เเบรนด์เครื่องสำอาง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 12 Feb 2020 15:00:43 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Hermes ลุยธุรกิจ “เครื่องสำอาง” เป็นครั้งแรก ส่งลิปสติก 24 เฉดสีเปิดตลาดสู้ Chanel-Dior https://positioningmag.com/1263568 Fri, 07 Feb 2020 08:51:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1263568 Hermes ขยายสู่ธุรกิจเครื่องสำอางเป็นครั้งแรกด้วยสินค้าลิปสติก 24 เฉดสี สนนราคาแท่งละ 67 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2,040 บาท) หลังจากคู่แข่งในวงการแฟชันระดับลักชัวรีอย่าง Dior และ Chanel นำหน้าไปนานหลายปี โดย Hermes หวังว่าธุรกิจนี้จะช่วยดันรายได้กลุ่มน้ำหอมให้มากขึ้นจากปัจจุบันมีสัดส่วนเพียง 5% ในรายได้รวมของบริษัท

Hermes International เปิดตัวผลิตภัณฑ์แรกจากแผนกความงาม เป็นคอลเลกชัน ลิปสติก ราคา 67 เหรียญสหรัฐ มีให้เลือกทั้งหมด 24 เฉดสี ตัวเคสทำจากโลหะพ่นสีที่สื่อถึงเครื่องประดับบนกระเป๋า Hermes ผลิตภัณฑ์สร้างชื่อให้กับแบรนด์ และจะวางจำหน่ายเฉพาะในช็อปของ Hermes เองเท่านั้น

โดย Hermes ประกาศว่าแบรนด์จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยทีมภายในบริษัทให้มากที่สุด เฉลี่ยแล้วคาดว่าจะออกเครื่องสำอางใหม่ทุกๆ 6 เดือน

“พวกเขากำลังทำงานอย่างระมัดระวังยิ่ง เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อระดับภาพลักษณ์ของแบรนด์” มาริโอ ออร์เทลลิ ที่ปรึกษาด้านลักชัวรีแบรนด์จากลอนดอนกล่าว

ลิปสติกคอลเลกชันแรกจาก Hermes มีให้เลือกทั้งหมด 24 สี (photo: Hermes)

การขยายเข้าสู่ธุรกิจเครื่องสำอาง ถือเป็นการชิมลางในธุรกิจนี้ของ Hermes และต้องต่อสู้กับคู่แข่งอย่าง Christian Dior แบรนด์ในเครือ LVMH และ Chanel ที่สร้างทั้งยอดขายและกำไรมานานในวงการ โดย LVMH ยังเป็นเจ้าของร้านเครื่องสำอางระดับโลกอย่าง Sephora ด้วย

ส่วน Chanel เป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่งในวงการเช่นกัน โดยสามารถสร้างยอดขายได้ถึงปีละ 4,000 ล้านยูโร (ประมาณ 1.37 แสนล้านบาท) เมื่อเทียบกับ Hermes ซึ่งก่อนหน้านี้สินค้าบิวตี้มีแค่น้ำหอมกับสบู่ ทำให้สร้างยอดขายได้เพียงปีละ 312 ล้านยูโร (ประมาณ 10,700 ล้านบาท) เห็นได้ว่า Hermes ยังเป็นผู้เล่นหน้าใหม่อย่างมากสำหรับตลาดนี้

การเปิดตัวลิปสติกครั้งนี้ Hermes หวังว่าในอนาคตสินค้าเครื่องสำอางและสกินแคร์จะช่วยเร่งรายได้ให้กับกลุ่มธุรกิจน้ำหอมได้ จากปัจจุบันที่น้ำหอมมีสัดส่วนเพียง 5% ในรายได้รวมของแบรนด์ที่ทำได้ปีละ 6,000 ล้านยูโร (ราว 2.05 แสนล้านบาท)

(photo : Hermes)

“เป็นเรื่องสำคัญมากที่กลุ่มธุรกิจน้ำหอมจะต้องขยายไปให้ครบ 3 มิติ” อักเซล ดูมา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Hermes เปิดเผยกับกลุ่มนักลงทุนเมื่อปีก่อนในวันประกาศโครงการขยายธุรกิจเครื่องสำอาง เขากล่าวว่า 3 มิติของกลุ่มสินค้านี้คือ น้ำหอม เครื่องสำอาง และ สกินแคร์ ที่จะช่วยเพิ่มยอดขายในแต่ละทวีปรอบโลก “คุณต้องมีให้ครบทั้ง 3 กลุ่ม”

ทั้งนี้ ข้อมูลจาก Euromonitor พบว่าตลาดเครื่องสำอางทั่วโลกมีแนวโน้มจะเติบโตได้ถึง 6% ปีนี้ ทำให้มีมูลค่ารวมแตะ 77,500 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2.42 ล้านล้านบาท)

