เทคทาเลนต์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 10 Apr 2023 12:23:54 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “สิงคโปร์” อัปเดตระบบ “วีซ่า” ดึงทาเลนต์เข้าประเทศ เปิด 27 อาชีพคะแนนสูง-พร้อมอ้าแขนรับ https://positioningmag.com/1427050 Mon, 10 Apr 2023 11:44:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1427050 รัฐบาล “สิงคโปร์” เปิดรายละเอียดอัปเดตระบบ “วีซ่า” ทำงานของชาวต่างชาติที่จะเริ่มใช้ในเดือนกันยายน 2023 โดยจะเปลี่ยนมาเป็นการ “ให้คะแนน” รวมจากหลายปัจจัย หนึ่งในนั้นคือการประกอบ 27 อาชีพที่สิงคโปร์ต้องการ

ตั้งแต่วิศวกรด้านปัญญาประดิษฐ์​ (AI) จนถึงผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ หรือสายงานนักวิทยาศาสตร์ด้านโปรตีนทางเลือก เหล่านี้คือส่วนหนึ่งในรายการอาชีพ 27 รายการที่รัฐบาลสิงคโปร์ปล่อยออกมาว่าจะเป็นอาชีพที่ได้คะแนนสูงในระบบให้วีซ่าแบบใหม่ และเป็นเครื่องสะท้อนว่าสิงคโปร์กำลังต้องการผลักดันให้เหล่าบริษัทต่างๆ เดินไปในทิศทางไหนหลังโรคระบาดคลี่คลาย

นักวิเคราะห์มองว่า ระบบวีซ่าใหม่ของสิงคโปร์มุ่งเน้นให้นายจ้างมีส่วนร่วมในการผลักดันเศรษฐกิจท้องถิ่นให้มากขึ้น กรุยทางให้ธุรกิจต่างๆ เปลี่ยนกลยุทธ์การจ้างงานเพื่อให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจสิงคโปร์เป็นอันดับแรก

ปัจจุบันสิงคโปร์มีแรงงานต่างชาติคิดเป็นประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งเกาะซึ่งมีอยู่ 5.64 ล้านคน ในจำนวนนี้มีกลุ่มที่ได้วีซ่าประเภท Employment Pass (EP) ซึ่งเป็นวีซ่าของชาวต่างชาติที่ทำงานในระดับผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือทำงานอาชีพพิเศษต่างๆ ประมาณ 187,300 คน หรือ 13% ของแรงงานต่างชาติทั้งหมด (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2022)

ระบบใหม่ที่จะเริ่มใช้เดือนกันยายน 2023 นั้นจะเรียกว่า COMPASS ซึ่งเน้นการประเมินกลุ่มแรงงาน EP เป็นหลัก ผู้สมัครวีซ่าประเภท EP ทั้งหมดจะต้องผ่านการประเมิน 4 หัวข้อ ได้แก่ เงินเดือน, คุณสมบัติ, ความหลากหลายภายในบริษัทผู้ว่าจ้าง และอัตราส่วนของคนสิงคโปร์ที่อยู่ในบริษัทนั้นๆ

ทั้งนี้ การประเมินแต่ละหัวข้อจะให้คะแนนเป็น 3 ระดับ คือ 0 คะแนน, 10 คะแนน และ 20 คะแนน เพื่อที่จะได้ EP ในระบบใหม่ ผู้สมัครจะต้องได้คะแนนครบ 40 คะแนน

ในหัวข้อคุณสมบัตินั้นจะถูกประเมินเรื่องอาชีพที่ทำ ซึ่งสิงคโปร์มีการออก “ลิสต์อาชีพที่ขาดแคลน” (SOL) เมื่อเดือนมีนาคม ปรากฏว่า มีทั้งหมด 27 สายอาชีพใน 6 อุตสาหกรรม ที่ถือว่าขาดแคลน และจะได้คะแนนเต็ม 20 คะแนนไปในหัวข้อนี้

