อุตสาหกรรมภาพยนตร์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 25 Oct 2024 02:57:13 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 CEA เปิดตลาดกลาง “Content Project Market” จับคู่นายทุนช้อปคอนเทนต์จากคนสร้างหนัง https://positioningmag.com/1495293 Thu, 24 Oct 2024 09:21:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1495293 CEA ผุดตลาดกลาง “Content Project Market” เปิดโอกาสจับคู่ระหว่างนายทุนกับนักสร้างสรรค์คอนเทนต์ภาพยนตร์ ซีรีส์ แอนิเมชัน เพื่อดีลลงทุนพัฒนาเชิงพาณิชย์ส่งคอนเทนต์เข้าโรงภาพยนตร์-สตรีมมิ่งแพลตฟอร์ม ปีนี้มีคอนเทนต์ผ่านการคัดเลือก 59 เรื่อง ดึงนักลงทุนเข้าร่วมได้ 64 บริษัททั้งจากในไทย เวียดนาม สิงคโปร์ และเกาหลีใต้

2567 เป็นปีที่ 2 ที่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) เปิดโครงการ “Content Lab” ขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะนักสร้างสรรค์คอนเทนต์ชาวไทย จัดแคมป์บ่มเพาะบุคลากรในสายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการผลิตภาพยนตร์ ซีรีส์ และแอนิเมชัน เช่น ผู้กำกับ โปรดิวเซอร์ นักเขียนบท

แคมป์ Content Lab จะแบ่งตามระดับความเชี่ยวชาญของนักสร้างสรรค์ ตั้งแต่ระดับเริ่มต้น (Newcomers), ระดับกลาง (Mid-Career) และขั้นสูง (Advanced) โดยแคมป์เหล่านี้มีการจัดอบรมกันมาตลอดทั้งปี 2567 จนมาถึงโค้งสุดท้ายคือขั้นตอนการนำเสนอไอเดีย เนื้อหา และคอนเซ็ปต์ของคอนเทนต์เพื่อการซื้อขาย (Pitch Deck)

Content Project Market

“ดร.ชาคริต พิชญางกูร” ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) กล่าวว่า CEA มีการจัดงาน “Content Project Market” ขึ้นเพื่อต่อยอดผลักดันให้คอนเทนต์ของไทยมีโอกาสได้รับการลงทุนสร้างเป็นสื่อเชิงพาณิชย์ได้จริง เป็นพื้นที่การพบปะพูดคุยและนำเสนอระหว่างนักสร้างสรรค์คอนเทนต์ (sellers) และกลุ่มนักลงทุน (buyers)

ในปีนี้กลุ่มนักสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการให้เข้าสู่ตลาดกลาง Content Project Market มีทั้งหมด 59 โปรเจ็กต์ โดยแบ่งเป็นโปรเจ็กต์ที่เกิดจากบ่มเพาะใน Content Lab 2024 ทั้งหมด 37 โปรเจ็กต์ และมาจากการเปิดรับสมัครเพิ่ม (Open Call) อีก 22 โปรเจ็กต์

ฟากฝั่งนักลงทุนที่ตอบรับคำเชิญมารับฟังเวที Pitch Deck และการจับคู่ทางธุรกิจแบบตัวต่อตัวมีทั้งหมด 64 บริษัท มีทั้งค่ายผู้ผลิตภาพยนตร์/ซีรีส์และกลุ่มสตรีมมิ่งแพลตฟอร์มที่ต้องการลงทุนออริจินอลคอนเทนต์ เช่น บริษัท เนรมิตหนัง ฟิล์ม จำกัด, บริษัท ทรู ซีเจ ครีเอชั่นส์ จำกัด, บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด, บริษัท ไอ-ฉีอี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ฯลฯ ในจำนวนนี้มี 3 บริษัทที่เป็นนักลงทุนจากต่างประเทศที่เข้ามาร่วมงานด้วย ได้แก่ Skyline Media Group จากเวียดนาม, Mocha Chai Laboratories จากสิงคโปร์ และ Barunson E&A จากเกาหลีใต้

ดร.ชาคริตกล่าวต่อว่า งานครั้งนี้มีการจัดนัดจับคู่ทางธุรกิจล่วงหน้า (Pre-matching) มาแล้วกว่า 300 คู่ ซึ่งทาง CEA คาดหวังว่าจะมีคู่ที่สามารถตกลงทางธุรกิจได้สำเร็จไม่ต่ำกว่า 10-20% ของทั้งหมด นำไปสู่การสร้างคอนเทนต์จริงเพื่อจัดฉายต่อไปไม่ว่าจะในโรงภาพยนตร์หรือสตรีมมิ่งแพลตฟอร์ม

ด้าน “หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล” ประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านภาพยนตร์ กล่าวว่า การจัด Content Project Market จับคู่ระหว่างนักลงทุนคอนเทนต์กับนักสร้างสรรค์ในลักษณะนี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีในอุตสาหกรรมคอนเทนต์เมืองไทย จากที่ผ่านมานักสร้างสรรค์คอนเทนต์จะต้องหาทางเข้าหานักลงทุนด้วยตนเองหากต้องการ Pitch ไอเดีย

“Content Project Market จะเป็นต้นน้ำในการเชื่อมโปรเจ็กต์เข้ากับเงินทุนที่มีในตลาด และวางเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนมากขึ้น” หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรีกล่าว “ต่อไปเราควรจะผลักดันให้เป็นตลาดประจำปีที่มีนักลงทุนจากทั่วโลกบินเข้ามาช้อปคอนเทนต์ เหมือนอย่างงาน FILMART ของฮ่องกง หรืองาน ATF สิงคโปร์”

หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี กล่าวด้วยว่า โครงการ Content Project Market มองอนาคตจะต่อยอดเป็นตัวกลางในการสร้างดาต้าเบสเก็บข้อมูลคอนเทนต์ทุกเรื่องที่เข้ามาในตลาดไว้ เพราะถึงแม้โปรเจ็กต์นั้นๆ อาจจะยังไม่ได้นักลงทุนในปีแรกที่เข้าสู่ตลาด แต่ในปีต่อๆ ไปอาจจะมีนักลงทุนมาเลือกช้อปและนำไปผลิตได้

 

อุตฯ คอนเทนต์ไทยยังติดเรื่องการ “Pitch” ให้ถึงเครื่อง

ในแง่ความต้องการคอนเทนต์ไทยในตลาดนั้น หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรีมองว่าในรอบหลายปีที่ผ่านมาคอนเทนต์ไทยถือว่ากำลังเข้าสู่ยุคทอง เพราะพิสูจน์แล้วว่าได้รับเสียงตอบรับในตลาดสากลสูงขึ้นเรื่อยๆ ภาพยนตร์มีโอกาสได้ฉายโรงต่างประเทศเพิ่มขึ้น เช่น “หลานม่า” ที่ได้ฉายในหลายประเทศจนกวาดรายได้รวมไปมากกว่า 1,500 ล้านบาท หรือ “สัปเหร่อ” ที่ได้จัดจำหน่ายฉายในประเทศญี่ปุ่นสำเร็จ บนสตรีมมิ่งแพลตฟอร์มเองคอนเทนต์ไทยก็ได้รับการยอมรับ เช่น “สืบสันดาน” ขึ้นสู่ Top 10 ซีรีส์ภาษาต่างประเทศที่มียอดเข้าชมบน Netflix สูงที่สุดทั่วโลก

