แซนวิชเซเว่น – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 04 Oct 2021 05:33:41 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ไม่หยุดแค่แซนวิช ‘NSL Foods’ ผนึก ‘เป็ด เชิญยิ้ม’ ลุยตลาด ‘น้ำปลาร้า’ ปักธงรายได้ 300 ล้าน https://positioningmag.com/1354628 Mon, 04 Oct 2021 05:01:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1354628 เพราะการระบาดของ COVID-19 ระลอกที่ผ่านมา ทำให้หลายพื้นที่ในประเทศไทยต้องล็อกดาวน์ยาว แน่นอนว่ากับธุรกิจร้านอาหารถือว่ากระทบหนัก ทำให้หลายร้านต้องออก ‘น้ำจิ้ม’ หรือ ‘น้ำยำ’ แพ็กขายเพื่อช่วยเพิ่มยอดขายอีกทาง และนั่นก็ทำให้ตลาดเครื่องปรุงมีผู้เล่นหน้าใหม่ ๆ เข้ามาให้เห็น ซึ่งรวมไปถึงตลาด ‘น้ำปลาร้า’ ที่มีมูลค่าถึงหมื่นล้าน

สำหรับชาวอีสานและคออาหารอีสาน สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ ‘น้ำปลาร้า’ โดยปัจจุบันตลาดน้ำปลาร้าในไทยก็มีมูลค่าถึง 1 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม อีกช่องว่างของตลาดคือ มีน้อยแบรนด์ที่จะทำตลาดจริงจังจริง ๆ ส่วนใหญ่ในท้องตลาดมักจะเป็นแบรนด์เล็กแบรนด์น้อยมากกว่า อย่างล่าสุดก็มีแบรนด์ของ ‘อาฟเตอร์ยำ’ ร้านยำชื่อดังที่เพิ่งประกาศขาย ‘น้ำยำ’ และ ‘น้ำปลาร้า’ สูตรเดียวกันกับที่หน้าร้าน

ล็อกดาวน์บีบร้านอาหารดังขาย “น้ำจิ้ม-น้ำยำ” สูตรลับ พยุงยอดขาย ช่วยให้ลูกค้าไม่ลืมกัน

จากโอกาสดังกล่าว ทำให้ ‘เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์’ หรือ NSL ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารสำเร็จรูป ทั้งเบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว อาหารแช่แข็ง เบื้องหลังของแซนวิชอบร้อนใน ‘เซเว่น-อีเลฟเว่น’ และถือเป็นพาร์ตเนอร์กับทางเซเว่นฯ มายาวนานก็ถึงเวลาที่จะจุดแข็งดังกล่าวมาใช้กับ ‘น้ำปลาร้าปรุงสุกเชิญยิ้ม’

“ตอนนี้เราไม่ได้มองแค่เบเกอรี่ เรามองหลาย ๆ มิติ อย่างตลาดเครื่องปรุงรสเป็นตลาดใหญ่มาก และหนึ่งในนั้นก็คือ น้ำปลาร้า เรามองว่าน้ำปลาร้าเป็นตลาดที่ใหญ่มีศักยภาพที่เติบโตได้ในอนาคต หลายคนไม่รู้ว่า 10 ปีที่แล้วเราเคยทำปลาร้าผง แต่อาจจะมาเร็วไป” สมชาย อัศวปิยานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) หรือ NSL กล่าว

สมชาย อัศวปิยานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) หรือ NSL

โดย บริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ได้จับมือกับ ‘แบรนด์เชิญยิ้ม’ ของ เป็ด เชิญยิ้ม โดย NSL จะมีบทบาทหน้าที่ในการเข้ามาเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่าย พร้อมดูแลเรื่องการกระจายสินค้า และต่อยอดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

