หุ้นเด่น – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 20 Jul 2020 12:54:38 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 อู้ฟู่! โรคระบาดดันหุ้นบริษัท “ถุงมือยาง” Supermax พุ่ง 1,000% ภายใน 4 เดือน https://positioningmag.com/1288677 Mon, 20 Jul 2020 11:29:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288677 มีคนเสียก็มีคนได้! Supermax บริษัทถุงมือยางในมาเลเซียทำสถิติราคาหุ้นทะยาน 1,000% ภายในเวลาไม่ถึง 4 เดือน เนื่องจากภาวะโรคระบาด COVID-19 ทำให้ดีมานด์สินค้าสูงขึ้น และนักลงทุนต่างแห่เข้าซื้อหุ้นเก็งกำไร

Bloomberg รายงานราคาหุ้นของ Supermax บริษัทถุงมือยางในมาเลเซียปรับตัวสูงขึ้นถึง 1,000% ภายในเวลาไม่ถึง 4 เดือน โดยช่วงต้นเดือนเมษายน 2020 ราคาหุ้นบริษัทนี้อยู่ที่ 1.5 ริงกิตต่อหุ้น ปัจจุบันขึ้นมาถึง 18.5 ริงกิตต่อหุ้นไปแล้ว ส่งให้มาร์เก็ตแคปของบริษัทขึ้นไปแตะ 2.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

นอกจากหุ้น Supermax บริษัทถุงมือยางมาเลย์อีก 2 แห่งก็ได้อานิสงส์จากโรคระบาดเช่นกัน โดยราคาหุ้นบริษัท Top Glove ปรับขึ้นไปแล้ว 280% ส่วนบริษัท Kossan Rubber ปรับขึ้น 180% นับตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา

“ดีมานด์ที่มีต่อถุงมือยางพุ่งขึ้นแบบกราฟเอ็กซ์โพเนนเชียลในปีนี้” เป็นข้อความจากรายงานผลประกอบการของ Supermax บริษัทยังระบุด้วยว่า ปีนี้พวกเขาสามารถขายถุงมือยางที่ปกติต้องใช้เวลา 4 เดือนภายในเวลาเพียง 6 สัปดาห์ และยังปรับราคาขึ้นได้อีกด้วย ในขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบและราคาน้ำมันปรับลง ส่งผลให้ไตรมาสแรกบริษัททำรายได้สูงขึ้น 24% ขณะที่กำไรก่อนหักภาษีเพิ่มขึ้นถึง 93%

ด้าน สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางมาเลเซีย คาดว่าความต้องการซื้อถุงมือยางระดับโลกปีนี้จะเพิ่มขึ้น 20% จากปีก่อน ขึ้นไปแตะจำนวน 3.3 แสนล้านชิ้น

ปัจจัยเหล่านี้เป็นเหตุให้หุ้นถุงมือยางคือหุ้นมาแรงของเหล่านักลงทุน โดย Bloomberg รายงานว่า ขณะนี้เม็ดเงินลงทุน 1 ใน 10 ที่หมุนเวียนในตลาดหุ้นมาเลย์คือการเก็งกำไรกับหุ้นถุงมือยาง 3 บริษัทหลักดังกล่าว

“การวิ่งขึ้นของราคาหุ้นถุงมือยางทำให้หลายคนนึกถึงหุ้น Tesla แต่การคาดการณ์ผลประกอบการของหุ้นถุงมือยางเหล่านี้มีความแน่นอนยิ่งกว่า Tesla เสียอีก” รอสส์ คาเมรอน ผู้จัดการกองทุนบริษัท Northcape Capital ให้ความเห็น โดยเขาอ้างอิงถึง Tesla เนื่องจากปีนี้หุ้น Tesla ปรับขึ้นไปเกือบ 3 เท่าตัวแล้ว จนทำให้มูลค่าบริษัทสูงขึ้นแซงหน้า Toyota ขึ้นเป็นบริษัทรถยนต์มูลค่าสูงที่สุดในโลก

ความแรงของหุ้น Supermax และ Kossan Rubber ทำให้หุ้น 2 ตัวนี้กำลังจะได้รับพิจารณาเข้าไปอยู่ในดัชนี MSCI มาเลเซียภายในเดือนหน้า อย่างไรก็ตาม ข่าวการคิดค้นวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ที่คืบหน้าเร็วกว่าที่คาด ทำให้ราคาหุ้นถุงมือยางเริ่มส่งสัญญาณแตะเบรกแล้ว

Source: Bloomberg, Business Insider

]]>
1288677
อ่านทิศเศรษฐกิจ-ตลาดหุ้น ธุรกิจไหนจะรอดท่ามกลางวิกฤต COVID-19 วิเคราะห์โดย ASPS https://positioningmag.com/1271211 Wed, 01 Apr 2020 13:02:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271211
  • เศรษฐกิจโลก 2563 ส่อเค้าหนักกว่ายุคซับไพรม์ แนวโน้มจีดีพีโลกติดลบ ด้านเศรษฐกิจไทยคาดจีดีพี -1.4% หวังนโยบายการเงินการคลังภาครัฐช่วยถม “หลุม” ทางเศรษฐกิจไม่ให้สาหัสเท่ายุคต้มยำกุ้ง
  • SSF ช่วยพยุงตลาดหุ้นไทย คาดการณ์ดัชนี SET Index โอกาสลงต่ำสุด 880 จุด
  • 5 กลุ่มอุตสาหกรรมปัจจัยลบ คาดส่งให้กำไรสุทธิลด : กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี, กลุ่มธนาคาร, กลุ่มขนส่งทางอากาศและโรงแรม, กลุ่มสื่อและโฆษณา และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์
  • ชี้เป้าหุ้นเด่น ธุรกิจยังเดินได้ท่ามกลาง COVID-19 : กลุ่มธุรกิจก่อสร้าง, กลุ่มเกษตรและอาหาร, กลุ่มโรงไฟฟ้า และกลุ่มสื่อสาร
  • บทวิเคราะห์ทิศทางเศรษฐกิจและตลาดทุน ไตรมาส 2/63 โดยทีมนักวิเคราะห์จาก บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส (ASPS) หลังเกิดโรคระบาดไวรัส COVID-19 ทำให้เอเซีย พลัสปรับคาดการณ์ใหม่หลายส่วน

    เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มติดลบ

    เริ่มจากจีดีพีโลก IMF คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ว่าน่าจะเติบโตที่ 3.2% อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ในเดือนนั้นรวมเฉพาะผลกระทบของการระบาดในประเทศจีน แต่ขณะนี้การระบาดได้ลุกลามไปทั่วโลกแล้ว ทำให้เอเซีย พลัสมองว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวมากกว่านั้น

    มองย้อนกลับไปในวิกฤตเศรษฐกิจซับไพรม์ปี 2552 ครั้งนั้นจีดีพีโลกถดถอยที่ -0.1% โดยผลกระทบหนักเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา แต่การระบาด COVID-19 ในครั้งนี้มีผลโดยตรงกับเศรษฐกิจทุกภูมิภาค จึงเป็นไปได้ว่าจะสาหัสกว่าช่วงซับไพรม์

    อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางหลายประเทศมีความพยายามพยุงเศรษฐกิจด้วยนโยบายทางการเงิน ผ่านการทำ QE และรัฐบาลต่างๆ มีนโยบายการคลังอัดฉีดเงินเข้าระบบ ซึ่งน่าจะเป็นแรงหนุนช่วยเศรษฐกิจโลกได้มากขึ้น

     

    เศรษฐกิจไทย -1.4% จับตามาตรการรัฐ

    ตัดภาพมาที่เศรษฐกิจไทยซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 เช่นกันและแนวโน้มจำนวนผู้ติดเชื้อยังไม่ลดลง ทำให้แบงก์ชาติประกาศคาดการณ์จีดีพีใหม่เป็น -5.3% ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ “หนัก” มาก เพราะปีที่เศรษฐกิจประเทศไทยดิ่งลงต่ำสุดคือช่วงวิกฤตปี 2540 ปีนั้นจีดีพีไทยอยู่ที่ -7.1% ทำให้เห็นว่าแบงก์ชาติมองภาพเศรษฐกิจปีนี้จะวิกฤตใกล้เคียงกับยุคต้มยำกุ้ง

    แต่เอเซีย พลัสยังไม่มองภาพลบระดับนั้น โดยประเมินว่าจีดีพีไทยจะอยู่ที่ -1.4% (จากเดิมคาดว่าจะโต 2.8%) โดยมีภาคการส่งออกที่จะติดลบรุนแรง คาดว่าการส่งออกจะ -5.5% ขณะที่สำนักวิเคราะห์ทั้งรัฐและเอกชนอื่นๆ ส่วนใหญ่ยังมองว่าจีดีพีไทยจะเติบโตได้ แม้จะลดลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้เดิมทุกแห่ง

    ทั้งนี้ หากใช้การประเมินของแบงก์ชาติ การที่จีดีพีถดถอยถึง -5.3% แปลว่ามูลค่าจีดีพีประเทศปีนี้จะลดลงถึง 5.79 แสนล้านบาท นับว่าเป็น หลุมยุบทางเศรษฐกิจ ที่น่ากังวล

    การลดลงของจีดีพีไทยปี 2563F ตามการคาดการณ์ของธปท.

    “เราเห็นว่ารัฐยังมีงบกลางอยู่และอาจจะมีการเกลี่ยงบประมาณเดิมใหม่เพื่อนำมาถมหลุมตรงนี้ เราจึงยังไม่ปรับจีดีพีลงแรงมาก ขอดูการออกมาตรการรัฐเพิ่มเติมก่อน” เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย ASPS กล่าว

    โดยที่ผ่านมา รัฐบาลไทยมีการใช้เครื่องมือทั้งนโยบายการเงินและการคลังไปแล้ว มีการลดอัตราดอกเบี้ยไป 2 ครั้ง และอาจจะลดอีก 1 ครั้ง ส่วนนโยบายการคลัง มีมาตรการชิม ช้อป ใช้ และมาตรการเงินเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 นอกระบบประกันสังคมคนละ 5,000 บาทต่อเดือน ระยะ 3 เดือน ซึ่งเอเซีย พลัสเชื่อว่ารัฐบาลน่าจะมีมาตรการอื่นเพิ่มเติมออกมา

     

    ตลาดหุ้นหวัง SSF ช่วยพยุง

    ด้านตลาดทุนไทยซึ่งเผชิญกับช่วงดิ่งลงรุนแรง -33% จนต้องใช้นโยบาย “เซอร์กิต เบรกเกอร์” ไปถึง 3 ครั้ง เนื่องจากเงินทุนไหลออกซึ่งเกิดขึ้นทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

    เอเซีย พลัสหวังว่าการเปิดขายกองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว (SSF) ซึ่งจะมาแทนที่กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) เพื่อใช้หักลดหย่อนภาษี อาจจะช่วยชะลอการไหลออกของเงินทุนได้บ้าง โดยมองว่าจะมีผลเพียงพยุงไว้ เพราะ SSF สามารถหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุดเพียง 2 แสนบาท น้อยกว่า LTF ซึ่งหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 5 แสนบาท ทำให้ไม่มีแรงจูงใจในการซื้อเท่าที่ผ่านมา

    สำหรับ SET Index ปัจจุบันอยู่ที่ 1,092 จุด (ข้อมูลวันที่ 26 มี.ค. 63) โดยวิเคราะห์ว่ามีโอกาสลงไปต่ำสุดที่ 880 จุด วัดจากวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมาทั้งซับไพรม์ ยุคดอทคอม สงครามอ่าวเปอร์เซีย และ Black Monday ตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวลดลงระหว่าง -48% ถึง -59% ซึ่งขณะนี้ SET Index ลดลงมา -47.7% จึงมองว่าอาจจะลดลงได้อีก

     

    5 กลุ่มอุตสาหกรรมปัจจัยลบสูง

    เจาะลึกรายอุตสาหกรรมที่มองว่ามีปัจจัยลบส่งผลต่อกำไรสุทธิในปี 2563 ลดลง มีดังนี้

    1)กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี เนื่องจากราคาน้ำมันที่ลดลงด้วยปัจจัยลบทั้งดีมานด์หดตัวเพราะการระบาดของ COVID-19 และซัพพลายที่เพิ่มขึ้นเพราะกลุ่ม OPEC ไม่บรรลุการเจรจาลดการผลิตน้ำมัน ส่งผลต่อราคาน้ำมันปรับตัวลดลง ปัจจุบันราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ในกรอบ 30-35 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตาม ถ้าหากสถานการณ์การระบาดดีขึ้นส่งให้ดีมานด์ฟื้นตัว และมีผู้ประกอบการที่ขาดทุนจนต้องหยุดผลิตมากขึ้น น่าจะทำให้ราคาน้ำมันฟื้นมาอยู่ที่ 40-45 เหรียญต่อบาร์เรลได้

