แกร็บ ประเทศไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 27 Mar 2024 13:11:22 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 มองเกมยาว จับลูกค้ากระเป๋าหนัก! จุดสำคัญพา ‘แกร็บ’ กำไร 2 ปีติด https://positioningmag.com/1467870 Wed, 27 Mar 2024 08:04:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1467870 หากพูดถึงตลาด Ride-Hailing และ Food Delivery เชื่อว่าหลายคนก็รู้ดีว่าเป็นตลาดที่แข่งขันสูง โดยเฉพาะการทำโปรโมชั่น อย่างไรก็ตาม มีเพียงแพลตฟอร์มเดียวในตลาดที่สามารถทำกำไรได้ 2 ปีติดต่อกันก็คือ แกร็บ (Grab) ที่ทำตลาดในไทยมาแล้ว 10 ปีเต็ม อะไรเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ทำให้แกร็บทำกำไรได้ และสร้างการเติบโตจากนี้

มองเกมยาว เน้นลูกค้าคุณภาพ

ย้อนไปปี 2022 แกร็บ มีรายได้ 15,197 ล้านบาท กำไร 576 ล้านบาท ส่วนในปี 2023 แม้บริษัทจะยังไม่เปิดเผยแต่ วรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย เกริ่นว่า มีกำไรที่มากขึ้นเล็กน้อย ซึ่งหนึ่งในจุดที่ทำให้แกร็บสามารถทำกำไรได้ 2 ปีติดต่อกันก็คือ การมองเกมระยะยาว นั่นก็คือ การคัด ลูกค้าคุณภาพ

“หากมองอะไรระยะสั้น จะยิ่งทำให้ต้องเปลี่ยนกลยุทธ์บ่อย ซึ่งต้องชมทีมที่ไม่เปลี่ยนใจกับสิ่งเร้ารอบตัวเวลา โดยเฉพาะเวลามีแพลตฟอร์มใหม่กระโดดเข้ามา หรือพอคู่แข่งลดราคาแบบนี้ แล้วเราไม่เป็นลดตาม เราต้องอดทนเยอะมากนะ”

วรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย

หนึ่งในกลยุทธ์ที่แกร็บวางไว้สำหรับคัดลูกค้าคุณภาพก็คือ GrabUnlimited โปรแกรมสมาชิกแพ็กเกจรายเดือนที่ให้ส่วนลดและข้อเสนอพิเศษประจำเดือน ที่แกร็บออกมาตั้งแต่ปี 2020 โดยสามารถช่วยดันให้มูลค่าออเดอร์เติบโตขึ้น +17% มีมูลค่าคำสั่งซื้อเฉลี่ยที่กว่า 200 บาท/ครั้ง และมีความถี่ในการสั่งมากกว่าลูกค้าทั่วไป 20% และปีนี้ก็จะพยายามเพิ่มเมมเบอร์ในฝั่งเรียกรถ

นอกจากการทำเมมเบอร์แล้ว การมี Grab ThumbsUp หรือร้านการันตี และ Only at Grab ซึ่งปัจจุบันมีร้านรวมกว่าพันร้าน ก็ช่วยการันตีถึงคุณภาพ ช่วยให้ลูกค้าเลือกใช้บริการแกร็บ

“ยอดสั่งซื้อสูงแต่มูลค่าต่อคำสั่งซื้อต่ำแปลว่ายิ่งขาดทุน ดังนั้น เราจึงพยายามผลักดันการโฟกัสที่ลูกค้าคุณภาพ โดยเรานำเงินจากโปรโมชั่นมาใช้กับลูกค้า GrabUnlimited ทำให้ไม่ต้องทำโปรแรงตลอดเวลา ไม่ต้องลดค่ารอบไรเดอร์ ช่วยให้เรามีกำไร เกิดบาลานซ์ ไม่มีใครเสียประโยชน์ แพลตฟอร์มมีความยั่งยืน เพราะลูกค้าจะไม่ได้เปลี่ยนแบรนด์ง่ายขนาดนั้น” วรฉัตร อธิบาย

