สหรัฐคว่ำบาตร – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 14 Jun 2021 11:35:34 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘หัวเว่ย’ ยันไม่ปลดพนักงานบริษัทลูก ‘HiSilicon’ แม้รายได้หดเกือบ 90% เพราะถูกคว่ำบาตร https://positioningmag.com/1336920 Mon, 14 Jun 2021 09:12:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1336920 ‘หัวเว่ย’ (Huawei) บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของจีนที่คนไทยคุ้นเคย แม้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาหัวเว่ยต้องเผชิญกับปัญหาการถูก ‘คว่ำบาตร’ โดยสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้บริษัทในอเมริกาไม่สามารถทำธุรกิจกับหัวเว่ยได้ ซึ่งนั่นก็ส่งผลโดยตรงกับบริษัท ‘HiSilicon’ ที่ผลิตชิปต่าง ๆ แต่หัวเว่ยก็ยังยืนยันว่าจะไม่ปลดพนักงาน ถึงแม้รายได้จะเกือบเป็นศูนย์ก็ตาม

Catherine Chen ผู้อำนวยการและรองประธานอาวุโสของ Huawei กล่าวว่า บริษัทไม่มีแผนที่จะปรับโครงสร้างบริษัทลูก HiSilicon ที่เป็นบริษัทเกี่ยวกับชิปเซ็ต Kirin ที่หลายคนต้องเคยได้ยินชื่อ แม้ว่าบริษัทจะโดนสหรัฐฯ คว่ำบาตร ซึ่งส่งผลให้ต้องหยุดการผลิตชิปเซ็ตมาเกือบปีแล้วก็ตาม

ในปี 2020 บริษัท HiSilicon มีพนักงานมากกว่า 7,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนค่อนข้างมาก เพราะปัจจุบัน HiSilicon แทบไม่มีรายได้ เนื่องจากการคว่ำบาตรทำให้ Taiwan Semiconductor Manufacturing Co. (TSMC) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งเป็นผู้รับเหมาเอาต์ซอร์สที่สำคัญของ HiSilicon ไม่สามารถทำธุรกิจกับหัวเว่ยได้

นั่นหมายความว่ายอดขายของ HiSilicon จะลดลงเหลือศูนย์ไม่ช้าก็เร็ว โดยบริษัทวิจัยของอังกฤษ Omdia เปิดเผยว่า HiSilicon มียอดขาย 385 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรกของปี 2564 ตัวเลขดังกล่าวแสดงถึงการลดลง 87% จากช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายนของปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่ยอดขายของ HiSilicon พุ่งสูงสุด ซึ่ง Chen ได้ยืนยันว่าหัวเว่ยไม่มีแผนที่จะลดจำนวนพนักงานของ HiSilicon

HiSilicon บริษัทเซมิคอนดักเตอร์ก่อตั้งขึ้นในปี 2547 ได้พัฒนาชิปสำหรับสมาร์ทโฟนของหัวเว่ยและอุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาชิปที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ซึ่ง Chen กล่าวว่า HiSilicon ยังคงพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์ต่อไป และสามารถประคองตัวเองได้แม้จะมีการคว่ำบาตร ซึ่งคาดว่าจะคงอยู่เป็นเวลาสองถึงสามปี

เนื่องจากประเทศอื่น ๆ กำลังส่งเสริมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ HiSilicon ได้รับพันธมิตรด้านซัพพลายเชนรายใหม่ที่ไม่พึ่งพาเทคโนโลยีของสหรัฐฯ นอกจากนี้ บริษัทกำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทใหม่ เช่น ชิปสำหรับทีวีที่รองรับความละเอียด 8K อยู่อีกด้วย

Source

]]>
1336920
‘หัวเว่ย’ โทษการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ทำให้เกิดปัญหา ‘ขาดแคลนชิป’ ทั่วโลก https://positioningmag.com/1328256 Mon, 19 Apr 2021 09:12:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328256 ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา ปัญหาการขาดแคลนชิปทั่วโลกเริ่มส่งสัญญาณที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและมีหลายแง่มุม แต่ ‘หัวเว่ย’ (Huawei) กลับโทษว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจากมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ

ยาว ๆ ไป! TSMC คาดตลาดชิปจะขาดแคลนจนถึงปี 2022

ความต้องการชิปเพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เนื่องจากผู้คนหันมาเล่นเกมคอนโซล ใช้แล็ปท็อป และดูทีวีมากขึ้นในช่วงล็อกดาวน์ ทำให้ความต้องการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่โรงงานผลิตชิปมีจำนวนค่อนข้างน้อย และแถมยังมีการแข่งขันที่ไม่สูงมากจึงทำให้ชิปขขาดแคลนไปในที่สุด

แต่ถึงแม้จะมีปัจจัยเหล่านี้ทั้งหมด หัวเว่ยก็พยายามที่จะโทษเกี่ยวกับการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ โดย Eric Xu ประธานหมุนเวียนของหัวเว่ย กล่าวว่า มาตรการคว่ำบาตรที่เกิดกับบริษัทในช่วงสองปีที่ผ่านมาเป็นสาเหตุ “ทำร้ายอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก” เนื่องจากการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลก กักตุนชิป อย่างตื่นตระหนก

