อี-คอมเมิร์ซ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 29 Jun 2021 13:49:27 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ผู้บริโภคไทยมุ่งซื้อสินค้าบน “มาร์เก็ตเพลซ” แต่ทางที่ยั่งยืนกว่าของแบรนด์คือดึงลูกค้าเข้า D2C https://positioningmag.com/1339611 Tue, 29 Jun 2021 13:49:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1339611 “วันเดอร์แมน ธอมสัน” เปิดรายงานวิจัยผู้บริโภคชาวไทย พบว่า คนไทยตอบรับการช้อปปิ้งออนไลน์สูงที่สุดในโลก โดยช่องทางที่คนไทยเลือกใช้มากที่สุดคือ “มาร์เก็ตเพลซ” แต่ที่จริงแล้ว หนทางที่ยั่งยืนของแบรนด์คือการดึงลูกค้าให้ช้อปผ่าน D2C (Direct-to-Consumer) เช่น เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของแบรนด์ แล้วจะดึงจุดเด่นให้ลูกค้าหันมาใช้บริการ D2C แทนได้อย่างไร ติดตามได้ที่บทความนี้

วันเดอร์แมน ธอมสัน ประเทศไทย จัดทำวิจัย Future Shopper ใน 17 ประเทศทั่วโลก จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามรวม 28,000 คน เฉพาะประเทศไทยมีผู้ตอบแบบสอบถาม 1,025 คน ครอบคลุมทุกกลุ่มอายุทั้ง Gen X, Gen Y, Gen Z แบ่งเป็นเพศชาย 46% และเพศหญิง 54% และแบ่งเป็นคนในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 58.8% ที่เหลือ 41.2% อยู่ในหัวเมืองต่างจังหวัดทั่วประเทศ

รายงานชิ้นนี้เผยให้เห็นว่า พฤติกรรมผู้บริโภคได้เปลี่ยนไปแล้วหลังเกิดโรคระบาด COVID-19 เพราะคนหันมาใช้ช่องทางออนไลน์ซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น และจะเป็นพฤติกรรมระยะยาว โดยเฉพาะคนไทยที่มีถึง 94% ตอบว่า การช้อปออนไลน์เป็นผู้ช่วยชีวิตในปี 2563 เป็นอัตราที่สูงที่สุดในโลก และคนไทย 90% ยังตอบด้วยว่า ตนจะยังใช้ช่องทางดิจิทัลช้อปปิ้งต่อไปในปีหน้า เทียบกับค่าเฉลี่ยโลกที่มีเพียง 62% เท่านั้น

เห็นได้ว่า ช่องทางออนไลน์เป็นช่องทางที่สำคัญยิ่งของแบรนด์ และควรจะให้ความสำคัญควบคู่ไปกับช่องทางออฟไลน์ เพื่อเข้าถึงลูกค้าได้แบบ Omnichannel

 

ลูกค้าชอบ “มาร์เก็ตเพลซ” เพราะสะดวก

หนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจของรายงานคือ พฤติกรรมผู้บริโภคไทยบนออนไลน์สามารถแบ่ง journey การซื้อได้เป็น 3 ขั้น คือ ได้รับแรงบันดาลใจในการซื้อ, ค้นหาสินค้า และ การซื้อสินค้า ซึ่งการซื้อในอุดมคติของลูกค้าคือต้องการให้ 3 ขั้นตอนนี้จบภายในแพลตฟอร์มเดียว

โดยวันเดอร์แมนฯ พบว่า “มาร์เก็ตเพลซ” (เช่น ลาซาด้า, ช้อปปี้) คือช่องทางอันดับ 1 ในทุกๆ ขั้นตอนของลูกค้า โดยมีรายละเอียดดังนี้

“ได้รับแรงบันดาลใจในการซื้อ”
อันดับ 1 – มาร์เก็ตเพลซ 70%
อันดับ 2 – โซเชียลมีเดีย 61%
อันดับ 3 – เสิร์ชเอ็นจิ้น เช่น Google 38%

