เทคโนโลยีการเงิน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 07 Jan 2022 00:47:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ส่องกระเเสลงทุน ‘ฟินเทค’ เมกะเทรนด์ใกล้ตัว เปลี่ยนการใช้ชีวิตของคนยุคใหม่ https://positioningmag.com/1368746 Thu, 06 Jan 2022 11:48:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1368746 เทคโนโลยีการเงินหรือที่เราเรียกกันว่า  ‘ฟินเทค’ (Fintech) นั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เเต่ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ผ่านเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เราทำบ่อยๆ อย่างการโอน ซื้อ จ่าย ถอน ทำธุรกรรมการเงินต่างๆ ไปจนถึงการลงทุนในสินทรัพย์ที่ง่ายเเละรวดเร็วกว่าสมัยก่อนมาก 

วันนี้เราจะมาพูดคุยกันถึง ‘เมกะเทรนด์’ ที่กำลังมาแรงเเละช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกอย่างฟินเทค กับ “ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) จิตตะ เวลธ์ จำกัด

โควิด คือจุดเปลี่ยนสำคัญของ ‘ฟินเทค’ 

เขาเล่าย้อนให้ฟังว่า ในอดีต ‘กลุ่มธุรกิจการเงิน’ มีปรับตัวเเละประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมาเรื่อยๆ อย่างการทำตู้เอทีเอ็ม บัตรเครดิตเเละโมบายเเบงก์กิ้ง เเต่ก็ยังมีอุปสรรคใหญ่คือคนไม่กล้าใช้’ จึงต้องอาศัยความเชื่อมั่นเเละให้เวลาช่วยให้ผู้คนเริ่มคุ้นชิน

เเต่ในช่วงปีที่ผ่านมา การมาของโควิด-19 นับเป็นตัวกระตุ้นสำคัญที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกต้องทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ผ่านทางออนไลน์ เนื่องจากข้อจำกัดการเดินทาง ทำให้เหล่าสตาร์ทอัพ บริษัทต่างๆ รวมไปถึงธนาคารยักษ์ใหญ่ต้องปรับกลยุทธ์มามุ่งเน้นการทำธุรกรรมออนไลน์กันมากขึ้น

ผู้คนเริ่มเข้าใจการใช้เเอปพลิเคชัน เปิดบัญชีออนไลน์หรือทำ KYC ยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ โอนเงินออนไลน์ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ดังนั้น การเติบโตในช่วงปีที่ผ่านมาในธุรกิจฟินเทค จึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดไปได้อีกในช่วงหลายปีข้างหน้า

เมื่อเรื่องความเชื่อมั่นถูกปลดล็อกเเล้ว ก็จะขยายไปสู่การทำอย่างอื่นได้เเพร่หลายมากขึ้น อย่างการที่คนกล้าโอนเงินออนไลน์ จากนั้นก็จะกล้าซื้อของออนไลน์ เเละต่อๆ ไปก็จะกล้าลงทุนออนไลน์ วางใจทำธุรกรรมสำคัญ เเบบไม่ต้องเจอหน้ากันได้

สำหรับประเทศไทย หนึ่งในนวัตกรรมเข้ามาทำให้คนไทยเข้าถึงฟินเทคมากขึ้นก็คือพร้อมเพย์’ ที่มีการดำเนินการมาตั้งเเต่ปี 2559 เเละปัจจุบันก็มีการใช้อย่างเเพร่หลายในทุกพื้นที่ โดยมีจำนวนธุรกรรมเพิ่มขึ้นจาก 50 ล้านรายการ ในปี 2560 มาสู่ระดับ 5.8 พันล้านรายการในปี 2564 พร้อมมูลค่าธุรกรรมที่เเตะ 20 ล้านล้าน

รวมไปถึงเเอปฯ เป๋าตัง ที่มีผู้ใช้มากกว่า 40 ล้านคน จากอานิสงส์โครงการต่างๆ ของรัฐ เช่น คนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน ฯลฯ ซึ่งมีส่วนทำให้คนไทยจำนวนมาก ‘เปิดใจเเละคุ้นชิน’ กับการใช้เเพลตฟอร์มฟินเทคที่จะเกิดขึ้นมาในระยะต่อไปได้ดี