    2)กลุ่มธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของแบงก์ชาติ ส่งผลโดยตรงต่อรายรับของธนาคาร

    3)กลุ่มขนส่งทางอากาศและโรงแรม อีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่รับผลกระทบโดยตรงจาก COVID-19 ทำให้เกิดการปิดประเทศและล็อกดาวน์

    4)กลุ่มสื่อและโฆษณา ผลกระทบทางอ้อมจาก COVID-19 ทำให้บริษัทต่างๆ ลดค่าใช้จ่ายและค่าใช้จ่ายแรกที่จะถูกตัดออกคือ งบโฆษณา โดยเอเซีย พลัสวิเคราะห์ว่าเม็ดเงินโฆษณาปี 2563 จะลดลงถึง -25% สาหัสกว่าช่วงน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ซึ่งเม็ดเงินโฆษณาลดลง -15% และช่วงถวายความอาลัย 2559-60 ซึ่งเงินโฆษณาลดลง -12% กลุ่มสื่อและโฆษณาที่จะได้รับผลกระทบหนักที่สุดคือ สื่อโรงภาพยนตร์ที่ถูกปิดชั่วคราว และสื่อนอกบ้าน (OOH) ที่เคยเป็นดาวรุ่งจะพลิกกลับด้านเพราะประชาชนออกจากบ้านน้อยลงมาก

    ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจนี้มีหุ้นที่มองว่าจะยังโดดเด่นคือ RS เนื่องจากผันโมเดลธุรกิจไปเป็นเป็นสื่อจำหน่ายสินค้าอีคอมเมิร์ซแล้ว และคอนเสิร์ตใหญ่คือ D2B ถูกจัดขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์และรับรายได้ไปแล้ว ทำให้งบไตรมาส 1/63 ของ RS น่าจะเป็นไปในทางบวก

    5)กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ มรสุมเข้าสู่อุตสาหกรรมนี้ตั้งแต่ปี 2562 ทำให้ปีนี้ภาคอสังหาฯ ลดการเปิดตัวโครงการใหม่ 2-3% จากปีก่อน มูลค่าโครงการเปิดใหม่ปีนี้อยู่ที่ราว 2.8 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตาม จากพิษ COVID-19 ทำให้หลายบริษัทปรับแผนเปิดตัวหรือเตรียมปรับเร็วๆ นี้

    ส่วนแบ็กล็อกรอโอนกรรมสิทธิ์ของอสังหาฯ มูลค่า 2.9 แสนล้านบาท ต้องจับตามอง “คุณภาพ” การโอน เพราะพิษ COVID-19 อาจทำให้อัตราปฏิเสธสินเชื่อสูงขึ้น และหากมีลูกค้าต่างประเทศอาจไม่สามารถรับโอนกรรมสิทธิ์ได้

    ยอดขายรอโอนกรรมสิทธิ์ภาคอสังหาฯ รวบรวมโดย ASPS

     

    ก่อสร้าง เกษตร โรงไฟฟ้า สื่อสาร หุ้นเด่น Q2/63

    สำหรับหุ้นเด่นในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ จากสถานการณ์การระบาดยังมีบางกลุ่มอุตสาหกรรมที่ไม่ได้รับผลกระทบ หรือยังทรงตัวได้อยู่ในช่วงนี้ ได้แก่

    1)กลุ่มธุรกิจก่อสร้าง ในช่วงนี้ไซต์ก่อสร้างยังดำเนินการได้ตามปกติ แม้จะต้องมีมาตรการระมัดระวังการติดเชื้อของแรงงานก่อสร้าง ขึ้นอยู่กับบริษัทต้องรักษาสุขอนามัยให้ดี อย่างไรก็ตาม การประมูลงานใหม่หรืออยู่ระหว่างรอเซ็นสัญญาภาครัฐจะต้องชะลอออกไปก่อน รวมถึงงานโครงการของเอกชนก็น่าจะชะลอตัวเช่นกัน ทำให้แนะนำเลือกหุ้นบริษัทที่มีแบ็กล็อกอยู่แล้วในมือ เช่น SEAFCO, PYLON, UNIQ

    2)กลุ่มเกษตร-อาหาร อีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจเด่นเพราะอาหารเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้แม้ในยามวิกฤต ปัจจัยบวกในตลาดเกษตรและอาหารช่วงนี้คือ ราคาสุกรที่สูงขึ้น เพราะเกิดโรคระบาดอหิวาต์ในสุกรที่จีนและเวียดนาม ทำให้ซัพพลายเนื้อหมูขาดแคลน รวมถึงการกักตุนอาหารทำให้ทูน่ากระป๋องขายดีทั่วโลก ยอดขายสูงขึ้น 50% ในช่วงเดือนมีนาคม ส่วนปัจจัยลบคือ การปิดร้านอาหารแบบนั่งทานทำให้อาหารประเภทกุ้งและแซลมอนซึ่งส่งขายในร้านอาหารเป็นส่วนใหญ่มียอดขายตกลง

    หุ้นเด่นในกลุ่มนี้จึงเป็น CPF และ TFG ซึ่งได้อานิสงส์จากราคาเนื้อหมูและการส่งออกไก่ และ TU ซึ่งถึงแม้ว่ายอดขายกุ้งจะลดลงแต่ทูน่ากระป๋องพุ่งสูงขึ้นทำให้รายได้ยังทรงตัว

    3)กลุ่มโรงไฟฟ้า สาธารณูปโภคพื้นฐานที่เซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับรัฐระยะยาว ทำให้สถานการณ์ขณะนี้ไม่กระทบต่อธุรกิจ มีหุ้นที่น่าสนใจ เช่น GULF, BGRIM

