เดินทางข้ามประเทศ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 13 Jan 2022 05:21:01 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 10 อันดับสัญชาติถือ “พาสปอร์ต” ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกแห่งปี 2022 https://positioningmag.com/1370261 Thu, 13 Jan 2022 04:16:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370261 โลกเริ่มเปิดการเดินทางแม้จะยังหวาดระแวงโอมิครอน ทำให้ผู้ถือ “พาสปอร์ต” ที่ไม่ต้องขอวีซ่าก่อนเข้าประเทศได้หลายประเทศ เป็นกลุ่มที่มีทางเลือกมากและสะดวกกว่าสัญชาติอื่น ปีนี้ “ญี่ปุ่น” กลับมาทวงบัลลังก์แชมป์โดยตีคู่มากับพาสปอร์ต “สิงคโปร์” อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของ 10 อันดับแรกนั้น ประเทศในยุโรปยังเป็นกลุ่มหลักที่ถือพาสปอร์ตทรงอิทธิพลที่สุด

Henley Passport Index อ้างอิงข้อมูลจากดาต้าของ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) มีการจัดอันดับ “พาสปอร์ต” ที่ทรงอิทธิพล เข้าออกได้หลายประเทศโดยไม่ต้องขอวีซ่ามากที่สุด มาตั้งแต่ปี 2006

ในปี 2022 จากดาต้าพบว่า การควบคุมการระบาดโรค COVID-19 ทำให้เกิดกำแพงกั้นการเดินทางมากกว่าก่อนเกิดโรคระบาด และทำให้ปีนี้คือปีที่เกิดความแตกต่างของผู้ถือพาสปอร์ตมากที่สุดในรอบ 16 ปี นับตั้งแต่ที่ Henley Passport Index เคยจัดอันดับมา (ทั้งนี้ ดัชนีนี้ไม่ได้นับรวมถึงกฎระเบียบแบบชั่วคราว นับเฉพาะกฎพื้นฐานเท่านั้น)

ดัชนีพบว่า “ญี่ปุ่น” และ “สิงคโปร์” ซึ่งได้อันดับ 1 ร่วมพาสปอร์ตทรงอิทธิพลปี 2022 สามารถเข้าออกได้ถึง 192 ประเทศโดยไม่ต้องขอวีซ่า ขณะที่ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกาซึ่งอยู่ท้ายตารางจากการรวบรวมข้อมูลพาสปอร์ต 199 ประเทศ สามารถเข้าออกประเทศอื่นได้แบบไม่ต้องขอวีซ่าก่อนเพียงแค่ 26 ประเทศ กลายเป็นช่องว่างที่แตกต่างกันอย่างมาก

สำหรับญี่ปุ่นนั้นถือว่าเป็นการกลับมาทวงแชมป์ เพราะปีที่แล้วเสียตำแหน่งไปให้กับ “นิวซีแลนด์”

ผู้ถือพาสปอร์ตสิงคโปร์ ได้อันดับ 1 ร่วมกับพาสปอร์ตญี่ปุ่น

ถึงแม้ว่าญี่ปุ่นและสิงคโปร์จะได้อันดับ 1 แต่ภาพรวมของกลุ่ม 10 อันดับแรกยังเป็นประเทศในทวีปยุโรปเสียส่วนใหญ่ที่ประชากรจะเดินทางไปทั่วโลกได้ง่ายกว่าผู้อื่น

10 อันดับสัญชาติผู้ถือ “พาสปอร์ต” ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก ปี 2022

อันดับ 1 (192): ญี่ปุ่น, สิงคโปร์
อันดับ 2 (190): เกาหลีใต้, เยอรมนี
อันดับ 3 (189): ฟินแลนด์, อิตาลี, ลักเซมเบิร์ก, สเปน
อันดับ 4 (188): ฝรั่งเศส, เนเธอร์แลนด์, เดนมาร์ก, สวีเดน, ออสเตรีย
อันดับ 5 (187): ไอร์แลนด์, โปรตุเกส
อันดับ 6 (186): สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, สวิตเซอร์แลนด์, นอร์เวย์, เบลเยียม, นิวซีแลนด์
อันดับ 7 (185): ออสเตรเลีย, แคนาดา, เช็ก, กรีซ, มอลตา
อันดับ 8 (183): โปแลนด์, ฮังการี
อันดับ 9 (182): ลิทัวเนีย, สโลวาเกีย
อันดับ 10 (181): เอสโตเนีย, ลัตเวีย, สโลวีเนีย