บรรยากาศอุตสาหกรรมคอนเทนต์ในประเทศไทยเองก็มีการปรับตัวจากเดิมที่เดินในแนวทางของตนเอง มาเป็นการร่วมมือกันทำงานและพัฒนาด้วยกันมากขึ้น ส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรร่วมกันในวงการ

หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรีกล่าวว่า ในแง่บุคลากรในอุตสาหกรรมคอนเทนต์ไทยยังมีหลายตำแหน่งที่ขาดแคลนมาก เช่น โปรดิวเซอร์ ผู้ช่วยผู้กำกับ ทีมอาร์ต และหนึ่งในบุคลากรที่ขาดรุนแรงในอุตสาหกรรมนี้คือ “Pitch Team” ในประเทศไทยมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญในด้านนี้ไม่เกิน 40 คน ซึ่งทำให้เกิดคอขวดในการนำเสนอไอเดียเรียกความสนใจจากนายทุน ยิ่งเป็นนายทุนจากต่างประเทศยิ่งยากลำบากมากขึ้นเพราะเพิ่มอุปสรรคด้านภาษาทับซ้อนเข้าไปอีก

งาน Content Project Market จึงน่าจะช่วยยกระดับทักษะการ Pitching ของคนทำคอนเทนต์ไทยไปอีกระดับ สร้างบุคลากรกลุ่มที่จะเปิดโอกาสให้นักสร้างสรรค์คอนเทนต์ดึงเม็ดเงินทุนสร้างเข้ามาได้มากขึ้น

]]>
1495293
มองตลาด ‘หนังไทย’ ในช่วงขาขึ้น ที่ทำให้ ‘ช่อง 3’ กลับมาลงทุนอีกครั้งในรอบเกือบ 20 ปี https://positioningmag.com/1464441 Thu, 29 Feb 2024 05:20:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1464441 ขนาดในวงการ สตาร์ทอัพ ยังเคยล้อวงการ หนัง ว่ากู้เงินมาลงทุนยากพอ ๆ กัน เพราะความเสี่ยงสูง แต่ดูเหมือนว่าหลังช่วง COVID-19 ที่ผ่านมา วงการ หนังไทย หรือ ภาพยนตร์ไทย ก็เริ่มกลับมาได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะปี 2023 ที่ผ่านมา สัดส่วนรายได้ของหนังไทยสามารถแซงหน้าหนังฮอลลีวูดที่ 55% : 45% ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในวงการ 

โรงภาพยนตร์มากขึ้น ก็ทำรายได้มากขึ้น

ในช่วง 20 ปีมานี้ จำนวนหนังไทยที่ฉายต่อปีมีอยู่ราว 50 เรื่อง ส่วนภาพยนตร์จากต่างประเทศฉายประมาณ 200-300 เรื่อง ซึ่งถ้าเทียบกันแล้วหนังไทยถือว่ามีสัดส่วนน้อยมาก แม้จำนวนจะน้อยกว่าหลายเท่า แต่ปีที่ผ่านมา ถือเป็นปีแรกที่สัดส่วนรายได้หนังไทยสูงกว่าหนังฮอลลีวูด ด้วยสัดส่วน 55 : 45 จากในอดีตที่สัดส่วนจะหนังฮอลลีวูดจะอยู่ที่ 80 : 20

โดยหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้รายได้ของหนังไทยเติบโตมากขึ้นก็เป็นผลมาจาก จำนวนโรงภาพยนตร์ ที่มีมากขึ้น สามารถกระจายไปถึงระดับชุมชน อย่างใน เครือเมเจอร์ฯ มีโรงภาพยนตร์ทั้งหมด 180 สาขา รวม 838 โรงภาพยนตร์ ส่วนเครือ SF มีโรงภาพยนตร์อยู่ในเครือ 66 สาขา รวม 400 โรงภาพยนตร์ ด้วยจำนวนโรงภาพยนตร์ที่มากขึ้น ก็ทำให้หนังไทยมีโอกาสทำรายได้ได้มากขึ้น ดังนั้น จะเห็นว่ามีหนังไทยหลายเรื่องทำรายได้หลัก 100 ล้านบาทในวันเดียว

“เราเริ่มเห็นเทรนด์ในหลายประเทศที่รายได้จากหนังโลคอลเริ่มมีแชร์สูงขึ้น เนื่องจากคุณภาพที่สูงขึ้น และคนโลคอลก็ยังสนับสนุนหนังของตัวเอง” สุรเชษฐ์ อัศวเรืองอนันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร M Studio กล่าว

ผู้ชมเปิดใจกับภาพยนตร์โลคอล

การมาของแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งไม่ได้เป็นคู่แข่งกับโรงภาพยนตร์ เพราะหลังจากหมด COVID-19 โรงภาพยนตร์ก็กลับมาอีกครั้ง เพราะโรงหนังเป็นการ ขายประสบการณ์ บางคนมาดูหนังกับเพื่อน กับแฟน กับครอบครัว นอกจากนี้ แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งก็มีส่วนช่วยให้คนเปิดใจรับชมโลคอลคอนเทนต์ หรือคอนเทนต์จากประเทศอื่น ๆ ไม่ใช่ฮอลลีวูดมากขึ้น

“เราจะเห็นว่าคอนเทนต์อันดับ 1 ในหลายแพลตฟอร์มไม่ใช่คอนเทนต์จากฝั่งฮอลลีวูด แต่มีทั้งเกาหลีใต้, ตุรกี, อเมริกาใต้ ผู้บริโภคทั่วโลกเริ่มเปิดใจกับคอนเทนต์ของประเทศอื่น ๆ มากขึ้น”

ดังนั้น ทิศทางการเติบโตของหนังไทยก็มาจากการยอมรับของคนไทยที่เปิดใจมากขึ้นด้วย อาทิ ภาพยนตร์ สัปเหร่อ หรือ ของแขก ที่ดูเป็นภาพยนตร์เฉพาะกลุ่มแต่ก็สามารถประสบความสำเร็จได้

พลังนักแสดงและมีเดียของพาร์ตเนอร์

อีกปัจจัยที่ทำให้หนังไทยมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้นก็คือ การที่บริษัทผู้ผลิตหนังได้ พาร์ตเนอร์ ที่แข็งแรง อย่างเช่น ช่อง 3 ที่เป็นพาร์ตเนอร์กับ M STUDIO ทำให้ภาพยนตร์ที่สร้างนั้น ๆ ได้ ศิลปิน ระดับแม่เหล็กของช่อง 3 รวมถึงได้ มีเดียของช่อง 3 ด้วย ซึ่งในส่วนนี่ก็จะช่วยดึงดูดกลุ่มแฟนคลับของศิลปิน ช่วยโปรโมตให้ภาพยนตร์เข้าถึงวงกว้าง รวมถึงการดึงแบรนด์มาเป็นสปอนเซอร์ได้อีกด้วย