อาชีพเหล่านี้รัฐบาลสิงคโปร์มองว่าเป็นอาชีพที่มีแรงงานไม่เพียงพอ จำเป็นต้องดึงดูดชาวต่างชาติเข้ามาเสริมชาวสิงคโปร์ โดย Nikkei Asia มีการรวบรวมตัวอย่างจาก 27 อาชีพไว้ ดังนี้

อุตสาหกรรมเกษตร: นักวิทยาศาสตร์ด้านโปรตีนทางเลือก

อุตสาหกรรมการเงิน: ที่ปรึกษาด้านการลงทุนให้กับผู้มีความมั่งคั่งสูง, ที่ปรึกษา Family Office (สำนักงานครอบครัวเพื่อดูแลทรัพย์สินตระกูล), ที่ปรึกษาด้านการกุศล

อุตสาหกรรมสีเขียว: ผู้จัดการโครงการคาร์บอนเครดิต, เทรดเดอร์คาร์บอนเครดิต

อุตสาหกรรมสุขภาพ: นักจิตวิทยาคลินิก, นักรังสีการแพทย์, นักกายภาพบำบัด, พยาบาลอาชีพ

อุตสาหกรรมไอซีที: วิศวกรด้านปัญญาประดิษฐ์​ (AI), ผู้เชี่ยวชาญด้านคลาวด์, ผู้เชี่ยวชาญด้านความเสี่ยงทางไซเบอร์, นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล, นักพัฒนาซอฟต์แวร์

อุตสาหกรรมเดินเรือ: ผู้กำกับการเดินเรือ

System Security Specialist Working at System Control Center. Room is Full of Screens Displaying Various Information.

ไฮไลต์ในลิสต์ SOL จะเห็นว่าอย่างไรคนทำงานสายเทคก็ยังเป็นที่ต้องการตัว ขณะเดียวกันคนทำงานสายการเงินที่สิงคโปร์พุ่งเป้าจะเป็นกลุ่มที่จัดการเกี่ยวกับความมั่งคั่ง เพราะสิงคโปร์เห็นโอกาสที่จะเป็นฮับสำหรับบุคคลผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียมากยิ่งขึ้น

รวมถึงการมุ่งหาทาเลนต์ด้านการพัฒนาโปรตีนทางเลือก ก็เพราะสิงคโปร์วางเป้าไว้แล้วว่าจะเป็นฮับด้านนวัตกรรมอาหารแห่งเอเชีย

รัฐบาลสิงคโปร์ยังระบุด้วยว่า SOL จะถูกอัปเดตทุกๆ 3 ปี แต่ถ้าหากจำเป็น บางอาชีพอาจจะรีวิวใหม่ทุกปีก็ได้

สำหรับหัวข้ออื่นๆ ที่นำมาคิดคะแนนด้วย เช่น อัตราส่วนของพนักงานชาวสิงคโปร์ในบริษัท สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลไม่ได้สนใจเฉพาะตัวบุคคลที่ขอเข้ามาทำงานในประเทศเท่านั้นอีกต่อไปแล้ว แต่ต่อไปนี้บริษัทที่มาตั้งในสิงคโปร์จะต้องช่วยรัฐบาลพัฒนาคนสิงคโปร์ด้วย เป็นการผลักดันให้บริษัทต้องรับคนสิงคโปร์และช่วยฝึกฝนให้พนักงานสิงคโปร์มีทักษะสูงขึ้น ลดการพึ่งพิงแต่ชาวต่างชาติ

ที่ผ่านมาสถาบันการเงินจากต่างประเทศมากมาย เช่น ญี่ปุ่น ยุโรป ที่เข้ามาปักหลักสำนักงานในสิงคโปร์ มักจะใช้ระดับผู้บริหารเป็นคนจากประเทศต้นกำเนิดของตนเอง ซึ่งระบบ COMPASS ก็จะกดดันให้บริษัทลักษณะนี้หันมาจ้างคนสิงคโปร์ให้มากขึ้น

