แม้ว่าสถานการณ์ของโควิดจะคลี่คลายจนคนกลับมาใช้ชีวิตเกือบปกติแล้ว แต่อุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ที่ได้ผลกระทบแบบเต็ม ๆ ก็ยังไม่ฟื้น 100% เนื่องจากจำนวนภาพยนตร์ที่ลดลง เพราะช่วงที่เกิดการระบาดทำให้ไม่สามารถถ่ายทำภาพยนตร์ได้ อย่างไรก็ตาม ในปี 2023 นี้ปริมาณภาพยนตร์ก็เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 30%
สำหรับเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์เองก็คาดหวังว่าปีนี้บริษัทจะทำรายได้ให้ใกล้เคียงกับปี 2019 หรือราว 10,000 ล้านบาท โดยเมื่อเทียบช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้กับปี 2019 พบว่ารายได้กลับมาประมาณ 85% โดยสัญญาณเริ่มดีขึ้นในช่วงไตรมาส 2 ซึ่งจะเห็นว่า รายได้ของอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์นั้นต้องพึ่งพาหน้าหนังที่จะดึงผู้ชมเป็นหลัก แต่เมเจอร์ฯ ไม่ขออยู่เฉย โดยเลือกที่จะหาลูกค้ากลุ่มใหม่ที่ ไม่ค่อยเข้าโรงภาพยนตร์ อย่าง เหล่าทาสที่มีสัตว์เลี้ยงต้องคอยดูแล
โดยปกติแล้ว รอบฉายภาพยนตร์ในช่วงเช้าจะเป็นช่วงที่มีผู้ชมน้อยสุด โดยช่วงพีคสุดจะเป็นรอบกลางวัน-เย็น โดยเฉพาะในวันเสาร์-อาทิตย์ ดังนั้น การเติมที่ว่าง ในรอบดังกล่าวนั่นหมายถึง รายได้ที่เพิ่มขึ้น
ย้อนไปปี 2562 ทางเมเจอร์ฯ ก็ได้เปิดโรงภาพยนตร์ Kids Cinema ขึ้น โดยจัดรอบเช้าสุดของวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งในปีแรกที่เปิดตัวมีการขายตั๋วเด็กถึง 1 ล้านใบ รวมกับครอบครัวที่มาด้วยเป็น 3 ล้านใบ เลยทีเดียว โดยปัจจุบันโรง Kids Cinema ก็ได้เปิดไปเเล้วถึง 12 สาขา
ที่น่าสนใจคือ พฤติกรรมที่กลุ่มผู้ปกครองกับกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์มีเหมือนกันก็คือ ความเกรงใจ ซึ่งนั่นทำให้คนกลุ่มนี้เลือกที่จะไม่เข้าโรงภาพยนตร์ เพราะกลัวลูก ๆ อาจสร้างความรำคาญใจให้กับผู้รับชมอื่น ๆ เช่นเดียวกันกับกลุ่มคนที่เลี้ยงสัตว์ที่ปัจจุบันเลี้ยงสัตว์เลี้ยงไม่ต่างจากลูก โดยเหล่าทาสนั้นไม่อยากจะปล่อยสัตว์เลี้ยงไว้ที่บ้านตัวเดียวนาน ๆ เลยเลือกที่จะอยู่แต่บ้านมากกว่าออกไปทำกิจกรรมที่ใช้เวลา ดังนั้น คนกลุ่มนี้จึงแทบไม่ได้เข้าโรงภาพยนตร์ ทำให้การเปิดโรงภาพยนตร์ที่เปิดให้พาสัตว์เลี้ยงมารับชมได้ก็ยิ่งช่วยเติมที่ว่างในรอบฉายช่วงเช้า
จริง ๆ แล้ว การเปิดโรงภาพยนตร์ให้สัตว์เลี้ยงเข้ามารับชมร่วมกับผู้เลี้ยงไม่ได้เพิ่งมี แต่ทางเมเจอร์ฯ ระบุว่า ก่อนหน้านี้เคยมีกลุ่มคนที่เลี้ยงสัตว์ได้เคยรวมตัวกันเหมาโรงภาพยนตร์แล้วพาสัตว์เลี้ยงมารับชมภาพยนตร์ ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่เมเจอร์ฯ จะตัดสินใจเปิด i-Tail Pet Cinema เพราะยังไงก็มีดีมานด์
