สงครามรัสเซียยูเครน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 22 Apr 2024 13:26:01 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ตึงเครียดทั่วโลก! งบ ‘การทหาร’ ทั่วโลกพุ่งทะลุ 2.44 ล้านล้านดอลลาร์ แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากภาวะสงคราม https://positioningmag.com/1470667 Mon, 22 Apr 2024 12:17:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1470667 จากสงคราม รัสเซีย-ยูเครน ตามด้วยความตึงเครียดแถบตะวันออกกลางของ อิสราเอล กับภัยคุกคาม ทั้งจาก กลุ่มฮามาส ฮิซบอลเลาะห์ อิหร่าน และในเขตเวสต์แบงก์ ยังไม่รวมความขัดแย้งของ จีน-สหรัฐฯ ที่พลอยทำให้ จีนกับไต้หวันเริ่มตึง ๆ ใส่กัน ดังนั้น การที่งบที่ใช้จ่ายกับการทหารทั่วโลกจะสูงขึ้น จึงไม่ใช่อะไรที่น่าแปลกใจนัก

ข้อมูลจาก สถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์ม (SIPRI) เปิดเผยว่า ในปี 2566 ที่ผ่านมา งบการลงทุนทางทหารทั่วโลกแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ที่ 2.44 ล้านล้านดอลลาร์ +6.8% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2552 ที่มีรายงานเรื่องแนวโน้มการใช้จ่ายทางทหาร

“การใช้จ่ายทางทหารที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเป็นการตอบสนองโดยตรงต่อการเสื่อมถอยของสันติภาพและความมั่นคงทั่วโลก” หนาน เทียน นักวิจัยอาวุโสในโครงการการใช้จ่ายทางทหารและการผลิตอาวุธของ SIPRI กล่าว

รายงานระบุว่า รายจ่ายทางการทหารเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่ 9 และรายจ่ายทางการทหารเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก ซึ่งปัจจัยสำคัญมาจาก สงครามรัสเซีย-ยูเครน และความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นใน ตะวันออกกลาง

แน่นอนว่ายูเครนและรัสเซียซึ่งอยู่ในภาวะสงครามอย่างแข็งขัน ติดอันดับประเทศที่เพิ่มการใช้จ่ายทางทหารมากที่สุดในปี 2566 อยู่ที่ 51% และ 24% ตามลำดับ โดยค่าใช้จ่ายทางการทหารตามจริงของ รัสเซีย ยังคงสูงกว่ายูเครนอยู่มาก โดยอยู่ที่ประมาณ 109,000 ล้านดอลลาร์ ส่วน ยูเครน อยู่ที่ 64,800 ล้านดอลลาร์

โดย รัสเซีย กลายเป็นรายจ่ายทางการทหารรายใหญ่ อันดับ 3 ของโลก ตามหลัง สหรัฐฯ ที่ใช้จ่าย 916,000 ล้านดอลลาร์ +2.3% และ จีน ใช้จ่าย 296,000 ล้านดอลลาร์ +6% ในขณะที่ค่าใช้จ่ายของ เยอรมนี และ สหราชอาณาจักร เพิ่มขึ้น +9% และ +7.9% ตามลำดับ ส่วน อิสราเอล ซึ่งกำลังอยู่ในความขัดแย้งเช่นกัน ใช้จ่าย 27,500 ล้านดอลลาร์ +24%

“ค่าใช้จ่ายทางทหารรายเดือนของอิสราเอลเพิ่มขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่เริ่มสงครามในฉนวนกาซา”

ในแถบเอเชีย ประเทศอย่าง ไต้หวัน ใช้จ่ายทางทหารที่ 16,600 ล้านดอลลาร์ +11% ซึ่งเป็นยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากสุดในรอบ 5 ปี เนื่องจากไต้หวันก็ต้องเตรียมพร้อมรับมือกับภัยคุกคามจากรัฐบาลจีน ส่วน เกาหลีใต้ ใช้ 47,900 ล้านดอลลาร์ +1.1%

ที่น่าสนใจคือ ญี่ปุ่น ที่ใช้มากถึง 50,200 ล้านดอลลาร์ +11% ซึ่งถือเป็นงบประมาณที่เพิ่มขึ้น มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2515 และยังถือเป็นงบสร้างกองทัพที่มากที่สุดของญี่ปุ่น นับตั้งแต่ช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

สำหรับ ไทย มีการใช้จ่ายทางทหารอยู่อันดับที่ 38 ของโลก โดยมีงบประมาณอยู่ที่ 5,800 ล้านดอลลาร์ ลดลงจากปีก่อนหน้า 6.5%

]]>
1470667
‘Master Card’ ชี้ ‘เงินเฟ้อ’ อยู่ในจุดสูงสุดแล้ว และอาจต้องใช้เวลา 3 ปี ถึงกลับสู่ระดับปี 2019 https://positioningmag.com/1412247 Tue, 13 Dec 2022 09:01:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1412247 หลังจากการระบาดของ COVID-19 ทั่วโลกผ่อนคลายลงเพราะการมาของวัคซีน แต่ก็มีสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ราคาวัตถุดิบและพลังงานทั่วโลกพุ่งสูงขึ้น นำไปสู่ภาวะ ‘เงินเฟ้อ’ อย่างไรก็ตาม Master Card ได้ออกมาประเมินว่าเงินเฟ้อได้แตะระดับสูงสุดแล้ว และคาดว่าภายใน 3 ปี จะกลับสู่ระดับเดียวกันกับปี 2019