Source

]]>
1427050
LINE MAN Wongnai เดินหน้าล่า “เทคทาเลนต์ต่างชาติ” อัพทีมเทคโนโลยีชนคู่แข่งระดับโลก https://positioningmag.com/1407452 Wed, 09 Nov 2022 11:21:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1407452 จากจุดเริ่มต้นที่เป็นแพลตฟอร์มรีวิวร้านอาหารและข้อมูลด้านไลฟ์สไตล์ จนกระทั่งปี 2020 วงใน (Wongnai) ได้ถูก ไลน์แมน (LINE MAN) แพลตฟอร์ม on-demand ส่งอาหารและส่งของของ LINE เข้าควบรวมกิจการในมูลค่า 3,300 ล้านบาท และได้รับเงินลงทุนรอบซีรีส์บีมูลค่า 9,700 ล้านบาท ทำให้ LINEMAN Wongnai ขึ้นเป็น ยูนิคอร์น ของไทย และหนึ่งในสิ่งที่บริษัทจะเร่งพัฒนาก็คือ การขยายทีมเทคโนโลยี โดยเร่งดึง เทค ทาเลนต์ เพื่อให้สู้กับแพลตฟอร์มระดับโลกได้

รู้จักโครงสร้างทีมเทคLINE MAN Wongnai 

หนึ่งในส่วนประกอบสำคัญของสตาร์ทอัพก็คือ เทคโนโลยี ซึ่งผู้ที่อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีของ LINE MAN Wongnai ก็คือ ภัทราวุธ ซื่อสัตยาศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี LINE MAN Wongnai ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Wongnai โดยหลังจากที่ระดมทุนรอบซีรีส์บีมาได้ หนึ่งในภารกิจเร่งด่วนก็คือ ทีมเทคโนโลยีที่จะขยายจาก 350 เป็น 450 คน

ในส่วนของผู้ใช้ทั่วไปคงจะคุ้นชินกับแอป LINE MAN แต่จริง ๆ แล้วยังมีอีก 2 ส่วนก็คือ แอปสำหรับ ไรเดอร์ และ ร้านค้า ซึ่งปัจจุบันมีไรเดอร์กว่า 3 แสนราย และร้านค้าพันธมิตร 9 แสนร้านค้า นอกจากนี้ยังมีการทำ POS ให้กับร้านค้าที่มีหน้าร้าน ซึ่งอีโคซิสเต็มส์ทั้งหมดถูกดูแลโดยทีมเทคโนโลยีทั้งหมด 350 คน ซึ่งปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ทีมใหญ่ ๆ ได้แก่

  • Engineering
  • Product
  • Data

เน้นใช้ทาเลนต์ไทยตอบโจทย์คนไทย

ปัจจุบัน 90% ของทีมเทคโนโลยีเป็นคนไทย โดย ภัทราวุธ ให้เหตุผลว่า ต้องการที่จะ ลงลึก ถึงสิ่งที่ลูกค้าไทยต้องการมากกว่า เพราะมีความเข้าใจถึงปัญหา และใกล้ชิดกับร้านค้าพันธมิตร ทำให้สามารถคัสตอมไมซ์เทคโนโลยีได้ตามความต้องการ และภายใต้ความคาดหวังของผู้บริโภคชาวไทยที่ใช้งานแพลตฟอร์มระดับโลกจนชิน ดังนั้น UX/UI ต้องใช้งานง่าย และนำเสนอสินค้าให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน (Personalize)

“อย่างตอนมีโครงการคนละครึ่ง เราก็เป็นแพลตฟอร์มแรก ๆ ที่สามารถซิงก์ให้ใช้จ่ายบนแพลตฟอร์ม ซึ่งสิ่งที่ท้าทายของบริษัทเทคโนโลยีไทยคือ เทคทาเลนต์ไทยไม่ได้มีเยอะมาก แต่เราต้องแข่งกับผู้เล่นเจ้าใหญ่ ดังนั้น เราที่มีคนน้อยกว่าก็ต้องลงลึกเพื่อเอาชนะ”