“4-5 ปีที่เขาเริ่มเลี้ยงสัตว์ทำให้เขาแทบไม่ได้เข้าโรงหนังเลย เพราะอยากไปดูแต่ไม่อยากทิ้งไว้ที่บ้าน นี่ก็จะตอบโจทย์” นรุตม์ เจียรสนอง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บมจ.เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป กล่าว
จากความสำเร็จของ Kids Cinema ทำให้ทางเมเจอร์ได้มีพันธมิตรเข้ามาเป็นสปอนเซอร์ อย่าง โคโดโม และ ลาซาด้า ซึ่งมีลูกค้าเป็นกลุ่มครอบครัวเหมือนกัน ดังนั้น การใช้ช่องทาง Kids Cinema นี้ เป็นจุดให้ลูกค้ามีประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์มากยิ่งขึ้น
เช่นเดียวกันกับโรง i-Tail Pet Cinema ที่ได้ ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น แบรนด์อาหารสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ มาเป็นสปอนเซอร์ด้วยสัญญา 1 ปี ซึ่งมองว่าการเป็นสปอนเซอร์ให้กับเมเจอร์ฯ แบรนด์ก็จะได้พื้นที่ในการ สร้างอแวร์เนสใหม่ ๆ ที่ตรงกลุ่มเป้าหมายจริง ๆ ซึ่งถ้าลูกค้าได้มาลองใช้ผลิตภัณฑ์ก็อาจจะกลายมาเป็นลูกค้าประจำในอนาคตด้วย
อย่างที่ระบุไปในช่วงต้นว่า เฉพาะมูลค่าตลาดอาหารสัตว์มีมูลค่าสูงถึง 5 หมื่นล้านบาท และยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเราจะเห็นแบรนด์อาหารสัตว์ใหม่ ๆ ตบเท้าเข้ามาในตลาด อย่างล่าสุด ก็มี อาร์เอส ที่เข้ามาเล่นในตลาดนี้ ดังนั้น ก็ยิ่งทำให้เมเจอร์ฯ มีโอกาสที่จะหาพันธมิตรใหม่ ๆ เข้ามาเป็นสปอนเซอร์ได้อีก
ปัจจุบัน โรงภาพยนตร์ i-Tail Pet Cinema ได้นำร่องให้บริการเพียง 3 สาขา ได้แก่ เมกา ซีนีเพล็กซ์, อีสต์วิลล์ ซีนีเพล็กซ์ และเมเจอร์ ซีนีมา โรบินสันราชพฤกษ์ แต่ศูนย์การค้าที่เป็น Pet friendly ยังมีอีกมาก โดยเฉพาะศูนย์การค้าที่เปิดใหม่ต่างก็เป็น Pet friendly แทบทั้งหมด และแบรนด์อาหารสัตว์ก็มีอีกเพียบ ดังนั้น ไม่ใช่เรื่องยากที่เมเจอร์ฯ จะขยายโรงภาพยนตร์สำหรับสัตว์เลี้ยงในอนาคต
]]>ถือเป็นเรื่องฮือฮาอยู่เหมือนกันที่เมเจอร์เปิดโครงการ ‘ทดลองรับแลกตั๋วหนังด้วยสกุลเงินดิจิทัล’ แต่กว่าจะให้บริการก็ต้องใช้เวลาศึกษาถึง 1 ปีเลยทีเดียว โดยทางเมเจอร์ได้จับมือกับพาร์ตเนอร์ 2 ราย ได้แก่ ‘ซิปเม็กซ์’ (Zipmex) แพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล และ ‘แรพิดซ์’ (Rapidz) ผู้ให้บริการระบบบริหารการรับแลกสินค้าและบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล
หลักการคือ แรพิดซ์จะเป็นเหมือน E-Wallet ให้ฝาก Bitcoin ไว้ที่แอปฯ ‘RapidzPay’ โดยลูกค้าสามารถแลกรับตั๋วหนังได้ที่ตู้จำหน่ายตั๋วหนังอัตโนมัติ โดยเลือกภาพยนตร์และตำแหน่งที่นั่งที่ต้องการ แล้วเลือกใช้ E-Wallet ของแรพิดซ์ในการชำระ โดยจะมี QR Code ขึ้นเพื่อให้สแกนใช้ Bitcoin แลกตั๋วหนัง
