เงิน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 07 Feb 2024 09:09:42 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 มูลค่า ‘โลหะเงิน’ อาจทำสถิติสูงสุดในรอบ 10 ปี เนื่องจากความต้องการที่พุ่งสูง สวนทางปริมาณที่ลดลง https://positioningmag.com/1461787 Wed, 07 Feb 2024 01:47:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1461787 ปี 2024 นี้อาจเป็นปีทองของ เงิน เพราะราคาอาจจะแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี เนื่องจากความต้องการทั่วโลกที่คาดว่าจะสูงถึง 1.2 พันล้านออนซ์เลยทีเดียว 

สถาบันโลหะเงิน (Silver Institute) ได้ประเมินว่า ความต้องการ โลหะเงิน ทั่วโลกคาดว่าจะสูงถึง 1.2 พันล้านออนซ์ ในปี 2024 ซึ่งจะเป็น ระดับสูงสุดเป็นอันดับสองเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากโลหะเงินถูกใช้เป็นหลักในหลายอุตสาหกรรม อาทิ การผลิตรถยนต์, แผงโซลาร์เซลล์, เครื่องประดับ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 

โดยเฉพาะความต้องการเครื่องเงินที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 9% และความต้องการเครื่องประดับเพิ่มขึ้น 6% ในปีนี้ โดย อินเดีย จะเป็นประเทศหลักที่จะผลักดันการซื้อเครื่องประดับให้พุ่งสูงขึ้น รวมถึงการฟื้นตัวของตลาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ก็พร้อมที่จะกระตุ้นตลาดเงินเพิ่มเติม

“การเติบโตของหลายอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่งขึ้น เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาหลักสําหรับความต้องการโลหะเงินทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น เราคิดว่าโลหะเงินจะมีปีที่ยอดเยี่ยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของความต้องการ” Michael DiRienzo กรรมการบริหารของ Silver Institute กล่าว

ไม่ใช่แค่ความต้องการที่มากขึ้น แต่แร่เงินอยู่ในภาวะขาดแคลน และมีปริมาณลดลงอย่างเห็นได้ชัด อย่างในสต๊อกการถือครองซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ในนิวยอร์กและลอนดอน ก็มีการลดลงมากกว่าทองคำ

DiRienzo คาดว่า ราคาโลหะเงินจะแตะ 30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งจะเป็นระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี จากปัจจุบันโลหะเงินมีมูลค่าประมาณ 22.5 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยครั้งสุดท้ายที่โลหะเงินแตะ 30 ดอลลาร์ ต้องย้อนไปในในเดือนกุมภาพันธ์ 2013

ทั้งนี้ เงินมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ ทองคำ เมื่อพูดถึงราคา โดยราคาทองคํามักจะสูงขึ้นในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจอ่อนแอหรือความไม่แน่นอน และเงินเองก็มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและผันผวนมากกว่าทองคํา แต่มันมีแนวโน้มที่จะมีประสิทธิภาพเหนือกว่าทองคำในช่วงที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง แต่มีประสิทธิภาพต่ำกว่าเมื่อมีความเครียดทางเศรษฐกิจ

Source

]]>
1461787
‘โลหะเงิน’ อาจแตะระดับสูงสุดในรอบ 9 ปี แถมมีแนวโน้มแซงหน้าราคา ‘ทองคำ’ https://positioningmag.com/1416691 Wed, 25 Jan 2023 07:40:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1416691 โลหะเงิน ถือเป็นโลหะมีค่าที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง และจากความต้องการใช้โลหะเงินที่มากขึ้นในปีนี้ มีการคาดการณ์ว่าราคาโลหะเงินอาจพุ่งทำระดับสูงสุดในรอบ 9 ปี และอาจจะแซงหน้าราคาทองคำเลยทีเดียว

นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ราคาโลหะเงินอาจแตะระดับสูงสุดในรอบ 9 ปีที่ 30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ในปีนี้ ซึ่งอาจแซงหน้าราคาทองคำ เนื่องจากอุปทานที่ไม่เพียงพอ รวมถึงแนวโน้มที่เงินให้ ผลกำไรได้ดีกว่าทองคำ ในช่วงที่อัตราเงินเฟ้อสูง

“ครั้งสุดท้ายที่เม็ดโลหะเงินแตะระดับ 30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ คือในเดือนกุมภาพันธ์ 2013 และจากที่ผ่านมา โลหะเงินเคยทำกำไรได้เกือบ 20% ในปีที่อัตราเงินเฟ้อสูง จึงไม่น่าแปลกใจที่ราคาโลหะเงินจะพุ่งไปที่ 30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในปีนี้” Janie Simpson ซีอีโอของ ABC Bullion กล่าว