จากรายงาน e-Conomy SEA Report 2021 มีการประเมินว่า เศรษฐกิจดิจิทัลของกลุ่มประเทศ ‘อาเซียนจะมีมูลค่าถึง 3.63 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2025 และมีโอกาสแตะระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ภายในปี 2030 ปัจจุบันยอดรวมของผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตในอาเซียนเพิ่มขึ้นเป็น 350 ล้านคน คิดเป็น 75% ของประชากรทั้งภูมิภาค และที่สำคัญคือ “ในจำนวนนี้กว่า 8 ใน 10 คน เคยสั่งซื้อของออนไลน์อย่างน้อย 1 ครั้ง”

Photo : Shutterstock

เงินลงทุนจากทั่วโลก ดันสตาร์ทอัพ ‘เกิดใหม่’

ในเเง่การลงทุนด้านสตาร์ทอัพของกลุ่มฟินเทคนั้น เติบโตอย่างก้าวกระโดดมาตั้งเเต่ปี 2020 ต่อเนื่องมายังปี 2021

โดยในปี 2021 มีสตาร์ทอัพฟินเทคมากกว่า 2.6 หมื่นรายทั่วโลก เเบ่งคร่าวๆ เป็นฝั่งอเมริกา 1 หมื่นราย ซึ่งเติบโตมาจากปี 2019 กว่าเท่าตัว ขณะที่ฝั่งยุโรป ตะวันออกกลางเเละเเอฟริกา มีการเติบโตจาก 3 พันกว่าราย มาเป็น 9 พันกว่าราย ส่วนในเอเชียเเปซิปิก มีการเติบโตจากปี 2019 ที่ 2.8 พันราย มาเป็น 6.2 พันราย

เมื่อมาดูด้านเงินทุนสนับสนุน พบว่าในปี 2019 มีการระดมทุนในสตาร์ทอัพกลุ่มฟินเทคราว 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เเละในปี 2021 มีการเติบโตมากกว่าปีก่อนหน้ามากกว่า 26% เเล้ว

ยกตัวอย่างเช่น Square เเพลตฟอร์มบริการระบบจ่ายเงิน ที่มี Jack Dorsey ผู้ก่อตั้ง Twitter เป็นซีอีโอบริษัท , และ Coinbase ผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัล ก็มีการเติบโตอย่างมากในช่วงโควิด-19 

ขณะเดียวกัน บริษัทเทคโนโลยีที่มีฐานลูกค้าจำนวนมาก ก็เริ่มขยับเข้ามาทำตลาดการเงินด้วย เช่น การที่ LINE จับมือกับธนาคารอย่าง KBank เปิดตัว LINEBK เพื่อให้บริการ Social Banking เต็มรูปแบบรายแรกของไทย หรืออีมาร์เก็ตเพลสอย่าง Shopee ที่เพิ่มบริการสินเชื่อออนไลน์ เป็นต้น

ทิศทางฟินเทค ปี 2022 

ตลาดฟินเทคทั่วโลกมีมูลค่ากว่า 127,660 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2018 โดยคาดการณ์ว่า จะเติบโตราว 25% ต่อปี และในปี 2022 จะมีมูลค่าสูงถึง 309,980 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากเเรงหนุนการชำระเงินดิจิทัลและกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-wallets) ที่ได้กลายเป็นเทรนด์กระแสหลักอย่างรวดเร็ว เชื่อมโยงกับการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ ที่การซื้อสินค้ามักจะถูกชำระผ่านออนไลน์แทนที่จะใช้เงินสด

ปูทางให้กลุ่ม ‘WealthTech’ ได้รับความนิยมจากนักลงทุนมากขึ้นเรื่อยๆ หลังมองเห็นศักยภาพในการเติบโตเมื่อคนเริ่มให้ความเชื่อมั่นว่าสามารถนำเทคโนโลยีมาจัดการการลงทุนได้ เเละมีทางเลือกในการลงทุนมากขึ้น

