เเบงก์ชาติ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 26 Jan 2022 05:31:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘คลัง’ ยันไม่เลื่อนเก็บ ‘ภาษีคริปโต’ เร่งสรุปเเนวทางเก็บภาษีหุ้น ‘เเบงก์ชาติ’ จ่อห้ามใช้สินทรัพย์ดิจิทัลชำระสินค้า https://positioningmag.com/1371736 Tue, 25 Jan 2022 11:35:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1371736
‘คลัง’ ยันไม่เลื่อนเก็บ ‘ภาษีคริปโต’ พร้อมเร่งสรุปเเนวทางเก็บ ‘ภาษีหุ้น’ ในลำดับต่อไป ด้านเเบงก์ชาติ จ่อออกกฏควบคุมการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลชำระสินค้าเเละบริการ 

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงความกังวลของนักลงทุนในการจัดเก็บภาษีจากการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ คริปโตเคอร์เรนซีว่า ขณะนี้กรมสรรพากรกำลังเร่งจัดทำแนวทางปฏิบัติในส่วนของการยื่นเสียภาษีเงินได้ของคริปโตฯ ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยจะเร่งให้เสร็จเรียบร้อยทันปีภาษีนี้ หรือภายในเดือนมกราคมนี้

ในปี 2564 ที่ผ่านมา ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลมีเม็ดเงินหมุนเวียนจำนวนมาก และเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด มีทั้งนักลงทุนในรูปแบบเดิม และนักลงทุนหน้าใหม่ เข้าไปลงทุนเป็นจำนวนมาก

จากการที่ภาคเอกชนได้ยื่นเสนอให้มีการยกเว้น 1-2 ปีนั้น ทางกระทรวงการคลัง ขอยืนยันว่า จะไม่มีการเลื่อนการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาออกไป เพราะถือเป็นเงินได้ที่เสียกันมาตั้งแต่กฎหมายบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2561 แล้ว โดยขณะนี้มุ่งหวังที่จะทำให้เกิดความเข้าใจ มีความชัดเจนของมาตรการภาษีดังกล่าวมากขึ้น

“การยื่นแบบเงินได้คริปโตเคอร์เรนซี ถือว่าเป็นการประเมินรายได้ของตัวผู้ยื่นแบบนักลงทุนเอง โดยปีนี้จะคาดว่าจะทำให้ชัดเจนขึ้นว่า รายได้ที่เกิดจากการซื้อขายมีจำนวนเท่าไหร่ มีการทำบัญชีแบบค่าเฉลี่ยอย่างไร เพื่อให้นักลงทุนและผู้ยื่นแบบภาษี มีการเสียภาษีในแบบฟอร์มได้ง่ายขึ้น โดยยังคงมีระยะเวลาในการยื่นแบบถึง 31 มี.ค. 2565 ซึ่งไม่ได้มีการเลื่อนเวลาเก็บภาษีออกไป”

ส่วนความคืบหน้าแนวทางการเก็บ ‘ภาษีหุ้น’ กระทรวงการคลังกำลังอยู่ในช่วงศึกษาเเละหารือ รับฟังความเห็นร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งตลาดหุ้น ก.ล.ต. โบรกเกอร์ นักลงทุน ฯลฯ

โดยในปัจจุบัน ประเทศที่มีตลาดหุ้นเกือบทุกประเทศมีการจัดเก็บภาษีหุ้นกันหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ หรือส่วนต่างกำไร หรือ Capital Gain ซึ่งในส่วนของประเทศไทย คาดว่าจะมีข้อสรุปรูปแบบการจัดเก็บภาษีที่ชัดเจนในเร็วๆนี้

ด้าน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยืนยันไม่สนับสนุนใช้ ‘สินทรัพย์ดิจิทัล’ เป็นช่องทางชำระเงิน โดยระบุว่า ปัจจุบันผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลได้ขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจในลักษณะให้บริการ ชักชวนหรือแสดงตน ว่าพร้อมจะให้บริการแก่ร้านค้าและผู้ประกอบการในธุรกิจต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น จัดทำระบบและโฆษณาเชิญชวนร้านค้า ซึ่งการที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในลักษณะดังกล่าว อาจส่งผลให้เกิดการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการเป็นวงกว้าง นอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจโดยรวม

รวมถึงเป็นความเสี่ยงต่อประชาชนและธุรกิจ อาทิ ความเสี่ยงจากการสูญมูลค่าที่เกิดจากความผันผวนของราคา ความเสี่ยงจากการถูกโจรกรรมทางไซเบอร์ ความเสี่ยงข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล หรือการถูกใช้เป็นเครื่องมือของการฟอกเงิน