เดวิด แมนน์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา จาก Mastercard Economics Institute กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อได้ถึงจุดสูงสุดแล้ว อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อในปี 2023 จะยังคงสูงกว่าระดับก่อนเกิด COVID-19 และอาจต้องใช้เวลา 2-3 ปีในการกลับสู่ระดับเดียวกันกับปี 2019

“อัตราเงินเฟ้อพุ่งถึงจุดสูงสุดในปีนี้ และในปีหน้าแม้จะลดลง แต่ก็จะยังคงสูงกว่าอัตราที่เราเคยใช้ในช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิด และคาดว่าอาจกลับไปสู่ระดับเทียบเท่ากับปี 2019 ได้”

อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น หลังจากที่ธนาคารกลางทั่วโลกได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อตอบสนองต่ออัตราเงินเฟ้อที่สูง ซึ่งรวมถึงธนาคารกลางจากกลุ่ม 10 ประเทศ เช่น ธนาคารกลางสหรัฐฯ ธนาคารแห่งอังกฤษ และธนาคารกลางออสเตรเลีย รวมถึงตลาดเกิดใหม่ เช่น อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์

ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด เตรียมจะจัดการประชุมนโยบายเดือนธันวาคมในสัปดาห์นี้ ซึ่งคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 50 เบสิพพอยต์ ส่งผลให้ทั้งปี เฟดได้ปรับอัตราดอกเบี้ยแล้ว 3.75%

“เงินเฟ้อกลายเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ มันพุ่งสูงขึ้นและอยู่สูงมาก ซึ่งมันมีความเสี่ยงหากธนาคารกลางลงเอยด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่าที่ต้องการ และมันจะส่งผลร้ายแรงขึ้นหากไม่รีบกลับตัว”

ที่น่าสนใจคือ แม้อัตราเงินเฟ้อจะสูง แต่ผู้บริโภคในสหรัฐฯ ยังคงเต็มใจที่จะใช้จ่ายตามดุลยพินิจในด้านต่างๆ เช่น การท่องเที่ยว โดยผู้บริโภคเลือกที่จะใช้จ่ายเพื่อซื้อประสบการณ์มากกว่าสินค้าที่จับต้องได้ โดยเขาเลือกที่จะประหยัดเงินเพื่อให้ใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นได้

Source

]]>
1412247
‘IMF’ ชี้ ‘สงครามยูเครน’ เป็นปัจจัยลบที่สำคัญที่สุดเพียง ‘ปัจจัยเดียว’ ทำเศรษฐกิจโลกถดถอยในปีนี้! https://positioningmag.com/1408884 Thu, 17 Nov 2022 14:55:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1408884 ถือเป็นปีที่มีแต่ซีอีโอบริษัทใหญ่ ๆ ออกมาพูดถึงภาวะ ‘เศรษฐกิจถดถอย’ ทั่วโลก เห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งทาง กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF (International Monetary Fund) ออกมาจวก รัสเซีย โดยระบุว่า สงครามกับยูเครนเป็นสาเหตุเดียวที่ทำให้เศรษฐกิจโลกถดถอยในปีนี้ และอาจลากไปถึงปีหน้า

คริสตาลินา จอร์จีวา กรรมการผู้จัดการของ IMF กล่าวว่า สงครามในยูเครนเป็น ปัจจัยลบที่สำคัญที่สุดเพียงปัจจัยเดียว สำหรับเศรษฐกิจโลกในปีนี้ และเป็นไปได้มากว่าจะกลายไปเป็นปัญหาในปี 2566 ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก, ค่าครองชีพที่สูงขึ้น, ความมั่นคงด้านอาหาร และพลังงาน

“เราตัดสินว่าสงครามในยูเครนเป็นปัจจัยลบที่สำคัญที่สุดเพียงปัจจัยเดียวสำหรับเศรษฐกิจโลกในปีนี้ และเป็นไปได้มากว่าจะเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดในปีหน้าด้วย เพราะสิ่งใดก็ตามที่สร้างความวิตกกังวลมากขึ้นย่อมสร้างความเสียหายต่อโอกาสในการเติบโต”

คริสตาลินา จอร์จีวา กรรมการผู้จัดการของ IMF

ก่อนหน้านี้ IMF ได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับการกระจายตัวของเศรษฐกิจโลกอันเป็นผลมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน และลดการคาดการณ์การเติบโตในปี 2566 ลงเหลือ 2.7% จากที่จะเดิมที่คาดไว้ว่าจะเติบโต 3.2% พร้อมกับระบุว่า อัตราการเติบโตดังกล่าวนับเป็นการเติบโตที่ อ่อนแอที่สุด นับตั้งแต่ปี 2544 หากไม่นับวิกฤตการเงินโลกและการระบาดของ COVID-19

“เนื่องจากสงครามในยูเครนและการระบาดของ COVID-19 ทำให้ซัพพลายเชนทั่วโลกหยุดชะงัด และสร้างความเสียหายต่อการเติบโตทั้งในประเทศและต่างประเทศ และยิ่งกระทบหนักในประเทศที่กำลังพัฒนา”