ส่วนสกุลเงินดิจิทัล หรือ ‘คริปโตเคอร์เรนซี’ (cryptocurrency) ที่เป็นอีกเเขนงหนึ่งของฟินเทค บรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งในไทยเเละทั่วโลก มีการเพิ่มฟังก์ชันการใช้สกุลเงินดิจิทัลเข้ามาในเเพลตฟอร์มของตัวเองมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม โลกคริปโตฯ ยังมีความท้าทายที่ต้องเจออีกมาก เพราะยังมีความผันผวนสูง ด้วยความที่ยังใหม่จึงยังไม่มีอดีตให้ศึกษามากนัก เเละผู้เล่นในตลาดส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความกล้าเสี่ยง

“ผมมองว่าที่ผ่านมาระบบเปิดมักจะชนะระบบปิดเสมอ คริปโตฯ ก็เป็นเหมือนระบบเปิดเเห่งโลกการเงิน ที่อาจจะชนะระบบปิดเเบบดั้งเดิมในอนาคตก็ได้ ต้องจับตาดูกันต่อไป”

โดยในปี 2022 ก็ต้องดูความเคลื่อนไหวเเละท่าทีของทางหน่วยกำกับฯ ด้วย ขณะที่หากมองภาพใหญ่ในระยะยาว อาจจะเป็นการพยายามอยู่ร่วมกันให้ได้มากกว่า

ส่วนเทรนด์การ ควบรวมของธุรกิจดั้งเดิมกับสตาร์อัพรุ่นใหม่ นั้น เขามองว่า เป็นการร่วมมือกัน เพื่อผสานจุดเด่นของกันเเละกัน เเละนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างธนาคารก็มีความน่าเชื่อถือเเละเงินทุนมหาศาล ส่วนสตาร์ทอัพก็มีความคล่องตัวเเละเทคโนโลยีที่ล้ำกว่า

ด้านทิศทางของ Metaverse โลกเสมือนที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเปิดให้ผู้คนได้เข้ามามีปฏิสัมพันธ์ ทำกิจกรรรมต่าง ๆ ร่วมกันได้ ทั้งพบปะพูดคุย ท่องเที่ยวไปจนถึงช้อปปิ้ง ก็เป็นเทรนด์ที่ทุกคนรู้จักมานาน เเต่ยังไม่เกิดขึ้นจริงอย่างเต็มรูปแบบ เเต่เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Facebook , Microsoft เข้ามาลงสนามเเข่งในตลาดนี้ เราก็คงจะได้เห็นการเปลี่ยนเเปลงเเบบก้าวกระโดดมากขึ้น

“ต้องดูว่าทุกอย่างในโลก metaverse จะเติบโตไปได้เเค่ไหน เมื่อคนเข้ามามากขึ้นเเล้ว ก็ต้องขยายโครงสร้างพื้นฐานเเบบเสมือนจริงขึ้นมาด้วย เป็นชุมชน มีตลาดซื้อขายเเลกเปลี่ยน ซึ่งก็จะเกิดอาชีพใหม่ๆ ขึ้นมาอีกมากมาย เเบรนด์ใหญ่ๆ อย่าง Adidas , Nike ก็พร้อมที่จะเข้าไปสร้างเเบรนด์ในโลก metaverse เพื่อเพิ่มช่องทางการขาย”

ลงทุนฟินเทค ผ่าน Thematic

สำหรับภาพรวมการลงทุนในปีที่ผ่านมา มีเรื่อง ‘เซอร์ไพรส์’ เยอะมาก ทั้งการระบาดของโควิดหลายระลอก หลายสายพันธุ์ ตลาดหุ้นจีนที่ผันผวน สหรัฐฯ ก็ยังมีอุปสรรคในการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมไปถึงเงินเฟ้อ ส่วนกลุ่มเทคโนโลยีที่น่าจะมีการเติบโตได้ดีก็มาประสบปัญหาขาดเเคลนชิป

เเต่เมื่อมองเเบบ ‘จิตตะ เวลธ์ที่เน้นสาย VI ให้ความสำคัญพื้นฐานของธุรกิจเป็นหลัก ก็จะมองว่า ความผันผวนย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ ถ้ามีหลักการที่ถูกต้อง เราจะมองวิกฤตให้เป็นโอกาส ยิ่งตลาดผันผวนก็ยิ่งสร้างผลตอบเเทนได้ดี