ยอมรับว่าราคาเป็นอุปสรรคต่อการเติบโต

แม้การที่มีลูกค้าคุณภาพจะช่วยให้ทำกำไร แต่การจะขยายฐานลูกค้าให้เติบโต ปัจจัยด้าน ราคา ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญ โดยจากการสำรวจของแกร็บในเดือนที่ผ่านมาพบว่า 62% ของผู้บริโภค มีความกังวลค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ทำให้สั่งอาหารหรือเรียกรถไม่โตเท่าที่ควร เพราะผู้บริโภคมองว่า ราคาสูงเกินไป

สอดคล้องกับที่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าในปีนี้ มูลค่าตลาด Food Delivery จะอยู่ที่ประมาณ 8.6 หมื่นล้านบาท หรือ หดตัว 1.0% จากปี 2566 จากปริมาณการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นหรือ Food Delivery ที่คาดว่าจะยังลดลง เนื่องจากความจำเป็นในการสั่งที่ลดลง และราคาอาหารเฉลี่ยที่ปรับสูงขึ้น

ดังนั้น ราคาจับต้องได้ จะช่วยขยายตลาดให้แกร็บขยายไปยังเซกเมนต์ใหม่ ๆ อาทิ นักศึกษาและผู้ใช้ต่างจังหวัด โดยแกร็บได้ออกแคมเปญ Hot Deals โดยจะรวมเมนูลดราคาพิเศษจากหลากหลายร้านอาหาร พร้อมส่วนลดออนท็อป และ SAVER Delivery ตัวเลือกค่าส่งแบบประหยัด ในส่วนของบริการเรียกลดจะมีบริการ  GrabCar SAVER สำหรับการเดินทางด้วยรถยนต์ขนาดเล็กที่ถูกลงกว่าปกติ 15% และบริการ GrabBike SAVER ในระยะทางไม่เกินสี่กิโลเมตร เริ่มต้น 26 บาท

“แน่นอนว่าเราทำราคาถูกลง แต่ก็ต้องบาลานซ์กับรายได้ของไรเดอร์ ดังนั้น บริการเหล่านี้จะเปิดในช่วงที่ไม่เร่งด่วนหรือช่วงกลางคืน ซึ่งคนขับเลือกได้จะขับในเวลาถูกลง หรือจะปิดรับ หรืออย่างในต่างจังหวัดที่งานน้อย เราก็ต้องหาทางเพิ่มรอบ เพื่อให้ไรเดอร์มีรายได้มากขึ้น”

แกร็บบุกสนามบิน

หลังจากการท่องเที่ยวกลับมา การเรียกรถก็กลับมาเติบโต โดยในปีที่ผ่านมา ยอดใช้บริการเรียกรถผ่านแกร็บในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติเติบโตขึ้นถึง 139% หรือ 1.4 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2022 และการเรียกรถไป-กลับจากสนามบินเติบโตขึ้น 2 เท่า

ที่ผ่านมา แกร็บได้เปิดบริการที่สนามบินภูเก็ต, สนามบินเชียงใหม่, สนามบินเชียงราย และสนามบินดอนเมือง ล่าสุด แกร็บกำลังจะเปิดบริการที่สนามบินสุวรรณภูมิภายในสิ้นเดือนนี้

“ยอมรับว่าบริการเรียกรถที่ถูกกว่าแกร็บมีเยอะมาก และแกร็บก็ต้องเสียลูกค้าบางส่วนให้กับแพลตฟอร์มนั้น ๆ แต่เพราะคุณภาพทำให้แกร็บยังสามารถยืนในขณะนี้ได้อยู่ ดังนั้น ด้วยคุณภาพที่สูงทำให้แกร็บไม่สามารถลดราคาได้”

ยังไม่มีแผนเพิ่มบริการหรือธุรกิจใหม่ ๆ

วรฉัตร ยืนยันว่า ปีนี้ยังไม่มีแผนเพิ่มบริการหรือธุรกิจใหม่ แต่บริการใหม่ที่เปิดในปีที่ผ่านมา อาทิ Dine-in ซึ่งจะเป็นลักษณะของการขายคูปอง จะทำอย่างเต็มรูปแบบในปีนี้ ซึ่งจะช่วยให้แกร็บเข้าถึงร้านที่ไม่เปิดบริการ Food Delivery ได้มากขึ้น ส่วนการทำ Virtual Bank ก็ยังไม่มีแผนจะทำ แม้ว่าแกร็บจะมีบริการ Grab Finance มีแผนจะเพิ่มวงเงินการปล่อยกู้จากหลัก 5,000-500,000 บาท เป็น หลักล้านบาท ให้กับเจ้าของธุรกิจร้านอาหาร