หน่วยงานกำกับดูแลต่างตระหนักถึงความเสี่ยงและผลกระทบดังกล่าว จึงพิจารณาใช้อำนาจตามกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าหรือบริการในวงกว้าง และจะมีแนวทางกำกับดูแลที่เหมาะสม สำหรับบริการที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลบางประเภทที่เป็นประโยชน์ต่อนวัตกรรมทางการเงินและไม่สร้างความเสี่ยงเชิงระบบที่กล่าวถึงข้างต้น

สำหรับร่างหลักเกณฑ์ห้ามมิให้ผู้ประกอบการธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการนำทรัพย์สินดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ มี 6 ข้อ ดังนี้

1.ไม่โฆษณาเชิญชวนว่าพร้อมให้บริการแก่ร้านค้า ว่าสามารถรับชำระด้วยสินทรัพย์ดิจิทัลได้
2.ไม่จัดทำระบบหรือเครื่องมืออำนวยความสะดวกแก่ร้านค้าเพื่อรับชำระด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล
3.ไม่ให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (wallet) แก่ร้านค้าเพื่อรับชำระ
4.การขายสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นเงินบาท ต้องโอนเข้าบัญชีตัวเองเท่านั้น
5.ไม่ให้บริการโอนสินทรัพย์ดิจิทัล / เงิน จากบัญชีของผู้ซื้อขาย ไปยังบัญชีรายอื่นหรือบุคคลอื่นใด เพื่อวัตถุประสงค์ของการรับชำระค่าสินค้าเเละบริการ
6.ไม่ดำเนินการอื่นใดที่จะเป็นการสนับสนุนหรือส่งเสริมการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลมาเป็นสื่อกลางการชำระค่าสินค้าและบริการ

เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธปท. กล่าวว่า ธปท. คำนึงถึงทั้งความเสี่ยงและประโยชน์ของสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงเทคโนโลยีเบื้องหลัง และมองว่า “ณ ขณะนี้การนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการอย่างแพร่หลายจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจการเงินของประเทศ”

ดังนั้น จึงควรมีการกำกับดูแลที่ชัดเจน ขณะที่เทคโนโลยีและสินทรัพย์ดิจิทัลบางประเภทที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงดังกล่าวก็ควรได้รับการสนับสนุนโดยมีกลไกดูแลที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดนวัตกรรมและประโยชน์ต่อประชาชน

ขณะที่รื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า จากการหารือร่วมกันกับ ธปท. และ กค. ก.ล.ต. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลควบคู่ไปกับการคุ้มครองผู้ซื้อขายอย่างเหมาะสม และให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จึงได้เปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อใช้ชำระค่าสินค้าและบริการ เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ต่อไป

.
]]>
1371736
กำไร ‘เเบงก์พาณิชย์’ ปี 2563 ลดลง 46% เเต่สินเชื่อโต 5.1% ‘หนี้เสีย’ ทั้งระบบขยับเพิ่มขึ้น https://positioningmag.com/1320360 Mon, 22 Feb 2021 09:23:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320360 เเบงก์ชาติเผยปี 2563 ธนาคารพาณิชย์ในไทย ทำกำไรลดลง 46% อยู่ที่ 1.46 เเสนล้านบาท ผลจากการกันสำรองเพิ่มขึ้นช่วง COVID-19 ภาพรวมสินเชื่อโต 5.1% ด้าน NPL เพิ่มขึ้นที่ 3.12% ลูกหนี้กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวโรงเเรมน่าเป็นห่วงสุด 

สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยใน ปี 2563 ว่า มีกำไรสุทธิราว 146,200 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ราว  271,000 ล้านบาท หรือลดลง 46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 

ปัจจัยหลักๆ มาจากการกันสำรองในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง เพื่อองรับผลกระทบจาก COVID-19 ต่อคุณภาพหนี้ในระยะต่อไป ประกอบกับผลของฐานสูงจากรายได้จากเงินลงทุนซึ่งเป็นปัจจัยพิเศษในปีก่อน 

โดยระบบธนาคารพาณิชย์ มีเงินกองทุนทั้งสิ้น 2,994.3 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) ที่ 20.1% เงินสำรองอยู่ในระดับสูงที่ 799.1 พันล้านบาท โดยอัตราส่วนเงินสำรองที่มีต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL coverage ratio) อยู่ที่ 149.2% และอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรองรับกระแสเงินสดที่อาจไหลออกในภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) อยู่ที่ 179.6%

สำหรับผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Return on Assets: ROA) ลดลงมาอยู่ที่ 0.65% จากปีก่อนที่ 1.39% และอัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ดอกเบี้ยเฉลี่ย (NIM) ลดลงมาอยู่ที่ 2.51% จากปีก่อนที่อยู่ที่ 2.73%

ด้านภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์ในปีที่ผ่านมา ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 5.1% จากปีก่อนที่ขยายตัว 2%

สินเชื่อธุรกิจ ขยายตัว 5.4% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หดตัว 0.8% ปัจจัยหลักจากการเติบโตของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่ส่วนหนึ่งกลับมาใช้สินเชื่อแทนการออกตราสารหนี้ในช่วงไตรมาส 2/63

สินเชื่อ SMEs หดตัวในอัตราที่ลดลงจากผลของมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan)

สินเชื่อที่อยู่อาศัย ขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามอุปสงค์ในตลาดที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะแนวราบที่ปรับดีขึ้นและแคมเปญการตลาดของผู้ประกอบการ

สินเชื่ออุปโภคบริโภค ขยายตัว 4.6% ลดลงจากปีก่อนที่ขยายตัว 7.5% สอดคล้องกับกำลังซื้อของภาคครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด

คาดว่าจะทยอยปรับดีขึ้นในทุกพอร์ตสินเชื่อ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น หลังการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์

ด้านคุณภาพสินเชื่อลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารพาณิชย์ ทำให้ยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL หรือ Stage3) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 5.233 เเสนล้านบาท คิดเป็น 3.12%

ขณะที่สัดส่วนสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม อยู่ที่ 6.62% ส่วนแนวโน้ม NPL นั้นคาดว่าจะทยอยเพิ่มขึ้น จากกลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือมีหนี้ที่มีปัญหาที่หลากหลาย

กลุ่มลูกหนี้ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือ ลูกหนี้ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อย่างหนัก เช่นกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวเเละโรงเเรม เเม้จะเริ่มฟื้นตัวจากการท่องเที่ยวในประเทศ เเต่เมื่อมีการระบาดระลอกใหม่ก็ทำให้คนไทยท่องเที่ยวน้อยลง โดยโรงเเรมหรือธุรกิจที่พึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติเกือบ 100% ก็ยังต้องรอความคืบหน้าในเรื่องวัคซีน

ทั้งนี้ พอร์ตลูกหนี้กลุ่มธุรกิจโรงแรม มีอยู่ประมาณ 4 แสนล้านบาทในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย

 

]]>
1320360
กนง. คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ต่อปี มอง COVID-19 ระลอกใหม่ สะเทือนเศรษฐกิจไทยไม่เเรงเท่ารอบแรก https://positioningmag.com/1317719 Wed, 03 Feb 2021 08:15:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317719 กนง. มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี หนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง มอง COVID-19 ระลอกใหม่ไม่กระทบรุนแรงเท่ารอบแรก

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประเมินว่า แม้ว่าในระยะสั้นเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบจากการระบาดระลอกใหม่ แต่แรงกระตุ้นจากมาตรการของภาครัฐและการส่งออกที่ฟื้นตัวดีขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจไทยโดยรวมยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังเผชิญกับความเสี่ยงด้านต่ำและความไม่แน่นอนที่สูงขึ้นในระยะข้างหน้า จึงยังต้องการแรงสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง

คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในการประชุมครั้งนี้ และรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินที่มีจำกัด เพื่อใช้ในจังหวะที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิผลสูงสุด

“ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจากการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ไม่รุนแรงเท่ากับการระบาดระลอกแรกจากมาตรการควบคุมการระบาดที่ไม่เข้มงวดเท่าครั้งก่อน”

กนง. มองว่า เศรษฐกิจยังได้รับแรงกระตุ้นจากมาตรการของภาครัฐที่ออกมาได้เร็วและตรงจุด และการส่งออกที่ฟื้นตัวดีขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้แต่ต่ำกว่าประมาณการเดิมบ้าง เเต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูง

โดยในระยะสั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ ขณะที่ในระยะถัดไปขึ้นอยู่กับการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประสิทธิผลและการกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 แรงสนับสนุนจากภาครัฐที่เพียงพอและต่อเนื่อง

“ตลาดแรงงานที่เปราะบางขึ้นจากการระบาดระลอกใหม่ ทำให้จำนวนผู้ว่างงานและเสมือนว่างงานมีแนวโน้มสูงขึ้นในระยะสั้น” 

Photo : Shutterstock

นอกจากนี้ การฟื้นตัวของแต่ละภาคเศรษฐกิจที่แตกต่างกันมากขึ้นจะส่งผลต่อความยั่งยืนของการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป

ด้าน ระบบการเงิน มีเสถียรภาพ แต่มีความเปราะบางมากขึ้นในบางจุดจากผลกระทบของการระบาดระลอกใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและธุรกิจ SMEs

สำหรับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป จะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงกลางปี 2564 และจะอยู่ใกล้เคียงกับขอบล่างของกรอบเป้าหมายตลอดช่วงประมาณการ โดยการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย

สภาพคล่องโดยรวม อยู่ในระดับสูงและต้นทุนทางการเงินอยู่ในระดับต่ำ แต่การกระจายตัวของสภาพคล่องยังไม่ทั่วถึงจากความเสี่ยงด้านเครดิตที่เพิ่มขึ้นตามฐานะการเงินที่เปราะบาง โดยเฉพาะธุรกิจที่ฟื้นตัวช้าและครัวเรือนที่ถูกกระทบเพิ่มเติมจากการระบาดระลอกใหม่

ด้าน อัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เคลื่อนไหวสอดคล้องกับเงินสกุลภูมิภาค คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิดและพิจารณาความจำเป็นของการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติม รวมถึงผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (FX ecosystem) อย่างต่อเนื่อง

คณะกรรมการฯ เห็นว่าความต่อเนื่องของมาตรการภาครัฐและการประสานนโยบายระหว่างหน่วยงานมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะถัดไป โดยนโยบายการเงินต้องผ่อนคลายต่อเนื่อง มาตรการทางการเงินและสินเชื่อควรเร่งกระจายสภาพคล่องไปสู่ผู้ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดและทันการณ์ เช่น

  • มาตรการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อลดความเสี่ยงด้านเครดิต
  • การผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้เกิดผลในวงกว้าง
  • พิจารณามาตรการอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อเสริมประสิทธิภาพการกระจายสภาพคล่องและเพื่อรองรับเศรษฐกิจช่วงฟื้นฟูในอนาคต
  • มาตรการทางการคลังต้องพยุงเศรษฐกิจโดยไม่ขาดช่วง โดยเฉพาะการเร่งเบิกจ่ายภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสามารถควบคุมการระบาดระลอกใหม่ได้
  • ดำเนินการนโยบายด้านอุปทาน เพื่อปรับรูปแบบธุรกิจและยกระดับทักษะแรงงาน ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างยั่งยืน

คณะกรรมการฯ ยังคงให้น้ำหนักกับการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสำคัญ รวมถึงจะติดตามความเพียงพอของมาตรการภาครัฐและปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ โดยเฉพาะสถานการณ์การระบาดทั้งในและต่างประเทศ ในการดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า โดยพร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพิ่มเติมหากจำเป็น

 

ที่มา : ธนาคารเเห่งประเทศไทย 

]]>
1317719
ผู้ว่าฯ ธปท. มองไทยคุม COVID-19 กรณีทหารอียิปต์ได้ พร้อมอัดมาตรการเพิ่ม หากระบาดรอบ 2 https://positioningmag.com/1287716 Tue, 14 Jul 2020 10:05:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1287716 ผู้ว่าฯ ธปท. เชื่อมั่นรัฐบาลบุคลากรด้านสาธารณสุข คุมการเเพร่ระบาดของ COVID-19 กรณีทหารอียิปต์ได้ เเต่หากรุนเเรงถึงขั้นระบาดหนักรอบ 2 เเบงก์ชาติพร้อมอัดมาตรการเพิ่มเติม รับปีนี้เศรษฐกิจชะลอกว่าที่คาด แต่ยืนยันไทยผ่านจุดต่ำสุดในไตรมาส 2 มาแล้ว มองโอกาสอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 0% “เกิดขึ้นยาก”

ในการประชุมนักวิเคราะห์ (Analyst Meeting) ครั้งที่ 2/2563 เพื่อสรุปแนวโน้มเศรษฐกิจและนโยบายการเงินรายไตรมาส (14 .. 63)

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้วในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 หลังมีมาตรการควบคุมการระบาดของ COVID 19 ในประเทศได้เป็นผลสำเร็จ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มทยอยปรับเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ทั้งการเดินทาง การจับจ่ายใช้สอยและการผลิต

อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีนโยบายด้านอุปทานเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ หลังจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 คลี่คลายลง ซึ่งต้องดำเนินการควบคู่กับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เพื่อเสริมสร้างให้เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งและช่วยรักษาระดับศักยภาพการเติบโตให้สามารถกลับมาเติบโตได้ในระยะต่อไป

