เศรษฐกิจอินเดีย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 28 May 2024 08:13:24 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “อินเดีย” – “อินโดนีเซีย” มาแรงในหมู่นักลงทุน หลังปัจจัย “โครงสร้างประชากร” มีผลสำคัญต่อการตัดสินใจ https://positioningmag.com/1475280 Mon, 27 May 2024 12:27:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1475280 สองประเทศในเอเชียอย่าง “อินเดีย” และ “อินโดนีเซีย” กำลังเนื้อหอม! หลังจากนักลงทุนหันมามองปัจจัยด้าน “โครงสร้างประชากร” เป็นเรื่องสำคัญในการตัดสินใจลงทุน

ตลาดเศรษฐกิจเกิดใหม่อย่าง “อินเดีย” และ “อินโดนีเซีย” ที่มีจำนวนประชากรเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีแนวโน้มจะได้ประโยชน์จากการตัดสินใจของนักลงทุน เนื่องจากปัจจัยด้านโครงสร้างประชากรเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในการตัดสินใจ ตามข้อมูลจาก Fidelity International และ BlackRock Investment Institute

นักลงทุนกำลังมุ่งลงทุนไปที่สองประเทศเกิดใหม่ในเอเชีย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคาดว่ารัฐบาลจะมีการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ

อีกทั้งอินเดียและอินโดนีเซียบังเอิญมีการเลือกตั้งรัฐบาลใหม่ในปีนี้ และรัฐบาลใหม่ของทั้งสองประเทศแสดงจุดยืนว่ามีความทะเยอทะยานที่จะเปลี่ยนตัวเองเป็น “มหาอำนาจทางเศรษฐกิจ” โดยมีโครงสร้างประชากรคนหนุ่มสาวเป็นจุดแข็งหลัก

ภาพจาก Unsplash

สองประเทศนี้กลายเป็นประเทศที่โดดเด่นขึ้นมาในห้วงเวลาที่เพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกันมีปัญหาเรื่องสังคมผู้สูงอายุ รวมถึงประเทศ “จีน” ด้วย

อินเดีย กลายเป็นประเทศที่เอาชนะจีนได้ในเรื่องจำนวนประชากรมาตั้งแต่กลางปี 2023 กลายเป็นหมุดหมายสำคัญในประวัติศาสตร์

ขณะที่การวิเคราะห์ของ BlackRock ฉายภาพให้เห็นความเกี่ยวเนื่องกันในทางบวกระหว่างจำนวนประชากรวัยทำงานที่เติบโตขึ้นของประเทศหนึ่งกับการเติบโตของราคาหุ้นในตลาดหุ้น ส่วน Fidelity มองว่าภาคธุรกิจการเงินจะเป็นธุรกิจหลักที่ได้ประโยชน์จากการเติบโตของประชากร เพราะทุกคนต้องการผลิตภัณฑ์การเงินไม่ว่าจะเป็นองค์กรหรือผู้บริโภคทั่วไปก็ตาม

Photo : Shutterstock

“แรงงานของอินเดียกับอินโดนีเซียยังเป็นหนุ่มสาว โครงสร้างประชากรของทั้งสองประเทศนี้โดดเด่นกว่าเพื่อนบ้านที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด” เอียน แซมสัน ผู้จัดการกองทุนของ Fidelity ในสิงคโปร์กล่าว “ทุกบริษัทไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ต่างก็ต้องการบริการทางการเงิน นี่คือเหตุว่าทำไมราคาหุ้นของกลุ่มธนาคารถึงมักจะโตสอดคล้องไปกับจีดีพีประเทศในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา”

จำนวนประชากรในอินเดียและอินโดนีเซียจะเติบโตขึ้นอย่างน้อย 10% นับจากปีนี้ไปจนถึงปี 2040 ตามการคาดการณ์ของธนาคารโลก (World Bank) แตกต่างจากจีนที่คาดว่าจำนวนประชากรจะลดลงเกือบ 4%

แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าจำนวน คือการเปลี่ยนโครงสร้างประชากรในกลุ่มวัยทำงานซึ่งหมายถึงคนวัย 15-64 ปี ในกรณีนี้จีนมีโครงสร้างประชากรวัยทำงานลดลงต่อเนื่องมาหลายปี ขณะที่อินเดียกลายเป็นประเทศที่มีคนหนุ่มสาวมากที่สุดในหมู่ประเทศที่เป็นประเทศหลักทางเศรษฐกิจ

ฌอน บัววีน ผู้นำกลุ่มนักวางกลยุทธ์จาก BlackRock Investment Institute วิเคราะห์ว่า การเพิ่มสัดส่วนกลุ่มคนวัยทำงานที่เร็วขึ้นมักจะสอดคล้องกับการเติบโตของผลกำไรบริษัทในอนาคต และเสริมด้วยว่ามีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผล ได้แก่ การย้ายถิ่นของแรงงาน การมีส่วนร่วมของแรงงานมากขึ้น และระบบออโตเมชัน

ภาพจาก Unsplash

ปัจจุบันดัชนี Nifty 50 (ดัชนีรวมหุ้น 50 บริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้นอินเดีย) มีการซื้อขายกันในเป็นสถิติใหม่ และเตรียมจะเข้าสู่ช่วงการเติบโตต่อเนื่อง 9 ปีหากเทรนด์การซื้อขายยังรักษาระดับไว้ได้แบบนี้ ส่วนดัชนี Jakarta Composite Index (JCI) ของอินโดนีเซียก็เพิ่งจะทำราคาแตะสถิติสูงสุดไปเมื่อเดือนมีนาคม 2024

นักวิเคราะห์ยังบอกด้วยว่า หลังจากนี้ทั้งสองประเทศยังมีงานที่ต้องปฏิรูปเศรษฐกิจประเทศ โดยการลดความยุ่งยากในการกำกับควบคุมโดยรัฐ กระตุ้นให้เกิดความยืดหยุ่นในตลาดงาน และอำนวยความสะดวกให้กับการลงทุนจากต่างประเทศ ถึงจะทำให้ประเทศเหล่านี้ได้รับแรงส่งจากโครงสร้างประชากรที่ดีของตนเอง

นักวิเคราะห์มองว่า มีความก้าวหน้าเกิดขึ้นบ้างแล้วในการสร้างเสริมเศรษฐกิจ แต่ก็ยังมีอะไรต้องทำอีกมาก

ปราโบโว ซูเบียนโต ผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนต่อไปของอินโดนีเซีย และจะเข้าดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการในเดือนตุลาคมนี้ ประกาศว่า ตนตั้งเป้าจะทำให้จีดีพีของประเทศเติบโตปีละ 8% แม้ว่าสถิติที่ผ่านมาของประเทศจะต่ำกว่านั้นมากก็ตาม

ส่วนในอินเดียนั้นยังอยู่ระหว่างเลือกตั้งที่จะไปสิ้นสุดวันที่ 1 มิถุนายนนี้ ซึ่งต้องจับตาดูว่า นเรนทรา โมดิ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันจะชนะเลือกตั้งสมัยที่ 3 หรือไม่และชนะด้วยสัดส่วนเท่าไหร่ เพราะหากชนะด้วยสัดส่วนที่เฉียดฉิวอาจจะทำให้แผนปฏิรูปประเทศของเขาเผชิญกับความยุ่งยากและไม่เป็นผลดีต่อตลาดเงินตลาดทุน

“การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศหนึ่งๆ จะมีผลต่อต้นทุนการอุดหนุนค่ารักษาพยาบาลและเกษียณอายุ โดยในประเทศพัฒนาแล้วมักจะมีต้นทุนเรื่องสวัสดิการสังคมเหล่านี้สูงกว่าประเทศกำลังพัฒนา” ซานเจย์ ชาห์ ผู้อำนวยการแผนกตราสารหนี้ที่ HSBC Global Asset Management กล่าว “ในประเทศกำลังพัฒนา ภาระการจ่ายเงินเกษียณอายุให้ประชาชนมักจะต่ำกว่าและมีสิทธิประโยชน์ให้น้อยกว่า ซึ่งแปลว่าภาระต่อการใช้งบประมาณประเทศในส่วนนี้ก็จะน้อยกว่าเช่นกัน” ชาห์กล่าว