Source

]]>
1263568
ส่องเทรนด์ตลาดความงามเอเชีย 2020 โอกาสเครื่องสำอางผู้ชาย-ลุคธรรมชาติมาเเรง  https://positioningmag.com/1258620 Thu, 26 Dec 2019 07:38:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1258620 พฤติกรรมผู้บริโภคชาวเอเชียได้เปลี่ยนไป จากแต่ก่อนคำว่า “ความสุข” ผู้คนมักให้ความสำคัญกับการมีเงินที่เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น แต่ปัจจุบันสิ่งที่พวกเขามองหาเเละให้ความสำคัญคือ “การมีสุขภาพที่ดี”

ขณะเดียวกันธุรกิจความงามก็ไม่ได้มุ่งไปที่กลุ่มลูกค้าเฉพาะผู้หญิงอีกต่อไป เมื่อยุคนี้มีลูกค้าผู้ชายที่ใส่ใจภาพลักษณ์เเละดูเเลตัวเอง เพิ่มขึ้นจำนวนมาก จึงเป็นโอกาสดีสำหรับแบรนด์ในการขยายไลน์ผลิตภัณฑ์ “สำหรับผู้ชาย” เเละผลิตภัณฑ์ความงามแบบ Personalization หรือ Customization ก็กำลังจะมาแรงในปี 2020

จากรายงาน Beauty Trends in Asia ของ Kantar บริษัทด้านข้อมูลเชิงลึกและที่ปรึกษาทางการตลาดกล่าวถึงสิ่งที่จะขับเคลื่อนการเติบโตของตลาดความงามในเอเชียของปีหน้าว่า ความเป็นธรรมชาติที่ช่วยให้ผู้บริโภคมีสุขภาพผิวที่ดี เครื่องสำอางในลุคธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์ความงามสำหรับผู้ชาย มียอดขายผลิตภัณฑ์ด้านความงามเพิ่มขึ้นถึง 8% ระหว่างปี 2017 – 2018 เทียบกับผลิตภัณฑ์ FMCG ที่เพิ่มขึ้นเพียง 4% สินค้า Personal Care ในเอเชียยังคงแซงหน้าตลาด FMCG ทั้งหมด

เทรนด์ตลาดความงามเอเชีย 

Derma-care

ผลิตภัณฑ์ Derma-care ได้รับความนิยมมากขึ้น แบรนด์ผลิตภัณฑ์ Derma-care รุกตลาดเกาหลีเกือบ 45% จากเดิม 25% ในปี 2017 ถือเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย ส่วนอันดับ 2 คือไต้หวันที่ 40% เพิ่มขึ้นจาก 37.6 ในปี 2017

ผลิตภัณฑ์ Derma-care มีความสามารถในการให้ประสิทธิภาพระดับสูงสำหรับการรักษาปัญหาผิวที่เฉพาะเจาะจง เช่น ผิวหนังอักเสบ แต่ก็ถูกนำมาใช้มากขึ้นในการแก้ปัญหาผิวทั่วไปสำหรับผิวบอบบางและการป้องกันมลพิษ มีการออกผลิตภัณฑ์ Derma-care ใหม่เพิ่มขึ้น จากเดิมตลาดเป้าหมายเป็นเพียงแค่กลุ่ม Niche แต่ทุกวันนี้การค้าปลีกและช่องทางการจัดจำหน่ายสมัยใหม่ ได้ช่วยเพิ่มโอกาสให้ผลิตภัณฑ์ Derma-care ได้จำหน่ายนอกร้านขายยา

Natural Beauty

“ผิวโกลสุขภาพดี” เป็นลุคที่ต้องการมากที่สุดสำหรับชาวเอเชีย ความชุ่มชื่นคือความจำเป็นสำหรับลุคนี้ ทำให้ยอดขายเซรั่มที่มอบความชุ่มชื่นอย่างเข้มข้นเพิ่มขึ้น สูงถึง 61% จาก 58% ในปี 2017 ถือเป็นตัวเลขสูงที่สุดในเอเชีย  ขณะที่จีนเพิ่มขึ้นจาก 18% ในปี 2017 เป็นเกือบ 26% 

ในวันนี้ ลุคที่ “เป็นธรรมชาติ” ต้องใช้เครื่องสำอางที่ช่วยมอบความโปร่งแสง ได้แก่ รองพื้นแบบน้ำ บีบีครีม ไพรเมอร์ และคอนซีลเลอร์ ซึ่งทั้งหมดนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก

โดย Kantar คาดว่าเครื่องสำอางที่ให้คุณประโยชน์ด้านการดูแลผิวจะมีการเติบโตในอนาคต ซึ่งผลิตภัณฑ์ “Crossover” ระหว่างผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและเครื่องสำอางได้มีการวางจำหน่ายแล้ว อย่างเช่น ครีมโทนเนอร์ที่ช่วยให้ผิวกระจ่างใสขึ้นทันที การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไว้ใกล้กับผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งในจีน แม้พวกเขารู้ว่าเม็ดสีในเครื่องสำอางอาจเป็นอันตราย

