วัคซีค COVID-19 – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 21 Mar 2021 12:11:08 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘ญี่ปุ่น’ เล็งให้ผู้เดินทางจากต่างประเทศทุกคน ต้องตรวจ ‘โควิดกลายพันธุ์’ https://positioningmag.com/1324318 Sun, 21 Mar 2021 11:31:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1324318 ทางการญี่ปุ่น เตรียมพิจารณาใช้มาตรการให้ผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศทุกคนต้องตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์จากเดิมที่กำหนดเฉพาะเป็นรายประเทศ

ปัจจุบัน ผู้ที่เดินทางมาจาก 24 ประเทศที่พบเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ จะต้องตรวจหาเชื้อเพิ่มเติม หลังจากเข้าญี่ปุ่นมาแล้ว 3 วัน นอกจากนี้ ทางการยังเฝ้าติดตามว่าทุกคนปฏิบัติตามมาตรการกักตัว 14 วันอย่างเคร่งครัดหรือไม่

Norihisa Tamura รัฐมนตรีสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์กับ NHK ว่า รัฐบาลกำลังพิจารณาที่จะจับมือกับบริษัทรักษาความปลอดภัยเอกชน เพื่อติดตามผู้ที่กักตัวเองในบ้านหรือที่พักอาศัย เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาปฏิบัติตามกฎ

วานนี้ (20 มี..) รัฐบาลญี่ปุ่น กำหนดให้ทุกคนที่เดินทางผ่าน 7 ประเทศ อย่างเอสโตเนีย สาธารณรัฐเช็ก ปากีสถาน ฮังการี โปแลนด์ ลักเซมเบิร์ก และเลบานอน ต้องตรวจหาเชื้อกลายพันธุ์เพิ่ม เเละมีระบบเฝ้าระวังเช่นเดียวกับประเทศที่ถูกประกาศไปก่อนหน้านี้

ขณะเดียวกัน รัฐบาลได้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน COVID019  ในเขตมหานครโตเกียว และจังหวัดใกล้เคียง โดยขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงร่วมกิจกรรมที่มีความเสี่ยงติดเชื้อสูง งดออกไปนอกบ้านหากไม่จำเป็น เเละให้ร้านอาหารและบาร์ปิดภายในเวลา 20.00 .

 

ที่มา : Nikkei , Kyodo 

]]>
1324318
ซีอีโอ “อนันดาฯ” : อย่าหวังรอให้ “วัคซีน” COVID-19 แก้ปัญหาทุกอย่าง หนุนรัฐเปิดประเทศ https://positioningmag.com/1297501 Thu, 17 Sep 2020 10:08:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297501 “ชานนท์” ซีอีโอ “อนันดาฯ” หนึ่งในบริษัทอสังหาฯ เบอร์ต้นของไทย สะท้อนมุมมองประเด็นวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ที่กำลังเป็นความหวังของมนุษยชาติ อาจไม่ใช่ “กระสุนเงิน” ที่รักษาให้วิกฤตจบลงได้ทันที เพราะมีแนวโน้มไม่สามารถป้องกันได้สมบูรณ์ 100% สนับสนุนรัฐบาลเร่งเปิดประเทศเพื่อฟื้นเศรษฐกิจ ธุรกิจ-คนไทยปรับตัวเพื่ออยู่กับโรคให้ได้ในระยะยาว

ช่วงที่ผ่านมา ข่าวสำคัญอย่างหนึ่งที่ทั่วโลกจับตาและรอคอยคือการพัฒนา “วัคซีน” ป้องกันโรค COVID-19 เพราะเป็นความหวังเดียวที่จะหยุดยั้งวิกฤตโรคระบาดในครั้งนี้ได้ และจะทำให้โลกกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติ

อย่างไรก็ตาม “ชานนท์ เรืองกฤตยา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์ในงานแถลงข่าวอีเวนต์สัมมนา SingularityU Thailand ว่า โรคระบาด COVID-19 คือโจทย์สำคัญที่สุดต่อธุรกิจยุคนี้ก็จริง แต่วัคซีนอาจจะไม่ใช่คำตอบสุดท้าย ไม่ใช่ “กระสุนเงิน” ที่รักษาทุกอย่างให้กลับไปเป็นเหมือนเดิม

เพราะอ้างอิงจากการประเมินของ ดร.แอนโธนี เฟาซี ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติของสหรัฐฯ พบว่าขณะนี้ประสิทธิภาพของวัคซีนสามารถป้องกันได้เพียง 50% เท่านั้น ยังไม่มีประสิทธิภาพค่อนข้างสมบูรณ์เหมือนวัคซีนโรคอื่นๆ ที่เราคุ้นเคยกัน และยังต้องทดสอบเรื่องผลข้างเคียงของวัคซีนในคนแต่ละช่วงวัย รวมถึงต้องใช้เวลาผลิตและทยอยฉีดให้กับคนทั้งโลก

