วิกฤตเศรษฐกิจ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 13 Mar 2023 06:39:26 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ไบเดน” สั่งการอุ้มเงินฝากทั้งหมดใน Silicon Valley Bank ลั่นตัวการทำแบงก์ล้มต้อง “รับผิดชอบ” https://positioningmag.com/1422904 Mon, 13 Mar 2023 05:20:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1422904 รัฐบาล “ไบเดน” สั่งการเมื่อคืนวันอาทิตย์ เงินฝากทั้งหมดใน Silicon Valley Bank ต้องได้รับการคุ้มครอง นับเป็นการแทรกแซงเพื่อแก้วิกฤตทางการเงินครั้งใหญ่ของประเทศ พร้อมลั่นคำมั่นว่าตัวการที่ทำให้แบงก์ล้มละลายจะต้อง “รับผิดชอบ”

หลังเหตุ Silicon Valley Bank หรือ SVB ล้มละลายเมื่อวันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2023 จ่อเป็นวิกฤตการเงินครั้งใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ทำให้รัฐบาลโจ ไบเดนและธนาคารกลางของสหรัฐฯ (Fed) ต้องเร่งหาทางออก ล่าสุดเมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม 2023 สหรัฐฯ จึงประกาศมาตรการเพื่อสกัดความเสียหายออกมา

มาตรการแรกคือ การรับประกันคุ้มครองเงินฝาก “ทั้งหมด” ใน SVB เพื่อให้ผู้ถือเงินฝากสามารถไว้วางใจได้ว่า เงินฝากทั้งหมดของพวกเขาจะยังถอนออกได้เมื่อต้องการ

มาตรการนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การคุ้มครองเงินฝาก เพราะปกติสถาบันคุ้มครองเงินฝากของสหรัฐฯ หรือ FDIC มีเพดานคุ้มครองเงินฝากสูงสุดเพียง 250,000 เหรียญสหรัฐ แต่รัฐบาลไบเดนร่วมกับ FDIC และ Fed ประเมินแล้วว่า มีความจำเป็นต้องเข้าช่วยเหลือเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบไปทั้งระบบ และมองว่าลูกค้า SVB มีจำนวนมากที่เป็นบริษัท SMEs ซึ่งถ้าหากไม่สามารถถอนเงินออกมาได้ แปลว่าสหรัฐฯ อาจต้องเผชิญกับการเลย์ออฟในบริษัทขนาดเล็ก เพราะบริษัทไม่มีกระแสเงินสดมาจ่ายเงินเดือนพนักงาน

มาตรการที่สองคือ Fed เปิดนโยบายพิเศษให้ธนาคารอเมริกันอื่นที่ได้รับผลกระทบจากการล้มละลายของ SVB สามารถขอกู้เงินจาก Fed ได้ ทั้งนี้ไม่มีการประกาศตัวเลขอย่างชัดเจนว่ามีวงเงินกู้ให้เท่าใด แต่ระบุว่ามากพอที่จะตอบสนองการยื่นกู้ในระดับหลักล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

มาตรการทั้งหมดนี้มีขึ้นเพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ ปกป้องระบบธนาคารสหรัฐฯ ให้ยังเดินต่อได้ ปกป้องเงินฝากของประชาชน และทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโตต่อเนื่อง

“เจเน็ต เยลเลน” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เสริมว่า การเข้าช่วยเหลือวิกฤตครั้งนี้จะไม่ก่อให้เกิดภาระต่อประชาชนผู้จ่ายภาษี เพราะจะใช้เงินกองทุนที่ธนาคารอเมริกันจ่ายรวมเป็นเงินกองกลางมาตลอด ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่าราว 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

“โจ ไบเดน” ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวด้วยว่า ตนเองจะนำตัวผู้ที่เป็นสาเหตุแห่งวิกฤตครั้งนี้มารับผิดชอบการกระทำให้ได้ และจะยิ่งเข้มงวดการกำกับดูแลธนาคารขนาดใหญ่ เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจเข้าสู่จุดที่ล่อแหลมเช่นนี้อีก