Virtual bank ทำได้ยาก เพราะว่าแบงก์ไทยแข็งแรงมาก และนอน-แบงก์ก็ทำธุรกิจเกี่ยวกับการเงินได้เยอะมาก เช่น ประกัน, ลงทุน, ปล่อยกู้ ดังนั้น เลยรู้สึกว่าสู้กับแบงก์ไทยยาก คนที่จะเป็นดิจิทัลแบงกิ้งก็คือ แบงก์นั่นแหละ”

มองโฆษณาธุรกิจดาวรุ่งทำกำไร

แน่นอนว่าปีนี้ กลุ่มธุรกิจที่คาดว่าจะเติบโตมากที่สุดยังคงเป็นการเรียกรถ เนื่องจากการเติบโตของการท่องเที่ยว ตามด้วยธุรกิจ Food Delivery และธุรกิจโฆษณา หรือ Grab Ads ซึ่งในอนาคต วรฉัตร มองว่า ธุรกิจโฆษณาจะเป็นธุรกิจสำคัญในการสร้างกำไรให้กับบริษัท เนื่องจากเห็นเทรนด์ในหลายประเทศ

สำหรับรายได้จากโฆษณาของแกร็บจะมาจาก Self-serve ads เครื่องมือโฆษณาสำหรับพาร์ตเนอร์ร้านค้า เพื่อช่วยเพิ่มยอดขาย ที่ผ่านมาพบว่า ร้านอาหารสามารถทำรายได้เพิ่มขึ้น 6 เท่า จากเม็ดเงินโฆษณา อีกส่วนคือ Grab Ads ปีนี้แกร็บพยายามจะเชื่อมระหว่างออนไลน์และออฟไลน์ ให้มีความครบวงจรโดยจะโฟกัสไปที่ลูกค้าในกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว สินค้าสุขภาพ-ความงาม และสินค้าอุปโภคบริโภค

“จุดแข็งของ Grab Ads คือ เรารู้ว่าลูกค้าใช้จ่ายเท่าไหร่ ใช้บัตรเครดิตอะไร อยู่แถวไหน ทำให้เราสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน และปีนี้เราจะทำโฆษณาทั้งในรถ นอกรถ เชื่อมต่อกับในแอปฯ ด้วยเพื่อให้ครบวงจร ทำให้เราใช้พื้นที่ทำโฆษณาให้ได้มากกว่าเดิม”

]]>
1467870
“GrabAds” ไลน์ธุรกิจ “โฆษณา” ของแกร็บ เดินหน้ารุกกลุ่มลูกค้า FMCG-ยานยนต์-การเงิน https://positioningmag.com/1443745 Thu, 07 Sep 2023 11:10:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1443745 จากป้ายโฆษณาในรถแท็กซี่ สู่ไลน์ธุรกิจโฆษณาแบบครบวงจร GrabAds” ไลน์ธุรกิจใหม่ของ “แกร็บ” วางเป้าบุกอุตสาหกรรม FMCG-ยานยนต์การเงิน ชี้จุดขายสื่อโฆษณาบนแพลตฟอร์มค้าปลีก (Retail Media Network) เจาะลูกค้าได้ตรงเป้ามากกว่าด้วยอินไซต์ข้อมูลภายใน (First-Party Data Insights)

“แกร็บ” อยู่ในประเทศไทยมานาน 10 ปี ขยายธุรกิจจนปัจจุบันมีขาหลักคือ ขนส่ง, เดลิเวอรี และการเงิน ล่าสุดแกร็บตั้งอีกหนึ่งไลน์ธุรกิจขึ้นมาเป็นขาสำคัญคือ “GrabAds” หรือธุรกิจโฆษณาของแกร็บ