โดยกระแสการลงทุนในธุรกิจที่เป็นธีมโดยเฉพาะในกลุ่มเมกะเทรนด์โลก หรือที่เรียกว่า Thematic Investment ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และกำลังกลายเป็นการลงทุนกระแสหลัก เมื่อคนเริ่มมองหาการลงทุนที่เป็นธีมเเห่งอนาคต อย่างเช่น กลุ่มเทคโนโลยี , ฟินเทค , คลาวด์คอมพิวติ้ง, หุ่นยนต์ AI, เกมและอีสปอร์ต รวมไปถึงพลังงานสะอาด ซึ่งการลงทุนดังกล่าวตอบโจทย์ภาวะเศรษฐกิจของโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี

ทั้งนี้ การลงทุนแบบ Thematic จะเน้นการลงทุนในกลุ่มธุรกิจผ่าน ETF (Exchange Traded Fund) เพื่อกระจายการลงทุนไปยังหุ้นที่เกี่ยวข้องกับธีมหรือเมกะเทรนด์นั้นๆ

หลังเห็นแนวโน้มการเติบโตของการลงทุนแบบ Thematic ในตลาดโลก จิตตะ เวลธ์จึงได้เปิดกองทุนส่วนบุคคล Thematic มาตั้งแต่ปี 2019 เเละปัจจุบันมีธีมการลงทุนให้เลือกทั้งหมด 16 ธีม

เเละได้เปิดตัว Thematic Optimize ไปเมื่อช่วงปลายปี 2020 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยี AI ในการวิเคราะห์การเติบโตของธีมเมกะเทรนด์ต่าง ๆ จากหุ้นในธีมกว่า 2,500 หุ้น พิจารณาผลตอบแทน รวมถึงความเสี่ยง เพื่อ คัดเลือก 4 ธีมที่น่าลงทุนที่สุด ณ เวลานั้น มาจัดพอร์ตในสัดส่วนเท่า ๆ กัน และคอยดูแลปรับพอร์ตให้โดยอัตโนมัติทุก ๆ 3 เดือน โดยเริ่มต้นลงทุนที่ 1 เเสนบาท หลังจากมีกระเเสตอบรับที่ค่อนข้างดี จิตตะ เวลธ์ ก็มีเเผนจะปรับลงเงินลงทุนขั้นต่ำลงมาอีก เพื่อให้เข้าถึงฐานลูกค้าได้มากขึ้น

เมื่อฟินเทคกำลังเป็นเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างต่อเนื่องเเละเป็นอีกหนึ่งเมกะเทรนด์ที่น่าลงทุน จากแนวโน้มที่จะเติบโตไปในระยะยาว 10-20 ปี ทางจิตตะ เวลธ์ จึงพัฒนาเทคโนโลยีมาตอบโจทย์นักลงทุนในจุดนี้ด้วย

ยกตัวอย่างเช่น Global X FinTech ETF (FINX) กองทุนส่วนบุคคล Thematic ธีมฟินเทค ที่จะเข้าไปลงทุนในหุ้นของบริษัทที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเงินจากทั่วโลก ครอบคลุมมากกว่า 50 บริษัทหุ้น เช่น ประกัน การลงทุน ลงทุนระดมทุน สินเชื่อผ่านระบบดิจิทัล เช่น บล็อกเชน คริปโตเคอร์เรนซี และการบริหารความมั่นคั่งอัตโนมัติ เป็นต้น

บริหารความเสี่ยง เเละ ‘อย่าโลภเกินความรู้’

พฤติกรรมของนักลงทุนไทยในช่วงโควิด มีการเปลี่ยนเเปลงไปพอสมควร โดยในภาพรวม เขามองว่าผู้คนได้มีความรู้เกี่ยวกับการลงทุนมากขึ้น เปิดใจศึกษาหุ้นต่างประเทศ รับความเสี่ยงได้มากขึ้น คนรุ่นใหม่เข้ามาในตลาดมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เเม้จะมีคนจำนวนมากที่เลือกเพิ่มการลงทุนช่วงวิกฤต ก็ยังมีคนบางกลุ่มก็รู้สึกไม่กล้าลงทุนเเละหวั่นวิตก

