อี-วอลเล็ต – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 18 Jul 2024 09:25:32 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “แอร์เอเชีย” บุกธุรกิจการเงิน! เปิดตัว “BigPay” ในไทย เริ่มจากอี-วอลเล็ต อนาคตมุ่งสินเชื่อดิจิทัล https://positioningmag.com/1483253 Thu, 18 Jul 2024 08:12:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1483253 “แคปปิตอล เอ” เจ้าของสายการบิน “แอร์เอเชีย” เปิดตัวบริการทางการเงิน “BigPay” ในประเทศไทย ประเดิมด้วยอีวอลเล็ต และบัตรเสมือนจาก Visa ใช้ชำระเงินได้ทั่วโลก พร้อมฟีเจอร์ช่วยผู้ใช้เก็บออมเงิน อนาคตเตรียมเปิดระบบให้กู้สินเชื่อดิจิทัล (Digital Lending) ตั้งเป้าหมายปี 2567 ดึงผู้ใช้ 1 แสนราย และมุ่งสู่ 1 ล้านรายภายใน 2-3 ปีข้างหน้า

“BigPay” ฟินเทคในเครือ “แคปปิตอล เอ” เจ้าของสายการบิน “แอร์เอเชีย” เริ่มต้นเปิดตัวในประเทศไทยแล้ว หลังจากก่อตั้งครั้งแรกที่มาเลเซียในปี 2560 และขยายสู่สิงคโปร์ในปี 2563

การเปิดตัว BigPay ในประเทศไทย เริ่มจากฟังก์ชันกระเป๋าเงินดิจิทัลหรือ “อี-วอลเล็ต” ที่มีฟีเจอร์พิเศษคือ “Stash” ช่วยในการเก็บออมเงิน เพราะฟีเจอร์นี้ทำให้ผู้ใช้สามารถสร้างกระเป๋าย่อยเพื่อวางเป้าหมายการเก็บออมต่างๆ ได้ภายในแอปฯ เช่น ทริปท่องเที่ยว ซื้อของขวัญ

BigPay
ตัวอย่างการใช้งาน BigPay

รวมถึงมีระบบชำระเงินผ่าน “Visa Virtual Card” หรือบัตรเสมือนแบบ Prepaid ที่ร่วมกับ Visa จึงใช้ชำระเงินได้ที่ 130 ล้านร้านค้าทั่วโลกที่รับชำระเงินผ่านระบบของ Visa อยู่ขณะนี้ สามารถใช้จ่ายแบบออนไลน์ก็ได้ หรือสั่งบัตรพลาสติก Visa Platinum Prepaid Card มาใช้ชำระเงินที่หน้าร้านค้าแบบออฟไลน์ก็ได้เช่นกัน

จุดขายของ BigPay แน่นอนว่าต้องเป็นอีโคซิสเต็มของแคปปิตอล เอเองที่มีทั้งสายการบิน “แอร์เอเชีย” และแอปพลิเคชันจองเที่ยวบินและที่พัก “AirAsia MOVE” ดังนั้น ผู้ใช้ BigPay จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เมื่อใช้ระบบนี้ชำระเงินในการจองเที่ยวบินกับแอร์เอเชีย หรือใช้จ่ายบนแอปฯ AirAsia MOVE

BigPay
บัตรพลาสติก Platinum Visa Prepaid Card

 

อนาคตมุ่งสู่ “สินเชื่อดิจิทัล”

“อภิฤดี ปรัชญาเศรษฐ” ผู้จัดการ BigPay ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ขั้นต่อไปของแพลตฟอร์มคือจะมีการปล่อย “สินเชื่อดิจิทัล” (Digital Lending) ให้กับผู้ใช้ โดยจะเน้นการออกสินเชื่อส่วนบุคคลที่เหมาะกับอีโคซิสเต็มของเครือเอง เช่น การท่องเที่ยว

ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาโมเดลธุรกิจสินเชื่อดิจิทัลว่าจะเป็นการพัฒนาระบบด้วยตนเองและขอใบอนุญาตเอง หรือการร่วมมือกับพันธมิตรสถาบันการเงินที่มีใบอนุญาตอยู่แล้วในประเทศไทยซึ่งยังอยู่ระหว่างเจรจา ทั้งนี้ บริการสินเชื่อดิจิทัลขณะนี้ BigPay ในมาเลเซียเริ่มให้บริการไปแล้วและบริษัทเป็นผู้พัฒนาระบบเครดิตสกอริ่งด้วยตนเอง ในเชิงศักยภาพในการทำระบบจึงสามารถพัฒนาเองได้