โดยในช่วงไตรมาส 3 จะเริ่มเห็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับมา และมองว่าไตรมาส 3-4 ปี 2563 จะฟื้นตัวขึ้น แต่ยังมีเรื่องที่น่าเป็นห่วงคือ “การจ้างงาน” เพราะภาคบริการยังไม่เปิดทำกิจกรรมได้เต็มที่ ส่วนภาคการผลิตเเละอุตสาหกรรมยังมีกำลังการผลิตส่วนเกิน รวมถึงกลุ่มนักศึกษาจบใหม่ที่เสี่ยงว่างงานจำนวนมาก

 

วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุถึงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 จากการกรณีทหารอียิปต์ ที่กำลังสร้างความกังวลให้ประชาชนในขณะนี้ว่า เชื่อว่ารัฐบาลและบุคลากรด้านสาธารณสุขจะรับมือได้ โดยไม่ต้องออกมาตรการควบคุมแรงเหมือนรอบแรก แต่หากเกิดการระบาดรอบ 2 ในไทยขึ้นมาจริงๆ ทางธปท.ก็พร้อมออกมาตรการเพิ่มเติมในการเข้ามาดูแลเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางการเงิน ซึ่งการออกมาตรการต่าง ๆ ต้องมีการพิจารณาและชั่งน้ำหนักถึงผลดีผลเสีย เพราะทุกนโยบายไม่ฟรี

ด้านเมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท. มองว่า ความเป็นไปได้ที่ไทยจะใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0% นั้น  เกิดขึ้นยากที่ผ่านมาได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว 3 ครั้งและมีสัญญาณตอบกลับที่ดีจากสถาบันการเงิน ซึ่งไทยไม่สามารถดำเนินอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ำมากเหมือนต่างประเทศได้ เพราะมีบริบทและโครงสร้างที่ต่างกัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและส่งผลกระทบต่อผู้ออมเงินได้

 

ที่มา : ธนาคารเเห่งประเทศไทย , mgronline 

]]>
1287716
ตามคาด! กนง.ลดดอกเบี้ยเหลือ 0.5% เศรษฐกิจไทยหดตัว-เงินเฟ้อติดลบกว่าที่ประเมินไว้ https://positioningmag.com/1279634 Wed, 20 May 2020 07:45:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1279634 กนง.มีมติ 4 ต่อ 3 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 0.75 เป็นร้อยละ 0.50 ต่อปี โดยให้มีผลทันที

ทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวกว่าประมาณการเดิมตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่หดตัวรุนแรงกว่าที่คาดและผลกระทบจากมาตรการควบคุมการระบาดทั่วโลก อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มติดลบกว่าที่ประเมินไว้ เสถียรภาพระบบการเงินเปราะบางมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ กรรมการส่วนใหญ่เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นจะช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยลบที่เกิดขึ้น รวมทั้งสอดประสานกับมาตรการการคลังของรัฐบาลและมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อที่ได้ออกไปก่อนหน้านี้

ขณะที่กรรมการ 3 ท่าน เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในการประชุมครั้งนี้และเร่งรัดประสิทธิผลของมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อที่ได้ประกาศไปแล้ว คณะกรรมการฯ โดยรวมเห็นว่า ควรผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ โดยเฉพาะครัวเรือนและธุรกิจ SMEs ให้เกิดผลในวงกว้างมากขึ้น และเร่งรัดการให้สินเชื่อผ่านโครงการต่าง ๆ ที่ได้ออกมาก่อนหน้าเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่องให้ตรงจุดและทันการณ์ 

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มหดตัวกว่าที่ประเมินไว้ การท่องเที่ยวและการส่งออกสินค้าได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามากกว่าคาด ขณะที่อุปสงค์ในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนหดตัวกว่าที่ประเมินไว้จากการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นและมาตรการควบคุมการระบาด

อย่างไรก็ดี มาตรการการเงินการคลังจะมีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาสภาพคล่องของครัวเรือนและธุรกิจ รวมทั้งสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยทยอยฟื้นตัวได้ คณะกรรมการฯ เห็นว่ามาตรการด้านการคลังที่ตรงจุดและทันการณ์ยังมีความจำเป็นต่อการสนับสนุนการจ้างงานและธุรกิจ SMEs เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและรักษาศักยภาพการเจริญเติบโตในระยะต่อไป

สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2563 มีแนวโน้มติดลบมากกว่าที่คาดตามราคาพลังงานที่ลดลงเป็นสำคัญ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะติดตามความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจต่างประเทศและการระบาดของ COVID-19 ในต่างประเทศ การผ่อนคลายมาตรการควบคุมและโอกาสที่การระบาดในประเทศอาจกลับมา รวมทั้งประสิทธิผลของมาตรการการคลังและมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อ ซึ่งจะมีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป

ด้านภาวะการเงิน ตลาดการเงินมีเสถียรภาพ หลัง ธปท. ออกมาตรการดูแลเสถียรภาพตลาดการเงิน รวมทั้งจัดตั้งกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ (BSF) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงและอัตราผลตอบแทนหุ้นกู้ที่ซื้อขายในตลาดรองผันผวนน้อยลง ตลาดตราสารหนี้กลับมาทำหน้าที่ได้เป็นปกติมากขึ้น

โดยคณะกรรมการฯ ให้ติดตามสถานการณ์ของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่อาจได้รับผลกระทบจากการลงทุนในตราสารหนี้ ด้านสินเชื่อขยายตัวโดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ ส่วนสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคชะลอลงบ้าง สภาพคล่องในระบบการเงินในภาพรวมยังอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดี ต้องดูแลให้สภาพคล่องกระจายตัวไปสู่ภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) ปรับลดลงหลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ผ่านมาและการปรับลดอัตราเงินนำส่งกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF fee) เป็นการชั่วคราว ด้านอัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. และเงินสกุลภูมิภาค คณะกรรมการฯ กังวลต่อสถานการณ์เงินบาทที่อาจกลับมาแข็งค่าขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จึงเห็นควรให้ติดตามสถานการณ์ตลาดการเงินและตลาดอัตราแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิด

ด้านระบบสถาบันการเงินมีเสถียรภาพ ธนาคารพาณิชย์มีระดับเงินกองทุนและเงินสำรองที่เข้มแข็ง แต่ในระยะข้างหน้ายังต้องติดตามความเสี่ยงที่อาจสร้างความเปราะบางให้เสถียรภาพของระบบธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของธุรกิจและครัวเรือนหลังมาตรการช่วยเหลือด้านสภาพคล่องของภาครัฐทยอยสิ้นสุดลง คณะกรรมการฯ เห็นว่าสถาบันการเงินจึงต้องเร่งดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ รวมถึงเร่งรัดการให้สินเชื่อผ่านโครงการต่าง ๆ ที่ได้ออกมาก่อนหน้าและให้ ธปท. ร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องเตรียมแนวทางรองรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นหากความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ด้อยลงกว่าคาด รวมถึงดูแลสภาพคล่องและกลไกการทำงานของระบบสถาบันการเงินให้มีเสถียรภาพและสามารถทำหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่อง

คณะกรรมการฯ จะติดตามพัฒนาการของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ เสถียรภาพระบบการเงิน และปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งจากเศรษฐกิจต่างประเทศ ผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 รวมถึงความเพียงพอของมาตรการการคลังและมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อ เพื่อประกอบการดำเนินนโยบายการเงินในระยะต่อไป โดยพร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพิ่มเติมหากจำเป็น

 

ที่มา : ธนาคารเเห่งประเทศไทย 

]]>
1279634
“เเบงก์ชาติ” ปรับแผนออกพันธบัตรปี 63 รับตลาดผันผวนช่วง COVID-19 มีผล พ.ค.เป็นต้นไป https://positioningmag.com/1277974 Mon, 11 May 2020 13:36:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1277974 ธปท. ปรับแผนการออกพันธบัตรปี 2563 ขยายกรอบวงเงินออกพันธบัตร 1-6 หมื่นล้านทุกรุ่น มีผลบังคับใช้เดือน พ.ค.นี้เป็นต้นไป ย้ำหากตลาดผันผวนสามารถปรับวงเงินได้โดยจะแจ้งตลาดล่วงหน้า 2 วันทำการก่อนวันประมูลพันธบัตร

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ในช่วงที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและตลาดการเงินทั้งในและต่างประเทศเป็นวงกว้าง ตลาดพันธบัตรมีความผันผวนเพิ่มขึ้นและคาดว่าจะยังอยู่ในระดับสูงในระยะต่อไป นอกจากนี้ การระดมทุนของภาครัฐเพื่อรองรับมาตรการเยียวยาและลดผลกระทบ Covid-19 อาจส่งผลต่ออุปทานพันธบัตรภาครัฐโดยรวม