ไลน์ธุรกิจนี้เริ่มขึ้นในระดับภูมิภาคมาตั้งแต่ปี 2561 และเริ่มนำเข้ามาใช้ในไทยเมื่อปี 2562 โดยเริ่มจากการติดป้ายโฆษณาในรถแท็กซี่/แกร็บคาร์ เพื่อแบ่งปันรายได้ให้กับคนขับ ก่อนจะขยายมาถึงโฆษณาภายในแอปพลิเคชัน ให้ร้านอาหารต่างๆ สามารถลงโฆษณาเพื่อ ‘ดัน’ ร้านของตนเองขึ้นมาด้านบนและเห็นเด่นชัดขึ้น

ในที่สุด แกร็บปรับตัวเองมาเป็นธุรกิจโฆษณาเต็มรูปแบบเมื่อ 6 เดือนก่อน ในฐานะ “สื่อโฆษณาบนแพลตฟอร์มค้าปลีก” (Retail Media Network: RMN) เป็นพื้นที่ให้แบรนด์เข้าถึงผู้บริโภคผ่านทุกช่องทางของแกร็บเอง ไม่ว่าจะออฟไลน์หรือออนไลน์ มีพื้นที่โฆษณาครบลูปตั้งแต่ป้ายบนรถแท็กซี่ แจกสินค้าตัวอย่าง (sampling) พ่วงไปกับฟู้ดเดลิเวอรี จนถึงแบนเนอร์บนแอปพลิเคชัน

“จันต์สุดา ธนานิตยะอุดม” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพาณิชย์และการตลาด แกร็บ ประเทศไทย

“จันต์สุดา ธนานิตยะอุดม” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพาณิชย์และการตลาด แกร็บ ประเทศไทย แบ่งปันกรณีตัวอย่างลูกค้าที่ไม่ใช่ร้านอาหาร (non-restaurant) ที่เคยใช้บริการโฆษณากับ GrabAds เช่น

  • อายิโนะโมะโต๊ะ – ต้องการเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้รู้จักแบรนด์มากขึ้น จึงผนึกกับแกร็บ แจกสินค้าตัวอย่างผ่านคำสั่งซื้อเดลิเวอรีร้านส้มตำชื่อดัง เช่น แซ่บวัน รัชดา, เจ๊แดง สามย่าน เพื่อให้เกิดการจดจำแบรนด์และเลือกซื้อในอนาคต
  • เป๊ปซี่ – ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ “เป๊ปซี่ ไลม์” จึงต้องการโปรโมตในฐานะเครื่องดื่มคู่กับมื้ออาหาร โดยลงโฆษณากับแกร็บแบบครบลูป ทั้งโฆษณาแบนเนอร์ในแอปฯ ป้ายโฆษณาบนกล่องส่งอาหารของไรเดอร์ และแรปรอบคันรถแกร็บคาร์
  • Xiaomi – ออกสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ ต้องการสร้างการรับรู้ในแบรนด์ จึงเลือกลงโฆษณาในแอปฯ ซึ่งผู้ใช้มีลักษณะ ‘Tech savvy’ สนใจเทคโนโลยีสูง
GrabAds
ตัวอย่างการใช้งาน GrabAds ของเป๊ปซี่

 

GrabAds ชูจุดขาย “อินไซต์” จากการซื้อจริง

จันต์สุดากล่าวว่า สื่อโฆษณาแบบ RMN ถือว่าค่อนข้างใหม่ในไทย แต่ข้อมูลจาก Group M ประเมินว่า RMN จะเป็นคลื่นลูกใหม่ในวงการโฆษณา เม็ดเงินโฆษณาทั่วโลกของ RMN จะแซงหน้าเม็ดเงินในกลุ่มโฆษณาโทรทัศน์ในอีก 5 ปีข้างหน้า

เหตุที่ RMN จะได้รับความนิยมสูงขึ้น เพราะโฆษณาที่อยู่บนแพลตฟอร์มของค้าปลีกเจ้านั้นๆ เป็นผู้ดูแลแบบครบลูปทั้งหมด มีจุดแข็งหลายประการ เช่น