เบื้องต้น NSL มีแผนการวางจำหน่ายอยู่ที่สามช่องทางหลัก ได้แก่ Modern Trade, Traditional Trade และร้านสะดวกซื้อ ซึ่งเป็นช่องทางการจำหน่ายที่ครอบคลุม และเข้าถึงผู้บริโภคอย่างทั่วถึง โดยจัดจำหน่ายทางเซเว่นฯ ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2564 ในราคาขวดละ 49 บาท นอกจากนี้ ในอนาคตบริษัทมีแผนที่จะจำหน่ายในต่างประเทศโดยจะเริ่มจาก CLMV ก่อน

“เราต้องการให้ผู้บริโภคสามารถหาซื้อได้ง่ายที่สุด ดังนั้น หน้าที่เราก็คือทำให้เขาหาซื้อง่าย”

เปิดตำนาน “แซนวิชอบร้อนเซเว่น” จากแนวคิดขนมคอร์นด็อก สู่ยอดขาย 3,000 ล้าน

ด้าน ดร.ธัญญา โพธิ์วิจิตร รองประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เชิญยิ้ม ฟู้ด โปรดักส์ จำกัด (CYP) กล่าวว่า สำหรับ น้ำปลาร้าเชิญยิ้มจะเป็นผลิตภัณฑ์แฟลกชิป อย่างแรกภายใต้แบรนด์เชิญยิ้ม โดยบริษัทจะทำหน้าที่ สื่อสารกับตลาด โดยมั่นใจว่าชื่อ ‘เชิญยิ้ม’ มีความแข็งแรงและแมสในการสื่อสาร

โดยจะใช้ทั้งช่องทาง Online, Offline, On ground Activity รวมถึงทางรายการ ‘ก่อนบ่ายคลายเครียด’ ที่จัดเป็นสื่อประชาสัมพันธ์อย่างดีในการนำเสนอผลิตภัณฑ์สู่กลุ่มเป้าหมาย เน้นที่กลุ่มพ่อบ้าน แม่บ้าน พ่อค้า แม่ค้า และผู้ที่ชื่นชอบการทำอาหารในทุกเพศทุกวัย

ดร.ธัญญา โพธิ์วิจิตร รองประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เชิญยิ้ม ฟู้ด โปรดักส์ จำกัด (CYP)

“เราเชื่อในความแข็งแรงของชื่อเชิญยิ้มว่าคนทุกวัยรู้จักชื่อหมด และเราเราสามารถจัดกิจกรรมได้หมดเพราะมีสื่อในมือเยอะ มีทั้งทีวี ออนไลน์ และออนกราวด์ อีกทั้งเรามีแผนทำการตลาดครบวงจรอย่างกลยุทธ์ชิงโชค เพื่อส่งเสริมการตลาดด้วย”

สำหรับยอดขายที่ตั้งเป้าหมายไว้ในไตรมาสสุดท้ายของปี 64 อยู่ที่จำนวน 1 ล้านขวด และตั้งเป้ายอดขายในปี 65 อยู่ที่ 9 ล้านขวด มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท โดยในอนาคตมีแผนที่จะต่อยอดผลิตภัณฑ์เป็นแบบ Big Size สำหรับร้านค้า รวมถึงทำแบบซองพกพา นอกจากนี้ ยังมีแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารในประเภทอื่น ๆ อาทิ ลูกชิ้นคากิ, ไส้กรอกอีสาน, ไส้กรอกคากิ, หมูยอ, ขาหมูชิ้น, หมูบะช่อ กลุ่มเครื่องดื่มกาแฟสุขภาพ 3 in 1 ในอนาคต

]]>
1354628
เปิดตำนาน “แซนวิชอบร้อนเซเว่น” จากแนวคิดขนมคอร์นด็อก สู่ยอดขาย 3,000 ล้าน https://positioningmag.com/1322706 Tue, 09 Mar 2021 17:05:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1322706 รู้หรือไม่ว่า… แซนวิชอบร้อนที่ทานในเซเว่นอยู่ทุกวันนี้ มีจุดเริ่มต้นจากแนวคิดขนม “คอร์นด็อก” โดย NSL Foods เป็นพาร์ตเนอร์กับทางเซเว่นมายาวนาน ได้พัฒนาสูตรจนกลายเป็นแซนวิชอบร้อน ตอนนี้มียอดขายเกือบ 3,000 ล้าน