ที่น่าสนใจคือ ช่อง 3 หรือ BEC world ได้ร้างราจากการลงทุนทำหนังไปเกือบ 20 ปี นับตั้งแต่บริษัทในเครืออย่าง ฟิล์มบางกอก ที่ผลิตภาพยนตร์คุณภาพ อาทิ ฟ้าทลายโจร, บางระจัน ได้ปิดตัวไปในปี 2005 จนมาปี 2022 ที่ช่อง 3 ได้ลงทุนในการทำหนังอีกครั้ง ผ่านการเป็นพาร์ตเนอร์กับ M Pictures ผลิตภาพยนตร์ บัวผันฟันยับ และในปี 2023 เรื่อง ธี่หยด

ไม่ใช่แค่ขาขึ้น แต่ทีวีต้องหาโอกาสใหม่ ๆ

การที่ผู้ผลิตหนังจะหาพาร์ตเนอร์จากทีวีถือเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เนื่องจากประโยชน์ที่ได้รับก็มีส่วนช่วยให้หนังประสบความสำเร็จง่ายขึ้น ขณะที่สื่อทีวีเองก็ต้องพยายามหารายได้ใหม่ ๆ เข้ามา เพราะ รายได้โฆษณาของทีวี ลดลงเรื่อย ๆ เนื่องจากผู้บริโภคย้ายไปอยู่บนออนไลน์ ขณะที่คอนเทนต์ที่เคยเป็นจุดเด่นของทีวีอย่าง ละคร ก็ไม่ได้เป็นคอนเทนต์หลักที่ใช้ดึงดูดผู้ชม กลายเป็นรายการ ข่าว ที่เป็นคอนเทนต์ที่ขายได้ ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ช่อง 3 จะกลับมาลงทุนในธุรกิจภาพยนตร์อีกครั้ง เพื่อหาโอกาสสร้างรายได้ใหม่ ๆ

สำหรับปี 2024 นี้ ช่อง 3 ได้ร่วมลงทุนกับ M STUDIO ในการผลิตภาพยนตร์ 2 เรื่อง ได้แก่ ธี่หยด 2 และ มานะแมน โดย เทรซี แอนน์ มาลีนนท์ ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่ม บมจ.บีอีซี เวิลด์ เปิดเผยว่า ช่อง 3 จะร่วมทุนแบบ 50:50 กับบริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์ และพร้อมจะร่วมทุนกับทุกค่ายถ้าภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ น่าสนใจ และช่อง 3 ก็มองว่า รายได้จากภาพยนตร์อาจเป็นขาสำคัญในอนาคต โดยปัจจุบันรายได้ 85% ของบริษัทมาจากโฆษณา อีก 15% มาจากอื่น ๆ รวมถึงภาพยนตร์

ปั้นจักรวาลภาพยนตร์ตามรอยฮอลลีวูด

สุรเชษฐ์ มองว่า อีกเทรนด์ที่เห็นของวงการหนังไทยก็คือ เริ่มเป็น แฟรนไชส์หรือจักรวาลภาพยนตร์ เช่น จักรวาลไทบ้าน เดอะ ซีรีส์ ดังนั้น การต่อยอดจากหนังที่ประสบความสำเร็จ ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่จะทำให้หนังไทยเติบโตได้ เหมือนกับหนังฮอลลีวูดที่เมื่อหนังประสบความสำเร็จก็จะทำเป็นแฟรนไชส์หรือจักรวาลภาพยนตร์ออกมา เพราะตอนนี้หนังไทยเริ่มสร้างแฟนคลับ ดังนั้น แนวคิดการทำภาพยนตร์จากนี้ต้องต่อยอดเป็นแฟรนไชส์ได้ด้วย

“อย่างธี่หยดที่ประสบความสำเร็จไป เราเลยทำธี่หยด 2 ซึ่งเราก็คาดหวังว่าจะประสบความสำเร็จในระดับเดียวกันกับภาคแรกที่ทำรายได้แตะ 500 ล้านบาท ซึ่งเรามองว่ามันต่อยอดไปได้อีก เช่น สปินออฟของตัวละครในหนัง”

สุดท้ายกลับมาเรื่องคุณภาพ

สุรเชษฐ์ ทิ้งท้ายว่า ตอนนี้โอกาสของภาพยนตร์เปิดกว้างไม่ใช่แค่ฉายในไทย แต่สามารถนำไปขายในต่างประเทศรวมถึงแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งได้ หนังบางเรื่องสามารถขายได้ทุนคืนตั้งแต่ยังไม่ฉาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณภาพต้องดี ซึ่งถ้าหนังไทยในยุคที่ประสบความสำเร็จแบบนี้ก็จะยิ่งดึงดูดคนเก่ง ๆ ให้มาทำหนัง ดังนั้น มั่นใจว่ารายได้จากหนังไทยปีนี้จะมากกว่าหนังฮอลลีวูด อย่างในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2023 มีภาพยนตร์ 3 เรื่องที่มีคนดูมากกว่า 20 ล้านคน ทำรายได้รวมกันกว่าพันล้านบาท ได้แก่ สัปเหร่อ, ธี่หยด และ 4 King 2

“ตอนนี้หนังไทยเป็นที่ยอมรับในหลายประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน อย่างธี่หยดก็ขึ้นอันดับ 1 ในเวียดนาม ต่างประเทศยอมรับหนังไทยเนื่องจากเนื้อหาที่สดใหม่ มีความลึกซึ้ง ดังนั้น โจทย์แรกที่จะทำให้หนังไทยประสบความสำเร็จในตลาดโลกได้คือ ต้องเป็นคอนเทนต์คุณภาพ พอประสบความสำเร็จ ต่างชาติก็จะหันมาเสพผลงานของไทย”

]]>
1464441
สะเทือนวงการ! ‘นักแสดงฮอลลีวูด’ กว่า 1.6 แสนคน หยุดงานประท้วงในรอบ 60 ปี คาดยืดเยื้อถึงสิ้นปี https://positioningmag.com/1437784 Fri, 14 Jul 2023 04:45:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1437784 ย้อนไปปี 2523 เคยมีเหตุการณ์ที่ นักแสดงฮอลลีวูดหยุดงานประท้วง 60 ปีผ่านไป เกิดการหยุดงานประท้วงอีกครั้ง ตามรอยการหยุดงานประท้วงของ นักเขียนบท เนื่องจากไม่สามารถเจรจากับสตูดิโอยักษ์ใหญ่และบริการสตรีมมิ่งได้

นักแสดงฮอลลีวูด ประมาณ 160,000 คน ที่อยู่ในสหภาพแรงงาน SAG-AFTRA ได้ประท้วง นัดหยุดงาน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบ 60 ปี ที่สมาชิกของสมาคมหยุดงานผลิตภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ประท้วงหยุดงานนับตั้งแต่ปี 2523 โดยมีสาเหตุมาจาก 4 ปัญหาหลัก