ดังนั้น ความหวังของคนไทยที่มองว่ากลางปีหน้าทุกอย่างอาจจะเริ่มคลี่คลาย เพราะวัคซีนวิจัยสำเร็จและผลิตได้ อาจจะไม่เป็นอย่างที่คิด และใช้เวลานานกว่านั้น จากประสิทธิภาพของวัคซีนที่ต้องใช้เวลาพัฒนาให้ป้องกันได้ 100% หรือใกล้เคียง และมีขั้นตอนอีกมากกว่าที่จะปูพรมฉีดให้คนส่วนใหญ่เรียบร้อย

เมื่อเป็นเช่นนั้น การอดทนรอให้ถึงกลางปีหน้าแล้วจึงเปิดประเทศอาจจะเป็นความคิดที่ผิด ในกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวซึ่งคิดเป็น 15% ของจีดีพีประเทศไม่สามารถรอได้อีกแล้ว จึงสนับสนุนนโยบายรัฐบาลที่กำลังจะเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวต่างชาติกลับเข้ามา

“การเปิดประเทศต้องเริ่มแล้ว อย่างน้อยขอให้มีเมืองโปรโตไทป์ทดลองดูก่อน เพราะเศรษฐกิจกำลังจะไม่ไหวแล้ว” ชานนท์กล่าว

ส่วนในมุมของนักธุรกิจ ก็ต้องเปลี่ยนความคิดจากการพยุงตัวและรอวัคซีน เป็นการตั้งสมมติฐานว่าโลกจะเป็นเช่นนี้ไปอีกนาน และบางอย่างอาจจะเปลี่ยนไปถาวร หากเป็นเช่นนั้นธุรกิจจะปรับแผนไปอย่างไร

บริษัทอนันดาฯ เองก็กำลังหารือแผนอนาคต แต่ที่เห็นได้ชัดว่าเกิดขึ้นแน่นอนในระยะสั้นคือธุรกิจคอนโดมิเนียมจะซึมเซาแบบนี้ไปอย่างน้อยอีก 1 ปี และการเป็น VC ให้เงินลงทุนสตาร์ทอัพในฐานะ Tech Company ก็ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงมากขึ้น ดูรายได้-กำไรก่อนลงทุน ไม่ได้พิจารณาเฉพาะโอกาสเติบโตของสตาร์ทอัพ

สิ่งที่จะเปลี่ยนไปถาวรจาก COVID-19 เข้ามามีผลกระทบ ยกตัวอย่างจาก “ดร.อารักษ์ สุธีวงศ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด (SCB10X) ในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งเป็นพันธมิตรร่วมสนับสนุนงาน SingularityU Thailand เล่าถึงการจัดการบุคลากรของธนาคารฯ กว่า 50% ของพนักงานยังไม่ได้กลับมาทำงานในออฟฟิศตามปกติ ยังมีการสลับเข้าออฟฟิศอยู่

“ดร.อารักษ์ สุธีวงศ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด (SCB10X)

ธนาคารฯ พบว่าประสิทธิภาพการทำงานไม่ได้ตกลงแม้จะไม่อยู่ออฟฟิศ แต่ ดร.อารักษ์กล่าวว่า จากการติดตามลักษณะการทำงานของคนไทยอาจจะไม่สามารถทำงานอยู่ที่บ้านตลอดเวลาได้ เพราะลักษณะการอยู่อาศัยไม่เหมาะกับการทำงาน และมนุษย์ยังเป็นสัตว์สังคมที่ต้องการพูดคุยสังสรรค์

ดังนั้น กำลังมองภาพจุดลงตัวที่เหมาะ ทำให้พนักงานไม่ต้องเดินทางไกลมาออฟฟิศ แต่ก็ยังได้ใช้ชีวิตคนทำงาน นั่นคือการตั้ง “ออฟฟิศย่อย” โดยปรับสาขาธนาคารมาตั้งเป็นออฟฟิศเล็กๆ ให้พนักงานแบงก์ทุกคนเข้าไปใช้ได้

ดร.อารักษ์กล่าวว่า การนำสาขามาปรับอาจจะเป็นทางออกที่ดี เพราะทุกวันนี้การทำธุรกรรมของธนาคารเกิดขึ้นในสาขาออฟไลน์เพียง 2-3% เท่านั้น เนื่องจากธุรกรรมย้ายไปทำบนออนไลน์อย่างรวดเร็ว โดยธุรกรรมออนไลน์เติบโต 10 เท่าในรอบ 3 ปี เป็นภาพที่ชัดเจนว่าสาขาจะลดลงหรือปรับไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น

