งานวิจัยที่นำโดยศาสตราจารย์โรล์ฟ มาร์สชาเลค จากมหาวิทยาลัยเกอเธ่ ในแฟรงก์เฟิร์ต เยอรมนี ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันพุธที่ 26 พ.ค. ชี้ว่าปัญหาอยู่ที่ เทคโนโลยีใช้อะดิโนไวรัสเป็นตัวนำพา (Adenovirus Vector) ที่วัคซีนทั้งสองตัวเลือกใช้ โดยวัคซีนไวรัสเวคเตอร์จะใช้ไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคอื่นๆ มาดัดแปลงเป็นพาหะนำคำสั่งที่สำคัญเข้าสู่นิวเคลียสของเซลล์ในร่างกายผู้ได้รับวัคซีน เพื่อผลิตโปรตีนหนาม (spike protein) และกระตุ้นการตอบสนองภูมิคุ้มกันในร่างกาย
ศาสตราจารย์มาร์สชาเลค และคณะทำงานของพวกเขาเชื่อว่าบางส่วนของโปรตีนหนามหลุดออกจากกัน และส่งผลให้โปรตีนเหล่านั้นเกิดการกลายพันธุ์ จากนั้นโปรตีนดังกล่าวก็จะเข้าสู่ร่างกายและก่อให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งในเอกสารให้คำจำกัดความว่า “Vaccine-Induced Covid-19 Mimicry” syndrome
และผลการศึกษานี้บ่งชี้ว่าพวกผู้ผลิตวัคซีนสามารถแก้ไขด้วยการนำวัคซีนไปปรับแต่งสารพันธุกรรม เพื่อป้องกันไม่ให้สไปค์โปรตีนแตกตัวโดยไม่ตั้งใจเมื่อเข้าสู่เซลล์ร่างกาย และเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
“ด้วยข้อมูลที่เรามีอยู่ในมือ เราสามารถบอกบริษัทต่างๆ ถึงแนวทางการเปลี่ยนแปลงลำดับพันธุกรรม รหัสของสไปค์โปรตีน ในแนวทางที่ป้องกันเกิดปฏิกิริยาที่ไม่ตั้งใจ” มาร์สชาเลคกล่าว
พวกนักวิจัยบ่งชี้ต่อว่าวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยี mRNA ทั้งหมด รวมถึงที่พัฒนาโดยไฟเซอร์/ไบโอเอ็นเทค และโมเดอร์นา “น่าจะเป็นตัวแทนของผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย” เพราะใช้เทคโนโลยีต่างออกไป โดย mRNA ไม่ได้ใช้ไวรัสอ่อนแอ หรือไวรัสเชื้อตายใส่เข้าไปในเซลล์ แต่วัคซีน mRNA เป็นการสอนพวกมันให้เรียนรู้ถึงการสร้างโปรตีนโดยที่ไม่ได้เข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์
เอกสารนี้ถูกเผยแพร่ก่อนตีพิมพ์บนเว็บไซต์ Research Square แต่การศึกษาดังกล่าวที่ยังไม่ได้รับการตรวจสอบทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน มีความเกี่ยวข้องกับอาการลิ่มเลือดอุดตันที่เกิดขึ้นน้อยมากๆ แต่รุนแรง และในบางรายถึงขั้นเสียชีวิต
ผู้เสียชีวิตรายแรกในอียูที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน เกิดขึ้นในเบลเยีม เมื่อช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเป็นผู้หญิงวัย 37 ปี ส่งผลให้ประเทศแห่งระงับใช้วัคซีนกับบุคคลอายุต่ำกว่า 41 ปี
ส่วนวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า พบผู้มีอาการลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดแล้วมากกว่า 140 รายในเขตเศรษฐกิจยุโรป ขณะที่ในสหราชอาณาจักรพบ 300 ราย ในนั้นเสียชีวิต 56 คน
หลายประเทศทั่วโลกระงับใช้วีคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ส่วนประเทศอื่นๆ จำกัดการใช้เฉพาะกับผู้สูงอายุ
อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆ นี้ก็พบประเด็นปัญหาในวัคซีนเทคโนโลยี mRNA เช่นกัน โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ (ซีดีซี) แถลงในช่วงกลางเดือนว่า กำลังสืบสวนรายงานเกี่ยวกับประเด็นการอักเสบของหัวใจในคนหนุ่มสาว ส่วนใหญ่เกิดกับเพศชายที่ได้รับวัคซีนของโมเดอร์นา และไฟเซอร์
นอกจากนี้แล้วยังมีรายงานโรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) หรือ “โรคเลือดออกง่ายหยุดยาก” 3 เคส ในบรรดาผู้รับวัคซีนของไฟเซอร์ และไบโอเอ็นเทคในฝรั่งเศส
คนที่มีอาการฮีโมฟีเลีย จะมีโปรตีนตัวหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดหายไป หรือมีไม่เพียงพอ เฉพาะฉะนั้นผู้ป่วยฮีโมฟีเลียจึงมีเลือดออกเป็นระยะเวลานานกว่าคนปกติ หลังจากถูกของมีคมบาดหรือมีเลือดออกภายใน การมีเลือดออกภายในมักเกิดขึ้นในข้อต่อและกล้ามเนื้อ แต่อาจเกิดขึ้นได้ที่สมองหรืออวัยวะอื่นๆ