นอกจาการลงลึกความต้องการคนไทยแล้ว แต่กระบวนการทำงานก็เป็นอีกส่วนที่จะทำให้ชนะผู้เล่นรายใหญ่ ซึ่งทาง LINE MAN Wongnai ได้วางเคาเจอร์ในการทำงานไว้ 2 ส่วน ได้แก่ Flat Organization คือ ไม่มีระดับขั้น ทำให้สามารถทำงานได้เร็ว และ Cross-Functional Team ทำงานสอดประสานกันในลักษณะที่สามารถแก้ปัญหาภายในได้เอง

ภัทราวุธ ซื่อสัตยาศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี LINE MAN Wongnai

ถึงเวลาดึงต่างชาติ

แม้ว่าที่ผ่านมา LINE MAN Wongnai จะใช้คนไทยทำงานเป็นหลัก แต่ในการเพิ่มทีมเทคโนโลยีจากนี้ ภัทราวุธ ยอมรับว่าอาจทำให้สัดส่วนของคนต่างชาติเพิ่มเป็น 30% เพราะถึงเวลาที่บริษัทต้องดึงทาเลนต์ต่างชาติที่มีประสบการณ์ในแพลตฟอร์มระดับโลกมาร่วมงาน เพื่อให้ต่อสู้กับคู่แข่งระดับโลก

“แต่ละปีมีคนมาสมัครเทคทีมกับเราหลายหมื่นคน แต่ตอนนี้เราอยากได้คนที่มีประสบการณ์ มีความรู้เฉพาะทาง อยากได้ทาเลนต์ที่มีไมด์เซตสเกลใหญ่ เราเลยต้องไปหาคนจากต่างประเทศ เพราะเราไม่ได้อยู่ในจุดที่ต้องมาเรียนรู้ด้วยตัวเอง เพื่อให้ทีมเทคทีมเราแข็งแรงมากขึ้น”

ปัจจุบัน กลุ่มที่ขาดมากที่สุดของบริษัทคือ Platform Engineering, Data Science และ Project Manager เพราะประเทศไทยไม่ได้มีบริษัทเทคโนโลยีเยอะ ทำให้หาคนที่มีประสบการณ์ได้น้อย

มั่นใจเบเนฟิตดึงดูด

ในปีนี้ ทีมเทคโนโลยีเริ่มทำงานแบบรีโมตเวิร์กกิ้ง โดยมีทีมใหม่อยู่ที่เชียงใหม่ตอนนี้มีพนักงานราว 20 คน โดยให้ทำงานที่เชียงใหม่โดยได้เงินเดือนและสวัสดิการณ์เหมือนทำงานในกรุงเทพฯ นอกจากนี้ ทางบริษัทก็มีทีมที่อยู่ในต่างประเทศบ้าง เช่น จีน สิงคโปร์ อินเดีย

“เรามั่นใจว่าค่าตอบแทนของเราไม่น้อยหน้าบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ และอีกสิ่งที่จะดึดงดูดทาเลนต์ต่างชาติคือ เขาจะมาเป็นเฟืองตัวใหญ่ขององค์กรเรา บางคนเขาต้องการสิ่งนี้ เขาไม่ได้อยากจะไปอยู่บริษัทใหญ่แล้วเป็นแค่เฟืองตัวเล็กในองค์กร”

ทั้งนี้ บริษัทได้มีการเปิดรับนักศึกษาฝึกงานทุกปีต่อเนื่องมาแล้ว 2 ปี โดย ภัทราวุธ ทิ้งว่า LINE MAN Wongnai ไม่ได้อยากเป็นแค่สตาร์ทอัพใหญ่สุดในไทย แต่อยากสร้างแรงบัลดาลใจให้คนรุ่นใหม่ ๆ และอยากเป็นตัวเลือกแรกที่เขาอยากมาทำงานไม่ต้องไปต่างประเทศ ทำให้เขาเติบโตไปได้เรื่อย ๆ และสร้างอิมแพ็คให้กับสังคมได้

]]>
1407452