เริ่มจาก “คอร์นด็อก” เป็นแซนวิชเค้กไส้กรอกสูตรแรก

ถ้าพูดถึงเซเว่นฯ จากจุดยืนในเรื่อง “อิ่มสะดวก” แน่นอนว่าหลายคนต้องนึกถึงอาหารพร้อมทานต่างๆ ที่ตอนนี้มีครอบจักรวาลทั้งอาหารตามสั่ง ขนมเค้ก ผลไม้ เบอร์เกอร์ ยันชุดสุกี้ชาบูก็ยังมี แต่หนึ่งไอเทมที่ขายดีที่สุดคงหนีไม่พ้น “แซนวิชอบร้อน” เพราะเป็นอาหารที่ทานง่าย มีหลายไส้ ทานได้ตลอดทั้งวัน เป็นอาหารเช้า หรืออาหารว่างก็ได้

เบื้องหลังของแซนวิชอบร้อนก็คือ “เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์” หรือ NSL ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารสำเร็จรูป ทั้งเบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว อาหารแช่แข็ง เป็นพาร์ตเนอร์กับทางเซเว่นฯ มายาวนาน เรียกว่าทำด้วยกันมาตั้งแต่สมัยข้าวกล่องแช่แข็ง จนเป็นแซนวิชอบร้อน

สมชาย อัศวปิยานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน)
สมชาย อัศวปิยานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน)

สมชาย อัศวปิยานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) เริ่มเล่าว่า

“จุดแรกเริ่มของบริษัทเลยเมื่อปี 2544-2545 ได้พัฒนาอาหารกล่องแช่แข็ง ตอนนั้นเข้าไปขายในซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ  เซ็นทรัล, โรบินสัน และเยาฮัน หลังจากนั้นทางเซเว่นฯ เริ่มมองเห็นว่าสินค้ากลุ่มนี้มีศักยภาพเติบโต เลยให้ทางบริษัทผลิตให้ เริ่มจากทดลองขาย 30 สาขา ขยายเป็น 300-1,000 สาขา เรื่อยๆ”

จากผลิตอาหารกล่องในตอนนั้น ในปี 2550 ก็เริ่มผลิตอาหารกล่องแช่แข็งแบรนด์ “อีซีโก” ร่วมกัน จากนั้นในปี 2552 ได้พัฒนาเป็นตัวแซนวิชอบร้อน

สมชายเล่าอีกว่า ก่อนหน้าที่จะเป็นแซนวิชอบร้อน ทางเซเว่นฯ ได้ทำแซนวิชไส้แฮมชีส ไส้หมูหยอง แต่เป็นรูปแบบให้พนักงานประกอบเองที่ร้าน ทาง NSL ส่งแค่ส่วนขนมปังแถวให้ จนเซเว่นฯ ต้องการให้พัฒนา “คอร์นด็อก” จำหน่ายที่ร้าน เป็นขนมที่มีแป้งเค้กสอดไส้ด้วยไส้กรอก ให้นึกถึงขนม “โป้งเหน่ง” ตามงานวัดต่างๆ มีลักษณะคล้ายกัน ซึ่งเซเว่นฯ อาจจะต้องการท้าชน “จิฟฟี่” ที่มีเมนูนี้เป็นตัวชูโรง