ทั้งนี้ เม็ดโลหะเงิน (silver spot) เคยทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 49.45 ดอลลาร์ในปี 1980 เทียบกับอัตราเงินเฟ้อที่ 13.5% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากประมาณ 4 ดอลลาร์ในปี 1976 เมื่ออัตราเงินเฟ้อที่ 5.7% และช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา โลหะเงินมีการซื้อขายอยู่ที่ 24.02 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เทียบกับอัตราเงินเฟ้อที่ 6.5%

ปัจจุบันแร่เงินอยู่ในภาวะขาดแคลนและมีการลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยปัจจุบันเงินเป็นโลหะที่ใช้โดยทั่วไปในการผลิตยานยนต์ แผงโซลาร์เซลล์ เครื่องประดับ และอิเล็กทรอนิกส์ และคาดว่าแร่เงินจะ ขาดดุลมากกว่า 100 ล้านออนซ์ในอีก 5 ปีข้างหน้า เนื่องจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม โดยปัจจุบันการใช้แร่เงินในภาคอุตสาหกรรมคิดเป็นเกือบ 50% ของความต้องการทั้งหมด

“ความต้องการดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 15% ในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยเป็นผลมาจากความต้องการทางอุตสาหกรรมที่เร่งตัวขึ้นจากการใช้งานยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์” Nicky Shiels หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์โลหะของบริษัทค้าโลหะมีค่า MKS PAMP กล่าว

จากข้อมูลของ The Silver Institute ระบุว่า ในปี 2022 มีซัพพลายแร่เงินจากเหมืองแร่รวมทั้งหมด 843.2 ล้านออนซ์ ซึ่งถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับระดับสูงสุดในปี 2016 ที่ผลิตได้ 900 ล้านออนซ์ ขณะที่ Randy Smallwood ประธานบริษัทเหมือง Wheaton Precious Metals บอกว่า ซัพพลายโลหะเงินขึ้นถึงระดับสูงสุดเมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว จากนั้นการผลิตโลหะเงินทั่วโลกก็ลดลง และจะไม่ได้เห็นแร่เงินจากเหมืองในปริมาณมากเท่านั้นแล้ว

Source

]]>
1416691
‘เเบงก์ชาติสิงคโปร์’ สั่งธนาคาร จับตาธุรกรรมน่าสงสัยกับ ‘เมียนมา’ หวั่นก่ออาชญากรรมการเงิน https://positioningmag.com/1321984 Thu, 04 Mar 2021 12:10:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1321984 ธนาคารกลางสิงคโปร์ เเจ้งสถาบันการเงินภายในประเทศ จับตาธุรกรรมที่น่าสงสัยระหว่างสิงคโปร์กับเมียนมา ทั้งการโอนเงินหรือเงินหมุนเวียนของกองทุน เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับอาชญากรรมทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้ หลังการทำรัฐประหารในเมียนมา

ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) ได้ส่งหนังสือเวียน เเจ้งเตือนไปยังผู้เหล่าผู้บริหารของสถาบันการเงินทุกเเห่งในประเทศ ให้ตรวจสอบสถานะกิจการ ประเมินทรัพย์สินของบริษัท (Due Diligence) ของลูกค้ารายสำคัญด้วยความระมัดระวัง และใช้มาตรการลดความเสี่ยงที่เหมาะสมสำหรับสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง 

ความเคลื่อนไหวดังกล่าว เกิดขึ้นท่ามกลางการเดินขบวนประท้วงเพื่อประชาธิปไตยในเมียนมา หลังกองทัพประกาศเข้ายึดอำนาจ

MAS มองว่า สถานการณ์ความรุนแรงในเมียนมา มีความเสี่ยงที่จะนำไปสู่การฟอกเงิน การระดมเงินทุนเพื่อการก่อการร้าย หรืออาจก่ออาชญากรรมทางการเงินประเภทอื่นๆ ได้ ซึ่งหากสถาบันการเงินตรวจพบการทำธุรกรรมที่น่าสงสัย ต้องแจ้งให้ธนาคารกลางทราบในทันที

นอกจากนี้ ยังขอให้สถาบันการเงิน ติดตามความเป็นไปในเมียนมาที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วรวมถึงมาตรการคว่ำบาตรต่อเมียนมาของประเทศต่างๆ ด้วย

สิงคโปร์เเละเมียนมา มีเงินไหลเวียนข้ามพรมเเดนระหว่างกันจำนวนมาก เเละมีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ใกล้ชิด เเละสิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศที่เข้าไปลงทุนรายใหญ่

ก่อนหน้านี้ลี เซียนลุงนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ กล่าวว่า การที่กองทัพเมียนมาใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมของผู้ประท้วงที่ไม่ติดอาวุธ ถึงขั้นเสียชีวิตเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ พร้อมเสนอให้คณะรัฐประหารปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี และหาทางออกกับสถานการณ์ในประเทศอย่างสันติ

 