1.อินไซต์ผู้บริโภคชัดเจนและแม่นยำกว่า

ในโลกที่การเก็บ ‘cookies’ ผู้ใช้งานสื่อออนไลน์ยุ่งยากขึ้นเพราะกฎหมายปกป้องข้อมูลส่วนตัว ทำให้การลงโฆษณาให้ตรงกลุ่มเป้าหมายในโซเชียลเน็ตเวิร์กค่อนข้างจะยาก

ในทางกลับกัน RMN มีข้อมูลผู้บริโภคจากการใช้ซื้อสินค้าและบริการจริงกับตัวแพลตฟอร์มเอง (First-Party Data Insights) ซึ่งทำให้เข้าใจพฤติกรรม ความชอบ ไลฟ์สไตล์ ที่ชัดเจนและแม่นยำมากกว่า

แกร็บ สามารถจัดประเภทลูกค้า (Persona) ได้จากพฤติกรรมการซื้อสินค้าและการใช้แกร็บคาร์ เช่น คุณอุ้ม มักจะสั่งสินค้าทีละมากๆ และมีการนั่งรถไป-กลับโรงเรียนทุกเช้าเย็นวันธรรมดา สะท้อนว่าคุณอุ้มน่าจะเป็นคุณแม่ที่คอยดูแลครัวเรือนและเป็นครอบครัวที่มีลูกแล้ว หรือ คุณวา มักจะสั่งซื้อเฉพาะอาหารคลีน สินค้าสุขภาพ และมีการนั่งรถไปฟิตเนสบ่อยๆ สะท้อนว่าคุณวาเป็นคนรักสุขภาพ

ข้อมูลเหล่านี้ทำให้แบรนด์สามารถส่งแคมเปญไปถึงลูกค้าได้ตรงกลุ่มมากกว่า และไม่ใช่แค่ความน่าจะเป็นบนโซเชียลมีเดีย แต่ลูกค้าเหล่านี้มีการซื้อจริง

 

2.ผู้บริโภคไม่รู้สึกถูกขัดจังหวะ

ผู้บริโภคที่เข้ามาในแอปฯ ค้าปลีก มักจะต้องการหาซื้ออะไรบางอย่างอยู่แล้ว การเห็นโฆษณาในแอปฯ เหล่านี้จึงไม่รู้สึก ‘ถูกขัดจังหวะ’ ต่างจากการเห็นโฆษณาระหว่างชมคอนเทนต์ในโซเชียลมีเดีย รวมถึงแอปฯ ค้าปลีกมีโอกาสปิดการขายได้ทันทีด้วยเพราะเป็นพื้นที่ขายสินค้าอยู่แล้ว

 

3.ความน่าเชื่อถือสูง

เนื่องจากเป็นระบบปิดภายในแพลตฟอร์มเท่านั้น ทำให้แบรนด์ปลอดภัยกว่า โดยจากการวิจัยพบว่าผู้บริโภค 84% มองว่าโฆษณาที่ปรากฏกับ GrabAds มีความน่าเชื่อถือ

 

แน่นอนว่า ข้อเสียของ GrabAds ก็มีเช่นกัน นั่นคือข้อจำกัดบางประการ เช่น ระยะเวลาที่ผู้ใช้ใช้เวลาบนแอปฯ แกร็บจะอยู่ที่เฉลี่ย 17 นาที น้อยกว่ากลุ่มโซเชียลมีเดียมาก การเข้าถึง (reach) จึงอาจจะไม่สูง แต่แกร็บต้องการชูจุดขายการโฆษณาให้ตรงเป้าหมาย

รวมถึงโปรไฟล์ของผู้ใช้แกร็บ จะมีลักษณะเป็น “คนเมือง” “คนรุ่นใหม่ Gen Y – Gen Z” “รายได้ระดับกลางถึงบน” ดังนั้น ถ้าเป็นสินค้าที่ไม่ตรงกับโปรไฟล์ผู้ใช้ เช่น สินค้าสำหรับคนชนบท, สินค้าสำหรับกลุ่มเบบี้บูมเมอร์, สินค้าระดับกลางล่าง เหล่านี้อาจจะไม่คุ้มค่าในการลงโฆษณาใน GrabAds

 