ทางบริษัทใช้เวลาพัฒนาอยู่ 2 ปี เพราะพัฒนาค่อนข้างยาก เลยมองว่าที่ร้านมีเครื่องอบแซนวิชอยู่แล้ว เลยพัฒนาแซนวิชเป็นเนื้อเค้ก แล้วทำไส้กรอกเป็นไส้ เวลากินจะเหมือนคอร์ด็อก จึงเกิดเป็นสินค้าตัวแรกของตระกูลแซนวิชอบร้อนก็คือ “แซนวิชเค้กไส้กรอก” พนักงานที่ร้านก็ถูกใจกับสินค้าตัวนี้ เพราะฉีกซอง แล้วเข้าเครื่องได้เลย ไม่ต้องมาประกอบเองเหมือนก่อนหน้านี้

กลุ่มแซนวิชอบร้อนจะมีการเคลื่อนไหวค่อนข้างสูง มีการปรับ เพิ่มไส้อยู่ตลอด โดยเมื่อปี 2555-2556 เป็นช่วงที่เริ่มลงตัว และเป็นช่วงพีคที่สุด หลังจากนั้นได้ใช้ชื่อแบรนด์ว่า Ezy Taste

ปัจจุบันกลุ่มแซนวิชอบร้อนมีไส้ใหม่ๆ ตลอด แต่จะมีการหมุนเวียนเฉลี่ย 20 รายการ อันไหนขายไม่ดีก็ปรับไส้ใหม่เรื่อยๆ โดย 5 ไส้ตัวท็อปที่ขายดีที่สุด ได้แก่ แฮมชีส, ไส้กรอกชีส, หมูหยองน้ำสลัด, ครัวซองต์แฮมชีส และครัวซองต์หมูหยองน้ำสลัด

ตอนนี้ NSL มีกำลังการผลิตสินค้าเบเกอรี่ทุกอย่าง รวมทั้ง OEM ให้เจ้าอื่น 1.25 ล้านชิ้น/วัน ถ้ากำลังการผลิตที่ส่งให้เซเว่นรวม 4.5 แสนชิ้น/วัน แบ่งเป็น แซนวิชอบร้อน 2 แสนชิ้น2/วัน และเบเกอรี่อื่นๆ เค้ก เอแคลร์ อีก 2.5 แสนชิ้น/วัน

น้ำท่วม 54 สร้างจุดเปลี่ยนสำคัญ

แต่เดิม NSL เป็นบริษัทที่รับผลิตอาหาร และเบเกอรี่ทั่วไป ขายให้กับหลายเจ้า ไม่ได้ทำกับแค่ที่เซเว่นฯ แต่จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ของบริษัทก็คือเหตุการณ์ “น้ำท่วมปี 54” ทำให้น้ำท่วมโรงงานที่อมตะนคร ไม่สามารถผลิตสินค้าให้ลูกค้าได้

ทางเซเว่นฯ เลยชวนกันจับมือเป็นผู้ผลิตหลัก ไม่ขายให้รายอื่น ตอนนั้นแซนวิชอบร้อนกำลังเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น จึงให้ทาง NSL ผลิตเอ็กคลูซีฟให้กับเซเว่นฯ เจ้าเดียว ไม่ผลิตให้ลูกค้ารายอื่น ทำให้ยอดขายเติบโตต่อเนื่อง เพราะรายได้จากเซเว่นฯ เติบโตขึ้นทุกปี

ไว้ใจเซเว่นฯ คู่ค้ามานาน

กลายเป็นประเด็นสำคัญในแวดวงการทำธุรกิจ เพราะหลายคนเคยเห็นข่าวคราวของเซเว่นฯ ในแง่ลบ ในเรื่องการลอกเลียนสูตรอาหารบ้าง หรือการนำไอเดียของคนอื่นมาพัฒนาต่อบ้าง

สำหรับ NSL ไม่กลัวในประเด็นนี้ เพราะมองว่าร่วมงานกับเซเว่นฯ มานานหลาย 10 ปี เข้าใจวัฒนธรรม รู้เป้าหมายอย่างดี มีการพัฒนาสินค้าเรื่อยๆ ไว้ใจซึ่งกันและกัน และมีการทำ MOU ร่วมกันตั้งแต่ปี 2557 ทาง NSL จะไม่ขายสินค้าที่อื่น และเซเว่นฯ ก็จะไม่เอาสินค้าไปให้ผู้ผลิตรายอื่นทำ มีการต่อสัญญาเรื่อยๆ ยาวไปถึงปี 2569

