อุตสาหกรรมชิป – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 09 Dec 2022 11:30:54 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ยักษ์ใหญ่มาแล้ว! Tata ลุยอุตสาหกรรม “ชิป” ในอินเดีย หวังเป็นซัพพลายเชนสำคัญของโลก https://positioningmag.com/1411751 Fri, 09 Dec 2022 06:17:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1411751 Tata Group จะเริ่มผลิต “ชิป” ในอินเดียภายใน 2-3 ปีจากนี้ โดยหวังว่าจะผลักดันให้อินเดียเป็นแหล่งซัพพลายเชนการผลิตชิประดับโลก ขี่กระแสการกระจายแหล่งผลิตชิปเข้ามาในเอเชียตะวันออก

Nikkei Asia สัมภาษณ์ Natarajan Chandrasekaran ประธานกรรมการ Tata Sons เปิดเผยว่า องค์กรมีแผนจะเปิดธุรกิจใหม่ที่กำลังมาแรงอย่างการผลิต “ชิป”

“เราได้เริ่มก่อตั้งบริษัทย่อย Tata Electronics ตั้งแต่ปี 2020 ซึ่งเราจะใช้บริษัทนี้ในการก่อตั้งธุรกิจประกอบและทดสอบเซมิคอนดักเตอร์” Chandrasekaran กล่าว

“เราจะพูดคุยกับผู้เล่นหลายๆ รายในตลาด” ประธานกรรมการกล่าวเสริม โดยมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นพันธมิตรกับผู้ผลิตชิปที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว เนื่องจากการทำธุรกิจนี้เองโดยไม่มีประสบการณ์จะเป็นความท้าทายมากเกินไป

ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ทั้งในสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ต่างเป็นพันธมิตรที่มีโอกาสจะมาร่วมงานกับ Tata ส่วนการออกแบบและพัฒนาชิปนั้น บริษัทได้ประกาศความร่วมมือกับ Renesas Electronics ไปแล้วเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

Chandrasekaran กล่าวด้วยว่า Tata จะเริ่มมองความเป็นไปได้ที่จะผลิตชิปในขั้นตอนต้นน้ำ (upstream) ด้วย ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ท้าทายมากกว่าทั้งในแง่เทคโนโลยีและการลงทุนทางการเงิน เมื่อเทียบกับการผลิตในขั้นตอนปลายน้ำ (downstream) คือการประกอบและทดสอบที่บริษัทกำลังจะเริ่มผลิตนี้

ภาพจาก Shutterstock

การเข้าสู่ธุรกิจผลิตชิปของ Tata จะเป็นการเริ่มต้นอุตสาหกรรมใหม่แห่งอินเดีย และน่าจะทำรายได้ถึง 64,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2026 ตามข้อมูลการประเมินจาก สมาคมเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์แห่งอินเดีย ปัจจุบันประเทศนี้ยังไม่มีอุตสาหกรรมชิปมาก่อน ยกเว้นการออกแบบซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง แต่อินเดียเป็นแหล่งผลิตสินค้าที่ใช้ชิปมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟนหรือรถยนต์ไฟฟ้า

โมเมนตัมในการเข้ามาเป็นผู้เล่นใหม่ในตลาดชิปของอินเดียยังอยู่ในจุดที่ดีมากด้วย เพราะการขาดแคลนชิปในโลกผนวกกับการต่อสู้กันของจีนกับสหรัฐฯ ทำให้เกิดแนวนโยบาย ‘decoupling’ ลดการพึ่งพิงซัพพลายเชนชิปในประเทศใดประเทศหนึ่ง และหันมากระจายความเสี่ยงหาซัพพลายเชนในหลายทำเลมากขึ้น ประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงได้โอกาส และรัฐบาลอินเดียกับ Tata ก็จะขี่กระแสความเปลี่ยนแปลงนี้เพื่อทำให้ประเทศเป็นฮับใหม่แห่งเซมิคอนดักเตอร์

Chandrasekaran ยังกล่าวถึงวิสัยทัศน์ในภาพรวมของกลุ่มด้วยว่า จะแบ่งการเติบโตออกเป็น 3 ส่วน คือ หนึ่ง การสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจหลักของบริษัท สอง การถ่ายโอนความสำคัญของธุรกิจปัจจุบันไปสู่ธุรกิจแห่งอนาคต และสาม การลงทุนธุรกิจแห่งอนาคต

การจะถ่ายโอนไปสู่ธุรกิจอนาคต Tata จะมีการเข้าสู่โลกแห่งดิจิทัล พลังงานอนาคต ความยั่งยืน และจะต้องมีความยืดหยุ่นในแง่ซัพพลายเชน

ทั้งหมดนี้ ทั้งกลุ่มมีแผนการลงทุนรวม 90,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใน 5 ปีข้างหน้า