บุกกลุ่มธุรกิจ FMCG-ยานยนต์-การเงิน

จันต์สุดากล่าวต่อไปว่า จากฐานลูกค้าเดิมของ GrabAds ที่ได้จากกลุ่มร้านอาหารอยู่แล้วนั้น ต่อจากนี้จะบุกอุตสาหกรรมที่ขยายวงโคจรออกจากแอปฯ มากขึ้น โดยวัดจากแนวโน้มการใช้เม็ดเงินโฆษณาในปี 2566 แล้ว บริษัทจะเน้นใน 3 กลุ่มอุตสาหกรรม คือ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG), กลุ่มยานยนต์ และกลุ่มสถาบันการเงินและธนาคาร

GrabAds
ตัวอย่างการลงโฆษณาของกลุ่มยานยนต์กับกลุ่มอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ในกลุ่ม FMCG อาจจะพอนึกภาพความเชื่อมโยงได้ เพราะแกร็บมีฟังก์ชัน “GrabMart” ลูกค้าเห็นโฆษณาแล้วสามารถจูงใจให้เพิ่มสินค้านั้นลงตะกร้าได้ทันที

แต่ในสินค้าอย่าง “ยานยนต์” หรือ “การเงิน” จันต์สุดายอมรับว่าบริษัทจะต้องให้ข้อมูลเพิ่มอีกมาก ถือเป็นความท้าทายที่จะต้องสร้างความเข้าใจกับแบรนด์ว่า GrabAds จะตอบสนองไปถึงอุตสาหกรรมเหล่านั้นได้อย่างไร

ทั้งนี้ เชื่อว่าบริษัทสามารถสร้างแรงจูงใจได้ โดยที่ผ่านมามีลูกค้าแบรนด์ที่เคยทำแคมเปญร่วมกันมาแล้ว เช่น Volvo, Mercedes-Benz, MG, KBank, Kept by Krungsri, AIA เป็นต้น

]]>
1443745
“แกร็บ” แจง 3 ประเด็นดราม่า หลังคนขับรวมตัวประท้วงหน้าสำนักงานใหญ่ https://positioningmag.com/1291778 Mon, 10 Aug 2020 04:42:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1291778 ยังคงเป็นกระแสดราม่าอย่างต่อเนื่องสำหรับวงการเดลิเวอรี่ ล่าสุด “แกร็บ” เจอกับดราม่าพาร์ตเนอร์ หรือคนขับ ที่รวมตัวประท้วง อ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม โดนลดค่าอินเซ็นทีฟ และให้ซื้อกระเป๋า ล่าสุดแกร็บได้ชี้แจง 3 ประเด็นใหญ่

ก่อนหน้านี้แกร็บได้เจอศึกใหญ่ หลังจากที่ได้ปรับขึ้นค่า GP ร้านอาหาร จนสุดท้ายต้องถอยทัพกลับมาที่ 35% เท่าเดิม จนล่าสุดก็ยังมีศึกใหญ่กับพาร์ตเนอร์ที่เป็นคนขับอีก

ในช่วงที่ผ่านมาแกร็บได้ปรับโครงสร้างอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงปรับโครงสร้างรายได้ของพาร์ตเนอร์ด้วยเช่นกัน มีการประกาศลดค่าอินเซ็นทีฟสำหรับคนขับในต่างจังหวัด เพื่อเสริมสภาพคล่องในยุค COVID-19

จนล่าสุดมีพาร์ตเนอร์ที่เป็นคนขับแกร็บได้รวมตัวกันเรียกร้องความเป็นธรรม หลังจากที่พบว่าทางแกร็บได้ลดค่าอินเท็นซีฟ บังคับให้ซื้อกระเป๋า รวมถึงประเด็นอื่นๆ จนนำไปสู่การรวมตัวประท้วงครั้งใหญ่ที่หน้าสำนักงานใหญ่ตึกธนภูมิ ในวันที่ 10 สิงหาคม 2563

ทำให้ทางแกร็บออกมาชี้แจงประเด็นใหญ่ รวมถึงข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ มีเนื้อหาดังต่อไปนี้