IMF ย้ำว่า หากโลกไม่ต้องการที่จะสูญเสียเงินระหว่าง 1.4 – 3.4 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี เพราะผลกระทบจากสงคราม ลองนึกดูว่าจะสามารถทำอะไรกับเงินจำนวนนี้ได้บ้าง

Source

]]>
1408884
‘รัสเซีย’ ยกเลิกการเปิดทาง ‘ยูเครน’ ส่งออกธัญพืช อ้างถูกโจมตี https://positioningmag.com/1405952 Sun, 30 Oct 2022 07:12:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1405952 หลังจากในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ตัวแทนจากสหประชาชาติ ตุรกี รัสเซีย และยูเครนได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อเปิดท่าเรือยูเครน เพื่อเปิดทางเดินเรือสำหรับส่งออกธัญพืชและอาหารอื่น ๆ เพื่อบรรเทาวิกฤตอาหารโลก แต่ล่าสุด รัสเซียก็ขอยุติข้อตกลงดังกล่าว โดยอ้างว่าถูกยูเครนโจมตีหนัก

สำหรับโครงการ Black Sea Grain Initiative เป็นข้อตกลงที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติในเดือนกรกฎาคม ที่ขอให้รัสเซียผ่อนคลายการปิดล้อมทางทะเล และเห็นการเปิดท่าเรือสำคัญ 3 แห่งของยูเครนอีกครั้ง โดยเรือลำแรกออกจากท่าเรือโอเดสซาของยูเครนเมื่อวันที่ 1 ส.ค. พร้อมบรรทุกข้าวโพดมากกว่า 26,000 เมตริกตัน ตั้งแต่นั้นมา เรือเกือบ 400 ลำที่บรรทุกน้ำหนักรวม 9 ล้านตันได้ออกจากท่าเรือของยูเครน

อย่างไรก็ตาม ล่าสุด รัสเซียระงับข้อตกลงในโครงการดังกล่าวอย่างไม่มีกำหนด โดยทางกระทรวงกลาโหมของรัสเซียอ้างว่า นี่เป็นการตอบโต้ การก่อการร้าย ของยูเครนต่อเรือรบรัสเซีย แถมอังกฤษยังมีส่วนด้วย

“กองกำลังติดอาวุธของยูเครนเปิดการโจมตีทางอากาศและทางทะเลครั้งใหญ่โดยใช้ยานบินไร้คนขับกับเรือ โจมตีโครงสร้างพื้นฐานของกองเรือทะเลดำที่ฐานทัพเรือในเซวาสโทพอล โดยมีเจ้าหน้าที่อังกฤษได้ช่วยเหลือกองทัพของยูเครนในการโจมตีก่อน โดยพบว่ามีโดรนอย่างน้อย 15 ลำที่เกี่ยวข้อง”

ทางด้าน Dmytro Kuleba รัฐมนตรีต่างประเทศยูเครน กล่าวว่า รัสเซียกำลังใช้การโจมตีดังกล่าวเป็นข้ออ้างสำหรับการปิดกั้นการส่งออกสินค้าทางการเกษตร ซึ่งเป็นภัยต่อความมั่นคงด้านอาหารสำหรับผู้คนหลายล้านคน

ที่ผ่านมา ยูเครนและรัสเซียคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 1 ใน 4 ของการส่งออกธัญพืชทั่วโลก จนกระทั่งการขนส่งเหล่านั้นต้องหยุดชะงักลงอย่างรุนแรงเป็นเวลาเกือบ 6 เดือนเนื่องจากสงคราม โดยยูเครนเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันดอกทานตะวัน และเมล็ดพืชอันดับต้น ๆ ของโลก และเป็นผู้ผลิตข้าวสาลีรายใหญ่อันดับ 7 ของโลกอีกด้วย

]]>
1405952
ยังไม่หมด? ‘Sony’ ถอนตัวจาก ‘ธุรกิจเพลง’ ในรัสเซีย พร้อมโอนศิลปินให้ค่ายเพลงท้องถิ่น https://positioningmag.com/1400027 Tue, 13 Sep 2022 10:47:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1400027 นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ ‘รัสเซีย’ เปิดฉากรุกราน ‘ยูเครน’ ปัจจุบันก็ยืดเยื้อนานกว่า 6 เดือนแล้ว แต่ดูเหมือนว่าการคว่ำบาตรของแบรนด์ต่าง ๆ ที่ทำธุรกิจในรัสเซียจะถอนตัวออกไม่หมด แม้ว่าที่ผ่านมาจากมีมากกว่า 400 บริษัท ล่าสุด ‘โซนี่’ (Sony) บริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นก็ถอนตัวจากธุรกิจเพลงในรัสเซีย

ก่อนหน้านี้ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Sony Group Corp ยักษ์ใหญ่ด้านอิเล็กทรอนิกส์และความบันเทิงของญี่ปุ่น ได้ระงับการจำหน่ายเครื่องเกม Play Station 5 (Ps5) พร้อมกับปิด PlayStation Store ของประเทศรัสเซีย รวมถึง ระงับการฉายภาพยนตร์ จากค่ายด้วย แต่ดูเหมือนว่าหน่วยธุรกิจที่เยอะเลยทำให้โซนี่ยังถอนตัวออกไม่หมด