    4)กลุ่มสื่อสาร กลุ่มนี้ช่วงต้นปีมองว่าจะพบปัจจัยลบคือการประมูล 5G จะทำให้การลงทุนสูง อย่างไรก็ตาม หลังการประมูลจบลงพบว่าฝั่งเอกชนใช้เงินลงทุนรวม 6.4 หมื่นล้านบาทสำหรับค่าสัมปทานคลื่น 5G ซึ่งต่ำกว่าการประมูล 4G ถึง 3-5 เท่า และพบว่าสล็อตสัญญาณที่แต่ละค่ายได้รับเหมาะสมกับฐานจำนวนผู้ใช้งาน จึงมองว่าในระยะยาวไม่น่าจะเพิ่มการแข่งขันเพื่อแย่งลูกค้าสูงไปกว่าปัจจุบันนี้

    แต่สถานการณ์ระยะสั้นคือ COVID-19 แม้ดูเผินๆ จะทำให้มีการใช้งานดาต้าสูงขึ้น แต่ที่จริงนั้นมีองค์กรขนาดใหญ่ไม่มากที่พร้อมลงทุนค่าแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตเพิ่มเติม ขณะที่บริษัทขนาดเล็กหรือบุคคลทั่วไปน่าจะต้องการปรับลดราคาแพ็กเกจเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม บริษัทที่มีพื้นฐานมั่นคงน่าจะยังมีรายได้ทรงตัวต่อไปได้ เช่น ADVANC, INTUCH

    รายนามนักวิเคราะห์จาก เอเซีย พลัส: เอนกพงศ์ พุทธาภิบาล, ภราดร เตียรณปราโมทย์, ชาญชัย พันทาธนากิจ, ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์, สุวัฒน์ วัฒนพรพรหม, นลินรัตน์ กิตติกาพลรัตน์, เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม, นวลพรรณ น้อยรัชชุกร และประสิทธิ์ รัตนกิจกมล

    ]]>
    1271211
    ใหญ่จัด! มูลค่าตลาดของ Alphabet บริษัทแม่ Google แตะ 1 ล้านล้านเหรียญเป็นครั้งแรก https://positioningmag.com/1261123 Fri, 17 Jan 2020 16:55:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261123 มาร์เก็ตแคปของ Alphabet บริษัทแม่ Google แตะ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 30 ล้านล้านบาท) เป็นครั้งแรก มูลค่าดังกล่าวเทียบได้กับจีดีพีทั้งประเทศเนเธอร์แลนด์ หรือใหญ่กว่าจีดีพีประเทศไทย 1.8 เท่า Alphabet ถือเป็นบริษัทที่ 4 ที่ทำสำเร็จในสหรัฐอเมริกาต่อจาก Apple, Amazon และ Microsoft

    ก่อนหน้านี้ในปี 2018 Apple คือบริษัทแรกที่มูลค่าตามราคาตลาด หรือ มาร์เก็ตแคปแตะ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ จากนั้นจึงตามด้วย Microsoft และ Amazon อย่างไรก็ตาม เหลือเพียง Apple และ Microsoft ที่ยังยืนระยะมาร์เก็ตแคปสูงกว่า 1 ล้านล้านเหรียญ ส่วน Amazon นั้นมูลค่าตลาดได้ลดลงไปแล้ว

    บรรดานักวิเคราะห์ในตลาดต่างมีความมั่นใจในวิสัยทัศน์ ของ Sundar Pichai ซีอีโอคนใหม่ของ Alphabet ผู้ขึ้นมารับตำแหน่งต่อจาก Larry Page ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอที่ประกาศสละตำแหน่งและลดบทบาทเมื่อเดือนธันวาคม 2019 พร้อมๆ กับ Sergey Brin ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานบริษัทที่ประกาศลดบทบาทเช่นกัน

    Sundar Pichai ซีอีโอคนใหม่ของ Alphabet

    ก่อนหน้าจะได้รับแต่งตั้ง Pichai ดำรงตำแหน่งซีอีโอ Google บริษัทลูกอันเป็นแกนหลักธุรกิจของ Alphabet อยู่แล้ว โดยเขาสามารถนำทีมบริหารสร้างผลงานรายได้และกำไรได้อย่างสม่ำเสมอ จากผลิตภัณฑ์และบริการในปัจจุบัน เช่น YouTube, Android

    แต่ในแง่ของการลงทุนระยะยาวหรือการทดลองเทคโนโลยีใหม่ เช่น รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ โดรนขนส่งของ ที่ผ่านมาสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากมุมมองของ Larry Page ซึ่งหลังจากนี้ Pichai จะเป็นผู้ชี้ชะตาองค์กรยักษ์นี้ทั้งหมดแทนที่ซีอีโอเก่า อย่างไรก็ตาม Page กับ Brin ยังเป็นผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิโหวตในบอร์ดบริหาร ทำให้พวกเขายังคงมีอิทธิพลต่ออนาคตของ Alphabet อยู่

    Waymo รถยนต์ไร้คนขับจากการพัฒนาของ Google

    นักวิเคราะห์มองบวกกับบริษัทนี้ เหตุผลอีกส่วนหนึ่งมาจากธุรกิจ “คลาวด์” แม้ว่า Google Cloud จะยังตามหลังผู้นำตลาดอย่าง Amazon และ Microsoft อีกไกลโข แต่ธุรกิจนี้ก็สามารถเติบโตเป็นเท่าตัว ได้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2018 ถึงกรกฎาคม 2019 (17 เดือน) ส่งให้รายได้ Google Cloud โตจาก 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ

    บริษัทตั้งเป้าจะเติบโตเท่าตัวอีกในรอบปีต่อไปสำหรับบริการ Google Cloud หลังจากที่ทุ่มลงทุน ไปมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มพนักงานขาย 3 เท่าตัว หรือเพิ่มบริการ Google Cloud Health ขึ้นมาบุกภาคธุรกิจนี้โดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม Google  ยังต้องเผชิญความท้าทาย เนื่องจากในตลาดมีประเด็นเรื่องความไว้ใจที่จะฝากข้อมูลไว้กับบริษัท

    ทิม ไซแนน ผู้อำนวยการ Google Cloud ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    นอกจากนี้ นักวิเคราะห์บางรายยังมองว่าธุรกิจหลักของ Google นั่นก็คือ “ค่าโฆษณา” ยังมีความมั่นคงและทำรายได้ได้ดีด้วย โดย Bank of America ปรับราคาเป้าหมายของ Alphabet ขึ้นเมื่อเดือนมกราคม ส่งให้ราคาหุ้นบริษัทเติบโตเกือบ 1% ทันที