จากกรณีที่มีพาร์ตเนอร์คนขับแกร็บไบค์ ในเขตกรุงเทพฯ ได้รวมตัวกันขอเข้าพบผู้บริหารของแกร็บเพื่อยื่นข้อเรียกร้องและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับงานนั้น แกร็บ ประเทศไทย ได้รับทราบถึงปัญหาและข้อเสนอแนะจากพาร์ตเนอร์คนขับในประเด็นต่างๆ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และได้ทำการติดต่อตัวแทนพาร์ตเนอร์คนขับ ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มคนขับในเขตกรุงเทพฯ

โดยได้เชิญเข้าร่วมประชุมกับผู้บริหารเพื่อรับฟังถึงประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมา แต่ได้รับการปฏิเสธ โดยกลุ่มตัวแทนพาร์ตเนอร์คนขับยืนยันที่จะรวมตัวกันที่บริเวณหน้าอาคาร ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทฯ ทั้งนี้ แกร็บ ประเทศไทย ใคร่ขอเรียนชี้แจงถึงข้อเท็จจริงในประเด็นต่างๆ ดังนี้

1. ปัญหาการรับงานที่เกิดขึ้นจากการแบ่งเขตพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี

สืบเนื่องมาจากการประกาศแบ่งเขตพื้นที่การรับงานของพาร์ตเนอร์คนขับในเขตกรุงเทพฯ นนทบุรี และปทุมธานี เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ทำให้เกิดข้อจำกัดในเชิงเทคนิคบางประการ และส่งผลต่อการรับงานของพาร์ตเนอร์คนขับ รวมถึงประสบการณ์การใช้บริการของลูกค้าในพื้นที่ซึ่งเป็นรอยต่อ

แกร็บจึงได้ประกาศยกเลิกการแบ่งเขตพื้นที่ดังกล่าว โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคมนี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ บริษัทฯ จะดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจนกว่าระบบจะมีความพร้อมในการให้บริการแบบแบ่งเขตพื้นที่ และจะทำการสื่อสารให้พาร์ตเนอร์คนขับทราบรายละเอียดหากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในอนาคต

2. การเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าในการเรียกใช้บริการจัดส่งพัสดุผ่าน แกร็บ เอ็กซ์เพรส (GrabExpress)

ที่ผ่านมา แกร็บ ได้ประกาศให้พาร์ตเนอร์คนขับที่รับงานจัดส่งพัสดุผ่านบริการ แกร็บ เอ็กซ์เพรส (GrabExpress) จะต้องมีกระเป๋าแกร็บเพื่อบรรจุ และจัดเก็บสินค้าหรือพัสดุที่ผู้ใช้บริการต้องการจัดส่ง ทั้งนี้ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความปลอดภัยในระหว่างการขับรถ พร้อมสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าสินค้าหรือพัสดุที่ต้องการจัดส่งนั้นจะถูกจัดเก็บเป็นอย่างดีในระหว่างการขนส่งและถึงมือผู้รับปลายทางในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด

อย่างไรก็ดี บริษัทฯ ตระหนักและเข้าใจถึงข้อจำกัดของพาร์ตเนอร์คนขับบางรายที่ไม่สะดวกในการซื้อ และใช้กระเป๋าแกร็บ ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้พิจารณาปรับปรุงบริการในส่วนนี้ เพื่อตอบสนองต่อรูปแบบการให้บริการที่แตกต่างกันของพาร์ตเนอร์คนขับ รวมทั้งเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้า

ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคมเป็นต้นไป การจัดส่งสินค้าหรือพัสดุผ่านบริการ แกร็บ เอ็กซ์เพรส (GrabExpress) ด้วยรถจักรยานยนต์ จะถูกแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

  • แบบต้องการกระเป๋า และ
  • แบบไม่ต้องการกระเป๋า โดยผู้ใช้บริการจะสามารถเลือกได้ว่าต้องการใช้บริการแบบใด สำหรับพาร์ตเนอร์คนขับที่เคยถูกยกเลิกไม่ให้รับงานหากไม่มีกระเป๋า บริษัทฯ ได้เปิดสิทธิให้สามารถรับงานจัดส่งพัสดุผ่านบริการ แกร็บ เอ็กซ์เพรส (GrabExpress) ได้แล้วนับตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมา
(Photo by Lauren DeCicca/Getty Images)
3. การให้ความคุ้มครองในระหว่างการรับงาน