ธปท. จึงได้หารือร่วมกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ถึงแนวทางการกำหนดวงเงินพันธบัตรภาครัฐให้อยู่ในระดับเหมาะสม โดยคำนึงถึงแผนการระดมทุนภาครัฐและความต้องการลงทุนที่อาจปรับเปลี่ยนรวดเร็วในสภาวการณ์ข้างต้น ในการนี้ ธปท. จึงพิจารณาปรับแผนการออกพันธบัตร ธปท. ปี 2563 โดยให้เริ่มมีผลบังคับใช้สำหรับแผนการออกพันธบัตร ธปท. เดือนพฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป

1. กำหนดการประมูลพันธบัตร: ธปท. ยังกำหนดวันและความถี่ในการประมูลพันธบัตร ธปท. ประเภทอายุต่างๆ ไว้ตามแนวปฏิบัติเดิม อย่างไรก็ดี ธปท. อาจพิจารณาปรับความถี่การประมูลและวงเงินของพันธบัตร ธปท. ระยะ 3 เดือน 6 เดือน และพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่บางรุ่น เพื่อให้สอดคล้องกับการประมูลตั๋วเงินคลังและพันธบัตรรัฐบาลที่ระยะเดียวกันในแต่ละสัปดาห์ โดยสรุปรายละเอียดได้ดังนี้

2. วงเงินการออกพันธบัตร: ธปท. ขยายกรอบวงเงินพันธบัตรประเภทที่จำหน่ายเป็นส่วนลดทุกรุ่นอายุเป็น 10,000 – 60,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการกำหนดปริมาณพันธบัตร ธปท. ให้สอดคล้องกับแผนการระดมทุนภาครัฐและความต้องการลงทุนพันธบัตรในแต่ละช่วงเวลา ดังนี้

3. การประกาศกำหนดการออกพันธบัตร ธปท. รายเดือน: ธปท. จะประกาศตารางประมูลพันธบัตร ธปท. ให้ตลาดทราบล่วงหน้าทุกเดือนผ่านทาง website ของ ธปท. เช่นที่เคยปฏิบัติมา อย่างไรก็ดี ธปท. ขอสงวนสิทธิการปรับวงเงินประมูลพันธบัตร ธปท. ระหว่างเดือน กรณีตลาดการเงินมีความผันผวนเพิ่มขึ้นจนส่งผลให้ความต้องการพันธบัตรในระหว่างเดือนเปลี่ยนแปลงไปจากที่คาดการณ์อย่างมีนัยสำคัญ โดย ธปท. จะแจ้งให้ตลาดทราบอย่างน้อย 2 วันทำการก่อนวันประมูลพันธบัตร

ในระยะต่อไป ธปท. จะประสานงานกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะอย่างใกล้ชิด ในการกำหนดวงเงินและประเภทอายุพันธบัตร ธปท. ให้เหมาะสมกับภาวะตลาดเงินและตลาดพันธบัตร รวมทั้งคำนึงถึงการออกตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล และพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้ปริมาณพันธบัตรภาครัฐโดยรวมอยู่ในระดับที่เหมาะสมสอดคล้องกับภาวะตลาดในแต่ละช่วงเวลา

 

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย 

]]>
1277974
พิษโควิดกระทบเเรง “แบงก์ชาติ” หั่นจีดีพีไทยปี 63 ติดลบ 5.3% คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.75% https://positioningmag.com/1269907 Wed, 25 Mar 2020 08:12:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1269907 เเบงก์ชาติมอง COVID-19 กระทบเศรษฐกิจไทยรุนแรง ประกาศหั่นคาดการณ์จีดีพีปีนี้ติดลบ 5.3% ก่อนจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 3% ในปี 2564 ขณะเดียวกันได้มีมติคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.75% ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์

วันนี้ (25 มี.ค.) ดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากผลกระทบของการระบาดของไวรัส COVID-19 ทั่วโลกที่มีผลต่อทุกภาคส่วนทั้งด้านตลาดการเงิน เศรษฐกิจ และสังคม คาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัว 5.3% ในปี 2563 ก่อนจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกที่ 3% ในปี 2564

นอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 4 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.75% ต่อปีหลังประชุมปรับลดดอกเบี้ยฉุกเฉินเมื่อวันที่ 20 มี.ค. ที่ผ่านมา

อ่านเพิ่มเติม : กนง. ประชุมฉุกเฉิน ปรับลดดอกเบี้ย เหลือ 0.75% ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ รับวิกฤต COVID-19

ปัจจัยหลักที่มีผลลต่อเศรษฐกิจไทยจากสถานการณ์ของ COVID-19 มากที่สุดคือภาคการส่งออกและการท่องเที่ยว ซึ่งคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะลดลงถึง 60% ในปีนี้เเละการค้าทั่วโลกจะได้รับผลกระทบรุนเเรงหากการระบาดนี้ยังต่อเนื่องเเละยาวนาน

โดยการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและการหยุดชะงักของห่วงโซ่การผลิตในหลายประเทศ ส่งผลให้รายได้ของธุรกิจและครัวเรือนได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างขึ้น เป็นผลให้อุปสงค์ภายในประเทศทั้งการลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มหดตัว ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2563 มีแนวโน้มติดลบตามราคาพลังงานที่ลดลงและเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มหดตัว

“ในสถานการณ์เช่นนี้ มาตรการด้านการคลังจะต้องเป็นกลไกหลักในการบรรเทาผลกระทบต่อเศรษฐกิจและดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 มาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงินจะช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับลูกหนี้ และช่วยให้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวในปี 2564 หากสถานการณ์การระบาดคลี่คลายลง”

 

ที่มา : ธนาคารเเห่งประเทศไทย 

 

 

 

]]>
1269907
ธปท.สั่งเเบงก์คืนค่าธรรมเนียม ATM ปรับวิธีคิดดอกเบี้ยผิดชำระหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้ SME https://positioningmag.com/1259637 Tue, 07 Jan 2020 11:23:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1259637 ธนาคารเเห่งประเทศไทย (ธปท.) สั่งการให้สถาบันการเงินปรับปรุงการคิดดอกเบี้ยและการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อลดภาระของประชาชน และออกมาตรการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อช่วยเหลือ SME ผู้ประกอบการรายย่อย 

โดยให้สถาบันการเงินการปรับปรุงใน 3 เรื่อง ได้แก่

1. ค่าปรับการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด (prepayment) ให้คิดค่าปรับบนยอดเงินต้นคงเหลือ แทนการคิดค่าปรับจากฐานวงเงินสินเชื่อทั้งก้อน

2. ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ ให้คิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้บนค่างวด (installment) ที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระ เฉพาะส่วนที่เป็นเงินต้นของค่างวดนั้น แทนการคิดบนฐานของเงินต้นคงเหลือ นอกจากนี้ให้สถาบันการเงินกำหนดช่วงระยะเวลาการผ่อนผันไม่คิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ ในกรณีที่ลูกหนี้อาจมีเหตุสุดวิสัย ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด

3.ค่าธรรมเนียมบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิต กรณีผู้ใช้บริการยกเลิกการใช้บัตร ให้คืนค่าธรรมเนียมรายปีตามสัดส่วนระยะเวลาคงเหลือของบัตรแก่ผู้ใช้บริการโดยไม่ต้องให้ผู้ใช้บริการร้องขอ จากเดิมที่ไม่มีการคืนส่วนต่างหรือคืนเมื่อร้องขอเท่านั้น

มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อช่วยเหลือ SME โดยมีผลวันที่ 1 ม.ค. 63 – 31 ธ.ค. 64

จากความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลก และความสามารถในการแข่งขันของ SME ที่ลดลง จึงได้มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME เป็นการชั่วคราว ให้สามารถพลิกฟื้นธุรกิจได้อย่างทันท่วงที โดยมีมาตรการดังนี้

1. มาตรการปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกันสำหรับลูกหนี้ที่ไม่เป็น NPL โดยการลดดอกเบี้ย และการขยายระยะเวลาชำระหนี้

2. มาตรการปรับโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้ที่เป็น NPL ให้เลื่อนขั้นเป็นลูกหนี้ปกติได้ เมื่อลูกหนี้ปรับโครงสร้างและชำระหนี้ได้ 3 เดือน หรือ 3 งวดติดต่อกัน จากเดิมที่ต้องรอถึง 12 เดือน

3. มาตรการสนับสนุนสถาบันการเงิน และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) ให้สินเชื่อใหม่ เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียน สามารถจัดชั้นเป็นหนี้ปกติได้ หากลูกหนี้มีกระแสเงินสดรองรับการชำระหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง

4. มาตรการสนับสนุนให้สถาบันการเงินไม่ลดวงเงินที่ยังไม่ได้ใช้ของลูกหนี้ และไม่ต้องกันสำรองสำหรับวงเงินสินเชื่อที่ลูกหนี้ยังไม่ได้ใช้

5. ให้สถาบันการเงินรายงานเป้าหมายสินเชื่อตามมาตรการและยอดคงค้างสินเชื่อของลูกหนี้ เป็นรายเดือนภายใน 21 วันนับจากวันสิ้นเดือน เพื่อประโยชน์ในการติดตามสถานการณ์การให้ความช่วยเหลือลูกหนี้

 

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย – Bank of Thailand

]]>
1259637