BigPay
“อภิฤดี ปรัชญาเศรษฐ” ผู้จัดการ BigPay ประจำประเทศไทย

อภิฤดีคาดว่าการปล่อยสินเชื่อดิจิทัลของ BigPay ในไทยอาจจะเริ่มต้นได้ภายในปี 2568 และจะทำให้แอปฯ เป็น “นีโอแบงก์” เต็มตัว

 

กลุ่มเป้าหมาย Gen Z เริ่มต้นที่ 1 แสนราย

สำหรับกลุ่มเป้าหมายของ BigPay อภิฤดีกล่าวว่าจะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ “Gen Z” ซึ่งในไทยมีอยู่ประมาณ 13 ล้านคน ในจำนวนนี้มี 3 ล้านคนที่เข้าสู่ช่วงวัยทำงานแล้ว มีความต้องการบริการทางการเงินที่ช่วยจัดการและเก็บออมเงิน

เบื้องต้นคาดว่าภายในปี 2567 จะมีผู้ใช้งาน BigPay ประมาณ 1 แสนราย และตั้งเป้าว่าจะไปให้ถึง 1 ล้านคนให้ได้ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า

“โทนี เฟอร์นานเดส” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แคปปิตอล เอ และ MOVE Digital

ด้าน “โทนี เฟอร์นานเดส” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แคปปิตอล เอ และ MOVE Digital เปิดเผยว่า ในแง่ธุรกิจสายการบิน ประเทศไทยถือเป็นตลาดใหญ่อันดับ 2 ของ “แอร์เอเชีย” ทำให้บริษัทมีฐานข้อมูลลูกค้าเป็นทุนเดิมที่จะช่วยต่อยอดให้กับธุรกิจการเงินได้ง่ายขึ้น รวมถึงที่ผ่านมาบริษัทมีการออกบัตรเครดิตร่วมกับ “ธนาคารกรุงเทพ” และได้ผลตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคชาวไทย จึงมีความเชื่อมั่นในตลาดไทยว่าจะให้การตอบรับ BigPay

โทนียังเปิดเผยแผนทางธุรกิจของ BigPay ว่าจะขยายบริการไปยังประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียในเร็วๆ นี้ ซึ่งจะทำให้ BigPay มีบริการใน 5 ประเทศอาเซียน สร้างอีโคซิสเต็มทำให้เป็นแพลตฟอร์มโอนเงินระหว่างประเทศได้

“บางคนบอกว่าเรามาช้าไปแล้วในธุรกิจนี้ แต่ผมมองย้อนกลับไปเมื่อ 23 ปีก่อน เราเริ่มต้นสายการบินแอร์เอเชียด้วยเครื่องบินแค่ 2 ลำ จนมาถึงวันนี้เรามี 250 ลำ ผมจึงเชื่อว่าธุรกิจนี้ยังมีที่ให้เราเติบโต และหวังว่าเราจะทำได้แบบที่แอร์เอเชียเคยทำ” โทนีกล่าว “BigPay จะใช้ปรัชญาธุรกิจแบบเดียวกับแอร์เอเชียคือให้คุณค่าสมราคาและพาทุกคนไปทุกที่ที่ไม่เคยมีใครคาดคิด”

]]>
1483253
“เซ็นทรัลพัฒนา” จับมือ “WeChat Pay” อัดโปรฯ ตลอดปี’66 ดึง “นักท่องเที่ยวจีน” ช้อปในศูนย์ฯ https://positioningmag.com/1425878 Sun, 02 Apr 2023 04:00:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1425878
  • ศูนย์การค้า “เซ็นทรัลพัฒนา” จับมือ “WeChat Pay” บริการอี-วอลเล็ตรายใหญ่แดนมังกร จัดโปรโมชันตลอดปี เพื่อกระตุ้นลูกค้าชาวจีนใช้จ่ายผ่านแอปฯ ภายในศูนย์การค้า
  • ตัวอย่างโปรฯ เด็ดปีนี้ เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเรตพิเศษ ครอบคลุมร้านค้ามากกว่า 1,000 ร้าน
  • นับเป็นกลยุทธ์ตอบรับการกลับมาของ “นักท่องเที่ยวจีน” ที่คาดว่าจะเดินทางเข้าประเทศไทยปี 2566 ประมาณ 5-8 ล้านคน