ล่าสุด บริษัทก็ได้ถอนตัวจาก ธุรกิจเพลง ในรัสเซีย โดยแหล่งข่าวให้สาเหตุว่ามาจาก ผลกระทบด้านมนุษยธรรมจากการรุกรานยูเครนของประเทศ ทำให้การดำเนินงานต่อเนื่องที่นั่นไม่สามารถดำเนินงานต่อได้ โดยโซนี่ได้ขายหน่วยธุรกิจเพลงของรัสเซียและ โอนศิลปิน ที่เซ็นสัญญาให้กับค่ายเพลงโลคอล

อย่างไรก็ตาม ทางโซนี่ไม่ได้ออกมาเปิดเผยถึงมูลค่าและรายละเอียดอื่น ๆ ของธุรกรรมดังกล่าว แต่หากอ้างอิงจากตัวเลขการรายงานรายได้ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา รายได้จากประเทศรัสเซียและยูเครนคิดเป็นเพียง 0.7% ของรายได้ทั่วโลกของบริษัทเท่านั้น ดังนั้น การถอนตัวออกจากรัสเซียจึงไม่ได้ส่งผลต่อรายได้อย่างมีนัยสำคัญ

Source

]]>
1400027
‘เยอรมนี’–‘เดนมาร์ก’ ทุ่ม 9 พันล้านลงทุน ‘ไฟฟ้าพลังงานลม’ แทนการนำเข้าก๊าซ ‘รัสเซีย’ https://positioningmag.com/1398346 Wed, 31 Aug 2022 02:41:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1398346 หลังการรุกรานยูเครนของรัสเซีย ทาง สหภาพยุโรป (EU) ก็ออกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย รวมถึงการนำเข้า พลังงาน ไม่ว่าจะเป็น ก๊าซ น้ำมัน และ ถ่านหิน แน่นอนว่าการคว่ำบาตรดังกล่าวนั้น ส่งผลกระทบต่อประเทศสมาชิก ล่าสุด เยอรมนีและเดนมาร์กก็หันไปหาพลังงานสะอาดเพื่อแก้ปัญหาในระยะยาว

เยอรมนีและเดนมาร์ก ได้มีข้อตกลงร่วมกันมูลค่า 9 พันล้านดอลลาร์ เพื่อสร้างโครงการผลิตไฟฟ้า พลังงานลม นอกชายฝั่งในทะเลบอลติก ซึ่งทางการระบุว่าจะช่วยให้สามารถจ่ายไฟฟ้าให้เพียงพอสำหรับครัวเรือน 4.5 ล้านครัวเรือน ภายในปี 2573

โดยข้อตกลงนี้ เดนมาร์กต้องการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมตามแผนที่วางไว้บนเกาะพลังงานบอร์นโฮล์มจาก 2 เป็น 3 กิกะวัตต์ และข้อตกลงดังกล่าวยังรวมถึงสายเคเบิลใต้น้ำ 292 ไมล์ที่เชื่อมโยงกังหันลมของบอร์นโฮล์มกับกริดของเยอรมนี เพื่อลดการพึ่งพาก๊าซและน้ำมันของรัสเซีย

ปัจจุบัน เดนมาร์กและเยอรมนีมีความสามารถด้านพลังงานลมนอกชายฝั่ง 1.5 กิกะวัตต์ และ 1 กิกะวัตต์ ในทะเลบอลติกตามลำดับ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 90% ของพลังงานลมในยุโรป

Robert Habeck รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการดำเนินการด้านสภาพอากาศของเยอรมนี กล่าวว่า โครงการนี้เป็นโครงการ ระดับเรือธง ซึ่งจะช่วยให้ยุโรปบรรลุ ความมั่นคงด้านพลังงานและความเป็นกลางของสภาพภูมิอากาศ

“พลังงานลมจากทะเลบอลติกจะช่วยเราต่อสู้กับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และนี่คือการลงทุนในความมั่นคงของเรา มันจะช่วยให้เราพึ่งพาก๊าซจากรัสเซียน้อยลง” Annalena Baerbock รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมัน กล่าวเสริม

ความจุพลังงานลมทั้งหมดของโลก ทั้งบนบกและนอกชายฝั่ง ขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 837 กิกะวัตต์ ตามรายงานของสภาพลังงานลมโลก จีนถือหุ้นใหญ่ที่สุดในตลาดพลังงานลมนอกชายฝั่งของโลก โดยได้เพิ่มกำลังการผลิตลมนอกชายฝั่งเป็น 27.7 กิกะวัตต์ในปี 2564

คณะกรรมาธิการยุโรปตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานลมทั้งหมดของประเทศเป็น 300 กิกะวัตต์ภายในปี 2593 เพิ่มขึ้นจาก 16 กิกะวัตต์ที่ติดตั้งในเดือนพฤษภาคม

Source

]]>
1398346
เรือขนส่ง “ธัญพืช” ลำแรกเดินทางออกจาก “ยูเครน” ความหวังกอบกู้วิกฤตอาหารโลก https://positioningmag.com/1394621 Tue, 02 Aug 2022 07:33:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1394621 นับตั้งแต่รัสเซียเริ่มเปิดฉากบุกทางการทหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2022 เรือลำนี้เป็นเรือขนส่งลำแรกที่ได้ออกจากท่าเรือโอเดสซา ประเทศยูเครน โดยบรรทุก “ข้าวโพด” หนัก 26,000 ตันออกจำหน่าย ถือเป็นความสำเร็จเป็นรูปธรรมนับตั้งแต่ UN เข้าไกล่เกลี่ยเจรจาทุกฝ่าย เพื่อเปิดทางให้ยูเครนได้ส่งออกอาหาร กู้วิกฤตโลก