  • ความเท่าเทียมกันทางรายได้
  • ค่าตอบแทนจากการนำผลงานไปใช้ซ้ำ (residual)
  • การกำกับดูแลการใช้ปัญญาประดิษฐ์
  • ลดภาระของนักแสดงที่ต้องอัดเทปส่งไปออดิชั่นเอง

SAG-AFTRA ระบุว่า สัญญาปัจจุบันนั้นถือว่าล้าหลังเมื่อเทียบกับวิวัฒนาการของธุรกิจสื่อ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนตอนของซีรีส์ที่ลดลง, การเว้นช่วงระหว่างซีซั่นที่นานขึ้น, การมาของสตรีมมิ่งที่ทำให้คอนเทนต์ถูกฉายซ้ำ ๆ ขณะที่ส่วนแบ่งรายได้ของนักแสดงจะได้เพิ่มจากยอดขาย โฆษณา กับยอดขาย DVD ดังนั้น สมาคมจึงต้องการเรียกร้องให้เพิ่มค่าตอบแทน และสวัสดิการณ์อื่น ๆ เช่น สิทธิด้านสุขภาพ, แผนเงินบำนาญหลังเกษียณ

โดย SAG-AFTRA ประเมินว่า สมาชิกกว่าครึ่ง จากทั้งหมด 171,000 คน เคยไม่ได้รับเงินจากการแสดงเลยในบางปี และมีเพียง 5-15% เท่านั้นที่มีรายได้มากพอ ทำประกันสุขภาพ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 26,470 ดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ การต้องอัดเทปส่งไปออดิชั่นเองก็ต้องใช้เงินสูงถึงประมาณ 250 ดอลลาร์ เลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 ฝ่ายเจรจากันไม่ลงตัวในหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้อง ค่าตอบแทนที่เหมาะสม โดย Fran Drescher ประธานสหภาพแรงงาน SAG-AFTRA กล่าวว่า ข้อเสนอของผู้บริหารสตูดิโอนั้น ดูหมิ่นและไม่สุภาพ ขณะที่ ตัวแทนฝ่ายสตูดิโอ ก็กล่าวหาว่า ฝ่ายสหภาพเดินออกจากการเจรจา แม้ว่าพวกเขาเสนอ เพิ่มผลตอบแทนครั้งประวัติศาสตร์ รวมถึงสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ให้แล้ว

“แทนที่จะเจรจากันต่อไป SAG-AFTRA ทำให้เราอยู่ในทางที่จะสร้างผลกระทบทางการเงินให้กับคนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์อีกหลายพันคนทำ” แถลงจาก Alliance of Motion Picture and Television Producers (AMPTP)

ไม่ใช่แค่เหล่าสมาชิก SAG-AFTRA ที่หยุดงานประท้วง แต่ช่วง 2 เดือนก่อนหน้านี้เหล่า นักเขียนบท ที่อยู่ใน  สมาคมนักเขียนแห่งอเมริกากว่า 11,000 คน ซึ่งการนัดหยุดงานดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อการผลิตภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ต้องชะงักตัวลง โดยเฉพาะในส่วนของสตูดิโอใหญ่ และยังไม่มีความคืบหน้าที่ชัดเจนในการยุติการประท้วงดังกล่าว แต่มีการประมาณการว่า การหยุดงานประท้วงของนักแสดงและนักเขียนบท อาจยืดเยื้อไปตลอดไปจนถึง สิ้นปี

Source

]]>
1437784
‘Cineworld’ เครือโรงหนังเบอร์ 2 โลกยื่น ‘ล้มละลาย’ เนื่องจากหนี้สินสะสมช่วงโควิด https://positioningmag.com/1397363 Wed, 24 Aug 2022 04:22:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1397363 หากดูจากข้อมูลของ Comscore ในช่วงครึ่งปีแรกบ็อกซ์ออฟฟิศในอเมริกามียอดขายตั๋วไปแล้วมากกว่า 4.25 พันล้านดอลลาร์ โดยต่ำกว่าระดับก่อนเกิดโรคระบาดปี 2019 ที่ 20% ซึ่งถือว่าแนวโน้มของอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์เริ่มดูมีความหวังอีกครั้ง แต่สำหรับ Cineworld Group PLC หนึ่งในผู้ดำเนินการโรงภาพยนตร์รายใหญ่กลับต้อง ยื่นล้มละลาย เพราะทนพิษบาดแผลจากโควิดไม่ไหว

Cineworld ถือเป็นเครือโรงภาพยนตร์สัญชาติอังกฤษที่ใหญ่เป็น อันดับ 2 ของโลก โดยมีโรงภาพยนตร์ในเครือจำนวน 9,000 แห่งใน 10 ประเทศ ได้กำลังพิจารณายื่นขอความคุ้มครองการล้มละลายโดยสมัครใจในสหรัฐอเมริกาตามในบทที่ 11 เนื่องจากมีหนี้สินกว่า 8,900 ล้านดอลลาร์

โดยย้อนไปปี 2020 ที่เกิดการระบาดของ COVID-19 ใหม่ ๆ ทำให้หลายประเทศต้องล็อกดาวน์ ขณะที่โรงภาพยนตร์ต้องปิดลงชั่วคราว ส่งผลให้บริษัท Cineworld ต้องประสบภาวะขาดทุน 2,700 ล้านดอลลาร์ และในปี 2021 ที่สถานการณ์เริ่มดีขึ้น แต่บริษัทก็ยังขาดทุนจำนวน 566 ล้านดอลลาร์

โดย Cineworld ระบุว่า ระดับการที่ผู้ชมกลับเข้ามาในโรงภาพยนตร์ยังต่ำกว่าที่คาดไว้ เนื่องจากจำนวนภาพยนตร์ที่เข้าฉายยังไม่มากเท่าก่อนการระบาด และคาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวชัดเจนอีกทีในเดือนพฤศจิกายน และนั่นจะหมายถึงวิกฤตการเงินยังคงลากยาวต่อไป

อย่างไรก็ตาม แม้จะยื่นล้มละลาย แต่โรงภาพยนตร์ของบริษัทยังคง เปิดให้บริการตามปกติ เนื่องจากพิจารณาทางเลือกในการบรรเทาภาระหนี้ นอกจากนี้ จะยังทำให้พนักงานกว่า 28,000 คนไม่ได้รับผลกระทบ แต่การยื่นล้มละลายที่อาจเกิดขึ้นนั้นอาจทำให้นักลงทุนในหุ้นต้อง ขาดทุน จากการถือครองหุ้นทั้งหมด

ปัจจุบัน หุ้นของบริษัทในลอนดอนร่วงลง 21.4% เท่ากับประมาณ 3.8 เซนต์สหรัฐ ซึ่งตามมาด้วยการดิ่งลง 58.3% ในวันศุกร์หลังจาก The Wall Street Journal รายงานว่าบริษัทกำลังเตรียมยื่นขอความคุ้มครองการล้มละลายภายในไม่กี่สัปดาห์