  • “ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา หรือ CPN เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทมีกลยุทธ์ในการดึงลูกค้านักท่องเที่ยวจีนเข้าสู่ศูนย์การค้า ผ่านแคมเปญร่วมกับพันธมิตร “WeChat Pay” บริการอี-วอลเล็ตรายใหญ่ของประเทศจีน มีฐานผู้ใช้บริการมากกว่า 1,300 ล้านคน เพื่อสร้าง “Customer Journey” ให้ลูกค้าชาวจีนร่วมกันตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

    โดยเริ่มตั้งแต่สร้างการรับรู้ผ่านการทำการตลาดในประเทศจีน จนถึงปลายทางเมื่อนักท่องเที่ยวจีนเดินทางเข้ามาประเทศไทย ลูกค้าสามารถชำระเงินผ่านแอปพลิเคชัน WeChat Pay ได้ในศูนย์การค้าเซ็นทรัลพัฒนา ซึ่งจะทำให้ลูกค้ารู้สึกสะดวก รวดเร็ว และง่าย ได้รับประสบการณ์ที่ดีในการช้อปปิ้ง

    กลยุทธ์นี้ถือเป็น “Strategic Move” ของ CPN เพราะปีนี้เป็นปีแรกที่จีนเปิดประเทศหลังผ่านสถานการณ์โรคระบาด และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มีการคาดการณ์ไว้ว่า นักท่องเที่ยวจีนจะเดินทางเข้าประเทศไทยในปี 2566 ประมาณ 5-8 ล้านคน หรือคิดเป็น 45-72% ของจำนวนนักท่องเที่ยวจีนเข้าไทยเมื่อปี 2562 โดยมีสัญญาณที่ดีตั้งแต่เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งชาวจีนขึ้นมาติด Top 5 สัญชาตินักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไทยมากที่สุดเรียบร้อยแล้ว

    ทั้งนี้ เป้าหมายหลักที่ CPN มองว่าจะดึงดูดชาวจีนได้ดีภายใต้แคมเปญนี้ คือกลุ่ม “Tourists Mall” ในเครือ ได้แก่ เซ็นทรัลเวิลด์, เซ็นทรัลวิลเลจ, เซ็นทรัลพระราม 9, เซ็นทรัลภูเก็ต, เซ็นทรัลพัทยา, เซ็นทรัลเชียงใหม่ และเซ็นทรัลสมุย

    ด้าน “เบ็น หยาง” กรรมการผู้จัดการระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ WeChat Pay กล่าวว่า ความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายเริ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี และเห็นได้ชัดว่าในช่วงตรุษจีนที่ผ่านมาแคมเปญได้ผลตอบรับที่ดี การใช้งาน WeChat Pay ภายในศูนย์การค้าเครือเซ็นทรัลพัฒนาสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก โดยสูงกว่าค่าเฉลี่ยการใช้งานทั้งประเทศถึง 50% โดยเฉพาะ “เซ็นทรัลเวิลด์” นั้นมียอดการใช้จ่ายสูงที่สุด

    เบ็นมองว่า ยอดใช้จ่ายที่สูงภายในศูนย์ฯ ของเครือ CPN เป็นเพราะศูนย์การค้าเครือนี้เป็นที่รู้จักดีของนักท่องเที่ยวชาวจีน ไม่ว่าจะในกรุงเทพฯ หรือในหัวเมืองการท่องเที่ยวทั่วประเทศไทย ดังนั้น จากความสำเร็จที่เกิดขึ้น WeChat Pay จะทำการตลาดอย่างเข้มข้นร่วมกับ CPN ตลอดปี 2566 โดยจะมีโปรโมชันสุดพิเศษ เช่น การมอบอัตราแลกเปลี่ยนเงินเรตพิเศษสุดให้กับร้านค้าในศูนย์การค้ารวมมากกว่า 1,000 ร้าน เป็นต้น

    สำหรับ WeChat Pay เป็นบริการ Mobile Payment ภายในเครือธุรกิจไอทียักษ์ใหญ่ของจีนอย่าง บริษัท เทนเซ็นต์ โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด จำกัด และเป็นบริการที่แตกไลน์มาจาก WeChat แอปพลิเคชันแชตที่ครองตลาดใหญ่ที่สุดในจีน ปัจจุบัน WeChat Pay ให้บริการครอบคลุม 68 ประเทศ รองรับ 26 สกุลเงิน จึงเป็นบริการที่อำนวยความสะดวกให้ชาวจีนเมื่อเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศได้ด้วย