“พวกเขาบางคนไม่เคยกักตุนสิ่งของใด ๆ เลย แต่เนื่องจากการคว่ำบาตรทำให้พวกเขาต้องกักตุนสินค้า 3-6 เดือน”

ที่ผ่านมาภาคยานยนต์ต้องปิดสายการผลิตชั่วคราวอันเป็นผลมาจากปัญหาการขาดแคลนชิป โดยผู้บริหารบริษัทรถยนต์และผู้นำด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ได้มีกำหนดพบปะกับประธานาธิบดีโจ ไบเดนเพื่อหารือเรื่องดังกล่าว ส่วนหัวเว่ยเองได้สร้างคลังชิปเพื่อให้แน่ใจว่าธุรกิจอุปกรณ์โทรคมนาคมและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคสามารถดำเนินต่อไปได้ตามปกติ

อย่างไรก็ตาม Xu กล่าวว่า เขาไม่ได้คาดหวังว่าฝ่ายบริหารของโจ ไบเดนจะเปลี่ยนแปลงกฎในเร็ว ๆ นี้ และบริษัทกำลังลงทุนในด้านใหม่ ๆ เช่น การดูแลสุขภาพ, การทำฟาร์มและรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อพยายามลดผลกระทบจากการถูกสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีดำ

ที่ผ่านมา หัวเว่ยประกาศว่ามีแผนจะลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์ในการวิจัยและพัฒนารถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตนเองและรถยนต์ไฟฟ้า พร้อมอ้างว่าเทคโนโลยีการขับขี่ด้วยตนเองของหัวเว่ยนั้นเหนือกว่า ‘Tesla’ โดยช่วยให้รถยนต์สามารถแล่นได้ไกลกว่า 1,000 กิโลเมตร โดยที่มนุษย์ไม่ต้องยังคับ ขณะที่ยานพาหนะของ Tesla ไม่สามารถแล่นได้เกิน 800 กิโลเมตร และผู้ขับขี่ควรจับมือไว้ที่พวงมาลัยเพื่อความปลอดภัย

เบื้องต้น หัวเว่ยจะร่วมมือกับผู้ผลิตรถยนต์ 3 รายใน ได้แก่ BAIC Group, Chongqing Changan Automobile Co และ Guangzhou Automobile Group โดยจะมีโลโก้ ‘HI’ (Huawei Inside) จะติดบนรถยนต์ในลักษณะเดียวกับที่โลโก้ของ Intel ติดบนคอมพิวเตอร์

“เมื่อประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนตัวเองเราสามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้ และเราคิดว่าในอนาคตอันใกล้ โอกาสและความก้าวหน้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดจะมาจากอุตสาหกรรมรถยนต์” Xu

ภาพจาก shutterstock

ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้คว่ำบาตรหัวเว่ยหลังจากกล่าวหาว่าบริษัทแอบเก็บข้อมูลผ่านอุปกรณ์แล้วส่งไปยังพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยในปี 2019 หัวเว่ยถูกจัดให้อยู่ในบัญชีดำของสหรัฐอเมริกาที่เรียกว่า Entity List ทำให้บริษัทอเมริกันไม่ให้ส่งออกเทคโนโลยีบางอย่างไปยังหัวเว่ยได้ อาทิ Google ที่ยุติความสัมพันธ์กับหัวเว่ยทำให้ไม่สามารถใช้ระบบปฏิบัติการ Android บนสมาร์ทโฟนได้ และเมื่อปี 2020 สหรัฐฯ ได้แบนหัวเว่ยออกจากอุตสาหกรรมชิปที่จำเป็นสำหรับสมาร์ทโฟน โดยที่ผ่านมาหัวเว่ยปฏิเสธข้อกล่าวหาของสหรัฐฯ มาโดยตลอด

Source

]]>
1328256
‘หัวเว่ย’ รับ จะกลับขึ้นเบอร์ 1 ธุรกิจ ‘สมาร์ทโฟน’ เป็นเรื่องยาก หลังถูกสหรัฐฯ คว่ำบาตร https://positioningmag.com/1326090 Thu, 01 Apr 2021 08:40:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1326090 เพียง 8 เดือนเท่านั้นที่ ‘หัวเว่ย’ (Huawei) ต้องร่วงจากตำแหน่ง ‘เบอร์ 1’ ที่ขับเคี่ยวมากับ ‘ซัมซุง’ แถมตอนนี้ไม่ได้อยู่ใน 3 อันดับแรกด้วยซ้ำ ซึ่ง Ken Hu ประธานของหัวเว่ยก็ยอมรับว่าธุรกิจสมาร์ทโฟนของบริษัทกำลังเผชิญปัญหาใหญ่และคงจะกลับไปยืนอยู่ในตำแหน่งเดิมไม่ได้ง่าย ๆ เพราะตามข้อมูลจาก Gartner และ Counterpoint ระบุว่าหัวเว่ยไม่ได้เป็นผู้นำตลาดในประเทศจีนอีกต่อไป ดังนั้นตลาดโลกก็ยิ่งยาก