ไม่เฉพาะเซมิคอนดักเตอร์ แต่กลุ่มยังมองธุรกิจใหม่ๆ อีกหลายอย่าง เช่น การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ผลิตแบตเตอรีรถอีวี พลังงานหมุนเวียน การพัฒนา ‘ซูเปอร์แอป’ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถซื้อสินค้าและบริการตลอดจนผลิตภัณฑ์ทางการเงินได้ในแอปฯ เดียว

การปักหมุดผลิตชิปในครั้งนี้จะสร้างผลประโยชน์ให้กับธุรกิจหลักของ Tata ด้วย เพราะเดิมที Tata มีรายได้หลักจากการผลิตรถยนต์และสินค้าไอที ต้องพึ่งพิงการนำเข้าเซมิคอนดักเตอร์จากต่างประเทศ และเมื่อซัพพลายชิปขาดแคลนจึงส่งผลต่อการผลิตของ Tata ด้วย

การขาดแคลนชิปจะยิ่งเป็นปัญหาเพราะ Tata เริ่มต้นเข้าสู่ธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว และรถอีวีจะยิ่งต้องการชิปมากกว่ารถยนต์สันดาป ซึ่งทางบริษัทคาดการณ์ไว้ว่ายอดขายรถอีวีจะแซงหน้ายอดขายรถยนต์สันดาปภายในปี 2027

Source

]]>
1411751
โตโยต้า-โซนี่ นำทัพ 8 บริษัทญี่ปุ่นลงขัน “ตั้งบริษัทผลิตชิป” หวังแข่งขันไต้หวัน-เกาหลี https://positioningmag.com/1407879 Fri, 11 Nov 2022 06:15:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1407879 ตอนนี้ ใคร ๆ ก็อยากจะมีแหล่งผลิต ‘ชิป’ ของตัวเองทั้งนั้น หลังจากที่ทั่วโลกเจอกับวิกฤตการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ โดยหนึ่งในนั้นก็คือ ประเทศ ญี่ปุ่น โดยล่าสุด 8 บริษัทชั้นนำของประเทศก็ได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัทผลิตชิปใหม่ภายในประเทศ เพื่อรองรับความต้องการในอนาคต

กลุ่มบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น 8 แห่ง ได้แก่ Toyota Motor, Sony Group, SoftBank Corp, Nippon Telegraph and Telephone Corp (NTT), Kioxia Corp (บริษัทผู้ผลิตชิป), Denso Corp (ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์), NEC Corp (ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์) และ ธนาคาร MUFG ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทใหม่ชื่อ Rapidus

สำหรับ Rapidus จะมุ่งเน้นในการพัฒนาและผลิตชิป รวมทั้งพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ให้กับญี่ปุ่น พร้อมกันนี้ Rapidus ยังได้ Tetsuro Higashi อดีตประธานบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ชิป Tokyo Electron มาเป็นผู้นำบริษัท

Yasutoshi Nishimura รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เปิดเผยว่า รัฐบาลญี่ปุ่นมีแผนจะให้เงินสนับสนุนถึง 7 หมื่นล้านเยน (ราว 18,000 ล้านบาท) ในขณะที่บริษัททั้ง 8 จะลงทุนรวมประมาณ 7 พันล้านเยน (ราว 1,800 ล้านบาท) ในบริษัท โดยรัฐบาลตั้งเป้าที่จะผลิตชิปขนาดต่ำกว่า 2 นาโนเมตรภายในประเทศภายในปี 2030 จากปัจจุบัน บริษัทญี่ปุ่นสามารถผลิตชิปที่มีความกว้างของเส้นวงจรได้เพียงประมาณ 40 นาโนเมตรเท่านั้น

“ด้วยการร่วมมือกับสถาบันวิจัยและอุตสาหกรรมในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา เราต้องการเสริมสร้างพื้นฐานของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของญี่ปุ่นและความสามารถในการแข่งขันผ่านความพยายามร่วมกันของนักวิชาการและอุตสาหกรรมในประเทศ” Yasutoshi Nishimura กล่าว

การเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อมกับปัญหาการขาดแคลนชิปทั่วโลกซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่การผลิตรถยนต์ไปจนถึงการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงการแข่งขันพัฒนาชิปขั้นสูงเพื่อใช้ในควอนตัมคอมพิวเตอร์ เอไอ ตลอดจนอาวุธทางการทหาร อาทิ ขีปนาวุธ

จับตาอุตสาหกรรม ‘ชิป’ สงครามครั้งใหม่ของ ‘สหรัฐฯ-จีน’ ศึกตัดสิน ‘ผู้ชนะ’ ในเศรษฐกิจโลก

ปัจจัยดังกล่าวได้กระตุ้นให้เกิดการถกเถียงกันในญี่ปุ่นเกี่ยวกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการแข่งขันนี้มีผู้นำเป็นบริษัทต่าง ๆ ในไต้หวัน เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา

Source

]]>
1407879