    ]]>
    1425878
    ‘ฟินเทค’ ในเวียดนาม กำลังรุ่ง…MoMo สตาร์ทอัพ e-Wallet ระดมทุนใหญ่มุ่งเป็น Super App https://positioningmag.com/1314310 Thu, 14 Jan 2021 09:41:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1314310 สตาร์ทอัพฟินเทคในเวียดนาม กำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก ล่าสุด MoMo ผู้ให้บริการ
    อีวอลเล็ต (e-Wallet) รายใหญ่ที่สุดในประเทศ ระดมทุนได้เกิน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ วางเเผนสู่การเป็น ‘Super App’ เตรียมเสนอขายหุ้น IPO ภายในปี 2025

    เทคโนโลยีด้านการเงินในเวียดนาม ที่มีประชากรเกือบ 98 ล้านคน มีกลุ่มคนหนุ่มสาวจำนวนมาก เเละเป็นหนึ่งในประเทศที่เติบโตไวสุดในอาเซียน เริ่มได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากขึ้นในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 เมื่อธุรกิจอีคอมเมิร์ซเเละการค้าขายออนไลน์เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้น ร้านค้าเเละผู้บริโภคมองหาตัวเลือกการชำระเงินเเบบไร้สัมผัส (Contactless Payment)

    Pham Thanh Duc ซีอีโอของ MoMo เปิดเผยกับ Reuters ว่า ไม่สามารถระบุจำนวนเงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้ได้ เนื่องจากข้อตกลงที่ทำร่วมกับนักลงทุน แต่บอกได้ว่าครั้งนี้เพิ่มขึ้นกว่าการระดมทุนครั้งก่อนที่เคยทำไว้
    100
    ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3 พันล้านบาท)

    โดยมีบริษัทใหญ่ 6 ราย ร่วมลงทุน ได้แก่ Warburg Pincus, Goodwater Capital, Affirma Capital Singapore, Kora Management, Macquarie Capital และ Tybourne Capital Management

    MoMo มีชื่อย่อมาจาก Mobile Money ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2007 เป็นแอปพลิเคชันการชำระเงินออนไลน์ รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ปัจจุบันมียอดผู้ใช้บริการกว่า 23 ล้านคน โดยตั้งเป้าเพิ่มขึ้น 2 เท่าให้เป็นราว 50 ล้านคน ภายใน 2 ปีข้างหน้า พร้อมวางเเผนจะเสนอขายหุ้น IPO สู่สาธารณะภายในช่วงปี 2021-2025

    การระดมทุนครั้งนี้ จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของ MoMo ให้ก้าวสู่การเป็นแอปพลิเคชันที่ครอบคลุมทุกบริการแบบครบวงจร ที่เรียกว่าSuper Appซึ่งพิสูจน์ให้เห็นเเล้วว่าเป็นโมเดลที่ประสบความสำเร็จทั้งในจีน สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย

    แม้ว่าตอนนี้ชาวเวียดนามจะยังนิยมชำระด้วยเงินสดเป็นหลัก แต่การชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟนก็เพิ่มสูงขึ้นเกือบเเตะ 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในสิ้นเดือนสิงหาคม 2020 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นถึง 980% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2019

    Tech in Asia รายงานว่า ธุรกิจฟินเทคในเวียดนาม ปัจจุบันมีผู้เล่นอยู่ราว 39 ราย มีการเเข่งขันกันอย่างดุเดือดเพื่อชิงช่องว่างตลาด โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 เเอปอี-วอลเล็ตที่ได้รับการดาวน์โหลดมากที่สุด ได้แก่ MoMo, ViettelPay, AirPay และ ZaloPay

    เจ้าใหญ่อย่าง MoMo ต้องรับศึกหนักเพื่อต่อสู้กับ VNPay เเอปฯ ชำระเงินออนไลน์ที่มียอดผู้ใช้งานอยู่ที่ราว 15 ล้านคน ซึ่งกำลังจะเป็นสตาร์ทอัพ ยูนิคอร์นตัวล่าสุดของเวียดนาม

    โดยผู้ร่วมก่อตั้ง MoMo เคยกล่าวกับ Tech in Asia ว่า บริษัทยังมีข้อได้เปรียบในตลาดนี้ เนื่องจากมีผู้ค้าออฟไลน์จำนวนมาก” อยู่ในเครือข่าย ตั้งแต่ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ที่สุดในประเทศ ไปจนถึง
    ร้านกาแฟเเละร้านขายของชำรายย่อย

     

    ที่มา : Reuters , Tech in Asia

     

    ]]>
    1314310