเทศอื่น ๆ ได้ทำไว้ โดย นายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสัน ประธานาธิบดีออสเตรเลีย กล่าวว่า ออสเตรเลียตั้งเป้าที่จะไปให้ถึงศูนย์ให้ เร็วที่สุด

ทั้งนี้ ถ่านหินยังคงใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกสำหรับอุตสาหกรรมหนัก เช่น การผลิตเหล็ก ซึ่งพลังงานจากแหล่งต่าง ๆ เช่น ลมและพลังงานแสงอาทิตย์ไม่สามารถตอบสนองความต้องการด้านพลังงานได้ แต่อาจจะยังมีทางเลือกอื่น เช่น ไฮโดรเจนสีเขียว ที่เป็นไฮโดรเจนที่ปราศจากคาร์บอน กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาและค่อย ๆ นำไปใช้ในวงกว้างขึ้น

]]>
1350631
‘Apple’ ตั้งกองทุนมูลค่า ‘200 ล้านดอลลาร์’ เพื่อสนับสนุนการลดคาร์บอนแถมยังทำ ‘กำไร’ ได้ https://positioningmag.com/1328046 Sat, 17 Apr 2021 03:07:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328046 เป็นที่รู้กันว่าเพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากผลิตภัณฑ์กับสิ่งแวดล้อมทำให้สินค้า ‘Apple’ ทุกชิ้นในโลกได้ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล และล่าสุด Apple ได้ก่อตั้ง 200 ล้านดอลลาร์ที่จะเข้าไปลงทุนในโครงการด้านป่าไม้เพื่อขจัดก๊าซคาร์บอนออกจากชั้นบรรยากาศ และสนับสนุนการปลูกป่าอย่างยั่งยืนพร้อม ๆ กับสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุน

Apple ได้เริ่มโครงการที่เรียกว่า ‘Restore Fund’ โดยมีเป้าหมายที่จะกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ 1 ล้านเมตริกตันในแต่ละปี หรือเทียบเท่ากับเชื้อเพลิงที่รถยนต์ 200,000 คันปล่อยออกมาในแต่ละปี โดยโครงการนี้ยังสามารถเป็นแบบอย่างที่สำคัญสำหรับองค์กรอื่น ๆ โดยแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไรจากการลงทุนในสิ่งแวดล้อม

“ความคิดที่จะมีผลตอบแทนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับโลกใบนี้ เพราะถ้าคุณต้องการให้ธุรกิจมีส่วนร่วมจริง ๆ ถ้าคุณต้องการให้ธุรกิจหันกลับมาและทำในระดับนี้ได้จริง ๆ ก็ต้องเป็นเพราะมีผลตอบแทนจากการลงทุน” ลิซ่า แจ็คสัน รองประธานฝ่ายสิ่งแวดล้อมนโยบายและสังคมของ Apple กล่าว

กองทุนฟื้นฟูจะสร้างผลตอบแทนโดยการลงทุนในการพัฒนาและอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืน ซึ่งทั้งสองจะกำจัดคาร์บอนออกจากชั้นบรรยากาศเมื่อพวกมันเติบโตและยังผลิตต้นไม้สำหรับใช้เป็นวัสดุก่อสร้างกระดาษและประโยชน์อื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น บรรจุภัณฑ์ของ Apple ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมาทำด้วยใยไม้บริสุทธิ์จาก ป่าไม้ที่มีการจัดการอย่างรับผิดชอบ” ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่มีแผนจะลงทุนผ่านกองทุน

The Restore Fund สร้างขึ้นจากพันธกิจของ Apple ที่มุ่งต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยตั้งแต่ปี 2561 Apple ได้กล่าวว่าร้านค้าและสำนักงานของบริษัทล้วนใช้พลังงานสะอาด 100% นอกจากนี้ บริษัทยังเปลี่ยนวัสดุที่ใช้สร้างผลิตภัณฑ์เป็นตัวเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และภายในปี 2573 Apple กล่าวว่าจะทำให้องค์กรทั่วโลกมีคาร์บอนเป็นกลางรวมถึงห่วงโซ่อุปทานกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ และสำหรับบริษัทเองมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยคาร์บอนจากซัพพลายเชนและผลิตภัณฑ์ลง 75%

“ความจริงก็คือ พลังงานสะอาดมีราคาถูกกว่าและสะอาดกว่า ดังนั้นหากเราสามารถแสดงให้บริษัทต่าง ๆ เห็นว่าสิ่งนี้ดีสำหรับธุรกิจ และคุณก็ไม่ต้องเลือกระหว่างผลกำไรของคุณกับผลกำไรจากโลกใบนี้”

ปัจจุบันนี้ iPhone 12 ของ Apple มีบรรจุภัณฑ์ที่ประกอบด้วยวัสดุที่ทำจากเยื่อไม้ 93% ซึ่งรวมถึงแผ่นปิดหน้าจอที่ทำจากเยื่อไม้ที่ช่วยปกป้องหน้าจอ และยังเป็นการนำมาใช้แทนแผ่นฟิล์มพลาสติกมาตรฐานเป็นครั้งแรกอีกด้วย และที่ผ่านมา Apple ได้ร่วมมือกับกองทุนเพื่อการอนุรักษ์และกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล โดย Apple ได้ปรับปรุงการบริหารจัดการผืนป่าที่สร้างผลประโยชน์ตอบแทนในพื้นที่กว่า 1 ล้านเอเคอร์ในสหรัฐอเมริกาและจีนตั้งแต่ปี 2558

Source

]]>
1328046