    มุมมองบวกของตลาดต่อ Alphabet ปีนี้นับว่าเป็นทิศทางตรงข้ามกับช่วงปลายเดือนเมษายนปีก่อน เวลานั้น Alphabet รายงานรายได้และกำไรไตรมาส 1 ปี 2019 ซึ่งออกมาไม่ค่อยดีนัก ทำให้หุ้นของบริษัทร่วงลงทันที 7.5% คิดเป็นมูลค่าตลาดที่หายไปถึง 6.7 หมื่นล้านเหรียญ

    มูลค่าตลาด 1 ล้านล้านเหรียญจะอยู่อีกนานแค่ไหนอาจต้องรอชมการประกาศผลประกอบการประจำปี 2019 ที่ Alphabet จะรายงานตลาดในวันที่ 3 กุมภาพันธ์นี้

    สำหรับการคาดการณ์บริษัทต่อไปที่จะขึ้นแท่น “1 ล้านล้าน” ตลาดมองไปที่ Facebook ซึ่งปัจจุบันมีมาร์เก็ตแคปอยู่ที่ 6.2 แสนล้านเหรียญ จึงมีความเป็นไปได้ที่บริษัทเทคยักษ์ใหญ่รายนี้จะเติบโตไปสู่ตัวเลขดังกล่าวเป็นรายที่ 5

    Source

    ]]>
    1261123
    2563 “ปีแห่งคนกล้า” SCB แนะลงทุน “หุ้น” กลุ่มวัฏจักร-พลังงาน, ธนาคาร, การแพทย์ https://positioningmag.com/1259938 Thu, 09 Jan 2020 08:03:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1259938
  • SCB วิเคราะห์ตลาดหุ้นปีหนู ประเมินเศรษฐกิจไทยกระเตื้อง สภาวะตลาดหุ้นไทยปีนี้สดใส หลังจากปีก่อนไม่เติบโต สวนทางตลาดประเทศพัฒนาแล้ว
  • จับตาปัจจัยลบต้นปี 3 ด้าน ความขัดแย้งสหรัฐฯ-อิหร่าน, ภัยแล้ง, โรคปอดปริศนาในจีน เชื่อว่าผลกระทบไม่ร้ายแรง แต่อาจมีผลกับหุ้นบางกลุ่ม
  • ภาพรวมครึ่งปีแรก 2563 แนะนำลงทุนหุ้นกลุ่มวัฏจักรที่ราคาไม่สูงแต่ประมาณการกำไรดี เช่น กลุ่มพลังงาน ธนาคาร การแพทย์ ลงทุนเป็นพอร์ตระยะสั้น ทำให้ปีนี้เป็น “ปีแห่งคนกล้า” รับความเสี่ยงเพื่อทำกำไร
  • กลยุทธ์ลงทุนหุ้นปี 2563 พร้อมความเห็นต่อสถานการณ์ความเสี่ยงต้นปีโดย SCBS “สุกิจ อุดมศิริกุล” กรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS) เปิดข้อมูลคาดการณ์เศรษฐกิจโลก จีดีพีโลกเติบโตที่ 3.1% ใกล้เคียงปีก่อน โดยจีดีพีสหรัฐฯ น่าจะเติบโตลดลงเหลือ 1.7% เช่นเดียวกับจีนซึ่งจีดีพีน่าจะโตลดลงเหลือ 5.7% ในขณะที่ประเทศไทยนั้น SCBS เชื่อว่าจีดีพีน่าจะโต 2.8% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนซึ่งเติบโตที่ 2.5%

    สาเหตุที่มองเศรษฐกิจไทยเชิงบวก เนื่องจากงบประมาณภาครัฐกำลังจะผ่านความเห็นชอบ ทำให้เม็ดเงินลงทุนของรัฐที่ล่าช้าไปในปีก่อนจะเข้าสู่ระบบภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้แทน อีกส่วนหนึ่งคือท่าทีของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่มีนโยบายผ่อนคลายมากขึ้น โดยเฉพาะมาตรการเข้มงวดอัตรา LTV สำหรับสินเชื่อบ้านซึ่งอาจจะปลดล็อกให้เข้าถึงง่ายขึ้นเร็วๆ นี้ เป็นผลดีกับภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

    อย่างไรก็ตาม สุกิจชี้ให้จับตาเศรษฐกิจจีนเพิ่มเติม แม้ว่าทุกสำนักจะคาดการณ์ว่าจีดีพีจะโตต่ำกว่า 6% แต่เป็นไปได้ว่าปีนี้จีนจะเปลี่ยนมาใช้นโยบายเชิงรุกเพื่อดันการเติบโตของเศรษฐกิจให้มากกว่า 6%

    ส่วนสภาวะ ตลาดหุ้น มองว่าตลาดหุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วได้ปรับตัวสูงขึ้นมากตั้งแต่ปีก่อน ทำให้ปีนี้น่าจะชนเพดาน และกลายเป็นตลาดหุ้นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะอาเซียนที่มีโอกาสปรับขึ้น เจาะไปที่ ตลาดหุ้นไทย ซึ่งปีก่อนไม่เติบโตขึ้น ปีนี้น่าจะเป็นโอกาสการลงทุน คาดว่าจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 1,550-1,750 จุด

     

    เรื่องร้อนต้นปีหนู : ศึกสหรัฐฯ-อิหร่าน ภัยแล้ง และโรคปอด

    สุกิจยังกล่าวถึงปัจจัยลบต้นปี 2563 ซึ่งหลายฝ่ายมีความกังวล เรื่องที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคือ “ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ-อิหร่าน” จากท่าทีของโดนัลด์ ทรัมป์ในการแถลงวานนี้และเสียงตอบรับของประเทศอื่นในโลก เชื่อว่าความขัดแย้งนี้ไม่น่าจะยกระดับสู่สงครามเต็มรูปแบบ เป็นเพียงความขัดแย้งของ 2 ประเทศ

    ส่วนการที่อิหร่านอาจจะปิดช่องแคบฮอร์มุซ ช่องแคบที่เป็นทางผ่านของปริมาณน้ำมันดิบ 70% ของโลก สุกิจมองว่าไม่น่าจะเกิดขึ้น เนื่องจากจะเป็นการตอบโต้ที่กระทบกับทั้งโลก ไม่ใช่เฉพาะสหรัฐอเมริกา และอิหร่านไม่น่าจะเปิดแผลความขัดแย้งกับประเทศอื่นเพิ่ม ในขณะที่ประเทศอื่นยังไม่มีท่าทีสนับสนุนสหรัฐฯ ในการโจมตีอิหร่านแต่อย่างใด