Source

]]>
1475280
‘อินเดีย’ มั่นใจ 3 ปีแซง ‘ญี่ปุ่น’ ขึ้นแท่นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก https://positioningmag.com/1460966 Tue, 30 Jan 2024 11:23:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1460966 หากพูดถึงประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วในปัจจุบันคงหนีไม่พ้น อินเดีย ด้วยจำนวนประชากรที่ใหญ่ที่สุดของโลก และการตบเท้าของหลายบริษัทที่ต้องการลดการพึ่งพา จีน ส่งผลให้อินเดียเชื่อมั่นว่าภายใน 3 ปีจะขึ้นเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก

กระทรวงการคลังอินเดีย คาดว่าภายในปี 2570 อินเดียอาจกลายเป็น ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสามของโลก ด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) มูลค่า 5 ล้านล้านดอลลาร์ โดยทางกระทรวงการคลังคาดว่าปีงบประมาณ 2567 (เริ่มในวันที่ 1 เมษายนและสิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคม) เศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะเติบโตที่หรือสูงกว่า 7% และถ้าสามารถเติบโตได้ตามเป้าหมาย GDP อินเดียจะเติบโต 7% ติดต่อกัน 3 ปี โดยปัจจุบัน GDP ของประเทศอยู่ที่ 3.7 ล้านล้านดอลลาร์

นอกจากนี้ วี อนันทา นาเกสวารัน หัวหน้าที่ปรึกษาเศรษฐกิจของอินเดีย กล่าวว่า การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางกายภาพและดิจิทัลช่วยเพิ่มด้านอุปทานและการผลิต ด้วยเหตุนี้การเติบโตของ GDP ที่แท้จริงน่าจะเข้าใกล้ 7% ในปีงบประมาณ 2568 และเป้าหมายใหญ่ของรัฐบาลคือ การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2590

“ปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญของการเติบโตของอินเดียคือความแข็งแกร่งที่เห็นในอุปสงค์ภายในประเทศ ทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน มีต้นกำเนิดมาจากการปฏิรูปและมาตรการที่รัฐบาลดำเนินการในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา”

ทั้งนี้ จากข้อมูลของ Goldman Sachs รายงานว่า อินเดียมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลกภายในปี 2618 โดยจะ ก้าวข้ามสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน อินเดียมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก ตามหลังสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และเยอรมนี ตามลำดับ

ปัจจุบัน ดัชนี Nifty 50 ของอินเดียเติบโตมากกว่า 20% โดยในเดือนนี้ดัชนีทะลุ 22,000 เป็นครั้งแรก พร้อมแซงหน้าฮ่องกงเป็นตลาดหุ้นใหญ่อันดับ 4 ของโลก จากปัจจัยเม็ดเงินไหลเข้าประเทศ และเศรษฐกิจเติบโตสูง นอกจากนี้ นักลงทุนกำลังลุ้นว่าธนาคารกลางอินเดียจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ซึ่งน่าจะช่วยยกระดับตลาดหุ้นและกระตุ้นการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจให้สูงขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง

Source

]]>
1460966
ตลาดผู้บริโภค ‘อินเดีย’ จ่อขึ้นเป็นอันดับ 3 ของโลกภายในปี 2027 เนื่องจากผู้มีรายได้ปานกลาง-สูงเพิ่มมากขึ้น https://positioningmag.com/1443734 Thu, 07 Sep 2023 07:22:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1443734 ถือว่าเป็นประเทศที่กำลังเนื้อหอมสุด ๆ สำหรับ อินเดีย ที่บริษัทต่างชาติกำลังให้ความสนใจจะเข้าไปลงทุนแทนที่จีน ทำให้ภายในปี 2027 มีการประเมินว่า จำนวนครัวเรือนที่มีรายได้ปานกลางถึงสูงจะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ตลาดผู้บริโภคอินเดียจะใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก

ตามรายงานของ BMI ซึ่งอยู่ในเครือของ ฟิทช์ โซลูชันส์ (Fitch Solutions) คาดการณ์ว่า การเติบโตของการใช้จ่ายครัวเรือนต่อหัวของอินเดียจะแซงหน้าเศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทยที่ 7.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยรวมแล้ว ช่องว่างระหว่างการใช้จ่ายของครัวเรือนทั้งหมดทั่วทั้งอาเซียนและอินเดียจะเพิ่มขึ้นเกือบ สามเท่า

เนื่องจากการใช้จ่ายในครัวเรือนที่แท้จริงของอินเดียเพิ่มขึ้นถึง 29% โดยประมาณการการใช้จ่ายในครัวเรือนของอินเดียจะเกิน 3 ล้านล้านดอลลาร์ เนื่องจากรายได้หลังหักภาษีเพิ่มขึ้น 14.6% ต่อปี จนถึงปี 2027 เมื่อถึงตอนนั้น ครัวเรือนของอินเดียราว 25.8% จะมีรายได้ต่อปีถึง 10,000 ดอลลาร์ (ราว 355,000 บาท) ทำให้ปัจจุบัน ตลาดผู้บริโภคอินเดีย อยู่ในอันดับที่ 5 จะขยับขึ้น 2 อันดับเป็น อันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐฯ และจีน ภายในปี 2027

“ครัวเรือนเหล่านี้ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ เช่น นิวเดลี มุมไบ และเบงกาลูรู ครัวเรือนที่ร่ำรวยกว่าส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตเมือง ทําให้ผู้ค้าปลีกสามารถกําหนดเป้าหมายตลาดเป้าหมายหลักได้อย่างง่ายดาย” BMI กล่าว

นอกจากนี้ ประชากรหนุ่มสาวที่เพิ่มขึ้นของอินเดียยังเป็นแรงผลักดันให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น โดยปัจจุบัน ประมาณ 33% ของประชากรในประเทศคาดว่าจะมีอายุระหว่าง 20-33 ปี และคาดว่ากลุ่มนี้จะใช้จ่ายจํานวนมากในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์

โดยรายงานคาดการณ์ว่า การใช้จ่ายด้านการสื่อสารจะเติบโตโดยเฉลี่ย 11.1% ต่อปี เป็น 7.62 หมื่นล้านดอลลาร์ ภายในปี 2027 เนื่องจากชนชั้นกลางในเมืองที่ใช้งานเทคโนโลยีได้และมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งเสริมการใช้จ่ายในกลุ่มอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ การขยายตัวของเมืองอย่างต่อเนื่องก็จะช่วยเพิ่มการใช้จ่ายของผู้บริโภค เนื่องจากบริษัทต่าง ๆ สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้นและเปิดร้านค้าปลีกมากขึ้นเพื่อรองรับความต้องการ

จะเห็นว่าในเดือนเมษายนที่ผ่านมา Apple ได้เปิดร้านค้าปลีกสองแห่งในเดลีและมุมไบ หรือ Samsung ประกาศในเดือนเดียวกันว่าจะตั้งร้านระดับพรีเมียม 15 แห่งทั่วอินเดียภายในสิ้นปีนี้ เช่น เดลี มุมไบ และเจนไน นอกจากนี้ BMI ยังตั้งข้อสังเกตอีกว่า นักลงทุนระดับโลก เช่น Blackstone Group และ APG Asset Management ได้อัดฉีดเงินเข้าไปในธุรกิจห้างสรรพสินค้าของประเทศมากขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์จากการเติบโตของการใช้จ่ายของผู้บริโภค

Source

]]>
1443734
เศรษฐกิจ ‘อินเดีย’ ปีนี้อาจโตเร็วที่สุดในโลก หลังปี 2020 ถดถอยหนักสุดในรอบ 20 ปี https://positioningmag.com/1322689 Tue, 09 Mar 2021 12:39:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1322689 OECD หรือ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2020 จะหดตัวลง 4.2% แต่ในปี 2021 ที่มี ‘วัคซีน’ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ก็ทำให้ภาพของเศรษฐกิจโลกกลับมาสดใสอีกครั้ง โดยเฉพาะเศรษฐกิจของอินเดียที่ตกสู่ภาวะถดถอยเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปีเพราะพิษ COVID-19 แต่ในปี 2021 เศรษฐกิจของอินเดียน่าจะกลับมาคึกคักได้อีกครั้ง และเติบโตสูงสุดในโลกเลยทีเดียว

ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2020 เศรษฐกิจของ อินเดีย มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้น 0.4% ซึ่งเป็นการยุติภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทำให้โดยรวมเศรษฐกิจอินเดียหดตัวประมาณ 7% และในปี 2021 นี้ตามการคาดการณ์ขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) มองว่า GDP ของอินเดียจะขยายตัว 12.6% ในช่วงปีงบประมาณของประเทศที่เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน

ซึ่งระดับการเติบโตดังกล่าวจะทำให้อินเดียสามารถเรียกคืนสถานะเป็นเศรษฐกิจหลักที่เติบโตเร็วที่สุด โดยขโมยตำแหน่งกลับจาก จีน ซึ่ง OECD คาดว่าจีนจะเติบโตได้ 7.8% หลังจากในปี 2020 จีนสามารถรอดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ และเป็นประเทศเศรษฐกิจหลักหนึ่งเดียวที่เติบโตได้ โดยเติบโต 2.3%

ส่วน สหรัฐอเมริกา คาดว่าจะขยายตัว 6.5% ในปีนี้ จากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ 3.3% โดย OECD ชี้ให้เห็นถึงผลของ “การสนับสนุนทางการคลังที่แข็งแกร่ง” จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ ของ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ส่วนเศรษฐกิจของ ยุโรป นั้นคาดว่าจะเริ่ม “ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปมากขึ้น” โดย 19 ประเทศที่ใช้เงินยูโรคาดว่าจะเติบโต 3.9% ส่วนเศรษฐกิจ สหราชอาณาจักร ซึ่งได้รับผลกระทบใหญ่กว่าประเทศเพื่อนบ้านในยุโรปจะเติบโต 5.1%

(Photo by Zhang Wei/China News Service via Getty Images)

OECD ยังเปิดเผยถึงแนวโน้ม เศรษฐกิจทั่วโลก ว่า แนวโน้มทางเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาเนื่องจากการติดตั้งวัคซีนป้องกันไวรัส COVID-19 และการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม และมาตรการล็อกดาวน์ล่าสุด ไม่ได้มีผลกระทบกับเศรษฐกิจมากเท่ากับครั้งก่อนหน้า ดังนั้น คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโต 5.6% ในปี 2021 จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโต 4.2%

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มดังกล่าวยังคงมีความไม่แน่นอนสูง เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 โดย OECD ตั้งข้อสังเกตว่า แคมเปญวัคซีนกำลังดำเนินไปด้วยความเร็วที่ต่างกันทั่วโลก และยังมีโอกาสที่จะเกิดการ กลายพันธุ์ใหม่ที่ต่อต้านวัคซีน

นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงการถกเถียงเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่ทำให้ตลาดสั่นคลอน โดยนักลงทุนมีความกังวลมากขึ้นว่าการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งอาจทำให้เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นในปลายปีนี้ ทำให้ธนาคารกลางต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือลดการซื้อพันธบัตรเร็วกว่าที่คาดไว้

“อุปสงค์ที่ฟื้นตัวเร็วเกินคาดโดยเฉพาะจากจีนประกอบกับอุปทานที่ขาดแคลนได้ส่งผลให้ราคาอาหารและโลหะสูงขึ้นอย่างมากและราคาน้ำมันก็ดีดตัวขึ้นสู่ระดับเฉลี่ยในปี 2019”

แต่หน่วยงานดังกล่าวย้ำว่า ด้วยเศรษฐกิจและตลาดงานที่ยังคงอ่อนแอ ธนาคารกลางควรคงนโยบายการเงินแบบหลวม ๆ ที่ช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเกินเป้าหมายบางส่วนก็ตาม

Source

]]>
1322689