โดยผู้บริหาร จิตตะ เวลธ์ มีคำเเนะนำถึงนักลงทุนหน้าใหม่ที่จะเข้ามาลงทุนว่า อย่างเเรกคือ ‘อย่าโลภเกินความรู้’  ต้องเข้าใจเเละรู้จักผลิตภัณฑ์ที่เราจะลงทุน กระจายความเสี่ยง ค่อยเเบ่งเงินสัก 10-20% มาลงทุนก่อน เพื่อการศึกษา หาประสบการณ์ “ตกรถขบวนนี้ก็มีขบวนใหม่มาเสมอ ดีกว่าไม่ตกรถเเต่หมดตัว”

“เราต้องเป็นนักลงทุนที่ชาญฉลาด ไม่ตื่นเต้นหรือหวั่นไหวไปกับการขึ้นลงของราคา เเต่ใช้มันให้เป็นประโยชน์ ถ้าจะลงทุนให้ดี ต้องทำการบ้านเยอะๆ ศึกษาเทรนด์ ศึกษาเศรษฐกิจ เเล้วใช้จังหวะที่ผันผวนให้เป็นโอกาสในการลงทุน รวมถึงมีวินัยการลงทุน มีการปรับพอร์ตที่ถูกต้องเเละเป็นระบบ”

 

 

]]>
1368746
‘ดิจิทัลเเบงกิ้ง’ โตไวในอาเซียน โอกาสทองของ KBank สู่การเป็นธนาคารเเห่งภูมิภาค https://positioningmag.com/1364524 Thu, 02 Dec 2021 04:00:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1364524

‘อาเซียน’ กลายเป็นดาวรุ่งด้าน ‘เศรษฐกิจดิจิทัล’ ที่ดึงดูดเม็ดเงินมหาศาลจากทั่วโลก ยิ่งในยามวิกฤตโรคระบาด ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นำไปสู่การเติบโตของธุรกิจออนไลน์ อีคอมเมิร์ซเเละฟินเทค

จากรายงาน e-Conomy SEA Report 2021 ประเมินว่า เศรษฐกิจดิจิทัลของกลุ่มประเทศในอาเซียน จะมีมูลค่าถึง 3.63 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2025 และมีโอกาสแตะระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2030

เมื่อผู้คนเริ่ม ‘เปิดใจเเละคุ้นชิน’ กับการทำธุรกรรมการเงินดิจิทัล จนเเทบจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันเเล้ว

จึงเป็นโอกาสของ ธนาคารใหญ่ของไทย ที่จะเร่งเกมบุกเข้าสู่ ‘ตลาดเติบโตใหม่’ เจาะประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน เพื่อปูทางสร้าง ‘ดิจิทัล เเบงกิ้ง’ ให้เข้าถึงกลุ่มประชากรจำนวนมาก

เห็นได้ชัดจากความเคลื่อนไหวสำคัญ เพื่อการเป็นธนาคารแห่งภูมิภาค AEC+3 ของธนาคารกสิกรไทย หรือ KBank ที่ขยับเข้าไปทำตลาดในภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

โดยกลยุทธ์หลักๆ ของ KBank จะมุ่งเน้นไปที่การเชื่อมต่อเครือข่ายการค้าและการลงทุนในอาเซียนเข้าด้วยกันผ่าน ‘ดิจิทัล แพลตฟอร์ม’ เเละจุดหมายล่าสุดก็คือภารกิจเจาะตลาดเนื้อหอมอย่าง ‘เวียดนาม’


เวียดนาม สนามเเข่งดิจิทัลแห่งอาเซียน

 เวียดนาม กำลังเดินหน้าผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบตามเทรนด์โลก โดยเฉพาะในภาคส่วนอีคอมเมิร์ซเเละเทคโนโลยีการเงิน (ฟินเทค) พร้อมการสนับสนุนจากรัฐบาลที่ประกาศตั้งเป้าให้เศรษฐกิจดิจิทัล มีสัดส่วนถึง 20% ของจีดีพีประเทศ ภายในปี 2025 และสัดส่วน 30% ภายในปี 2030 ซึ่งต่อจากนี้ก็คงจะมีการออกนโยบายเเละเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อดึงดูดให้บริษัทเทคโนโลยีต่างชาติทั้งหลายเข้ามาลงทุน