Source

]]>
1397363
กลับมาสดใส! เม็ดเงินอุตสาหกรรม ‘โรงภาพยนตร์’ เริ่มกลับมาเท่าปี 2019 และอาจโตกว่า https://positioningmag.com/1392651 Thu, 14 Jul 2022 13:43:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1392651 เชื่อว่า 2 ปีกว่าที่ COVID-19 ระบาดทำให้หลายคนนอนดูหนังบนโซฟาจนเบื่อ ทำให้หลังจากที่สถานการณ์การระบาดคลี่คลายมากขึ้น อุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ก็เริ่มกลับมาไม่เพียงแต่พวกเขาจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง โดยเฉพาะในอเมริกา ที่นอกจากผู้ชมจะกลับเข้าโรงฯ แล้วยังมีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายมากขึ้น

ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาพยนตร์ Marvel Cinematic Universe เรื่องล่าสุดของดิสนีย์อย่าง Thor: Love and Thunder ได้เปิดตัวในอเมริกาได้เกือบ 145 ล้านดอลลาร์ และดึงดูดผู้ชมเข้าโรงฯ ได้กว่า 10 ล้านคน นอกจากนี้ ภาพยนตร์ที่ฉายก่อนหน้าอย่าง Top Gun: Maverick  ของ Paramount และ Skydance, Minions: The Rise of Gru ของ Universal และ Jurassic World: Dominion, Lightyear ของ Pixar ก็ทำรายได้ในระดับเดียวกันในปี 2019 ตามข้อมูลจาก Comscore

“สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นวันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี โดยสามารถทำรายได้เทียบกับตอนเปิดตัว ‘Spider-Man: No Way Home’ ที่ฉายในช่วงเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา” บร็อค แบกบี้ รองประธานบริหารของ B&B Theatres เครือโรงภาพยนตร์ระดับภูมิภาคในมิดเวสต์ กล่าว

ด้วยภาพยนตร์ระดับบล็อกบัสเตอร์ใหม่ ๆ ที่ทำให้ผู้คนมาที่โรงภาพยนตร์มากขึ้น ส่งผลให้บ็อกซ์ออฟฟิศในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ช่วงวันที่ 1 พฤษภาคมถึง 10 กรกฎาคม มีรายได้รวมราว 2.27 พันล้านดอลลาร์ ลดลงเพียง 12% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2019 ที่ปิด 2.58 พันล้านดอลลาร์ หรือก่อนจะมีก่อนเกิด COVID-19 ตามข้อมูลจาก Comscore สำหรับครึ่งปีแรกนี้ บ็อกซ์ออฟฟิศในอเมริกามียอดขายตั๋วไปแล้วมากกว่า 4.25 พันล้านดอลลาร์ โดยต่ำกว่าระดับก่อนเกิดโรคระบาดปี 2019 ที่ 30%

“ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพฤษภาคมมีการเปิดตัวภาพยนตร์มากมายที่กระตุ้นให้ผู้ชมกลับเข้าไปชมในโรงภาพยนตร์ โดยผู้บริโภคจะตอบสนองต่อภาพยนตร์ที่สนุก ตื่นเต้น สมความคาดหวัง” เจฟฟรีย์ คอฟแมน รองประธานอาวุโสฝ่ายภาพยนตร์และการตลาดของ Malco Theatres กล่าว

AMC Entertainment ซึ่งเป็นเครือข่ายโรงภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก รายงานว่า ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้ชมภาพยนตร์ถึง 5.9 ล้านคน และรายได้ค่าเข้าชมทั่วโลกแซงหน้าวันหยุดสุดสัปดาห์ในช่วงเวลาเดียวกันในปี 2019 ถึง 12%

“ผลงานบ็อกซ์ออฟฟิศทุกสัปดาห์ในฤดูร้อนนี้ได้แสดงให้เห็นสิ่งที่เราเชื่อว่าจะกลับมาตลอด ผู้บริโภคต้องการสัมผัสภาพยนตร์ของพวกเขาผ่านประสบการณ์โรงภาพยนตร์ที่ไม่มีอะไรเทียบได้ ด้วยหน้าจอขนาดใหญ่ เสียงที่กระหึ่ม ที่นั่งใหญ่และสบาย” อดัม อารอน ซีอีโอของ AMC กล่าว

นอกจากนี้ ผู้ชมยังเลือกซื้อตั๋วที่นั่งแบบ พรีเมียม มากกว่าช่วงที่เกิดการแพร่ระบาด รวมถึงโรง IMAX, Dolby, 3D และอื่น ๆ เพื่อสัมผัสประสบการณ์ใหม่ ๆ รวมถึงผู้ชมได้ใช้จ่ายมากขึ้นกับอาหารและเครื่องดื่มเช่นกัน

แม้สถานการณ์อุตสาหกรรมจะกลับมามีทิศทางที่สดใสใกล้เคียงก่อนเกิดการระบาด แต่จำนวนภาพยนตร์ที่เข้าฉายในปี 2022 โดยรวมลดลงมากกว่า 30% เมื่อเทียบกับปี 2019

]]>
1392651
นักวิเคราะห์คาด ‘Spider-Man: No Way Home’ ว่าที่ภาพยนตร์ ‘พันล้าน’ เรื่องแรกในยุคโควิด https://positioningmag.com/1368481 Thu, 23 Dec 2021 06:05:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1368481 ย้อนไปปี 2019 อุตสาหกรรมภาพยนตร์แทบจะเป็นอุตสาหกรรมที่รุ่งเรืองสุดขีด เพราะมีภาพยนตร์ที่ทำรายได้ทะลุ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐถึง 8 เรื่อง และอันดับ 1 ที่ทำเงินสูงสุดอย่าง Avengers: End Game ทำรายได้ทะลุ 2.7 พันล้านเหรียญฯ ขึ้นแท่นภาพยนตร์ที่รายได้สูงสุดตลอดกาล แต่มาปี 2020 ที่เกิดการระบาดของ COVID-19 อุตสาหกรรมก็เปลี่ยนไป

เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ทำให้หลายคนต้องใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านมากขึ้น หนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างมากก็คือ โรงภาพยนตร์ ทั่วโลกที่ต้องปิดตัวเกือบครึ่งปี ขณะที่ภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์หลายเรื่องก็ต้องเลื่อนฉายไป หรือไม่ก็ลงใน Streaming แทน

โดยในปี 2019 ภาพรวมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั่วโลกทำรายได้สูงสุดตลอดการที่ 4.25 หมื่นล้านเหรียญฯ แต่มาปี 2020 มูลค่าตลาดเหลือเพียง 1.24 หมื่นล้านเหรียญฯ ลดลงถึง 71% อย่างไรก็ตาม ในปี 2022 นี้ที่อุตสาหกรรมเริ่มฟื้นตัวเนื่องจากวัคซีน COVID-19 ทำให้มีการคาดการณ์ว่าภาพรวมของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั่วโลกน่าจะแตะที่ 2.02 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ

ปัจจุบัน ภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดในปี 2022 คือ The Battle of Lake Changjin ซึ่งเป็นภาพยนตร์จีนที่เข้าฉายในเดือนพฤศจิกายน และกวาดรายได้ไปทั่วโลก 904.9 ล้านเหรียญฯ ตามข้อมูลของ Comscore ภาพยนตร์จีนเรื่องอื่นเรื่อง Hi, Mom ซึ่งเปิดตัวในเดือนกุมภาพันธ์ ครองอันดับ 2 ด้วยยอดขายตั๋วทั่วโลก 900.4 ล้านเหรียญ