SVB นั้นเป็นธนาคารพาณิชย์ที่คนอเมริกันใช้บริการมากที่สุดในระดับ Top 20 ของประเทศ โดยมีสินทรัพย์รวม 2.09 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ณ ช่วงสิ้นปี 2022 ทำให้เมื่อธนาคารแห่งนี้ล้มละลาย จึงเป็นเหตุแบงก์ล้มที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2008

อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจอุ้มเงินฝากใน SVB ครั้งนี้ เป็นไปได้ว่ารัฐบาลไบเดนจะต้องตั้งรับการโจมตีทางการเมือง เพราะจะถูกมองว่าเป็นการปกป้องสินทรัพย์ของกลุ่มบริษัทเทคยักษ์ใหญ่ นักลงทุนเวนเจอร์แคปิตอล และกลุ่มเศรษฐีที่อาศัยอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย มากกว่ามีเจตนาปกป้องบริษัทขนาดกลางถึงเล็กหรือบริษัทสตาร์ทอัพที่ใช้บริการธนาคาร

ที่มา: Washington Post, CNN

]]>
1422904
IMF ให้คำมั่นช่วย ‘ศรีลังกา’ ภายใต้เงื่อนไขเงินกู้ที่ต้องใช้ฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่าง ‘ยั่งยืน’ https://positioningmag.com/1382098 Wed, 20 Apr 2022 16:40:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1382098 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เผยถึงการหารือกับรัฐบาลศรีลังกา เกี่ยวกับโครงการเงินกู้พิเศษเพื่อบรรเทาวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ว่า ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นเเละข้อตกลงใดๆก็ตาม จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าภาระหนี้ของประเทศต้องนำสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน 

ศรีลังกา กำลังเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดในรอบ 74 ปี นับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อปี 2491 

เมื่อสัปดาห์ที่เเล้ว ศรีลังกา เพิ่งประกาศระงับการชำระคืนหนี้ต่างประเทศชั่วคราว เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระครั้งใหญ่ โดยเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่จำกัดนั้น จะต้องเก็บไว้ใช้สำหรับการนำเข้าสินค้าที่จำเป็น อย่างเช่น พลังงานเชื้อเพลิง อาหารเเละยารักษาโรค

Masahiro Nozaki หัวหน้าคณะผู้แทน IMF ศรีลังกาส่งแถลงการณ์ทางอีเมลถึงสำนักข่าว Reuters ระบุว่า เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา Kristalina Georgieva ผู้อำนวยการ IMF ได้พูดคุยกับตัวเเทนรัฐบาลศรีลังกาถึงทางเลือกในการให้กู้ยืมและแผนนโยบาย

โดยโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก IMF เพื่อช่วยเหลือศรีลังกานั้น จะถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาดุลการชำระเงินแบบเฉียบพลัน และช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศกลับมาการเติบโตอย่างยั่งยืนอย่างเร็วที่สุด

IMF มีความกังวลอย่างมาก เกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจและความยากลำบากของประชาชนในศรีลังกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเปราะบางและกลุ่มคนยากจน 

อย่างไรก็ตาม หนี้สาธารณะของศรีลังกานั้นไม่ยั่งยืน และประเทศจำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อฟื้นฟูความยั่งยืนของหนี้ ก่อนที่จะได้รับการกู้ยืมใดๆ จาก IMF รวมถึงกองทุน Rapid Financing Instrument (RFI)

นอกจากนี้ การฟื้นฟูเศรษฐกิจอาจต้องทำการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะใหม่ทั้งหมด ซึ่งในกรณีของศรีลังกาอาจต้องขอความร่วมมือจากจีนซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุด

ที่ผ่านมา กองทุนการเงินระหว่างประเทศใช้เงินกู้ RFI แบบมีเงื่อนไขต่ำ เพื่อช่วยเหลือประเทศต่างๆ ในช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และได้ให้เงินกู้ดังกล่าวเพื่อบรรเทาปัญหาการชำระหนี้ หลังเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความขัดแย้ง และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ตกต่ำ

โดยการออกแบบเงินกู้ IMF ของศรีลังกา ซึ่งรวมถึงเป้าหมายของโครงการและเงื่อนไขต่างๆ จะต้องได้รับการตกลงผ่านการอภิปรายอย่างกว้างขวางระหว่างรัฐบาลและ IMF

สำหรับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของศรีลังกา ณ สิ้นเดือนมีนาคม อยู่ที่ 1,930 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือว่า ‘น้อยมาก’ และมีกำหนดต้องชำระหนี้ต่างประเทศที่ครบกำหนดในปีนี้ที่ราว 4,000 ล้านดอลลาร์ รวมถึงพันธบัตรรัฐบาลมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์ ที่จะครบกำหนดในเดือนกรกฏาคมนี้

 

ที่มา : Reuters 

]]>
1382098
‘ศรีลังกา’ ระงับชำระหนี้ต่างประเทศชั่วคราว เก็บเงินทุนสำรองนำเข้าพลังงาน-สินค้าจำเป็น https://positioningmag.com/1381480 Tue, 12 Apr 2022 09:35:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381480 ศรีลังการะงับการชำระคืนหนี้ต่างประเทศชั่วคราว เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระครั้งใหญ่ โดยเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่จำกัดนั้น จะต้องเก็บไว้ใช้สำหรับการนำเข้าสินค้าที่จำเป็นอย่างเช่น พลังงานเชื้อเพลิงเเละอาหาร

เรามาถึงจุดที่การชำระคืนหนี้ต่างประเทศเป็นเรื่องท้าทายและเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นสิ่งที่สามารถดำเนินการได้ในตอนนี้ คือการปรับโครงสร้างหนี้และหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้Nandalal Weerasinghe ผู้ว่าการธนาคารกลางศรีลังกาเปิดเผยกับผู้สื่อข่าว

โดยศรีลังกา มีกำหนดจะเริ่มการเจรจากับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เกี่ยวกับโครงการเงินกู้ในสัปดาห์หน้า หลังต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก ไฟฟ้าดับเป็นเวลานาน ประกอบกับขาดแคลนอาหารและยารักษาโรค

สำหรับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของศรีลังกา ณ สิ้นเดือนมีนาคม อยู่ที่ 1,930 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือว่าน้อยมากและมีกำหนดต้องชำระหนี้ต่างประเทศที่ครบกำหนดในปีนี้ที่ราว 4,000 ล้านดอลลาร์ รวมถึงพันธบัตรรัฐบาลมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์ ที่จะครบกำหนดในเดือนกรกฏาคมนี้

ผู้ว่าการธนาคารกลางศรีลังกา ยืนยันว่า การดำเนินการนี้เป็นไปโดยสุจริต เเละเน้นว่าประเทศศรีลังกา ซึ่งมีประชากรกว่า 22 ล้านคน ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้มาก่อน

โดยการงดชำระหนี้ต่างประเทศ จะเป็นมาตรการชั่วคราวเท่านั้น จนกว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงกับเจ้าหนี้และได้รับการสนับสนุนโครงการเงินกู้กับ IMF

ท่ามกลางความไม่สงบของประชาชนที่เกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจรัฐบาลต้องมุ่งไปที่การนำเข้าสิ่งของที่จำเป็นและไม่ต้องกังวลกับเรื่องหนี้ภายนอกประเทศ

วิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงของศรีลังกา ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ขาดเเคลนเชื้อเพลิงเเละสินค้าอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ พร้อมปัญหาเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ

 

ที่มา : Reuters 

]]>
1381480