จากรายงานของสื่อท้องถิ่นอย่าง VnExpress ระบุว่า ณ ตอนนี้เศรษฐกิจดิจิทัลของเวียดนาม มีสัดส่วนอยู่ที่ 8.2% ของจีดีพี โดยรัฐบาลยังตั้งเป้าให้ประชากรกว่า 80% ใช้งานการทำธุรกรรมออนไลน์อีกด้วย

 ใน e-Conomy SEA Report 2021 มีประเด็นเกี่ยวกับ ‘ผู้บริโภคดิจิทัล’ ในเวียดนามที่น่าสนใจคือ นับตั้งแต่โรคโควิด-19 ได้กลับมาระบาดอีกครั้งในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เวียดนามมีจำนวนผู้บริโภคดิจิทัล เพิ่มขึ้นถึง 8 ล้านราย ในจำนวนนี้ ‘มากกว่าครึ่ง’ มาจากพื้นที่นอกเขตเมืองใหญ่  และกว่า 99% ตั้งใจจะใช้บริการออนไลน์ต่อไปหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง

สะท้อนให้เห็นว่าชาวเวียดนามได้หันมาใช้สินค้าและบริการดิจิทัลกันในระดับสูงมาก โดยเหล่าพ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์ในเวียดนามถึง 30% เชื่อว่าพวกเขาอาจจะไม่สามารถพยุงธุรกิจให้รอดพ้นจากวิกฤตโควิด-19 ได้ ‘หากไม่มีแพลตฟอร์มดิจิทัล’ เข้ามาช่วย 


โอกาส KBank สู่ธนาคารเเห่งภูมิภาค ‘บุกเวียดนาม’ ด้วยกลยุทธ์ที่เเตกต่าง

เเม้ว่าการแข่งขันของ ‘สถาบันการเงิน’ ในเวียดนามจะค่อนข้างรุนแรง แต่ก็ยังมีบางกลุ่มที่ยังไม่ได้รับการสนับสนุนมากนัก โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่มีโอกาสเติบโตได้อีกมาก

เมื่อเห็นช่องว่างการตลาดที่เอื้อต่อการลงทุน ‘กสิกรไทย’ ไม่รอช้าเดินหน้าบุกเวียดนามเต็มสูบ ประเดิมเปิดสาขาเเรกที่ ‘โฮจิมินห์’ พร้อมขยายทีมงานเพิ่ม ประเมินปี 2022 มียอดเงินฝากเเตะ 1,200 ล้านบาทเเละสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท พร้อมตั้งเป้า 5 ปีสร้างฐานลูกค้ารายย่อยมากกว่า 8 ล้านราย

หลังประสบความสำเร็จในตลาดกัมพูชาและ สปป.ลาว ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจในประเทศจีน ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการปล่อยสินเชื่อใน 3 เซ็กเมนต์ ทั้งในส่วนซัพพลายเชน กลุ่มรายย่อย และกลุ่มไมโคร

จากการที่เวียดนาม มีสัดส่วนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตถึง 70% ของจำนวนประชากรทั้งหมด 90 ล้านคน เเละคนส่วนใหญ่ยังอยู่ในวัยเเรงงาน ทำให้การเข้าไปตีตลาดครั้งนี้ ต้องใช้กลวิธีที่ ‘เเตกต่าง’ ในการเข้าไปทำธุรกิจในประเทศ AEC+3 อื่น ๆ ที่จะเน้นให้บริการธุรกิจระหว่างประเทศเป็นหลัก

จุดเด่นของเวียดนาม คือการเป็นหนึ่งในประเทศอุตสาหกรรมที่รวดเร็วที่สุดในภูมิภาค

เป็น ‘ฐานผลิต’ สำคัญของบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก ที่เลือกย้ายการผลิตมายังอาเซียนมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามการค้าระหว่างจีน–สหรัฐฯ เเม้ในวิกฤตโรคระบาด เวียดนามก็ยังเป็นประเทศเดียวในอาเซียน ที่มีตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจในเชิงบวก

จากมาตรการล็อกดาวน์ที่กระทบเศรษฐกิจในไตรมาส 3 ไปบ้าง แต่การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) ซึ่งนำไปสู่การส่งออกสินค้าสำคัญ เช่น โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยังไม่ถูกกระทบมากนัก

เหล่านี้ เป็นปัจจัยหนุนช่วยภาคเศรษฐกิจอื่นของเวียดนาม และมีการประเมินว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ในปีนี้มีแนวโน้มจะเติบโตเกิน 5% ทำให้เวียดนามเป็นประเทศที่กลุ่มนักลงทุนต่างประเทศ ทั้งเอเชียและตะวันตกเข้าไปลงทุนอย่างต่อเนื่อง

กสิกรไทย เริ่มเปิดให้บริการแก่ลูกค้าเวียดนามผ่านสำนักงานผู้แทน 2 แห่ง ณ กรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ มาตั้งแต่ปี 2015

 เเละเมื่อเห็นโอกาสที่มากขึ้น ก็มีการ ‘ยกระดับ’ การให้บริการมาเป็น ‘สาขานครโฮจิมินห์’ เป็นสาขาแรกในประเทศเวียดนาม และเป็นสาขาที่ 10 ในต่างประเทศ ซึ่งได้เปิดตัวสาขาอย่างเป็นทางการแล้วในวันที่ 12 พ.ย.ที่ผ่านมา

สำหรับการดำเนินธุรกิจของธนาคารกสิกรไทย สาขานครโฮจิมินห์ ในช่วงแรกจะเน้นไปที่บริการสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่  (Corporate Lending) เจาะกลุ่มลูกค้าธุรกิจรายใหญ่ในเวียดนาม

มุ่งไปที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิต นิคมอุตสาหกรรม อสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรมการค้าและอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภค บริโภค ให้บริการแก่บริษัทของไทย จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ที่ต้องการขยายธุรกิจไปเวียดนามเพื่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

นอกจากนี้ ยังจะขยายการให้บริการในส่วนของ ‘กลุ่มลูกค้ารายย่อย’ ในท้องถิ่น จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านดิจิทัล แบงกิ้ง และโมบาย แบงกิ้งของธนาคารกสิกรไทยมาใช้ ผ่านผลิตภัณฑ์ต่างๆ อย่างเงินฝาก สินเชื่อบุคคล เเละสินเชื่อดิจิทัล

โดยธนาคารจะทยอยส่งมอบบริการทางการเงินในรูปแบบดิจิทัล เพื่อให้ลูกค้าเข้าสู่โลกของดิจิทัลแบงกิ้งอย่างเต็มรูปแบบผ่านสินเชื่อดิจิทัล ซึ่งภายในปี 2022 ธนาคารตั้งเป้าหมายสินเชื่อดิจิทัลไว้ที่ 1,500 ล้านบาท จากลูกค้าที่เป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก 25,000 ราย ที่มาใช้บริการขอเงินกู้ (KBank Biz Loan) หรือร้านค้าออนไลน์ที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการต่อยอดธุรกิจ

และยังได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เพื่อหนุนศักยภาพทางธุรกิจร่วมกับพันธมิตรท้องถิ่น เช่น การร่วมมือกับบริษัทฐานข้อมูลลูกค้าขนาดใหญ่ที่มีความเข้าใจในตลาดอย่างลึกซึ้งอย่าง IPOS VN., Haravan และ KiotViet ที่จะมาช่วยส่งมอบบริการได้ตรงใจลูกค้าได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น รวมถึง Sendo แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก เพื่อสร้างโซลูชั่นทางการเงินสำหรับผู้ค้าออนไลน์ ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการสินเชื่อทางธุรกิจได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว และสามารถเลือกระยะเวลาการผ่อนสินเชื่อได้สูงสุดถึง 36 เดือน วงเงินกู้สูงสุดถึง 100 ล้านดงเวียดนาม หรือประมาณ 150,000 บาท ด้วยดอกเบี้ยเริ่มต้นเพียง 1.4% ต่อเดือน