“ค้นหาสินค้า”
อันดับ 1 – มาร์เก็ตเพลซ 78%
อันดับ 2 – โซเชียลมีเดีย 58%
อันดับ 3 – เสิร์ชเอ็นจิ้น เช่น Google 44%

“ซื้อสินค้า”
อันดับ 1 – มาร์เก็ตเพลซ 45%
อันดับ 2 – เว็บไซต์ของร้านค้าปลีก เช่น เทสโก้, บิ๊กซี, ท็อปส์ 11%
อันดับ 3 (ร่วม) – โซเชียลมีเดีย และ เว็บไซต์ของแบรนด์ที่จะซื้อ 10% เท่ากัน

ปัจจุบันลูกค้าต้องการ journey การซื้อที่สั้นที่สุด ทำให้ลูกค้ามักจะไม่ไปเสิร์ชใน Google เพื่อหาแหล่งซื้อสินค้าอีกแล้ว แต่มักจะตรงไปที่มาร์เก็ตเพลซทันทีเพื่อมองหาสินค้าที่ต้องการ และมักจะจบการซื้อสินค้าได้ในแพลตฟอร์มนี้ ยกเว้นบางหมวดสินค้าที่อาจจะมีสัดส่วนการมองหาและซื้อสินค้าในเว็บไซต์ของร้านค้าปลีกมากกว่า เช่น ของกินของใช้ (grocery) เนื่องจากเป็นสินค้าประเภทที่ผู้บริโภคมักต้องการสั่งและส่งของแบบออนดีมานด์ ซึ่งร้านค้าปลีกออนไลน์เหล่านี้ตอบสนองได้ดีกว่า

 

D2C ที่แข็งแกร่ง ยั่งยืนกว่าในระยะยาว

อย่างไรก็ตาม การดึงลูกค้าให้กลับมาช้อปผ่าน D2C หรือ Direct-to-Consumer ซึ่งเป็นช่องทางออนไลน์ของแบรนด์เองนั้น สำคัญไม่แพ้กันกับการปั้นแบรนด์ให้โดดเด่นบนมาร์เก็ตเพลซหรือโซเชียลคอมเมิร์ซต่างๆ เพราะเป็นกลยุทธ์ที่ยั่งยืนกว่าในระยะยาว

ฌอน ลี ออง ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผน วันเดอร์แมน ธอมสัน ประเทศไทย ระบุว่า ประสบการณ์ช้อปปิ้งออนไลน์กำลังถูกครอบงำโดยแพลทฟอร์มตลาดออนไลน์ เช่นเดียวกับประสบการณ์ช้อปปิ้งออฟไลน์ที่มีเครือข่ายไฮเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่เป็นผู้ครองเกม

“หากแบรนด์ไม่ต้องการตกเป็นเบี้ยล่างของผู้ทรงอิทธิพลในตลาดทั้งสองฟากฝั่ง พวกเขาจะต้องเริ่มพัฒนาแพลตฟอร์ม D2C และเส้นทางใหม่เพื่ออนาคตของตนเองในระยะยาว” ฌอนกล่าว

Photo : Shutterstock

จากผลสำรวจดังกล่าว จะเห็นได้ว่าช่องทาง D2C ไม่อยู่ใน 3 อันดับแรกของ journey ของลูกค้าในขั้นตอนหาแรงบันดาลใจและการค้นหาสินค้าเลย รวมถึงในขั้นการซื้อสินค้า ก็เป็นช่องทางที่มีสัดส่วนเพียง 10% เท่านั้น แต่มีตัวอย่างจากในประเทศจีนว่า บางแบรนด์สามารถดึงลูกค้าของตนให้ซื้อผ่าน D2C ได้ถึง 30%

 