ระบบคำนวณอัตราแลกเปลี่ยน Bitcoin ในเวลาปัจจุบันว่าต้องใช้เท่าไหร่ในการแลกตั๋ว เช่น ตั๋วหนังราคา 250 บาท ก็จะใช้ 0.00016667 เหรียญ (ขึ้นอยู่กับมูลค่า Bitcoin ในแต่ละวัน) โดย ‘ซิปเม็กซ์’ จะทำหน้าที่เป็นผู้เปลี่ยน Bitcoin ให้เป็นเงินบาทโอนให้กับเมเจอร์ ดังนั้น เมเจอร์จะไม่ได้เป็นผู้รับ Bitcoin จึงไม่มีความเสี่ยงต่อความผันผวน แต่เป็นแรพิดซ์ที่รับความเสี่ยงแทน
เมเจอร์ยังเปิดรับแค่ Bitcoin เพียงสกุลเดียวเท่านั้น ยังไม่เปิดรับสกุลเงินดิจิทัลอื่น เนื่องจาก Bitcoin เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับความนิยมสุด และปัจจุบันเพิ่งเปิดให้บริการแค่ที่สาขา ‘รัชโยธิน’ เพียงสาขาเดียว เนื่องจากเป็น Top 3 ของสาขาที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด แต่เมเจอร์ตั้งเป้าจะขยายให้รับครบทุกสาขาภายในสิ้นปีนี้
สำหรับเป้าหมายของการนำเอา Bitcoin มาใช้แลกตั๋วหนังในครั้งนี้ นรุตม์ เจียรสนอง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) ได้ให้เหตุผลว่า จะช่วยให้เมเจอร์ ขยายฐานลูกค้า เนื่องจากกลุ่มผู้ใช้คริปโตฯ จะเป็นคนรุ่นใหม่และนักลงทุน ขณะที่ปัจจุบัน ซิปเม็กซ์มีลูกค้าราว 1 แสนราย ส่วนแรพิดซ์มีผู้ดาวน์โหลดแอปฯ Rapidzpay ราว 4,000-5,000 ราย ขณะที่จำนวนผู้ใช้งานคริปโตในไทยคาดว่าอยู่ที่ 5 แสนถึง 1 ล้านราย
“เราไม่ได้คาดหวังว่าจะมีผู้ใช้มาก แค่เดือนละหลักพันถึงหลักหมื่นก็ดีแล้ว และอีกจุดประสงค์ของเราก็คือ ทำให้ลูกค้าสะดวกที่สุด และกระตุ้นสังคมไร้เงินสด”
จุดประสงค์จริง ๆ ของเมเจอร์น่าจะเป็นการผลักดันการใช้ ‘แอป Major Cineplex’ ที่ทางเมเจอร์ปลุกปั้นมาเป็น 10 ปี และที่ผ่านมาเมเจอร์ยกเครื่องระบบจ่ายเงินมาโดยตลอด เพราะนุตม์ยอมรับว่า การชำระเงิน เป็นอีกอุปสรรคที่ทำให้ลูกค้ายังไม่ซื้อตั๋วผ่านแอปฯ แม้ว่าจะพยายามทำให้ครอบคลุมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้น อนาคตมีโอกาสที่เมเจอร์จะสกุลเงินดิจิทัลโดยตรงได้ รวมถึงขยายไปสู่บริการอย่างอื่น เช่น ป๊อปคอร์น และโบว์ลิ่ง
“คนไทยไม่ได้มีบัตรเครดิตทุกคน และเขาก็ไม่อยากคอยเติมเงินเพื่อซื้อตั๋วผ่านแอปฯ ดังนั้นเราจึงต้องเพิ่มช่องทางการชำระเงินให้มากที่สุด รวมถึงโปรโมชันต่าง ๆ ที่แอปฯ ยังไม่ครอบคลุม 100% ซึ่งทางเมเจอร์ก็จะทำให้ได้ 100% เพื่อลดช่องว่าง”
ปัจจุบัน มีการซื้อตั๋วผ่านตู้คีออส 80% ผ่านแอปฯ 10% และหน้าเคาน์เตอร์ 10% โดยเมเจอร์ตั้งเป้าจะเพิ่มสัดส่วนให้ซื้อตั๋วผ่านแอปฯ ให้ถึง 20% ภายในปีนี้ และเป็น 70% ให้เร็วที่สุด ซึ่งหากทำได้ นอกจากจะกระตุ้นให้ลูกค้าอยากมาดูหนังบ่อยขึ้นเนื่องจากซื้อตั๋วได้ง่ายแล้ว ยังช่วยให้เมเจอร์ลดต้นทุนได้ด้วย