เคน หู (Ken Hu) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย ได้ยอมรับว่าธุรกิจ ‘สมาร์ทโฟน’ ของตนกำลังประสบปัญหาเนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ที่เป็นปัญหาต่อการเติบโต เนื่องจากทำให้บริษัทไม่สามารถจัดหาชิ้นส่วนเพื่อมาผลิตสมาร์ทโฟนได้ และสั่งห้ามไม่ให้ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) ของกูเกิล (Google) ในโทรศัพท์มือถือ

สรุปทุกปัญหาที่รุมเร้าจน ‘หัวเว่ย’ ย้ำเป้าหมายจากนี้ ‘ต้องเอาชีวิตรอด’

ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาคู่แข่งร่วมประเทศอย่าง Oppo และ Xiaomi ได้แซงหน้าหัวเว่ยทั้งในประเทศจีนและในตลาดโลก อีกทั้ง หัวเว่ยเพิ่งขายแบรนด์ลูกอย่าง ‘Honor’ ซึ่งเป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนราคาประหยัดซึ่งสร้างยอดขายให้หัวเว่ยมากถึง 40% โดยผู้บริหาร กล่าวว่า เมื่อพิจารณาถึงความไม่แน่นอนอย่างต่อเนื่องในธุรกิจสมาร์ทโฟนทำให้ยากมากที่จะคาดการณ์การอนาคตของธุรกิจสมาร์ทโฟน

“เนื่องจากการคว่ำบาตรที่ไม่เป็นธรรมของเราในสหรัฐฯ ทำให้ธุรกิจโทรศัพท์มือถือของเรามีรายได้ลดลง” Ken Hu ประธานของ Huawei กล่าว

เคน หู (Ken Hu) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย

ในปีที่ผ่านมา หัวเว่ยมีรายได้ 891,400 ล้านหยวน (4.25 ล้านล้านบาท) เติบโต 3.8% ขณะที่กำไรเติบโต 3.2% เป็น 64,600 ล้านหยวน (3.08 แสนล้านบาท) ถึงแม้ว่ารายได้และกำไรจะเติบโต แต่ถ้าเทียบกับการเติบโตในอดีตที่อยู่ประมาณ 30% ต่อปี ก็ถือว่าลดลงอย่างมาก โดยในปี 2562 ที่ผ่านมาแม้การเติบโตจะลดลงแต่ก็สามารถเติบโตได้ 19%

หัวเว่ยเปิดเผยว่า แผนกผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภค (คอนซูเมอร์) อาทิ สมาร์ทโฟน, โน้ตบุ๊ก และอุปกรณ์อื่นนั้นคิดเป็นกว่า 50% ของรายได้รวมบริษัท โดยมีรายได้ 482,900 ล้านหยวน เติบโต 3.3% อย่างไรก็ตาม หัวเว่ยปฏิเสธว่ารายได้ของสมาร์ทโฟนลดลงเท่าใด เพียงเเต่ระบุว่ารายได้จาก สมาร์ทดีไวซ์ อาทิ สมาร์ทวอตช์ แล็ปท็อป และอุปกรณ์อื่น ๆ มาชดเชยแทน ซึ่งการเติบโตของสินค้ากลุ่มนี้สูงถึง 65%

ในส่วนของรายได้จากฝั่งลูกค้าองค์กรเติบโตขึ้น 23% โดยมีรายได้ราว 100,300 ล้านหยวน ส่วนธุรกิจผู้ให้บริการด้านโครงข่ายโทรคมนาคม รวมถึงอุปกรณ์เครือข่าย 5G บริษัทมีรายได้ 302,600 ล้านหยวน เติบโตเพียง 0.2% ในปีที่แล้ว เนื่องจากหลายประเทศแบนการใช้งานอุปกรณ์ของหัวเว่ยตามสหรัฐฯ แต่ที่เติบโตได้เป็นเพราะแรงหนุนจากตลาดในประเทศจีน

ทั้งนี้ รายได้จากฝั่งยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกาของหัวเว่ยลดลง 12.2% เหลือ 180,800 ล้านหยวน ส่วนในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมจีน) ลดลง 8.7% เหลือ 64,400 ล้านหยวน ส่วนในอเมริกาลดลง 24.5% เหลือ 39,600 ล้านหยวน

“เรายอมรับที่จะบอกว่าในปีที่ผ่านมา การเติบโตของเราชะลอตัวลงมาก และยอมรับว่ามันเป็นปีที่ไม่ง่ายสำหรับเรา”

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่าหากมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ยังไม่ถูกยกเลิก การที่หัวเว่ยจะ ‘คืนชีพ’ ให้ตลาดสมาร์ทโฟนก็เป็นเรื่องยาก ขณะที่ปัจจุบันก็ยังไม่มีสัญญาณที่ชัดเจนจากรัฐบาลใหม่ของสหรัฐฯ ว่าจะยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรของหัวเว่ยหรือไม่

Source

]]>
1326090