แบรนด์จะดึงลูกค้ามาช้อปผ่าน D2C ได้อย่างไร

วันเดอร์แมน ธอมสันสอบถามผ่านแบบสำรวจนี้ว่า “อะไรจะทำให้คุณหันมาช้อปผ่านช่องทางโดยตรงของแบรนด์?” และคำตอบ 7 ข้อที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ให้ข้อมูลที่ละเอียดกว่าของสินค้า, มีสินค้าให้เลือกครบ, ราคาถูกกว่า, มีจัดส่งฟรี, มีสินค้าพิเศษ, คืนสินค้าฟรี และมีระบบลอยัลตี้ โปรแกรม

จุดสำคัญที่จะดึงดูดให้ผู้บริโภคซื้อของออนไลน์จากช่องทาง D2C ของแบรนด์ (ที่มา: วันเดอร์แมน ธอมสัน)

จากความต้องการของผู้บริโภค วันเดอร์แมนฯ ให้คำแนะนำ 4 ข้อนี้แก่แบรนด์หรือบริษัทที่กำลังพิจารณาผลักดันให้ช่องทาง D2C เป็นที่สนใจของลูกค้ามากขึ้น

  • ชูจุดเด่นของช่องทาง D2C เช่น มีระบบคืนสินค้าฟรี, มีสินค้าพิเศษ (exclusive) รวมถึงตัวแพลตฟอร์มออกแบบมาเหมาะกับการชมรายละเอียดสินค้าที่มากกว่า
  • มีพื้นที่รีวิวสินค้าที่จริงใจและโปร่งใส ปกติลูกค้ามักหันไปหามาร์เก็ตเพลซเพราะต้องการอ่านรีวิว และแม้ว่าลูกค้าที่ตรงเข้ามายังช่องทาง D2C มักจะเป็นแฟนแบรนด์ของคุณอยู่แล้ว แต่การมีรีวิวให้อ่านในเว็บไซต์ D2C จะเป็นการแสดงความโปร่งใส รวมถึงคุณยังจะได้เก็บข้อมูล feedback เพื่อไปพัฒนาสินค้าต่อได้ด้วย
  • Personalization ช่องทาง D2C ได้เปรียบเรื่องการเจาะลึกไปที่ลูกค้าเป็นรายบุคคลได้ง่ายขึ้น และยืดหยุ่นกว่าเพื่อตอบสนองลูกค้า
  • ลอยัลตี้ โปรแกรม ใช้ดาต้าของลูกค้าสร้างลอยัลตี้ โปรแกรมที่แข็งแกร่ง ไม่ใช่แค่ในด้านฟังก์ชันนอล แต่เป็นด้านอารมณ์ความรู้สึกของลูกค้าด้วย

ตัวอย่างเคสที่ใช้จุดเด่นของแบรนด์ในการดึงลูกค้าเข้า D2C เช่น Nike ประเทศจีน ดังที่ทราบกันดีว่า Nike มักจะมีรองเท้าแบบ Limited Edition ออกใหม่เสมอ ทำให้ Nike ใช้กลยุทธ์นี้ดึงลูกค้าเข้า D2C โดยการเปิดจองหรือขายผ่านเว็บไซต์ของแบรนด์เท่านั้น

]]>
1339611
ยุค “ตื่นทอง” อี-คอมเมิร์ซ ทำนักการตลาดหวังผลระยะสั้นจนอาจหลงลืม “Brand Impact” https://positioningmag.com/1335984 Tue, 08 Jun 2021 16:26:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1335984 Kantar ทำวิจัยผู้บริโภคไทยหลังผ่านพ้น 1 ปีที่เราอยู่กับโรคระบาด COVID-19 พบ 3 พฤติกรรมที่เปลี่ยนไป และเป็นแรงส่งให้นักการตลาดทุ่มทำแคมเปญการตลาดออนไลน์เพื่อดันยอดขาย “อี-คอมเมิร์ซ” …แต่การวัดเฉพาะยอดขายระยะสั้นอาจไม่ใช่ความสำเร็จอย่างเดียว แนะสร้าง “Brand Impact” ควบคู่เพื่อความยั่งยืน