เพราะที่ผ่านมาเคยใช้พนักงานประจำเคาน์เตอร์ขายตั๋วประมาณ 10 คน ปัจจุบันลดเหลือ 1-2 คน ขณะที่สาขาใหม่ ๆ ของเมเจอร์จะไม่มีเคาน์เตอร์ขายตั๋วแล้ว มีแต่ตู้ E-Ticket
“อย่างในจีนมีการซื้อตั๋วหนังผ่านแอปฯ ประมาณ 70-80% ซึ่งเราต้องการไปให้ถึงระดับนั้นให้เร็วที่สุด”
ทั้งนี้ แรพิดซ์นั้นจะไม่คิดค่าธรรมเนียมเป็นเวลา 1 ปี และปัจจุบันกำลังพูดคุยกับ วอริกซ์ สำหรับการนำสกุลเงินดิจิทัลมาใช้จ่าย
]]>มาตรการ New Normal ของโรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป หลังคลายล็อกดาวน์ ก่อนหน้าที่จะมีการล็อกดาวน์ ได้มีมาตรการจำกัดคนเข้าไปแล้วรอบหนึ่ง
1. Screening การคัดกรองอย่างเข้มงวด
2. Social Distancing การเว้นระยะห่างลดความเสี่ยง
3. Cleaning การทำความสะอาดทุกจุดพื้นที่
4. Cashless ลดการสัมผัส
5. Tracking ติดตามและตรวจสอบได้
โดยที่ทางเมเจอร์ ซินีเพล็กซ์ได้ประกาศปิดให้บริการโรงภาพยนตร์ในทุกสาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 18 – 31 มีนาคม 2563 ตามมาตรการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID-19
ส่วนอีกค่าย SF Cinema ได้ประกาศปิดสาขาเฉพาะในกรุงเทพ และปริมณฑลทั้งหมด 22 สาขาเท่านั้น ในสาขาต่างจังหวัดยังเปิดให้บริการปกติ
เมเจอร์เองเพิ่งออกมาตรการที่เป็นการปรับตัวของโรงหนังในการเว้นระยะห่างทางสังคม ด้วยการเว้นการนั่งแบบแถวเว้นแถว เว้นที่นั่ง 2 ที่ จำกัดที่นั่ง 50 ที่/โรงไปเมื่อคืน
]]>นอกจากนี้ อีกหนึ่งไฮไลท์ของงาน คือ “JAMNIME FESTIVAL Cosplay Contest” การประกวดคอสเพลย์เอาใจคนรักอนิเมะญี่ปุ่น ชิงเงินรางวัลและของรางวัลรวมมูลค่ากว่า 80,000 บาท การตัดสินจะพิจารณาจากเครื่องแต่งกายที่ใช้ในการประกวดจะต้องเป็นตัวละครที่มาจาก มังงะ หรือ อนิเมะ เท่านั้น รางวัลชนะเลิศ รับเงินรางวัล 10,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับเงินรางวัล 6,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รับเงินรางวัล 4,000 บาท รางวัลชมเชย รับเงินรางวัล 1,000 บาท และ รางวัลขวัญใจมหาชน รับของรางวัล Playstation 4 มูลค่า 12,990 บาท ผู้ที่สนใจอย่ารอช้า…สมัครเข้าประกวดผ่านทาง
ออนไลน์ได้ที่ http://bit.ly/2NrDZsG ตั้งแต่วันนี้ – 29 พฤศจิกายน 2562 หรือ สมัครด้วยตนเองบริเวณหน้างานในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 เวลา 10.00-11.00 น. พิเศษ…สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนประกวดคอสเพลย์ 100 ท่านแรก จะได้ร่วมชมภาพยนตร์ Violet Evergarden: Eternity and the Auto Memories Doll ฟรี!! ในรอบเวลา 16.00 น. พร้อมผู้ติดตามอีก 1 ท่าน รวม 200 ที่นั่งเมเจอร์