สหประชาชาติ (UN) และตุรกีเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยระหว่างรัสเซียและยูเครนเมื่อเดือนก่อน เพื่อให้มีการส่งออกธัญพืชทางเรือได้ตามปกติ และเมื่อวานนี้ (1 ส.ค. 2022) นับได้ว่าเกิดความสำเร็จขั้นแรกแล้ว เมื่อเรือลำแรกเริ่มออกเดินทางจากท่าเรือโอเดสซา ประเทศยูเครน

กระทรวงกลาโหมแห่งประเทศตุรกีรายงานว่า เรือชื่อ Razoni ซึ่งเป็นเรือสัญชาติเซียร์รา-ลีโอนที่ประกอบในประเทศจีน ออกเดินทางจากท่าเรือโอเดสซาแล้วในเวลา 06:00 GMT บนเรือบรรทุก “ข้าวโพด” หนัก 26,000 ตัน เพื่อนำไปส่งที่ท่าเรือเมืองตริโปลี ทางเหนือของเลบานอน

เรือ Razoni จะต้องแล่นไปอย่างช้ามากๆ เพราะในทะเลดำซึ่งเป็นทางผ่านไปยังเลบานอนนั้น ยังเต็มไปด้วยทุ่นระเบิดของกำลังทหารฝ่ายยูเครนซึ่งใช้ป้องกันการบุกรุกทางทะเลของทหารเรือฝ่ายรัสเซีย ทั้งนี้ การเดินทางและการขนถ่ายสินค้าของเรือลำนี้จะได้รับการสังเกตการณ์ร่วมทั้งจากประเทศยูเครน รัสเซีย ตุรกี และเจ้าหน้าที่ UN

 

ทำไมการขนส่งข้าวโพดของเรือลำนี้จึงสำคัญต่อโลก?

ยูเครนและรัสเซียนั้นเป็นผู้ส่งออกธัญพืชที่ใหญ่ที่สุดของโลก แต่สงครามระหว่างกันทำให้พื้นที่ทะเลดำกลายเป็นเขตหวงห้ามไปโดยปริยาย ยูเครนจึงส่งออกธัญพืชได้ยากมากจนปริมาณการส่งออกธัญพืชของปีนี้ลดลงเหลือเพียง 1 ใน 6 ของช่วงเวลาปกติ

ข้าวสาลี
ทั้งรัสเซียและยูเครนเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีและธัญพืชรายใหญ่

เมื่อซัพพลายธัญพืชลดลงกะทันหัน ราคาในตลาดโลกจึงปรับสูงขึ้น ผู้ได้รับผลกระทบจึงเป็นผู้มีรายได้ต่ำทั่วโลก ตามการรายงานของ World Food Programme โดย UN พบว่าปัจจุบันมีคน 47 ล้านคนทั่วโลกที่อยู่ในภาวะ “หิวโหยรุนแรง”

UN จึงเข้าไปเจรจาและเกิดผลสำเร็จ มีการลงนามในสัญญาเมื่อเดือนก่อนเพื่อเปิดทางให้การขนส่งธัญพืชและสินค้าเกษตรทำได้ผ่านทะเลดำเช่นเดิม เพื่อช่วยเหลือให้คนทั่วโลกพ้นจากภาวะอดอยาก ด้วยการส่งข้าวสาลี น้ำมันดอกทานตะวัน ปุ๋ย ฯลฯ เข้าสู่ตลาดโลก โดยสัญญานี้คาดหวังว่าจะทำให้มีการส่งออกธัญพืชได้เฉลี่ย 5 ล้านตันต่อเดือน

ฟากยูเครนก็จะได้รับประโยชน์เช่น “Oleksandr Kubrakov” รัฐมนตรีกระทรวงโครงสร้างพื้นฐานยูเครน กล่าวว่า การขนส่งเหล่านี้จะทำให้ประเทศเกิดรายได้อย่างน้อย 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 36,000 ล้านบาท) เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างโอกาสให้ภาคเกษตรกรรมในปีหน้า

 

สัญญานี้จะมีผลยาวนานแค่ไหน?

ยูเครนระบุว่า มีเรืออีก 16 ลำที่รอคิวออกจากท่าเรือโอเดสซาแล้ว ณ ขณะนี้ ส่วนสัญญาที่ลงนามกันเมื่อเดือนก่อน จะมีผลยาว 120 วัน แต่จะต่อสัญญาอัตโนมัติออกไปเรื่อยๆ ยกเว้นว่าสงครามจะสิ้นสุดลงแล้ว

เส้นทางขนส่งธัญพืชทางเรือจากยูเครนสู่เลบานอน จะต้องผ่านประเทศตุรกี และจะเป็นจุดแวะพักเพื่อตรวจตราความเรียบร้อยจากทุกฝ่าย

ฝั่งเพื่อนบ้านอย่างตุรกี โฆษกรัฐบาลได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2022 เชื่อว่า ข้อตกลงฉบับนี้อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นกรุยทางไปสู่สันติภาพระหว่างสองฝ่ายได้