    (photo: Shutterstock)

    ดังนั้นเหตุการณ์นี้น่าจะมีผลทางจิตวิทยา ทำให้ราคาน้ำมันดิบบวกเพิ่มได้อีก 10 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล หรือไม่เกิน 75 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ไม่น่าจะเกิน 80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ยังไม่ถึงระดับที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อน่ากังวล เพราะซัพพลายน้ำมันดิบในมือสหรัฐฯ ยังมีสูง ในขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจะมีผลเชิงบวกกับธุรกิจพลังงานและปิโตรเคมี แต่มีผลลบกับกลุ่มการบินและเดินเรือทางทะเล

    ปัจจัยลบต่อมาคือ “ภัยแล้ง” จะมีผลกระทบกับความสามารถในการใช้จ่ายของกลุ่มเกษตรกร ซึ่งจะมีผลต่อเป็นลูกโซ่กับธุรกิจค้าปลีก แต่อาจไม่ร้ายแรงมาก เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายเยียวยาผู้ประสบภัยแล้ว

    “สุกิจ อุดมศิริกุล” กรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS)

    ส่วนสุดท้ายคือ “โรคปอดระบาดในจีน” จะเป็นผลกระทบเพิ่มเติมต่อธุรกิจท่องเที่ยวและร้านอาหาร อย่างไรก็ตาม ภาคธุรกิจนี้มีปัญหาเดิมอยู่แล้ว โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมซึ่งมีภาวะล้นตลาด

    แนะลงทุน “หุ้นวัฏจักร” ทำกำไรระยะสั้น

    จากปัจจัยต่างๆ ข้างต้น SCBS แนะนำการจัดพอร์ตลงทุนปีนี้ ให้นักลงทุนถือครองหุ้นปลอดภัยคุณภาพสูงต่อไปในระยะยาว และมองหาหุ้นวัฏจักรที่มีค่า beta สูงจัดพอร์ตซื้อขายระยะสั้นไม่เกิน 6 เดือน โดยในไตรมาส 1/63 แนะนำหุ้นที่มีลักษณะเหล่านี้ 1.หุ้น global play กำไรฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก 2.ราคาน่าสนใจ ราคาลงต่ำกว่าที่ควรเมื่อปี 2562 3.บริษัทมีการปรับประมาณการกำไรขึ้น มีประเด็นการเติบโตเฉพาะตัว

    ทำให้กลุ่มหุ้นวัฏจักรที่น่าจะเติบโตดีในปีนี้ ได้แก่ กลุ่มปิโตรเคมี (เช่น IVL) โรงกลั่น (TOP) กลุ่มพลังงาน กลุ่มการแพทย์ (BCH) กลุ่มธนาคาร (TCAP, BBL) กลุ่มขนส่ง กลุ่มสื่อสาร กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

    ส่วนภาพรวมตลอดปี 2563 เชื่อว่า ในไตรมาส 1 หุ้นจะเป็นขาขึ้นแต่ได้รับผลกระทบบ้างจากความเสี่ยงระดับโลก ไตรมาส 2 จะปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ส่วนไตรมาส 3-4 น่าจะแกว่งตัวหรือปรับลง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ

    ]]>
    1259938
    เตรียมใจ! สรุปวิเคราะห์ทิศทางเศรษฐกิจ 2020 ส่งออก-ค่าเงิน-ตลาดหุ้นไทย จาก KBank https://positioningmag.com/1255301 Thu, 28 Nov 2019 12:10:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1255301 ดูท่าจะต้องเหนื่อยกันยาว กสิกรไทยมองปีหน้าเศรษฐกิจไทยยังเปราะบาง คาด GDP โตแค่ 2.7% ส่งออกติดลบ-เสียมาร์เก็ตเเชร์ เเถมเเนวโน้มค่าเงินบาทในปี 2020 จะแข็งค่ามากขึ้นอยู่ที่ 29.70 – 29.75 บาท/ดอลลาร์  ส่วนตลาดหุ้นไม่โตเเต่พอลงทุนได้ ยังมีอุตสาหกรรมที่น่าสนใจเช่น ท่องเที่ยว เฮลท์เเคร์  เเนะนำให้ลงทุนต่างประเทศไว้บ้าง

    Positioning สรุปประเด็นสำคัญที่คุณต้องรู้จากสัมมนา “ส่องทิศทางเศรษฐกิจปีชวด” จัดโดยธนาคารกสิกรไทย กับมุมมองสภาพเศรษฐกิจในปีหน้าที่โลกกำลังเผชิญความท้าทาย เเละเศรษฐกิจไทยต้องเตรียมตัวเตรียมใจไว้เหมือนกัน

    ประเมินปีหน้าโตเเค่ 2.7% ห่วงไทยโดนเเย่งมาร์เก็ตเเชร์ส่งออก

    กอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เปิดเผยว่า ในปี 2563 คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของไทยจะเติบโตที่ระดับ 2.7% ซึ่งใกล้เคียงกับปีนี้

    โดยได้รับเเรงกดดัยจากปัจจัยอย่าง ภาคการส่งออกที่หดตัวต่อเนื่องที่ระดับ -2% เเละการบริโภคเอกชนที่คาดว่าจะเติบโตในอัตราชะลอตัวลงที่ 2.5% จากปีนี้ที่คาดการณ์เติบโต 3.2% นอกจากนี้ไทยยังมีภาระหนี้ครัวเรือนที่สูง

    “ในช่วงที่ค่าเงินบาทเเข็งทำให้เราเสียมาร์เก็ตเเชร์ในตลาดส่งออก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมาก และการที่สินค้าจีนส่งไปสหรัฐฯ ลำบากขึ้นก็ทำให้จีนหันตลาดมายังอาเซียน ซึ่งเคยเป็นตลาดส่งออกของไทย”

    โดยเศรษฐกิจไทยปี 2562 ยังคงเป้าหมายเติบโตในกรอบ 2.6-2.8% มีแนวโน้มอยู่ในกรอบล่าง และการส่งออกคาดการณ์ -1%

    “เราให้การส่งออกปีหน้าติดลบ ด้วยปัจจัยภายนอกอย่างสงครามการค้าที่ยืดเยื้อเเละปัจจัยภายในอย่างปัญหาในเชิงโครงสร้างที่กำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย หนี้ครัวเรือนสูง เศรษฐกิจยังเปราะบาง”