เคสของไทยพาณิชย์เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้เห็นสิ่งที่ COVID-19 ได้สร้างวิถีชีวิตใหม่ที่จะเปลี่ยนไปถาวร วกกลับมาเป็นโจทย์ให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องเช่น อนันดาฯ เองต้องคิดแล้วว่าจะลงทุนอสังหาฯ แบบไหนให้สอดคล้องกับวิธีทำงานแบบใหม่

พร้อมเชิญชวนธุรกิจเอกชน ภาครัฐ นักเรียนนักศึกษา หรือผู้ที่สนใจ ร่วมฟังสัมมนา SingularityU Virtual Summit Thailand 2020 จัดขึ้นในวันที่ 23 กันยายน 63 โดยเชิญผู้นำทางนวัตกรรมจากซิลิคอนแวลเลย์มาบรรยาย เพื่อจุดประกายไอเดียจากแหล่งนวัตกรรมว่ากำลังรับมือกับวิกฤตครั้งนี้อย่างไร

]]>
1297501
ไวสุด! จีนจดสิทธิบัตรวัคซีน COVID-19 ฉบับแรกแล้ว https://positioningmag.com/1293245 Wed, 19 Aug 2020 06:19:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1293245 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า หน่วยงานทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติจีนได้อนุมัติการจดสิทธิบัตรฉบับแรกของจีนสำหรับวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) แล้ว

หนังสือพิมพ์พีเพิลส์เดลีแห่งจีน รายงานว่าสิทธิบัตรฉบับนี้เป็นของทีมวิจัยสถาบันวิทยาการทหาร และบริษัทแคนซิโน ไบโอโลจิกส์ อิงก์ ซึ่งเป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์เทคโนโลยีขั้นสูงของจีน

ทีมวิจัยนำโดย นายพลหญิง เฉิน เวย นักวิจัยจากสถาบันการแพทย์ทหาร สังกัดสถาบันวิทยาการทหาร ได้พัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่ได้จากการตัดต่อสารพันธุกรรม โดยใช้อะดีโนไวรัสที่ไม่สมบูรณ์และผ่านการดัดแปลงมาเป็นตัวนำพา

ในเดือนมีนาคม วัคซีนตัวนี้กลายเป็นวัคซีนตัวแรกในประเทศจีนที่ได้รับการอนุมัติให้เข้าสู่การทดลองทางคลินิก

บทคัดย่อของสิทธิบัตรระบุว่า วัคซีนตัวนี้แสดงให้เห็นถึงการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีทั้งในหนูและหนูตะเภาทดลอง ทั้งยังสามารถกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในเซลล์ กระแสเลือด และกระแสน้ำทั่วร่างกายได้ดีในช่วงเวลาสั้นๆ ท้ายที่สุดคือวัคซีนตัวนี้สามารถถูกผลิตในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็วเพื่อรับมือกับการระบาดของโรค COVID-19

รายงานระบุว่าวัคซีนตัวนี้เสร็จสิ้นการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 และระยะที่ 2 แล้ว ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบด้านความปลอดภัยและความสามารถในการสร้างภูมิคุ้มกัน

ความคืบหน้าของการทดลองวัคซีน COVID-19 ของจีนอีกตัว คือ วัคซีนชนิดเชื้อตายที่พัฒนาโดยสถาบันผลิตภัณฑ์ชีวภาพอู่ฮั่น ภายใต้บริษัทกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติจีน (CNBG) ในเครือซิโนฟาร์ม (Sinopharm) และสถาบันไวรัสวิทยาอู่ฮั่น สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน

บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมการแพทย์แห่งอเมริกาเมื่อเร็วๆ นี้ ได้เผยการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ของวัคซีนโรค COVID-19 ชนิดเชื้อตายของ Sinopharm และสถาบันไวรัสวิทยาอู่ฮั่น

ผลการวิจัยพบว่า วัคซีนกระตุ้นให้เกิดแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ในกลุ่มอาสาสมัครได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแสดงการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี

รายงานการวิจัยยังประเมินความปลอดภัยของวัคซีน ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงจากการรับวัคซีน โดยอาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยที่สุดคือ ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นบริเวณที่ฉีด รองลงมาคืออาการไข้ ซึ่งอาการทั้งสองอย่างนี้ไม่รุนแรงและสามารถหายได้เอง

]]>
1293245
“ไฟเซอร์” บริษัทยายักษ์ใหญ่ วางเป้าผลิตวัคซีน COVID-19 ให้ได้ 10-20 ล้านโดสในสิ้นปีนี้ https://positioningmag.com/1276431 Sat, 02 May 2020 14:52:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1276431 ไฟเซอร์ อิงค์ วางเป้าหมายผลิตวัคซีครักษา COVID-19 ที่พวกเขากำลังพัฒนาร่วมกับไบโอเอ็นเทค (BioNTech) แห่งเยอรมนี ให้ได้ 10-20 ล้านโดส ในช่วงสิ้นปี 2020 สำหรับใช้กรณีฉุกเฉิน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับผลของการทดลอง

ทั้ง 2 บริษัทกำลังพัฒนาวัคซีนตัวทดลอง 4 ตัว และได้ทำการทดลองในมนุษย์ครั้งแรกไปแล้วในเยอรมนี แสดงความหวังว่าจะสามารถเริ่มต้นการทดลองในสหรัฐฯ เร็วๆ นี้ ทันที่ที่ได้รับการอนุมัติจากคณะผู้ควบคุมกฎระเบียบ

ไบโอเอ็นเทค ระบุในถ้อยแถลงว่าได้เริ่มทำการทดลองวัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่ชื่อว่า BNT162 ในมนุษย์กลุ่มแรกแล้ว 12 คนตั้งแต่วันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมา โดยอาสาสมัครแต่ละคนจะได้รับปริมาณวัคซีนที่แตกต่างกันออกไปตั้งแต่ 1 ไมโครกรัม ไปจนถึง 100 ไมโครกรัม เพื่อหาปริมาณที่เหมาะสม

ส่วนระยะถัดไปทางบริษัทจะทำการทดลองกับกลุ่มอาสาสมัคร 200 คน ซึ่งมีอายุระหว่าง 18-55 ปี ในปริมาณวัคซีนที่แตกต่างกันออกไปเช่นกัน เพื่อดูความปลอดภัยและการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา

ไฟเซอร์, ไบโอเอ็นเทค และบริษัทอื่นๆ อีกมากมาย รวมถึงเหล่านักวิทยาศาสตร์ในทั่วทุกมุมโลก กำลังเร่งมือพัฒนาวัคซีนรักษาไวรัส COVID-19 เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มียา และวิธีการรักษาใดที่ได้รับการอนุมัติ ขณะที่ยาหลากหลายตัวที่อยู่ภายใต้การศึกษา มีผลการทดลองออกมาผสมผสาน

วันที่ 30 เม.ย. ที่ผ่านมา “แอสตราเซเนกา” บริษัทยาของสหราชอาณาจักร ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดในโครงการพัฒนาวัคซีนตัวหนึ่งก็ได้เริ่มทดสอบในอาสามัครแล้วเช่นกัน

ในการผลิตวัคซีนให้ได้หลายสิบล้านโดสภายในเวลาไม่กี่เดือนตามที่ทางไฟเซอร์ตั้งความหวังไว้ มันจะกลายเป็นปฏิบัติการเร่งผลิตวัคซีนใหม่อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และทางผู้ควบคุมกฎระเบียบจำเป็นต้องดำเนินการอย่างว่องไว แม้ว่ามันจะถูกนำไปใช้เฉพาะในกรณีฉุกเฉินก็ตาม

“แน่นอนว่าเราต้องการเห็น และตั้งตาคอยที่จะดูว่าการทดลองวัคซีนจะแสดงประสิทธิผลและความปลอดภัยออกมาอย่างไร หวังว่าผลจะออกมาในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า” เนเนตเต โคเซโร หัวหน้าฝ่ายวัคซีนของไฟเซอร์กล่าวระหว่างร่วมประชุมทางไกลที่จัดโดยกลุ่มอุตสาหกรรมยา IFPMA

Photo by Halil Sagirkaya/Anadolu Agency via Getty Images

“แต่หากสันนิษฐานว่ามันผ่านการพิสูจน์แล้ว เราเล็งเป้าหมายยกระดับกำลังผลิตอย่างรวดเร็วให้ได้ 10 ถึง 20 ล้านโดสภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งแน่นอนว่าในตอนนั้น คาดหมายว่าน่าจะเป็นการใช้ในกรณีฉุกเฉิน”

นอกจากนี้ไฟเซอร์แล้ว บริษัทยาอื่นๆ ก็กำลังทดสอบวัคซีนที่เป็นไปได้สำหรับใช้รักษา COVID-19 เช่นกัน ในนั้นรวมถึง โมเดอร์นา, จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน และโนวาแว็กซ์ เช่นดียวกับโครงการขนาดเล็กกว่าอื่นๆ อย่างเช่น โรงพยาบาลอินเซลสปิตอล ในเมืองเบิร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ประเทศต่างๆ ยอมเสี่ยงเดิมพันทุ่มเงินมหาศาลในโครงการต่างๆ ที่อาจไม่ประสบความสำเร็จเลย ท่ามกลางความตะเกียกตะกายดิ้นรนหาแนวทางป้องกัน และรักษาไวรัส COVID-19 ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนแล้วมากกว่า 200,000 ศพทั่วโลก

Source

]]>
1276431