กลยุทธ์ AssetLight จับมือ ‘เทคสตาร์ทอัพ’ ท้องถิ่น

ธนาคารกสิกรไทย ได้ร่วมมือกับเทคสตาร์ทอัพในท้องถิ่น ด้วยการร่วมลงทุนของ KVision เข้ามาช่วยในการให้พัฒนาบริการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า

“ขณะนี้มีกลุ่มเทคโนโลยีการเงิน (ฟินเทค) ระดับโลกที่สนใจเข้ามาหารือในการเป็นพันธมิตรร่วมกับธนาคารเพื่อสร้างอีโคซีสเต็มของการขยายธุรกิจในเวียดนาม ทั้งยังจะขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงสถาบันการเงิน (Unbank) และกลุ่มประชากรวัยทำงานที่มีโอกาสเติบโตได้อีกด้วย” พิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าว

เพื่อย้ำให้เห็นถึงการทุ่มทุนบุกตลาดเวียดนาม KBank ได้ประกาศเฟ้นหาทีมงาน เพื่อขยายกำลังคนที่มีศักยภาพ หลากหลายทักษะมากกว่า 500 ตำแหน่ง ทั้งในประเทศไทยและทีมงานที่อยู่ประจำสาขานครโฮจิมินห์

เเละยังเตรียมเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาให้กับพนักงานปัจจุบัน ทั้งการรีสกิล ทักษะด้านภาษา เทคโนโลยี บวกกับวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง ผนึกกำลังสร้างบริการทางการเงินให้พร้อมรับกับตลาดดิจิทัล และบริบทของธุรกิจในภูมิภาคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

ดังนั้น การดำเนินธุรกิจธนาคารในเวียดนาม จึงไม่ได้เน้นธุรกรรมการเงินพื้นฐาน (Traditional Banking) เท่านั้น แต่ยังเพิ่มโอกาสทางธุรกิจของธนาคารในธุรกรรมการเงินยุคใหม่ที่เป็นดิจิทัล แบงกิ้ง (Disruptive Banking / Digital Banking)

“ประชากรของเวียดนามเป็นคนรุ่นใหม่จำนวนมาก มีความคุ้นเคยและพร้อมในเทคโนโลยีดิจิทัล ขณะเดียวกันดิจิทัล อีโคซิสเต็มในเวียดนามยังสอดคล้องกับกลยุทธ์ AssetLight Regional Digital Expansion ที่มุ่งเน้นรูปแบบการเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ โดยลงทุนและร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพในท้องถิ่น รวมถึงการให้สินเชื่อระหว่างประเทศแก่บริษัทในท้องถิ่นในเวียดนาม โดยอาศัยต้นทุนทางการเงินที่ต่ำ”

ปัจจุบัน ธนาคารกสิกรไทยมีเครือข่ายการให้บริการในต่างประเทศในกลุ่มประเทศ AEC+3 และประเทศอื่น ๆ รวมทั้งสิ้น 16 แห่ง และพันธมิตรกว่า 84 แห่งทั่วโลก มีฐานลูกค้าในภูมิภาคกว่า 1.85 ล้านคน

ความเคลื่อนไหวต่างๆ เหล่านี้ ทำให้เราได้เห็นถึง ‘ความจริงจัง’ กับยุทธศาสตร์ในการก้าวสู่การเป็นธนาคารแห่งภูมิภาค AEC+3 อย่างสมบูรณ์แบบของกสิกรไทย ที่ต้องการเชื่อมต่อการให้บริการผ่านเครือข่ายของธนาคารในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งการเป็นธนาคารท้องถิ่น สาขาของธนาคาร สำนักงานผู้แทน และสถาบันทางการเงินที่เป็นพันธมิตรของธนาคาร เดินหน้าขยายฐานลูกค้าอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการปรับปรุงเเละเปลี่ยนเเปลง เพื่อให้ก้าวทันโลกยุคใหม่ไปเรื่อยๆ

]]>
1364524