Men-only

จำนวนผู้ชายที่ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วทั้งเอเชีย โดยเฉพาะจากจีน เกาหลีใต้ และไทย พวกเขาเพิ่มการซื้อผลิตภัณฑ์ในหมวดอื่นๆ เพราะขั้นตอนการบำรุงผิวมีหลายขั้นตอนยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ส่วนมากก็ยังไม่ได้ซื้อผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นสำหรับผู้ชายโดยเฉพาะ และกลุ่มนี้ยังเติบโตช้ากว่าผลิตภัณฑ์บำรุงผิวแบบ Unisex

ผู้ชายในช่วงอายุ 20 ปี มักจะซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิว Men-only แต่เมื่อพวกเขาอายุมากขึ้นก็จะเริ่มใช้ผลิตภัณฑ์อะไรก็ได้ ดังนั้นมีโอกาสเติบโตอย่างมากสำหรับแบรนด์ที่จะปรับเปลี่ยนการใช้ผลิตภัณฑ์ Unisex ไปเป็น Men-only เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ชายเหล่านี้ “Lapsing” เมื่อเขามีอายุเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผลิตภัณฑ์ควบคุมความมันต่อต้านริ้วรอย ไวท์เทนนิ่ง และกันแดด

 

Customization

ผู้บริโภคในเอเชียเชื่อว่าหากผลิตภัณฑ์ได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมกับเขาโดยเฉพาะ จะทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและยังทำให้เขารู้สึกพิเศษ “Customization” ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็งทั้งในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและเครื่องสำอาง การวินิจฉัยด้วยเทคโนโลยีช่วยให้สามารถวิเคราะห์สภาพผิวและสร้างผลิตภัณฑ์ที่มอบประโยชน์เฉพาะสำหรับผิวแต่ละบุคคลได้ เครื่องสำอางที่สามารถปรับสีและเนื้อสัมผัสได้ก็เป็นที่นิยมเช่นกัน

กลยุทธ์ชนะใจผู้บริโภคยุคใหม่ในเอเชีย 

จากแนวโน้มตลาดความงามเเละสุขภาพดังกล่าว สรุปได้เป็น 5 กลยุทธ์ให้ธุรกิจต่างๆ นำไปประยุกต์ใช้เพื่อเจาะตลาดกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ในเอเชียได้ ดังนี้ 

  • มีความเป็นธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์การบำรุงผิวที่ล้ำลึก และมอบคุณค่าทาง Health และ Wellness
  • พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ เข้าใจไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป “ใช้ง่าย” และ “รวดเร็ว” คือสิ่งที่คนเอเชียกำลังมองหา
  • มอบประสบการณ์ใหม่ด้วยผลิตภัณฑ์ Cross-over ลุคแบบธรรมชาติต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นที่ผนวกเครื่องสำอางเข้ากับผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
  • ให้ผู้บริโภครู้สึก Exclusive ผู้บริโภคในทุกวันนี้ไม่ได้ต้องการผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาสำหรับทุก พวกเขาต้องการสิ่งที่เหมาะกับเขาโดยเฉพาะ หรือต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็น Personalization
  • มอบคุณประโยชน์ที่ผู้บริโภคชายกำลังมองหา พวกเขาแสวงหาประสิทธิภาพที่มีความล้ำลึกยิ่งขึ้น ต่อต้านริ้วรอยและไวท์เทนนิ่ง คือสิ่งที่ควรค่าแก่การผสนผสาน

เจาะตลาดความงามในไทยอย่างไร? 

ชีวานนท์ ปิยะพิทักษ์สกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ประเทศไทยและมาเลเซีย แนะนำกลยุทธ์ในการชนะตลาดความงามในไทยโดยแบรนด์ต้องคำนึงถึง 2 มุมหลัก คือ ผลิตภัณฑ์และการสื่อสาร โดยผลิตภัณฑ์จะต้องเชื่อมโยงกับคำว่า Health และ Wellness โดยผสานความเป็นธรรมชาติเข้าไป 

“สำหรับคำว่า ความเป็นธรรมชาติ ของคนไทยไม่ใช่แค่เรื่องของส่วนประกอบจากธรรมชาติ แต่ยังคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพที่ล้ำลึกและมีสารปรุงแต่งน้อยที่สุด ผลิตภัณฑ์ยังต้อง ‘More Customized’ ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคเฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น เช่น ป้องกันปัญหามลพิษฝุ่น PM 2.5 ที่มีต่อผิวตอบโจทย์ความต้องการถึงระดับตัวบุคคล ” 

สำหรับการสื่อสารต้องมุ่งเน้นไปที่ ‘Holistic Health Benefits’ คือการสื่อสารให้เห็นคุณประโยชน์ต่อสุขภาพแบบองค์รวม ตอบโจทย์ความต้องการทางด้าน Functional และ Emotional เพื่อสุขภาพดีจากภายในสู่ภายนอก ดังนั้นแบรนด์ต้องเข้าใจ Insight ผู้บริโภค และกำหนดกลยุทธ์โดยมี Customer Centric เพื่อเติมเต็มความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป

 

 

]]>
1258620