ทะยานสู่ 3,500 ล้าน

เมื่อปี 2562 NSL ได้เข้าซื้อกิจการจาก บริษัท ควอลิตี้ฟู้ด สเปเชียลตี้ จำกัด ขยายธุรกิจ “ฟู้ดเซอร์วิส” นำเข้าอาหารทะเล เนื้อสัตว์และผักแช่แข็ง มองเห็นโอกาสจากมูลค่าตลาดที่สูงถึง 20,000 ล้านบาท แต่ยังมีผู้เล่นรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย เริ่มแรกจะเน้นนำเข้าสินค้าอาหารแช่แข็ง ได้แก่ เนื้อสัตว์แช่แข็ง ปลาแซลมอน ปลาหิมะ เนื้อออสเตรเลีย หอยเชลล์

ส่วนในปีนี้มีการเพิ่มการลงทุนในส่วนของอาหารประเภท Ready to Cook และ Ready to Eat การผลิตสูตรซอสอาหารสำเร็จรูปเพื่อส่งให้กับเชนร้านอาหาร หรือโรงแรมต่างๆ เพื่อช่วยลดต้นทุนเนื่องจากไม่ต้องมีหัวหน้าพ่อครัว

สำหรับรายได้ในปี 2563 สิ้นสุดไตรมาส 3 เดือนกันยายน 2563 บริษัทมีรายได้รวม 2,164.9 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนรายได้เป็นกลุ่มเบเกอรี่ และอาหารรองท้อง 94.5% ธุรกิจฟู้ดเซอร์วิสมีรายได้ 94.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 65 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ของปีก่อนหน้า เนื่องจากเพิ่งซื้อธุรกิจนี้เข้ามาในช่วงครึ่งหลังของปี 2562

ในปี 2564 ตั้งเป้ายอดขายให้เติบโต 16% มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 3,500 ล้านบาท และต้องมี 6,000 ล้านบาท ภายใน 6 ปี โดยที่สัดส่วนรายได้ใน 5 ปีข้างหน้า (2564-2568) ที่เกิดจากธุรกิจอื่น (Non 7-Eleven) ต้องเพิ่มขึ้นมาในสัดส่วน 30% และอีก 70% เป็นธุรกิจร่วมกับร้านเซเว่นฯ จากปัจจุบันสัดส่วนรายได้จากร้านเซเว่นฯ ครองสัดส่วนรายได้กว่า 90%

ปัจจุบัน NSL มีสินค้าด้วยกัน 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

1. OEM (รับจ้างผลิต) แบ่งเป็น

  • แซนวิชอบร้อนต่างๆ แบรนด์ Ezy Taste
  • อาหารพร้อมทาน (Ready to Eat) พวกเบอร์เกอร์, ครัวซองต์, เบรดคัพ และโทสต์ แบรนด์ 7 Fresh
  • ขนมแช่เย็น ใช้แบรนด์ Ezy Sweet ได้แก่ โมจิ, ชูครีม, เค้ก, เอแคลร์, ช็อกโกแลตลาวา รวมไปถึงแซนวิชแช่เย็น และสลัดทูน่า

นอกจากนี้ยังได้ผลิตสินค้าให้อานตี้แอนส์, ขนมปังแซนวิชนมสดให้ท็อปส์ และทองม้วนแผ่นส่งให้ประเทศเกาหลี

2. ขนมทานเล่น ได้แก่ ปังไทย, พายกรอบ, ขนมปังกรอบ, ขนมพริก และสินค้าเพื่อสุขภาพ

3. ฟู้ดเซอร์วิส เนื้อสัวต์นำเข้า อาหารทะเล ผัก ผลไม้ เฟรนช์ฟรายส์ต่างๆ

]]>
1322706