Kantar ออกบทวิเคราะห์วิจัยผู้บริโภคไทย เก็บข้อมูลวันที่ 9 เมษายน 2564 จำนวน 500 คน (ช่วงหลังเกิดการระบาด COVID-19 รอบที่สาม) พบว่า การระบาดรอบนี้ ‘หนักหน่วง’ ยิ่งกว่าที่เคย โดยคนไทย 1 ใน 5 ที่สำรวจ ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการระบาด คือตนเองหรือครอบครัวหรือมีเพื่อนที่ใกล้ชิดที่ติดเชื้อ COVID-19

การระบาดที่ใกล้ตัวขึ้น ทำให้พฤติกรรมคนไทยในระยะนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัด 3 ด้าน คือ

1.ความกังวลต่อสถานการณ์และการเงิน

จากการสำรวจของ Kantar พบว่า คนไทยมีความกังวลสูงขึ้น โดย 73% กังวลกับสถานการณ์การระบาดโดยรวม ส่วนใหญ่มีความกังวลถึงอนาคตและสุขภาพจิตของตน

ทั้งนี้ จากสถิติพบว่าประเทศไทยมีอัตราผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 เพียง 15 คนต่อ 1 ล้านคน น้อยกว่าประเทศอื่นในเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นสิงคโปร์และเวียดนาม) แต่เศรษฐกิจไทยนั้นย่ำแย่กว่าทุกประเทศ โดยปีนี้คาดการณ์ว่าจีดีพีไทยจะฟื้นตัวเพียง 1.8% และอยู่ในกลุ่มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจต้องใช้เวลาอีกนานคู่กับประเทศฟิลิปปินส์

นั่นทำให้ข้อกังวลด้านการเงินของคนไทยมีสูงมาก โดย 81% ของคนไทยสนใจ “ราคา” สินค้าที่จ่ายออกไปมากกว่าเดิม

2.บ้านคือสถานที่ทำกิจกรรม “ทุกอย่าง”

เมื่อมีการระบาด คนไทยจึงอยู่บ้านมากขึ้นและทำให้บ้านคือสถานที่ทำทุกอย่างแบบ all-in-one ทั้งเรียน ทำงาน บันเทิง ช้อปปิ้ง การรับสื่อดิจิทัลจึงสูงขึ้นเกือบทุกช่องทาง เช่น เล่นเน็ต ชมวิดีโอออนไลน์ ใช้โซเชียลมีเดีย อ่านข่าวและบล็อกออนไลน์ ใช้แอปฯ สื่อสารข้อความ อีเมล ฟังพอดคาสต์/สตรีมมิ่งเพลง (กิจกรรมดิจิทัลที่คนไทยไม่ได้ทำเพิ่มขึ้นมีสิ่งเดียวคือ ฟังวิทยุออนไลน์)

3.ช้อปออนไลน์

หนึ่งในกิจกรรมที่ผู้บริโภคทั้งเอเชียทำเพิ่มขึ้นเหมือนกันคือ “ช้อปออนไลน์” โดยผู้บริโภคใช้ช่องทางนี้ซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น 39% เทียบกับก่อนเกิดโรคระบาด

 

“อี-คอมเมิร์ซ” บูม ดึงนักการตลาดทุ่มแคมเปญ

จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนของผู้บริโภค ทำให้นักการตลาดหันมาทุ่มแคมเปญโฆษณาผ่านออนไลน์มากขึ้นตั้งแต่ปีก่อน โดยข้อมูลจาก DAAT ระบุว่าเมื่อปี 2563 ออนไลน์เป็นช่องทางโฆษณาเดียวที่มีเม็ดเงินเพิ่มขึ้น 8% ส่วนช่องทางอื่นติดลบทั้งหมด