    อย่างไรก็ตาม คาดว่าปัจจัยที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปี 2020 จะเป็นการลงทุนของภาครัฐที่จะได้รับการอนุมัติในช่วงต้นปีหน้า

    “มองว่าเเม้การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะมีการลดดอกเบี้ย แต่ก็ไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร จึงคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะยังคงดอกเบี้ยนโยบายในปีหน้า”

    สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทในปี 2020 คาดว่าจะแข็งค่ามากขึ้น โดยกรอบเคลื่อนไหวอยู่ที่ 29.70 – 29.75 บาท/ดอลลาร์ ในครึ่งปีแรก และ 29.20-29.25 บาทในสิ้นปี จากสิ้นปี 2562 คาดว่าจะอยู่ที่ 30.50 บาท บนที่ตั้งว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25 บาท ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีเเรกเเละเดือน ก.ย. พร้อมคาดว่า ธปท.จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิมที่ 1.25%

    ขณะที่ความเห็นเกี่ยวกับสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนว่าจะสิ้นสุดหรือบรรเทาลงหรือไม่นั้น ผู้บริหารกสิกรไทยตอบว่า คาดว่าจีนจะยังคงดูสถานการณ์การเลือกตั้งสหรัฐฯ ในช่วงปลายปี 2020 เเละยังคงต้องรอดูว่า “โดนัลด์ ทรัมป์” ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะถูกถอดถอนก่อนหรือไม่ จีนคงยังร่วมข้อตกลงในช่วงนี้ เพราะถ้ามีการเปลี่ยนตัวผู้นำก็จะเจรจาใหม่ลำบาก เเละคิดว่าหากพรรคคู่เเข่งอย่างเดโมเเครตจะเดินเกมก็คงจะเป็นช่วงเดือน ก.ค. เหมาะที่สุด และการที่จีนอยากขึ้นเป็นผู้นำเทคโนโลยีโลก โดยสั่นสะเทือนสหรัฐฯ ด้วยเทคโนโลยี 5G นั้นก็เป็นเรื่องที่น่าจับตามอง

    มองเป้า SET Index ปี 2020 ที่ 1,725 จุด 

    กวี ชูกิจเกษม รองกรรมการผู้จัดการ บล.กสิกรไทย เปิดเผยว่าได้มองเป้าหมายดัชนีหุ้นไทยปี 2020 ไว้ที่ 1,725 จุด โดยทิศทางตลาดหุ้นไทยในปีหน้าน่าจะแกว่งตัวในกรอบ เเละคาดว่ากำไรบริษัทจดทะเบียนไทยในปีหน้าไม่น่าจะดีเท่ากับปีนี้

    เเละอีกหนึ่งสิ่งที่เป็นกังวลคือ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่มี New High เเต่เศรษฐกิจในประเทศไม่ดี ทั้งเรื่องอัตราการว่างงานเเละการบริโภคภายในประเทศ สวนทางกับบริษัทในสหรัฐฯ ที่เป็นบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ มีการเติบโตสูงเเละมีรายได้จากทั่วโลก

    สำหรับการเติบโตของตลาดหุ้นไทยนั้น เขามองว่า ตลาดหุ้นไทยยังโตได้เเคบเนื่องจากเราไม่มีบริษัทเทคโนโลยีในประเทศที่สร้างมูลค่าระดับโลก หากถามว่าโตไหม ก็คงโตได้ เเต่จะไม่โตไปไกลกว่านี้ ถ้าไม่มีบริษัทเทคโนโลยีใหญ่เกิดขึ้นมา อย่างไรก็ตาม เป็นโอกาสของบริษัทภาคการท่องเที่ยว การบริการ และเฮลท์แคร์ที่เป็นจุดเด่นของไทยจะโตขึ้นมาได้มากเเละเเนะนำให้ซื้อหุ้นต่างประเทศไว้ด้วย

    เลือกหุ้นอุตฯ ที่ไม่ใช่อุตฯ

    เมื่อถามว่า “ปีหน้ายังคงลงทุนได้ไหม” กวีตอบว่า “ยังลงทุนได้เเต่ต้องเลือกให้ดี”

    โดยแนะนำเทคนิคเลือกหุ้นในตลาดไทย ตามทิศทางเศรษฐกิจในปีหน้า 3 ข้อ ได้แก่ 1) ลงทุนในบริษัทไทยที่มีแนวโน้มเติบโตได้ในอาเซียน 2) ลงทุนในบริษัทที่สามารถเติบโตในประเทศได้ ไม่พึ่งพาการส่งออก และ 3) ลงทุนในหุ้นของอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมหนัก แต่เป็นภาคบริการ โรงแรม ท่องเที่ยวและเฮลท์แคร์

    แนะหุ้นเด่นน่าลงทุน  

    สำหรับ หุ้นกลุ่มที่น่าลงทุน มองเป็นหุ้นที่มีกำไรคงที่ และมีความเกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เช่น กลุ่ม ICT ที่มีการแข่งขันน้อยและการลงทุนในเทคโนโลยี 5G ใช้เงินลงทุนไม่มาก โดยแนะหุ้น ADVANC และ DTAC, กลุ่มค้าปลีก สินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันอย่าง CPALL รวมถึงพลังงานต้นน้ำ อย่าง PTTEP และกลุ่มท่องเที่ยว อย่าง MINT จากการขยายโรงแรมไปในยุโรป และกลุ่มหุ้นปันผล จากอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ เช่น TISCO ที่ให้ผลตอบแทนในระดับ 7%, RATCH ที่ให้ผลตอบแทนในระดับ 4% และกองทุน TFFIF

    ส่วน หุ้นที่ควรหลีกเลี่ยง การลงทุนในปีหน้า คือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกและมีความไม่แน่นอนของกำไร อย่าง กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และธนาคารพาณิชย์ ที่มีความเกี่ยวข้องกับหนี้ NPL รวมถึงกลุ่มปิโตรเคมี ที่อยู่ในช่วงขาลงและกลุ่มค้าปลีก ที่ได้รับผลกระทบจากการบริโภคที่ชะลอตัวและหนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังต้องมองกลุ่มท่องเที่ยวที่คาดว่าจะทำกำไรได้ในระดับใกล้เคียงกับปีนี้ เนื่องจากได้รับผลกระทบในเรื่องเงินบาทแข็งค่าและการส่งออกที่หดตัว