แต่ก็ใช่ว่าการขนส่งจะทำได้แบบสะดวกโยธิน เพราะแม้รัสเซียจะเซ็นสัญญาไม่โจมตีเรือขนส่งสินค้าเกษตร แต่ก็ยังมีการทำสงครามในน่านน้ำทะเลดำและเขตท่าเรือของยูเครนต่อไป นับตั้งแต่มีการเซ็นสัญญาดังกล่าว รัสเซียโจมตีพื้นที่รอบท่าเรือโอเดสซาไปแล้ว 3 ครั้ง จึงต้องจับตาดูต่อไปว่าข้อตกลงจะมีเสถียรภาพแค่ไหน

ประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบจากการปิดน่านน้ำทะเลดำเช่นกัน เพราะเรามีการนำเข้าธัญพืชจากยูเครนมากกว่า 10% ของการนำเข้าธัญพืชทั้งหมด เมื่อซัพพลายลด ราคาสูงขึ้น ส่งผลต่อเนื่องถึงราคาอาหารสัตว์ ดันราคาเนื้อสัตว์สูงขึ้น และอาหารคนบางประเภทที่ใช้ข้าวสาลี เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมปัง ก็ปรับสูงขึ้นด้วย

source

]]>
1394621
‘รัสเซีย’ รับยิงขีปนาวุธใส่ท่าเรือ ‘ยูเครน’ หลังเพิ่งลงนามเปิดทางส่งออก ‘ธัญพืช’ เนื่องจากมีเป้าหมายทางทหาร https://positioningmag.com/1393733 Mon, 25 Jul 2022 07:05:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1393733 บรรดาผู้นำโลกแห่ประณามการโจมตีด้วยขีปนาวุธของ ‘รัสเซีย’ ที่ ‘ท่าเรือโอเดสซา’ ของ ‘ยูเครน’ หลังจากที่ทั้ง 2 ประเทศลงนามข้อตกลงเปิดทางการเดินเรือสำหรับส่งออกธัญพืชและอาหารอื่น ๆ เพื่อแก้วิกฤตอาหารโลก

หลังจากที่ตัวแทนจากสหประชาชาติ ตุรกี รัสเซีย และยูเครนได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อเปิดท่าเรือยูเครน 3 แห่งอีกครั้ง เพื่อเปิดทางเดินเรือสำหรับส่งออกธัญพืชและอาหารอื่น ๆ เพื่อเบาเทาวิกฤตอาหารโลก แต่ยังไม่ทันครบ 1 วัน ก็พบว่ามีขีปนาวุธจากรัสเซียยิงถล่มท่าเรือโอเดสซา ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของยูเครน แสดงให้เห็นถึงความวิตกกังวลอีกครั้งในความพยายามที่ไร้ผลในการบรรเทาวิกฤตการณ์อาหารโลกที่เพิ่มสูงขึ้น

“หมึกยังไม่ทันแห้ง แต่ก็มีการยั่วยุที่เลวร้ายสองอย่างจากรัสเซีย ทั้งการโจมตีท่าเรือในโอเดสซาและคำแถลงของกระทรวงกลาโหมของรัสเซียว่าท่าเรือของยูเครนนั้นเป็นอันตรายต่อการขนส่ง” ที่ปรึกษาประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน กล่าวบนทวิตเตอร์

ด้านรัสเซียจากที่ปฏิเสธในตอนแรก ล่าสุด อิกอร์ โคนาเชนคอฟ โฆษกกระทรวงกลาโหมรัสเซีย กล่าวว่า ขีปนาวุธที่ยิงมีเป้าหมายทางการทหารเท่านั้น โดยต้องการที่จะทำลายเรือรบยูเครนที่จอดเทียบท่าและโกดังเก็บขีปนาวุธฮาร์ปูนที่ยูเครนได้รับจากสหรัฐฯ

หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ออกมาประณามอย่างรุนแรงต่อการโจมตีด้วยขีปนาวุธของรัสเซีย และกล่าวว่ารัสเซียต้องรับผิดชอบในการทำให้วิกฤตอาหารของโลกรุนแรงขึ้น

“การโจมตีดังกล่าวบ่อนทำลายงานของสหประชาชาติ ตุรกี และยูเครนในการจัดหาอาหารที่สำคัญสู่ตลาดโลก” บลิงเคนกล่าวในแถลงการณ์

อย่างไรก็ตาม กองทัพยูเครนระบุว่า การโจมตีดังกล่าวไม่ได้สร้างความเสียหายหนัก โดยกระทรวงโครงสร้างพื้นฐานเดินหน้าเตรียมการกลับมาส่งธัญพืชที่ตกค้างออกจากท่าเรือทุกแห่งในทะเลดำ รวมถึงท่าเรือที่เมืองโอเดสซา

Source

]]>
1393733
ปธน.ยูเครน เตือนโลกกำลังเผชิญ ‘วิกฤตด้านอาหาร’ ขั้นรุนแรง เพราะรัสเซียปิดท่าเรือส่งออก https://positioningmag.com/1388479 Sun, 12 Jun 2022 06:29:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1388479 ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน ออกมาเตือนว่า โลกจะเผชิญกับ “วิกฤตด้านอาหารอย่างรุนแรง” หากสงครามรัสเซียดำเนินต่อไปอย่างยาวนาน

โวโลดีมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดี ยูเครน ได้เปิดเผยว่า ประเทศยูเครนไม่สามารถส่งออกอาหารได้เพียงพอ เนื่องจากการปิดล้อมของรัสเซียที่ท่าเรือ Black Sea ซึ่งทำให้ไม่สามารถส่งออกสินค้าไปยังประเทศอื่นได้ ทำให้โลกจะต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์อาหารอย่างเฉียบพลันและรุนแรง

ทั้งนี้ ยูเครนและรัสเซียเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกข้าวสาลีและอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ เช่น ธัญพืชและน้ำมันรายใหญ่ที่สุด ดังนั้น วิกฤตด้านอาหารจะกระทบเอเชีย ยุโรป และแอฟริกา ส่งผลให้ราคากำลังเพิ่มขึ้น

เซเลนสกี กล่าวต่อว่า สงครามของรัสเซียกับยูเครนเป็นภัยคุกคามต่อระบบกฎหมายระหว่างประเทศ นอกเหนือไปจากผลกระทบต่อประเทศยูเครน พร้อมเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ทำลายความสามารถของรัสเซียในการปิดกั้นทะเลและเสรีภาพในการเดินเรือ

“ผู้นำรัสเซียละเมิดระบบกฎหมายระหว่างประเทศ และในความเป็นจริง การทำสงครามของรัสเซียกับยูเครนไม่ได้เกี่ยวกับยุโรปเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับสิ่งที่สำคัญทั่วโลกอีกด้วย เพราะหากไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศ และปลาใหญ่กินปลาเล็ก เราคงไม่มีตัวตนอยู่”

Source

]]>
1388479
‘เจ้าสัวสหพัฒน์’ มองปัญหาต้นทุนหนักกว่า ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’ แนะรัฐคุมนานสินค้าอาจ ‘ขาดแคลน’ https://positioningmag.com/1388352 Thu, 09 Jun 2022 12:34:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1388352 หากพูดถึงเครือ ‘สหพัฒน์’ เชื่อว่านี่คือชื่อที่อยู่คู่สินค้าอุปโภคบริโภคของคนไทยมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะ ‘มาม่า’ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่เปรียบเสมือนเพื่อนยามยากเวลาหิว โดยภายในงานแถลงข่าว งานสหกรุ๊ปแฟร์ ครั้งที่ 26 เจ้าสัวบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานบริหาร บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ได้ออกมาเปิดใจถึงวิกฤตต้นทุนสินค้า ที่ส่งผลกระทบต่อสินค้าอุปโภคบริโภคในไทยว่า ครั้งนี้หนักกว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง เมื่อ 26 ปีที่แล้วเสียอีก

ปัญหาต้นทุนหนักกว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง

บุณยสิทธิ์ ยอมรับว่า ปัญหาเรื่องต้นทุนวัตถุดิบในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา หรือนับตั้งแต่เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบต่อราคาวัตถุดิบมากกว่าช่วง 2 ปีที่เกิดวิกฤตโควิด และส่งผลกระทบรุนแรงกว่าช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 หรือ 26 ปีที่แล้ว ซึ่งช่วงนั้นเงินบาทอ่อนตัวส่งผลให้สินค้าขึ้นราคา แต่เมื่อก่อนเป็นการ ค่อย ๆ ปรับขึ้น แต่ครั้งนี้ ขึ้นพรวดเดียว

“เราจัดงานสหกรุ๊ปแฟร์ครั้งแรกเมื่อช่วงที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง และเวลานี้เหตุการณ์เหมือนกับ 26 ปีที่แล้ว โดยมีสงครามเป็นตัวทำให้ของขึ้นราคาและไม่รู้ว่าจะไปจบตรงไหน ซึ่งตอนนี้ สินค้าที่กระทบสุดมากที่สุด คือ ข้าวสาลี น้ำมันปาล์ม และนำมัน เลยทำให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกระทบก่อน”

บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานบริหาร บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)

ด้วยปัญหาต้นทุน ทำให้สินค้าในเครือต้องมีการปรับราคาไม่เช่นนั้นบริษัทก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน โดยเฉพาะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผงซักฟอก โดยตอนนี้กำลังรอเจรจากับกระทรวงพาณิชย์เพื่ออนุมัติเรื่องการปรับราคาเนื่องจากปัญหาต้นทุน เพราะถ้ายิ่งควบคุมนาน มีโอกาสที่สินค้าจะขาดตลาด เพราะวัตถุดิบในการผลิตไม่เพียงพอ เหมือนกรณีของ วัคซีน อย่างไรก็ตาม จะขึ้นราคามากน้อยแค่ไหนต้องรอพิจารณาจากต้นทุนวัตถุดิบอีกที

“ตอนนี้ทุกประเทศขึ้นราคาหมด เราเองตอนนี้ก็แบกต้นทุนอยู่ ดังนั้น ยังไงก็ต้องขึ้น แต่การขึ้นราคา ต้องค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ผู้บริโภคยอมรับได้”