เม็ดเงินโฆษณาปี 2563 แบ่งตามช่องทางการลงทุน

กลุ่มสินค้าที่ใช้เงินโฆษณาออนไลน์สูงขึ้นมากเพื่อจับโอกาสทำยอดขายในอี-คอมเมิร์ซ เช่น ผลิตภัณฑ์นม (+41%), เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (+36%), การสื่อสาร (+25%), สกินแคร์ (+7%)

แต่เนื่องจากการแข่งขันทำตลาดที่สูงขึ้น และโลกการตลาดออนไลน์ยิ่งซับซ้อน มีช่องทางใหม่ การทำคอนเทนต์แบบใหม่ วิธีสร้างสัมพันธ์กับลูกค้าหลากหลาย นักการตลาดและแบรนด์จึงยิ่งต้องปรับตัวให้เร็ว

 

ยอดขายระยะสั้นไม่ใช่ตัวชี้วัดความสำเร็จเสมอไป

ความ “ตื่นทอง” ในการแข่งกันขายผ่าน “อี-คอมเมิร์ซ” ทำให้นักการตลาดมักลงทุนเฉพาะกับแคมเปญระยะสั้น และเน้นความเร็ว แต่การวัดความสำเร็จของแคมเปญเฉพาะกับยอดขายอาจไม่ใช่คำตอบเดียว

Kantar ชี้ให้เห็นว่าการทำแคมเปญเพื่อสร้าง ‘Brand Impact’ ระยะยาวก็สำคัญ เพราะความซื่อสัตย์ต่อแบรนด์จากลูกค้าจะช่วยสร้างยอดขายระยะยาวได้ยั่งยืนกว่า แบรนด์แข็งแรงกว่าในการผ่านพ้นวิกฤต และทำให้มูลค่าแบรนด์สูงขึ้น โดยพบว่าแบรนด์ที่มี “จุดประสงค์” ของแบรนด์ชัดเจน มีมูลค่าแบรนด์สูงขึ้น 175% ในรอบ 12 ปี เทียบกับแบรนด์ที่ไม่แข็งแรง มีมูลค่าแบรนด์สูงขึ้นเพียง 70%

ตัวอย่างเคสการสร้างแบรนด์ที่ชัดเจน

  • “แสนสิริ” วางจุดประสงค์ของแบรนด์ว่า “ทุกคนคือครอบครัว” และต้องการ “สร้างบ้านให้กับทุกคน” ทำให้กิจกรรมความเคลื่อนไหวแบรนด์ตอบโจทย์นี้คือการโอบอุ้มทุกคนในชุมชนเข้ามาอยู่ด้วยกัน เช่น ล่าสุดแสนสิริเฉลิมฉลอง Pride Month อีกครั้ง ด้วยการทำแคมเปญส่งเสียงสนับสนุน LGBTQ+
  • “Line Man” จับโอกาสในช่วง COVID-19 ทำแคมเปญจุดประสงค์ชัดเจนว่าต้องการ “เชิดชูฮีโร่ที่เรามองข้าม” นั่นคือกลุ่มไรเดอร์ส่งอาหารที่จัดส่งเดลิเวอรี่ให้คุณได้ทุกที่ทุกเวลา รวมถึงสนับสนุนธุรกิจท้องถิ่น
  • “True Coffee” อยู่ในเฟสของการยกระดับจากร้านกาแฟธรรมดาเป็นแบรนด์ที่มีนวัตกรรมประสบการณ์อาหารครบวงจร ความเคลื่อนไหวแบรนด์จึงเป็นไปในทางเดียวกัน เช่น ออกสินค้ากาแฟแบบ FMCG ส่งขายในร้านสะดวกซื้อ, ติดตั้งทดลองหุ่นยนต์บาริสต้า หรือการเสริมเมนู plant-based ในร้าน
ตัวอย่างแบรนด์ที่มีจุดประสงค์แข็งแรง : แสนสิริ, Line Man, True Coffee

บทสรุป 4 ข้อจาก Kantar

โดยสรุปแล้ว Kantar มองว่ามี 4 ข้อที่แบรนด์ควรทำเพื่อกรุยทางไปสู่การสร้างแบรนด์ให้แข็งแรง คือ

