เลือกตั้งสหรัฐ 2024 – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 22 Aug 2024 06:01:44 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 จับทิศการลงทุนล่วงหน้า “เลือกตั้งสหรัฐฯ” ข้อมูลโดย “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” https://positioningmag.com/1487138 Thu, 22 Aug 2024 05:34:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1487138 โค้งท้ายปลายปี 2024 “เลือกตั้งสหรัฐฯ” กำลังจะวนมาอีกครั้งโดยมีคู่ชิงประธานาธิบดีระหว่าง “โดนัลด์ ทรัมป์” กับ “กมลา แฮร์ริส” คำถามสำคัญที่ทั่วโลกกำลังจับตาคือ “ใครจะชนะศึกครั้งนี้” และ “ผู้กำชัยชนะจะสร้างแรงกระเพื่อมต่อโลกการค้าการลงทุนอย่างไร”

ฟังแนวทางวิเคราะห์คำตอบจาก “บุรินทร์ อดุลวัฒนะ” กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ข้อมูลบางส่วนจากงานสัมมนา “THE WISDOM The Symbol of Your Vision Wealth Decoded” เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2024

ปัจจุบันผลโพลล่าสุดระหว่างทรัมป์กับแฮร์ริสถือว่ายังสูสี โดยแฮร์ริสได้รับความนิยมมากกว่าเล็กน้อยที่ 46.7% ส่วนทรัมป์อยู่ที่ 43.8% ท่ามกลางการแข่งขันที่จะยิ่งเข้มข้นขึ้นหลังจากนี้จนกว่าจะถึงวัน “เลือกตั้งสหรัฐฯ” ในวันที่ 5 พฤศจิกายนนี้

“บุรินทร์ อดุลวัฒนะ” กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

บุรินทร์กล่าวว่าจากนโยบายของทั้งสองผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เห็นได้ชัดว่าจุดแข็งสำคัญของแต่ละฝ่ายที่สร้างความต่างในการตัดสินใจของคนอเมริกันมากที่สุด ได้แก่

  • โดนัลด์ ทรัมป์ : นโยบายทางเศรษฐกิจ นโยบายผู้อพยพชายแดนเม็กซิโก ลดการสนับสนุนความมั่นคงของประเทศพันธมิตร
  • กมลา แฮร์ริส : นโยบายด้านสาธารณสุข สิทธิการยุติการตั้งครรภ์ของผู้หญิง สนับสนุนเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
เลือกตั้งสหรัฐฯ
นโยบายที่แตกต่างของทรัมป์กับแฮร์ริส

ทั้งนี้ นโยบายด้าน “เศรษฐกิจ” คือจุดสำคัญมากที่คนอเมริกันให้ความสนใจ และเดโมแครตกับรีพับลิกันวางนโยบายเศรษฐกิจต่างกันอย่างมาก เนื่องจากเดโมแครตให้ความสำคัญกับชนชั้นกลาง แต่รีพับลิกันให้ความสำคัญกับบริษัทเอกชนและผู้มีฐานะ

โดยบุรินทร์วิเคราะห์ว่า หากพรรคเดโมแครตชนะการเลือกตั้ง นโยบายด้านการค้าการลงทุนต่างประเทศจะไม่ต่างไปจากเดิมมากนัก และส่งผลต่อการค้าโลกน้อยกว่า

แต่ถ้าหากพรรครีพับลิกันกำชัยชนะ นโยบายของ “ทรัมป์” จะส่งผลต่อการค้าโลกรุนแรงมากกว่า เนื่องจากทรัมป์จะเดินหน้า “กีดกันทางการค้า” โดยจะขึ้นภาษีสินค้าที่นำเข้าจากจีน 60% และขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากประเทศอื่นๆ 10% เพื่อดึงดูดให้บริษัทกลับมาลงทุนตั้งฐานผลิตในสหรัฐฯ

เลือกตั้งสหรัฐฯ
คู่ค้าของสหรัฐฯ ที่จะได้รับผลกระทบสูงสุดหากทรัมป์ได้เป็นประธานาธิบดีและออกนโยบายกีดกันการค้า

ข้อมูลจาก The Economist Intelligence Unit (EIU) ประเมินว่า หากทรัมป์ได้รับชัยชนะ คู่ค้า 5 อันดับแรกของสหรัฐฯ ที่จะได้รับผลกระทบสูงสุดเพราะกำลังเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ อยู่ขณะนี้ ได้แก่ เม็กซิโก จีน แคนาดา เวียดนาม และเยอรมนี

โดยประเทศ “ไทย” อยู่ในอันดับที่ 11 ของลิสต์นี้ คาดว่าหากทรัมป์ขึ้นกำแพงภาษีจะกระทบกับจีดีพีไทยประมาณ -0.3% ต่อปี

หากทรัมป์ได้เป็นประธานาธิบดี จะเกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจกับประเทศในเอเชียมากน้อยเพียงใด?

นอกจากประเด็นทางเศรษฐกิจแล้ว อีกหนึ่งประเด็นที่น่าจับตามองหากทรัมป์ได้รับชัยชนะ คือนโยบายด้าน “กลาโหม” ของทรัมป์ที่จะ “ลด” การสนับสนุน “งบประมาณด้านความมั่นคง” ให้กับประเทศพันธมิตร ซึ่งจะทำให้ประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ ต้องหันมาดูแลตนเอง เพิ่มงบประมาณด้านกลาโหมของตนเองขึ้นทันที

ดังนั้น สรุปอุตสาหกรรมที่น่าลงทุนหากบุคคลเหล่านี้เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ

  • กรณีของ “โดนัล ทรัมป์” : น้ำมันและเชื้อเพลิง การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน อาวุธยุทโธปกรณ์ ความปลอดภัยทางไซเบอร์
  • กรณีของ “กมลา แฮร์ริส”​ : เฮลธ์แคร์ เทคโนโลยีพลังงานสะอาด เทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม

 

“เมกะเทรนด์” ที่มาแน่ ไม่ว่าใครเป็นประธานาธิบดี

อย่างไรก็ตาม บุรินทร์ให้คำแนะนำด้วยว่า ไม่ว่าผู้ใดจะขึ้นเป็นประธานาธิบดี จะมี “เมกะเทรนด์” ของโลกที่เกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้อยู่ 2 เรื่อง คือ

1. Silver Economy เนื่องจากอัตราผู้สูงอายุเกิน 65 ปีในแต่ละทวีปจะเร่งตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงวัย เช่น เฮลธ์แคร์ จะทวีความสำคัญเป็นธุรกิจแห่งอนาคต

สังคมสูงวัยกำลังเร่งตัวขึ้นทั่วโลก

2. การลงทุนใน AI ปัจจุบันคิดเป็น 3% ของการลงทุนด้านเทคโนโลยีทั้งหมด ภายในปี 2032 คาดว่าจะเพิ่มเป็น 11% แต่ผู้ชนะในตลาด AI อาจยังไม่แน่ชัดว่าเป็นใคร จึงแนะนำการลงทุนในธุรกิจ ‘ต้นน้ำ’ ของ AI เช่น เซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งไม่ว่าบริษัทใดเป็นผู้ชนะล้วนต้องใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เพื่อสร้าง AI ทั้งสิ้น

ทั้งสองประเด็นจึงเป็นมุมคิดในการตัดสินใจหากต้องการลงทุนระยะยาว อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ 2 เมกะเทรนด์นี้น่าจะกลายเป็น “ขาขึ้น” ได้ในอนาคต

 

อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม

]]>
1487138