แนะดันส่งออกบรรเทาวิกฤตต้นทุน

สถานการณ์จะดีขึ้นเมื่อไหร่นั้นขึ้นอยู่กับสงคราม จากตอนแรกคาดว่าจะจบภายในไม่ถึงเดือน แต่ปัจจุบันลากยาวมากว่า 3 เดือน ดังนั้น ต้องเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด เครือสหพัฒน์เองก็ไม่ได้วางแผนไว้ตายตัว เพราะต้องรอดูสถานการณ์สงครามวันต่อวัน

อย่างไรก็ตาม มองว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะดีกว่า 2 ปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่สามารถกลับไปสู่ช่วงก่อนเกิดโควิด เพราะแม้มีวิกฤตเงินเฟ้อแต่ไม่ต้องล็อกดาวน์เหมือนที่ผ่านมา อีกทั้งประเทศไทยยังเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหาร ดังนั้น มองว่าการส่งออกเป็นอีกแนวทางบรรเทาปัญหาต้นทุน

“เชื่อว่าประเทศไทยฟื้นตัวเร็วกว่าประเทศอื่นในฝั่งเอเชียด้วยกัน เพราะเราเป็นประเทศส่งออกอาหาร แม้ไทยจะเจอผลกระทบก็จริง แต่คนไทยก็ปรับตัวได้เร็ว”

จะอยู่รอดต้องเปิดทางคนรุ่นใหม่

บุณยสิทธิ์ คาดว่า เครือสหพัฒน์ต้องใช้เวลาอีก 1-2 ปี รายได้ถึงจะกลับไปเท่ากับช่วงก่อนเกิดโควิด โดยจากนี้ก็จะเน้นสินค้าในกลุ่ม เฮลท์แคร์ และเวลเนส เนื่องจากคนหันมาดูแลสุขภาพตั้งแต่ช่วงโควิดที่ผ่านมา และมองว่า ธุรกิจจากนี้จะอยู่รอดได้ต้องปรับตัวและต้องเปลี่ยนมือให้ คนรุ่นใหม่ มารับช่วงต่อ

แต่ละช่วงไม่เหมือนกัน เราต้องทำใจให้เปลี่ยนทันเหตุการณ์ ตอนนี้สหกรุ๊ปแฟร์เปลี่ยนให้คนใหม่มารับต่อ ไม่ได้เอาคนเก่ามาดู เพราะเราต้องยอมรับว่ารุ่นใหม่เขามีความสามารถแบบหนึ่ง คนเก่าก็มีความสามารถอีกแบบ คนรุ่นเก่าอาจเก่าเรื่องระวังตัว คนรุ่นใหม่เก่าเทคโนโลยี เราพยายามทำให้การเปลี่ยนเเปลง ทำให้เกิดผลบวก”

สินค้าแฟชั่นปีนี้โตเพราะไม่มี Work From Home

ธรรมรัตน์ โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ในเครือสหพัฒน์ กล่าวเสริมว่า ในส่วนต้นทุนผ้าของบริษัทก็พุ่งขึ้นตั้งแต่ 50-100% ตั้งแต่เกิดสงครามเป็นต้นมา เนื่องจากน้ำมันขึ้นราคา ดังนั้น ไอ.ซี.ซี ก็เพิ่มไลน์สินค้าใหม่ แม้มีราคาสูงแต่ผู้บริโภคบางคนยังยอมจ่าย เพราะอั้นมาจาก 2 ปีก่อนเนื่องจากตลาดปิด

นอกจากนี้ สินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผ้าอย่าง เอสเซ้นซ์ ก็ต้องขึ้นราคาไม่ช้าก็เร็ว เพราะวัตถุดิบหลักได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันเช่นกัน แต่สินค้ากลุ่มดังกล่าวยังมีกลไกตลาดควบคุมอยู่ ดังนั้น อาจจะยังต้องทนแบกต้นทุนอยู่ดี

“จริง ๆ ราคามันควรจะขึ้นตอนนี้แล้วเพราะโรงงานก็ไม่ไหวแล้ว แต่ที่ราคายังไม่ขึ้นเพราะสินค้าในตลาดตอนนี้ยังเป็นล็อตเก่าอยู่ ซึ่งเราคงจะขึ้นราคาสินค้าที่ไม่ใช่สินค้าควบคุม แต่คงขึ้นไม่เกินเพดานที่ตั้งไว้ เพราะราคาปัจจุบันยังมีช่องให้ขึ้นได้อยู่”

สำหรับผลประกอบการ ไอ.ซี.ซี ปีนี้คาดว่าจะเติบโตได้ประมาณ 20% เป็นอย่างน้อย จากปีที่ผ่านมาติดลบเกือบ -50% อย่างไรก็ตาม ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ไอ.ซี.ซี.ได้ปรับวิธีการทำงาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายได้พอสมควร ทำให้บริษัทมีกำไรเพิ่มมากขึ้น แม้ยอดขายในปัจจุบันจะไม่เท่ากับช่วงก่อนโควิดก็ตาม

“แม้จะมีปัญหาเงินเฟ้อ แต่เชื่อว่าธุรกิจแฟชั่นและ FMCG ยังไงก็โตเพราะมีปัจจัยบวกจากการเลิก Work From Home คนเลยแต่งตัวออกจากบ้านมากขึ้น เราก็มีสินค้าใหม่ที่ยังเพิ่ม Need ลูกค้าได้อยู่”

]]>
1388352