ที่น่าจับตาคือ Spider-Man: No Way Home ที่กำลังฉายในบ้านเราเพิ่งทำลายสถิติบ็อกซ์ออฟฟิศในอเมริกา และในเวลาไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์สามารถทำรายได้ทะลุ 751.3 ล้านเหรียญทั่วโลก ทำให้เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุด อันดับ 3 ของปี แต่มีการคาดการณ์ว่าอาจจะทำรายได้ทะลุ 1 พันล้านเหรียญ ได้ไม่ยาก

Paul Dergarabedian นักวิเคราะห์สื่ออาวุโสของ Comscore กล่าวว่า No Way Home ยังคงมียอดขายตั๋วที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องในวันจันทร์และวันอังคาร โดยทำเงินได้มากกว่า 150 ล้านดอลลาร์ที่บ็อกซ์ออฟฟิศทั่วโลก เมื่อเข้าสู่ช่วงสุดสัปดาห์ และแนวโน้มนี้คาดว่าจะยังร้อนแรงต่อไป โดยคาดว่าในช่วงสุดสัปดาห์นี้ อาจจะทำให้ No Way Home มีรายได้ทะลุ 1 พันล้านเหรียญฯ แบบชิล ๆ

เนื่องจาก สุดสัปดาห์นี้รวมถึงช่วงสัปดาห์หน้าเป็นช่วง 8 วันระหว่างวันคริสต์มาสอีฟและวันส่งท้ายปีเก่า ซึ่งถือเป็นช่วงที่พีคที่สุดช่วงหนึ่งสำหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ โดยทั่วไปรายได้ของภาพยนตร์ในช่วงเวลานี้จะคิดเป็น 4.5% ของรายรับบ็อกซ์ออฟฟิศทั้งปีตามข้อมูลจาก Comscore

อย่างไรก็ตาม Dergarabedian มองว่าอุปสรรคใหญ่ของอุตสาหกรรมในตอนนี้คือ การระบาดของ omicron อาจทำให้ยอดขายตั๋วของภาพยนตร์เรื่องนี้ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่โรงภาพยนตร์กลับมาปิดตัวลง โดยเริ่มเห็นโรงภาพยนตร์ในควิเบกปิดแล้วทั่วทั้งจังหวัด แต่แนวโน้มดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา

ทั้งนี้ ผู้ชมต่างแห่กันไปที่โรงภาพยนตร์เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อรับชม No Way Home ก่อนที่จะโดนสปอยจากโลกออนไลน์ และแฟน ๆ หลายคนก็กำลังกลับมาดูซ้ำ ซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับภาพยนตร์ Marvel Cinematic Universe (MCU)

“ภาพยนตร์ที่มีรายได้ 1 พันล้านเหรียญฯ ถือเป็นก้าวสำคัญ เพราะหลายคนเชื่อว่ามันเป็นไปไม่ได้ในยุคโควิดนี้ ดังนั้น สิ่งนี้ควรได้รับการเฉลิมฉลองโดยแฟนหนังในวงกว้าง” เจฟฟ์ บ็อค นักวิเคราะห์อาวุโสจาก Exhibitor Relations กล่าว

Source

]]>
1368481
สหภาพคนกอง “ฮอลลีวู้ด” ลงมติสไตรค์! ประท้วง “สตรีมมิ่ง” ขูดรีดแรงงานกองถ่าย https://positioningmag.com/1355242 Wed, 06 Oct 2021 10:17:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1355242 หลังยุคสตรีมมิ่งบูมสุดขีด หลังฉากคือการทำงานหนักของบรรดา “คนกอง” เพื่อป้อนคอนเทนต์ให้ทันความต้องการ จนในที่สุดสหภาพแรงงานที่ใหญ่ที่สุดของ “ฮอลลีวู้ด” หมดความอดทน มีมติให้ “สไตรค์” เพื่อตอบโต้นายจ้าง เรียกร้องเวลาทำงานที่เหมาะสม จากปัจจุบันต้องทำงานกันถึง 70-80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

International Alliance of Theatrical and Stage Employees (IATSE) สหภาพแรงงานที่ใหญ่ที่สุดของอุตสาหกรรมหนังฮอลลีวู้ด มีเครือข่ายสมาชิกกว่า 50,000 คน ทำงานในตำแหน่งต่างๆ เช่น ช่างกล้อง ช่างทำพร็อพประกอบฉาก ช่างทำผม ฯลฯ ลงมติโหวตคะแนนเสียงท่วมท้น 98% ว่าพวกเขาจะ “สไตรค์” เพื่อเรียกร้องสิทธิของตัวเอง โดยต้องการชั่วโมงทำงานที่น้อยลง และค่าจ้างที่เป็นธรรม

ก่อนหน้านี้ IATSE มีการพูดคุยกับ Alliance of Motion Picture and Television Producers (AMPTP) แต่สุดท้ายแล้วตกลงกันไม่ได้ โดยทาง IATSE เป็นฝ่ายคว่ำโต๊ะเจรจา แม้ว่า AMPTP จะยินยอมขยับค่าจ้างขึ้น ลดชั่วโมงทำงาน และมีแผนให้สิทธิประกันสุขภาพกับเงินบำนาญหลังเกษียณมูลค่าเกือบ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 13,600 ล้านบาท) แล้ว แต่ดีลที่ได้ยังไม่น่าพึงพอใจ

“แมทธิว โลบ” ประธานสหภาพ IATSE กล่าวว่า ผลโหวตได้ “ประกาศอย่างชัดเจนและกึกก้อง” แล้วสำหรับจุดยืนของคนกอง “การโหวตครั้งนี้หมายถึงการเรียกร้องคุณภาพชีวิต สุขภาพ และความปลอดภัยของคนทำงานในวงการภาพยนตร์และโทรทัศน์” โลบกล่าวในแถลงการณ์ “สำหรับคนที่ได้ค่าแรงต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม พวกเขาสมควรได้ค่าแรงที่ไม่น้อยไปกว่าค่าแรงขั้นต่ำที่ครองชีพได้จริง”

 

ทำงาน 70 ชม.ต่อสัปดาห์ อันตรายต่อสุขภาพ

หลายเดือนระหว่างการล็อกดาวน์เมื่อปี 2020 ทำให้กองถ่ายหนังและซีรีส์บูมสุดขีดในช่วงที่ผ่านมา และพนักงานกองถ่ายต่างกล่าวกันว่าดีมานด์ความต้องการตัวพวกเขาเริ่มแย่ยิ่งกว่าที่เคยเป็น

กิจกรรมเพ้นท์สีรถเพื่อแสดงออกถึงการเรียกร้องของ IATSE

การประท้องบนท้องถนนของลอสแอนเจลิสและบนโซเชียลมีเดีย พนักงานกองถ่ายฮอลลีวู้ดต่างแบ่งปันเรื่องราวทรมานใจของการทำงานวันละไม่ต่ำกว่า 15 ชั่วโมง รวมแล้วต้องทำงาน 70-80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