(ตัวเลขในวงเล็บคือจำนวนประเทศที่ผู้ถือพาสปอร์ตเข้าได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า)

ด้านประเทศที่ผู้ถือพาสปอร์ตเข้าออกประเทศอื่นได้น้อยที่สุด คือน้อยกว่า 40 ประเทศ ได้แก่ เกาหลีเหนือ (39), เนปาล และ ปาเลสไตน์ (37), โซมาเลีย (34), เยเมน (33), ปากีสถาน (31), ซีเรีย (29), อิรัก (28) และ อัฟกานิสถาน (26)

ค่าเฉลี่ยกลางของจำนวนประเทศที่เข้าออกได้โดยไม่ต้องขอวีซ่าอยู่ที่ 107 ประเทศ สำหรับประเทศไทยสามารถเข้าออกประเทศอื่นโดยไม่ต้องขอวีซ่าได้ 79 ประเทศ อยู่ในอันดับที่ 65 ร่วมกับอีก 3 ประเทศ คือ ซาอุดีอาระเบีย, โบลิเวีย และเบลารุส

Source

]]>
1370261
ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ เตรียม ‘เปิดพรมแดน’ สำหรับการเดินทางเพื่อธุรกิจโดยไม่ต้อง ‘กักตัว’ https://positioningmag.com/1300420 Wed, 07 Oct 2020 09:02:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1300420 ความสัมพันธ์ของประเทศ ‘ญี่ปุ่น’ และ ‘เกาหลีใต้’ ในปัจจุบันนี้ ถือว่ากำลังจมดิ่งลงสู่ระดับต่ำสุดในประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ล่าสุดได้เริ่มเห็น ‘สัญญาณดี’ เมื่อทั้ง 2 ประเทศเตรียมเปิดพรหมแดนสำหรับการเดินทางเพื่อธุรกิจ

การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ประชากรของประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ห้ามเดินทางระหว่างประเทศ แต่ล่าสุด ภายใต้ข้อตกลงทวิภาคีผู้เดินทางระยะสั้นเพื่อทำ ‘ธุรกิจ’ นั้นไม่จำเป็นต้องกักตัวเป็นเวลา 14 วัน แต่ผู้ที่เดินทางจะต้อง ‘ตรวจเชื้อ COVID-19’ ก่อน และต้องส่งแผนการเดินทางให้เจ้าหน้าที่ เพื่อที่จะดำเนินการเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส ส่วนชาวต่างชาติและผู้อยู่อาศัยระยะยาวอื่น ๆ จะได้รับอนุญาตให้เข้ามา โดยมีเงื่อนไขว่าพวกเขาถูกกักตัวเป็นเวลาสองสัปดาห์

(Photo : Shutterstock)

“ปัจจุบันความสัมพันธ์ญี่ปุ่น – เกาหลีใต้อยู่ในสถานการณ์ที่รุนแรงอย่างยิ่ง ดังนั้นการแลกเปลี่ยนผู้คนจากทั้งสองประเทศโดยเริ่มจาก นักธุรกิจ จึงมีความสำคัญมาก” โทชิมิสึ โมเทกิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าว

ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้แย่ลงมาก หลังจากที่ศาลเกาหลีใต้ตัดสินลงโทษบริษัทญี่ปุ่นและสั่งให้พวกเขาชดเชยเงินเนื่องจากมีการบังคับใช้แรงงานในช่วงสงคราม คำวินิจฉัยเหล่านั้นทำให้โตเกียวต้องตอบโต้ด้วยการควบคุมการส่งออกวัสดุที่ใช้ในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ให้กับประเทศเกาหลีใต้ ขณะที่เจ้าหน้าที่ของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ได้เริ่มเจรจาเรื่องการเริ่มต้นการเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจกันอีกครั้งตั้งแต่เดือนกรกฎาคม และเมื่อเดือนที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีโยชิฮิเดะ สุงะและประธานาธิบดีมุน แจอิน ของเกาหลีใต้คุยโทรศัพท์เพื่อเร่งการเจรจากัน

รายงานขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติญี่ปุ่นระบุว่า ประเทศญี่ปุ่นมีนักท่องเที่ยวชาวเกาหลีใต้ราว 5.58 ล้านคนต่อปี ซึ่งถือเป็นอันดับ 2 รองจากประเทศจีนที่มีประมาณ 9.59 ล้านคนต่อปี  ขณะที่มีประชากรจากเกาหลีใต้ประมาณ 310,000 คนที่เดินทางมาเพื่อติดต่อธุรกิจ

Source

]]>
1300420
เปิดโพล! “คนไทย” ส่วนใหญ่เห็นด้วยงดบินข้ามประเทศยาวไปถึงเดือนกันยายน https://positioningmag.com/1283234 Thu, 11 Jun 2020 16:52:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1283234 กระทรวงสาธาณสุขเผย 2 ผลสำรวจ คนแห่ออกนอกบ้านมากขึ้น ส่วนใหญ่ไปทำงาน ตลาด ซูเปอร์มาร์เกต ร้านอาหาร มาตรการป้องกันแต่ละสถานที่ยังหลวม “ขนส่งสาธารณะ” มาตรการยังไม่เข้มพอ เห็นด้วยงดบินข้ามประเทศยาวถึง ก.ย. แต่ครึ่งหนึ่งขอให้เปิดช่วง ต.ค.นี้ เกือบทั้งหมดเห็นด้วยกักตัว 14 วันคนเข้าประเทศ

กระทรวงสาธารณสุขแถลงข่าวผลสำรวจพฤติกรรมประชาชนในช่วงโรค COVID-19 จำนวน 2 ผลการสำรวจ แบ่งเป็น

1. การสำรวจเรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในระหว่างมาตรการผ่อนปรน สำรวจระหว่างวันที่ 8 พ.ค. – 4 มิ.ย. โดย สธ.ร่วมกับองค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสำนักงานสถิติแห่งชาติ

2. ผลการสำรวจทัศนคติความเห็นของประชาชน โดยดีดีซีโพล กรมควบคุมโรค

Photo : Shutterstock

ภญ.วลัยพร พัชรนฤมล ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ และสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) สธ. กล่าวว่า

การสำรวจการป้องกันโรค COVID-19 ในระหว่างมาตรการผ่อนปรน เก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามใน Google Form โดยให้ อสม.จังหวัดต่างๆ เคาะประตูบ้านให้ช่วยตอบแบบสอบถาม ตั้งเป้าหมาย 550 รายต่อจังหวัดต่อสัปดาห์ ได้ผู้ตอบแบบสอบถาม 143,827 ราย สำรวจออนไลน์ 69,489 ราย และนักศึกษาแพทย์คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี โทรศัพท์สัมภาษณ์ 1,882 ราย พบว่า

  • พฤติกรรมป้องกันตนเองอยู่ในระดับที่ดี ประกอบด้วย การสวมหน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ รักษาระยะห่าง ใช้ช้อนกลางส่วนตัว ไม่จับหน้าตาตัวเอง
  • แต่เมื่อรัฐบาลผ่อนปรน พฤติกรรมที่ดีก็ตกลงมา เมื่อผ่อนปรนระยะที่ 2 ก็ได้กระตุ้นเตือน ทำให้พฤติกรรมดีขึ้น โดยพฤติกรรมใส่หน้ากากดีที่สุด ราว 90%
  • ส่วนการเดินทางออกนอกจังหวัด พบว่า 20% เดินทางออกนอกจังหวัด และมีแนวโน้มสูงขึ้น สาเหตุคือไปทำงานหรือมีธุระจำเป็น
  • ส่วนรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา สถานที่ที่ออกไป คือ ออกไปทำงาน ตลาดสด ซูเปอร์มาร์เกต ร้านอาหาร และศาสนสถาน
  • แต่ละสถานที่มีการจัดมาตรการป้องกันแต่ทำได้ไม่เต็มที่ เช่น เรื่องการสวมหน้ากากของพนักงาน-ผู้ไปรับบริการ การจัดเจลล้างมือยังไม่เต็มที่ 100% การจัดระยะห่างยังทำได้น้อย
  • ส่วนการเดินทางไปด้วยขนส่งสาธารณะไม่มาก มาตรการป้องกันของขนส่งสาธารณะ ผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าไม่มากเท่าไหร่ ไม่ถึงครึ่งหนึ่ง
(Photo by Allison Joyce/Getty Images)

อยากให้ปิดการเดินทางข้ามประเทศยาวถึงก.ย.