ความปลอดภัยของผู้ใช้บริการและพาร์ตเนอร์คนขับถือเป็นสิ่งที่แกร็บให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ ที่ผ่านมาอาจมีพาร์ตเนอร์คนขับบางรายที่ไม่ทราบว่า แกร็บได้จัดทำประกันอุบัติเหตุเพื่อให้ความคุ้มครองกับพาร์ตเนอร์คนขับของเราในทุกเที่ยวของการให้บริการ โดยให้ความคุ้มครองสูงสุด 50,000 บาท ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุระหว่างการรับงาน และให้ความคุ้มครองสูงสุด 200,000 บาท ในกรณีที่เสียชีวิต ซึ่งถือเป็นสิทธิประโยชน์ที่ดีกว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ ในตลาด ทั้งนี้ บริษัทฯ จึงได้มีการประกาศให้พาร์ตเนอร์คนขับรับทราบอีกครั้งผ่านทางแอปพลิเคชันของพาร์ตเนอร์คนขับ

แกร็บ ประเทศไทย ขอน้อมรับทุกความคิดเห็นของผู้ใช้บริการ รวมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะจากพาร์ตเนอร์คนขับของเรา เพื่อนำมาใช้พิจารณาและปรับปรุงการให้บริการ ตลอดจนการบริหารงานในด้านต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

]]>
1291778
“แกร็บ” ส่งผู้บริหารภูมิภาคดูแลตลาดไทยชั่วคราว หลัง “ธรินทร์” ลาออกจาก MD  https://positioningmag.com/1279372 Tue, 19 May 2020 08:00:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1279372 แกร็บ ประเทศไทย แจ้งธรินทร์ ธนียวัน” ลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ ตั้งแต่ 30 เมษายนที่ผ่านมา โดยปัจจุบันมีผู้บริหารระดับภูมิภาคเข้ามารักษาการณ์แทนระหว่างการสรรหากรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่

ข้อมูลจากทาง แกร็บ ประเทศไทย แจ้งว่า ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างขั้นตอนของการสรรหา พิจารณาและคัดเลือกผู้สมัครเพื่อมาดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย

โดยในระหว่างนี้ รัสเซล โคเฮน ผู้อำนวยการสายงานปฏิบัติการประจำภูมิภาคของแกร็บ โฮลดิ้งส์ อิงค์ ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับภูมิภาคที่ทำงานอย่างใกล้ชิดกับทีมบริหารของแกร็บ ประเทศไทย จะรักษาการตำแหน่งดังกล่าว จนกว่าจะมีการประกาศแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย อย่างเป็นทางการ

ทั้งนี้ แกร็บ ขอขอบคุณธรินทร์สำหรับความมุ่งมั่นและความทุ่มเทในการทำงานตลอดระยะเวลากว่า 2 ปีของการดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย

ที่เข้ามาขับเคลื่อนและผลักดันให้ธุรกิจของแกร็บในประเทศไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในทุกด้านผ่านบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การบริการการเดินทาง บริการจัดส่งอาหารและพัสดุ บริการทางการเงิน ตลอดจนบริการใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน

ในระหว่างการดำรงตำแหน่ง ธรินทร์ยังได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น พร้อมริเริ่มโครงการความร่วมมือในด้านต่างๆ ทั้งการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง การส่งเสริมการค้าและการท่องเที่ยว พร้อมมุ่งสนับสนุนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เพื่อร่วมขับเคลื่อนและผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทย

โดยทีมงานของ แกร็บ ประเทศไทย ทุกคนจะยังคงสานต่อเจตนารมณ์ของธรินทร์ต่อไป โดยมุ่งใช้เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มของแกร็บในการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ตลอดจนผู้ประกอบการรายย่อย และพาร์ตเนอร์คนขับจัดส่งอาหาร ควบคู่ไปกับการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยอย่างต่อเนื่อง

Source

]]>
1279372