    ภาคท่องเที่ยวยังพอช่วยได้ 

    ด้าน ดร.พิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประเมินว่า จีดีพีของไทยปีนี้จะอยู่ที่ระดับ 2.7% และคาดว่าปี 2020 จะอยู่ที่ระดับ 3.3% แม้การส่งออกจะเป็นขาลง แต่ก็จะได้ภาคการท่องเที่ยวและบริการมาช่วยเสริม ซึ่งมองว่านักท่องเที่ยวจีนเริ่มกลับมาเที่ยวเมืองไทยแล้ว ขณะที่ช่วงที่นักท่องเที่ยวจีนลดลงไปนั้น ก็ได้นักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่อย่าง “อินเดีย” มาช่วย

    และสิ่งสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยในปีหน้าคือ การลงทุนจากต่างประเทศ ในอุตสาหกรรมต่างๆ อย่าง เกษตร แร่ เซรามิกและโลหะขั้นมูลฐาน เครื่องใช้ไฟฟ้าและเคมีภัณฑ์ โดยช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทยสูงสุด คือญี่ปุ่น จีน และสวิตเซอร์แลนด์ ตามลำดับ

    ทั้งนี้ การส่งออกไทยใน 9 เดือนแรกของ ปี 2019 หดตัวลง 2.1% ที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า อย่างไรก็ดี ไทยยังมีสินค้าที่ทดแทนจีนได้ดีในตลาดสหรัฐฯ เช่น ปลานิลแช่แข็ง กุ้งและปลาหมึกแช่แข็ง เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ แผงวงจรรวม และน้ำมันเครื่อง เป็นต้น ขณะที่สินค้าที่ทดแทนสหรัฐฯ ได้ดีในตลาดจีน ได้แก่ น้ำแอปเปิล น้ำผึ้ง เฟอร์นิเจอร์ ฝาพลาสติก เป็นต้น

    เศรษฐกิจไทยยังเสี่ยง

    สรรค์ อรรถรังสรรค์ ผู้ชำนาญการงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2020 ยังมีความเสี่ยงอยู่มาก เงินในระบบหมุนเวียนในระบบของไทยลดลงอย่างมากจากในปี 1999 อยู่ที่ 12 รอบ ตอนนี้เหลือไม่ถึง 6 รอบ เเละการเจรจายุติสงครามการค้ายังไม่เเน่นอน รวมถึงเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงจาก 2.3% เหลือ 1.8% ทำให้เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วชะลอลงด้วย ขณะที่ประเทศในเอเชียที่พึ่งพากำลังซื้อในประเทศ อย่างอินเดียเเละฟิลิปปินส์ยังเติบโตได้ดี

    ส่วนไทยและสิงคโปร์ ที่พึ่งพาการส่งออก มีโอกาสโตเร่งตัวขึ้นจากฐานที่ต่ำในปี 2562 รวมถึงการใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำในหลายประเทศ ทำให้นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนในเอเชียและไทย

    ด้าน พีรพรรณ สุวรรณรัตน์ ผู้ชำนาญงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุนอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า มาตรการต่างๆ ที่ธปท.ออกมาเพื่อบรรเทาการเเข็งค่าของเงินบาทนั้นใช้ไม่ได้ผลนัก เนื่องจากผู้ส่งออกมีต้นทุนการเงิน ไม่สามารถพักเงินดอลลาร์ได้อย่างที่ผ่อนคลายให้

    สรุปทิศทางเศรษฐกิจปีชวด

    • เศรษฐกิจโลก

    ยังเผชิญความไม่แน่นอนจากการบังคับใช้ภาษีนำเข้าสหรัฐฯ-จีนแม้การเจรจามีสัญญาณดีขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯยังนำโดยการบริโภคภาคเอกชน อย่างไรก็ดี การผลิตที่อ่อนแอลงอาจส่งผลกระทบต่อภาวะการจ้างงานในระยะข้างหน้า ทำให้ประเมินว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ มีแนวโน้มลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 2 ครั้งในปี 2020

    • เศรษฐกิจไทย

    มีแนวโน้มชะลอตัวลงตามปัจจัยต่างประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังเศรษฐกิจในประเทศแล้ว การส่งออกของไทยหดตัวต่อเนื่องจากผลกระทบของนโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ผ่านการเป็นห่วงโซ่การผลิตของจีนและอุปสงค์ในตลาดโลกที่ตกต่ำลง ทำให้การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมอ่อนแอลง ส่งผลถึงการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ลดลง

    ขณะที่นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐอาจมีผลจำกัดและเป็นการวางเป้าหมายเพียงระยะสั้น โดยมีข้อจำกัดสำคัญจากหนี้ครัวเรือนที่สูง รวมถึงปัจจัยเชิงโครงสร้าง เช่น สังคมผู้สูงอายุ เป็นต้น

    • เงินบาท

    ยังมีแนวโน้มแข็งค่า โดยประเมินว่าความเสี่ยงของโลกยังสูง โดยเฉพาะประเด็นสงครามการค้า ทำให้นักลงทุนยังคงต้องการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย อาทิ ค่าเงินบาท เนื่องจากไทยมีเสถียรภาพต่างประเทศที่แข็งแกร่ง ทั้งดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุลสูงและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ เป็นปัจจัยดึงดูดเงินทุนไหลเข้าไทยและกดดันเงินบาทให้แข็งค่า

    ทั้งนี้ แม้ว่า ธปท. จะออกมาตรการชะลอการแข็งค่าของเงินบาทแต่อาจยังไม่สามารถลดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่อยู่ในระดับสูงได้ ทำให้ธนาคารกสิกรไทยประเมินว่า เงินบาทจะแข็งค่าต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 29.25 ณ สิ้นปี 2020

    อย่างไรก็ตาม เงินบาทอาจอ่อนค่าอย่างรวดเร็วหากความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกสูงขึ้น ความกังวลดังกล่าวอาจสะท้อนจากสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐที่อ่อนแอลง เป็นผลให้มีเงินทุนไหลออกจากไทยกลับไปยังสหรัฐฯ ซึ่งมีความปลอดภัยมากกว่า

    ความสามารถในการผลิตของแรงงานในแต่ละประเทศ

     

    ]]>
    1255301