]]>จากผลสำรวจความเห็นของประชาชนเกือบ 5,000 คนในสหราชอาณาจักร ช่วงเดือนเมษายน พบว่า ประชาชนมีความต้องการที่จะฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตราเซเนกาลดลง นับตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา เเละมีและความเชื่อว่าจะทำให้เลือดภาวะอุดตันลิ่มเลือดเพิ่มขึ้น
ผลการศึกษาทางวิชาการของอังกฤษ พบว่า กลุ่มคนที่เคยประสงค์จะฉีดวัคซีนของแอสตราเซเนกา ที่มีอยู่ราว 24% ในเดือนมีนาคม ลดลงเหลือเพียง 17% ของผู้ตอบแบบสอบถามในเดือนเมษายนเท่านั้น
ขณะที่ 23% เชื่อว่าวัคซีนของแอสตราเซนเนกานั้น ทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน กลับมีเพิ่มขึ้นจากระดับ 13% ในเดือนมีนาคม
อย่างไรก็ตาม ชาวอังกฤษอีก 39% ยังคงเชื่อว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นเท็จ เเละอีก 38% ระบุว่า พวกเขายังไม่แน่ใจว่าข้อมูลดังกล่าวถูกต้องหรือไม่
โดยผลการศึกษานี้ ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยบริสทอล คิงส์ คอลเลจ ลอนดอน ร่วมกับสถาบันวิจัยสุขภาพแห่งชาติ (NIHR) จัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 1-16 เมษายน
ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนมีความเชื่อที่ ‘เปลี่ยนแปลง’ ไปอย่างมาก หลังได้รับข่าวสารใหม่ เมื่อทางการอังกฤษประกาศว่า มีความเป็นไปได้ที่วัคซีนโควิด-19 ของแอสตราเซเนกา จะเกี่ยวข้องกับภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งเป็นกรณีที่ ‘พบได้ยาก’ จากนั้นมีชาติในยุโรปอย่าง ‘เดนมาร์ก’ ตัดสินใจระงับการฉีดวัคซีนนี้
ขณะท่ี่ผลการทดลองขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ชี้ว่าวัคซีนโควิด-19 ที่พัฒนาโดย ‘แอสตราเซเนกา’ และมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด มีประสิทธิภาพ 79% ในการป้องกันอาการเจ็บป่วยและได้ผล 100% ในการป้องกันโรครุนแรงและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และสำหรับกลุ่มผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ประสิทธิภาพของวัคซีนจะอยู่ที่ 80%
อย่างไรก็ตาม เเม้ข้อกังขาในผลข้างเคียงของวัคซีนจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น เเต่ก็เกิดขึ้นเฉพาะยี่ห้อเท่านั้น เนื่องจากความพึงพอใจการในการควบคุมวิกฤตโควิด-19 ด้วยการฉีดวัคซีนโดยรวมนั้น ‘มีมากขึ้น’
โดยกว่า 81% มองว่า วัคซีนมีความปลอดภัย เพิ่มขึ้นจากระดับ 73% ในช่วงปลายปี 2020 เเละชาวอังกฤษกว่า 86% เชื่อว่าการทำงานของวัคซีนนั้นมีประสิทธิภาพ เพิ่มขึ้นจากระดับ 79% ในช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคมของปีที่เเล้ว
]]>
CNN สื่อสหรัฐฯ รายงานเมื่อวานนี้ว่า ศูนย์การป้องกันโรคและการป้องกันสหรัฐฯ CDC รวมไปถึงองค์การอาหาร และยาสหรัฐฯ FDA ต่างยกเลิกคำสั่งระงับการใช้วัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันชั่วคราว โดยวัคซีน COVID-19 ประสิทธิภาพ 1 โดสของตลาดเพียงตัวเดียวนี้สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่อีกครั้งในวันเสาร์ที่ 24 เม.ย. ที่สหรัฐฯ
โดยทางหน่วยงานทั้งสองเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วเกิดขึ้นหลังการออกเสียงของทางคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาด้านภูมิคุ้มกัน ACIP ที่เปิดไฟเขียวให้สามารถนำวัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันกลับมาฉีดได้อีกครั้ง