เมื่อถามว่าต้องการให้เปิดเส้นทางการบินระหว่างประเทศหรือไม่ พบว่า ในเดือน มิ.ย.-ก.ย.ยังไม่ให้เปิด แต่ช่วง ต.ค.มีครึ่งหนึ่งเห็นด้วยให้เปิดเดินทางระหว่างประเทศ ส่วนการเข้าประเทศทั้งด่านบก น้ำ อากาศ พบว่า น้อยกว่า 1% ที่คิดว่าควรให้คนไทยและชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทยได้โดยไม่ต้องคัดกรองกักตัว 14 วัน หมายความว่า คนไทยยังคิดว่าใครเข้ามาควรคัดกรองเข้มข้นและกักตัว 14 วัน และมากกว่า 60% เห็นว่าไม่ควรอนุญาตต่างชาติเข้าประเทศใน พ.ค.-มิ.ย.

นพ.อนุพงศ์ สุจริยากุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า เราทำการสำรวจในพื้นที่ 25 จังหวัด 4 ครั้ง ครั้งละ 3,500 คน ช่วง 7 ก.พ. – 19 เม.ย. และปรับมาเป็นสำรวจทางออนไลน์ 8 ครั้ง ตั้งแต่ 12 เม.ย. – 6 มิ.ย. ซึ่งครอบคลุมในช่วงที่มีการผ่อนปรนระยะที่ 1, 2 และ 3 โดยพบว่าเมื่อถามถึงการสวมหน้ากากเวลามีไข้ ไอ เจ็บคอหรือไม่ พบว่า สวมหน้ากากอยู่ที่ 90% ขึ้นไป

(Photo by Lauren DeCicca/Getty Images)

แต่มีช่วงหนึ่งคือ การสำรวจออนไลน์ครั้งที่ 2-4 ตกลง เหลือ 82.9% 76.1% 74.6% ซึ่งเป็นช่วงผ่อนคลายครั้งที่ 1 แต่กลับมามากกว่า 90% ในช่วงผ่อนคลายระยะที่ 2 และ 3 ส่วนเวลาไม่มีไข้ ไอ เจ็บคอ สวมหน้ากากหรือไม่ พบว่า สัดส่วนร้อยละน้อยกว่าการสวมเมื่อมีอาการ ส่วนการจะเลิกสวมหน้ากากเมื่อไร พบว่า ประชาชนจะสวมหน้ากากต่อเนื่อง 53.5% หมายความว่าแม้โรคน้อยลงก็จะสวมหน้ากากต่อไป รองลงมาคือ เมื่อไม่มีรายงานผู้ป่วยโควิดในประเทศ 44.4% ขณะที่การล้างมือด้วยสบู่และน้ำเวลาใด พบว่าให้ความร่วมมือล้างมือก่อนและหลังรับประทานอาหารมากที่สุด ระดับ 80-90%

นพ.อนุพงศ์กล่าวว่า หากพิจารณาเฉพาะการสำรวจออนไลน์ครั้งที่ 8 วันที่ 1-6 มิ.ย.ซึ่งเป็นช่วงการผ่อนปรนระยะที่ 3 จำนวน 1,287 ตัวอย่าง พบว่าการสวมหน้ากากอนามัย สวมเกิน 90% ในทุกกลุ่มอายุ ยกเว้นช่วงอายุ 15-24 ปี ที่สวมเพียง 79% ทั้งนี้ ต้องคงมาตรการรณรงค์สวมหน้ากาก 100% แม้ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการสวมหน้ากากเมื่อไม่ป่วยยังน้อยกว่าการสวมเมื่อป่วยอยู่

Source

]]>
1283234