]]>หลังจากที่โรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ของบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) ได้จัดโปรโมชั่นฉลองครบรอบ 25 ปี ดูหนัง 25 บาท ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 ทุกเรื่อง ทุกรอบ ทุกสาขา ตลอดทั้งวัน เฉพาะที่นั่งปกติ และที่นั่งฮันนีมูนในระบบปกติ
โปรโมชั่นที่ดึงดูใจขนาดนี้ ทำให้มีชาวเน็ตให้ความสนใจจองบัตรชมภาพยนตร์ราคาพิเศษจำนวนมาก จนระบบสำรองที่นั่งทั้งเว็บไซต์ majorcineplex.com และแอปพลิเคชั่นล่มไปตามระเบียบ
เมื่อแคมเปญนี้ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม ส่งผลกระทบมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคนจองตั๋วจนเกินอัตราจนเว็บไซต์ และแอปพลิเคชั่นล่ม รวมไปถึงมีนักเรียนแห่กันโดดเรียนเพื่อมาดูหนังราคาโปรโมชั่น
โดยที่เมื่อช่วง 23.00 น. ของวันที่ 24 พฤศจิกายน 2562 เฟซบุ๊ก Major Group ได้ประกาศว่า “เนื่องจากขณะนี้โปรโมชั่นบัตรดูหนัง 25 บาท ที่จำหน่ายผ่านช่องทาง Application และ Website ได้จำหน่ายเต็มโควต้าแล้ว ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถซื้อบัตรดูหนัง 25 บาท ได้ที่หน้าโรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ทุกสาขา ทั่วประเทศ ในวันพรุ่งนี้ 25 พ.ย 62 ซึ่งยังมีโควต้าบัตรอีกเป็นจำนวนมาก ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้
อย่างไรก็ตาม พบว่ามีชาวเน็ตที่จองบัตรชมภาพยนตร์ราคาพิเศษทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่น ประสบปัญหาถูกตัดเงินในบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิตเพื่อชำระค่าบัตรชมภาพยนตร์ไปแล้ว แต่ไม่มีบัตรชมภาพยนตร์ในระบบ หลายคนทำรายการไปหลายครั้ง ตัดวงเงินในบัตรหรือเงินในบัญชีไปเป็นจำนวนมาก โดยพบว่าเจ้าหน้าที่แนะนำให้นำหลักฐานมารับเงินคืน และซื้อบัตรชมภาพยนตร์ใหม่ได้ที่สาขาแทน
อีกทั้งยังพบปัญหาที่ตามมาอีกมากมาย เพราะทางเมเจอร์ฯ ไม่ได้จำกัดจำนวนการซื้อต่อคน หรือต่อครั้ง ทำให้บางคนซื้อในจำนวนเยอะๆ จากคอมเมนต์ในเฟซบุ๊กต่างเสนอให้เมเจอร์จำกัดการซื้อตั๋วคนละ 2 ใบกันทั้งนั้น เพราะบางคนเจอคนซื้อตั๋วมากถึง 16 ใบ!
จากดราม่าที่เกิดขึ้น อาจจะเกิดจากการที่แบรนด์ไม่ได้ประเมินถึงพลังของผู้บริโภคที่แห่จองตั๋วช่วงโปรกันอย่างถล่มทลาย ทำให้ไม่สามารถรับมือกับความต้องการของผู้บริโภคได้เพียงพอ ซึ่งเป็นการบ้านที่ทำให้เมเจอร์ฯ ต้องกลับไปกำหนดเงื่อนไขของแคมเปญในครั้งหน้า เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีก
เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป มีโรงภาพยนตร์ทั้งหมด 170 แห่งทั่วประเทศ จำนวนโรงภาพยนตร์ 812 โรง ครอบคลุม 61 จังหวัดทั่วประเทศไทย แบ่งออกเป็นกรุงเทพฯ และปริมณฑล 352 โรง ต่างจังหวัด 421 โรง
]]>