บางคนถึงกับต้องรับการผ่าตัด “จากการทำงาน” เพื่อฟื้นฟูสภาพหลังและเข่าของตัวเอง หลายคนได้รับผลกระทบต่อชีวิตสมรส และหลายคนพลาดไม่ได้ไปร่วมงานแต่งงานหรืองานศพของคนสำคัญในชีวิต

ในอุตสาหกรรมบันเทิง คำว่า “Fraturdays” เป็นศัพท์เฉพาะของคนกอง หมายถึง สภาพการทำงานที่คนกองต้องไปถึงกองถ่ายตั้งแต่ 6 โมงเช้าวันจันทร์ และมีคิวออกกองวันศุกร์ที่เริ่มเอาตอนบ่ายแก่ๆ จากนั้นก็ทำงานยาวไปจนถึงวันเสาร์เช้า ซึ่งทำให้วันหยุดไม่สามารถไปทำอะไรได้เลยนอกจากนอนพัก

กิจกรรมประท้วงในช่วงสองสัปดาห์ก่อนหน้านี้ (ที่มา : IATSE)

โธมัส พีซโกลอน ช่างมิกซ์เสียงรายหนึ่งที่ออกมาประท้วง ระบุว่าเขากำลังทำงานกับรายการมูลค่า 300 ล้านเหรียญรายการหนึ่งของสตรีมมิ่งแห่งหนึ่ง ส่วนใหญ่เขาต้องทำงาน 9 ชั่วโมงติดต่อกันก่อนที่จะได้พักกินข้าวเที่ยง และมีครั้งหนึ่งที่เขาต้องทำงาน 18 ชั่วโมงในวันเดียว

ขณะที่เพื่อนร่วมงานชื่อ เจด ธอมป์สัน ซึ่งเป็นแผนกเครื่องแต่งกายของรายการเดียวกัน ถึงกับหลับในระหว่างขับรถกลับบ้าน โชคดีที่เธอไม่ได้รับอันตราย ปัญหาหลับในหลังชั่วโมงทำงานอันทรหดเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปในหมู่คนกอง

 

“สตรีมมิ่ง” ขูดรีดคนกอง

อย่างไรก็ตาม การลงมติให้สไตรค์ ไม่จำเป็นต้องมีการสไตรค์จริงๆ ทันที คนกองหลายคนกล่าวกับสำนักข่าว BBC ว่า พวกเขายังหวังว่าสหภาพแรงงานจะนำการโหวตนี้ไปใช้เจรจาต่อรองเพื่อรับดีลที่ดีกว่าได้สำเร็จ

ครั้งสุดท้ายที่ฮอลลีวู้ดเคยปั่นป่วนเพราะปัญหาการประท้วงของแรงงานคือเมื่อช่วงปี 2007-2008 โดยกลุ่มมือเขียนบทรวมตัวกันสไตรค์ AMPTP และด้วยเหตุใกล้เคียงกันคือต้องการขึ้นค่าแรง ครั้งนั้นกลุ่มนักเขียนสไตรค์หยุดงานกันมากกว่า 100 วัน และทำให้หนัง ซีรีส์ หลายๆ เจ้าต้องเลื่อนวันฉายออกไปเพราะเหตุนี้

กองถ่ายต้องใช้พนักงานเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก (Photo : Shutterstock)

ดูเหมือนว่าครั้งนี้เป้าหมายความขุ่นเคืองจะอยู่ที่สตรีมมิ่งยักษ์ทั้ง Amazon และ Netflix ซึ่งสหภาพแรงงานมองว่ากำลังเอาเปรียบการทำงานของพวกเขา

“บริษัทสตรีมมิ่งเหมือนได้ส่วนลดจากการใช้แรงงานพวกเรา” ลิซ่า คลาร์ก ฝ่ายตกแต่งฉาก กล่าว “เราสมควรได้ส่วนแบ่งที่ยุติธรรมจากกำไรของบริษัท เราควรจะได้รับค่าจ้างอย่างน้อยเท่าๆ กับที่เราเคยได้เมื่อครั้งทำงานให้กับเครือข่ายโทรทัศน์”

บริการสตรีมมิ่งกำลังบีบให้คนทำงานทุ่มเวลาให้งานเสร็จในระยะสั้นๆ คลาร์กกล่าวเปรียบเทียบว่า เธอมีเวลาแค่ 10 สัปดาห์ในการเตรียมฉากถ่ายทำเป็นร้อยๆ ฉาก จากปกติปริมาณงานขนาดนี้ต้องใช้เวลาเตรียมตั้ง 6 เดือน “เป็นคำขอที่ไม่มีเหตุผลเอาเสียเลย” คลาร์กกล่าว

Source

]]>
1355242
อนาคตโรงหนังเริ่มสดใสหลัง ‘Godzilla vs. Kong’ ทำรายได้เปิดตัวสูงสุดนับตั้งแต่โควิดระบาด https://positioningmag.com/1326700 Mon, 05 Apr 2021 09:39:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1326700 ถือเป็นข่าวดีของอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ที่หนัง ‘Godzilla vs. Kong’ ทำรายได้ไปแล้วเกือบ 300 ล้านดอลลาร์ จากที่ในปี 2020 อุตสาหกรรมภาพยนตร์ต้องเผชิญกับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 อย่างหนัก ทั้งต้องปิดโรงภาพยนตร์ หรือแม้ว่าจะกลับมาเปิดอีกครั้งก็ต้องจำกัดจำนวนการเข้าชม ขณะที่ค่ายภาพยนตร์ต่างก็ทยอยเลื่อนเปิดตัวภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์หลายเรื่อง

เมื่อช่วงเดือนธันวาคมปี 2020 ค่าย ‘Warner Bros.’ (วอร์เนอร์บราเธอร์ส) ได้ปล่อยภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์อย่าง ‘Wonder Woman 1984’ ซึ่งทำเงิน 3 วันแรกในอเมริกาได้ 16.7 ล้านดอลลาร์ตามข้อมูลของ Comscore (SCOR) ขณะที่ ‘Godzilla vs. Kong’ สามารถทำรายได้เปิดตัว 3 วันแรกในอเมริกาที่ 32.2 ล้านดอลลาร์ และทำรายได้ 48.5 ล้านดอลลาร์ในช่วง 5 วันแรก กลายเป็นภาพยนตร์ที่เปิดตัวสูงสุดนับตั้งแต่ COVID-19 ระบาด

รายได้ของ Godzilla vs. Kong เหนือคาดหมายของอุตสาหกรรมอย่างมาก จากที่คาดว่ารายได้ 5 วันแรกจะอยู่ที่ 20 ล้านดอลลาร์เท่านั้น ขณะที่ภาพรวมทั่วโลกสามารถทำรายได้แล้ว 285.4 ล้านดอลลาร์ ซึ่งนี่ถือเป็นสัญญาณดีที่ทำให้อุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์มีความหวังว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร

ดูเหมือนว่าภาพยนตร์กำลังจะกลับมา ถ้าฉันเป็นเจ้าของโรงละครนี่จะรู้สึกเหมือนมีชีวิตใหม่และถ้าฉันเป็นสตูดิโอภาพยนตร์สิ่งนี้จะช่วยให้ฉันมีความมั่นใจมากขึ้นในการเปิดตัวภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์อย่างแน่นอนShawn Robbins หัวหน้านักวิเคราะห์ของ Boxoffice.com กล่าว

ภาพจาก Facebook GodzillaVsKongMovieThailand

โดยทั่วไปแล้ว การทำรายได้ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ 48.5 ล้านดอลลาร์ไม่ได้มีนัยสำคัญอะไร แต่หลังจากที่โรงภาพยนตร์ได้รับความเสียหายจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 มานานกว่าหนึ่งปี อุตสาหกรรมต้องปิดตัวลงโรงภาพยนตร์ทั่วโลก ขณะที่การจะดึงดูดผู้ชมให้กลับมาก็ยิ่งยากแม้ว่าจะเปิดโรงภาพยนตร์แล้วก็ตาม และเมื่อพิจารณาว่าโรงภาพยนตร์ยังไม่สามารถให้บริการได้อย่างเต็มรูปแบบ 100% ดังนั้น รายได้รวมของภาพยนตร์เรื่องนี้น่าประทับใจอย่างยิ่ง

ไม่ใช่แค่เป็นสัญญาณดีว่าอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์กลับมาฟื้นตัว แต่เพราะ Godzilla vs. Kong นั้นได้ฉายในสตรีมมิ่งควบคู่กันไปด้วย เลยถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าสตรีมมิ่งซึ่งเป็นอนาคตของฮอลลีวูดสามารถทำธุรกิจที่ดีควบคู่ไปกับการฉายโรงซึ่งเป็นส่วนสำคัญในอดีตของวงการภาพยนตร์ฮอลลีวูด

ทั้งนี้ Warner Bros. ประกาศในเดือนธันวาคมว่าภาพยนตร์ทั้งหมดในปี 2021 จะเข้าฉายในโรงภาพยนตร์และฉายใน HBO Max พร้อมกันดังนั้น Godzilla vs. Kong จึงมีให้บริการในบริการสตรีมมิ่ง HBO Max ของ WarnerMedia และในโรงภาพยนตร์เมื่อเปิดตัวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

ท้ายที่สุด เวลาจะบอกได้ว่าบ็อกซ์ออฟฟิศที่ประสบความสำเร็จในการเปิดตัว ‘Godzilla vs.Kong’ จะเป็นแค่ภาพยนตร์เรื่องเดียวหรือเป็นจุดเริ่มต้นของการพลิกผันครั้งใหญ่ของโรงภาพยนตร์

CNBC / CNN

]]>
1326700
โรงหนัง ‘นิวยอร์ก’ ตลาดใหญ่เบอร์ 2 ของอเมริกาเปิดอีกครั้ง คาดจุดสำคัญฟื้นอุตสาหกรรม https://positioningmag.com/1320629 Tue, 23 Feb 2021 12:13:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320629 หลังจากที่โรงภาพยนตร์ในมหานคร ‘นิวยอร์ก’ ถูกปิดไปตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2020 นับเป็นเวลาเกือบปีทีเดียวที่ไม่ได้ให้บริการ แต่หลังจากที่ผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ในนิวยอร์กค่อย ๆ ลดลง จนปัจจุบันเฉลี่ยที่สัปดาห์ละ 7,400 ราย ลดลงมากกว่า 13% ทำให้บริการต่าง ๆ เริ่มกลับมาเปิดอีกครั้ง รวมถึงโรงภาพยนตร์ด้วย

การประกาศเปิดโรงภาพยนตร์เป็นความเคลื่อนไหวล่าสุดของผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก เพื่อเปิดเศรษฐกิจของรัฐอีกครั้ง โดยนอกจากโรงภาพยนตร์แล้วยังมีสนามกีฬาขนาดใหญ่ เช่น Barclays Center และ Madison Square Garden ที่กำลังเตรียมต้อนรับแฟน ๆ จำนวนจำกัดสำหรับเกมบาสเกตบอล รวมไปถึงสวนสนุกต่าง ๆ ก็สามารถเปิดได้อีกครั้ง โดยจะเริ่มเปิดได้ในช่วงเดือนมีนาคม

อย่างไรก็ตาม โรงภาพยนตร์ในนิวยอร์กจะไม่ได้เปิดให้บริการ 100% แต่จะสามารถจุได้ไม่เกิน 25% หรือไม่เกิน 50 คนต่อโรง และจะต้องมีการตรวจคัดกรอง ต้องใส่หน้ากากอนามัย และเว้นระยะห่างของที่นั่ง โดยเจ้าของโรงหนังพอใจกับการประกาศว่าโรงภาพยนตร์ในนครนิวยอร์ก แม้จะมีระเบียบปฏิบัติด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่เข้มงวด

“การประกาศของผู้ว่าการคูโม่ว่าโรงภาพยนตร์สามารถเปิดให้บริการอีกครั้งในนิวยอร์กซิตี้ ในสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม ถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการฟื้นฟูสุขภาพของอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ และบริษัทของเรา” อดัม อารอน ซีอีโอของ AMC กล่าว

อดัม กล่าวว่า บริษัท AMC จะเปิดโรงภาพยนตร์ทั้ง 13 แห่งในนิวยอร์กซิตี้อีกครั้งในวันที่ 5 มีนาคมนี้ โดยจะได้ฉายภาพยนตร์อนิเมชั่นฟอร์มยักษ์จากดิสนีย์เรื่อง ‘Raya and the Last Dragon’ ที่ฉายพร้อมกับลงสตรีมมิ่ง Disney+ และฉาย ‘Godzilla v. Kong’ จากค่าย Warner Bros. ในเดือนเดียวกันด้วย

ทั้งนี้ มหานครนิวยอร์กเป็นศูนย์กลางสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการขายตั๋วภาพยนตร์ โดยมีโรงภาพยนตร์เกือบ 300 แห่ง ถือเป็นตัวขับเคลื่อนยอดขายตั๋วที่สูงเป็นอันดับสองในสหรัฐอเมริการองจาก Los Angeles ซึ่งคิดเป็น 8.9%

นอกจากนี้ นิวยอร์กซิตี้มีราคาตั๋ว และความหนาแน่นของประชากรสูงกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งหมายความว่าสร้างรายได้ให้กับอุตสาหกรรมมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ ของสหรัฐอเมริกา และแคนาดา นั่นเป็นหนึ่งในเหตุผลที่สตูดิโอกระตือรือร้นที่จะผลักดันภาพยนตร์ไปตามไทม์ไลน์ และรอให้โรงภาพยนตร์ในนิวยอร์กเปิดให้คนเข้าชม

“นิวยอร์กซิตี้ถือเป็นตลาดหลักสำหรับการรับชมภาพยนตร์ในสหรัฐอเมริกา การเปิดตัวอีกครั้งทำให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ และเป็นก้าวสำคัญในการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมทั้งหมด”

CNBC / theverge

]]>
1320629