“ทางเราสรุปว่าประโยชน์สำคัญที่สุดซึ่งเป็นที่ประจักษ์ของวัคซีน COVID-19 จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันนั้นมีความเหนือกว่าต่อความเสี่ยงซึ่งเป็นที่รับรู้เกิดขึ้นต่อบุคคลอยุ 18 ปีขึ้นไป” รักษาการผู้อำนวยการ FDA ดร. แจเนต วู๊ดค็อก (Janet Woodcock)
และเสริมต่อว่า “ทางเราเชื่อมั่นว่า วัคซีนตัวนี้ยังคงเป็นไปตามมาตรฐานของเราในด้านความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และคุณภาพ ทางเราขอแนะนำให้ใครก็ตามที่มีคำถามเกี่ยวกับวัคซีน ว่าวัคซีนตัวนี้สามารถได้รับอย่างปลอดภัยหรือไม่ให้ทำการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตัวเอง”
ขณะที่ CDC นั้นพบว่าได้ออกคำสั่งยกเลิกใช้วัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันในวันศุกร์ที่ 23 เม.ย. โดยทางคณะกรรมการ ACIP แสดงความวิตกว่า การที่นำวัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันออกไปจากพูลวัคซีน COVID-19 ทั้งหมดที่มีอยู่ในประเทศ 3 แบรนด์ในเวลานี้ จะทำให้โครงการแจกวัคซีนให้กับประชาชนชาวอเมริกันทุกคนต้องล่าช้าออกไป
อีกทั้งทาง ACIP ยังชี้ให้เห็นว่า การที่วัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันมีจุดเด่นที่ไม่จำเป็นต้องเก็บในตู้เย็นพิเศษและมีขนาดแค่ 1 โดส ทำให้เป็นที่ต้องการของคนจำนวนมากที่ไม่ต้องวิตกว่าจะลืมกลับมารับอีกในโดสที่ 2 หรือในกลุ่มประชาชนที่ประสบปัญหายากลำบากในการจองตารางการฉีดให้กับตัวเอง
CNN รายงานว่า สำหรับการวิเคราะห์ความเสี่ยงของวัคซีนที่เกี่ยวกับปัญหาลิ่มเลือดอุดตัน โดยทาง CDC พบว่า มีเคสการเกิดทั้งหมด 15 เคสซึ่งเป็นรายที่หาได้ยากซึ่งเรียกว่า ภาวะลิ่มเลือดคั่งในหลอดเลือดดำ (thrombosis) ที่มาพร้อมกับ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia syndrome ) หรือ TTS และส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย ในกลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน เป็นปัญหาที่คล้ายกับที่พบในวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าของอังกฤษ
โดยในการวิเคราะห์เชิงลึกพบว่า น่าจะมีความเกี่ยวข้องกันแต่ทว่าความเสี่ยงยังคงอยู่ในระดับต่ำมาก โดยมีอัตราเฉลี่ยที่จะสามารถเกิดได้ 1.9 เคส/ประชากร 1 ล้านคน และในระหว่างกลุ่มสตรีระหว่างอายุ 18-49 ปี พบได้ราว 7 เคส/ทุก 1 ล้านคน ส่วนในกลุ่มผู้หญิงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปอัตราเฉลี่ยที่จะเกิดจะเหลือแค่ 0.9 เคส/ทุก 1 ล้านคน
ทั้งนี้ ในกลุ่ม 15 คนที่เกิดปัญหาลิ่มเลือดอุดตันในสหรัฐฯ จากวัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันนั้น พบว่า 13 คน เป็นสตรีอายุต่ำกว่า 50 ปี โดยทางคณะกรรมการ ACIP ได้หารือให้มีการให้คำแนะนำคนกลุ่มนี้เป็นพิเศษต่อความเสี่ยง แต่ในท้ายที่สุดไม่มีการโหวตในเรื่องนี้เกิดขึ้นในที่ประชุม
และสำหรับในการปัญหาลิ่มเลือดอุดตันในกลุ่มชายอเมริกันไม่ได้มีการเอ่ยถึงในเรื่องนี้ ซึ่งสำหรับประโยชน์ของวัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน พบว่า วัคซีนทุก 1 ล้านโดส สามารถป้องกันผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล 650 คน และเสียชีวิต 12 คนในกลุ่มผู้หญิงอายุ 18-49 ปี และวัคซีนยังสามารถป้องกันผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลกว่า 4,700 คนและเกือบ 600 คนในกลุ่มผู้หญิงอายุเกิน 50 ปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของวัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสันในสหรัฐฯ ได้เป็นอย่างดี CDC สหรัฐฯ แถลง
สื่อสหรัฐฯ รายงานว่า บริษัทยาจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ออกมาระบุก่อนหน้าว่า ทางบริษัทตกลงในข้อความเตือนที่จะถูกเพิ่มขึ้นบนฉลาก ที่จะแสดงเตือนให้เห็นถึงความเสี่ยงเกี่ยวกับภาวะเลือดร่วมกับกรณีเกิดลิ่มเลือดอุดตัน
]]>