  • เล็งเห็นความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม / ความต้องการผู้บริโภคในกลุ่มสินค้าของตน
  • สร้างจุดประสงค์ของแบรนด์คุณ และแสดงออกถึงจุดประสงค์นั้นในทุกความเคลื่อนไหวของแบรนด์
  • พูดกับผู้บริโภคของคุณในแบบที่แตกต่างและมีความหมาย ไม่ใช่การสื่อสารกับเขาในฐานะลูกค้า แต่พูดคุยเหมือนกับเป็นคนคนหนึ่ง
  • ใช้ข้อมูลเพื่อทำให้ตนเองฉลาดขึ้น เร็วขึ้น และปรับตัวไวขึ้น
]]>
1335984
โกออฟไลน์! “อาลีบาบา” ทุ่ม 400 ล้านเหรียญ ถือหุ้นธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ในเวียดนาม https://positioningmag.com/1332790 Tue, 18 May 2021 14:47:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1332790 กลุ่มบริษัทภายใต้การนำของบริษัทอาลีบาบา กรุ๊ป โฮลดิ้ง (Alibaba Group Holding) บริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของจีน ได้ลงทุน 400 ล้านดอลลาร์ในบริษัทค้าปลีกในเครือของกลุ่มบริษัทเมซาน (Masan Group) ของเวียดนาม

กลุ่มบริษัทที่รวมถึงบริษัทอาลีบาบากรุ๊ป และบริษัท Baring Private Equity Asia ได้ลงนามข้อตกลงเข้าถือหุ้น 5.5% ในบริษัท The CrownX ที่เป็นบริษัทค้าปลีกในเครือของบริษัทเมซาน

บริษัท The CrownX ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2562 มีมูลค่าภายใต้ข้อตกลงที่ 6,900 ล้านดอลลาร์ เทียบเท่ากับ 93.50 ดอลลาร์ต่อหุ้น คำแถลงระบุ โดยบริษัทเมซานที่เป็นบริษัทแม่จะถือหุ้น 80.2% ในบริษัทค้าปลีกแห่งนี้

การเข้าถือหุ้นของบริษัทอาลีบาบาครั้งนี้ ทำให้บริษัท The CrownX เป็นพันธมิตรกับลาซาด้า (Lazada) บริษัทอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะช่วยเร่งตลาดออฟไลน์สู่ตลาดออนไลน์ในเวียดนาม

“บริษัท CrownX จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับลาซาด้าเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลให้กลายเป็นแพลตฟอร์มแบบออลอินวัน เพื่อรองรับการซื้อของผู้บริโภคทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์” บริษัทเมซานระบุในคำแถลง

นอกจากนี้ บริษัทเมซานยังระบุว่า บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับนักลงทุนรายอื่นๆ เกี่ยวกับการลงทุนเชิงยุทธศาสตร์เพิ่มเติมในมูลค่าราว 300-400 ล้านดอลลาร์ ในบริษัท The CrownX และคาดว่าจะบรรลุข้อตกลงได้ในปีนี้

หลังประกาศการลงทุนดังกล่าว ราคาหุ้นของบริษัทเมซานเพิ่มขึ้น 5.57% ในวันอังคารที่ 18 พ.ค. ที่ 110,000 ด่ง ทำให้บริษัทมีมูลค่าตลาดที่ 5,300 ล้านดอลลาร์

Source

]]>
1332790
บิวตี้กลับมาบวก! “ลอรีอัล” ยอดขายไตรมาสแรกโต 10.2% ได้แรงหนุนจากจีน-ออนไลน์ https://positioningmag.com/1329711 Mon, 03 May 2021 14:02:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329711 ลอรีอัล กรุ๊ป ประกาศผลประกอบการไตรมาสที่ 1 ปี 2564 โดยมียอดขายมูลค่า 7,610 ล้านยูโร เติบโต 10.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมีการขยายตัว 47.2% โดยคิดเป็นสัดส่วน 26.8% ของยอดขาย

แผนกผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพ ผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูง และผลิตภัณฑ์เวชสำอางมีผลการดำเนินงานที่โดดเด่น โดยธุรกิจทุกแผนกดังกล่าวขยายตัวขึ้นในอัตราเลข 2 หลัก แผนกผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพมีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดในประเทศต่างๆ ทั่วโลก

ขณะที่การขยายตัวของแผนกผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูงขับเคลื่อนด้วยความสำเร็จจากแบรนด์สกินแคร์ต่างๆ โดยเฉพาะลังโคม คีลส์ และเฮเลน่า รูบินสไตน์ ส่วนผลิตภัณฑ์เวชสำอางยังคงต่อยอดการเติบโตที่แข็งแกร่งในปีที่แล้ว ขณะที่ผลิตภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภคก็มีความเสถียรภาพ แต่ยังถูกฉุดรั้งจากกลุ่มผลิตภัณฑ์เมคอัพซึ่งยังคงซบเซาอยู่

ทุกภูมิภาคมียอดขายที่สูงขึ้น ยกเว้นยุโรปตะวันตกที่ยังได้รับผลกระทบจากมาตรการที่เกี่ยวพันกับวิกฤตด้านสุขภาพ โดยอเมริกาเหนือมีผลการดำเนินงานยอดเยี่ยมทั้งส่วนออนไลน์ และออฟไลน์ และทุกโซนในตลาดใหม่มียอดขายเพิ่มขึ้นมากกว่า 10%

โดยเฉพาะในโซนเอเชียแปซิฟิก ที่กลับมาเติบโตได้เทียบเท่ากับอัตราการขยายตัวในช่วงระยะเวลาก่อนที่จะเกิดโรคระบาด ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงมาก โดยได้แรงสนับสนุนอย่างชัดเจนที่สุดจากตลาดจีนที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ฌอง-ปอล แอกง ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลอรีอัล กล่าวว่า

“ในขณะที่สถานการณ COVID-19 มีพัฒนาการดีขึ้นอย่างมากเนื่องจากโครงการฉีดวัคซีนนั้น ด้วยพันธสัญญา และความมุ่งมั่นของทีมงานของลอรีอัลจากทั่วทุกมุมโลก เราจึงมีกำลังใจในการต่อสู้เพื่อเติบโตธุรกิจ เราเน้นให้ความสำคัญกับการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ และการลงทุนในปัจจัยที่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของแบรนด์ต่างๆ เราจึงเชื่อมั่นในความสามารถของบริษัทที่จะเติบโตอย่างโดดเด่นเหนือกว่าตลาด รวมทั้งการมียอดขายและผลกำไรที่เพิ่มขึ้นอีกปี”

ข้อมูลสรุปโดยแบ่งตามแผนกธุรกิจ

  • ผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพมียอดขายเพิ่มขึ้น 21.0%
  • ผลิตภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภคมียอดขายลดลง 0.7%
  • ผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูงมียอดขายเพิ่มขึ้น 14.6%
  • ผลิตภัณฑ์เวชสำอางมียอดขายโตขึ้น 28.7%

ข้อมูลสรุปโดยแบ่งตามโซนภูมิภาค

  • โซนยุโรปตะวันตกมียอดขายลดลง 2.4%
  • โซนอเมริกาเหนือมียอดขายเพิ่มขึ้น 6.3%
  • โซนตลาดใหม่
    • เอเชียแปซิฟิกมียอดขายเพิ่มขึ้น 23.8%
    • จีนมียอดขายเพิ่มขึ้น 37.9%
    • ละตินอเมริกามียอดขายเพิ่มขึ้น 15.1%
    • ยุโรปตะวันออกมียอดขายเพิ่มขึ้น 10.7%
    • แอฟริกาและตะวันออกกลางมียอดขายเพิ่มขึ้น 12.7%
]]>
1329711