ที่มา : Reutersthestar 

]]>
1321984
ทิศทางตลาดเงินปี 64 กรุงศรีฯ มอง “บาทไทยยังแข็ง” แตะ 29.25 บาท/ดอลลาร์ ทุนต่างชาติไหลเข้า https://positioningmag.com/1308787 Wed, 02 Dec 2020 15:43:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308787 ทิศทางตลาดเงินปี 2564 จะผันผวนน้อยลงกว่าปีนี้ เเต่ยังมีความไม่เเน่นอนสูงเเบงก์กรุงศรีฯ ประเมินเงินบาทเเข็งค่ายาวถึงสิ้นปี 64 เเตะ 29.25 บาท จากเเนวโน้มเงินดอลลาร์ที่ยังอ่อนค่า มองกระแสเงินทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดเกิดใหม่โดยเฉพาะอาเซียน ส่วนภาพรวมการลงทุนจะราบเรียบแต่ไม่ราบลื่น

ตรรก บุนนาค ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวถึง การคาดการณ์ตลาดเงินในปี 2564 ว่ายังมีความผันผวนเเละเงินบาททีเเนวโน้มเเข็งค่าจากปัจจัยทั้งในเเละนอกประเทศ

  • ไตรมาส 1 ปี 2564 คาดว่าค่าเงินบาทจะอยู่ที่ 30.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
  • ไตรมาส 2 ปี 2564 คาดว่าจะอยู่ที่ 29.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
  • ไตรมาส 3 ปี 2564 คาดว่าจะอยู่ที่ 29.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
  • ไตรมาสปี 2564 คาดว่าจะอยู่ที่ 29.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ปัจจัยต่างประเทศหลักๆ มาจากเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง (ทำให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าต่อ) จากนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของสหรัฐฯ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤต COVID-19 ทั้งการขยายวงเงิน QE การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำ (0.00-0.25%) ต่อเนื่อง

นอกจากนี้ มองว่าสงครามการค้าระหว่างจีนสหรัฐฯ เเละการกีดกันทางการค้าต่างๆ ที่มีแนวโน้มลดความรุนแรงลง จะมีส่วนช่วยกดดันค่าเงินหยวนและสกุลคู่ค้าในภูมิภาค ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวจะส่งผลให้เงินทุนไหลกลับเข้าสู่กลุ่มตลาดเกิดใหม่อย่างอาเซียน รวมถึงประเทศไทยด้วย

ปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องติดตาม ได้แก่ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 ทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาด นโยบายการเงินและการคลังของยุโรปที่จะรับมือต่อโรคระบาด การพัฒนาและกระจายวัคซีน รวมถึงข้อสรุปของ Brexit ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด

ส่วนปัจจัยในประเทศ คือการที่บัญชีเดินสะพัดของไทยยังเกินดุลเล็กน้อย เเต่การท่องเที่ยวของไทยฟื้นตัวช้า มาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อชะลอเงินบาทที่แข็งค่าอย่างรวดเร็ว รวมถึงการผ่อนคลายเกณฑ์ให้ไปลงทุนในต่างประเทศ 

ปัจจัยที่ชี้นำเงินบาทในปีหน้า เราให้น้ำหนักกับปัจจัยภายนอกเป็นหลักประมาณ 70-80% ที่เหลือเป็นปัจจัยในประเทศ

สำหรับภาคการส่งออกของไทยนั้น จะยังได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทต่อเนื่อง เพราะที่ผ่านมาผู้ประกอบการส่วนใหญ่เคยชินกับค่าเงินที่อยู่ในระดับ 30-31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่หากเเนวโน้มเงินบาทมีโอกาสจะแข็งค่าถึงระดับ 29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ก็จะส่งผลกระทบอย่างแน่นอน

ขณะที่ทิศทางเศรษฐกิจไทยและอัตราดอกเบี้ย มองว่า เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวไม่ทั่วถึง มีความเสี่ยงขาลงสูงมาก โดยมีจุดเปราะบางสำคัญ คือปัญหาว่างงานและหนี้ภาคครัวเรือนที่พุ่งสูง โดยศูนย์วิจัยกรุงศรี คาดว่า GDP ปี 2564 จะขยายตัวที่ 3.3% แม้ว่าปี 2563 นี้จะติดลบราว 6.4% คาดว่า กนง. จะตรึงดอกเบี้ยนโยบายตลอดปี 2564 ไว้ที่ 0.5%”

ด้านภาพรวมการลงทุนในปี 2564 มองว่าจะราบเรียบแต่ไม่ราบลื่นเพราะแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาก สะท้อนจากดัชนีตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระดับสูงกว่า 1,400 จุด

ส่วนผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น คาดว่าจะอยู่ระดับต่ำ ตามแนวโน้มการตรึงดอกเบี้ยนโยบายส่วนการระดมทุนจากภาคเอกชนและภาครัฐส่งผลให้อัตราผลตอบแทนระยะยาวสูงขึ้นเล็กน้อย

 

]]>
1308787